เมษายน 20, 2024, 04:18:40 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต  (อ่าน 13689 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2013, 02:07:28 PM »

Permalink: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๓. ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต  
                               

หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมจิตมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมจิตที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. รู้ว่าสิ่งไหนที่ควรเสพย์ และ สิ่งไหนไม่ควรเสพย์

ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์
ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ  (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร      เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่ร้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น   แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ไม่ควรเสพ.        
ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร  แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง    แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ควรเสพ.                                                
            ข้อนั้นใด  ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า    ดูก่อนสารีบุตร  เราตถาคต
กล่าวถึงธรรมารมณ์  ที่รู้ได้ทางมโน ไว้ ๒ อย่างคือ  ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่
ควรเสพอย่าง ๑   เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้    จึงได้กล่าวไว้แล้ว

ข. รู้ว่าสิ่งนี้ๆ ขณะใดๆ เราควรอดใจไว้ อดโทษไว้ รู้ว่าควรละ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง

ความรู้จักอด รู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง เหล่านี้ คือ ขันติ
(ความอดทน อดกลั้นแล้วขัดใจขุ่นมัวใจนั่นไม่ใช่ขันตินะครับ นั่นเป็นขันอัด อาศัยความคิดไม่ว่าจะเป็นกุศลก็ดี หรือ อกุศลก็ดีกดข่มไว้)
เราจะเข้าถึงขันติจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
- ศีล + พรหมวิหาร๔ ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นธรรม 2 ที่เจริญคู่กันแล้วเป็นประโยชน์สุขอันมาก
   มีอานิสงส์คือ ไม่ร้อนรุ่มใจ ไม่ร้อนรนใจ ไม่มัวหมองใจ ไม่เศร้าหมองใจ มีกุศลจิตเกิดอยู่เป็นปกติจิต
- พิจารณาเห็นคุณและโทษของสิ่งนั้นๆที่เราพึงเอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตอยู่
- พิจารณาเลือกในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ค. รู้วางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาทั้งความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต

ความรู้จังวางใจไว้กลางๆ ความวางเฉย คือ อุเบกขาจิต
(อุเบกขาจิตมีอยู่ 2 ประเภท คือ กุศล และ อกุศล ส่วนทางเข้าถึงอุเบกขาจิตมีอยู่ 10 แบบ)
เราจะเข้าถึงอุเบกขาจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
   (วิธีเข้าอุเบกขาจิตนี้ๆเป็นหลักเบื้องต้นในการเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติ ผมจะไม่กล่าวถึงในส่วนที่ผมยังไม่ถึง นั่นคือ อุเบกขาสำหรับผู้ที่ บรรลุแล้ว หรือพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะผมยังไม่ถึงแม้จะหาตำรามาเปิดกล่าวได้มันก็ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะได้แค่บ่นแต่ไม่ถึงจริง ไม่เห็นจริง)
- เจริญขันติให้เกิดขึ้นแก่จิต
- เห็นเหตุ(สมุทัย)ที่ทำให้เราติดข้องใจในสิ่งไรๆ จนเกิดเป็นความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเหล่านั้น
- ละที่เหตุ(สมุทัย)นั้นๆไปเสีย โดยเจริญระลึกอยู่เนืองๆว่า..สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา มันแค่มาอาศัยเกิดประกอบปรุงแต่งเท่านั้น เมื่อเข้าไปร่วมกับมัน หรือ เข้าไปเสพย์มัน ไม่ว่าจะพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมันก็มีแต่ทุกข์ หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้

ง. รู้เห็นตามจริงด้วยปัญญา
- เจริญตามในข้อ ก-ค เจริญปฏิบัติให้มีจิตตั้งมั่นชอบ สงบรำงัยจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเรานี้ มันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรม มันไม่เที่ยง คือ
   มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความสูญสลายไปเป็นธรรมดา ไม่ด้วยการดูแลรักษา ไม่ก็สภาพแวดล้อม -
   ไม่ก็ด้วยกาลเวลา หรือ สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน ไม่ก็ด้วยความตายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับเรา มันไม่มีตัวตนอันที่จะบังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจได้
   ก็สิ่งใดๆเหล่านี้..เราไม่สามารถจะไปบังคับให้มันคงอยู่ตลอดไป หรือ ให้บังคับให้มันดับไปไม่เกิดขึ้นอีก ตามที่ใจเราปารถนาไม่ได้
- เห็นตามจริงด้วยปัญญาถึงความไม่ใช่เรา และ ไม่ใช่ของเรา กับสิ่งใดๆเหล่านี้
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่เกิดทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป้นเพียงแค่ ธาตุ เป็น รูปและนามที่มากระทบเท่านั้น
- เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น รู้รสก็สักแต่ว่ารู้รส รู้การกระทบสัมผัสทางกายก็สักแต่ว่ารู้สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆทางใจก็สักแต่รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ ไม่เข้าไปร่วม ไม่เข้าไปเสพย์ สักเพียงแต่ว่ารู้เท่านั้น







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 10:16:54 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2013, 02:08:17 PM »

Permalink: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต


****** ความหมายของอารมณ์และธรรมารมณ์ในทางธรรม****

อารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
ลองดูคำว่า  "อารมณ์" กันก่อนละกันนะคับ
จะได้เข้าใจคำว่า "อารมณ์" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะคับ

คำว่า "อารมณ์"  หมายถึงสิ่งที่จิตรู้
จิตกำลังรู้สิ่งใด...สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
อันนี้คิดว่าคงเข้าใจแล้วนะคับ  แต่จะแยกออกให้เห็นดังนี้คือ....

ทางตา........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รูปารมณ์  (สี)
ทางหู.........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  สัททารมณ์  (เสียง)
ทางจมูก....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  คันธารมณ์  (กลิ่น)
ทางลิ้น.......รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รสารมณ์  (รส)
ทางกาย.....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น (แต่มี 3 ลักษณะ) คือ  โผฏฐัพพารมณ์
(ได้แก่สัมผัสทางกาย  คือสภาพที่เย็นร้อนอันได้แก่ธาตุไฟ...อ่อนแข็งอันได้แก่ธาตุดิน...เคร่งตึงหรือไหวเคลื่อนอันได้แก่ธาตุลม)

สำหรับทางใจ
จะรับรู้อารมณ์ต่อจากทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย
ก็คือรับรู้  รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์
และนอกเหนือจากอารมณ์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว
ทางใจยังรับรู้อารมณ์อื่นๆ อีกทั้งหมด
ซึ่งไม่สามารถรับรู้ทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายเลย

สิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะทางใจอย่างเดียวเท่านั้น....นี่แหละคับเรียกว่า  "ธัมมารมณ์"
ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็ได้แก่....ปสาทรูป...สุขุมรูป (รูปที่ละเอียด)...จิตและเจตสิกทั้งหมด...นิพพาน
และบัญญัติธรรม (ชื่อ คำ เรื่องราว ความหมายต่างๆ ฯลฯ)

จะเห็นได้ว่าทางใจนี่รับรู้ได้หมดทุกอารมณ์เลย
สมจริงดังว่า...ทุกอย่างรวมลงที่ใจ

จะสังเกตได้นะคับว่า
รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง 5 นี้แม้เมื่อทางใจรับรู้ต่อจากทางปัญจทวารแล้ว
ก็ยังคงเป็น  รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์  อยู่นั่นเอง
ไม่ได้กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  แต่อย่างใดนะคับ

สิ่งไหนที่เป็นอารมณ์อย่างใด  ก็ต้องเป็นอย่างนั้นเสมอ
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่ะคับ
เช่น  สี  เมื่อรับรู้ทางตา  เป็นรูปารมณ์
พอมารับรู้ทางใจ  ก็ยังคงเป็นรูปารมณ์  ไม่ใช่ไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ
เสียง  กลิ่น  รส  ธาตุดิน/ธาตุไฟ/ธาตุลม  ก็เช่นกันคับ
แม้ทางใจจะรับรู้ต่อจาก  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายแล้ว
ก็ยังคงเป็น  สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
ไม่ใช่กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ

แต่ว่า...สิ่งที่นึกคิดต่อเนื่องออกไปอีกนั้นเอง  คือ ธัมมารมณ์
เช่น  ทันทีที่ทางตารับรู้รูปารมณ์ (สี)...แล้วทางใจก็รับรู้รูปารมณ์นั้นต่อ
หลังจากนั้น...ก็นึกคิดเป็นชื่อ  คำ  เรื่องราวความหมายต่างๆ ขึ้นมา
เป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นสิ่งของต่างๆ ขึ้นมา...ตรงนี้แหละที่เป็น  ธัมมารมณ์
แล้วก็เกิดความชอบ-ชัง  รัก-เกลียด  ฯลฯ ตามมา...นี่ก็เป็นธัมมารมณ์อีกเช่นกันน่ะคับ

ขอขอบคุณ คุณเดฟแห่งวัดเกาะ ที่อธิบายความหมายของ ธรรมารมณ์  ให้เข้าใจอย่างละเอียดตามข้างต้นนี้ครับ


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2013, 02:08:50 PM »

Permalink: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิ&#


การปฏิบัติเพื่อการอบรมจิตเบื้องต้น                                          

           - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
              รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              เมื่อพอใจยินดีก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อเกิดความสุข - ก็สักแต่รู้ว่าสุขเกิด
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อเกิดความทุกข์ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์เกิด
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อความสุขดับ - ก็สักแต่รู้ว่าสุขดับ
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อความทุกข์ดับ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์ดับ
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อกำหนัดใคร่ได้ปารถนา ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ใคร่ได้ปารถนาอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดี - ก็รู้ว่าติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจ - ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อมัวหมองใจไม่ผ่องใส - ก็รู้ว่ามัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
              รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
              รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดีในสิ่งที่ไม่ใช่เ้รา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมและเสพย์ในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ สักแต่เพียงรู้เท่านั้นมีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน
              แต่ไม่เข้าไปร่วมในความรู้สึกใดๆ เราก็จักไม่มีทุกข์ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นก็ตามรู้เพียงลมหายใจไม่หลุดไป
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ มีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน แลดูมันอยู่เท่านั้น


            - พิจารณาเข้ารับรู้ถึงสภาพจริงๆ ในอาการของสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้ง ๕
 
              ๑. เมื่อตามองเห็น ก็สักแต่มองเห็น แล้วมองดูว่าที่เรามองดูในระยะทางตานี้ เรามองเห็นสีใดๆบ้าง
              สีเหล่านั้นมีเคล้าโครงเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร เมื่อเห็นดังนี้ ก็ให้เจริญเข้าไปรู้ว่า สิ่งตาเห็นนี้มันก็แค่สีๆเพียงเท่านั้น
              ก็ด้วยมีโครงร่างๆต่างๆนาๆนี้ เราก็เข้าไปอาศัยสมมติบัญญัติว่า สิ่งนี้ๆคืออะไร เป็นอะไร คน สัตว์ ตึก บ้าน อย่างไร
              ทั้งๆที่มันเป็นเพียงสีๆเท่านั้น อยู่ระยะใกล้ ระยะไกล มีเค้าโครงใดๆเท่านั้น ไม่มีตัวตนบุคคลใดๆเลย
              ที่เราไปมองเห็นแล้วชอบใจหรือไม่ชอบใจนี้ เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางตานี้
              ทั้งที่สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อเห็นจึงสักแต่ว่าเห็นด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางตา
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางตา เพราะมันเป็นทุกข์

              ๒. เมื่อหูได้ยิน ก็สักแต่ว่าได้ยิน
              พิจารณาเข้าไปรู้ว่าเสียงที่ได้ยินไรๆนั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันแหลม ทุ้ม สูง ต่ำ ดัง เบา
              สิ่งที่เรารับรู้จริงๆแล้วมันมีแค่สภาวะเสียงดังนี้เท่านั้น เราก็เข้าไปอาศัยสมมติบัญญัติว่า เสียงนี้ผู้หญิง เสียงนี้ผู้ชาย
              เสียงนี้ของสัตว์ เสียงนี้ชม เสียงนี้ด่า เสียงนี้หนวกหู เสียงนี้ไพเราะ ทั้งๆที่มันไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย
              ที่เราฟังแล้วชอบใจและไม่ชอบใจนี้ เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ทางหูนี้ ทั้งที่สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้ยินจึงสักแต่ว่าได้ยินด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางหู
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางหู เพราะมันเป็นทุกข์

              ๓. เมื่อได้กลิ่น ก็สักแต่ว่าได้กลิ่น พิจารณาเข้าไปรู้ว่ากลิ่นไรๆเหล่านั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันได้กลิ่นมาอย่างไร
              มันรู้กลิ่นเพราะเราหายใจเข้า ลมที่หายใจเข้าไปนั้นมีความปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพลมปกติใดๆ
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า กลิ่นนี้หอม กลิ่นนี้เหม็น กลิ่นนี้ชอบ กลิ่นนี้ไม่ชอบ กลิ่นนี้รัก กลิ่นนี้เกลียด
              เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางจมูกนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้กลิ่นจึงสักแต่ว่าได้กลิ่นด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางจมูก
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางจมูก เพราะมันเป็นทุกข์

              ๔.เมื่อรู้รสใดๆ ก็สักแต่ว่ารู้รส พิจารณาเข้าไปรู้ว่ารสไรๆเหล่านั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันได้รสมาอย่างไร
              มันรู้รสเพราะเรากินสิ่งใดๆเข้าไป ในสิ่งนั้นๆมีสิ่งใดๆปรุงแต่งอยู่บ้าง
              ทั้งที่เรากินเพื่ออยู่รอดหรือดับกระหายให้คงชีวิตอยู่เท่านั้น
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า รสนี้หวาน รสนี้เค็ม รสนี้อร่อย รสนี้ไม่อร่อย รสนี้ชอบ รสนี้ไม่ชอบ รสชาตินี้รัก รสชาตินี้เกลียด        
              เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางลิ้นนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้รู้รสจึงสักแต่ว่าได้รู้รสด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางลิ้น
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางลิ้น เพราะมันเป็นทุกข์

              ๕. เมื่อรู้กระทบสัมผัสใดๆทางกาย ก็สักแต่รู้ถึงความกระทบสัมผัสนั้นๆ
              เข้าไปรู้แค่เพียงสภาพที่เรารับรู้สัมผัสจากสิ่งไรๆอยู่ในขณะนั้นๆ
              ว่า มันอ่อนหรือแข็ง เอิบอาบซาบซ่านอย่างไร ร้อนหรือว่าเย็น เคลื่อนตัวตรึงไหวยังไง
              จากนั้นลองหวนระลึก คำนึงพิจารณาว่า วันๆหนึ่งเราได้รับรู้สิ่งที่เรารู้สัมผัสอยู่นี้มากน้อยเพียงไร รับรู้ได้กับสิ่งใดๆบ้าง
              นอกจากการรับรู้ในสภาพอย่างนี้ มีสภาพอื่นอีกไหมที่เราเข้าไปรู้สัมผัสในทางกาย
              ย่อมหาไม่มีใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือ สิ่งของ
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่เรารับรู้สภาพของมันจากการกระทบสัมผัสนั้นๆว่า
              เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นตัวตน บุคคลใด ว่าสภาพอย่างนี้ๆชอบใจ สภาพแบบนี้ๆไม่ชอบใจ
              เกิดเป็นคน-สัตว์-สิ่งของอย่างนี้ๆฉันรัก คน-สัตว์-สิ่งของอย่างนี้ๆฉันเกลียด
              ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นประชุมกันเป็นธรรมดาของมัน ไม่อาจไปบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้
              มันมีความแปรปรวนไป เกิดและดับไปเป็นธรรมดา เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางกายนี้
              ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆจึงสักแต่ว่าได้รู้รสด้วยประการดังนี้เป็นต้น
              เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางกาย
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางกาย เพราะมันเป็นทุกข์
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2013, 02:31:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2013, 02:22:23 PM »

Permalink: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิ&#


            - พิจารณาเข้ารับรู้ถึงสภาพจริงๆในอาการของสิ่งที่มากระทบทางใจ

              ๖. ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
                  รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ แล้วจิตเข้าไปรู้ในรู้ธรรมารมณ์ใดๆ

              ๖.๑ เมื่อพอใจยินดี - ก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๒ เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๓ เมื่อเกิดความสุข - ก็สักแต่รู้ว่าสุขเกิด
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๔ เมื่อเกิดความทุกข์ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์เกิด
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๕ เมื่อความสุขดับ - ก็สักแต่รู้ว่าสุขดับ
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๖ เมื่อความทุกข์ดับ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์ดับ
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๗ เมื่อกำหนัดใคร่ได้ปารถนา ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ใคร่ได้ปารถนาอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๘ เมื่อติดใจ พองฟูใจ เพลิดเพลินใคร่ตามยินดี - ก็รู้ว่าติดใจ พองฟูใจ เพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๙ เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจ เศร้าหมองใจ - ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้า หมองใจอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

              ๖.๑๐ เมื่อหม่นมัวหมองใจไม่ผ่องใส - ก็รู้ว่าหม่นมัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น

            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
              รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่ว่าเข้ามาอาศัยจิตได้เกิดขึ้น
              เพียงเข้ามาเกิดประกอบปรุงแต่งจิตเท่านั้น

              แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ
              รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดีในสิ่งที่ไม่ใช่เ้รา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
              เราจักไม่เข้าไปร่วมหรือเสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้

            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมและเสพย์ในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ สักแต่เพียงรู้เท่านั้นมีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน
              แต่ไม่เข้าไปร่วมในความรู้สึกใดๆ เราก็จักไม่มีทุกข์ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นก็ตามรู้เพียงลมหายใจไม่หลุดไป

            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ มีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน แลดูมันอยู่เท่านั้น
            - เมื่อเกิดความนิ่งว่าง - ก็สักแต่รู้ว่าว่างเกิด ดูสภาวะนั้นว่ามันผ่องใส หรือ มัวหมอง

              ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นเอกลักษณ์ของสภาวะนั้นว่ารู้สึกอย่างไร
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              แลดูว่ามันผ่องใส เบิกบาน หรือ หม่นมัวหมองใจ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2013, 02:31:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2013, 10:18:02 AM »

Permalink: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต
http://www.thammaonline.com/15222/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ ธันวาคม 21, 2023, 08:47:19 AM