เมษายน 19, 2024, 10:36:59 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน  (อ่าน 10563 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บุญยวีร์
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 32
กระทู้: 4
สมาชิก ID: 2160


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 22, 2012, 04:46:00 PM »

Permalink: หลักปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน
หลักปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่อธิบายและเข้าใจค่อนข้างยาก อยากให้ผู้รู้ช่วยอธิบายหลัก ปฏิจจสมุปบาท ในลักษณะที่นำมาใช้ได้จริง เข้าใจง่าย ขอตัวอย่างในชีวิตประจำวัน ด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 24, 2012, 06:55:13 PM »

Permalink: หลักปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน
ทำไมคุณถึงรู้ว่าตนเองหิวข้าวครับ

เพราะมีเสียงท้องร้องใช่มั้ยครับ
เพราะมีความปวดเสียดท้องและทรวงอกใช่มั้ยครับ
เมื่อปวดเสียดท้องคุณก็รู้ตรึกนึกคิดในใจทันทันและรู้ได้เลยว่าหิวข้าว ยังไม่กินข้าวใช่ไหมครับ
เมื่อรู้ว่าตนเองยังไม่ได้กิน รู้ว่าตนเองหิว ก็เกิดความต้องการที่จะกินใช่มั้ยครับ
เมื่อต้องความต้องการที่จะกินเกิดประกอบกับอาการที่เกิดขึ้นนั้น คุณก็ช่างทุก ทรมานกายและใจมากใช่มั้ยครับ
เมื่อคุณทานข้าวไปมากก็รู้สึกแน่นใช่มั้ยครับ
เมื่อคุณทานน้อยก็ยังหิวไม่อิ่มใช่มั้ยครับ
เมื่อทานพอดีก็รู้สึกมีกำลังจากการรับสารอาหารจากสิ่งที่ทานนั้นใช่มั้ยครับ
เมื่อทานแล้วคุณอิ่มใช่มั้ยครับ
รู้สึกบายอก สบายใจใช่มั้ยครับ
ความหิวก็หายไปใช่มั้ยครับ
ความปวดท้องทรมานกายใจก็หายใปใช่มั้ยครับ

ปฏิจจสมุปบาท ในเบื้องต้นก็เป็นเช่นนี้ครับ แม้อริยะสัจ หรือ มหาสติปัฏฐานสูตรก็เป็นส่วนหนึ่งในปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน จากข้อที่ผมยกมาคุณเห็นอะไรบ้างครับ หากคุณเข้าใจแจ่มแจ้งในตัวอย่างนี้ก็แสดงว่ารู้เบื้องต้นในปฏิจจฯ

ตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาอาจจะไม่ถูกต้องตรงเผงเลย เพราะผมพยายามนำสิ่งที่ขึ้นขึ้นในชีวิตประจำวันของเราด้วยอุปมา-อุปไมยให้คุณตรึกตรองดู หากไม่เกิดประโยชน์ก็ขออโหสิกรรมด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2012, 06:59:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ประวิต
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 19


อายุ: 52
กระทู้: 265
สมาชิก ID: 1634


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2012, 09:10:49 PM »

Permalink: หลักปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน
ปฎิจจสมุปบาท...เป็นปัญญาที่แท้จริง   และเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
เป็นความรู้ที่มนุษย์ควรรู้  และควรทำความเข้าใจต่อบทบาทขององค์ประกอบในปฎิจจสมุปบาททุกอย่าง  เช่น อวิชาคืออะไร  หรือสังขารคืออะไร  และมีอะไรบ้างในตัวบทของสังขาร  จำเป็นที่เราต้องรู้บทบัญญัติทุกตัวในหมวดของปฎิจจสมุปบาท และจำให้แม่นจนขึ้นใจในทุกหัวข้อ และต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดทุกขั้นตอนให้แตกฉาน  แค่นี้ก็เป็นการปฎิบัติธรรมชั้นยอดแล้ว   ถ้าเราเข้าใจต่ออาการที่มันอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น  ตามบทบัญญัติที่เรารู้  ไม่นานเราจะเข้าใจถึงตัวการใหญ่ของมัน...จากนั้นคำตอบที่เราต้องการ  และผลลัพท์มันมีอยู่ในตัวอย่างไม่ต้องสงสัย...ขอย้ำว่าเราต้องรู้ในบทบัญญัติทุกตัวในปฎิจจสมุปบาทสูตร  จากอวิชา ไปจนถึง ชรามระณะ  ต้องรู้ว่าในแต่ละบทนั้น มันมีอะไรบ้าง เราจึงจะทำความเข้าใจต่อมันได้ถูกต้อง  อย่าหยิบยกแค่บางขั้นตอนมาทำความเข้าใจ
มันจะทำให้เราพลาดเป้าได้......แค่ขณะจิตเคลื่อน....ปฎิจจสมุปบาทนั้นมันมันวิ่งครบวงจรแล้วครับ...ขอให้คุณบุญยวีร์  จำในบทบัญญัติของปฎิจจสมุปบาททุกตัวให้ดี  แล้วนำมาทดลองกับตัวเราเองเพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการของนามกับรูป  ทำบ่อยๆทำเรื่อยๆใจเย็นๆ  คำตอบที่คุณต้องการมันมีให้คุณอยู่แล้วในตัวของมันเอง........เพื่อเพื่อนมนุษย์ และสหายธรรม  ยินดีให้คำปรึกษา  หากเกิดผลบุญขอแบ่งให้เจ้าของเวบนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 02, 2024, 11:05:39 PM