เมษายน 19, 2024, 02:04:58 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาเข้าสังคมแล้วกลัวทำยังไงดีครับ  (อ่าน 11970 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2012, 08:00:35 PM »

Permalink: เวลาเข้าสังคมแล้วกลัวทำยังไงดีครับ
เหมือนเวลาคุยกับคนอื่นหรือเพื่่อนแล้วรู้สึกกลัวเวลามีงานกลุ่มที่ต้องส่งก็คุยกับเพื่อนได้ไม่ค่อยดีนักเลยเข้ากับเพื่อนไม่ได้และพยายามจะช่วยทำงานแต่ก็ทำไม่ได้เพราะเวลาจะคุยกับคนอื่นแล้วรู้สึกตื่นเต้นและกลัวอยากจะหนีออกจากตรงนั้นและคิดว่าเพื่อนจะมองเราว่าเห็็นแก่ตัว และเวลาที่ต้องอยู่กับคนอื่นๆอีกหลายๆเวลาก็กลัวชอบอยู่คนเดียวหรือที่เรียกว่าโรคกลัวสังคม social phobia http://thaisocialphobia.com/main/home2 ตามเว็บนี้อะครับควรทำยังไงดีครับ หรือเป็นกรรมเก่าครับ อยู่แบบทรมาณทุกวันที่ต้องออกนอกบ้านไปคุยกับคนอื่นหรือเดินไปซื้อของอะครับอะครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 05, 2012, 06:09:09 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 09:21:28 AM »

Permalink: เวลาเข้าสังคมแล้วกลัวทำยังไงดีครับ
ทางธรรม  จะช่วยทางใจเป็นหลัก หากทรงอารมณ์ทางใจได้ก็จะช่วยสืบต่อในทางปฏิบัติที่ดี

- สภาพความตกใจ เพราะมีความตื่นกลัวอยู่ในใจเสมอๆ กลัวที่จะเกิดสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ-ไม่พอใจยินดี-ไม่ต้องการขึ้นมา
- สภาพที่ตื่นกลัวนี้จะขาดซึ่ง สติ ระลึกรู้สภาพของจิตตนว่ามีความรู้สึกเช่นไรอยู่ กำลังกระทำสิ่งใดอยู่ เพราะถูกความคิดปรุงแต่งสร้างเรื่องราวสมมติกลบสติระลึกรู้ของตน เช่น เมื่อเกิดเสียงดังขึ้น เมื่อเกิดความตกใจ เราก็เริ่มคิดทันทีว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร เสียงปืน เสียงผี เสียงคนที่จะมาทำร้ายเราบ้าง เสียงระเบิดบ้าง เสียงรถจะพุ่งมาบ้าง เสียงคนถูกทำร้ายบ้าง นี่บอกให้รู้เลยว่าความคิดปรุงแต่งใดๆ จิตสังขารใดๆนี่มันเล่นงานเรา เราเอามันมาตั้งเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ความรู้สึก จนถูกความทุกข์อย่างเอาแล้ว

ครั้งหนึ่งผมได้เคยตอบคุณแมนเรื่องความกลัวจากการกัมมัฏฐานไปในแนวนี้แล้ว ซึ่งนี้คือเหตุของทุกข์ คือ เสพย์เวทนา แล้วสำคัญมั่นหมาย(สัญญา) ตั้งความไม่พอใจยินดีเอาไว้ว่า ไม่ชอบอย่างนั้น ไม่ชอบอย่างนี้ ไม่อยากได้อย่างนั้น ไม่อยากได้อย่างนี้ จนเป็นตัวตนเกิดอุปาทานขึ้น จากความไม่อยากมีอยากเป็น ทะยานอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ก็เลยเกิดเป็นความกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบขึ้นมา

ทีนี้การที่เราจะตื่นจากความกลัวนี้ได้ คุณต้องเข้าใจว่าสิ่งใดมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด เราไปบังคับมันไม่ได้ ไม่มีใครที่จะเก่งไปหมดทุกอย่างหรือสมบูรณ์ 100% คนเราทุกคนมีผิดมีพลาดพลั้งกันได้หมด เราแค่ไม่ไปให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นๆที่เรากลัวหรือตั้งความไม่พอใจยินดีไว้ให้น้อยลง เราก็กลัวน้อยลง ทุกข์ก็น้อยลง พลาดพลั้งก็ขอโทษแล้วก็นำความพลิดพลาดนั้นเป็นครูว่าเรานั้นยังบกพร่องส่วนนี้อยู่แล้วก็ปฏิบัติให้โดยเสริมจุดที่ขาดนั้น โดยสำคัญแล้วคุณต้องยอมรับความจริงตามสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้อย่างนี้ก่อนว่า

๑. สาเหตุ และ ตัวแปรหรือความแปรผันให้ความดำเนินไปของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (สมุทัย และ ปัจจัย)

สาเหตุและปัจจัยของทุกข์นั้นลำดับปัจจัยด้วยความเป็นเหตุเป็นผลที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้
๑.๑ เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาจากความพอใจยินดีในสิ่งนั้นๆ เช่น พอใจยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง การกระทบสัมผัส พอใจยินดีในการกระทำนั้นๆ รูปนั้นๆ เสียงนั้นๆ รสนั้นๆ กลิ่นนั้นๆ การได้รับความรู้สึกจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ จากบุคคล หรือ สิ่งของต่างๆ เป็นต้น ความพอใจยินดีทั้งหลายเหล่านี้เรียกกันว่าตัณหา มีอยู่ 3 อย่างหลักๆที่เป็นข้อสำคัญคือ
   ๑.๑.๑ ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ดิ้นรนต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากให้คนชื่นชม อยากรวย เป็นต้น
   ๑.๑.๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี ดิ้นรนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เช่น ไม่อยากพรัดพราก ไมอยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่า ความไม่อยากมี ไม่อยากได้  เป็นต้น
   ๑.๑.๓ กามตัณหา ความพอใจยินดี ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่ปารถนา ความกำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม
๑.๒ เมื่อเรามีความพอใจยินดีทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ใจเรานั้น เราก็ย่อมเกิดความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ ว่าสิ่งนี้แหละที่เราชอบ ที่อยากได้ ที่ต้องการปารถนา
๑.๓ เมื่อมีความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจก็ก่อเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ก่อเกิดประกอบกับความปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้ กำหนัด ทะยานอยาก ต้องการ ความหลง ฟุ้ง ไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักพอ ไม่รู้ประมาณตน ความไม่ชอบ ไม่พอใจยินดี  ความไม่อยากได้ ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ตามความสำคัญมั่นหมายนั้นๆของใจเรา ยิ่งพอใจมาก ก็ยิ่งสำคัญมั่นหมายในใจมาก ก็ยิ่งตรึกนึกถึงมาก ต้องการมาก ก็คือ รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง
๑.๔ เมื่อเราไม่ได้ตามที่หวังปารถนา ใคร่ได้ ตามที่พอใจยินดี ไม่ประสบพบเจอดั่งที่หวังตั้งใจ พอใจ ยินดี ก้อเกิดตัวแปรที่เป็นปัจจัยให้ก่อเกิดไปเป็นผลแห่งทุกข์ดังนี้คือ
   ๑.๔.๑ ความไม่สมดังปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
   ๑.๔.๒ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
   ๑.๔.๓ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เช่น
-  เราพอใจยินดีที่จะให้คนอื่นพูดเพราะๆกับเรา แต่เมื่อเจอเขาพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะดั่งใจ ก็ก่อเกิดเป็นความโกรธ ไม่พอใจยินดี เป็นการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีกับคนที่เป็นคู่รักของเรา ไม่ว่าจะเป็นหน้าตารูปร่าง ท่าทาง นิสัยใจคอ กลิ่น เสียง การสัมผัส เมื่อเขาทิ้งเราไป ไม่ว่าด้วยความตาย หรือจากลาไปหาคนอื่น ก็ก่อเกิดเป็นความพรัดพรากแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีหวังปารถนาอยากจะได้บ้าน รถ เงิน ทอง เพื่อน อยากให้คนยอมรับเรา อยากอยู่จุดสูงสุด อยากอยู่สุขสบาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาไว้ ก็ก่อเกิดเป็นการประสบกับความไม่เป็นไป-ไม่สมดั่งหวังปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้แก่เรา ผล คือ ทุกข์
 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คนเราจะเกิดความทุกข์ ความเสียใจ ทรมานกาย-ใจ อึดอัด คับแค้นกาย-ใจ ฯ ได้นั้นสาเหตุก็เพราะใจเรามีความพอใจยินดีตั้งมั่นไว้ในใจ จนสำคัญมั่นหมายสิ่งต่างๆนั้นไว้ในใจ ไม่ว่าจะโกรธตะโกนโวยวาย ด่า ที่ทำก็เพราะพอใจอยากจะโกรธ จะด่าโวยวาย / รักก็เพราะพอใจอยากจะรัก / กำหนัดในกามก็เพราะติดพอใจในกาม

๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม

การยอมรับความจริงได้นั้น เราต้องรู้ตามหลักสัจจะธรรมดังนี้ว่า
- คนเราย่อมเป็นไปตามกรรม เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นผู้ติดตาม เป็นที่พึ่งพาอาศัย (กรรม คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ) หากเราทำดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี เราย่อมมีความสุขกาย สบายใจ ที่เรียกว่า บุญ หากเรากระทำสิ่งไม่ดีย่อมเจ็บเดือดร้อนใจ คับแค้นกายใจ ทุกข์ใจ กลัวคนอื่นเขาจะมาว่ามาฆ่าแกง ด่า ว่า โมโห โทโส ใส่ตน ดังนั้นเราทั้งหลายต้องประสบพบเจอดั่งนี้ว่า
- คนเรามีความไม่สมหวังปารถนา-ยินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทุกอย่าง เราย่อมมีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความพรักพรากเป็นที่สุด เราจะต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง เราจะล่วงพ้นความพรัดพรากนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจเป็นแท้จริง เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้

ก็สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แลคือ ทุกข์ ทำให้เกิดความ โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ไม่สาบกาย ไม่สบายใจ อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ทั้งหลาย

ยกตัวอย่าง

1.1 เราทุกคนย่อมมีสิ่งที่ปารถนา อยาก ใคร่ได้ หรือ สิ่งที่อยากทำ-อยากให้เป็นไปตามที่ต้องการ (ความคิดต้องการแบบนี้คนทุกคนเป็นเหมือนกันหมดครับไม่ว่าใคร ไม่มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น) เช่น อยากได้บ้าน รถ ผู้ชายหล่อๆ แฟนสวยๆ รวยๆ นิสัยดี อยากกินอาหารหรูๆ อยากไปเที่ยว 9 วัดบ้าง อยากให้มีแต่คนมาพูดเพราะๆกับตนบ้าง อยากให้มีแต่คนรักตนบ้าง อยากสอบได้ที่ 1 อยากรวยมีเงิน ความอยากมีอยากเป็นอยากได้นี้เราก็ต้องมีทุกคนใช่ไหมครับ
1.2 แต่เราย่อมไม่ได้ตามที่ปารถนายินดี-ใคร่ได้ต้องการทะยานอยากนั้น เราย่อมไม่สมดั่งความปารถนาที่ตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นไว้ในใจไปทั้งหมดทุกอย่างใช่มั้ยครับ

2.1 เราทุกคนย่อมมีความรักใคร่ยินดี ไม่อยากจะพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลายใช่มั้ยครับ เช่น คนที่เรารัก ลูก เมีย สามี ญาติ เพื่อน  หมา แมว รถ บ้าน ทีวี ตู้เย็น ที่ดิน เป็นต้น เราทุกคนย่อมไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งทั้งหลายนี้ใช่ไหมครับ
2.2 แต่สุดท้ายคนเราย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่เหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะชำรุด ทรุดโทรม เลือนหาย สูญสลาย ตายจาก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่การดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมทั้งหลายใช่มั้ยครับ

3.1 เราย่อมมีสิ่งที่ไม่ชอบไม่ต้องการ ไม่อยากได้ ไม่อยากพานพบอยู่ด้วยใช่มั้ยครับ เช่น ไม่อยากให้คนเกลียด ไม่ชอบให้คนมาด่าโวยวาย ไม่ชอบให้คนมาดูแคลน ไม่อยากจน ไม่อยากกินข้าวคลุกน้ำปลา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลาย อยากจะผลักหนีให้ไกลตน สิ่งเหล่านี้เราทุกคนก็ต้องมีใช่ไหมครับ
3.2 แต่อย่างไรเราก็หนีไม่พ้นสิ่งนี้ เราทุกคนต้องประสบพบเจอกับสิ่งที่ไม่อยากได้ต้องการ ไม่อยากจะพบเจอ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากพรักพราก อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราทั้งหลายต้องเจอกับการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจทั้งหลายนี้ใช่มั้ยครับ

- เมื่อเราเข้าใจตามสัจจะธรรมนี้แล้วใจเราย่อมยอมรับตามความเป็นจริง ไม่มีใจติดข้องเกาะเกี่ยวสิ่งใดๆ เพราะจะมองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างติดข้องใจไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับตนเองหรือคนอื่นๆ แต่กลับจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นจนก่อเกิดแต่ความทุกข์เท่านั้นที่จะตามมา
- ไม่ว่าเราจะพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดีก็มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์ เพราะว่าหากติดข้องพอใจยินดี ก็หลง ติดในอารมณ์นั้นๆ ตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจแล้วหวังปารถนาใคร่ได้ ต้องการทะยานอยาก พอไม่เป็นดั่งหวัง หรือ เกิดการพรัดพรากจากของรักของจำเริญใจทั้งหลาย ก็ก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดีโทมนัสแก่ตน แล้วก็ทุกข์ คับแค้น อัดอั้นใจ แล้วพอมาติดข้องในความไม่พอใจยินดี ก็ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ร้อนรน คับแค้นกาย-ใจ อัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุกข์ทรมาณกายใจ
- สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ มันไม่มีสิ่งใดๆที่เป็นของเรา มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับ จับต้อง ยึดถือ ยื้อดึง ฉุดรั้ง ให้มันเป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ เราไม่อาจบังคับให้มันอยู่กับเรา-คงอยู่กับเราตลอดไปได้ ทุกๆอย่างมีความเสื่อมโทรมเป็นธรรมดาช้าเร็วขึ้นอยู่กับกาลเวลา การดูแลรักษา และ สภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับให้เป็นดั่งใจปารถนาต้องการได้ ยิ่งพยายามฉุดรั้ง จับยึด ยื้อดึงให้มันเป็นไปตามที่ใจต้องการมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมตาม Link นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


ส่วนการรักษาทางการแพทย์ ก็ตาม Link ที่คุณให้มาน่ะครับ

http://thaisocialphobia.com/main/home2


หวังว่ากระทู้ที่ผมตอบนี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณนะครับ หากไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆก็ขออภัยไว้ด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2012, 06:09:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 07:55:13 PM »

Permalink: เวลาเข้าสังคมแล้วกลัวทำยังไงดีครับ
ตอบยาวมากครับ แต่ก็ขอบคุณครับก็คือไม่ต้องทำอะไรมากแค่ยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้นเราไม่สามารถบังคับมันได้ ผมจะอดทนต่อไปจนเรียนจบครับขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
guk
ผู้ดูแลบอร์ด
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 32
กระทู้: 25
สมาชิก ID: 2218


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2012, 09:09:28 PM »

Permalink: เวลาเข้าสังคมแล้วกลัวทำยังไงดีครับ
บางครั้งเราก็เป็นเหมือนกันนะคะ วิธีปรับใจก็คืออยู่กับปัจจุบันให้ได้ทุกขณะ มีสติ และสมาธิก็ช่วยได้ทำให้เราลดความประหม่าได้เยอะค่ะ
และที่สำคัญคือลดความคาดหวังในเรื่องต่างๆลง และอาศัยธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 14, 2024, 05:32:40 PM