เมษายน 20, 2024, 05:25:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การปล่อยวาง  (อ่าน 15530 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 08:59:26 AM »

Permalink: การปล่อยวาง
การปล่อยวาง

การที่เราอยู่ร่วมกันนี้จะต้องมีระเบียบ ระเบียบเป็นสิ่งที่จำ เป็นสำ หรับคนหมู่มาก ไม่ใช่
จำ เป็นเฉพาะบุคคลเท่านั้น อยู่คนเดียวก็ต้องมีระเบียบ อย่างพระวินัย พระวินัยสมัยก่อนนี้มีนิด
เดียว พระสงฆ์ที่มาบวชในพระพุทธศาสนามีมากขึ้น ต่างคนต่างจะทำ อะไร ก็มีหลายเรื่อง บาง
คนอยากจะทำ อย่างนั้น บางคนอยากจะทำ อย่างนี้ ก็มีกันมาเรื่อยๆ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าของ
เราตั้งข้อกติกา คือพระวินัยขึ้นมา เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ อยู่ไปนานๆ ก็มีคนบางคนก็ทำ เรื่องมาอีก
หลายอย่าง ดังนั้นพระวินัยจึงไม่มีทางจบสิ้น หลายล้านสิกขาบท แต่ก็ยังไม่จบ พระวินัยไม่มีทาง
จบลงได้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรม เรื่องธรรมะนี้มีทางจบ ก็คือ "การปล่อยวาง" เรื่องพระวินัยก็คือ
เอาเหตุผลกัน ถ้าเอาเหตุผลกันแล้วไม่จบหรอก
สมัยหนึ่งอาตมาไปบริหารพระ ๓-๔ องค์ ไปอยู่ในป่า ไฟไม่ค่อยจะมี เพราะอยู่บ้านป่า
องค์หนึ่งก็ได้หนังสือธรรมะมาอ่าน อ่านอยู่ที่หน้าพระประธานที่ทำ วัตรกัน อ่านอยู่ก็ทิ้งตรงนั้น
แล้วก็หนีไป ไฟไม่มีมันก็มืด พระองค์มาทีหลังก็มาเหยียบหนังสือ จับหนังสือขึ้นมาก็โวยวาย
ขึ้นว่า "พระองค์ไหนไม่มีสติ ทำ ไมไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ" สอบสวนถามก็ไปถึงพระองค์นั้น พระ
องค์นั้นก็รับปากว่า "ผมเอาหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่" "ทำ ไมท่านไม่รู้จักที่เก็บหนังสือผมเดินมาผม
เหยียบหนังสือนี้" "โอ...อันนั้นเป็นเพราะท่านไม่สำ รวมต่างหากเล่า" เห็นไหมมันมีเหตุผลอย่าง
นั้น จึงเถียงกัน องค์นั้นบอกว่า "เพราะท่านไม่เอาไปไว้ในที่เก็บ ท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ท่านจึง
ไว้อย่างนี้" องค์นี้บอกว่า "เป็นเพราะท่านไม่สำ รวม ถ้าท่านสำ รวมแล้ว คงไม่เดินเหยียบหนังสือ
เล่มนี้" มีเหตุผลว่าอย่างนั้น มันก็เกิดเรื่องทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่จบ ด้วยเรื่องเหตุผล
เรื่องธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล คือธรรมะมันสูงกว่านั้น ธรรมะที่พระพุทธ
องค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้นมันอยู่นอกเหตุเหนือผล ไม่อยู่ในเหตุ อยู่เหนือผล ทุกข์
มันจึงไม่มีสุขมันจึงไม่มี ธรรมนั้นท่านเรียกว่าระงับ ระงับเหตุ ระงับผล ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่
อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตายเหมือนพระสององค์นั้น
ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ต้องอยู่นอกเหตุเหนือผล นอกสุขเหนือทุกข์ นอกเกิด
เหนือตาย ธรรมนี้มันเป็นธรรมที่ระงับคนเราก็มาสงสัยอยู่นี่แหละ ผู้ชายยิ่งสงสัยมาก ความ
สงสัยนี่ตัวสำ คัญ มีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะตายอยู่แล้ว (หัวเราะ) มันไม่ใช่ธรรมของพระ
พุทธองค์ ธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ เป็นทางเดินเดินไปเท่านั้น ถ้ามัวคิดว่าเมื่อไปถึง นี่ฉันนี้สุข
เหลือเกิน ไม่ได้ฉันนี้ทุกข์เหลือเกิน ไม่ได้ แต่ถ้าฉันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ นี่คือมันระงับแล้ว สงสัย
ไม่มี
ตรงโน้นมันจะมีอยู่ที่ตรงไหน มันก็อยู่ตรงที่ปฏิบัติไปเรื่อยๆสุขเกิดขึ้นมา ทุกข์เกิดขึ้นมา
เรารู้มันทั้งสองอย่างนี้ สุขนี้ก็สักว่าสุขทุกข์นี้ก็สักว่าทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา
ธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นมาดับไปเท่านั้น จะเอาอะไรกับมัน สงสัยทำ ไมมันเกิดอย่างนั้น
เมื่อเกิดอีกทำ ไมมันไปอย่างนั้นละ สงสัยอย่างนี้มันเป็นทุกข์ ปฏิบัติไปจนตายก็ไม่รู้เรื่อง มันทำ
ให้เกิดเหตุไม่ระงับเหตุของมัน
ความเป็นจริง ธรรมที่พวกเราปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ ธรรมนี้นำ เราไปสู่ความสงบ สงบจาก
อะไร จากสิ่งที่ชอบใจ จากสิ่งที่ไม่ชอบใจถ้าเราชอบสิ่งที่เราชอบใจ ไม่ชอบสิ่งที่เราไม่ชอบใจ
มันไม่หมด ธรรมนี้ไม่ใช่ธรรมระงับ ธรรมนี้เป็นธรรมก่อทุกข์ขึ้นมา ให้เข้าใจอย่างนั้น
ฉะนั้นเราจึงสงสัยตลอดเวลา..แหม วันนี้ฉันได้มาแล้ว พรุ่งนี้ทำ ไมหายไปแล้ว มันหาย
ไปไหน ฉันนั่งเมื่อวานนี้มันสงบดีเหลือเกิน วันนี้ทำ ไมมันวุ่นวาย มันไม่สงบเพราะอะไร อย่างนี้
ก็เพราะเราไม่รู้เหตุของมัน ครั้นปล่อยวางว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้เห็นไหม มันเป็นอยู่ของ
มันอย่างนี้ วันนี้มันสงบแล้ว เออ ไม่แน่นอนหนอ เราต้องเห็นโทษมันอย่างนี้ สงบแล้วมันก็ไม่
แน่นอน ฉันไม่ยึดมั่นไว้ สงบก็สงบเถอะ ความไม่สงบก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ฉันไม่ว่า ฉันเป็น
ผู้ดูเท่านั้น ที่สงบฉันก็รู้ว่าเรื่องมันสงบที่ไม่สงบฉันก็รู้ว่าไม่สงบ แต่ว่าฉันไม่ยึดมั่นถือมั่นใน
เรื่องที่ว่ามันสงบหรือไม่สงบ เห็นไหมเรื่องมันเป็นอยู่ของมันอย่างนั้น อย่างนี้มันก็ระงับ มันก็
ไม่วุ่นวาย มันจะสงบ ฉันก็รู้ว่ามันเรื่องของมัน ฉันจะดูอยู่แค่นี้แหละ ดูเรื่องที่มันสงบ มันก็ไม่
แน่นอน ดูเรื่องที่มันวุ่นวาย มันก็ไม่แน่นอน มันแน่นอนอยู่แต่ว่า มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
เราอย่าไปเป็นกับมันเลย
ถ้าอย่างนี้ มันก็สบายและสงบ เพราะเรารู้เรื่องมัน ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้เรื่องนั้นเป็น
อย่างนั้น อยากให้เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ มันสงบเพราะเรารู้เรื่องว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็มีการปล่อยวาง
เราคิดดูซิว่า ถ้าคนทุกคนต้องพูดให้ถูกใจฉัน คนทุกคนต้องทำ ให้ถูกใจฉันฉันจึงจะสงบ ฉันจึง
จะสบาย คนทั้งโลกจะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำ ถูกใจเราทุกคนมีไหม ไม่มี เมื่อไม่มี
เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง เราเกิดมาในชีวิตหนึ่ง เราจะหาความสงบว่า
คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำ ให้ถูกใจฉันฉันจึงจะสบาย ในชีวิตหนึ่งจะได้สบายไหมคนเรา
คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณก็ต้องทำ ให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ถ้าไม่อย่างนั้นฉันก็ไม่สงบ คน
คนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชาติก็ไม่มีความสงบ เพราะคนหลายคนใครจะมาพูดให้ถูกใจเราทุกคน ใครจะ
มาทำ ให้ดีทุกคน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นธรรมะ เราจะต้องศึกษาอย่างนี้
ฉะนั้นเราจะต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมาอย่าไปหมายมั่น อย่าไปยึดมั่น
จับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสีย เขาจะพูดอย่างไรก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำ อย่างไรก็
ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบาย
อารมณ์ก็เหมือนกันฉันนั้น ที่มันมากระทบเราอยู่ทุกวันนี้ บางทีก็ร้าย บางทีก็ดี บางทีก็
ชอบใจ บางทีก็ไม่ชอบใจ คนทุกๆ คนนั่งอยู่ในนี้ก็เหมือนกัน จะทำ ให้ถูกใจเราทุกคนมีไหม มัน
ไม่ได้ นอกจากเราปฏิบัติธรรมะให้รู้ว่า คนคนนี้มันเป็นอย่างนี้นานาจิตตังไม่เหมือนกัน
เราจำ เป็นต้องอบรมใจของเราทุกๆคน เมื่อมันโกรธขึ้นก็ดูความโกรธ ความโกรธนี้มัน
มาจากไหน เราให้มันโกรธหรือเปล่า ดูว่ามันดีไหม ทำ ไมเราถึงชอบมัน ทำ ไมเราถึงไม่ทิ้งมัน
เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วไม่ดี ไม่ดีเราเก็บมันไว้ทำ ไม ก็เป็นบ้าเท่านั้น ทิ้งมันเสียถ้าเห็นว่ามันไม่ดี มัน
ก็จะไปในทำ นองนี้
เมื่ออยู่ด้วยกันกับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้
เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อนมันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน พระอานนท์กับพระพุทธ
เจ้าของเราในสมัยก่อน ไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฏฐิ พอไปถึงหน้าบ้านพระพุทธองค์ก็สะพาย
บาตรยืนเฉย ท่านก็สบายเพราะท่านเข้าใจว่าเรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็น
ไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ท่านยืนอยู่เฉยๆ พระอานนท์เดินยํ่าเท้าไปมา อายเขาคิดว่าพระพุทธ
องค์นี้อยู่ทำ ไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย พระพุทธ
องค์ก็เฉย จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอาเขาให้
พระพุทธเจ้าก็เอา ท่านไม่หนีไปไหน ไม่เหมือนพระอานนท์
พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์ถามว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำ ไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่น
เสียดีกว่า" พระพุทธองค์ตรัส "อานนท์ ตรงนี้ถ้าเรายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่
ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ" พระอานนท์ว่า"ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา" "อายทำ ไมอานนท์
อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร" พระอานนท์บอกว่า "อาย"
"อาย ทำ ไมเรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์เราจะต้องทำ อยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้
ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้เราก็ไปที่โน่น ถ้าไปที่โน้นแล้ว เขาไม่ให้เราจะไปไหน
อานนท์" "ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก" "ถ้าหากบ้านโน้นเขาก็ไม่ให้ เราจะไปตรงไหน" "ไปตรงโน้น
อีก" "เลยไปไม่มีหยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่
แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายซิ"
พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นบาป อันนั้นท่านให้อาย อะไรที่ไม่เป็นบาปจะอายทำ ไม ใคร
อายก็โง่เท่านั้น ภาวนายังไม่เป็นเลย ถ้าอายอย่างนั้น เราจะไปอยู่ตรงไหนถึงจะมีปัญญา ถ้าไปอยู่
คนเดียวไม่มีใครพูดดีพูดชั่วให้ มันก็สบาย แต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้มันไม่มีปัญญา ถ้าถูก
อารมณ์แล้วปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น
ฉะนั้นเราอยู่ในโลก ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เรื่อยไปเป็นธรรมดา ไม่อยากเป็นมัน
ก็เป็น ไม่อยากจะอยู่มันก็อยู่ เป็นไปอยู่อย่างนั้น ให้เรามาพิจารณาอย่างนั้น เราต้องกลับมาย้อน
พิจารณาอารมณ์ที่ท่านตรัสว่า นินทาสรรเสริญมันเป็นคู่กันมา เรื่องนินทาเรื่องสรรเสริญเป็น
ธรรมดาของโลก ถ้าไม่ดีเขาก็นินทา ถ้าดีเขาก็สรรเสริญ พระพุทธองค์ท่านไม่เห็นแก่นินทา ไม่
เห็นแก่สรรเสริญ จงเรียนสรรเสริญให้มันรู้จัก จงมาเรียนนินทาให้มันรู้จัก ให้รู้จักสรรเสริญกับ
นินทา สรรเสริญ นินทามันก็มีผลมีเหตุเท่ากัน นินทาเราก็ไม่ชอบ นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก
ถ้าสรรเสริญเราชอบ
สิ่งที่เราชอบมันพาให้เราทุกข์มีไหม เช่นว่า เรามีเพชรสักก้อนหนึ่ง เราชอบมาก ชอบกว่า
ก้อนหินธรรมดา เอาวางไว้ ถ้ามีขโมยมาหยิบเอาก้อนเพชรไป เราจะเป็นอย่างไร นั่นของดีมัน
หาย ทำ ให้เราเป็นทุกข์ได้เหมือนกัน
ดังนั้นเราต้องอดทนต่อสู้ ให้เรามีสติคุ้มครองจิตของเรา สติคือความระลึกได้
สัมปชัญญะคือความรู้ตัว อันนี้ช่วยประคับประคองดวงใจของเราให้อยู่กับธรรมะ สติระลึกได้ว่า
บัดนี้เราจะจับไม้เท้าเมื่อเราจับไม้เท้าอยู่เราก็รู้ว่าเราจับไม้เท้า นี่เป็นสัมปชัญญะถ้าเรารู้อยู่ใน
ขณะนี้ ขณะเมื่อเราจะทำ หรือเมื่อเราทำ อยู่ก็รู้ตามความเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้แหละที่
จะช่วยประคับประคองใจของเราให้รู้ธรรมะที่แท้จริง
ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้า
สองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวันเราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวัน เป็นอย่างนี้
สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไรทำ อะไร ต้องรู้ตัวเราทำ อยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึก
ได้อยู่อย่างนี้ คล้ายๆกับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือ
จะมาขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนคนนี้มันมาทำ ไม เราจับ
อาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำ เรา
อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำ อะไรเราไม่ได้อารมณ์มันจะทำ ให้เราดีใจอยู่
อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำ ไม อันนี้ฉัน
ไม่ชอบอันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้นเราสอนตัวของเรา
อยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไปทำ เรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอน
ไหนๆ ก็ตาม
เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่า เราจะนั่งสมาธิอย่าง
เดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาท
เราก็รู้จัก ไม่มีความประมาทเราก็รู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็น
นานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันก็รู้เรื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ชาวตะวันตกมาอยู่ในประเทศไทย อยู่ไปเฉยๆ อย่างนั้น ความที่อยู่ติดต่อ
ใกล้ชิดกันไป ถึงแม้พูดภาษาไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่มันรู้เรื่องเข้าใจได้ เห็นไหม มองดูหน้ากันรู้เรื่อง
กันถึงพูดภาษาไม่รู้เรื่อง แต่ก็อยู่กันไปได้ มันรู้กันด้วยวิธีนี้ไม่ต้องพูดกัน ทำ งานก็ต่างคนต่างทำ
ทำ อยู่ใกล้ๆ กันนั่นแหละไม่รู้จักพูดกันมันก็ยังรู้เรื่องกัน อยู่ด้วยกันได้ รู้ได้โดยอากัปกิริยาที่ว่า
รักกันหรือชอบกัน อะไรมันก็รู้ของมันอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับแมวกับสุนัข มันไม่
รู้ภาษา แต่ว่ามันก็รู้จักรักเจ้าของเหมือนกัน แมวหรือสุนัขมันอยู่บ้านเรา ถ้าเรามาถึงบ้าน สุนัข
มันก็วิ่งไปทำ ความขอบคุณด้วยเห็นไหม ถ้าเรามาจากตลาดหรือมาจากที่อื่นมาถึงบ้าน แมวอยู่ที่
บ้านเรา มันก็มาทำ ความขอบคุณ มันจะร้องว่า เหมียวๆ มันมาเสียดมาสีเรา แต่ภาษามันไม่รู้ แต่
จิตมันรู้อย่างนั้น
อันนี้เราก็อยู่ไปได้อย่างนั้น เราต้องให้เข้าใจกันอย่างนั้น เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็
คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่าความโกรธเกิดขึ้นมา มันเป็นทุกข์ พระท่านว่ามันเป็นทุกข์มาแล้ว ชอบ
ทุกข์ไหม ไม่ชอบ แล้วเอาไว้ทำ ไมถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำ ไม ทิ้งมันไปซิ ถ้าทุกข์มันเกิดล่ะ
คุณชอบทุกข์หรือเปล่า ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบทุกข์แล้วยึดไว้ทำ ไม ก็ทิ้งมันเสียซิ ท่านก็สอนทุก
วันๆ ก็รู้เข้าไปๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำ สอนครั้งหนึ่ง ทุกข์มันเกิดมาครั้งหนึ่ง
เราก็รู้จักคำ สอนครั้งหนึ่ง ทุกข์เราก็ไม่ชอบ ไม่ชอบทุกข์แต่เราไปยึดไว้ทำ ไม สอนอยู่เรื่อยๆ บาง
ทีก็เห็นชัด เห็นชัดก็ค่อยๆ วาง วางไปก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่างเก่า ทีหนึ่งก็ดีสองทีก็ดี สามที่ก็ดี
มันก็เกิดประโยชน์แล้ว เกิดรู้เรื่องขึ้นแล้ว
เมื่อมันเกิดความรู้เฉพาะตัวของเรา เราจะนั่งอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดีนอนอยู่ก็ดี พูดภาษาไม่เป็น
แต่จิตเรารู้ภาษาธรรมะเราปิดปากตรงนี้ไว้ ปิดปากกายแต่เปิดปากใจนี้ไว้ ใจมันพูดนั่งอยู่เงียบๆ
ยิ่งพูดดี พูดกับอารมณ์ รู้อารมณ์เสมอ นี่เรียกว่า "ปากใน" นั่งอยู่เฉยๆ เราก็รู้จัก พูดอยู่ข้างใน รู้อยู่
ข้างใน ไม่ใช่คนโง่ คนรู้อยู่ข้างในรู้จักอารมณ์ สั่งสอนตัวเองก็เพราะอันนี้
ชีวิตของเรานี้ มันแก่ทุกวัน เกิดมามีการยกเว้นไม่แก่บ้างไหมวันคืนของเรานี้ ตอนเช้า
ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตอนค่ำ มันยกเว้นอายุเราไหม วันนี้มันก็ให้แก่ พรุ่งนี้มันก็ให้แก่ นอนหลับ
อยู่มันก็ให้แก่ ตื่นอยู่ก็ให้โตขึ้นตามเรื่องของมัน เรียกว่าปฏิปทาของมันสมํ่าเสมอเหลือเกิน เรา
จะนอนอยู่ มันก็ทำ งานของมันอยู่ เราจะเดิน มันก็ทำ งาน คือความโตของเรานี่แหละ กลางวันมัน
ก็โต กลางคืนมันก็โต จะนั่งจะนอนมันมีความโตของมันอยู่ เพราะชีวิตประจำ วันมันเปลี่ยน
แปลงอยู่เสมอ ร่างกายของเรามันได้อาหาร มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า ปฏิปทาของมัน มัน
จึงทำ ให้เราโต จนไม่รู้สึกดูเหมือนกับไม่ได้ทำ อะไรเลย มันก็โตของมันเอง แต่สิ่งที่เราทำ คือเรา
กินอาหาร กินข้าว ดื่มนํ้า นั่นเป็นเรื่องของเรา เรื่องร่างกาย มันจะโตจะอ้วน มันก็เป็นของมัน เรา
ก็ทำ งานของเราสังขารมันก็ทำ งานของสังขาร มันไม่พลิกแพลงอะไร นี่ปฏิปทามันติดต่อกันอยู่
เสมอ
การทำ ความเพียรของเราก็เหมือนกัน ต้องพยายามอยู่อย่างนั้น เราจะต้องมีสติติดต่อกัน
อยู่อย่างนั้นเสมอ มีความรู้ติดต่อกันอยู่เสมอเป็นวงกลม จะไปถอนหญ้าก็ได้ จะนั่งอยู่ก็ได้ จะ
ทานอาหารก็ได้ จะกวาดบ้านอยู่ก็ได้ต้องไม่ลืม มีความรู้ติดต่ออยู่เสมอตัวนี้มันรู้ธรรมะ มันจะ
พูดอยู่เรื่อยๆ ใจข้างในมันจะพูดอยู่เรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้นมีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิก
บานอยู่สมํ่าเสมออย่างนั้น นั้นเรียกว่าเป็นประโยชน์มาก ไม่ต้องสงสัยอะไรเลยอะไรมันเกิดขึ้น
มา เราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยงอันนั้นก็ดี แต่ว่ามันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง เท่านี้
ละ เราก็รู้ของเราไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละการปฏิบัติของเรา
มีคนถามว่า การทำ ภาวนานี้ ต้องอธิษฐานหรือไม่ว่าจะทำ เวลานานเท่าไร ๕ หรือ ๑๐
นาที อาตมาเลยบอกว่า ไม่แน่นอนบางทีอธิษฐานว่าฉันจะนั่งสามชั่วโมง นั่งไปได้สิบนาทีก็
เดือดร้อนแล้ว ไม่ถึงชั่วโมงก็หนีไปแล้ว เมื่อหนีไปแล้วก็มานั่งคิดว่า แหม เรานี้พูดโกหกตัวเรา
เอง เอาแต่โทษตัวเองอยู่ ไม่สบายใจ บางทีก็เอาธูปสักดอกหนึ่งมาจุด อธิษฐานจิตใจว่า ไฟจุดธูป
ดอกนี้ไม่หมดฉันจะไม่ลุกหนี ฉันจะพยายามอยู่อย่างนี้ พอท่านพูดอย่างนี้ พญามารก็มาแล้ว นั่ง
เข้าไปสักนิด นั่นทุกข์หลายเหลือเกิน เดี๋ยวมดกัดเดี๋ยวยุงกัด มันวุ่นไปหมด จะลุกหนีไปก็
อธิษฐานแล้ว นี่มันตกนรก นึกว่านานเต็มทีแล้ว ลืมตามองดูธูปยังไม่ถึงครึ่งเลย หลับตาอธิษฐาน
ใหม่ต่อไปอีก สามทีสี่ทีธูปก็ยังไม่หมด เลยก็มาคิด เรานี่มันไม่ดีเหลือเกิน โกหกตัวของตัวอยู่
เลยวุ่นยิ่งกว่าเก่าอีก เรานี้เป็นคนไม่ดี เป็นคนอัปรีย์จัญไร เป็นคนโกหกพระพุทธเจ้า โกหกตัวเรา
เอง เกิดบาปขึ้นมาอีก อาตมาเห็นว่าต้องพยายามทำ ไปเรื่อยๆพอสมควรที่จะเลิกก็เลิก เหมือนกัน
กับเราทานข้าว เราอธิษฐานมันเมื่อไร ทานไปทานไป มันจวนจะอิ่มจะพอ เราก็เลิกมันเมื่อนั้น
กินมากไปมันก็อาเจียรออกเท่านั้นแหละ ให้มันพอดีอย่างนั้น
เราเหมือนพ่อค้าเกวียน ต้องรู้จักกำ ลังโคของเรา ต้องรู้จักกำ ลังเกวียนของเรา โคของเรามี
กำ ลังเท่าไร เกวียนของเรารับนํ้าหนักได้เท่าไร ต้องรู้จัก ต้องเอาตามกำ ลังโค ต้องเอากำ ลังเกวียน
ของเรา อย่าเอาตามความอยากของเราสิ เรามีเกวียนลำ เดียว อยากจะบรรทุกหนักให้ขนาดรถสิบ
ล้อ มันก็พังเท่านั้น ก็ตายน่ะซิ มันต้องค่อยๆ ไป ค่อยๆ ทำ อย่างนี้ให้รู้จักของเรา ปฏิปทาเราทำ
ไปเรื่อยๆ ก็สบาย มันวุ่นวายก็ตั้งใหม่ มันวุ่นวายไปก็ตั้งใหม่ ถ้ามันวุ่นวายนักก็ลุกเดินจงกรมเสีย
ซิ เดินมันจนเหนื่อย พอเหนื่อยก็มานั่ง นั่งกำ หนด มันเหนื่อยมันจะสงบระงับ ถ้าเดินก็พอแรง
นั่งก็ สมควรแล้ว อยากจะพักผ่อนก็พักผ่อนเสีย แต่ว่า จิตใจอย่าลืมมีสติอยู่ทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน
อยู่ให้สมํ่าเสมออย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องไม่ย่อหย่อน จะต้องทำ ความพยายามอย่างนั้น ความอยาก
จะเร็วของเรา อันนี้ไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำ ไม่ได้
ธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็กำ หนดจิตปฏิบัติตามธรรมชาติของมันอย่างนั้น อยากจะให้
มันเร็วที่สุดนั้นไม่ใช่ธรรม มันคือความอยากของเรา เราจะทำ ตามความอยากของเรานั้นไม่จบ
ให้รู้จักดูประวัติของพระอานนท์ พระอานนท์นั้นมีศรัทธามากที่สุด พรุ่งนี้เขากำ หนดให้
พระอรหันต์ทำ ปฐมสังคายนาแล้วและคณะสงฆ์ก็กำ หนดพระอานนท์องค์หนึ่งว่าจะเอาไปร่วม
ทำ สังคายนาแต่จะเอาเฉพาะพระอรหันต์ทั้งนั้น พระอานนท์เหลือเพียงคนเดียวเท่านั้นยังไม่เป็น
พระอรหันต์ ไม่รู้จะทำ อย่างไร พระอานนท์ก็อาศัยความอยาก นึกว่า เราจะต้องทำ อะไรหนอ จึง
จะสำ เร็จเป็นพระอรหันต์ พรุ่งนี้เขาจะนับเข้าอันดับแล้ว จะประชุมสงฆ์ทำ สังคายนาตอนกลาง
คืนก็ตั้งใจนั่ง ไม่ได้นอนทั้งคืน นั่งทำ อยู่อย่างนั้น อยากจะเป็นพระอรหันต์ กลัวจะไม่ทันเพื่อน
เขา ทำ ไปทุกอย่าง คิดไปทางนี้ก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางโน้นก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทาง
ไหนก็มีแต่ปัญญาหยาบทั้งนั้น วุ่นวายไปหมด คิดไปก็จวนจะสว่าง เรานี่แย่ เราจะทำ อย่างไร
หนอเพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายจะทำ สังคายนาแล้ว เรายังเป็นปุถุชนจะทำ อย่างไรหนอ ธรรมที่
พระพุทธองค์ท่านแสดงไว้ เราพิจารณาทุกอย่างไม่ขัดข้อง แต่เรายังตัดกิเลสยังไม่ได้ ยังไม่เป็น
พระอริยเจ้า ทำ อย่างไรหนอ เลยคิดว่าเราก็ทำ ความเพียรมาตั้งแต่ยํ่าคํ่าจนถึงบัดนี้ หรือมันจะ
เหนื่อยไปมากกระมัง คิดว่าควรจะพักผ่อนสักพักหนึ่ง เลยเอาหมอนมาจะทำ การพักผ่อน เมื่อจะ
พักผ่อน ก็ปล่อยวางทอดธุระหมดเท่านั้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนเลย พอเท้าพ้นพื้นเท่านั้น ตอน
นั้นขณะจิตเดียวพอดีจิตมันรวมไว้ ที่ตั้งใจว่าจะพักผ่อน มันปล่อยวางทอดธุระตอนนั้นเอง พระ
อานนท์ได้ตรัสรู้ธรรมตอนที่ว่า อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่มีเวลา
ที่จะพักผ่อน ไม่ปล่อยวาง ก็เลยไม่มีโอกาสที่จะตรัสรู้ธรรม
ให้เข้าใจว่าการที่ตรัสรู้ธรรมนั้น มันพร้อมกับการปล่อยวางด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะ
เร่งมันให้มันเป็นอย่างนั้น แต่ด้วยเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น พอพักผ่อน พอวางเข้าปุ๊บ ตรงนั้นไม่
มีอะไรเข้ามายุ่ง ไม่มีความอยากเข้ามายุ่ง เลยสงบตรงนั้นเลย พอจิตตอนนั้นรวมดี ก็เป็นโอกาส
พบตรงนั้น พระอานนท์เกือบจะไม่รู้ตัว รู้ตัวว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น ที่พระอานนท์อยากจะ
ตรัสรู้ให้มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ นี่คือความอยาก แต่พอรู้จักวาง ตรงนั้นแหละคือการตรัสรู้ธรรมะ
คนไม่รู้จักมันก็ทำ ยาก เช่นว่า ตรงนั้นไม่ใช่ที่อยู่ของคนความวิตกของปุถุชนจะไปวิตก
ตรงนั้นก็ไม่ได้ เช่นว่า นี่พื้น นั่นหลังคา ตรงนี้ (ระหว่างหลังคากับพื้น) ไม่มีอะไร เห็นไหมตรงนี้
ไม่มีภพ ภพคือหลังคากับพื้น ระยะกลางนี้เรียกว่าไม่มีภพ ถ้าคนจะอยู่ก็ต้องอยู่ข้างล่าง หรือข้าง
บน ตรงนี้ไม่มีคนที่จะอยู่ ไม่มีใครที่จะอยู่ เพราะว่ามันไม่มีภพ ตรงนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวาง
อย่างนี้คนไม่สนใจ ว่าการปล่อยวางมันจะเกิดอะไรไหม เมื่อขึ้นไปถึงโน้นเป็นภพเคยอยู่ ลงมา
ทางนี้ก็เป็นภพเคยอยู่ ขึ้นไปข้างบนนี้หน่อยก็สุขสบาย หล่นลงมาตูมก็เจ็บ แล้วเป็นทุกข์ มีแต่
ทุกข์กับสุข แต่ที่มันจะวางให้เป็นปกติไม่มี เพราะว่าที่ไม่มีภพนั้นคนไม่สนใจ แม้จิตจะวิตกก็ให้
วิตกไปในปกติ ไม่มีภพ
ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ไม่มีภพไม่มีชาติ คือไม่มีอุปาทานนั่นเอง อุปาทานเป็นเหตุให้
ทุกข์เกิด ถ้าอุปาทานนั้นเราปล่อยไม่ได้เราอยากจะสงบมันก็ไม่สงบ คนเราอยู่กับภพ ถ้าไม่มีภพ
คิดไม่ได้เพราะนิสัยของคนมันเป็นอย่างนั้น กิเลสของคนเป็นอย่างนั้น พระนิพพานที่พระพุทธ
องค์ท่านว่า พ้นจากภพชาติ ฟังไม่ได้ ไม่เข้าใจมันเข้าใจแต่ว่าต้องมีภพชาติ ถ้าไม่มีภพ ถ้าไม่มีที่
อยู่ ฉันจะอยู่อย่างไร ยิ่งคนธรรมดาๆ อย่างเราแล้ว ฉันจะอยู่อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรืออยากจะเกิดอีก
แต่ก็ไม่อยากตาย มันขัดกันเสียอย่างนี้ ฉันอยากเกิดแต่ฉันไม่อยากตาย มันพูดเอาคนเดียวตาม
ภาษาคน แต่การเกิดแล้วไม่ตายนั้นมีไหมในโลกนี้ เมื่อคนอยากเกิดก็คือคนนั้นอยากตายนั่นเอง
แต่เขาพูดว่าฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันคิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาก็ไปคิดให้มันทุกข์
ทำ ไมเราจึงคิดอย่างนั้น เพราะเขาไม่รู้จักทุกข์ เขาจึงคิดอย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านว่า
ตายนี้มาจากความเกิด ถ้าไม่อยากตายอย่าเกิดสิ แต่นี่อยากเกิดอีก แต่ว่าไม่อยากตาย พูดกับกิเลส
ตัณหานี้มันก็ยาก มันก็ลำ บาก มันถึงมีการปล่อยวางได้ยาก มีการปล่อยวางไม่ได้อย่างนี้ กิเลส
ตัณหามันเป็นอย่างนั้น
ฉะนั้นที่พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ไม่มียางต้นเสาอันนี้อะไรไปเกาะ ไม่มีที่เกาะ ก็จึงไม่มี
ภพไม่มีชาติ ถ้าพูดถึงว่าเราไม่มีภพมีชาติ เราฟังไม่ได้ จนกระทั่งท่านยํ้าเข้าไปถึงตัวตนนี้ว่า ไม่มี
ตัวมีตนตัวตนนั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น มันจริงอยู่ มันก็จริงโดยสมมุติ ถ้าพูดถึงวิมุติ ตัวตนก็ไม่
มี เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเพราะเหตุเพราะปัจจัยเกิดขึ้นมาเท่านั้น เราก็ไปสมมุติว่ามัน
เป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นมา เมื่อเป็นสมมุติเป็นตัวเป็นตน ก็ยึดตัวยึดตนนั้นอีก เลยเป็นคนมีตน ถ้ามี
"ตน" ก็มี "ของตน" ถ้าไม่มี "ตน" "ของตน" ก็ไม่มีถ้ามี "ตน" มันก็มีสุขมีทุกข์ ถ้ามี "ตน" มันก็มี
"ของตน" พร้อมกันขึ้นมาเลย เราไม่รู้เรื่องอย่างนั้น ฉะนั้นคนเราจึงไปคิดว่า อยากเกิดแต่ไม่
อยากตาย
พูดถึงเรื่องกระแสพระนิพพานแล้ว ถ้าไม่รู้ปัจจัตตังแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะปรารถนาอะไร
ถึงพระนิพพานนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องปรารถนาอีกด้วย พระนิพพานปรารถนาไม่ได้เหมือนกัน อย่าง
นี้มันเป็นลักษณะที่เข้าใจยาก ถึงเราจะเข้าใจในเรื่องพระนิพพาน แต่จะพูดให้คนอื่นฟัง ก็ไม่เข้า
ใจเหมือนกัน มันไม่เข้าใจ เพราะธรรมอันนี้ ถ้าแบ่งให้กันได้มันก็สบายละซิ แต่ธรรมนี้มันเป็น
ปัจจัตตังมันรู้เฉพาะตัวของเราเอง บอกคนอื่นได้ แต่มีปัญหาอยู่ว่าคนอื่นจะรู้ไหม
ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" แปลว่า พระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
นั่นก็เหมือนกับเราทุกวันนี้แหละเป็นผู้บอกไม่ใช่ผู้ทำ ให้ บอกแล้วให้เอาไปทำ จึงจะเกิดความ
มหัศจรรย์ขึ้น เกิดความเป็นจริงขึ้นเฉพาะตนเป็น "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ" วิญญูชนรู้เฉพาะ
ตัวเอง ทั้งนั้น อย่างพูดวันนี้จะมาเชื่ออาตมานั้นก็ยังไม่ใช่ของดี มันยังไม่ใช่ของแท้ คนที่เชื่อคน
อื่นอยู่พระพุทธองค์ท่านว่ายังโง่อยู่ พระพุทธองค์ท่านให้รับรู้ไว้ แล้วไปพิจารณาให้มันเกิดขึ้น
มา โดยเฉพาะตัวเราเอง ธรรมนี้มันจึงเป็นปัจจัตตังอย่างนั้น
ทีนี้ในเรื่องการฟังธรรม ก็ให้ทำ ความเข้าใจว่าต้องไม่ปฏิเสธรับฟังไม่เชื่อก็พิจารณาดู ไม่
เชื่อก็ไม่ว่า เชื่อก็ไม่ว่า วางไว้ก่อน เราจะรู้โดยให้เกิดปัญญา อะไรทุกอย่างถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอ
ในใจของเราเอง ก็ยังไม่ปล่อยวาง คือว่า มีสองข้าง นี่ข้างหนึ่ง นี่ก็ข้างหนึ่ง คนเรานั้นจะแอบเดิน
มาข้างนี้ หรือแอบเดินไปข้างนั้น ที่เดินไปกลางๆ ไม่ค่อยเดินหรอก มันเป็นทางเปลี่ยว เดี๋ยวรักก็
ไปทางรัก พอชังก็ไปทางชัง จะปล่อยการรักการชังนี้ไป มันเป็นทางเปลี่ยว มันไม่ยอมไป
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมะ ทรงเทศน์เป็นปฐมเทศนาเลยตรงนี้ ทางหนึ่งมันเป็นทาง
สุขของกาม ทางหนึ่งมันเป็นทางทุกข์ทรมานตน สองอย่างนี้ไม่ใช่ทางที่สงบ ท่านพูดว่าไม่ใช่
ทางของสมณะ สมณะนี้คือความสงบ สงบจากสุขทุกข์ ไม่ใช่มีความสุขแล้วมันสงบ ไม่ใช่มี
ความทุกข์แล้วมันสงบ ต้องปราศจากสุขหรือทุกข์มันจึงเป็นเรื่องความสงบ ถ้าเราทำ อย่างนั้น
แล้วมีความสุขใจเหลือเกิน อันนี้ก็ไม่ใช่ธรรมะที่ดีนะ แต่ต้องเราวางสุขหรือทุกข์ไว้สองข้าง
ความรู้สึกต้องไปกลางๆ เดินผ่านมันไปกลาง เราก็มองดู สุขก็เห็น ทุกข์ก็เห็น แต่เราไม่
ปรารถนาอะไร เดินมันเรื่อยไป เราไม่ต้องการสุข เราไม่ต้องการทุกข์ เราต้องการความสงบ จิต
ใจของเราไม่ต้องแวะไปหาความสุข ไม่ต้องแวะไปหาความทุกข์ ก็เดินมันไปเรื่อยเป็นสัมมา
ปฏิปทา เป็นมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้นแล้ว สัมมาสังกัปปะ คือความ
ดำ ริวิตกวิจารณ์มันก็ชอบทั้งนั้น อันนี้เป็นสัมมามรรค เป็นมรรคปฏิปทา ถ้าจะทำ อย่างนี้ให้เกิด
อย่างนั้น

ทีนี้เราได้ฟังเราก็ไปคิดดู ธรรมะทั้งหมดนี้ท่านต้องการให้ปล่อยวาง ปล่อยวางจะเกิดขึ้น
มานั้นต้องรู้ความเป็นจริง มันถึงจะปล่อยวางได้ ถ้าความรู้ไม่เกิดก็ต้องมีการอดทน มีการ
พยายาม มีการปฏิบัติธรรมอยู่ มันต้องใช้ทุนอยู่เสมอทีเดียว เรียกว่าต้องปฏิบัติธรรม
แต่เมื่อมันรู้เห็นหมดแล้ว ธรรมะก็ไม่ได้แบกเอาไปด้วยอย่างเลื่อยคันนี้เขาจะเอาไปตัด
ไม้ เมื่อเขาตัดไม้หมดแล้ว อะไรก็หมดแล้ว เลื่อยก็เอาวางไว้เลย ไม่ต้องไปใช้อีก เลื่อยคือธรรมะ
ธรรมะต้องเอาไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผล ถ้าหากว่ามันเสร็จแล้วธรรมที่มีอยู่ก็วางไว้
เหมือนเลื่อยที่เขาตัดไม้ ท่อนนี้ก็ตัด ท่อนนี้ก็ตัด ตัดเสร็จแล้วก็วางไว้ที่นี่ อย่างนั้นเลื่อยก็ต้องเป็น
เลื่อย ไม้ก็ต้องเป็นไม้ นี่เรียกว่าถึงหยุด แล้วถึงจุดของมันที่สำ คัญแล้ว สิ้นการตัดไม้ ไม่ต้องตัด
ไม้ ตัดพอแล้ว เอาเลื่อยวางไว้
การประพฤติปฏิบัติต้องอาศัยธรรมะ ถ้าหากว่าพอแล้วไม่ต้องเพิ่มมัน ไม่ต้องถอนมัน ไม่
ต้องทำ อะไร มันปล่อยวางอยู่อย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติอันนั้น ถ้าไปยึดมั่นหมายมั่น สงสัย
อันนี้เป็นอย่างนั้น มันอยู่ไกลเหลือเกิน อยู่ไกลมากทีเดียว ยังเป็นเด็กๆ อยู่ ยังเป็นเด็กอมมืออยู่
นั่นแหละ ทำ อะไรไม่ถูกอยู่นั่น ไม่เอาแล้วอย่างนั้น มันเป็นทุ




บันทึกการเข้า
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 08:59:46 AM »

Permalink: การปล่อยวาง
มันเป็นทุกข์ ต้องดู ต้องดูออกจากจิตใจของ
เราดูมันปล่อยมัน ดูว่ามันอะไรเกิดขึ้น ก็รู้ว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้เกิดไม่จริงอันนี้มันปลอม ความจริง
มันก็อยู่อย่างนั้น ที่เราอยากให้อันนั้นเป็นอันนี้ อันนี้เป็นอันนั้น นั่นไม่ใช่ทาง มันเป็นอยู่อย่าง
นั้น ก็วางมันเสียความสงบเกิดขึ้นได้ เราข้ามไปข้ามมา มันไม่รู้เรื่อง ก็เป็นทุกข์ตลอดเวลา หาย
สงสัยเสีย อย่าไปสงสัยมัน เลิกมันเถอะ อย่าไปเป็นทุกข์หลาย พอแล้ว ปล่อยวางมันเสีย
(หัวเราะ)
"การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับ
บุคคลทั่วไปวิธีนั้นเรียกว่า "อานาปาน-สติภาวนา" คือมีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก
ที่สำ นักนี้ให้กำ หนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็ภาวนา
แบบนี้ จะใช้บทอื่นหรือจะกำ หนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก
ข้อสำ คัญอยู่ที่ว่าพยายามกำ หนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำ
ติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำ ครั้งหนึ่งแล้ว หยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ หรือตั้ง
เดือนจึงทำ อีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำ ให้มาก
คือทำ บ่อยๆ ติดต่อกันไป"
"อาการบังคับตัวเองให้กำ หนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำ หนดลมหายใจได้และติดต่อ
กันไปจนจิตสงบข้อนี้เรียกว่า สมาธิการพิจารณากำ หนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัว
ตนแล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา การทำ อานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการ
บำ เพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกันและเมื่อทำ ศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทาง
ตามมรรค มีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะ
เป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำ ตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรม
อย่างถูกต้องที่สุด"
บันทึกการเข้า
สันต์ ธรรมะ
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 51
กระทู้: 21
สมาชิก ID: 1794


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2012, 07:46:56 AM »

Permalink: การปล่อยวาง
สูงสุดของการปล่อยวางคือนิพพาน ทางที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ดังนี้
http://www.dharma-of-buddha.blogspot.com/2012/06/blog-post_04.html
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 06:37:21 PM