เมษายน 19, 2024, 09:39:01 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)  (อ่าน 21992 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 10:21:16 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)


ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม



      ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

      หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่ ถึงแม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน หากบุคคลใดไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ  พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนจริงๆต่อให้ศีลนั้นมี 1000 ข้อ ท่านก็ถือได้โดยง่าย และ ท่านจะไม่ตำหนิพหรือเปลี่ยนแปลงระวินัยเลยด้วยมองว่าเป็นของถูกเป็นสิ่งดีเป็นกรรมฐานทั้งหมด ดังนี้..

       ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลายเพื่อการระลึกถึง สวดมนต์และปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

       บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..


      ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2014, 09:05:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 11:10:39 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า


อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระตถาคตเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระตถาคตเช่นนี้ๆ เป็น "พุทธานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระธรรมเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระธรรมเช่นนี้ๆ เป็น "ธัมมานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ
ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระสงสฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เป็น "สังฆานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงศีลของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงศีลอันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "สีลานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค) ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงจาคะของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงทานอันที่เราได้สละให้มาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "จาคานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อนุสสติฏฐานสูตร จบ


(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ



ข้อสำคัญที่ควรรู้  คือ หากเรานั้นไม่ได้เจริญปฏิบัติใน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ เราก็ไม่สามารถระลึกเจริญในอนุสสติ ๖ นี้ได้[/b]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2014, 11:55:49 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 12:54:12 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า


  
คำบูชาพระรัตนตรัย


อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา, ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิตด้วยศรัทธาความตรัสรู้และพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ทำไว้ในใจนำจิตตั้งน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยพึงตั้งจิตระลึกถึงสภาวะที่ว่างจากกิเลส หมดสิ้นกิเลสทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง , ทำไว้ในใจนำจิตตั้งน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็นสัมมาสัมพุทโธ ด้วยพึงตั้งจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นในการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า

พุทธัง ภะคะวันตังอะภิวาเทมิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ทรงประทับนั่งบัลลังก์อยู่เบื้องหน้าเรา

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า



ส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโม, ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ระลึกถึงพระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ระลึกถึงพระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา

ธัมมัง นะมัสสามิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกว่าพระพุทธเจ้ากำลังประทับนั่งตรัสสอนถึง พระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา พึงตั้งจิตน้อมนมัสกราบพระธรรมนั้น

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มลงกราบนมัสการแทบพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทับนั่งบัลลังค์ตรัสธรรมเทศนาสั่งสอน น้อมนมัสการซึ่งพระธรรมที่เราได้นำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้ตามจริงเหล่านั้น



สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว , ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบงดงามแล้ว มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต

สังฆัง นะมามิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบงดงามแล้ว ผู้ได้ถ่ายทอดพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ซึ่งเป็นเครื่องออกจากทุกข์มาสู้เราให้ได้รู้ตาม พึงตั้งจิตนอบน้อมบูชากราบพระสงห์หมู่นั้น

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเรานอบน้อมก้มลงกราบพระสงฆ์ทั้งหลายหมู่นั้นด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อ





นี่คือการบูชาคุณพระรัตนตรัย และ เป็นการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย อนุสสติ พื้นฐาน

ซึ่งบทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยนี้ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ แรกเริ่มโดยย่อพื้นฐาน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2014, 11:56:41 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 01:49:15 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า


บททำวัตรเช้า


ปุพพภาคนมการ

(ผู้นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.



นะโมตัสสะภะคะวะโต ,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,.
อะระหะโต ,ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,.
สัมมาสัมพุทธัสสะ.ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

ให้พึงตั้งจิตทำไว้ในใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพนอบน้อมศรัทธา ด้วยคุณและกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

สวด ๓ จบ






๑. พุทธาภิถุติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้ กำหนดทำไว้ในใจว่าเราผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าจะกล่าวถึงคุณและกิตติศัพท์อันงานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูยิ่งใหญ่ไม่มีใครเสมอเหมือนใน ๓ โลก จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะ มะยังพุทธาภิถุติงกะโรมะเส.


โยโส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด,

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,

สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย,

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม,

ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,

โยอิมังโลกังสะเทวะกังสะมาระกังสะพ๎รัห๎มะกัง,
สัสสะมะณะ-พ๎ราห๎มะณิงปะชัง สะเทวะมะนุสสังสะยัง
อะภิญญาสัจฉิกัต๎วาปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,
ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,
ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม,
และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์,
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,


โยธัมมังเทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว,

อาทิกัล๎ยาณัง,
ไพเราะในเบื้องต้น,

มัชเฌกัล๎ยาณัง,
ไพเราะในท่ามกลาง,

ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง,
ไพเราะในที่สุด,

สาตถังสะพ๎ยัญชะนังเกวะละปะริปุณณังปะริสุทธัง
พ๎รัห๎มะจะริยังปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง,
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย)
พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ) ,


ตะมะหังภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,

ตะมะหังภะคะวันตังสิระสานะมามิ .
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกถึงพระพุทธคุณ)
ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบเบื้องพระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาพระองค์นั้น ที่เราระลึกถึงอยู่ด้วยความเคารพและศรัทธา



นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 07:59:42 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 05:00:02 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า



๒. ธัมมาภิถุติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จากนั้นค่อยระลึกถึงพระธรรม หรือ พระสูตรใดๆก็ตาม
ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว อันที่เราเคารพศรัทธาได้น้อมมาเจริญปฏิบัติ
แล้วให้ผลได้ไม่จำกัดกาลและเป็นเครื่องออกจากทุกข์แก่เราได้จริง
หรือ..ระลึกว่าพระตถาคตเจ้า กำลังแสดงธรรมแก่เรา แล้วเราน้อมรับพระธรรมนั้น จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมาภิถุติงกะโรมะเส.[/size]


โยโสส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโม,
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,

สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ, พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,

อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล,

เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,

โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มลงกราบนมัสการแทบพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทับนั่งบัลลังค์ตรัสธรรมเทศนาสั่งสอนเรา น้อมนมัสการซึ่งพระธรรมที่เราได้นำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้ตามจริงเหล่านั้น น้อมรับพระธรรมที่พระองค์ตรัสสอนไว้ดีแล้วมาสู่ตน เพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้



นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 08:00:49 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 06:20:25 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า




๓. สังฆาภิถุติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นอรหันตสาวก หรือ พระอริยะสาวกก่อน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว
มีปฏิปทางดงามเป็นอันดีตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเรา และ ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาพร้อมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสู่เรา ให้เราได้รู้ตามพระธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นั้น อาจจะเป็นพระสงฆ์สาวกรูปใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระอริยะสงฆ์สาวก พระสงฆ์หมู่ใดที่เรารู้จักและเคารพนับถือ จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆาภิถุติงกะโรมะเส.[/size]


โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
,

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,

จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ

(กราบระลึกพระสังฆคุณ)
ให้ตั้งจิตระลึกว่าข้าพเจ้าขอก้มนอบน้อมลงกราบพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าหมู่นั้น(ที่เราระลึกถึงอยู่) (ด้วยความระลึกถึงคุณว่า)ซึ่งท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้เผยแพร่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาสู่เรา ให้รู้ตาม เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิปทางดงามควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ ควรแก่ที่เขานำมาบูชา เป็นแบบอย่างของตน จนถึงเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ(ประกอบด้วย มรรค และ ผล) ดังนี้..



นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพระสงฆ์ มีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 08:01:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 06:20:52 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า



๔. รตนัตตยัปปณามคาถา


นั่งพับเพียบ..แล้วให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก่อน
จากนั้นก็ระลึกว่า เรานั้นถึงแล้วซึ่งพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เราจักประพฤติและปฏิบัติตามซึ่งธรรมอันดีทั้งหลายเหล่านั้นเพื่อความรอดพ้นจากอกุศลธรรมสิ่งที่ชั่วทั้งหลาย
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.[/size]


พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก,

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

(น้อมจิตยกมือจรดไหว้สาธุระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
(ด้วยความเคารพศรัทธาในพุทธคุณดังกล่าวมานี้)


ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,

โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด,

โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

(น้อมจิตยกมือจรดไหว้สาธุระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน)
(ด้วยความเคารพศรัทธาในธรรมคุณดังกล่าวมานี้)


สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด,

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,

(น้อมจิตยกมือจรดไหว้สาธุระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า)
(ด้วยความเคารพศรัทธาในสังฆคุณดังกล่าวมานี้)


อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือ พระรัตนตรัย
อันควรบูชายิ่ง โดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้,
ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,
ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจาก บุญนั้น,

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 08:03:08 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 06:21:13 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า

๕. สังเวคปริกิตตะนะปาฐะ


อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,

มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

(ให้กำหนดตั้งจิตน้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์นี้)
(กำหนดจิตน้อมนำมาเจริญพิจารณาให้เห็นทุกขอริยะสัจตามจริงโดยย่อ ดังนี้..)
(โดยส่วนตัวของผู้เขียนเมื่อยังบวชอยู่สามารถอยู่ในพรหมจรรย์อันดีได้-
-และ เพียรอยู่เป็นผู้รู้ราตรีได้ก็ด้วยบทสวดมนต์นี้)


ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,


อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,

(กำหนดจิตน้อมนำมาเจริญพิจารณาตามให้เห็นทุกขสมุทัยอริยะสัจตามจริงโดยย่อ ดังนี้)

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,

เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,

รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,

เวทะนูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,.

สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,

สังขารูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,

วิญญานูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,

เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,

ธะระมาโน โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,

(กำหนดจิตน้อมนำมาเจริญพิจารณาตามให้เห็นในยถาภูญาณทัสสนะตามจริงโดยย่อ)
(เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณ คือ ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดทั้งปวงด้วยเห็นตามจริง ดังนี้)


เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี
พะหุลา ปะวัตตะติ,
อนึ่ง, คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก,
มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า,


รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง,

เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง,

สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง,

สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง,

วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง,

รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน,

เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน,

สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน,

สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน,

วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,

เต (ตา) มะยัง โอติณณาม๎หะ, พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,

ชาติยา, โดยความเกิด,

ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย,

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย,


ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,

ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้,
จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้,

(พึงทำทุกขนิโรธอริยะสัจให้แจ้งเพื่อเห็นถึงความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้)


                     (สำหรับพระภิกษุ-สามเณรสวด)
(กำหนดจิตน้อมนำมาเจริญพิจารณาตามให้เห็นใน)
(ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทาอริยะสัจตามจริงโดยย่อ ดังนี้)


จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น,

(เจริญพุทธานุสสติ เพื่อขจัดความเร่าร้อนกลุ้มรุมด้วยน้อมระลึกถึง)
(ความเป็นผู้ดับเพลิงกิเลส ความว่างจากกิเลส และ ศรัทธาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
(โยนิโสน้อมนำตามให้เกิด สัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบรู้ว่า กิเลสทั้งปวง คือ ทุกข์อันเร่าร้อน)
(พร้อมถือเอาปฏิปทาตามรอยพระพุทธเจ้านั้นน้อมมาปฏิบัติ)


สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
(เจริญสัมมาสังกัปปะ เนกขัมมะวิตก เจริญปฏิบัติอบรมใจให้เต็มกำลังใจ)
(ด้วยฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดเป็นเนกขัมมะบารมี)


ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ,
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
(ถือพรหมจรรย์ กล่าวโดยย่อ คือ อบรมกายและวาจา ให้ถึงซึ่ง)
(วาจาชอบ ประพฤติชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ)


ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย,
(กล่าวโดยย่อ คือ ศีลและกุศลธรรมทั้งปวง)
(ถือเป็นเครื่องเจริญปฏิบัติหล่อเลี้ยงชีวิตเราทุกขณะเพื่อความถึงซึ่งพรหมจรรย์)


ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะสังวัตตะตูติ,
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น,
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.



                    (สำหรับอุบาสก-อุบาสิกา)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ,


ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย,

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง,

(เจริญซึ่ง พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ)
(ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระตถาคต คือ คิดดี พูดดี ทำดี)
(มีความระลึกรู้อยู่เนื่องๆตามกำลังสติกำกับอยู่ใน ศีล(กายและวาจา) พรหมวิหาร๔(ใจ))


สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย,

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

(จบคำทำวัตรเช้า)


นี่คือบทพิจารณาเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย อริยะสัจ ๔ โดยย่อ คือ
- ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ โดยย่อ
- สมุทัย ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรละ โดยย่อ
- นิโรธ ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง โดยย่อ
- มรรค ที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า..เป็นสิ่งที่ควรเจริญให้มาก โดยย่อ

หากผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่รู้โดยย่อในส่วนนี้ก็ปฏิบัติกรรมฐานในส่วนอื่นได้ยาก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2014, 09:04:15 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 06:21:38 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า

บทสวดมนต์แปล ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ


ให้น้อมเข้ามาพิจารณาใน ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เรากินเราใช้อยู่ประจำตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นถึงความจำเป็นในสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง และ ถึงซึ่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในปัจจัยเหล่านี้เกินความจำเป็น
หากเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี พึงสวดแบบนี้พร้อมพิจารณาตามโดยแยบคาย หากไม่สวดบทสวดมนต์นี้พร้อมน้อมนำมาพิจารณาโดยแยบคายในปัจจุย ๔ แล้ว เมื่อจะฉันท์ข้าว นุ่งห่มจีวร อัฏฐบริขาร ที่พำนักกุฏิ ยารักษาโรค ถือว่าต้องอาบัติตามพระวินัย ดังนั้นจึงได้ตั้งให้มนต์พิธีตั้งเป็นบทสวดมนต์บทนี้ทั้งทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นนั่นเองครับ เพื่อป้องกันอาบัติแก่ผู้ไม่รู้พระวินัย


(ผู้นำ) หันทะมะยังตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐังภะณามะ เส.


(ข้อว่าด้วยจีวร)

ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,


ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย,


(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,

เนวะ ทะวายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะ มะทายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย,

นะ มัณฑะนายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา,
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง, ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,
ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.



(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว, ใช้สอยเสนาสนะ,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,


ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง, ปะฏิสัลลานารามัตถัง,
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,
และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,



(ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช)

ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว, บริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้,

ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ,
เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.


นี่คือบทพิจารณาใน ปัจจัย ๔ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่ามีความจำเป็นอย่างไร ใช้เพื่อสิ่งใด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นไปเพื่อความอยาก ความเพลิดเพลิน
แต่เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แก่ขันธ์ตามความจำเป็นเท่านั้น เพื่อการปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2014, 01:13:08 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 10:37:46 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า
....................
บันทึกการเข้า

เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 04:47:02 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)
ขอขอบคุณท่านไหลเย็นที่แวะมาเยี่ยมชมและอนุโมทนาสาธุกับผมครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2014, 09:58:27 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า

สัพพปัตติทานคาถา

กวรดน้ำตอนเช้า



พึงตั้งจิตมั่นแล้วทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นมิตรกับคนทั้งปวงบนโลกนี้ เราจักเป็นมิตรกับสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้
ระลึกว่า เราจักไม่ติดใจข้องแวะผูกโกรธแค้นขุ่นเคืองใคร
เราจักมีแต่ความปารถนาดีต่อคนและสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้
เราจักไม่เป็นศัตรูกับคนใดๆ สัตว์ใดๆในโลกนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่กว้างหรือที่แคบ ในที่พักอาศัยหรือในป่า
ในที่สว่างหรือที่มืด ไม่ว่าจะอยู่ในซอกมุมใดๆในโลกนี้ก็ตาม



หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานคาถาโย
เราทั้งหลายสวดสัพพปัตติทานคาถา
ภณามะ เสฯ
กันเถิด


  ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ                    
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
ยานัญญานิ กะตานิ เม,
จงมีส่วนแห่งบุญ

เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ
ที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้
สัตตานันตาปปะมาณะกา,
และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว

เย  ปิยา คุณะวันตา จะ
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใดซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ  
มัยหัง มาตาปิตาทะโย
เช่นมารดา บิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี

ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา
ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็น ก็ดี
อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลางๆ หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี

สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก
เต ภุมมา จะตุโยนิกา,
อยู่ในภูมิทั้งสาม อยู่ในกำเนิดทั้งสี่

ปัญเจกะจะตุโวการา
มีขันธ์ห้า มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่
สังสะรันตา ภะวาภะเว
ท่องเทียวอยู่ในภพน้อยและภพใหญ่ ก็ดี

ญาตัง เย ปัตติทานัมเม
สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้แล้วนี้
อนุโมทันตุ เต สะยัง
สัตว์เหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด

เย จิมัง นัปปะชานันติ
ส่วนสัตว์เหล่าใด ยังไม่รู้การให้ส่วนบุญนี้
เทวา เตสัง นิเวทะยุง
ขอเทพดาทั้งหลาย จงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้

มะยา ทินนานะ ปุญญานัง
เพราะเหตุการณ์อนุโมทนาส่วนบุญ
อนุโมทะนะเหตุนา
ที่ข้าพเจ้าอุทิศให้แล้วนี้ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยุ่เป็นสุขทุกเมื่อ
อะเวรา สุขะชีวิโน
จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน

เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ
ขอความปรารถนาอันดีงาม
เตสาสา สิชฌะตัง สุภา
ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงสำเร็จเถิด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2014, 02:02:00 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 09, 2024, 03:24:22 AM