เมษายน 20, 2024, 08:04:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จะเป็นกัลยาณมิตร ต้องทำอย่างไร  (อ่าน 7147 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 11:56:03 AM »

Permalink: จะเป็นกัลยาณมิตร ต้องทำอย่างไร
จะเป็นกัลยาณมิตร ต้องทำอย่างไร

--------------------------------------------------------------------------------


 การสร้างคุณลักษณะของตนเองให้เป็นกัลยาณมิตร จะต้องรู้ว่าลักษณะของกัลยาณมิตรเป็นอย่างไร ในมงคล ๓๘ นั้น ข้อที่ ๒ คือ ให้คบบัณฑิต บัณฑิตนั้นมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าไปคบหา คลุกคลี สนิทสนมด้วย

ลักษณะของกัลยาณมิตรมี ๗ ประการ คือ

 ๑. ปิโย หมายถึง น่ารัก เป็นคนน่ารัก
คือ สามารถเข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเองได้ เห็นอกเขาอกเรา ช่วยเหลือชีวิตเราได้ เป็นเพื่อนฟังที่ดี ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ถ้าเป็นครู ก็ทำให้ผู้เรียนเข้าไปปรึกษาไต่ถามได้ โดยการทำตนเป็นกันเอง

 ๒. ครุ หมายถึง ความน่าเคารพ
คือ เป็นครูที่น่าเคารพ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจได้ ครูที่ดีก็ต้องสามารถทำให้เกิดความอบอุ่นใจ และเป็นที่พึ่งได้ ให้ความปลอดภัยได้

 ๓. ภาวนีโย หมายถึง น่าเจริญใจ
คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิธรรมปัญญาอย่างแท้จริง และฝึกฝนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าสอนเขาแต่ตัวเองไม่ทำ วิวัฒนาการใหม่ ผู้ที่จะสอนเขาก็ต้องเข้าไปเรียนรู้ และสอนให้เข้ากับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมนั้นได้
เขาเรียกว่าปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ และเป็นที่น่ายกย่อง

ควรเป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่พบเห็น หรือไม่ก็สามารถทำให้ศิษย์เอ่ยอ้างเวลาพูดถึง และระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งได้อย่างมั่นใจ และสร้างความภูมิใจให้แก่ศิษย์ได้

 ๔. วัตตา จ หมายถึง การรู้จักพูดให้ได้ผล
คือ รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ เป็นผู้ที่สามารถชี้แจงอะไรให้เข้าใจได้ รู้ว่าเมื่อใดควรพูดอะไร และจะพูดอย่างไร คอยแนะนำ ตักเตือนได้

 ๕. วจนักขโม หมายถึง ความสามารถที่จะอดทนต่อถ้อยคำ
คือ พร้อมที่จะรับฟังการปรึกษา การซักถาม แม้ว่าผู้ที่มาปรึกษานั้น จะพูดจู้จี้จุกจิก ไม่ชวนฟัง ตลอดจนพูดล่วงเกิน แม้จะถูกตักเตือน วิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ก็ฟังได้ไม่เบื่อ และไม่เสียอารมณ์ เพราะว่า มีขันติ มั่นคง เรียกว่า อดทนต่อถ้อยคำ

 ๖. คัมภีรัญจ กถังกัตตา หมายถึง การรู้จักวิธีแถลงเรื่องที่ลึกล้ำหรือลุ่มลึก
หมายถึง ชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เข้าใจง่าย เมื่อเป็นครูต้องแถลงเรื่องได้ล้ำลึก สามารถพูดให้ผู้ฟังให้เข้าใจได้ง่าย

 ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย หมายถึง ไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย
เช่น เวลาเป็นครูก็สอนอย่างหนึ่ง พอสอนเสร็จแล้ว ก็จะไม่ชักชวนเด็กไปกินเหล้ากัน เป็นต้น


 
ขอบคุณเนื้อหาจาก มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 14, 2024, 02:23:16 AM