เมษายน 19, 2024, 02:39:40 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่อง สติ  (อ่าน 18411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 09:24:33 AM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ
ความหมายของสติ


สติ คือ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้
(ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗)


สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกใน สติปัฏฐาน ๔
       (ข้อ ๗ ในมรรค)
สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ
       ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
       ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
       ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
       ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
       เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม;


มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่
ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัย เกิดขึ้น
แก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทาง
ที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย
ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก ก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ยังมีบุรุษอีก
คนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น
เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย
กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็น
อันมาก จึงถึงความเจริญ คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
แล เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมาย
ดังต่อไปนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย คำว่า หมู่เนื้อ
เป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป คำว่า ทางที่ไม่สะดวก
นี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑
มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน] คำว่า นางเนื้อ
ต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ
ปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า ทางอัน
ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการซึ่งเป็น
ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ
๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย
ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ]
ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่า
สาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน
ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบ เทฺวธาวิตักกสูตร ที่ ๙

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๓๙๕๓ - ๔๐๙๘.  หน้าที่  ๑๖๐ - ๑๖๕.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_12


มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

            ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น
ปัจจัย ฯ
             ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
             ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
             ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
             ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
             ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
             ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
             ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
             ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
             ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก
เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ
สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมา-
*วิมุตติเป็นปัจจัย
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย
อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ
             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
*อาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียน
สัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี
วิมุตติผิด ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๓๗๒๔ - ๓๙๒๓.  หน้าที่  ๑๕๘ - ๑๖๖.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2013, 09:30:25 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 09:38:46 AM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ

ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๒

             [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาป อันเป็นอริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้า
ทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อม
ละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
*สังกัปปะ ... แห่งมิจฉาวาจา ... แห่งมิจฉากัมมันตะ ... แห่งมิจฉาอาชีวะ ...
แห่งมิจฉาวายามะ ... แห่งมิจฉาสติ ... แห่งมิจฉาสมาธิ ... แห่งมิจฉาญาณะ ...
แห่งมิจฉาวิมุติแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุติ ย่อมปลงจากบาปจากมิจฉาวิมุติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๕๕๓๑ - ๕๕๔๔.  หน้าที่  ๒๓๗ - ๒๓๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=5531&Z=5544&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=120
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24





สาธุวรรคที่ ๔
สาธุสูตร

             [๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
สิ่งที่ไม่ดีเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด
มิจฉาวาจา เจรจาผิด มิจฉากัมมันตะ การงานผิด มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด
มิจฉาวายามะ ความพยายามผิด มิจฉาสติ ระลึกผิด มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด
มิจฉาญาณะรู้ผิด มิจฉาวิมุติ ความหลุดพ้นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็สิ่งที่ดีเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความ
ดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ
เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ
ตั้งใจชอบ สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นชอบ
นี้เรียกว่าสิ่งที่ดี ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๕๖๕๖ - ๕๖๗๐.  หน้าที่  ๒๔๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=5656&Z=5670&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=134
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

มิจฉัตตสูตร
             [๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) ๑๐ ประการนี้
๑๐ ประการเป็นไฉน คือ มิจฉาทิฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑
มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
มิจฉาญาณะ ๑ มิจฉาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิจฉัตตะ ๑๐ ประการนี้แล ฯ



จบสูตรที่ ๑๐
-----------------------------------------------------


สัมมัตตสูตร
             [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตะ (ความเป็นชอบ) ๑๐ ประการนี้
๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมา
กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑
สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตะ ๑๐ ประการนี้แล ฯ



จบสูตรที่ ๑๑
จบปาริสุทธิวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2013, 09:55:29 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 03:21:18 PM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ
               พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
                           อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
                                      อธรรมสูตรที่ ๒

            [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควร
ทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบ
สิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งเป็นประโยชน์
แล้วพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่
เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน และ
สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ความเห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อม
ถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิด
เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการเจรจาผิดเป็น
ปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์เพราะการเจรจาชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพ
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะการเลี้ยง
ชีพผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายาม
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความผิด
เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม  อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความระลึก
ผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งใจชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความตั้งใจ
ผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพ้นชอบเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิด
เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม บุคคลควรทราบ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่
เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด คำที่เรากล่าวดังนี้ เรา
กล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้ ฯ

                                จบสูตรที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๕๑๖๖ - ๕๒๑๗.  หน้าที่  ๒๒๒ - ๒๒๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=5166&Z=5217&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=114
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24[/b]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2013, 09:07:18 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 03:28:41 PM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ

                พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
                                    ธรรมสังคณีปกรณ์

             [๘๖๔] มุฏฐสัจจะ เป็นไฉน?
             ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึก
ไม่ได้ ความไม่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ.
             อสัมปชัญญะ เป็นไฉน?
             ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะอันใด นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ.
             [๘๖๕] สติ เป็นไฉน?
             สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย
ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ
             สัมปชัญญะ เป็นไฉน?
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า
สัมปชัญญะ.
             [๘๖๖] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน?
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า
กำลังคือการพิจารณา.
             กำลังคือภาวนา เป็นไฉน?
             การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือ
ภาวนา.
             โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็นกำลังคือภาวนา.
             [๘๖๗] สมถะ เป็นไฉน?
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ.
             วิปัสสนา เป็นไฉน?
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า
วิปัสสนา.



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  บรรทัดที่ ๗๒๙๐ - ๗๕๘๒.  หน้าที่  ๒๙๐ - ๓๐๑.
 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7290&Z=7582&pagebreak=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔
http://84000.org/tipitaka/read/?index_34


[334]

                          มิจฉัตตะ 10 (ภาวะที่ผิด, ความเป็นสิ่งที่ผิด — wrongness; wrong states)

       1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด ได้แก่ ความเห็นผิดจากคลองธรรมตามหลักกุศลกรรมบถ และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ — wrong view)
       2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด ได้แก่ ความดำริที่เป็นอกุศลทั้งหลาย ตรงข้ามจากสัมมาสังกัปปะ — wrong thought)
       3. มิจฉาวาจา (วาจาผิด ได้แก่ วจีทุจริต 4 — wrong speech)
       4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด ได้แก่ กายทุจริต 3 — wrong action)
       5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ เลี้ยงชีวิตในทางทุจริต — wrong livelihood)
       6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด ได้แก่ ความเพียรตรงกันข้ามกับสัมมาวายามะ — wrong effort)
       7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น — wrong mindfulness)
       8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือเจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น — wrong concentration)
       9. มิจฉาญาณ (รู้ผิด ได้แก่ ความหลงผิดที่แสดงออกในการคิดอุบายทำความชั่วและในการพิจารณาทบทวนว่า ความชั่วนั้นๆ ตนกระทำได้อย่างดีแล้ว เป็นต้น -- wrong knowledge)
       10. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด ได้แก่ ยังไม่ถึงวิมุตติ สำคัญว่าถึงวิมุตติ หรือสำคัญผิดในสิ่งที่มิใช่วิมุตติว่าเป็นวิมุตติ — wrong deliverance)



                            ๑๑. ทสุตตรสูตร (๓๔)
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
                             ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่นิชชิณวัตถุ ๑๐ คือ
ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่
น้อย ที่บังเกิดเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ความดำริผิดอันบุคคลผู้
ดำริชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความ
ดำริผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย การเจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ อนึ่ง
แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้
ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัย การ
งานผิดอันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่
น้อยที่บังเกิดเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อม
ถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย การเลี้ยงชีพผิดอันบุคคล
ผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะ
การเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ความพยายามผิดอันบุคคลผู้พยายาม
ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพยายาม
ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย ความระลึกผิดอันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้
อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เขา
ก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบ
เป็นปัจจัย ความตั้งใจผิดอันบุคคลผู้ตั้งใจชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรม
อันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วน
กุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย
ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่
บังเกิดเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ความพ้นผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ
ย่อมละได้ อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพ้นผิดเป็น
ปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้น
ชอบเป็นปัจจัย ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ
             [๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อเสขธรรม
๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงาน
ชอบ ... เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งใจชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความ
พ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ
             ธรรมร้อยหนึ่งดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด
ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของ
ท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2013, 08:42:38 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 05:17:27 PM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ
ผมมีข้อความที่น่ีาอ่านและพิจารณาซึ่งไม่ได้มาจากพระสูตรใดๆ ดังนี้ครับ

1. เหตุที่ต้องมาฝึกเจริญสติกัน เพื่อให้มีสัมปชัญญะเกิด
ปกติ สติในคนทั่วๆไป ย่อมมีสติเป็นปกติอยู่แล้ว

แต่สัมปชัญญะ ไม่อาจจะมีได้ตลอดเวลา จึงต้องมาเจริญสติกันเพราะเหตุนี้

สติที่เป็นมิจฉาสติ เพราะไม่มีสัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ
สติที่เป็นสัมมาสติ เพราะมี สัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ

ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีแต่สติ แต่ขาด สัมปชัญญะ
หรือมีสัมปชัญญะ แต่ขาดสติ ถือว่าเป็น มิจฉาสติทั้งสิ้นค่ะ

ทั้งสติและสัมปชัญญะ จะรู้ได้โดยสภาวะ ไม่ใช่รู้เพียงแค่บัญญํติ
ต้องเข้าใจด้วยว่า สติโดยสภาวะที่เกิดนั้นมีอาการอย่างไร
สัมปชัญญะโดยสภาวะที่เกิดนั้นมีอาการอย่างไร

 

สรุป

สัมมาสติคิอ การเป็นผู้ที่มีสติ ( ระลึก ) สัมปชัญญะ ( รู้สึกตัว )
อยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ( ปัจจุบัน ) ซึ่งเป็นหนทางของการหลุดพ้นจากกิเลส
หรือ หนทางสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลาย

มิจฉาสติคือ การเป็นเพียงผู้มีสติ ( ระลึก ) ขาด สัมปชัญญะ ( รู้สึกตัว )
ไม่อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม ( ไหลตามความคิด ไปหาอดีตบ้าง อนาคตบ้าง )
มีแต่ส่งจิตออกนอกกาย ไม่รู้อยู่ในกาย ( ปัจจุบัน )

นี่คือ คำตอบของคำถามที่ถามว่า
ทำไมพระพุทธเจ้าทรงเน้นนักหนาเรื่อง สติปัฏฐาน

เพราะในการเจริญสติปัฏฐานนั้น จะได้ทั้ง สติ และ สัมปชัญญะ
ไม่ใช่มีแค่ สติ แต่ขาดสัมปชัญญะ หรือ มี สัมปชัญญะแต่ขาดสติ

ขึ้นชื่อว่า สติ ถ้าขาดสัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ นั่นคือ มิจฉาสติ

หาอ่านได้ใน สัมปชัญญะบรรพ

ที่มาจาก http://walailoo2010.wordpress.com/2010/05/27/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4/

2.สติหรือสัมมาสติ นี้  จะแตกต่างจาก  มิจฉาสติหรือสติธรรมดา   

ตรงที่  สัมมาสตินั้น เป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ ได้แก่ รูปนาม ในชั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น และ ระลึกรู้นิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรค

ส่วน มิจฉาสติเป็นเครื่องระลึกรู้ อารมณ์บัญญัติอันเป็นสาธารณกุศลต่างๆ

ผู้เขียนมีข้อสังเกตส่วนตัวที่ขอฝากให้ เพื่อนปฏิบัติก็คือ สัมมาสติ จะสึกว่าระลึกรู้อารมณ์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปพร้อมกับจิตเป็นขณะๆ
ส่วน สติธรรมดา มักจะเข้าไปตั้งแข็ง หรือนอนแช่อยู่ในอารมณ์ และให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าสตินั้นเป็นของที่ตั้งอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดดับ

โดยหลวงพ่อปราโมทย์(ผมจะไม่สนใจนะครับว่าอะไรอย่างไรบางท่านอาจจะพอใจ บางท่านอาจจะไม่ชอบไม่พอใจท่าน แต่ที่ผมยกมานี้เพื่อใช้พิเคราะห์หาตัว มิจฉาสติจริงๆเท่านั้น เพราะหากเราไม่รู้ตัวจริงของมิจฉาสติเราก็ละไม่ได้ ก็เข้าสัมมาสติไม่ได้ก็เป็นเหตุให้มีมิจฉาทิฐิอยู่ร่ำไป)
 ที่มาจาก http://www.antiwimutti.net/forum/index.php?topic=398.0


ถ้าไม่รู้ว่ามิจฉาสติ มิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร เราก็จะละมิจฉาไม่ได้ กลับยิ่งหลงอยู่ในมิจฉานั้นๆ การรรู้ในมิจฉานี้ว่าเป็นอย่างไรจะทำให้เราแจ้งกับสภาวะธรรมที่เราเป็นอยู่ พระพุทธเจ้าจะให้ความหมายของมิจฉาทั้ง 7 เว้นสติใน มหาจัตตารีสกสูตร ดังนั้นที่พระตถาคตตรัสถึงมิจฉาสติ จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไรเราต้องเข้าไปรู้เห้นตามจริง และ ที่แน่นอนที่สุด สติ+สัมปชัญญะ คือ สัมมาสติแน่นอนเพราะมีกล่าวเรื่องสัมชัญญะร่วมด้วยเสมอในสติปัฏฐาน๔ ลองพิจารณาดูครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2013, 05:51:48 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2013, 04:10:01 PM »

Permalink: ว่าด้วยเรื่อง สติ
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ บัดนี้ผมขอกล่าวถึง มิจฉาสติ และ ข้อธรรมใดๆต่อไปนี้ เป็นความเห็นและพิจารณาตามปัญญาอันน้อยนิดจากการปฏิบัติของผมนี้เท่านั้น ด้วยเหตุว่าหากเราไม่รู้ว่า มิจฉา เป็นอย่างไร ย่อมละมิจฉาไม่ได้ ทำให้ไม่รู้ว่าสัมมาจริงๆเป็นอย่างไร ควรเจริญแบบไหน ขอท่านผู้อ่านทั้งหลาย ควรอ่านแล้วพิจารณาวิเคราะห์ตามด้วย หากข้อธรรมนี้ๆบิดเบือนในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนหรือเป็นการกล่าวเท็จให้ทำลายพระพุทธศาสนา ขอท่านทั้งหลายโปรดอดโทษไว้แก่ผมและโปรดให้คำแนะนำติชมด้วยครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง

โดยส่วนตัวของผมที่ได้รู้เห็นในมิจฉาสตินั้น ด้วยการหาให้รู้ว่ามิจฉามันเป็นยังไงผมจึงเจริญเข้าในธรรมใดๆที่เป็นมิจฉาทั้งหลายเพื่อให้เห็นตามจริงและละในมิจฉาจริงๆได้ ไม่หลงอยู่ว่าที่ตนเสพย์เป็นมิจฉา ได้พึงเห็นดังนี้ว่า


มิจฉาสติ

ความระลึกผิด ตามระลึกผิด หวนระลึกผิด ภาวะทรงจำผิด ขาดสัมปชัญญะ(ความรู้ตัวทั่วพร้อม เกิดปัญญาแจกแจงวิเคราะห์ลงในธรรม จนเห็นตามจริง)

ความตามระลึกหรือหวนระลึกถึงใน ราคะ(ความติดใจในอารมณ์ กำหนัดยินดี)
โลภ(ความติดใจยินดี เพลิดเพลินใคร่ตาม) โกรธ(ความขุ่นมัวใจ ขุ่นข้องขัดเคืองใจ) หลง(ความหม่นหมองใจ นิ่งเฉยแต่หมองมัวใจ ไม่ผ่องใส เบิกบานไม่รู้ตนคือขาดสัมปชัญญะ)

ความระลึกผิด คือ สภาพจริงของจิตที่มีกิริยาอาการ(ในที่นี้หมานถึง สภาพจริงที่เป็นคุณลักษณะของสติมีกิริยาที่ดำเนินกระทำเป็นไป) เป็นไปดังนี้คือ
- ความตามระลึก ตามรู้ หวนระลึกรู้ ในสิ่งใดๆที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ หมองมัวใจ ก่อให้เกิดเป็นจิตตั้งมั่นที่หม่นหมองมัวใจ ไม่ผ่องใส เบิกบาน
- ความระลึกไม่ได้ จดจำไม่ได้ หลงลืม
- ความหวนระลึกถึงความจดจำ ทรงจำ คือ สัญญาใดๆในสิ่งใดๆที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ หมองมัวใจ ก่อให้เกิดเป็นจิตตั้งมั่นที่หม่นหมองมัวใจ ไม่ผ่องใส เบิกบาน
- ความตามระลึกรู้ หรือ ความหวนระลึกใดๆ อันเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้วกุศลธรรมเสื่อมลงถือเป็นมิจฉาสติทั้งหมด

ความมีแค่สติแต่ขาดสัมปชัญญะ คือ แค่ระลึกตาม รู้ตามในสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาวะธรรมใดๆ แต่ขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่เกิดปัญญาญาณรู้เห็นตามจริงสงเคราะห์แจกแจงลงในธรรม (สติมีสภาวะหรือกิริยาที่ระลึกรู้ รู้ตาม หรือหวนระลึกเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น สัมปชัญญะเป็นตัวที่ทำให้รู้ตัวรู้ใจทั่วพร้อม เป็นปัญญา เป็นญาณ ให้เห็นหรือวิเคระห์แจกแจงลงในธรรม หากมีสติไม่มีสัมปชัญญะไม่เรียกสัมมาสติ ถือเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด)
ยกตัวอย่าง เช่น
- เวลาที่เราโกรธ เมื่อมีสติรู้สภาวะธรรมในขณะนั้นคือ สภาวะที่ขุ่นมัวขัดใจ รู้ว่าเกิดความพอใจเพลิดเพลินที่จะกระทำนั้นๆอยู่
- แม้รู้อย่างนั้น แต่จิตคือสติมันก็แค่รู้ในสภาวะนั้นเท่านั้น ไม่มีความรู้ตัวทั่วพร้อมว่าในขณะปัจจุบันนั้นกำลังอยู่ในสภาพใด โกรธหรืออย่างไร กำลังกระทำอกุศลหรือกุศลอยู่
- ไม่เกิดปัญญารู้เห็นว่าสิ่งนี้ให้โทษทำให้อกุศลเกิดขึ้นแล้วกุศลเสื่อมลงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพย์และสิ่งนี้ให้คุณทำให้กุศลเกิดขึ้นแล้วอกุศลเสื่อมลงเป็นไม่สิ่งที่ควรเสพย์ ไม่รู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังดำเนิืนไปอย่างไรอยู่
- ไม่เห็นด้วยปัญญาวิเคราะห์แจกแจงลงในธรรมให้เห็นตามจริง
- มีสภาวะธรรมกริยาอาการที่สักแต่เพียงรู้หรือแลดูอยู่เท่านั้นไม่มีความรู้ตัวทั่วพร้อมในขณะนั้นๆ ไมเกิดปัญญา ไม่เห็นธรรม
- ดังนั้นไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสสอนเรื่องการเจริญกรรมฐานใดๆ ย่อมต้องให้มีสัมปชัญญะคู่สติ(สติเกิดได้โดยไม่มีสัมปชัญญะ แต่หากสัมปชัญญะเกิดสติก็เกิดรู้ตามด้วย) และ มีสมถะคู่วิปัสสนา

เมื่อเกิดระลึกผิดใดๆ มิจฉาสมาธิเกิดจิตตั้งมั่นผิด แม้เกิดฌาณก็หมองมัวใจไม่ผ่องใสเบิกบาน ตรึกนึกถึงกามราคะ พยาบาท แม้ตัดความคิดดับไปแล้ว ก็มีสภาพจิตที่หม่นหมองมัวใจไม่ผ่องใส สงบ ว่าง สว่าง เบิกบานใจ

สัมมาสติ คือ ความมีสติ+สัมปะชัญญะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2013, 09:08:19 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 08, 2024, 04:46:27 PM