เมษายน 25, 2024, 06:44:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นผู้ซื่อตรง  (อ่าน 5493 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 10:44:00 PM »

Permalink: ความเป็นผู้ซื่อตรง
ความเป็นผู้ซื่อตรง 
 
 
 

 
 

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

"ความ เป็นผู้ซื่อตรง" หรือคำว่า อาชชวะ  มีความหมายถึง การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน

อาทิ เป็นคนไทยก็ต้องซื่อตรงต่อชาติ พระศาสนาและพระมหากษัตริย์

ความซื่อตรง แบ่งออกเป็น ๖ ประการ อธิบายได้ ดังนี้

 ๑. ตรง ต่อบุคคล

คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เนรคุณผู้มีพระคุณ และไม่เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก

 ๒. ตรงต่อเวลา

คือ จะนัดหมายกับใคร หรือจะทำงานสิ่งใดก็ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ และไม่เอาเวลาราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตน

 ๓. ตรงต่อวาจา

คือ เมื่อได้รับปากกับใครว่าจะทำสิ่งที่ดีและสุจริต จะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีและทุจริต ก็ให้กระทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้

 ๔. ตรงต่อหน้าที่

คือ ซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตน ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ละทิ้งหน้าที่และปัดความรับผิดชอบ

 ๕. ตรงต่อธรรมะ

คือ การยึดมั่นในหลักคุณธรรม และบูชาความถูกต้อง ความยุติธรรม ความชอบธรรมไว้เหนือสิ่งอื่นใด

 ๖. ตรงต่อตนเอง

คือ การไม่โกหกตนเอง ซื่อสัตย์สุจริตต่ออุดมการณ์ของตน ไม่ฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่ใช่ปณิธานของตนเอง

อาชชวธรรม จึงเป็นหลักธรรมสำคัญในการปกครอง เพราะคนอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่

ถ้าผู้นำปฏิบัติตนไม่ซื่อตรงไม่ซื่อสัตย์ จะเป็นบ่อเกิดแห่งความประพฤติทุจริตคิดมิชอบและก่อให้เกิดความหวาดระแวง

ถ้าประพฤติตรงและปฏิบัติตรงต่อกัน มีความจริงใจต่อกันและกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดความไว้วางใจ ยอมรับนับถือและสมัครสมานสามัคคีก็จะอยู่เย็น เป็นสุข ไม่ต้องอยู่ร้อน นอนทุกข์ เพราะประพฤติผิดปฏิบัติผิด

สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงอรรถาธิบายขยายความคำว่าอาชชวะในพระราชนิพนธ์เรื่อง "ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท" ตอนหนึ่งว่า

"พระมหากษัตริย์ จะต้องมีพระอัธยาศัยประกอบด้วยความเที่ยงตรงต่อประชาชนโดยทั่วไป  ไม่ทรงคิดลวงหรือประทุษร้ายผู้ใด"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความซื่อตรง ทรงยึดมั่นอยู่ในหลักแห่งอาชชวธรรม โดยไม่ทรงเอนเอียงเปลี่ยนแปลงไป

พระองค์ทรงโดดเด่นเป็นสง่า ประทับอยู่ในดวงหทัยของพสกนิกรชาวไทยตลอดมา ก็เพราะทรงมีพระราชอัธยาศัยซื่อตรงทรงสัตย์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเสมอกันหมด ไม่ทรงเอนเอียงหรือหนักไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใด ภาคไหนหรือนับถือศาสนาอะไรก็ตาม



คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา โดย สาโรจน์ กาลศิริศิลป์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ใน ข่าวสดรายวัน วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓,ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๗๒๑๒, หน้า ๓๑
ที่มาhttp://www.dhammajak.net/

 
 
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ ธันวาคม 12, 2023, 07:59:52 AM