เมษายน 20, 2024, 02:02:47 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด  (อ่าน 5365 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 09:53:56 AM »

Permalink: เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด
เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด

เช้าวันนี้ ผมได้ใส่บาตรพระภิกษุรูปหนึ่งตามปกติ ผมจำท่านได้ทันทีที่ท่านสอนธรรมะแทนการให้พรตามปกติ น้ำเสียงของท่านมีลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนใคร ทั้งหนักแน่นและออกดังกว่าปกติ ท่านเทศน์ให้ฟังสั้นๆ แล้วส่งกระดาษลักษณะเหมือนใบปลิวให้ 1 ใบ ผมอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอนำมาแบ่งปันผ่าน Blog ครับ

เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ในวันอาสาฬหบูชา หัวใจของการแสดงธรรมครั้งนี้คือ อริยะสัจจ์ 4 กล่าวเรื่องทุกข์ไว้เป็นเบื้องต้น เพราะต้องการให้คนเราได้รู้จักทุกข์ว่า ทุกข์มีอะไรบ้าง อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) จะดับทุกข์ได้อย่างไรหรือหนทางดับทุกข์ (นิโรจน์) มรรคคือผลของการดับทุกข์

อะไรเป็นสาเหตุให้เราไม่เห็นทุกข์ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นคือ อวิชชา (ความไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นการไม่กำหนดรู้จักทุกข์ คือสิ่งไหนเป็นทุกข์นั้นเอง ความอยากมีอยากเป็น (ภวตัณหา) ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น (วิภวตัณหา) ความรักใคร่ในอารมณ์ต่างๆ (กามตัณหา) ความยึดมั่นถือมั่น (อุปทาน) เป็นต้น โดยมีอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาพธรรม) กับอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นแหล่งที่มา มีขันธ์ห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตัวเชื่อมต่อ แต่วันนี้จะขอเสนอเป็นการให้เรารู้จักทุข์ก่อน เพราะเมื่อรู้จักทุกข์ เราสามารถใช้ปัญญาจัดการได้ว่า จะหลี่กเลี่ยง (แก้ไข) หรือ ยอมรับ หรือวางเฉย (อุเบกขา) ซึ่งทุกข์ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้มี 10 อย่าง ดังนี้

1. สภาวะทุกข์ หรือทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่การเกิด (ชาติ) ชรา มรณะ

2. ปกิณณกทุกข์หรือทุกข์จร ได้แก่ โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญรำพัน) ทุกขะ (ความยากลำบาก) โทมนัส (ความเสียใจเสียดาย) เป็นต้น

3. นิพัทธทุกข์หรือทุกข์เนื่องนิตย์ ได้แก่ การรู้สึกหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เหล่านี้เป็นต้น

4. พยาธิทุกข์ หรือทุกขเวทนา ไดแก่ทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ จัดเป็นความเห็นโทษแห่งกาย เพราะอวัยวะอันเป็นเจ้าการไม่ทำหน้าที่โดยปกติ

5.สันตาปทุกข์ หรือทุกข์ความร้อนรุมหรือทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจด้วยไฟแห่งกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

6. วิปากทุกข์ หรือทุกข์จากผลของกรรม ได้แก่การทำชั่วไว้แล้ว ถูกลงอาชญา หรือได้รับผลกรรมจากชาติก่อนแล้วเช่นเกิดมาพิการ การตกระกำลำบาก การตากยากหรือความ...บหาย เป็นต้น

7. สหคตทุกข์ หรือทุกข์ที่ไปเป็นคู่ หรือได้ทุกข์เมื่อแปรเป็นอื่นไป ได้แก่ โลกธรรมแปด คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา มีสุข มีทุกข์ เป็นต้น

8. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ หรือทุกข์ในการทำมาหากิน ได้แก่ การประกอบอาชีพ การขัดแย้งในการหาอาหารของสัตว์ เป็นต้น

9. วิวาทมูลกทุกข์ หรือทุกข์จากการทะเลาะวิวาท ได้แก่ ความหวาดระแวง ความไม่โปร่งใจ (ขุ่นใจ) ความกลัวแพ้จากคดีความ

10. ทุกข์ขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด หมายเอาสังขารคือ การประชุมแห่งปัญจขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ) ซึ่งมีมาในอนัตตะลักขะณะสูตรว่า “อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์”

เมื่อเรากำหนดรู้จักทุกข์แล้ว คราวนี้เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น เราก็ต้องรู้ให้เท่าทัน อย่าปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ หรือตามเหตุที่เกิด นั้นคือเราต้องมีสติสัมปชัญญะ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เราต้องมีการฝึกฝนสมาธิ ให้ใจเราสงบ ด้วยขันติ วิริยะเป็นเบื้องต้น ก็อยากจะขอแนะนำอานาปานสติด้วยการกำหนดรู้ดูลมหายใจเข้าออก ว่าเข้าหรือออกอยู่ เป็นต้น

เจริญพร


(ของแถมท้ายใบปลิว)
เพราะหลายคนไม่รู้ประโยชน์ของสมาธิ อาตมาจึงขอบอกเท่าที่พิจารณาได้ด้วยปัญญาของตนผิดถูกอย่างไรแล้วแต่ปัญญาใครก็แล้วกัน

ประโยชน์ของสมาธิคือ

1. ใช้เวลารอคอย เพราะคนเรามักกระวนกระวายจิตก็จะวุ่นวายคิดไปต่างๆ ถ้าเราเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็จงทำใจให้สงบ

2. ใช้ในเวลาทำงาน หลายคนคงเข้าใจแล้วเพราะการทำงานจะได้ออกมาดี

3. ใช้ในเวลาสิ่งต่างๆ ภายนอกวุ่นวาย เราจะได้มีมุมมองที่แตกต่าง เพราะใจที่สงบจะก่อให้เกิดปัญญา

4. ใช้ในเวลาใกล้ตาย ข้อนี้สำคัญมาก พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา" เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นที่หวังได้ในเบื่องหน้า คือเมื่อตายจะไปสู่ทางที่ชั่ว ไม่ดี "จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา" เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่หวังได้ในเบื้องหน้า คือเมื่อตายไป ไปสู่ที่ดีแน่นอน หลายคนอาจเถียงในใจว่าแล้วคนทำชั่วเยอะแยะแล้วฝึกจิตให้ดี ก็ไปสู่ที่ดีได้นะสิ ยอมรับว่าจริง แต่เมื่อไปแล้วจะอยู่ได้นานหรือไม่ ไม่แน่ แล้วแต่กรรมที่ทำมาว่าดีหรือชั่วมากกว่ากัน ที่สำคัญอย่าประมาทแล้วกัน

จบ

********************

อนุโมทนา สาธุผู้เจริญในธรรมทุกท่านอย่างสูง

ที่มา :: Bloggangดอทคอม นรภพ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 02, 2024, 09:22:55 PM