เมษายน 19, 2024, 05:57:33 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ  (อ่าน 18055 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 05:31:35 PM »

Permalink: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๒. ว่าด้วยการอบรมสมาธิ
                               


หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมสมาธิมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมกายที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. การทำให้จิตผ่องใส ไม่ร้อนรุ่มร้อนรนใจ มีความชื่นบานใจ อิ่มเอมใจ เป็นปกติ
ข. การทำให้จิตสงบเย็นกายเย็นใจ เป็นสุขรื่นเริงใจ ไม่มีความติดข้องใจไรๆ เป็นปกติ
ค. มีจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว มีความว่างรำงับจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท เป็นปกติ
ง. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็มีแต่สภาพที่แลดูอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เป็นปกติ
จ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็ไม่ปรุงแต่งส่งต่อเรื่องราวอันอกุศลลามก เป็นปกติ
ฉ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็สักแต่เห็นความเกิดขึ้น แลเห็นความเป็นไปตามจริง ไม่ตกอยู่ในสภาวะที่ตรึกนึกคิดโดยความ อนุมานเอา

- สภาวะนี้ๆ คือ สัมมาสมาธิ ที่ควรแก่งาน
- ทีนี้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ทำไมเราค้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินั้น มีไว้เพื่อให้ถึงยถาภูตญาณทัสนะ คือ ปัญญารู้เห้นตามจริง

๒.๑ การเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติกรรมฐานให้ถึงสัมมาสมาธิ

เราจะเริ่มทำสมาธิ หรือ จะเจริญปฏิบัติในทางใดๆตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็แล้วแต่ เราพึงควรเจริญดังนี้ คือ

    ๒.๑.๑ ข้อแรกที่สำคัญที่สุดเมื่อเราจะ ยืนก็ดี นั่งก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี ให้ระลึกนึกคิด คำนึงถึงอยู่เสอๆว่า
            - พระพุทธเจ้ามาอยู่ตรงหน้าเราแล้วในขณะนี้
            - พระตถาคตทรงกำลังดูเราเจริญปฏิบัติอยู่ เราต้องสำรวมระวังปฏิบัติให้พระตถาคตเห็นในความเพียร สำรวมระวังของเราอยู่ทุกขณะ
            - หมั่นระลึกถึงบารมีของพระตถาคตเป็นที่ตั้ง
            - พึงระลึกในใจว่าเราจักปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

    ๒.๑.๒ แล้วระลึกตั้งเจตนากล่าวกะพระพุทธเจ้า ว่า

            ก. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน อิทธิบาท๔  คือ

            ๑. ฉันทะ คือ มีความความพอใจยินดี ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
            ๒. วิริยะ คือ ความเพียรพยายามกระทำในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ไม่ละทิ้งไป
            ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
            ๔. วิมังสา คือ ความพิจารณาใคร่ครวญพิจารณาในสิ่งนั้นด้วยปัญญา ถึงเหตุและผลในการปฏิบัติแต่ละอย่างว่าเป็นเช่นไรควรหรือไม่ควรอย่างไร

            ข. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน จรณะ ๑๕ เพื่อให้เข้าถึงใน อิทธิบาท๔ ข้างต้น คือ (จาก พระราชพรหมญาณ หนังสือ พรหมวิหาร ๔)

คำว่า จรณะ แปลว่า ความประพฤติที่พวกเราจะต้องประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จะถือว่าจรณะ ๑๕ เป็นจริยาที่พระอริยะเจ้าจะต้องประพฤติปฏิบัติแต่ฝ่าย เดียวก็หามิได้

สำหรับจรณะ ๑๕ นี่ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความบกพร่องในข้อใดข้อหนึ่ง ก็มีหวังว่าในปัจจุบันก็ดี สัมปรายภพก็ดี ท่านจะหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ หากว่าจะมีความสุขบ้างก็เป็นความสุขที่ไม่สมบูรณ์

สำหรับจรณะ ๑๕ นี้ท่านแบ่งออกเป็น ๓ หมวดด้วยกัน

สำหรับหมวดต้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล สำหรับพระก็ได้แก่พระวินัย ที่มาในพระปาฏิโมกข์ ( มี ๒๒๗ ข้อ ) และก็มาทั้งนอกพระปาฏิโมกข์ ( ที่เราเรียกว่า อภิสมาจาร ) สำหรับเณรก็ต้องปฏิบัติในศีล ๑๐ ให้ครบถ้วน และก็มีเสขิยวัตรอีก ๗๕ ข้อ รวมเป็น ๘๕ สิกขาบท สำหรับอุบาสก อุบาสิกา อันดับต่ำสุดก็ต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์

๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ห จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์ แปลว่า ความความเป็นใหญ่ คือ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นรูป หู เป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการสูดกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการรู้รส กาย เป็นใหญ่ในการสัมผัส ใจ เป็นใหญ่ในความรู้สึก สังวร แปลว่า ระวัง ท่านบอกว่าไม่ให้มันยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสทางกาย รู้ทำอารมณ์ด้วยใจ

๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกินอาหาร คือไม่ละโมบโลภมากเกินไป รู้จักประมาณในการกิน

๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่

หมวดที่ ๒ ท่านเรียกว่า สัจจธรรม มี ๗ ข้อ คือ

๑. ศรัทธา ความเชื่อ เรามีความเชื่อในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนใดที่เป็นคำสั่งพระองค์ห้าม เราไม่ปฏิบัติตาม ส่วนใดที่เป็นธรรมะที่เป็นความดีที่พระองค์สนับสนุน เราปฏิบัติตาม

๒. หิริ ความละอายแก่ใจ ถ้าอารมณ์มันคิดจะทำชั่ว จงมีความละอายว่า เราเห็นจะเลวมากไปเสียแล้ว ถ้าจิตมันชั่ว เราก็อายความเป็นคนว่า ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนแล้วไม่น่าจะทำความชั่ว

๓. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความผิด

๔. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำได้มากแต่เอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกะทะ เห็นคนสอนก็เห็น ได้ยินคำสอนก็ได้ยิน แต่ไม่จำ มันจะเป็นพาหุสัจจะไม่ได้

๕. วิริยะ มีความเพียร คือ ความเพียรสละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี

๖. สติ ระลึกได้ นึกได้ว่าเราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ระลึกได้ว่าเราเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ นึกได้ว่าเราจะบริโภคอาหารอยู่แต่พอสมควร นึกได้ว่าเราจะเป็นผู้ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ เป็นต้น

๗. ปัญญา ความรอบรู้ จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิตว่า เวลานี้อารมณ์จิตของเรายังมีความผูกพันอยู่ในร่างกายหรือเปล่า เวลานี้เราสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรหรือเปล่า และปัญญาพิจารณาศีลที่เรารักษาตามสภาวะของตัว อย่าให้มันด่าง มันพร้อย มันขาดทะลุ อย่าให้มันบกพร่อง

สำหรับหมวด ๓ นี้มี ๔ ข้อด้วยกัน ได้แก่ พวกรูปฌาน คือ

๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑

๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒

๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓

๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔

ถ้าหากท่านทั้งหลายได้ทรงฌานที่ ๑ ก็ดี ฌานที่ ๒ ก็ดี ฌานที่ ๓ ก็ดี ถึงฌานที่ ๔ ยิ่งดีมาก ในเวลาเช้ามืด เช้ามืดนี่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าตอนเช้าจิตของท่านทรงฌานได้ ปล่อยให้อารมณ์แนบสนิทตามที่กำลังจะทรงได้ นั่นก็หมายความว่า จรณะ ๑๕ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ท่านก็เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์ ศีลไม่บกพร่อง

๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ดีทั้งหมด เพราะใจมันทรงตัวในด้านกุศล ตาไม่เสีย หูไม่เสีย จมูกไม่เสีย เป็นต้น

๓. โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภค ผู้ทรงฌานนี่ฉันอาหารไม่มากนัก แต่ยังไม่ถึงกับไปลดอาหารมันนะ ปล่อยมันตามสบาย เพราะอาการทางใจมันอิ่ม เรื่องลดอาหารไม่มีการยุ่ง พิจารณาอยู่เสมอว่าเรากินเพื่อทรงอยู่ เพื่อความหลงไม่มี

๔. ชาคริยานุโยค ก็เป็นผู้มีสติสมบูรณ์เหมือนคนตื่นอยู่

๕. ศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธเจ้ามีสมบูรณ์แบบ ไม่บกพร่อง

๖. ความละอายต่อบาป คือ หิริ
  
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่วมีอยู่

๘. พาหุสัจจะ ความทรงจำของผู้มีสมาธิดี จะอยู่เป็นปกติ

๙. วิริยะ ความเพียรก็จะทรงตัว

๑๐. สติ ก็จะทรงอยู่เสมอ

๑๑. ปัญญา จะรอบรู้ เพราะปัญญานี้จะเกิดได้ก็อาศัยกำลังของสมาธิเป็นสำคัญ

เป็นอันว่า เมื่อบรรดาท่านพระโยคาวจรทุกท่านสามารถทรงฌานได้ จะเป็นฌานไหนก็ตามและจิตของท่านไม่ละเมิด ไม่ละทิ้งในฌาน ในยามเช้ามืด เป็นอันว่าจรณะทั้ง ๑๕ ประการจะสมบูรณ์แบบ เสมือนหนึ่งว่า ท่านเป็นผู้ทรงอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์ และก็สามารถจะทรงความดีในบารมี ๑๐ ประการ ได้ครบถ้วน


จรณะ ๑๕ ที่มาจาก http://www.luangporruesi.com/321.html

  




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2013, 09:53:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 07:53:07 PM »

Permalink: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ

๒.๒ การเจริญจิตให้ถึงทางเข้าแห่งสัมมาสมาธิ


เมื่อเราเจริญปฏิบัติใน จรณะ๑๕ แล้ว ถึง อิทธิบาท๔ แล้ว จิตใจเราจะไม่ร้อนรุ่มใจ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นให้เจริญจิตดังนี้

    ๒.๒.๑ ตั้งเจตนาไม่ทำร้ายเบียดเบียน ไม่ผูกจองเวร พยาบาท ทางกาย-วาจา-ใจต่อผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น และ ตนเอง
            * หากคุณทำในข้อนี้ได้..คุณก็จะมีความไม่ร้อนใจ เป็นอานิสงส์

    ๒.๒.๒ เจริญจิตให้เป็นกุศลอยู่เป็นประจำ คือ
    - ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ
      โดยปราศจากความติดใจเพลิดเพลินปารถนาใคร่ตาม กำหนัดยินดี ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
    - ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ
      โดยปราศจากขุ่นมัวขัดเคืองใจ ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
            * หากคุณทำได้ จะส่งผลให้ความคิด-พูด-ทำของคุณก็จะมีแต่กุศล มีความผ่องใส ความชื่นบานใจ เป็นอานิสงส์

    ๒.๒.๓ เจริญกาย วาจา ใจให้เป็นกุศล คงกุศลไว้ และ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมตลอดเวลา
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความปารถนาดีต่อผู้อื่นอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งที่ดีงานเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้จักสละให้
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้ว่าควรอดโทษ รู้ว่าควรอดใจไว้ รู้ว่าควรละไว้ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้วางใจไว้กลางๆไม่เอาความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดีจากการรู้อารมณ์ใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
            * หากคุณทำได้คุณก็จะมิความอิ่มใจ ปลื้มใจ ก่อให้เกิดความสงบผ่องใส ผ่อนคลาย

๒.๓ การเจริญเข้าสู่สัมมาสมาธิ

เมื่อเราหมดความร้อนรุ่มใจแล้ว มีจิตเป็นกุศลแล้ว มีความผ่องใสปราโมทย์แล้ว ความปิติอิ่มเอมใจย่อมเกิดขึ้นเป็นอานิสงส์ต่อมา เมื่อจะเจริญสาธิจิตย่อมตั้งมั่นเป้นกุศลได้ง่ายไม่ล่วงเข้าสู่ มิจฉาสมาธิอย่างแน่นอน

    ๒.๓.๑ ฝึกโดยการหลับตาทำสมาธิในอิริยาบถ ยืน นั่ง หรือ นอน

            อานาปานุสสติ คือ การระลึกรู้ลมหายใจ จะแค่รู้ลมหายใจไม่บริกรรมก็ดี
            จะบริกรรมพุทโธ-นะมะพะทะ-สัมมาอรหัง หรือ ยุบพองก็ตามแต่
            การรู้ลมหายใจนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย มีประโยชน์เป็นอันมาก พระพุทธเจ้ารู้ก็รู้ที่ลมหายใจนี้ก่อนสิ่งใด
            แม้ยามที่จะตรัสรู้ก็ด้วยลมหายใจนี้แล เป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย ให้ผลได้ไม่จำกัดรู้ตามปฏิบัติได้ตลอดทุกเวลา ทุกอิริยาบถ
            แม้จะเรียนอภิญญาใดๆ ก็ต้องรู้ลมหายใจก่อน แม้จะเป็นกสินก็ตามก็ต้องอาศัยลมหายใจให้จิตตั้งมั่นประกอบกับการเพ่ง
            - ให้เอาสิ่งใดๆก็ตามที่รู้มาทิ้งไปให้หมด ให้กำหนดจิตว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ทิ้งลมหายใจเป็นอันขาด
              แม้จะหยุดหายใจ แม้จะตายก็ช่างมัน คนเรามันต้องตายอยู่แล้ว ตายด้วยกรรมฐานนี่มันขึ้นสวรรค์แน่นอน
              แล้วเอาจิตเข้าไปรู้ลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม
            - ไม่หายใจเข้า-ออก แรงจนเกินไป หรือเบาจนเกินไป ให้อยู่ระดับกลางๆ
            - ตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
            - เมื่อดูลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อไปตรึกนึกคิดสิ่งใดๆที่เป็นอกุศล ทำให้จิตส่งออกนอก
              ก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วขอพระบารมีของพระพุทธเจ้าแผ่มาถึงเราแล้วดับอกุศลจิตใดๆ-จัญไรใดๆเหล่านี้ไปเสีย
              แล้วตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
            - คอยตามรู้ลมหายใจ แม้บางครั้งจะได้ยินว่าเสียงลมหายใจตนเองดังมาก ก็ไม่เอาจิตหลุดจากการรู้ลมหายใจเข้าและออก
            - เมื่อดูลมหายใจไปเรื่อยๆไม่ส่งออกนอก เสียงลมหายใจจะค่อยๆหายไป ถึงแม้จะหายใจแรงก็ไม่มีเสียงลมหายใจ
            - ให้ตามดูลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเข้าแล้วไปสุดอยู่ที่ไหน มันจะเริ่มออกตรงไหนแล้วไปสุดอยู่ที่ไหน
              ไม่ให้จิตส่งออกนอกหลุดจากระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออก
            - ระลึกรู้ตามลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าตนเองไม่หายใจหรือหยุดหายใจ ห้ามตกใจกลัวเด็ดขาดจะให้จิตหลุดจากสมาธิ
            - ระลึกรู้ตามลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าตนเองไม่หายใจหรือกำลังหยุดหายใจ ให้พึงตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง
              (จะระลึกถึงภาพพระพุทธเจ้าที่ถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ หรือ พระพุทธรูปใดๆที่เราชอบและเคารพนับถือก็ได้)
            - ให้ตามรู้ลมมันไปก็พอจะตายก็ช่างมัน พึงระลึกว่าขอถวายชีวิตนี้แก่พระพุทธเจ้า
              แม้จะตายก็ช่างมันเราจักละกายสังขารนี้ไปเสีย
            - ให้รู้ตามลมและสภาวะนั้นๆไปเท่านั้น พึงระลึกว่าหากมันจะตายครั้งนี้ก็ช่างมัน
              เราจะตายเพื่อพระพุทธศานา เพื่อพระพุทธเจ้า
            - ให้รู้ตามลมและสภาวะกายและจิตในขณะนั้นๆไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนนอก
              หากคิดว่าจะตายให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าไม่หลุดไป
    
    ๒.๓.๒ ฝึกโดยการลืมตาทำสมาธิในอิริยาบถ ยืน นั่ง หรือ เดิน

            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นอันดับแรก แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะ
              ยืนก็รู้ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินก็รู้ว่าเดิน ก้าวย่างเท้าไรก็รู้ว่าเท้านั้นก้าวอยู่
              เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก้รู้ว่าสัมผัสพื้น ให้รู้อิริยาบถทุกขณะ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
              แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต รู้ถึงกิจการงานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ
              ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน หรือ หลุดจากการกระทำในกิจการงานนั้นๆจนเสร็จ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ
              เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              เมื่อพอใจยินดีก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่ เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
              เมื่อกำหนัดใคร่ปารถนาสิ่งใด ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ปารถนาที่จะเสพย์อารมณ์ความรู้สึกในสิ่งนั้นๆอยู่
              เมื่อติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดี ก็รู้ว่าติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
              เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจ ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจอยู่
              เมื่อมัวหมองใจไม่ผ่องใส ก็รู้ว่ามัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดี
              เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้ เราจักมีแต่ความสงบรำงับอยู่เป็นปกติ
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่แข็ง อ่อน ก็ให้รู้ว่ามันแข็ง หรือ อ่อน ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่ซาบซ่าน เอิบอาบใดๆ ก็ให้รู้ว่ามัซาบซ่าน หรือ เอิบอาบ ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่เคลื่อนตัว ตรึงไหวใดๆ ก็ให้รู้ว่ามันเคลื่อนตัว หรือ ตรึงไหว ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่ร้อน เย็น ก็ให้รู้ว่ามันร้อน หรือ เย็น ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นอันดับแรก แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะ
              ยืนก็รู้ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินก็รู้ว่าเดิน ก้าวย่างเท้าไรก็รู้ว่าเท้านั้นก้าวอยู่
              เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก้รู้ว่าสัมผัสพื้น ให้รู้อิริยาบถทุกขณะ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
              แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต รู้ถึงกิจการงานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ
              ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน หรือ หลุดจากการกระทำในกิจการงานนั้นๆจนเสร็จ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2013, 09:53:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
กรกรต
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 36
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2973


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 03:57:02 PM »

Permalink: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
ยาวมากแต่ชอบครับ อ่านจนจบเลย
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 06:46:26 PM »

Permalink: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
H4rtzz0015
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 5
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 3187


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 25, 2018, 01:38:30 PM »

Permalink: กรรมาฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
ผมชอบอ่านบทความนี้มากเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2024, 09:00:37 PM