เมษายน 20, 2024, 03:15:32 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุกับเจตสิก  (อ่าน 6864 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: มีนาคม 10, 2012, 11:18:09 AM »

Permalink: เหตุกับเจตสิก
เหตุกับเจตสิก


--------------------------------------------------------------------------------

 เหตุกับเจตสิก

 เจตสิกมี 52 ดวง แบ่งได้เป็น ๓ ราสี คือ
๑. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ แบ่งเป็น ๒ นัยคือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก๗ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ
ปกิณณกเจตสิก๖ คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปิติ ฉันทะ
๒. อกุศลเจตสิก ๑๔ แบ่งเป็น ๕นัย คือ
โมจตุกเจตสิก ๔ คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
โลติกเจตสิก ๓ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ
โทจตุกเจตสิก ๔ คือ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
ถีทุกเจตสิก ๒ คือ ถีนะ มิทธะ
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ คือ วิจิกิจฉา
๓. โสภณเจตสิก ๒๕ แบ่งเป็น ๔ นัย คือ
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
วิรตีเจตสิก ๓
อัปปมัญญาเจตสิก ๒
ปัญญิณทรีย์เจตสิก ๑

 เหตุมี ๖ เหตุ คือ
โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ โมหเหตุ ๑ ซึ่งเป็นเหตุในอกุศลจิต
อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ๑ อโมหเหตุ ๑ ซึ่งเป็นเหตุในกุศลจิต และอัพพยกตจิต

 เมื่อพิจารณาเจตสิกกับเหตุเข้าด้วยกันแล้วได้ดังนี้ คือ
 สัพพจิตตสาธารณเจตสิก๗ เข้าประกอบกับจิตได้ทุกดวงทั้งอกุศลจิต กุศลจิต และอัพพยกตจิต ดังนั้น สัพพจิตตสาธารณเจตสิก๗ จึงมีเหตุทั้งหมดได้ ๖เหตุ คือ โลภเหตุ ๑
โทสเหตุ๑ โมหเหตุ ๑ อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ๑
อโมหเหตุ ๑

 ปกิณณกเจตสิก ๕ (เว้นปิติ) เข้าประกอบกับจิตได้ในอกุศลจิต กุศลจิต และอัพพยากตจิต ตามสมควร ดังนั้น ปกิณณกเจตสิก ๕ (เว้นปิติ) จึงมีเหตุทั้งหมดได้ ๖เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ๑ อโมหเหตุ ๑ เช่นเดียวกัน
 ส่วน ปิติเจตสิก นั้นเข้าไม่ได้ในโทสมูลจิต ๒ และ โมหมูลจิต ๒ ซึ่งเป็นจิตที่มี โทสเหตุและโมหเหตุ แต่เข้าได้ในโลภที่เป็นโสมนัส และโสภณที่เป็นโสมนัส ส่วน
อเหตุกจิตที่เป็นโสมนัสนั้นไม่คิดเพราะเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ดังนั้น ปิติเจตสิก จึงมีเหตุทั้งหมดได้ ๕ เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑ อโลภเหตุ ๑
อโทสเหตุ๑ อโมหเหตุ ๑ (ไม่มีโทสเหตุ)

 โมจตุกเจตสิก ๔ เข้าประกอบได้ในจิตที่เป็นอกุศลจิตทุกดวง ดังนั้นเหตุที่เป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมกับโมจตุกเจตสิก ๔ นั้นมี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ โมหเหตุ ๑ แต่เราต้องพิจารณาทีละตัวอีกครั้งหนึ่ง คือ
 โมหเจตสิก เป็นธรรมที่เป็นเหตุ ดังนั้น โมหเจตสิกจึงมีเหตุเข้าร่วมได้แค่ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ (ไม่นับตัวเขาเอง)
 ส่วนอหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นั้นเป็นธรรมที่เป็นเหตุไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในเหตุ ๖ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ ดังนั้น อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะจึงมีเหตุได้ ๓ คือ โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ โมหเหตุ ๑

 โลติกเจตสิก ๓ เป็นเจตสิกที่เข้าประกอบได้ในโลภมูลจิต ๘ ตามสมควร ซึ่งเหตุที่เป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมกับโลติกเจตสิก ๓ นั้นมี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑ เช่นเดียวกันเราต้องพิจารณาที่ละตัวอีกครั้งหนึ่ง คือ
 โลภเจตสิก เป็นธรรมที่เป็นเหตุ และทุกครั้งที่มีโลภก็ต้องมีโมหะเกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภเจตสิกจึงมีเหตุเข้าร่วมได้แค่ ๑ เหตุเท่านั้นก็คือ โมหเหตุ ๑
 ส่วนทิฏฐิ มานเจตสิก เป็นธรรมที่เป็นเหตุไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในเหตุ ๖ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ ซึ่ง ทิฏฐิ มานเจตสิก นั้นจะเกิดได้ในโลภมูลจิตซึ่งเป็นจิตที่มี ๒ เหตุ ดังนั้น ทิฏฐิ มานเจตสิก จึงมีเหตุได้ ๒ คือ โลภเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑
 โทจตุกเจตสิก ๔ เป็นเจตสิกที่เข้าประกอบได้ในโทสมูลจิต ๒ ซึ่งเหตุที่เป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมกับโทจตุกเจตสิก ๔ นั้นมี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑ เช่นเดียวกันเราต้องพิจารณาที่ละตัวอีกครั้งหนึ่ง คือ
 โทสเจตสิก เป็นธรรมที่เป็นเหตุ และทุกครั้งที่มีโทสะก็ต้องมีโมหะเกิดร่วมด้วย ดังนั้น โทสเจตสิกจึงมีเหตุเข้าร่วมได้แค่ ๑ เหตุเท่านั้นก็คือ โมหเหตุ ๑
 ส่วนอิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ เป็นธรรมที่เป็นเหตุไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในเหตุ ๖ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ ซึ่ง อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ นั้นจะเกิดได้ในโทสมูลจิตซึ่งเป็นจิตที่มี ๒ เหตุ ดังนั้น อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ จึงมีเหตุได้ ๒ คือ
โทสเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑
 ถีทุกเจตสิก ๒ จะเกิดได้ในอกุศลที่เป็นสสังขาริกคือในโลภสสังขาริก ๔ และโทสสสังขาริก ๔ และ ถีนะ มิทธะ เป็นธรรมที่เป็นเหตุไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในเหตุ ๖ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ ดังนั้นเหตุที่จะเข้าได้กับ ถีนะ มิทธะ นี้ คือ โลภเหตุ ๑ โทสเหตุ๑ โมหเหตุ ๑ เพราะทุกครั้งที่มีโลภะ หรือ โทสะ ก็ต้องมีโมหะด้วย ดังนั้นจึงรวมเป็น ๓ เหตุ

 วิจิกิจฉาเจตสิก เข้าประกอบได้ในโมหมูลจิต ๑ ดวงเท่านั้น คือ วิจิกิจฉา ซึ่งวิจิกิจฉาเจตสิกเป็นธรรมที่เป็นเหตุไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในเหตุ ๖ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ คือ โมหเหตุ ดังนั้นวิจิกิจฉาจึงมีเหตุเข้าร่วมเพียง ๑ เหตุเท่านั้น คือ โมหเหตุ

 โสภณเจตสิก ๒๕ ถ้าคิดรวมกันทั้ง ๒๕ ดวงก็จะได้ว่า โสภณเจตสิก ๒๕ นี้เข้าประกอบได้กับโสภณจิตเท่านั้น ดังนั้น เหตุที่เป็นไปได้ที่จะเกิดกับโสภณเจตสิก ๒๕ คือ กุศลเหตุ ซึ่งมี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ๑ อโมหเหตุ ๑ และในโสภณเจตสิก ๒๕มีธรรมที่เป็นเหตุได้ ๓ ดวง อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก) ดังนั้นในเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้จึงมีเหตุเข้าร่วมได้แค่ ๒ เหตุเท่านั้น (ไม่นับตัวเขาเอง) คือ อโลภเจตสิก มีเหตุเข้าร่วมได้ ๒ เหตุ คือ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อโทสเจตสิก มีเหตุเข้าร่วมได้ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโมหเหตุ
อโมหเจตสิก มีเหตุเข้าร่วมได้ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
 ส่วนโสภณเจตสิก ๒๒ ที่เหลือนั้นไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุ แต่เป็นธรรมที่มีเหตุ คือกุศลเหตุ ดังนั้นโสภณเจตสิก ๒๒ ที่เหลือจึงมีเหตุเข้าร่วมได้ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ ๑ อโทสเหตุ๑ อโมหเหตุ ๑

  เล็กเห็นพี่ๆคิดว่าหัวข้อที่ว่า เหตุที่เกิดร่วมกับเจตสิกนั้นเข้าใจยาก เล็กเลยเขียนจากความเข้าใจที่ได้จากการอ่านหนังสือและฟังเทปพระอาจารย์บุญมี และได้เรียนมาจากอาจารย์สง่า เพื่อแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและกัน มาให้พี่ๆลองทำความเข้าใจดู แต่ไม่ทราบว่าจะไปเพิ่มความงงให้พี่ๆหรือเปล่าเพราะเขียนเสียยืดยาวเลย แต่เล็กคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ

ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
เล็กแม่น้องพงศ์ค่ะ

 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 10, 2024, 09:53:45 PM