เมษายน 24, 2024, 01:16:51 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตถาคต” ตรัสถึงธรรมชาติ บทความจากหนังสือ "ใจต่อใจใน  (อ่าน 6811 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใจต่อใจในการฝึกตน
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 11
กระทู้: 1
สมาชิก ID: 2080


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2012, 10:25:52 AM »

Permalink: ตถาคต” ตรัสถึงธรรมชาติ บทความจากหนังสือ "ใจต่อใจใน
บทความจากหนังสือ "ใจต่อใจในการฝึกตน"
 ...“ตถาคต” ตรัสถึงธรรมชาติ
 พระตถาคตเจ้าทรงตรัสถึง “ธรรมชาติ” ซึ่งปรากฎมาในพระไตรปิฎกแห่ง ตติยนิพพานสูตร ว่า “ธรรมชาติ” นั้นคือคุณลักษณะของมันเอง โดยตัวมันเอง โดยสภาพมันเอง ซึ่งมันเป็นของมันเองอ
ยู่อย่างนั้นโดยมิได้เกิดจากใครทำหรือเข้าไปบังคับให้มันเกิดลักษณะนั้นขึ้น “ธรรมชาติ” แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ธรรมชาติแห่งสังขตธาตุ และ ธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุ ตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้ แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ”
ธรรมชาติแห่งสังขตธาตุ ก็คือสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว” อันหมายถึง สิ่งๆหนึ่งที่เกิดขึ้นอันเกิดจากมีอวิชชาเป็น “ปัจจัยกระทำแล้ว” ซึ่งทำให้เกิดการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานอันทำให้ “การปรุงแต่งปรากฎ” เกิดขึ้น มันจึง “เป็นแล้ว”ซึ่งอัตตาตัวตน สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันมีลักษณะธรรมชาติของมันคือ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมเป็นธรรมชาติแห่งการตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวน และมันย่อมเป็นธรรมชาติที่มันต้องดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดา ซึ่งความดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดาอันคือคุณลักษณะแห่งธรรมชาติในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น พระตถาคตเจ้าได้หยิบยกเรื่องธรรมชาติแห่งสังขตธาตุนี้นำไปสอนชี้แนะแก่เหล่าอริยสาวกทั้งหลายในสมัยพุทธกาลเป็นบทเรียนแรกทุกครั้งไป ท่านทรงชี้แนะว่าหนทางอันหลุดพ้นซึ่งคืออริยมรรคมีองค์แปดนั้น แท้จริงมันก็คือมรรคหรือหนทางที่มีลักษณะแห่ง “ธรรมชาติแห่งการสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดา” ตถาคตเจ้าทรงชี้หนทางธรรมชาติแห่งสังขตธาตุด้วยการตรัสว่า ขันธ์ทั้ง 5 มีความสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นนักศึกษาทางฝั่งโน้นทั้งหลายหากมีความศรัทธาประสงค์ที่จะหลุดพ้น นักศึกษาทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่ง “ธรรมชาติ” เป็น “ลำดับแรก” และควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่งธรรมชาติของขันธ์ทั้ง 5 ที่มันล้วนดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็น “ลำดับที่สอง”
ธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุ ก็คือสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว”อันหมายถึงธรรมชาติแห่งความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าไร้อัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันปราศจากปัจจัยอันคืออวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่น มันจึงไม่เป็นแล้วซึ่งอัตตาตัวตน มันจึงเป็นสภาพธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
 ตถาคตเจ้าทรงตรัสชี้ว่า เพราะ “ความมี” ธรรมชาติแห่งอสังขตมัน “มีอยู่” ท่านจึงทรงชี้แนะให้สลัดออกซึ่งธรรมชาติแห่งสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งซึ่งมีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่งการ “สลัดออก” ในการดำเนินไปในธรรมชาติแห่งสังขตธาตุอันคือการเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งนักศึกษาทั้งหลายกำลังสาละวนปฏิบัติตามมันอยู่ เป็นการทำความเข้าใจ “ลำดับที่สาม”
และนักศึกษาทางฝั่งโน้นทั้งหลายก็ควรทำความเข้าใจถึงการ “มีอยู่” อยู่แล้วซึ่งธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุอันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าโดยหาจุดเริ่มต้นไม่ได้และก็ไม่สามารถทำลายล้างมันลงไปได้ เพราะความว่างเปล่านั้นมันคือคุณสมบัติ “ดั้งเดิมแท้” ของมันเองอยู่แล้ว มิใช่เกิดจากการที่ใครจะมาสามารถแสวงหาทำมันให้เกิดขึ้นมาได้ตามความต้องการของตน มันจึงเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” อันคือสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น และมันก็มิใช่เกิดจากการสลัดออกซึ่งธรรมชาติแห่งสังขตธาตุแล้วถึงจะเป็นเหตุทำให้เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันปรากฎขึ้น นักศึกษาทั้งหลายควรทำความเข้าใจตรงนี้ เป็น “ลำดับสุดท้ายที่สี่”




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 06:28:31 PM