เมษายน 19, 2024, 06:20:19 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (สมเด็จพระญาณฯ)  (อ่าน 7317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 04:24:32 AM »

Permalink: คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (สมเด็จพระญาณฯ)
๑ ธมฺมสงฺคณี

กุสลาธมฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป

อกุสลาธฒฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

อพฺยากตา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ

กตเม ธมฺมา กุสลา

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน

ยสฺมึ สมเย

ในสมัยใด

กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ

จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น

โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ

เป็นไปกับโสมนัส ประกอบด้วยญาณ

รูปารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือรูป หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง

สทฺทารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง

คนฺธารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง

รสารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือรส หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง

โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ สิ่งทีกายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

ธมฺมารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม เรื่องที่เกิดแก่ใจ หรือมี ธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

ยํ ยํ วา ปนารพฺภ

ปรารภอารมณ์ใด ใด บ้างก็ดี

ตสฺมึ สมเย

ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ

ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ ย่อมมี ฯลฯ

อวิกฺเขโป โหติ

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี

เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

อิเม ธมฺมา กุสลา

ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

๒. วิภงฺโค

ปยฺจกฺขนฺธา

ขันธ์ คือกองทั้ง ๕

รูปกฺขนฺโธ

รูปขันธ์ กองรูป ๑

เวทนากฺขนฺโธ

เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑

สญฺญากฺขนฺโธ

สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑

สงฺขารกฺขนฺโธ

สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑

วิญฺญาณกฺขนฺโธ

วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑

ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ

ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน

ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ

รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา

เป็นภายในหรือภายนอก

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา

หยาบหรือละเอียด

หีนํ วา ปณีตํ วา

เลวหรือประณีต

ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา

อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา

ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน

อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ

นี้พระตถาคตครัสเรียกว่ารูปขันธ์

๓.ธาตุกถา

สงฺคโห

การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน

อสงฺคโห

การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม

สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้

อสงฺคหิเตน สงคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้

สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด

อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธตุฝ่ายนามทั้งหมด

สมฺปโยโค

ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น

วิปฺปโยโค

ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์

สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ

หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์

วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ

หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุตประกอบกันกับธรรมอื่นนอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น

อสงฺคหิตํ

หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อมประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์

๔. ปุคฺคลปญฺญตฺติ

ฉ ปญฺญตฺติโย

บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖

ขนฺธติปญฺญตฺ

บัญญัติว่า ขันธ์

อายตนปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า อายตนะ

ธาตุปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า ธาตุ

สจฺจปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า สัจจะ

อินฺทฺริยปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า อิทรีย์

ปุคฺคลปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า บุคคล

กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ

บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร

สมยวิมุตฺโต

บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘

อสมยวิมุตฺโต

บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้

กุปฺปธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้

อกุปฺปธมฺโม

บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้

ปริหานธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล

อปริหานธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล

เจตนาภพฺโพ

บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

อนุรกฺขนาภพฺโพ

บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

ปุถุชฺชโน

บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น

โคตฺรภู

บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน

ภยูปรโต

บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลังภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย

อภยูปรโต

บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด

ภพฺพาคมโน

บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้

อภพฺพาคมโน

บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล

นิยโต

บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน

อนิยโต

บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน

ปฏิปนฺนโก

บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

ผเลฏฺฐิโต

บคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

อรหา

บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ

อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน

บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔มี รูปราคะเป็นต้น

๕. กถาวตฺถุ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

สกวาที ถามว่า สัตว์ บุคคล ชายหญิงย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์หรือ

อามนฺตา

ปรวาที ตอบว่า ย่อมมีได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง สัตว์บุคคล ชายหญิงไว้ในพระสูตร โดยสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมุติ

โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

สกวาที ถามว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุดคือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์นั้นหรือ

น เหวํ วตฺตพฺเพ

ปรวาที ตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เพราะสัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นไม่มีได้โดยปรมัตถ์สัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์

อาชานิ นิคฺคหํ

สกวาทีกล่าวว่า ท่านจงยอมรับนิคคหะโทษ ควรข่มขี่ เพราะคำต้นกล่าวรับรองแล้ว แต่คำหลังกลับกล่าวปฏิเสธ

หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน

ถ้าสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ไซร้

เตน วต วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแล พึงกล่าวว่าอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น

มิจฺฉา

สัตว์ บุคคล ชาย หญิงซึ่งท่านปรวาทีกล่าวแล้วในข้อนั้น ท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้นว่า สัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถ อย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ แต่ท่านกลับไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลังว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่ง คือ ปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้ โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดย อรรถอย่างยิ่ง คือปริมัตถ์นั้น คำของท่านนี้จึงผิด เพราะขัดแย้งกันเอง ถ้าจะไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาหลัง ก็ไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาต้นเสียก่อน ฉะนั้นสัตว์บุคคลชายหญิงซึ่งท่านกล่าวแล้ว อันท่าน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2013, 04:30:24 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 05:18:22 PM