เมษายน 19, 2024, 07:39:10 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาติกา  (อ่าน 31213 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: เมษายน 01, 2014, 11:16:49 PM »

Permalink: มาติกา
มาติกา แปลว่า แม่บท  เป็นการจำแนกสภาวะธรรม ๗๒ ออกเป็นประเภทๆ เช่น ประเภทแบ่ง ๓ เรียกว่า ติกะ

ประเภทแบ่ง ๒ เรียก ทุกะ  มีอยู่ในพระอภิธรรมคัมภีร์ "ธัมมะสังคิณี"

ติกะมาติกา มีด้วยกัน ๒๒ ติกะ ส่วน ทุกะมาติกา ๑๐๐ ทุกะ ในพระอภิธรรม และ ๔๒ ทุกะ ในสุตตันติกทุกะมาติกา

การศึกษา มาติกา ทำให้เข้าใจในสภาวะธรรมอย่างกว้างขวาง และตระหนักซึ้งถึงพระสัพพัญญูของพระบรมศาสดา

*************

๑.กุสะลา  ธัมมา  อะกุสะลา  ธัมมา  อัพยากะตา  ธัมมา ฯ

คำแปล

กุสะลา  ธัมมา  
ธรรมที่เป็นกุศล ก็มี
 
อะกุสะลา ธัมมา
ธรรมที่เป็นอกุศล ก็มี
 
อัพยากะตา ธัมมา
ธรรมไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศลก็มี


ธรรมที่เป็นกุศล ได้แก่ กุศลจิต คือ จิต ที่เราใช้ประกอบการทำ บุญกริยา รวมทั้งการเจริญ ฌาน และ มรรค

จิตที่จะเป็น กุศล จะต้องมี ทิฏิชุกัม เป็นบาทฐานก่อน คือ มีความเห็นตรง เห็นว่า บุญ บาป มีผล ทาน-ศีล-ภาวนา

ฌาน สมาบัติ และ มรรค ผล นิพพาน มีอยู่จริง และย่อมประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ  มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ

*

ธรรมที่เป็น อกุศล ได้แก่ อกุศลจิต คือ จิต ที่ประกอบด้วย อกุศลมูล มี โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมทำจิตให้

เศร้าหมอง ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัวบาป มีความอยาก มีความพยาบาท ทิฏฐิ มานะ ลุ่มหลง  ฯลฯ

*

ธรรมไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล คือ วิบาก และ กริยา รวมทั้ง รูป และ นิพพาน

วิบาก เป็น ผลของ กุศลและอกุศล กริยา เป็น จิต ของ พระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวไปทั้งใน กุศล และอกุศล

รูป เป็น ผลของ กรรม คือ วิบากนั่นเอง ส่วน นิพพาน คือ การหลุดพ้น และเป็น กาลวิมุตติ (พ้นจาก กาลทั้ง ๓)








บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 02, 2014, 10:30:26 AM »

Permalink: มาติกา
๒.สุขายะเวทะนายะสัมปะยุตตาธัมมา  ทุกขายะเวทะนายะสัมปะยุตตาธัมมา  อะทุกขะมะสุขายะเวทะนายะสัมปะยุตตาธัมมา ฯ

คำแปล

สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา
ธรรมที่ประกอบด้วยความรู้สึกเป็นสุขก็มี
 
ทุกขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา
ธรรมที่ประ กอบด้วยความรู้สึกเป็นทุกข์ ก็มี
 
อะทุกขะมะสุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา
ธรรมที่ประกอบด้วยความ รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มี

*

เวทนา มี ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา ซึ่ง จิต ทุกดวงต้องประกอบด้วย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อมีอารมณ์มากระทบ จิตเกิดขึ้นเพื่อรู้อารมณ์นั้น เวทนาย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับจิต เพื่อเสวยอารมณ์นั้น

สุขเวทนา คือ น้อมเอาอารมณ์นั้นเข้ามา  ทุกขเวทนา คือ ผลักไสอารมณ์นั้นออกไป อุเบกขา คือ วางเฉยในอารมณ์นั้นๆ

*

ผัสสะทำให้เกิด เวทนา

ผัสสะคือ การกระทบของ อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ อารมณ์ คือ

รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฎฐัพพารมณ์  ธัมมารมณ์

จะเห็นว่า อารมณ์ ๕ อันแรกที่มากระทบ คือ กามอารมณ์  หรือ กามคุณ ๕  (รูป เสียง กลิ่ย รส สัมผัส)

เวทนา ที่มาเสวยอารมณ์ ๕ นี้ หากไม่ระวัง (ไม่โยนิโสมนสิการ) ก็จะเกิด ตัณหา คือ อยากได้ อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น

**

เวทนา ที่เป็น ทุกข์ เกิดขึ้นกับ อกุศลจิต อย่างเดียวคือ โทสะมูลจิต

ส่วน สุขเวทนา และ อุเบกขา เกิดได้ทั้ง กุศลจิต และ อกุศลจิต

ในการทำ ฌาน นั้น อาศัย ธัมมารมณ์  (สงบจาก ผัสสะทั้ง ๕) ในฌานที่ ๑ ถึง ๔ จะมี สุขเวทนา (เสวยสุขอยู่ในอารมณ์)

พอสูงขึ้นถึง ฌาน ๕ และ อรูปฌานต่อไป เป็น อุเบกขาเวทนา (วางเฉยต่ออารมณ์)



บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 02, 2014, 09:23:43 PM »

Permalink: มาติกา
วิปากาธัมมา  วิปากะธัมมะธัมมา  เนวะวิปากะนะวิปากะธัมมะธัมมา ฯ

วิปากา ธัมมา
ธรรมที่เป็นผลโดยตรง ก็มี
 
วิปากะธัมมะ ธัมมา
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี
 
เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะ ธัมมา
ธรรมที่ทั้งไม่เป็นผลและไม่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี

*

วิบาก เป็น ผล  มีสองอย่าง คือ กุศลวิบาก และ อกุศลวิบาก

การได้พบได้เห็ํนได้ยินสิ่งดีๆ เป็นผลของกุศล ตรงข้ามนั้น เป็นผลของอกุศล

กุศล มีเหตุที่เป็นหลักๆ ๓ เหตุ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ  ส่วน อกุศลก็ตรงกันข้าม คือมี โลภะ โทสะ โมหะ

ส่วนสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิด วิบาก ใดๆก็คือ กริยาจิตของพระอรหันต์ รูป๒๘ และ พระนิพพาน

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 13, 2014, 11:39:25 AM »

Permalink: มาติกา
๔.อุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา  อะนุปาทินนุปาทานิยา  ธัมมา  อะนุปาทินนานุปาทานิยา  ธัมมา ฯ

คำแปล

อุปาทิน นุปาทานิยา ธัมมา
ธรรมที่ถูกยึดมั่น และเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ก็มี
 
อะนุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา
ธรรมที่ไม่ถูกยึดมั่น แต่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ก็มี
 
อะนุปาทินนานุปาทานิยาธัมมา
ธรรมที่ทั้งไม่ถูกยึดมั่นและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ก็มี

*
โลกียวิบากจิต๑๙ ทำหน้าที่นำเกิดในภพภูมิต่างๆ การได้เกิดเป็นมนุษย์ ชึ่งเป็น กามสุคติภูมิ ก็ด้วย มหาวิบากจิต๘ ซึ่งเป็นผล

โดยตรงจาก มหากุศลจิต๘

อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น หมายถึงความเข้าใจว่าเป็นตน เป็นของตน ซึ่งก็คือเข้าไปยึด กัมมัชรูป และ จิตตรูปทั้งหลายที่ประกอบเป็นรูป๒๘

กัมมัชรูป๒๐ ได้แก่ มหาภูตรูป๔ คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประกอบอยู่ในร่างกายหนึ่งๆ  ปสาทรูป๕ คือ ปสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย  

อารมณ์ที่มากระทบคือ รูปารมณ์(สี) คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส) โผฎฐัพพารมณ์(สัมผัส) ภาวะรูป๒ คือ ภาวะเพศชาย ภาวะเพศหญิง

หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป ปริเฉทรูป อุปจย-สันตติ และ ชรตา-อนิจจตา

จิตตชรูป๑๗ ได้แก่ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ คือ การเคลื่อนไหวทางกายวาจา เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กางแขน กวักมือ  การเปล่งวาจา การอุทาน ฯลฯ

รูป มีคำนิยามว่า " คือความเสื่อมไป เรียกว่า รูป "  การตั้งอยู่ของรูป ก็เพียงชั่วคราว ซึ่งเป็นผลของ โลกียวิบาก หรือเรียกกันว่า กรรม  เมื่อสิ้นวิบากในชาติภพหนึ่งๆแล้ว ก็ต้องทิ้งรูปในชาติภพนั้นไป  เพื่อแสวงหาชาติภพใหม่ต่อไป จนกว่าจะไม่มี โลกียวิบากที่นำเกิดอีก (อรหัตผล สิ้นวิบากนำเกิด)


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 13, 2014, 04:08:20 PM »

Permalink: มาติกา
๕.สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา  ธัมมา  อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมาอะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ฯ

คำแปล

สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา
ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี
 
อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา
ธรรมที่ไม่เศร้าหมองแต่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี,
 
อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา
ธรรมที่ทั้งไม่เศร้าหมองและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองได้ ก็มี

*
กิเลส๑๐ คือธรรมที่ทำให้เศร้าหมองเร่าร้อน ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ทิฎฐิ มานะ ถีนะ วิจิกิฉา อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ

กิเลสทั้ง๑๐ ประกอบอยู่ใน อกุศลจิต ดังนั้น อกุศลจิต นอกจากตนเองจะเศร้าหมองแล้ว ยังเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองเร่าร้อน อีกด้วย

กิเลสทั้ง๑๐ เกิดได้ทั้งจาก เหตุที่เป็น กุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ กิริยาก็ได้ และ รูป๒๘ ก็ได้ โดยเป็นอารมณ์ของพาลชนที่อุดมด้วยกิเลส

เช่น พระพุทธรูปอันงดงาม แต่พาลชนย่อมเกิดจิตละโมบอยากลักขโมยเป็นของตน

คงมีแต่ โลกุตรจิต๘ และ นิพพาน เท่านั้น จึงพ้นจากความเศร้าหมองเร่าร้อนโดยเด็ดขาดทั้งปวง
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 14, 2014, 10:23:09 PM »

Permalink: มาติกา
      ๖.สะวิตักกะสะวิจารา  ธัมมา  อะวิตักกะวิจาระมัตตา  ธัมมา  อะวิตักกาวิจารา  ธัมมา ฯ

สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา
ธรรมที่มีวิตก คือความตรึก และ มีวิจาร คือความตรอง ก็มี
 
อะวิตักกะวิจาระมัตตา ธัมมา
ธรรมที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร ก็มี
 
อวิตักกาวิจารา ธัมมา
ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็มี

*

วิตก คือ เจตสิก ที่เกิดกับจิตที่อยู่ใน กามจิต และ จิตในปฐมฌาน

วิจาร ก็คือ เจตสิก ที่เกิดกับ กามจิต แต่อยู่ทั้ง ปฐมฌาน และ ทุติยฌาน

วิตกเจตสิก เป็นหนึ่งในองค์มรรค๘ คือ สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) แต่ วิจารเจตสิก ไม่ใช่องค์มรรค๘

วิตกเจตสิก เมื่ออยู่ใน กามจิต ทำหน้าที่ ตรึก ใคร่ครวญในอารมณ์ ซึ่งเป็นได้ทั้ง กุศล และ อกุศล

มรรค แปลว่า หนทาง คือ หนทางนำพาไปสู่ สุคติก็ได้ พาไปสู่ทุคติก็ได้ เช่น ดำริในการไม่พยาบาท พาไปสุคติ แต่ดำริไปทางที่ผิด คือ ดำริในการพยาบาท ก็พาไปทุคติได้ เป็นต้น

วิตกเจตสิก ในองค์ฌาน คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เช่น การทำกสิณ จะต้องเพ่งองค์กสิณ โดยมี วิตกเจตสิก คอยตรึก นึก อยู่ตลอดเวลา จนหลับตาเห็นได้

วิตกเจตสิก ที่เป็น สัมมาสังกัปปะ ในองค์มรรค๘ คือ ความดำริออกจากกาม  ดำริในการไม่พยาบาท ดำริในการไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็น มรรคองค์ที่๒ ต่อจาก สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 15, 2014, 11:32:05 AM »

Permalink: มาติกา
๗.ปีติสะหะคะตา  ธัมมา  สุขะสะหะคะตา ธัมมา  อุเปกขาสะหะคะตา  ธัมมา ฯ

ปีติสะหะคะตา ธัมมา
ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความเอิบอิ่มใจ ก็มี
 
สุขะสะหะคะตา ธัมมา
ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความสุขก็มี
 
อุเปกขาสะหะคะตา ธัมมา
ธรรมที่เป็นไปพร้อมกับความวางเฉยก็มี

***

ปีติ เป็นเจตสิกดวงหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับเวทนาที่เป็น สุขเวทนา จึงเรียกอีกอย่างว่า โสมนัสเวทนา นั่นคือ เป็นสุขที่มี ปีติ

แต่สุขเวทนา ที่ไม่มี ปีติ ก็มีอยู่ คือ ฌาน ๔ จะเหลือแต่ สุข และ เอกัคคตา นั่นคือ เป็น สุขเวทนา ที่อาศัย ปีติ (สุขที่ปราณีตขึ้นไปอีก)

เมื่อถึงฌาน ๔ แล้วจะต่อฌาน ๕ ก็ต้องเปลี่ยน เวทนาที่เดิมเป็น สุขเวทนา ให้เป็น อุเบกขาเวทนา


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 15, 2014, 09:20:43 PM »

Permalink: มาติกา
๘.ทัสสะเนนะ  ปะหาตัพพา  ธัมมา  ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา  เนวะทัสสะเนนะ  นะภาวะนายะ  ปะหาตัพพา  ธัมมา ฯ

ทัสสะเนนะปะหาตัพพา ธัมมา
ธรรมที่พึงละด้วยทัศนะก็มี
 
ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา
ธรรมที่พึงละด้วยภาวนาก็มี
 
เนวะ ทัสสะเนนะ นะ ภาวะนายะปะหาตัพพา ธัมมา
ธรรมที่ละไม่ได้ทั้งด้วยทัศนะ และด้วยภาวนา ก็มี

*

พระโสดาบัน ชื่อว่า ทัสสนะ เพราะว่า ได้เห็นพระนิพพานเป็นครั้งแรก โดยองค์มรรค๘ สมังคีรวมกันเพื่อประหารกิเลส

กิเลสมี๑๐ นั้น พระโสดาบันประหารได้อย่างสมุทเฉท(สิ้นเชิง)ไป ๒ ตัว คือ ทิฎฐิ และ วิจิกิจฉา คือ ไม่มีมิจฉาทิฎฐิ สิ้นความสงสัย

เมื่อมิฉาทิฎฐิหมดไป ย่อมทำให้สักกายทิฎฐิหมดไปด้วย ท่านย่อมเห็นความไร้แก่นสารของร่างกาย ไม่ยินดีอาลัย ดำรงร่างกายนี้อยู่เพียงเพื่อทำกุศล

และประโยชน์ให้ผู้อื่น พร้อมที่จะสละร่างกายนี้ไปได้ทุกเมื่อโดยไม่หวงแหนอย่างใด

เมื่อไม่มีความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ศรัทธาย่อมตั้งมั่น เป็น อจละศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว ย่อมไม่แสวงหาที่พึ่งอื่นใด

นอกจากพระรัตนตรัย  ไม่หลงเมาในการพิธีกรรม  ไม่หลงไม่ตื่นเต้นกับเครื่องรางของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระโสดาบันยังคงมี โทสะอยู่ แต่ก็เป็นขนาดเบาบางที่ไม่สามารถนำไปสู่อบายได้ เช่น ยังมีความเสียใจ ร้องไห้ที่ไม่สามารถช่วยบุคคลอื่นได้

พระสกทาคามี ยังคงหวั่นไหวต่อ คำสรรเสริญและนินทา ลาภ ยศ สุข และ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์

พระอนาคา ไม่หวั่นไหวต่อความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ นินทา แต่ยังหวั่นไหวอย่างบางเบาต่อ ลาภ ยศ สุข  สรรเสริญ

พระอรหันต์ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม๘ทั้งสิ้น

พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะ ได้เห็นพระนิพพานซึ่ง ท่านเคยมาแล้วตอนได้

โสดามรรค  จึงเรียกว่า ภาวนาย คือการทำให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 16, 2014, 05:11:54 PM »

Permalink: มาติกา
๙.ทัสสะเนนะ  ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา  ภาวะนายะ  ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา  เนวะทัสสะเนนะ  นะภาวะนายะ  ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา ฯ

ทัสสะเนนะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา
ธรรมมีสาเหตุที่พึงละด้วยทัศนะก็มี
 
ภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา
ธรรมมีสาเหตุที่พึงละด้วยภาวนาก็มี
 
เนวะ ทัสสะเนนะ นะ ภาวะนายะ ปะหาตัพพะ เหตุกา ธัมมา
ธรรมมีสาเหตุที่ละมิได้ด้วยทัศนะและมิได้ด้วยภาวนาก็มี,

****

ว่าโดยการประหารอกุศลธรรม ที่พระโสดาบันทำได้ คือ

การประหาร มัจฉริยะ๕ ได้แก่

1.อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่นหรือผู้มิใช่พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น)

2.กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปัฏฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่นไม่ให้เกี่ยวข้องได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น)

3.ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกันไม่ให้ลาภเกิดขึ้นแก่ภิกษุอื่น)

4.วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน หรือไม่พอใจได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของผู้อื่น ก็ดี ตลอดจนแบ่งชั้นวรรณะกัน)

5.ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่าหรือเกินตน)

ธรรมเหล่านี้ พระโสดาบัน ประหารได้หมดทั้ง ๕ ข้อ

----

การประหาร อกุศลกรรมบท๑๐ พระโสดาบันประหารได้ ๕ ข้อ คือ

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท มิจฉาทิฎฐิ

----

การประหารสังโยชน์๑๐  พระโสดาบันประหารได้ ๕ ได้แก่

ทิฎฐิสัญโญชน์  วิจิกิจฉาสัญโญชน์   สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์  อิสสาสัญโญชน์  มัจฉริยสัญโญชน์

*********

พระสกทาคามี ประหารอกุศลธรรมได้เท่ากับพระโสดาบัน แต่ทำลายอกุศลธรรมที่ยังประหารไม่ได้ให้เบาบางลง

****

พระอนาคามี ประหาร อกุศลธรรมได้ดังนี้

ใน อกุศลกรรมบท๑๐ พระอนาคามี ประหารได้เพิ่มอีก ๓ ได้แก่

ปิสุณวาจา ผรุสวาจา พยาปาท

----

ในสังโยชน์๑๐ พระอนาคามีประหารได้ ๒ ได้แก่

กามราคสัญโญชน์  ปฏิฆสัญโญชน์  

****

อกุศลธรรมที่เหลือ พระอรหันต์เท่านั้นพึงประหารได้ คือ

ใน อกุศลธรรมบท๑๐ ได้แก่

สัมผัปปลาปะ อภิชฌา

---

ในสังโยชน์๑๐ ได้แก่

ภวราคสัญโญชน์  มานสัญโญชน์   อวิชชาสัญโญชน์  

**************************************

ว่าโดย วิปปลาสธรรม มี ๓ อาการ  ๔ ลักษณะ

วิปปลาส ๓ อาการคือ  สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส

วิปปลาส ๔ ลักษณะคือ

วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน
วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม

รวมทั้งสิ้นเป็น 12 วิปลาส

การประหารวิปปลาสธรรมระดับต่างๆ

๑.  สัญญาวิปลาส   จำผิดว่ารูปเป็นของงาม       พระอนาคามีจึงประหารได้

๒.  สัญญาวิปลาส   จำผิดว่าเวทนาเป็นสุข        พระอรหันต์จึงประหารได้

๓.  สัญญาวิปลาส   จำผิดว่าจิตเที่ยง              พระโสดาบันประหารได้

๔.  สัญญาวิปลาส   จำผิดว่าธรรมเป็นตัวตน      พระโสดาบันประหารได้



๕.  จิตตวิปลาส      คิดผิดว่ารูปเป็นของงาม      พระอนาคามีจึงประหารได้

๖.  จิตตวิปลาส      คิดผิดว่าเวทนาเป็นสุข        พระอรหันต์จึงประหารได้

๗.  จิตตวิปลาส      คิดผิดว่าจิตเที่ยง             พระโสดาบันจึงประหารได้

๘.  จิตตวิปลาส      คิดผิดว่าธรรมเป็นตัวตน      พระโสดาบันประหารได้



๙.  ทิฏฐิวิปลาส      เห็นผิดว่ารูปเป็นงาม          พระโสดาบันประหารได้

๑๐. ทิฏฐิวิปลาส     เห็นผิดว่าเวทนาเป็นสุข      พระโสดาบันประหารได้

๑๑. ทิฏฐิวิปลาส     เห็นผิดว่าจิตเที่ยง            พระโสดาบันประหารได้

๑๒. ทิฏฐิวิปลาส     เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน     พระโสดาบันประหารได้

*************

วิปัลลาสกถา

สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง มีความสำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

มีความสำคัญในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความสำคัญในสภาพที่ไม่งามว่า งาม

ถูกความเห็นผิดนำไป มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วงของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส

ต้องไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะ

  เมื่อใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่องแสงสว่าง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้

อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้วกลับได้ความคิดชอบ

เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เห็นสภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์

เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน และเห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม

เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 17, 2014, 08:40:28 PM »

Permalink: มาติกา
๑๐.อาจะยะคามิโน  ธัมมา  อะปะจะยะคามิโน  ธัมมา  เนวาจะยะคามิโน  นาปะจะยะคามิโน  ธัมมา ฯ

อาจะยะคามิโน ธัมมา
ธรรมที่นำไปสู่จุติ และปฏิสนธิ มีอยู่
 
อะปะจะยะคามิโน ธัมมา
ธรรมที่นำไปถึงพระนิพพาน มีอยู่
 
เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา
ธรรมที่ไม่นำไปทั้งสู่การจุติ ปฏิสนธิ และ พระนิพพาน มีอยู่

**********

อกุศล และ โลกียกุศล ยังพัวพันอยู่ในวัฎฎสงสาร เวียนว่ายตายเกิด

โดยอกุศล นำไปสู่ อบายภูมิ ๔  

ส่วนโลกียกุศลนั้น กามาวจรกุศลนำไปสู่ สุคติภูมิ ๗  รูปาวจรกุศล(จิตถึงรูปฌาน) นำไปสู่รู ปภูมิ ๑๖  และอรูปาวจรกุศล(จิตถึงอรูปฌาน) นำไปสู่ อรูปภูมิ ๔

โลกุตตรกุศล คือ มรรคจิต ๔ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคเป็นต้น นำไปสู่ พระนิพพานในที่สุด

ส่วนกริยาจิตของพระอรหันต์  รูป๒๘ ไม่ได้ทำให้เกิดวิบาก จึงไม่ได้นำไปสู่ จุติ และ ปฏิสนธิ

****

ทุกข์ คือ ธรรมทั้งหลายที่นำไปสู่ จุติและปฏิสนธิ (นำไปเกิดใหม่)

ทุกข์ คือ ธรรมทั้งหลายอันตัณหา และ ทิฏฐิเข้าไปยึดมั่น

ทุกข์ คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งของกิเลส

สมุทัย คือ ตัณหา

นิโรธ คือ การประหาร ตัณหา

มรรค คือ มรรค ๘ ได้แก่

- สัมมาทิฏฐิ รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

- สัมมาสังกัปโป ดำริออกจาก กาม ความพยาบาท และความเบียดเบียน

- สัมมาวาจา เว้นวจีทุจริต ๔

- สัมมากัมมันตะ เว้นกายทุจริต ๓

- สัมมาอาชีวะ เว้น มิจฉาอาชีวะ

- สัมมาวายามะ ทำฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตไว้ ป้องกัน อกุศลธรรมทั้งหลาย

- สัมมาสติ กำจัด อภิชฌา  และ โทมนัส เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม มีสติสัมปชัญญะ

- สัมมาสมาธิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 18, 2014, 09:40:58 PM »

Permalink: มาติกา
๑๑.เสกขา  ธัมมา  อะเสกขา  ธัมมา  เนวะเสกขานาเสกขา  ธัมมา ฯ

เสกขา ธัมมา
ธรรมที่เป็นของอริยบุคคลผู้ยัง ต้องศึกษาอยู่ ก็มี
 
อะเสกขา ธัมมา
ธรรมที่เป็นของผู้บรรลุอรหัตผล ซึ่งไม่ต้องศึกษาแล้ว ก็มี,
 
เนวะเสกขา นาเสกขา ธัมมา
ธรรมที่ไม่เป็นทั้งของผู้ยังต้องศึกษาและผู้ไม่ต้องศึกษาก็มี

*********

เสกขบุคคล หมายถึง พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป  ที่เรียกว่า เสกข เพราะยังต้องศึกษาใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อธิศีล ความหมายคือ  บุคคลรักษาศีล ๕ ได้บริสุทธิ์แล้ว  ก็มารักษาศีล ๘ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก  ครั้นรักษาศีล ๘ ได้บริสุทธิ์ดีแล้ว

เห็นประโยชน์ของศีล จึงละเพศฆราวาส ออกบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อรักษาศีล ๑๐ ให้ยิ่งขึ้นไป จนได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษา

ศีล ๒๒๗ ดังนี้เรียกชื่อว่าศึกษาในศีล ได้ชื่อว่า อธิสีลสิกขา

อธิจิต ความหมายคือ บุคคลตามรักษาจิต ป้องกันอกุศลธรรม  ข่มนิวรณ์และกิเลส ทำจิตตั้งมั่นด้วย สมาธิภาวนา

อธิปัญญา ทำปัญญาให้ยิ่ง เห็นสังขารธรรมทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ศึกษาในปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท เพื่อ

ความหลุดพ้น ถอดถอนตนออกจากกิเลส

*********

อเสกขบุคคล คือ พระอรหันต์ ผู้หมดจรดจากกิเลสแล้ว คือผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้วนั่นเอง


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 20, 2014, 08:47:45 PM »

Permalink: มาติกา
๑๒.ปะริตตา  ธัมมา  มะหัคคะตา  ธัมมา  อัปปะมาณา  ธัมมา ฯ

ปะริตตา ธัมมา
ธรรมที่ยังเล็กน้อย ก็มี
 
มะหัคคะตา ธัมมา
ธรรมที่ถึงภาวะใหญ่แล้วก็มี
 
อัปปะมาณา ธัมมา
ธรรมที่ประมาณมิได้ ก็มี

********

ธรรมอันมีอานุภาพน้อย คือ กามจิต ได้แก่ จิตที่มี กาม เป็นอารมณ์ หรือ จิตที่เป็น อกุศล และ ที่เป็น กุศล ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม

จิตที่เป็น อกุศล คือมี โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นกับจิต

จิตทีเป็น กุศลอันเกี่ยวกับ กาม คือ การทำบุญให้ทานด้วย วัตถุสิ่งของ อันเป็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ถึงแม้จะเป็น กุศล

แต่ เป็น กุศลที่มีอานุภาพน้อย เพราะกุศลนี้ยังพาไปเวียนว่ายในวัฏฏอย่างไม่สิ้นสุดอยู่อีก

*****  

จิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ ได้แก่ บุคคลที่ทำฌานสมาบัติให้เกิดขึ้น นับเป็น กุศลที่มีอานุภาพมาก เพราะสามารถข่มกิเลสนิวรณ์ให้สงบระงับ

จิตจะมีพลังของสมาธิ และเป็นสุขอย่างยิ่ง  และสามารถนำจิตที่สงบจากกิเลสและมีพลังมาพิจารณาวิปัสสนาได้อย่างดี  

หากยังไม่บรรลุ   กุศลที่ได้จากฌาน ส่งให้ไปเกิดใน รูปพรหม ๑๖ และ อรูปพรหม ๔

************

จิตที่หาประมาณมิได้ คือ มรรคจิต ๔ ได้แก่ โสดามรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และ อรหัตตมรรค  หรือ จิตที่เป็น อริยะบุคคล

เป็น จิตที่ไม่มีวันกลับมาตกต่ำอีกแล้ว มีแต่เจริญขึ้นไปตามลำดับ มุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว  ตัดการเวียนว่าตายเกิดที่ไม่รู้สิ้นสุด ให้สิ้นสุดลงได้

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #12 เมื่อ: เมษายน 23, 2014, 11:13:09 PM »

Permalink: มาติกา
๑๓.ปะริตตารัมมะณา  ธัมมา  มะหัคคะตารัมมะณา  ธัมมา  อัปปะมาณารัมมะณา  ธัมมา ฯ

ปะริตตารัมมะณา ธัมมา
ธรรมที่มีสภาวะที่มีอานุภาพน้อยเป็นอารมณ์ ก็มี
 
มะหัคคะตารัมมะณา ธัมมา
ธรรมที่มีสภาวะที่ถึงภาวะใหญ่แล้วเป็นอารมณ์ก็มี
 
อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา
ธรรมที่มีสภาวะอันประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ก็มี

****

อาราณ์อันมีอานุภาพน้อย คือ อารมณ์อันเกี่ยวข้องด้วยกาม คือ ความเพลิดเพลินใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ความอยากมี อยากเป็น และ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

เช่น ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินที่ไม่ควรได้  และหรือ การทำบุญเพื่ออยากได้สวรรค์วิมาน ความร่ำรวย

อารมณ์ที่เกี่ยวกับกาม ทำให้ยังต้องการเกิดใหม่ในวัฏฏที่ไม่สิ้นสุด

***

อารมณ์ที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ คือ อารมณ์ของฌาน จิตที่ได้ฌาน จะได้สุขอันสงบ ปราณีต มีพลานุภาพมาก เป็น ฌานกุศล

สามารถข่มกิเลสนิวรณ์ที่กลุ้มรุมจิตให้เร่าร้อน ทำให้ไม่เร่าร้อน มีความสงบเย็น และเป็นบาทฐานในการเจริญมรรคต่อไปได้ดี

***

อารมณ์ที่มีอานุภาพสูงสุดไม่มีประมาณ คือ โลกุตตร และ พระนิพพาน เพราะตัดกิเลสจนสิ้นสุดภพชาติได้

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #13 เมื่อ: เมษายน 26, 2014, 09:55:55 AM »

Permalink: มาติกา
๑๔.หีนา ธัมมา  มัชฌิมา ธัมมา  ปะณีตา  ธัมมา ฯ

หีนา ธัมมา
ธรรมอย่างทราม ก็มี
 
มัชฌิมา ธัมมา
ธรรมอย่างกลาง ก็มี
 
ปะณีตา ธัมมา
ธรรมอย่างประณีต ก็มี

**********

ธรรมอย่างทราม ก็คือ อกุศลจิต ที่เป็นที่ตั้งของ กิเลส๑๐ ทำให้เศร้าหมอง เร่าร้อน และพาไปสู่อบายในเบื้องหน้า

ธรรมอย่างกลาง ตือ โลกียกุศลจิต เป็นจิตที่ยังยินดีอยู่ในกามาวจร ยังมีการเกิดในสุคติภูมิ ได้แก่ สวรรค์ และ พรหม เป็นต้น

ได้แก่ การทำทานการกุศลทั้งหลายที่ยังหวังความสุขในภพหน้าต่อไป  รวมทั้ง ฌานจิตทั้งหมดก็ยังต้องเวียนเกิดเวียนตายอีก

ธรรมที่ปราณีต คือ โลกุตตรจิต ๘ และ นิพพาน ได้แก่อริยมรรค๔ ผล๔ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์

เพราะอริยบุคคล มีภพชาติที่สิ้นสุดได้แน่นอนแล้ว จะมาเกิดใหม่อย่างมากเพียง ๗ ชาติ หรือเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #14 เมื่อ: เมษายน 26, 2014, 10:38:23 PM »

Permalink: มาติกา
 ๑๕.มิจฉัตตะนิยะตา  ธัมมา  สัมมัตตะนิยะตา  ธัมมา   อะนิยะตา ธัมมา ฯ

มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา
ธรรมที่ชั่วและให้ผลแน่นอน ก็มี
 
สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา
ธรรมที่ดีและให้ผลแน่นอน ก็มี
 
อะนิยะตา ธัมมา
ธรรมที่ไม่แน่นอนในอาการทั้ง ๒ อย่างนั้น ก็มี

************

ธรรมที่ชั่วและให้ผลแน่นอน คือ ให้ผลทันที่หลังจากจุติหรือตาย ส่งไปอบายภูมิทันทีสถานเดียว

ธรรมชั่วเหล่านี้มี มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง คือ

๑.เห็นผิดว่า ทำความดีไม่ให้ผล ทำความชั่วก็ไม่ให้ผล คือ ปฏิเสธผลกรรม

๒.เห็นผิดว่า ความสุข และทุกข์ ที่ได้รับในขณะนี้ ไม่ใช่เหตุ จากการกระทำในอดีต คือ ปฏิเสธเหตุ

๓.เห็นผิดว่า ทำความดีก็ไม่ชื่อว่าบุญ ทำชั่วก็ไม่ชื่อว่าบาป คือ ปฏิเสธบุญบาป

ความเห็นผิด ๓ อย่างนี้ส่งผลให้ไปสู่โลกันตนรกทันทีที่เคลื่อนจากภพ คือ ตายนั่นเอง

****

ความชั่วที่ให้ผลทันทีรองลงมา คือ อนัตริยกรรม ถ้าไม่มีมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ อนันตริยกรรมก็ส่งผลในทันที

ทำให้ไปสู่ อเวจีมหานรก

****

ธรรมที่ดีและให้ผลทันที คือ มรรคจิต ๔ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามีมรรค และ อรหัตตมรรค

คือเมื่อมรรคจิตเกิดก็ได้ผลจิตเกิดต่อทันทีติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น หมายถึง เมื่อได้มรรคจิตอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ ก็ได้

ผลจิตเกิดขึ้นต่อจากนั้นทันทีโดยไม่ต้องรอการเคลื่อนจากภพ ก็คือได้เลื่อนชั้นของอริยะบุคคลทันทีนั่นเอง

***

ส่วนธรรมที่ไม่ใช่ทั้งสอง คือให้ผลไม่แน่นอน ต้องรอโอกาส รอจังหวะ รอปัจจัยสนับสนุน และยังถูกเบียดโดย

ผลของกรรมอื่นๆที่แรงกว่าได้ เหล่านี้คือ อกุศลจิต กุศลจิต เพราะ การทำบาปอกุศล หรือการสร้างบุญกุศล สามารถเปลี่ยน

หรือเบี่ยงเบนการให้ผลฃ้าหรือเร็วขึ้นได้ หรือถูกตัดรอน เบียดบังได้ตลอดเวลา จึงจัดเป็นธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน กำหนดเวลา

ไม่ได้แน่นอน อาจได้ชาตินี้ หรือ ชาติหน้า หรืออาจเป็นชาติต่อๆไป แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มาสนับสนุนหรือตัดรอน


บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 18, 2024, 08:24:39 AM