เมษายน 19, 2024, 07:16:24 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภารทวาชสูตร การสำรวมระวังกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ  (อ่าน 11832 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2014, 08:31:41 AM »

Permalink: ภารทวาชสูตร การสำรวมระวังกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ

ภารทวาชสูตร


             [๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย  ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๖] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราวธรรม คือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้  คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๗] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก  ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ บางคราวเมื่อบุคคลตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดยความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอแล ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิดเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด
      - เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์...
      เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาโสตินทรีย์ จงถึงความสำรวมในโสตินทรีย์...
      - เธอทั้งหลายสูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาฆานินทรีย์ จงถึงความสำรวมในฆานินทรีย์...
      - เธอทั้งหลายลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาชิวหินทรีย์ จงถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์...
      - เธอทั้งหลายถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษากายินทรีย์ จงถึงความสำรวมในกายินทรีย์...
      - เธอทั้งหลายรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์...
      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ

             [๑๙๘] พระเจ้าอุเทนตรัสว่า น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ไม่เคยมีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ตามกำหนดธรรมปริยายนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ในสมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ


      แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า


      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด ฯ



จบสูตรที่ ๔




ขอขอบคุณที่มาจาก..

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๒๙๐๔ - ๒๙๘๑.  หน้าที่  ๑๒๕ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2904&Z=2981&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=195
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18






บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 29, 2014, 12:16:39 PM »

Permalink: ภารทวาชสูตร การสำรวมระวังกาย-ใจ เพื่อละ
๑. ให้มองเห็นดั่ง บุพการี ญาติ มิตร บุตร บุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหน

   - คือ..ทำไว้ในใจโดย พรหมวิหาร ๔ ทาน เข้าถึงศีล ได้แก่
ก. เมตตา ให้ทำไว้ในใจความรู้สึกเหล่าใดอันเป็นกุศลดีงามที่มีต่อเขาประดุจบุคคลอันเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ปารถนาดี มีความเอ็นดู ปรานี ของเรา (กุศล แปลว่า ความฉลาด) มีกุศลมากก็ฉลาดมาก ฉลาดในการปล่อยวางและปลงใจ มีความน้อมไปในการสละคืนอกุศลธรรม มีอกุศลวิตกเป็นต้น น้อมไปในการสละให้ ให้เกียรติ เคารพ ให้กุศลจิต กุศลกรรม กุศลธรรมอันงาม แก่เขา ไม่ตั้งอยู่ในอกุศลธรรมอันเบียดเบียนเขาแม้ กายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี ด้วยความเอ็นดูปรานีเสมอด้วยตน
[ตั้งในความสงบ อิ่มเอม สุข ด้วยความเอ็นดู ปรานี ปารถนาดี แทรกไปทั่วทุกอณูธาตุประดุจอากาศที่มีแทรกอยู่ในทุกธาตุไม่เลือกที่รักมักที่ชัง อยู่ในความไม่ยินดี ยินร้ายต่อสิ่งใด บุคคลใดทั้งสิ้น (หากถึงขณิกสมาธิก็ได้กุศลจิตและได้ศีลบริสุทธิ์ ขณิกสมาธิ ขณิกปิตินี้แหละนำมาซึ่งศีลอันเป็นกุศล, หากถึงอุปจาระสมาธิได้เมตตาที่ตั้งมั่นอันสงบใจจากกิเลสนิวรณ์ อันมีเมตตาเป็นฐาน ไม่มีทั้งที่รัก ที่ชัง มีแต่ความเอ็นดูปรานี ปารถนาดีแผ่ไปให้ทั่ว ไม่ลำเอียงเลือกที่รักมักที่ชัง มีความเสมอกันหมด, หากถึงอัปปนาสมาธิได้เมตตาฌาณสละคืนอกุศลทั้งปวง ตั้งอยู่ในความปารถนาดีไปทั่ว ๓ โลก ไม่ลำเอียง ไม่มีรัก ไม่มีเกลียด มีสุภวิโมกข์เป็นผล)]
ข. กรุณา ให้ทำไว้ในใจถึงความมีจิตสงเคราะห์ ตั้งมั่นในใจส่าเราจักเป็นผู้อนุเคราะห์แบ่งปัน เอื้อเฟื้อต่อสิ่งทั้งปวง น้อมไปในกุศลกรรมทาง กาย วาจา ใจ อันเป็นไปเพื่อความอันสละให้
[ตั้งจิตไว้ไม่ยึดด้วยกาย ละความยินดีด้วยกายแผ่ไปประดุจอากาศที่ว่างอันกว้างไม่มีสิ้นสุดแผ่คลุมไปไม่มีประมาณประดุจดั่งอากาศที่ว่างกว้างไปทั่วไม่มีประมาณนั้น หรืออุบายที่หมายเอาว่าอากาศเป็นที่ว่างซึ่งมีอยู่ในทุกที่ มีแทรกในทุกธาตุ มีที่ว่างอยู่ทั่วเป็นอันมากไม่มีประมาณ หากเทียบดูแล้วอากาศธาตุกับธาตุทั้งปวงทั่วทั้งโลกทั้งจักวาลนี้ จะมีอากาศเป็นที่สุด เป็นที่ว่างกว้างไปมีเป็นอันมากหาประมาณไม่ได้  เอาจิตจับที่ความว่างประดุจอากาศธาตุอันเป็นที่ว่างมีมากไม่มีประมาณนั้น(หากถึงขณิกสมาธิได้กุศลทานบริสุทธิ์, หากถึงอุปจาระสมาธิได้จิตที่สงเคราะห์สละให้แผ่ไปไม่มีประมาณปราศจากนิวรณ์น้อมไปในการไม่ตั้งอยู่จำเพาะกาย, หากได้อัปปนาสมาธิทำให้จิตสงัดจากกามถึงความไม่ตั้งอยู่ด้วยกาย ไม่ยินดีด้วยความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ที่กาย เข้าในอรูปฌาณ อันมีอากาศเป็นที่ตั้งได้)]
ค. มุทิตา ให้ทำไว้ในใจถึงความยินดี เป็นสุขไปกับเขาเมื่อเขาพ้นจากทุกข์ประสบสุข คงไว้ซึ่งกุศลดีงามและสิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าแก่ของเขา เหมือนบุลคลที่เรารักให้ความสำคัญใจคงไว้ซึ่งความสุขของเขาฉันนั้น หรืออุบายว่าความอิ่มเอมเป็นสุขนี้มีอยู่ที่ใจ จะสุขได้ก็ด้วยใจนี้แหละ แลเวทำใจไว้ตั้งอยู่ที่ใจ จับสุขที่ใจนั้น [ทำไว้ในใจตั้งมั่นจับอยู่ที่วิญญาณอันตั้งอยู่แต่ความอิ่มเอมสุขยินดีอันปราศจากอกุศลธรรมความอิสสาริษยาทั้งปวงต่อเขาทั้งหลาย (หากได้ขณิกสมาธิกขาดจากความอิสสาริษยาในขณะนั้นมีจิตอันยินดีประกอบไปด้วยสุขแห่งกุศล,  หากได้อุปจาระสมาธิมีความอิ่มใจเป็นสุขด้วยกุศลปราศจากนิวรณ์ มีจิตน้อมจับจำเพาะจิตอันอิ่มเอมสุขแผ่ไปให้เขา(บ้างเกิดนิมิตเห็นจิตมีใจน้อมยึดที่จิตที่ผ่องใสนั้นเป็นอารมณ์), หากได้อัปปนาสมาธิ ย่อมเห็นว่าสุขนี้เกิดขึ้นที่ใจ จิตตั้งอยู่ที่ใจไม่เนื่องด้วยกาย ถึงวิญญานัญจายตนะ มีวิญญาณเป็นอารมณ์อันเป็นสุขที่มากไม่มีประมาณอยู่จับอยู่วิญญาณ)]
ง. อุเบกขา ให้ทำใจไว้ว่า เราตั้งอยู่ด้วยความกุศลอันปารถนาดี มีความทำในการสงเคราะห์ ยินดีที่เขาเป็นสุขแล้ว เขาจะทำอย่างไรต่อไปก็อยู่ที่กรรมของเขา เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผล เป็นืี่ติดตามอาศัย ไม่ว่าเขาหรือเราจะสุขหรือทุกข์ต่างอยู่ที่กรรมในปัจจุบันและวิบากกรรมอันสะสมมา ติดข้องใจสิ่งไรๆไปก็ไม่เกิดประโยชน์สุขอันใดนอกจากทุกข์ หรืออุบายว่าจะสุขจะทุกข์ก็เนื่องอยู่ด้วยใจ รู้ ได้ด้วยวิญญาณ ความเนื่องอยู่ด้วยใจย่อมเป็นทุกข์ ตั้งมั่นในความสละคืนสังขารธรรมทั้งปวง(ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖) วางจิตไว้ปลงจิตให้ไม่ยึดไม่จับเอาสิ่งใดอีก หรืออุบายว่าด้วยวิชาธาตุคืออากาศ(ความว่าง) มีมากในใจ ความไม่มีสุขไม่มีทุกข์ไม่มีความยินดียินร้ายคือความว่างที่มีอยู่ในใจ ตั้งมั่นว่าใจนี้ประดุจเป็นอากาศที่ว่างไม่มีความยินดียินร้ายแผ่ไปทั่วไม่มีประมาณ [ทำไว้ในใจตั้งอยู่ด้วยความไม่ยึดจับเอาสิ่งใดๆเลยทั้งสิ้น (หากได้ขณิกสมาธิ ย่อมได้ความสงบใจอันตั้งอยู่ด้วยกุศล มีวูบหรึ่งเกอดขึ้นด้วยขณิกปิติที่อิ่มใจด้วยความสงบนั้น มีความผ่องใสเบาๆ จิตจับที่ลมหายใจเอง ลมหายใจละเอียดขึ้นไม่สุขไม่ทุกข์อีก, หากได้อุปจาระสมาธิจะมีจิตอันปราศจากนิวรณ์ไม่ยึดจับเอาสิ่งใดทั้งสิ้น มีแต่ใจที่เสพย์ว่างอยู่ด้วยกุศลแผ่ไปทั่วไม่ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นมักก็สักแต่รู้ไม่ยึดไม่เสพย์เกิดความเป็นผู้แลอยู่ได้ ไม่ยึดเอากายหรือสิ่งที่จิตรู้อีก, หากได้อัปปนาสมาธิเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีใจ มีแต่ความว่าง ความไม่ยึด ไม่ตั้งเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น]



๒. ปฏิกูลสัญญา หรืออาการทั้ง ๓๒ ประการ (ม้างกาย)

   - คือ..ทำไว้ในใจโดย เริ่มจากเห็นเป็นปฏิกูลสัญญาของน่าเกลียดเน่าเหม็น จนม้างกายออกทีละชิ้นๆทีละอาการถอดออกมาเริ่มจาก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ลอกออกมาจนไม่เหลือกระดูก จนไม่เห็นมีตัวตนบุคคลใดเราหรือเขาในนั้น ในนั้นไม่มีตัวตนบุคคลใดที่เป็นเราเป็นเขา ก็สักแต่ว่าอาการหนึ่งๆอวัยวะอันเน่าเหม็นทั้งปวงเกาะกุมกันขึ้นเป็นกลุ่มก้อนเท่านั้น เป็นแค่ก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศที่มีแทรกทั่วในกลุ่มธาตุที่เกาะกุมกันนั้น ไม่มีตัวตนบุคคลใดของใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่ใช่ของเขาไม่ใช่ของเรา สักแต่ว่าอวัยวะทั้ง ๓๒ ประการ อันเป็นธาตุ ๕ เหล่านั้นเกาะกุมกันเกิดขึ้น อาศัยวิญญาณะาตุเข้าไปครอง ให้ธาตุเหล่านั้นมีใจครองเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากธาตุ อันมีความเสื่อมเป็นธรรมดาไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มีตัวตนบุคลใดเป็นเราหรือเขาในนั้นทั้งสิ้น ควรไหมหนอจะติดใจปารถนาเอาในสิ่งที่ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ย่อมหาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เป็นแต่ที่ประชุมทุกข์เท่านั้น



๓. อินทรีย์สังวรณ์ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นเบื้องหน้าตั้งอยู่ในความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่กัยปัจจุบัน

   - คือ..ทำไว้ในใจโดย ไม่คิดไม่ยึดไม่ถือเอาความเข้าไปมองด้วยสัญญาในส่วนเล็กส่วนน้อยคืออนุพยัญชนะที่ตนสำคัญใจอันเป็นไปในสมมติกิเลสทางกามเมถุนมาเป็นที่ตั้งแห่งใจ ไม่ตรึกนึกคิดเอากิเลสสมมติสืบต่อ

- เห็นก็สักแต่ว่าเห็น (เขาก็อยู่อย่างนั้นของเขามีอิริยาบถอยู่อย่างนั้นๆเท่านั้นแต่เรานี่ติดสมมติมาตรึกนึกคิดต่อจนเกิดความอยาก ให้มองออกไปว่าที่เราเห็นนี้หนอ มีสีอะไรอยู่บ้างในเบื่องหน้านี้เท่านั้น ธรรมชาติของตาก็ย่อมเห็นอยู่ในปัจจุบันในที่ใกล้ที่ไกลสีสันต่างๆเท่านั้น แต่อาศัยใจนี้เข้าไปยึดครองเอาสมมตอบัญญัติให้เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อาศัยมโนวิญญาณนี้เข้ายึดปรุงแต่งสมมติกับสัญญาและสังขารตรึกนึกสมมติไปทั่วให้เห็นเกินเลยจากสิ่งที่เห็นในปัจจุบันที่มีสีนั้นๆเคล้าโครงนั้นๆอยู่ในลักษณะอาการนั้นๆเท่านั้น หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ ไฟมีมากในตาผัสสะเหล่าใดมีเกิดขึ้นเหมือนที่เราเคยรับรู้นั้นคือเป็นเหมือนไฟแลบแปล๊บเท่านั้น ดังนั้นให้ทำเหมือนไฟแลบแปล๊บเผารูปทางตาดับไปเสีย)

- ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน (ธรรมชาติของหูก็ย่อมได้ยินเสียง จริงๆแล้วมันก็เป็นเพียงเสียงทุ้มแหลมดังเบาเท่านั้น เป็นเสียงเกิดจากลมที่เปล่งออกมาผ่านช่องเสียงที่กว้าง แคบ ลึก สั้น ออกมาเป็นรูปเสียงที่เป็นไปในลักษณะต่างๆเท่านั้น เหมือนลมที่พัดช่องเขา ช่องว่างมีเสียงออกมาในลักษณะต่างๆเท่านั้นแต่เราไปสำคัญใจเอาว่ามันเป็นนั่นเป็นนี่คำนั้นคำนี้หมายความไปอย่างนั้นอย่างนี้)

- ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น (ธรรมชาติของจมูกย่อมได้กลินเป็นธรรมดา รู้กลิ่นที่มีอาการนั้นๆก็สักแต่รู้ว่าได้รู้อาการนั้นๆทางจมูกเท่านั้น กลิ่นนี้เป็นเพียงสิ่งที่โชยมาตามลมเท่านั้น รับรู้ทางจมูกที่หายใจเข้าไปเท่านั้น สุดลมหายใจเข้าก็ไม่รู้กลิ่นแล้ว หายใจออกก็ไม่รู้กลิ่นแล้ว กลิ่นที่รัก ที่เกลียดก็สักแต่มีอยู่ด้วยลมเท่านั้น จะไปยึดเอาสิ่งใดหนอที่พัดไปพัดมาเท่านั้น ลมก็ไม่ได้มีความรักความชอบในกลิ่นไรๆทั้งสิ้น ทำใจประดุจลมก็สักแต่ว่าลมเท่านั้น ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ ดินมีมากในจมูกทำให้ประดุจดั่งดินที่จมูกก็จักไม่รู้กลิ่นจักละกลิ่นที่ชอบใจและไม่ชอบใจเสียได้)

- ได้รู้รสก็สักแต่ว่ารู้รส (ธรรมชาติของลิ้นย่อมรู้รส รู้ว่ารสชาติอย่างนั้นๆเกิดขึ้นทางลิ้นก็สักแต่รู้ว่ามีอาการนั้นๆเกิดขึ้นทางลิ้นเท่านั้น ที่ทั้งรสพอใจและไม่พอใจ ก็สักแต่มีอาการจำเพาะอย่างนี้ๆเท่านั้น หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ น้ำมีมากในลิ้นรสใดก็ตามรู้ได้ด้วยน้ำ ทำตัวประดุจน้ำให้ตั้งน้ำไว้ที่ลิ้นก็จักดับรสที่รักที่เกลียดได้)

- ได้รู้สัมผัสทางกาย (ตั้งสติไว้เบื้องหน้าก็สักแต่รู้ว่ามีสัมผัสทางกาย ก็รู้สักแต่ว่าร้อน เย็น สักแต่แข็ง อ่อน นุ่มเท่านั้น ธาตุ ๔ มีมากในกาย ทำใจไว้ให้เห็นกายนี้เป็นประดุจดั่งธาตุ ๔ ไม่ยินดียินร้ายด้วยธาตุภายนอกภายในก็มีเสมอกัน รู้ผัสสะก็สักแต่เพราะว่ากายเป็นธาตุ ๔ ที่มีใจครอง ทำตัวเป็นธาตุ ๔ ธาตุนั้นย่อมไม่มีความรู้สึกนึกคิดไรๆ เมื่อถอนคือไม่เอาจิตจับยึดครองธาตุทุกอย่างที่สัมผัสย่อมไม่มีอะไรให้รู้สึกทางกาย จักละเวทนาทางกายได้)

- ได้รู้สัมผัสทางใจ (ก็สักแต่รู้ว่ามีสัมผัสทางใจ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกเสวยอารมณ์ความตรึกนึกคิดใดๆก็สักแต่รู้ว่ามีสิ่งนี้เกิดในมโนทวารให้จิตรู้เท่านั้น เป็นแค่อาการความรู้สึกอย่างหนึ่งเข้ามาให้จิตรู้ไม่มีเกินนี้ แต่เพราอาศัยคิดอาศัยสัญญาที่สมมติกิเลสสร้างขึ้นทำให้เกิดเป็น สุข ทุกข์ เฉยๆ ชอบ ชัง รัก โลภ โกรธ หลง ติดข้องใจสิ่งที่จิตรู้ไปก็หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ปลงจิตเสียไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็จะไม่ทุกข์ หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ อากาศมีมากในใจ ความไม่สุขไม่ทุกข์หรืออุเบกขาก็เป็นที่ว่างในใจ ทำใจประดุจเหมือนอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีประมาณ ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งไรๆ ก็จักถึงอุเบกขาไม่ทุกข์อีก)



*** แต่ไม่ว่าจะทางทวารใด ย่อมอาศัยจิต อาศัยวิญญาณ อาศัยมโนวิญญาณเข้าไปรู้ในทางนั้น หลังจากที่รู้ผัสสะอันเป็นประดุจฟ้าแลบแปล๊บนั้นแล้วที่มีแต่อาการลักษณะหนึ่งๆเท่านั้น หลังจากนั้นล้วนรู้ด้วยสมมติกิเลสอันเนื่องด้วยความหมายรู้อารมณ์ตรึกนึกปรุงแต่งอารมณ์ด้วยสมมติทั้งสิ้น แม้แต่เวทนาก็ตาม ซึ่งล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ดังนั้นไม่ยึดจิต ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ สละคืนสังขารทั้งปวง สละคืนขันธ์ ๕ ไปเสีย ก็ไม่มีทุกข์ ของจริงมีอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น จิตจะจับที่ลมหายใจเอง***





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 09:01:32 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
tonseafood
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 32
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2970


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2015, 04:45:14 PM »

Permalink: ภารทวาชสูตร การสำรวมระวังกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ
อ่านมาก ยิ่งได้ประโยชน์เยอะมากเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 09:06:56 AM »

Permalink: ภารทวาชสูตร การสำรวมระวังกาย-ใจ เพื่อละ

สาธุ ขอบพระคุณท่าน tonseafood ที่เมตตาแวะชม
แล้วได้กรุณาผม น้อมมาพิจารณาจนเห็นประโยชน์จากบันทึกกรรมฐานของผมด้วยครับ

**  แต่ขอให้ท่านพิจารณาแยกแยะถูกผิด ธรรมจริง ธรรมปลอมด้วยนะครับ เพราะผมยังเพียงแค่ปุถุชน สิ่งที่รู้เห็นสัมผัสได้มีทั้งจริงไม่จริงอย่างที่ปุถุชนพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้
     บางคราใช้ได้กับผม เมื่อออกจากสมาธิก็อาศัยสัญญาเท่าที่จำได้ตรึกนึกบันทึกลงไป
     บางคราเห็นซ้ำๆเข้าถึงได้ซ้ำๆ บางคราสัมผัสได้เพียงครั้งเดียวหนเดียวแต่ก็บันทึกเท่าที่พอจะจดจำได้
     ดังนั้นขอท่านโปรดพิจารณาเอาจำเพาะธรรมจริง หรือ สิ่งที่เป็นประโยชน์ไปนะครับ สิ่งใดไม่จริงไม่เป็นประโยชน์ขอจงอย่านำไปใช้นะครับ



ขอบพระคุณมากๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 11:45:31 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 05:38:39 PM