เมษายน 19, 2024, 05:57:26 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ศีล" สร้าง "สุข" (^.^) "สุข" สร้าง "สมาธิ"  (อ่าน 9828 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 08:05:34 AM »

Permalink: "ศีล" สร้าง "สุข" (^.^) "สุข" สร้าง "สมาธิ"
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สุข" สร้าง "สมาธิ" ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนในพระสูตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อานิสังสวรรค
หมวดว่าด้วยอานิสงส์
๑. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์
๒ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการคือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๓ ศีลที่เป็นกุศล หมายถึงศีลที่ไม่มีโทษ เป็นไปเพื่อความไม่เก้อเขิน ไม่ร้อนใจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล๓ มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์”

“อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ,รื่นเริงใจ,อาการที่จิตมีความแช่มชื่น แจ่มใสเบาใจไม่หน่วงจิต)เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์”

“ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปราโมทย์ มีปีติ(ความอิ่มใจ,ความปลื้มใจ,อาการที่จิตมีความอิ่มเอิบ ตื้นตัน อัดปะทุเฟื่องฟูขึ้นมาเหมือนพุดอกไม้ไฟอยู่จนเต็มใจด้วยไร้ความเศร้าหมองใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์”

“ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปีติ มีปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ ความไม่ยึดสิ่งไร อาการที่จิตมีความวางความยึดจากสิ่งไรๆทั้งปวง ควาว่างไม่พุ่งพร่านอ่อนไหวสงบร่มเย็นอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง) เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์”

“ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปัสสัทธิมีสุข(ความรื่นใจไร้ความข้องขัด อาการที่จิตชื่นบานรื่นรมณ์ เบิกบานเป็นที่สบายใจไม่ขัดตรึงหน่วงจิต)เป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์”

“สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”

“สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ๑ (ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”

“ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา๒ (ความเบื่อหน่าย) และวิราคะ๓ (ความคลายกำหนัด) เป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์”

“นิพพิทาและวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ๑ (ความรู้ความเห็นในวิมุตติ) เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

เชิงอรรถ :
๑ ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาคือวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๒ นิพพิทา ในที่นี้หมายถึงพลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีพลัง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๓ วิราคะ หมายถึงมรรคที่สืบเนื่องจากนิพพิทา ก่อนวิมุตติจะเกิดขึ้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒ }



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิมีสุขเป็นผลมีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิมียถาภูตญาณ-ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์

นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้

อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”


กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2015, 12:41:29 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 08:05:57 AM »

Permalink: "ศีล" สร้าง "สุข" (^.^) "สุข" สร้าง "สมาธิ"
๒. เจตนากรณียสูตร

ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ

[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๒

บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณ-ทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณทัสสนะ
หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุมรรคผลด้วยมัคคญาณและผลญาณเพื่อ
พิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้งพิจารณานิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๒ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓ }



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์

สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์

ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย
 ธรรมทั้งหลาย
ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์
 เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑ อย่างนี้แล

เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส)ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
กัมมวัฏฏ์(วงจรกรรม)ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพวิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก)ประกอบด้วยวิญญาณนามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ เวทนาซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏคืออุปัติภพคือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒-๕/๓๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔ }
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:28:24 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 08:10:29 AM »

Permalink: "ศีล" สร้าง "สุข" (^.^) "สุข" สร้าง "สมาธิ"
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๓. ปฐมอุปนิสสูตร

๓. ปฐมอุปนิสสูตร

ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๑

[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี
อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี
ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มี
ยถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิ-
สารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุข
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น

ปฐมอุปนิสสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕ }
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๔. ทุติยอุปนิสสูตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:28:37 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ ตุลาคม 16, 2021, 12:05:05 AM