เมษายน 20, 2024, 05:04:07 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม  (อ่าน 6742 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 09:55:34 AM »

Permalink: ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึงกรรมอันแรงกล้า ให้ผลในปัจจุบันไม่เกิน ๗ วัน

ที่เป็นฝ่ายดี เช่น นายปุณณะกับ ภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจน ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร ร่ำรวยเป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน

ฝ่ายไม่ดี เช่น พระเทวทัตที่กระทำโลหิตตุปบาท และทำสังฆเภท และนายนันทมานพ ที่ทำลาย

พระอุบลวรรณาเถรี ผู้เป็นพระอรหันต์ ต่างก็ถูกธรณีสูบ เช่นเดียวกัน

หลักเกณฑ์ของการให้ผลของกุศลปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ต้องถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๔ ประการ คือ

๑. เจตนาสัมปทา   มีความตั้งใจในการทำกุศลอย่างแรงกล้า (เจตนาในการทำบุญ)

๒. ปัจจยสัมปทา   ปัจจัยที่ทำกุศลได้มาด้วยความบริสุทธิ์ (ของที่ใช้ในการทำบุญ)

๓. วัตถุสัมปทา   ผู้รับต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ (ผู้รับต้องเป็นอริยบุคคล)

๔. คุณติเรกสัมปทา   พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ต้องพึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ (คุณวิเศษ ของผู้รับ)

เมื่อครบองค์ประกอบ ๔ อย่างนี้ จะให้ผลใน ๗ วันทันที

**************

ส่วน อปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึงกรรมที่ให้ผลหลังจาก ๗ วัน แต่ไม่เกินชาตินี้

 แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

 ๑. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปฐมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย

 ๒. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในมัชฌิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย

 ๓. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปัจฉิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปัจฉิมวัย

กรรมจะส่งผลในชาตินี้ได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ

  ๑. ต้องไม่มีอุปสรรค คือไม่ถูกกรรมอื่นมาเบียดเบียนเสียก่อน
  
  ๒. ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ มีอยู่ ๔ ประการดังนี้

          ๑. คติสัมปัตติ คือ ผู้กระทำต้องเกิดในอยู่สุคติภูมิ เป็น มนุษย์ หรือ เทวดา
          
          ๒. กาลสัมปัตติ คือ ผู้กระทำต้องเกิดในสมัยที่มีพระศาสนา มีพระราชาหรือผู้ปกครองเป็นสัมมาทิฏฐิ

          ๓. อุปธิสัมปัตติ คือ ผู้กระทำต้องเกิดมามีอาการครบ ๓๒ ประการ มีความพร้อมทางร่างกาย

          ๔. ปโยคสัมปัตติ คือ ผู้กระทำต้องเพียรประกอบแต่สุจริตกรรมเป็นนิตย์

  ๓. ต้องมีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า

  ๔. ผู้ได้รับหรือผู้ถูกกระทำต้องเป็นผู้มีคุณวิเศษ

      ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี เป็นต้น

กรรมที่กระทำนั้นจะให้ผลในชาตินี้ทันที




 




บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 10:42:15 AM »

Permalink: ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
การที่จะทำให้ กรรมเก่าอันไม่ดี ตามไม่ทัน มีข้อควรประพฤติ ๕ ประการ คือ
 
          ๑. ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงาม ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม พยายามบำเพ็ญทานรักษาศีลเจริญภาวนาอยู่เสมอ

แล้วตั้งความปรารถนา (ซึ่งจะให้ได้ผลในภพที่ ๓ เป็นต้นไป โดยจะได้ชื่อว่า ปุพฺเพกตปุญฺญตา)

อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ขอจงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลไปทุก ๆ ชาติด้วยเถิด”
 
          ๒. ประพฤติตนให้เป็นผู้มีความยินดีอยู่แต่ในสถานที่ที่เป็นปฏิรูปเทศ คือ ประเทศที่ประกอบด้วยคนดีมีศีลธรรม

แล้วตั้งความปรารถนา     อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภพหน้า ขอให้ข้าพเจ้าได้

เกิดอยู่ในปฏิรูปเทศ คือ ประเทศที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีศีลมีธรรมตลอดไปทุกชาติด้วยเถิด”
 
          ๓. ประพฤติตนให้เป็นผู้มีปัญญา โดยการสมาทานงดเว้นให้ห่างไกลจากคนชั่ว ไม่เกลือกกลั้วสมาคมกับคนพาล

พยายามคบหาสมาคมกับบัณฑิต คือท่านที่มีความรู้และมีศีลธรรม แล้วตั้งความปรารถนา     อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรม

ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าได้พบกับคนพาลมิจฉาทิฏฐิ ขอจงได้พบกับสัตบุรุษทุกชาติด้วยเถิด”
 
          ๔. ประพฤติตนให้เป็นคนใคร่ในการศึกษาธรรม อุตสาหะสดับตรับฟัง หมั่นศึกษาธรรมที่มีประโยชน์ และธรรมที่ถูกต้อง

แล้วตั้งความปรารถนา       อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปัญญา

ได้มีโอกาสศึกษาและเข้าใจในพระสัทธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีประโยชน์และเป็นธรรมที่ถูกต้องตลอดไปทุกชาติด้วยเถิด”
 
          ๕. ประพฤติตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม พยายามรักษากาย วาจา ใจ ของตน ให้เป็นไปในทางสุจริตอยู่เป็นนิตย์ และตั้งความปรารถนา

อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ประพฤติด้วยกาย วาจา ใจ ที่สุจริตนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้า

จงเป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม พยายามตั้งตนอยู่แต่ในทางที่ชอบที่ควรตลอดไปทุก ๆ ชาติด้วยเถิด”



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 11, 2024, 08:01:21 PM