เมษายน 20, 2024, 01:43:33 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ  (อ่าน 12619 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Bebhudda
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 44
กระทู้: 4
สมาชิก ID: 2649


« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 02:14:57 PM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
สวัสดีครับ รบกวนผู้รู้ธรรมได้กรุณาอนุเคราะห์ความรู้เรื่องการบิณฑบาตแบบที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ประการใด

ผมเป็นบุคคลที่รักในการทำบุญเช่นคนทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการใส่บาตร
เมื่อก่อนเวลาทำบุญก็ไม่คิดอะไร แต่พอได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาธรรมบ้างก็ทำให้เกิดข้อสงสัยบางประการครับ

คือ ผมได้อ่านพุทธประวัติ เมื่อสมัยก่อน(พุทธกาล)เวลาพระท่านบิณฑบาต พอได้อาหารฉันตามสมควร แล้วก็กลับไปที่โคนต้นไม้ที่ตนเองพำนักอยู่แล้วก็ฉัน ท่านจะไม่สะสมอาหาร หรือวัตถุอย่างอื่น เป็นผู้อยู่ง่าย

แต่ปัจจุบัน เวลาผมไปใส่บาตรแล้วเห็นพระที่รับอาหารนั้น รับอาหารจนล้นบาตร แล้วก็ไปใส่ย่ามบ้าง ถุงบ้าง(อาจมีลูกศิษย์ช่วยขน)และก็รับไปเรื่อยๆ แล้วก็กลับวัด แบบนี้พระเหล่านี้ได้ทำผิดพระวินัยหรือไม่ครับ หากเราทำบุญกับท่านเหล่านั้น เราจะทำให้พระผิดวินัยไปด้วยหรือเปล่า? คือผมอยากทำบุญ แต่ไม่อยากได้บาปครับ ทุกวันนี้ก็เลยพิจารณาบุญกริยาวัตถุ อื่นๆแทนบ้าง...ตามสมควร
แค่นี้ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับผู้ที่จะได้ตอบให้หายสงสัยครับ




บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 11:38:09 PM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ใช่คำตอบว่าจะต้องถูกหรือไม่ถูกนะครับ

คือสมัยนี้เราใส่บาตรจะเป็นอาหารถุง หากเราใส่รวมกันกับข้าวสุก ก็คลุกปนกัน ไม่น่าดู

ลองคิดถึงตัวเรา หากมีหนังยางหล่นใส่จานข้าวของเราบ้าง เรายังนึกรังเกียจ ก็ฉันนั้น

ดังนั้นการเอากับข้าวถุง แยกไปใส่ในย่าม ก็ควรแล้วครับ

****************

อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ การที่พระท่านรับอาหารเป็นจำนวนมาก  ไม่ได้เอาไปไหนหรอกครับ

ผมเรียนพระอภิธรรมที่วัดแห่งหนึ่ง(สงวนชื่อไว้ก่อน) ตอนเที่ยงก็ได้อาหารจากท่านพระอาจารย์นั่นแหละครับ

อาหารของท่านที่ได้ใส่บาตร ไม่ได้เสียเปล่าครับ  ก็ได้เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงคนที่มาเรียนอภิธรรม ได้มีแรงเล่าเรียนกันต่อในช่วงบ่าย ท่านก็ได้บุญเพิ่มขึ้นอีก

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อศาสนาจะอันตรธาน พระอภิธรรมจะอันตรธานก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้น การเรียนพระอภิธรรม จึงเป็นการช่วย

สืบทอดรักษาเอาไว้ ไม่ให้อันตรธานไปก่อนเวลาอันควร

ปล. ทุกวันนี้ คนเรียนก็น้อยลงเรื่อยๆอยู่แล้วครับ


ขอเจริญในธรรมครับ
บันทึกการเข้า

Bebhudda
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 44
กระทู้: 4
สมาชิก ID: 2649


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 05:22:39 PM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
ขอบพระคุณท่าน"ไหลเย็น" มากครับ
แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีครับว่า พระท่านควรจะรับอาหารเกินบาตรที่ตนเองถือ(เกินความจำเป็น) หรือไม่ ในขณะบิณฑบาต
เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องการเป็นผู้อยู่ง่าย เลี้ยงง่าย การไม่สะสมอาหาร วัตถุ หรือการห้ามรับเงินทอง เป็นต้น
...
ส่วนเรื่องการเรียนอภิธรรม ก็ขออนุโมทนาสาธุด้วยคนครับ
แต่ไม่ว่ายังไง อีก 2400 กว่าปี ศาสนาก็อันตรธานอยู่ดี และตอนนั้น มนุษย์ก็มีอายุขัยอยู่ที่ 50 ปี และจะลดลงไปเรื่อยๆ
ยุคนั้นก็คงมีผู้มีบุญ หรือพระอริยะคงหาได้ยากยิ่ง คงต้องเร่งสร้างบุญกุศลนับแต่บัดนี้ครับ

บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 09:06:54 PM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
ขอบคุณครับ

ความเคลือบแคลงสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ในทางอภิธรรม คือเกิด วิจิกิจฉาเจตสิก เข้าประกอบกับจิต

เป็นเจตสิกฝ่ายอกุศล  ถ้าเราทำบุญในขณะมีความสงสัย ขณะนั้น จิตเรากำลังเป็นอกุศล บุญจะไม่เกิด อานิสงค์ที่ได้

จะกลายเป็น อเหตุกะ คือไม่มีเหตุ  ก็ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สู้จิตที่เป็นกุศล ประกอบด้วยศรัทธาไม่ได้


ขอเจริญในธรรมครับ
บันทึกการเข้า

เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 11:18:31 AM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
- ทาน คือ การสละให้ ให้แล้วไม่มาคิดเล็กคิดน้อย หรือ มาเสียดายในภายหลัง ให้โดยไม่หวังคืน ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน นอกจากให้ผู้รับนั้นได้ใช้ประโยชน์สุขยินดีจากการให้นั้นของตน

- ทานอันเราสละให้แล้ว ให้เพื่อให้ผู้รับได้เป็นสุข ไม่มีฉันทะ(เป็นไปในความติดใจใคร่ตามเพลิดเพลินพอใจยินดี) และ ปฏิฆะ(เป็นไปในความขุ่นมัว ติดข้อง ขัดเคืองใจไม่พอใจยินดี) ทานนั้นย่อมสมบูรณ์ บริบูรณ์สำเร็จด้วยดี

- หากท่าน Bebhudda ทำทานด้วยใจที่มีฉันทะและปฏิฆะเครื่องอกุศล ทานนั้นย่อมไม่สำเร็จ และ ไม่มีประโยชน์ เรียกว่าสักแต่ว่าให้ไปเพื่อให้ตนเองได้บุญแต่การนี้มันไม่ได้บุญนอกจากกิเลสตนครับ


- เมื่อขณะที่คุณใส่บาตรนั้น เจตนาของคุณก็เจาะจงที่จะใส่บาตรให้กับพระสงฆ์รูปนี้ๆหรือพระคณะนี้ๆที่มาบิณฑบาตรที่คุณนั้นมองเห็นอยู่แล้ว แล้วเมื่อคุณนั้นได้ใส่บาตรพระรูปนั้นๆไปแล้วการที่พระสงฆ์รูปนั้นๆหรือคณะสงฆ์นั้นๆจะเก็บของจากบิณฑบาตรนั้นไว้เพื่อสิ่งใด นั่นเป็นส่วนกุศลธรรมและอกุศลธรรมของพระผู้รับบาตรนั้น บุญใด-กรรมใด-อาบัติใดๆจากที่ท่านทำนั้นไม่ใช่ของคุณแต่เป็นเพราะตัวพระท่านทำเองไม่เกี่ยวกับเรา คุณ Bebhudda ไม่ได้ไปลิขิตกรรมของใครได้ เผลๆปรามาศมั่วๆถูกพระอริยะเจ้่าเข้าตัวคุณนั้นต้องใช้กรรมอย่างสาสมด้วย พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ดูที่กายใจตนไทม่ใช่คนอื่น หากติดข้องใจก็กลับไปอ่านคำตอบใน 3 ข้อข้างต้นที่ผมทำเป็นตัวอักษรสีเขียวจนแจ่มแจ้งครับ

- แล้วทีนี้เมื่อคุณทำบุญใส่บาตรแล้วไม่มีจิตเป็นกุศล มีแต่อกุศลเกิดขึ้น นั่นคือ ขณะใดขณะหนึ่งที่คุณให้ทานนั้นมีปฏิฆะร่วมอยู่ กรรมก็เกิดแก่คุณ Bebhudda แม้นให้ไปแล้วก็เกิดปฏิฆะเสียดาย หรือ ติดใจ ข้องใจ ขัดใจใดๆในภายหลัง นั่นก็เป็นกรรมของคุณ Bebhudda ไม่เกี่ยวกับผมหรือใคร กรรมที่ติดคุณมาก็จะทำให้คุณขุ่นมัวใจอยู่อย่างนี้แหละ นั่นแหละกรรมของคุณ หลังจากนี้เวลาคุณใส่บาตรด้วยผลกรรมนั้นๆฟก็จะทำให้คุณเกิดอกุศลวิตก คือ คิดเรืองที่เป็นอกุศลขึ้นมาทุกครั้งในจิตใจอย่างไม่สิ้นสุด กลายเป็นบาปทุกข์ครั้งที่ทำ นี่แหละผลของอกุศลกรรมนั้น มันจะติดอยู่ที่คุณจนกว่าจะชำระกรรมนั้นหมดหรือกุศลธรรมใดๆของคุณนั้นมากพอ อกุศลธรรมนี้มันจึงจะหายไป

 
- ดังนั้นเมื่อคุณบอกกล่าวคนอื่นให้ทำบุญทำกุศลปฏิบัติธรรม ตัวคุณเองก็ต้องเข้าใจและปฏิบัติในสิ่งนี้ด้วย และ ตัวคุณเองนั้นได้ทำให้ทานนั้นบริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วหรือยัง ธรรมมะใดๆที่พระพุทธเจ้าสอนย่อมเป็นเครื่องแห่งกุศลเป็นเบื้องต้น คุณ Bebhudda มีกุศลแล้วหรือยัง ธรรมมะใดๆที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนล้วนอยู่ในกายใจตนไม่ไปพาดพิงอ้างอิงผู้อื่น ดังนั้นคุณควรเจริญในสัลเลขะสูตรเสีย

- นี่คือสัลเลขะสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=12&A=1237 ขอเธอจงเพียรปฏิบัติเถิดเพื่อละในความขุ่นมัวใจ ขัดข้องใจอันใดนั้น อันจะทำให้เธอยังสู่อกุศลเครื่อยหายนะทั้งสิ้นนี้ หากทำได้คุณเท่านั้นที่ได้ไม่มีใครได้ตามคุณ หากคุณทำตามสัลเลขะสูตรนี้ไม่ได้แม้ชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็ไม่ควรไปปรามาศผู้อื่น(แต่ไม่รู้คุณจะรู้ทันจิตไหมนะครับ เพราะหากคุณรู้ทันจิตนี้ย่อมละความขุ่นมัวขัดเคืองใจ และ ความติดใจเสียจงได้)
บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 11:51:00 PM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
ท่าน เกียรติคุณ อธิบายได้ดีมากครับ

เนื่องจากเรียนอภิธรรมมาจึงอดเสริมไม่ได้ครับ ขออนุญาตนะครับ

ปฎิฆะ คือ ความขัดเคือง ประกอบอยู่กับ จิต ๒ ดวง ทีี่เป็น โทสะมูลจิต

เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็น อกุศลเจตสิก คือ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจะ และ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ

จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิด ปฎิฆะ จะนำพาให้ อกุศลเจตสิก เกิดขึ้นตามมาอีกหลายดวงเลยทีเดียว

**********
การทีคนเราทำบุญเหมือนกัน แต่ได้รับผลต่างกัน เช่นไปทอดกฐินในคณะเดียวกัน แต่ได้รับผลไม่เท่ากัน

เป็นเพราะ เจตนา ๓ ต่างกัน นั่นคือ  ๑.ก่อนให้  ๒.ขณะให้  ๓.หลังจากให้แล้ว

ก่อนให้ก็ศรัทธา  ขณะให้ก็ยินดี หลังจากให้ก็ไม่เสียดาย

ถ้าเจตนา ๓ นี้ ใครสมบูรณ์กว่า ก็ได้รับผลมากกว่า


ปล. วันนี้ไปดูผลสอบที่วัดระฆังมา สอบได้ที่ ๑ ครับ

ขอเจริญในธรรม
บันทึกการเข้า

Bebhudda
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 44
กระทู้: 4
สมาชิก ID: 2649


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 06:57:42 AM »

Permalink: ถามเรื่องการบิณฑบาตของพระ
ขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 01:53:46 PM