เมษายน 25, 2024, 11:38:35 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร  (อ่าน 53380 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2012, 07:49:23 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ผมได้ปฎิบัติวิปัสสนามาเป็นเวลานานพอสมควรแล้วครับ คือการรู้รูป/นามหรือกาย/ใจ 
ทางกายก็คือตามรู้อาการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการรู้รูป ยืน เดิน นั่ง นอน
ทางใจก็คืออาการต่างๆเช่นตามรู้อาการ โกรธ เศร้า ดีใจ เสียใจ ท้อแท้ สงบ  และอื่นๆอะครับ 
แล้วเมื่อปฎิบัติมากพอก็จะเกิดปัญญาคือเห็นความไม่เที่ยง เห็นการการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของรูปนามอะครับ แต่ผมปฎิบัติมาได้สักพักแล้วแต่ยังไม่เกิดปัญญาหรือเห็นอะไรเลยอะครับ ใครทราบเรื่องการปัฎิบัติวิปัสสนาช่วยแนะนำหน่อยครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2012, 07:51:22 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
ประวิต
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 19


อายุ: 52
กระทู้: 265
สมาชิก ID: 1634


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 10:00:09 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
กระผมเคยบอกท่านแล้วสหาย  ว่ามันจะกลับมาหลอนท่านอีก  นั้นคือวังวลแห่งอัตตา  ท่านลองคิดดูสิในเมื่อเราใช้อัตตากำหนด  แล้วเราจะเห็นอะไร  นอกจาก  อัตตาที่เรากำหนด  อย่างดีเราก็เห็นในความไม่เที่ยงของการเกิดดับในอัตตาในสิ่งที่เรากำหนด  แต่มันก็เป็นถนนสู่นิภพิธาณาน  ที่จะเดินไปสู่กระบวนการของนิพพาน  วิธีการดั่งกล่าวต้องใช้กำลังของสมาธิช่วย  สมาธิที่เกิดจากปลีกวิเวก  และความเพียร  ท่านกล้าที่จะออกบวชและปลีกวิเวกเพื่อทำความเพียรหรือเปล่า  ถ้าท่านกล้าไม่นานดอกท่านจะเข้าใจในธรรมชาติของชีวิต   ..แต่ถ้าเรายังเป็นผู้ที่ดำรงค์ชีวิตที่เกี่ยวเนื่องในสถานะของสังคมของชีวิต  เราต้องเปลี่ยนวิถีการของการปฏิบัติ  เพื่อให้มันสอดคล้องกันกับชีวิตประจำวันในปัจจุบัน.....สัมมาทิฎฐิ....
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:57:01 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับ ผมรู้ครับว่าคุณปฎิบัติคนละวิธีกับผมขอผู้รู้คนอื่นมาช่วยแนะนำหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 11:22:00 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
คุณพิจารณาระลึกรู้สภาพจริงแล้วหรือยังครับ หรือ ที่รู้สึกเป็นขณะที่รู้ในความคิดที่เป็นความปรุงแต่งกุศลจิต และ อกุศลจิตอยู่ เช่น
1. ระดับความคิด
1.1 เมื่อคุณคิดในเรื่อง รัก โลภ โกรธ หลง เมื่อรู้ทันตาม นี่เรียกว่า รู้ในสภาพความคิดที่เป็น อกุศลจิต
1.2 เมื่อคุณคิดในเรื่องที่ เป็นไปเพื่อความปารถนาดี เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน ไม่พยาบาทเบียดเบียนต่อผู้อื่น นี่เป็นความคิดที่เป็น กุศลจิต

ในข้อที่ 1 นี้คือเรียนรู้ทันในความตรึกนึกคิด

2. รับรู้สภาพจริงใน เวทนานุสติปัฏฐาน และ จิตตานุสติปัฏฐานเบื้องต้น (ห้ามไปจดจ้องเด็ดขาดต้องรู้ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดเท่านั้น)
2.1 เมื่อเกิดความคิดอยาก ปารถนา ใคร่ได้ ต้องการ พอใจยินดี ให้ดูรู้สภาพจิตความรู้สึกว่า อยู่ในสภาพใด เช่น อัดทะยาน กรีดพุ่ง ระส่ำระส่ายกาย-ใจ หวีดโหยกรีดเข้าที่ทรวงอกหรือลำคอ จิตไปจับจุดที่กระตุ้นจดจ่ออยู่ในส่วนใดเป็นต้น
2.2 เมื่อเกิดความคิดโกรธ เคียดแค้น ไม่พอใจยินดี ให้ดูรู้สภาพความรู้สึกว่า อยู่ในสภาพใดๆ เช่น อึดอัดใจ ขุ่นเคืองใจ ขัดข้องใจ ขุ่นมัวใจ คับแค้นใจ กรีดหวีดอัดในใจ เป็นต้น
2.3 เมื่อเกิดความคิดเลื่อนลอย ซึมเฉย นิ่งเฉยต่อความมีสติระลึกรู้พิจารณาแยกแยะถูกผิด ให้ดูรู้สภาพความรู้สึกว่า อยู่ในสภาพใด เช่น เฉยๆ ไม่อบอุ่น ไม่สงบ ไม่ผ่องใส ไม่เบาบาง มีความหมองใจ เป็นต้น
2.3 เมื่อเกิดความคิดที่ปารถนาดี เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน ไม่พยาบาทเบียดเบียนต่อผู้อื่น ให้ดูรู้สภาพความรู้สึกว่า ขณะจิตนั้นสงบ โล่งว่างผ่องใส เบาบาง อบอุ่น มีความติดข้องใจอยู่ไหม ตัดขาดความรู้สึกเช่นไรบ้าง

ในข้อที่ 2 นี้คือเรียนรู้ในสภาพปรมัตถธรรม และ แยกแยะ ความรู้สึกที่เป็น กุศลจิต และ อกุศลจิต

3. เรียนรู้เอาสภาพปรมัตที่ตัดขาดจากบัญญัติ
 โดยรู้ตามแค่ความรู้สึกว่าขณะนั้นรู้สึกเช่นไร โดยไม่ต้องไปให้ชื่อรียกมันว่าสภาพนั้นเป็น รัก โลภ โกรธ หลง เป็นกุศล หรืออกุศล ไม่ต้องให้ชื่อเรียกสภาพนั้นว่าอะไร คือ ไม่ต้องไม่เรียกชื่อมันว่ามันอัดอั้น ทะยาน สงบ หรืออะไร แค่จับความรู้สึกสภาพปรมัตถธรรมนั้นไป แล้วพึงระลึกรู้ตรึกนึกคิด (บริกรรมในใจ) ตามสติที่รู้ทันความรู้สึกนั้นๆที่เกิดขึ้น ที่ยังคงตั้งอยู่ เพียงแค่ว่า รู้สึกๆ หรือ รู้สึกหนอๆ เมื่อมันดับสภาพนั้นไปก็พึงระลึกรู้ว่า ดับหนอๆ เป็นต้น

ในข้อที่  นี้คือเรียนรู้การรับแค่สภาพที่เป็นปรมัตถธรรมโดยตัดขาดจากสมมติบัญญัติ

4. เรียนรู้สิ่งที่เป็นสมุทัย (สติระลึกรู้ในสภาพที่เกิดขึ้น มีวิตกเจตสิกที่เป็นกุศลรู้ตามด้วยปัญญา)
4.1 เมื่อคิดในรัก โลภ โกรธ หลง อยู่นั้นให้ตรึกนึกย้อนทวนพิจารณาดูว่า ที่เกิดความคิดเช่นนั้น เพราะไปรับรู้อารมณ์อะไรในสิ่งมากระทบสัมผัสให้รับรู้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย หรือ ธัมมารมณ์
4.2 เมื่อเกิดความอัดอั้น คับแค้น กรีด อึดอัด อัดทะยาน ระส่ำระส่ายใดๆ ให้พึงมองย้อนว่าเพราะสิ่งใดเป็นเหตุ  เพราะไปรับรู้อารมณ์อะไรในสิ่งที่รับรู้มาจากทางทวารทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
4.3 เมื่อรู้ในทั้ง 2 ข้อข้างต้น ให้ทวนระลึกรู้ว่า เมื่อรับรู้อารมณ์แล้ว เราเกิดความรู้สึกนึกคิดเช่นไร จนเอามาเสพย์เสวยอารมณ์เป็น สุข-ทุกข์ ทางกาย และ พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี ทางใจ
4.4 เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆ ทำไมเราเสพย์เสวยอารมณ์เป็น สุข-ทุกข์ ทางกาย และ พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี ทางใจ  เราไปปรุงแต่งจดจำให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้กับสิ่งนั้นว่าอย่างไร

ในข้อที่ 4 นี้จะเริ่มคิดหาเหตุปัจจัยของสิ่งที่ดำเนินไปเป็นผลให้เรารู้สึกรับรู้ เรียนรู้ลำดับสิ่งเกิดขึ้นก่อนหลัง และสิ่งที่เป็นสมุทัยที่เรารับรู้ได้และเห็นได้

** หมายเหตุ อารมณ์ทางธรรม กับ อารมณ์ทางโลกต่างกันนะครับ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ทางธรรม ธรรมมารมณ์คือ สิ่งที่จิตรู้ จิตปรุงแต่ง สังขาร บัญญัติ เป็นต้น

เมื่อคุณทำทั้ง 4 ข้อจนคล่องแล้ว ขอให้คุณมาตอบคำถามว่า ที่เสพย์เสวยอารมณ์เป็นเพราะอะไร จิตมันไปรับรู้อารมณ์ตรึงอยู่สภาพไหนจึงเกิด ความปรุงแต่งและเวทนาขึ้นมา




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 11:24:13 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 06:35:09 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณมากครับ โดยสรุปก็คือตามรู้กายหรือใจตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไปเรื่อยๆ แต่ต้องใช้เวลาแล้วปัญญาจะเกิดเองหรือจะรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริงเองใ่ช่ไหมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 06:43:23 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 07:41:11 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ในความเข้าใจของผมนะครับอาจจะไม่คลอบคลุดทั้งหมดต้องเรียนรู้จากท่านอื่นเพิ่มเติมด้วยนะครับ การที่จะเห็นสภาพจริงๆได้ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับว่า
- คนๆนั้นมีกำลังจิตสะสมมากพอไหม ๑ (ที่ต้องทำสมาธิให้ถึงอัปนาสมาธิ ถึงเอกัคคตา ให้มีกำลังมากแล้วค่อยถอยมาอุปจารสมาธิพิจารณาด้วยปัญา เพราะจิตจะไม่สัดส่าย พระพุทธเจ้าจึงให้ดำเนินไปในสมถะและวิปัสนาควบกัน เพื่อความไม่จมดิ่งติดสุขจากความว่างของสมถะและมีกำลังจิตพอเห็นตามจริง)
- คนๆนั้นติดอยู่กับความคิดมากน้อยไหม ๑ (หากคิดน้อยก็รู้ตามได้มาก คิ ดมากก็รู้ได้แต่จิตที่จดจ้องทางความคิด)
- ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อเห็นในสภาพปรมัตถธรรมแล้วมันไม่มีสิ่งที่น่าใคร่ได้ยินดี ไม่ควรแก่ความทะยานต้องการ มันไม่มีประโยชน์ใดๆแก่เรา มันเป็นเพียงกองทุกข์ที่เราสมมติขึ้นมา นี่คือปัญญาในระดับเบื้องต้นเท่านั้น มีดำเนินไปอีกหลายขั้น เห็นเหตุ เห็นปัจจัย เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องดำเนินไปถึงผลตามจริง จนเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป เห็นสภาวะเกิดและกำลังเกิด

- เรื่องปัญญาพูดเหมือนยาก แต่ก็เกิดไม่ยาก พูดเหมือนง่ายแต่ก็เห็นได้ยาก ปัญญาทางสมถะ(สมถะญาณ)จะมีบัญญัติติดอยู่ คือ เห็นความเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ยังเอ่ยขึ้นเป็นชื่อเรียกนั้นๆเข้าถึงความเป็นกุศลจิต และ ความว่างได้ ปัญญาทางวิปัสนาจะเห็นสภาพตามจริงตัดขาดจากบัญญัติ เห็นความไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีเขา ไม่มีเรา มีเพียยง รูปธาตุ นามธาตุ หรือ รูปธรรม นามธรรม ไม่ก่อเกิดความติดข้องใจสิ่งใด หมดความเป็นตัวเป็นตน
- ยิ่งอยากได้ ยิ่งจดจ้องเอามันยิ่งห่าง เพราะตัณหา อุปาทานจะเข้ามาปิดบังปัญญา

- ตอนนี้ผมเข้าใจว่าคุณเห็นสภาพจริง แต่ยังให้ความหมายบัญญัติตามสิ่งที่รู้อยู่ไม่ขาด ยังมีความตรึกนึกประกอบขึ้นเป็นหลักอยู่ เรียนรู้ข้อธรรมใดข้อธรรมหนึ่งจากพุทธพจน์ หรือ พุทธวจนะ หรือ แนวทางธรรมใดๆที่คุณมองว่าเป็นจริงและพอใจยินดีในข้อธรรมนั้นๆนำขึ้นมาพิจารณาประกอบกับการปฏิบัติกระทำตามข้อที่ 3-4 จนเห็นแน่ชัดและนานขึ้นและเกิดขึ้นได้บ่อย แล้วคุณมาตอบคำถามผมก่อนว่า ที่เสพย์เสวยอารมณ์เป็นเพราะอะไร จิตมันไปรับรู้อารมณ์ตรึงอยู่สภาพไหนจึงเกิด ความปรุงแต่งและเวทนาขึ้นมา หากคุณตอบได้แสดงว่าปัญญาญาณ หรือ วิปัสนาญาณขั้นต้นเกิดขึ้นแก่คุณแล้ว ส่วนวิถีปฏิบัติของผมก้มีเห็นจากการระลึกรู้พิจารณาในกัมมัฏฐาน เป็นสิ่งที่ได้จากกัมมัฏฐานและมีครูบาอาจารย์หรือผู้รู้ชี้แนะร่วมกันเป็นแนวทางของผมมออกมา แล้วผมจะให้ดูภายหลังครับขอให้คุณปฏบัติจนตอบคำถามได้ก่อน และ สามารถแยกกุศลจิต และ อกุศลจิตได้

- โดยส่วนตัวผมเองก็รู้เห็นได้ไม่มากนัก ยังเป็นแค่เศษธุลีฝุ่นที่ท่านอื่นๆหรือครูบาอาจารย์ท่านรู้ ยิ่งเมื่อนึกถึงสิ่งที่องค์พระตถคตรู้เห็นยิ่งไม่เห็นฝุ่นเลย ยังเป็นผู้ที่ยังต้องศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติเพิ่มเติมอีกมาก อาจจะไม่สามารถบอกกล่าวสิ่งที่คุณรู้ได้ทั้งหมด หรือ ผมอาจจะรู้ไม่ถึงคุณเลยแม้แต่นิดเดียวก็เป็นได้ หากแนวทางใดๆที่ผมโพสท์บอกกล่าวไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆแก่คุณผมก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 08:12:11 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 08:14:56 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
เท่าที่ผมรู้มาจากการปฎิบัติของผมนะครับ
ที่เสพย์เสวยอารมณ์เพราะมาจากการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะ จิตไม่ใช่ของเราเขากระทำของเขาเอง ใช่หรือปล่าวครับ
จิตมันไปรับรู้อารมณ์ตรึงอยู่ในสภาพไหนจึงเกิด ยังไม่ทราบอะครับ

ไม่เป็นไรครับผมขอแค่คำแนะนำที่ดี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 08:20:38 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 09:36:40 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ที่เสพย์เสวยอารมณ์เป็นเพราะอะไร เพราะสลายตนะเป็นประตูให้จิตรับรู้อารมณ์ ถูกต้อง ครับ

แล้วอีกคำถามที่ถามไว้ล่ะครับว่า

- จิตมันไป รับรู้อารมณ์แล้วตรึงอยู่สภาพไหน จึงเกิดเป็นเวทนา

ทั้ง 2 ข้อถามคล้ายกันมาก แต่จะมีความดำเนินไปเป็นลำดับที่ต่างกันแต่ทั้งหมดจะวนเป็นวงจรหากันตัดขาดกันและกันไม่ได้ ซึ่งคำถามทั้ง 2 ข้อนี้เป็นเบื้องต้นที่เราสามารถจะรับรู้ได้เมื่อจิตมีกำลังวิปัสนา ต้องรู้เองนะครับ ห้ามไปหาดูทาง Net มันจะเป็นปัญญาตัวแรกที่ทำให้คุณรู้ และดำเนินไปถึงกานแยกในสภาพจิตที่เป็นกุศลและอกุศลของฉันทะที่เกิดประกอบใน ความโลภ กับ เมตตา
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 12:29:13 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับก็คือต้องมีสติระลึกรู้สภาพที่เกิดขึ้นจริงกับตนเองไปเรื่อยๆใช่ไหมครับจึงจะรู้และเกิดปัญญามากขึ้นเรื่อยๆจะรู้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 04:44:47 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ที่คุณกล่าวมาข้างต้น เป็นจริงเช่นนั้นครับ แต่คำถามที่ผมถามคุณยังไม่สามารถตอบได้

งั้นผมขอกล่าวคร่าวๆละกันนะครับแล้วลองไปสังเกตุดูนะครับ


- เมื่อคุณรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งแรกที่จิตคุณจะตรึงอยู่คืออะไรครับ
- ความติดข้องใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ ใช่ไหมครับ
- เช่น เริ่มแรกที่คุณมองออกไปเจอวัณณะรูป(สิ่งที่เห็นทางตา) สภาพแรกคุณก็แค่รับรู้เห็นภาพ เมื่อเห็น ภาพ+สัญญา คุณก็จะรู้ทันทีว่านั่นคือ คน สาวๆ สัตว์ สิ่งของ คุณก็จะเริ่มจ้องมองดูใช่ไหมครับ (สภาวะนี้คือความติดข้องใจ คือ อยากและต้องการที่จะรับรู้สัมผัส) เมื่อมองดูรับรู้เสร็จก็จะเกิดสืบต่อกับความสำคญมั่นหมายของใจ(สัญญาที่เราตั้งมั่นหมายจดจำเอาไว้) ว่า สิ่งนี้สวย ไม่สวย ชอบ ไม่ชอบ แล้วก็สืบต่อเป็นเวทนา เป้น โสมนัส โทมนัส สุข ทุกข์

คำตอบในสิ่งที่ผมถามคุณก็คือ ความติดข้องใจ นั่นเองครับ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือ โลภะ ที่เกิดประกอบกับจิตนั่นเองครับ

Lesson 2 คุณลองระลึกรู้พิจารณาดูนะครับว่า เท่าที่คุณดำเนินไปในชีวิตประจำวัน คุณติดข้องใจกี่ครั้ง แล้วติดข้องใจกี่อย่าง อะไรบ้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 04:47:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 07:22:15 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ถ้าทำเป็นขั้นตอนก็จะเกิดปัญญาแต่ละระดับใช่ไหมครับ แต่ถ้าระลึกรู้พิจารณาความจริงที่เกิดขึ้นกับตนก็สามารถเกิดปัญญาได้เหมือนกันและปัญญาที่เกิดขึ้นก็จะเหมือนกันใช่ไหมครับ ผมเคยอ่านมาว่าการปฎิบัติทำได้หลายแบบเหมือนเข้าประตู4ทิศเข้าอันใดอันหนึ่งก็ได้ แต่ปลายทางจะเป็นที่เดียวกัน และที่คุณกล่าวมาผมลองสังเกตุดูมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆครับ
และหลักๆของวิปัสสนาก็คือการระลึกรู้รูปนาม หรือตามรู้กายหรือใจในปัจจุบันใช่ไหมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 07:27:08 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 09:43:17 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
- ครับ ที่คุณแมนกล่าวมาก็ใช่ครับ
- คุณลองพิจารณาไปเรื่อยๆ ให้รู้ทันความปรุงแต่งจิตมากขึ้น จิตจดจ่อได้นานขึ้น รู้เหตุและปัจจัยที่ทำให้เราเกิดสภาพนั้นๆได้มากขึ้น รู้ทางดับหรืออริยะมรรคที่ถูกต้องไม่ผิดทาง มีความปล่อยวางมากขึ้น อัตตา-มานะทิฐิ-อุปาทาน-ตัณหา-ลดลง ตัดความคิดความจดจำจากสภาพนั้นๆที่รับรู้และรู้สึกได้มากขึ้น มองเห็นปรมัตถธรรมตามจริง ความไม่ติดข้องใจจะเกิดขึ้นแก่เรา นี่ก็แสดงว่าปัญญาเกิดขึ้นแก่เราแล้วในระดับหนึ่ง
- จนเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งของ ไม่มีสิ่งได้คงอยู่ ไม่มีสิ่งใดไปยื้อบังคับได้ ทุกอย่างเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป สิ่งใดที่เป็นไปตามปัจจัยนี้สิ่งนั้นเป็นทุกข์เสมอ  ปัญญาในระดับที่สูงขึ้นก้อจะเกิดขึ้นแก่คุณครับ

สิ่งที่ผมรู้เห็นนั้นเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวขี้ผมของครูบาอาจารย์และผู้รู้ทั้งหลาย ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย คงสนทนากับคุณและตอบคำถามได้ไม่ถึงที่สุดดั่งที่ต้องต้องการได้ ผมก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยครับ

สุดท้ายก็ขอให้คุณตั้งใจศึกษาและเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ในเร็ววันครับ สาธุ สาธุ บุญใดผมเผยแพร่พระพุทธศาสนามา ขอให้ส่งผลให้คุณได้ถึงธรรมได้ธรรมหนึ่งในชาตินี้ครับ สาธ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 10:04:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 10:05:09 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับคุณเกียรติคุณที่ช่วยมาแนะนำการปฎิบัติต่างๆ สรุปก็คือการปฎิบัติต้องใช้เวลาและมีความเพียรปฎิบัติธรรมในทางที่ถูก ผมก็ขอให้คุณเกียรติคุณโชคดีและได้ถึงธรรมในชาตินี้เช่นกันครับ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2012, 10:09:22 AM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 12:21:58 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
คุณแมน ลองอ่านวิธีตัดบัญญัติของพระครูเกษมดูนะครับ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติแยกรูป-นามได้ตรงตามพระไตรปิฎกที่สุด

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_22.htm
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 06:47:52 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับคุณเกียรติคุณ บทความเป็นประโยชน์มากครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 11:57:25 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ถึงคุณ man123 ตอนนี้เป้นอย่างไรบ้างปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้างครับมีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันบ้างครับ

ส่วนผมได้รับรู้ ได้รับฟังมา และ ได้ลองมาปฏิบัติดูมาซักระยะหนึ่งแล้วได้เห็นดังนี้ครับ

- เวลาเรารู้มากจากการอ่าน ฟัง เราก็จะคิดมากจนสิ่งที่รู้เป้นแต่ความคิด ทำให้ตัดคิดเห็นสภาพจริงไม่ได้
- ผมจึงได้ลองปฏิบัติโดยทิ้งสิ่งที่รู้ที่เห็นจากกัมมัฏฐานที่จดจำไว้ทั้งหมดทิ้งไป แล้วมาเริ่มกัมมัฏฐานใหม่เหมือนแรกๆที่ไม่รู้ในธรรมอะไรนอกจากหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ มันให้ให้เข้าสู่สภาวะธรรมได้ง่ายขึ้น ไม่รู้ว่าสภาพจริงที่สัมผัสนั้นคืออะไร รู้แต่สภาพไม่มีบัญญัติ มันก็ก้าวขึ้นสูงขึ้น
- ผมจึงมาแลกเปลี่ยนกับคุณman123 ดูครับหากนั่งปฏิบัติไปแล้วมัวแต่จดจ้องปรุงแต่งจนไม่เห้นสภาพปรมัตถธรรม ลองล้างความรู้หรือสิ่งที่สนทนา หรือที่เห็นออกให้หมด แล้วลองปฏิบัติกัมมัฏฐานเริ่มให่มแบบที่ยังไม่รู้สิ่งใด หากเข้าถึงสภาวะของเอกัคตา จิตมันก็รับรู้สภาพเอกัคตาอยู่แต่มันจะไม่คิดต่อ ไม่รับรู้สภาวะภายนอกที่กระทบทางกาย เราก็แค่รู้สภาวะนั้นๆไปดูความรู้สึกปรุงแต่งนั้นๆไป จะเข้าเห็นถึงสภาพจิตเกิดดับ เห็นสภาพจิตที่ตัดจากการไหลตามความปรุงแต่งที่เป้นไปในรัก โลภ โกรธ หลง รู้เวทนาขณะนั้นเป้นอย่างไร ขณะที่เกิดจิตรู้ จิตคิด จิตเสพย์เสวยอารมณ์เป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน หรือคนละขณะจิตกัน เป็นตัวเดียวกันหรือคนละตัวกัน

หากคุณแมนได้รับรู้อะไรมาใหม่ๆขอเชิญสนทนาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 06, 2012, 07:41:10 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับคุณเกียรติคุณ การปฎิบัติของผมก็ยังไม่ค่อยเห็นอะไรมากนักเพราะตอนนี้ผมต้องเรียนหนังสืออะไรบ้าง ไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไรแต่ก็ปฏิบัติอยู่เป็นประจำครับ ผมก็ได้เห็นการเกิดดับของอารมณ์ต่างๆบ้างครับเห็นว่าจิตมันสงบบ้างฟุ้งซ่านบ้างเมื่อเวลาผ่านไปเกิดดับอย่างนี้เรื่อยๆ
และสาเหตุที่ทำให้จิตมันเกิดอารมณ์ต่างๆเช่นรัก โลภ โกรษ หลง ก็จะมีสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้นไม่ใช่เราไปบังคับให้มันเกิดขึ้นเองครับ
เช่นเผลอไปคิดเรื่องราวต่างๆทำให้จิตเกิดอารมณ์ต่างๆ หรือถูกอาจารย์ว่าจิตเราก็รู้สึกเสียใจอย่างนี้เป็นต้นครับ
ในตอนนี้ผมก็ยังไม่เห็นธรรมอะไรมากครับ แค่รู้อะไรเล็กน้อยแค่นั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 09, 2012, 09:24:55 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
สาธุกับคุณแมนครับ

- ผมได้หาแนวทางยุติความฟุ้งซ่านของจิตให้สามารถทรงสภาวะความรู้สึกของเรามากขึ้น(อารมณ์ทางโลก) เนื่องมาจากเพราะผมปฏิบัติแล้วเห้นเยอะจนแยกแยะไม่ออกว่าอันไหนคิดอันไหนจริง อันไหนอุปาทาน อันไหนปรมัตถธรรม
- ผมจึงได้ทิ้งการปฏิบัติไประยะหนึ่งเพราะกลัวความหลงตนจะเกิดขึ้นจนเกินจำกัดได้
- แล้วผมก็ได้พบทางหนึ่งซึ่งก่อนหน้าเคยค้นพบปฏิบัติด้วยตนเองมา แต่ในสภาวะนั้นไม่รู้จักปรมัตถธรรมจึงตกอยู่ในสภาวะคิดเอามากกว่าจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร พอมาอ่านเจอที่หลวงพ่อฤๅษี พระราชหรมญาณ ท่านสอนไว้ง่ายๆคำหนึ่งว่า "ทรงอารมณ์"
- การทรงอารมณ์นี้พูดเหมือนง่าย แต่ยากมากหากไม่ทำเป็นประจำและไม่รู้สภาพปรมัตถธรรม ดังนั้นการทรงวภาวะอารมณ์ความสู้สึกจึงต้องอาศัยสภาวะที่เป็นสติและปรมัตถธรรมเป็นหลัก
- เช่นเวลาที่เราอยู่ในสมาธิจิตหรือฌาณจิตนี่เราตัดแล้วในอกุศลจิต แต่พอหลุดออกจากฌาณจิตเราก็มักจะหลงไปตามสังขารขันธ์ปรุงแต่งจนเกิดเป็น รัก โลภ โกรธ หลง แล้วก็หลุดจากจิตที่เป้นกุศล ยกตัวอย่าง อยู่ในสมาธิเราไม่โกรธมีใจกลางๆพอออกจากสมาธิมีอะไรมากระทบให้รับรู้อารมณ์(ทางธรรม) หน่อยเกิดปรุงแต่งไปก็เหกิดเป็นโทสะแล้วเป้นต้น
- การทรงอารมณ์นี้จึงสำคัญหากคุณรู้สภาพจริงของกุศลจิต รู้สภาพจริงของสมาธิจิตในแต่ละระดับ โดยสภาพปรมัตถธรรมนี้คุณต้องได้รู้สัมผัสด้วยตนเองจึงจะเข้าใจ เมื่อรู้สภาพปรมัตถธรรมก็ให้จดจำสภาพนั้นๆไว้แล้วกำหนดสมาธิระลึกถึงสภาพนั้นแล้วตั้งจิตเข้าสภาพนั้น หรือ ออกจากสภพานั้น นี่เรียกว่าทำให้เรากำหนดรู้สภาพที่เข้าออกของกุศลจิตและสมาธิจิตที่เราเรียกกันว่าฌาณ

เพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8682.0

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณแมน123ด้วยเช่นกันครับ หากไม่สมควรหรือไม่เกิดประโยชน์ใดๆก็ขออภัยไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 09, 2012, 07:57:19 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับ ทรงอารมณ์คือการทำให้ความรู้สึกหรืออารมณ์อยู่ในอารมณ์เดียวใช่ป่าวครับ
และสมมุติในสมาธิเรามีความสงบและเมื่อออกจากสมาธิแล้วมีอะไรมากระทบให้รับรู้อารมณ์อารมณ์ต่างๆจนทำให้จิตเราคิดปรุงแต่ง
ก็ให้เราระลึกรู้อารมณ์นั้นหรือระลึกรู้จิตที่กำลังปรุงแต่งอยู่ก็คือการมีสติอยู่กับปัจจุบันและรู้ไปตามที่มันเป็นอยู่เราก็จะเห็นความเป็นจริงไปตามนั้น
และทำให้เราปล่อยวางจากรูปนามได้มากขึ่นเรื่อยๆเมื่อสติมีกำลังมากการปรุงแต่งของเราก็จะน้อยลงและสติจะเกิดได้ต่อเนื่องนานมากขึ้น
ผมก็อธิบายได้เท่าที่ผมรู้มาถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยไว้ด้วยเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 09:26:58 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ครับโดยรวมกว้างๆเป็นเช่นนั้นตามที่คุณกล่าวมาครับ

- ส่วนเวลาจะเจาะเข้าระดับกลางและลึกเข้ามาอีกในการ "ทรงอารมณ์" เราต้องเคยเข้าสู่สภาวะความรู้สึกรู้สภาพปรมัตถธรรมในสภาพจิตใดๆ เช่น เมื่อคุณรู้ว่ากุศลจิตเกิด(กุศลจิตจริงๆนะครับ ไม่ใช่ที่ปนไปด้วยโลภะที่มีความพอใจยินดีที่ติดข้องใจ) คุณระลึกรู้สภาพปรมัตถธรรมของกุศลจิตไว้ ซึ่งกุศลจิตนี้ จะตัดขาดจากความ รัก โลภ โกรธ หลง มีความสงบอบอุ่น ผ่องใส เบาบางจิต ตรงนี้หากคุณสัมผัสและรู้ในสภาพปรมัตถธรรมได้คุณจะสามารถระลึกเข้าสู่สภาพจิตที่เป้นกุศลจิตจริงๆได้
- แม้แต่ในฌาณจิตเช่นกัน เมื่อคุณเข้าถึงสมาธิจิตระดับใดระดับหนึ่ง รู้สภาพปรมัตถธรรมในฌาณระดับต่างๆ คุณก็จะกำหนดจิตทรงอารมณ์เข้าสภาพฌาณจิตนั้นๆได้
- ดั่งที่ผมเคยกล่าวว่า หลวงปู่มั่นท่านบอกให้จดจำการเข้าถึงในครั้งแรกให้ได้ มันคือการจำสภาพปรมัตถธรรมของสภาวะฌาณจิต ญาณจิตนั้นๆ และ การดำเนินไปเพื่อเข้าถึงในระดับนั้นๆ เพื่อไว้กำหนดทรงอารมณ์การเข้าออกสมาธิในภายหลัง
- คุณจะเห็นว่า การทรงอารมณ์นี้ จะสัมพันธ์กับวิปัสนา คือรู้สภาพ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นปรมัถธรรม กำหนดในสภาพนามธรรมเป็นใหญ่
- หากคุณไม่เคยเห็นสภาพปรมัตถธรรมหรือลืมสภาพปรมัตถธรรมของสภาวะธรรมใด คุณก็จะไม่สามารถกำหนดจิตเข้าสู่สภาวะธรรมนั้นๆได้
- สิ่งที่ผมนำมาบอกกล่าวต่อนี้ผมได้ปฏิบัติอยู่เนืองๆเป็นประจำซึ่งเป็นผลได้เร็วมาก เป็นการผสานระหว่าง สมถะ วิปัสนา ของหลวงปู่ฤๅษี และ หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รู้ในสมถะและวิปัสนามาแล้ว ได้รับรู้สภาพปรมัตถธรรม และ รู้รูปนามมาแล้ว ช่วยในการกำหนดจิตเข้าออกในสภาวะธรรมต่างๆ จนถึง แยกกายกับจิต
- กายกับจิตคือขันธ์๕ แยกขันธ์๕ เป็นกองๆได้ ก็สามารถเรียนรู้แยกรูปนามได้ครับ รูปนามจะกว้างกว่า แต่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้พิจารณาขันธ์ 5 เป็นหลัก เพราะรูปนามก็คือ ขันธ์ 5 เช่นกัน ซึ่งมันอยู่ในตัวเรา สามารถรู้สึกรับรู้ได้ด้วยตัวเราเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2012, 12:05:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 07:13:46 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ครับก็คือต้องรู้ธรรมที่เป็นปรมัถธรรมหรือรู้รูปนามที่เกิดขึ้นจริงกับตนเองว่าขณะนี้เป็นอย่างไรจึงจะเห็นสภาพปรมัถธรรมและเข้าสู่สภาวะธรรมได้และการ ทรงอารมณ์ ก็คือการทรงสภาวะอารมณ์ให้อยู่ในอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านจึงจะทำให้เห็นสภาพปรมัถธรรมได้ง่ายขึ้นและให้ผลได้เร็วในการปฏิบัติ
สรุปก็คือการปฏิบัติต้องใช้เวลาในการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นทางไหนถ้าไม่ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทางนั้นก็ดีหมด ขอบคุณมากครับ สำหรับวิธีปฏิบัติที่ดีและเป็นประโยชน์ครับ
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:57:56 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
สวัสดีครับหายไปนาน ตอนนี้ผมปฏิบัติวิปัสสนาได้ประมาณ1ปีกว่าแล้วครับรู้สึกมีสติอยู่กับกายใจต่อเนื่องมากขึ้นกว่าตอนที่เพิ่งปฏิบัติครับเห็นว่าเดี่ยวจิตมันก็คิดเดี๋ยวมันก็รู้สึกโน่นนี่และรู้สึกนึ่ง สงบมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหาให้รู้สึกทุกข์ก็สามารถใช้สติแก้ไขได้มากขึ้นครับเหมือนใช้ปัญญาอะครับคือการพิจารณาว่ามันเป็นมาอย่างไรแล้วใช้สติคิดทบทวนแก้ไขมันได้ทำให้ทุกข์น้อยลงครับและระหว่างปฏิบัติบางทีก็รู้สึก ปิ๊ง แบบเกิดปัญญาขึ้นมาอะครับเช่นการตามรู้รูปนามแล้วก็เห็นความจริงต่างๆว่าอย่างนี้เราไม่ควรไปยึดมัน พอเห็นรูปนามดับไปก็รู้ว่ามันไม่เที่ยงและก็รู้สึกอีกหลายๆอย่างอะครับรวมๆผมรู้สึกว่ามันทำให้ผมทุกข์น้อยลงและรู้สึกจิตปรุงแต่งกับสิ่งต่างๆที่มากระทบน้อยลงด้วยครับคือจิตเป็นกลางมากขึ้นครับ และถ้าผมรู้ตัวว่ากำลังกังวลหรือคิดฟุ้งซ่านอยู่ก็จะทำให้ผมหยุดคิดมันได้โดยไม่ได้ไปบังคับมันถ้ารู้ทันมันก็ดับไปเองครับหรือบางทีกังวลมากๆผมใช้สติพิจารณาเช่นเรื่องนี้ไม่ควรไปคิด กังวลไปก็ไม่สามารถช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ก็สามารถทำให้คลายกังวลได้ครับ

แต่เรื่องที่แปลกของผมอยู่อย่างคือวันไหนที่ผมนั่งสมาธิแล้ววันต่อมาผมจะเจอเรื่องที่ทำให้ทุกข์ผมเจอแบบนี้บ่อยมากครับอย่างเช่นเจอเรื่องไม่ดีที่โรงเรียน และการนั่งสมาธิเหมือนทำให้ผมมีสติรู้กายใจได้น้อยลงจิตมันจะอยู่กับความว่างและก็จะเผลอคิดบ้าง และการนั่งสมาธิของผมเมื่อก่อนรู้สึกสงบบ้างฟุ้งซ่านบ้างแต่ตอนนี้ผมรู้สึกฟุ้งซ่านเป็นส่วนใหญ่ไม่รู้ทำไมครับหรือการที่ผมนั่งสมาธิแล้วผมรู้สึกสงบจริงๆก็จะเป็นตอนเช้าอะครับประมาณ9โมง10โมงอะครับบางครั้งก็มีฟุ้งซ่านบ้าง การปฏิบัติธรรมของผมจึงไม่ค่อยใช้การนั่งสมาธิครับ ส่วนมากผมจะตามรู้กาย ใจ หรือถ้าตอนไหนว่างๆก็จะเดินไปมาและตามรู้กายที่กำลังเดินอยู่หรือจิตที่กำลังคิดอยู่ในขณะนั้นก็ทำให้ผมรู้สึกสงบได้ึครับ(ถ้ารู้ว่าเป็นเพราะอะไรก็ช่วนแนะนำด้วยนะครับ)

และที่ผมเคยบอกว่าผมเป็นโรคหวาดกลัวสังคม และโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยครับสาเหตุหลักมาจากความกลัวทำให้ผมใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านเจอผู้คนได้ลำบากมากครับการปฏิบัติธรรมของผมช่วยได้บ้างครับแต่ผมก็ยังรู้สึกกลัวอยู่ดีทำให้ผมไม่อยากเรียนปริญญาตรีด้วยครับผมจบ ม.6แล้วก็จะทำงานเลยครับ ถ้าแนะนำอะไรผมได้ก็ช่วยหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 07:25:49 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 07:23:04 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
- เรื่องความไม่สงบ ฟุ้งซ่าน คิดนั่น คิดนี่ ก็เพราะมีความมีความกังวลอยู่มากทั้งเรื่องที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีคละเคล้ากันเกิดสลับกันไปมาทำให้จิตเกิดประกอบกับความปรุงแต่ง ทางแก้คือละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี หรือ ความชอบใจและไม่ชอบใจใดๆไปเสีย ด้วยละความติดข้องใจใดๆที่เกิดแก่เราเมื่อรู้อารมณ์ใดๆทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้ ผมอาจจะเึคย นั่นก็คือรู้วิธีเจริญเข้าในอุเบกขาจิตนั่นเอง ถ้าจำไม่ผิดผมเคยโพสท์ตอบคุณแล้วครั้งนึงครับเมื่อนานมาแล้ว

- เราจะสามารถเข้าถึงสมาธิได้ง่ายจะมากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพจิตของเราว่ามันมีความสุขแค่ไหน เสพย์อารมณ์ใดๆอยู่ ครูบาอาจารย์ท่านจึงให้ระลึกในสิ่งที่เป็นความสุขกายสุขใจมีความยินดีก่อนทำสมาธิ แล้วให้เราเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิเพื่อปรับสมดุลย์และสภาพจิต เมื่อสุขอันเกิดแต่กุศลตั้งอยู่ สืบเนื่องให้สมาธิจิตเกิดตั้งอยู่ ดับความพยาบาท และ กามราคะ นิ่งสงบสุขโดยวิเวก นี่เรียกว่า ฌาณ ๑ ก็คือสมาธิที่ควรแก่การพิจารณาธรรมแล้วนั่นเอง

ดูเพิ่มเติมในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร ตาม Link นี้
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd24.htm

- สมถะและวิปัสนาเป็นของคู่กัน เวลาอยู่บ้านก่อนนอนหรือเมื่อตอนเช้าก็นั่งสมาธิ เวลาใช้ชีวิตประจำวันก็เจริญสติ จะช่วยให้ทั้งสมถะและวิปัสนาเจริญมากขึ้น เป็นการปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสนาควบคู่กันไป เพราะวิปัสนาก็ต้องใช้สมาธิจิตที่มีความจดจ่อเป็นหนึ่งเดียวของสมถะตั้งแต่ อัปปนาสมาธิ ขึ้นไป

- ดูตาม Link นี้นะครับวิธีละความชอบใจและไม่ชอบใจ ด้วยการเจริญจิตให้เสมอด้วยธาตุ๕
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุลไว้


http://www.thammaonline.com/15123/36163634362336093634364836263617362936043657362336183608363436053640-3669

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผมขอคัดเฉพาะบางส่วนในธรรมที่เป็น เจโตวิมุตติ มาบอกกล่าวนะครับ เอาส่วนที่คิดว่าน่าจะเข้ากันได้กับคุณมาลงให้อ่านปฏิบัติดูครับ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสให้พระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้ง 500 รูป เป็นธรรมชั้นสูงทั้งสิบหมวดเพื่อถึงซึ่งพระนิพพาน

[๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน

 คือธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ ๖ อย่าง

 ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

 เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ



ศีกษาแนวปฏิบัติเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&pagebreak=0


 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๗๓๔๗ - ๘๑๓๗.  หน้าที่  ๓๐๒ - ๓๓๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7347&Z=8137&pagebreak=0
 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364
 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๑
http://84000.org/tipitaka/read/?index_11


เจโตวิมุตตินี่ถ้าเจริญได้ดังนี้นะ จะไม่มีทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี
แม้ความกลัวของคุณก็จะหายไปได้แน่นอน 100%




.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:10:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:34:46 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณมากครับแต่ว่าจะทำให้หายจากอาการกลัวไปเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ต้องใช้เวลาปฏิบัติและการไม่ยินดียินร้ายก็ไม่ได้เป็นการบังคับให้รู้สึกอย่างนั้นต้องใช้เวลาปฏิบัติให้เป็นผู้วางเฉยต่อรูปนามที่มากระทบเหมือนกันใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ ผมรู้มาว่าโรคกลัวมันเเป็นโรคทางจิตใต้สำนึกอะครับเราไม่สามารถบังคับความรู้สึกส่วนนั้นได้อะครับ แต่คงต้องใช้เวลาปฏิบัติขอบคุณมากครับ
ปล.ให้ลิ้งมาเยอะผมก็อ่านไม่หมดเหมือนกันนะครับ แฮะๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:41:46 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #24 เมื่อ: มีนาคม 02, 2013, 02:37:52 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ความกลัวคือ
ทำผิดไว้1 นี่ต้องยอมรับความจริงหรือผลกรรมคือการกระทำใดๆโดยเจตนา
มีความปารถนาไว้มาก1 ต้องยอมรับความจริงและละความปารถนา
มีความพอใจยินดีมากจึงเกิดความไม่พอใจยินดีมาก1 จึงเกิดความกลัวที่จะผิดพลาดจากความพอใจทื่ตนปารถนาไว้
หากที่คุณบอกว่าเห็นด้วยปัญญานั้นไม่ได้เป็นไปในอริยะสัจ4 นั่นมันวิปัสสนึกไม่ใชของจริง
หากคุณไม่เห็นในอริยะสัจ4 ไม่เห็นในสมุทัยคุณก็ไม่ถึงธรรม และ ใช้ธรรมนั้นแก้ความกลัวไม่ได้ครับ
คุณเป็นคนฉลาด ยิ่งฉลาดมากก็ยิ่งคิดมากกว่าทำ
คนโง่นี่เขาบรรลุธรรมเพราะปฏิบัติมากกว่ามานั่งคิด
คุณปฏิบัติธรรมด้วยตัณหาไม่ใช่เพราะรู้เห็นู้ด้้วยปัญญาว่า นี่คือทางออกจากทุกข์
ดังนั้นธรรมที่เป็นความคิดของคุณจึงไม่เห็นเหตุของทุกข์ทีแทัจริง
คุณควรพิจารณาให้ถึง อริยะสัจ๔ จริงๆถึงจะพบทางแก้ ธรรมในพระพุทธศาสนานี้มีผลกับใจเป็นหลัก

ผมขอไม่กล่าวธรรมกับคุณอีกเพราะมันหาประโยชน์ใดๆให้คุณไม่ได้ ที่ผมพยายามหาข้อธรรมที่คิดว่าดีให้คุณกลับกลายเป็นผมทำร้ายคุณมากขึ้นเพราะมันเพิ่มได้แค่ อุปาทาน และ อนุมาน(ความนึกคิดคาดคะเน)ในความคิดของคุณ ผมขอโทษที่ช่วยคุณไม่ได้ครับและเกรงว่าหากชี้ธรรมให้คุณมากขึ้นก็ยิ่งเพิ่มใน 2 ส่วนนั้นให้คุณจึงขอละไว้ก่อนครับ

คุณควรไปหาหมอแล้วกินยาคลายเครียดเสียจะดีกว่าครับ จะช่วยคุณได้มากกว่าครับเหมือนที่คุณคิดไว้ว่าเป็นโรคทางจิตแก้ทางธรรมไม่ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2013, 02:11:32 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ผู้เริ่มต้นศึกษาพระธรรม
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 38
กระทู้: 8
สมาชิก ID: 2573


« ตอบ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2013, 06:53:13 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ยากจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
navara254
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 5
สมาชิก ID: 2593


« ตอบ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 12:06:42 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ผมเพิ่งเป็นมาชิกใหม่ครับเห็นหัวข้อของกระทู้แล้วสนใจจึงเข้ามาดู
ผมเองก็พูดไม่ได้หรอกครับว่าปฏิบัติมานาน
เข้ามาเห็นความคิดเห็นของ"ท่านเกียรติคุณ"  ผมเห็นด้วยครับเป็นแนวทางเดียวกับที่ผมคิดเลย
ความคิดเห็นของ"ท่านเกียรติคุณ" เป็นประโยชน์มากจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
guk
ผู้ดูแลบอร์ด
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 32
กระทู้: 25
สมาชิก ID: 2218


« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 12:29:16 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
เท่าที่เคยได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์หลายท่านมานะคะ ท่านจะพูดเสมอว่า

"สติ" ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็มีประโยชน์มากเท่านั้น

ไม่ว่าเราจะไปทางสมถะหรือวิปัสสนาก็ดี ขอให้มีสติเป็นผู้รู้เสมอ

ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 18, 2024, 04:02:06 AM