เมษายน 20, 2024, 10:00:10 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)  (อ่าน 67311 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 03:18:32 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)


ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม



      ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

      หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
      ซึ่งพระสูตรทุกๆบท คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ เป็นหนทางแห่งมรรคและผลทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ด้วยเหตุดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเจริญในพระสูตรทั้งหลายพร้อมน้อมนำมาเจริญปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งมรรคและผลด้วยประการทั้งปวงนี้เทอญ


บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่ ถึงแม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน หากบุคคลใดไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ  พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนจริงๆต่อให้ศีลนั้นมี 1000 ข้อ ท่านก็ถือได้โดยง่าย และ ท่านจะไม่ตำหนิพหรือเปลี่ยนแปลงระวินัยเลยด้วยมองว่าเป็นของถูกเป็นสิ่งดีเป็นกรรมฐานทั้งหมด ดังนี้..

       ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลายเพื่อการระลึกถึง สวดมนต์และปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

       บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..


      ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2014, 03:01:17 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 04:44:29 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๑


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ระลึกว่าเรานั้นกราบลงแทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จากนั้นให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้งโลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
(พุทธานุสสติกรรมฐาน)


เอวัมเม สุตัง
( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

แล้วให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระกรุณาดุจห้วงมหันต์นพ
ได้ทรงเทศนาตรัสสอนพระธรรมนี้ๆ พระสูตรนี้ๆ ให้แก่เรา เพื่อเป็นทางเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
ป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
(ธัมมนุสสติกรรมฐาน)


เทฺวเม ภิกขะเว อันตา

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )


โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )
โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค
( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด )
ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )
สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
(ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )

น้อมจิตเข้าพิจารณาในธรรมดังนี้

ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
[น้อมจิตพิจารณาถึงความที่เราเกิดขึ้นมานี้ มีความทุกข์กายและใจอย่างไรบ้าง เช่น ไม่กินไม่ได้ ไม่นอนไม่ได้ ไม่ขี้ก็ไม่ได้ ไม่เยี่ยวก็ไม่ได้ แต่ละวันต้องดำเนินชีวิตลำบากายและใจอย่างไร ไม่ว่าคนรวย คนจน หรือสัตว์ใดๆ บุคคลใดๆ ต่อให้สุขสบายอย่างไรย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์นี้
(คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ชาตินี่รวมไปถึงความเกิด เกิดขึ้น ชนิด จำพวกในสิ่งต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ จนถึงสภาพธรรมปรุงแต่งใดๆ การเกิดขี้นของสังขารใดๆทั้งปวงด้วยไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม และ นามธรรม ทั้ง 2 หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง(ปฏิจจสมุปบาท)เช่น เมื่อเกิดความโกรธเราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความความปารถนาใคร่ได้เราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความกำหนัดยินดีเรามีสภาพกายและใจอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เมื่อเราพรัดพรากเรามีสภาพกายและใจเป็นอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เป็นต้น)]


ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงสภาพที่เมื่อแก่ชรา เมื่อเราแก่ตังลงการมองเห็นก็ฝ่าฟางลำบาก การจะขยับกายก็ลำบาก การเคี้ยวการกินก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จะขับถ่าย ขี้ เยี่ยวก็ลำบาก เวลาเมื่อเจ็บป่วยก็ทรมานไปทั้งกายและใจ อย่างนี้ๆเป็นต้นที่เรียกว่า แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงความตายเป็นเบื้องหน้า เมื่อตายแล้วต้องวนเวียนในวัฏฏะสงสารอีกเท่าไหร่ และ ไม่รู้ว่าเมื่อตายไปจะเกิดในภพภูมิใด สัมภเวสี เปรต หรือ สิ่งใด เมื่อตายแล้วต้องไปชดใช้กรรมใดๆอีก เมื่อจะมาเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเกิดเป็นคนหรือสัตว์ แม้เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นขอทาน คนพิการ อยู่ยากลำบาก หรือ กินดีอยู่ดีก็ฌยังไม่รู้

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนแต่ก็ต้องพบเจอโดยหนีไม่พ้น เราเป็นทุกข์ไหม]

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักคือ เลิกกับคนรักหรือคนรักตาย สัตว์ที่รักหายหรือตายไป ของที่รักพังทลายสูญหายไป เราเป็นทุกข์ไหม]

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราไม่ได้สิ่งใดๆตามที่ใจปารถนา คือ จีบสาวไม่ติด ทำกิจการงานแล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่หวังไว้ ไม่ได้สิ่งของตามที่ใจปารถนา เราเป็นทุกข์ไหม]

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
[น้อมจิตหวนระลึกพิจารณาดังนี้
๑. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย เมื่อเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตน เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ จิตย่อมใคร่ปารถนาในกายให้ได้ให้เป็นไปตามที่ใจตนปารถนาไม่หยุด เมื่อไม่ได้ตามที่ใจปารถนาก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมโทรมก็เป็นทุกข์
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ความสุขกาย ทุกข์กาย ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย ความสุขใจ ทุกข์ใจ อุเบกขาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อเรารู้อารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์)ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดๆแล้วเกิดเวทนา เมื่อเป็นสุขแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอุปาทานว่านี่เป้นเรานี่เป็นของเราว่า สิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข เราก็แสวงหา ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ เมื่อเราได้ประสบพบเจอในอารมณ์ใดๆที่ไม่เป็นไปตามที่เรานั้นตั้งความพอใจยินดีเอาไว้ว่าเป็นสุข เราก็เกิดความทุกข์ทันที ก็สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่าสิ่งนี้ๆเป็นสุข เป็นทุกข์
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสัญญาใดๆแม้ในเรื่องใดสิ่งใดที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเข้าหวนระลึกถึงความทรงจำใดๆย่อมก่อให้เกิด ความปรุงแต่งจิตคิดไปต่างๆนาๆ เม่ื่อเสพย์ความพอใจยินดีก็ปารถนา เสพย์ความไม่พอใจยินดีก็อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก่อให้เกิดเป็นทุกข์
๔. สังขาร คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ดับไปกับจิต เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลงใดๆ เมื่อใจเรามีความติดใจกำหนัดปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ขุ่นมัวขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกายและใจ ผูกเวร ผูกพยายาบาท ลุ่มหลงมัวเมา เมื่อเราเข้ายึดมั่นถือมั่นกับความปรุงแต่งจิตนั้นๆ มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
๕. วิญญาณขันธ์ คือ ใจ ความรู้อารมณ์ เช่น รับรู้การกระทบสัมผัสใน สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อเข้าไปมั่นมั่นถือมัุ่นกับสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆโดยวิญญาณขันธ์นี้ ไม่ว่าจะมองเห็นสี เห็นรูปใดๆ แล้วพอใจยินดีเข้าไปยึดว่าสวยงาม ก็ติดใจเพลิดเพลินใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์อารมณ์นั้นๆ เมื่อเห็นแล้วไม่ชอบพอใจยินดี ก็ว่าไม่สวยไม่งาม ก็ไม่ปารถนาอยากจะผลักไสให้ไกลตนก็เป็นทุกข์]


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )

กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ -
[ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆมีอยู่ไม่สูญไป เช่น ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด])


ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น [ความทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆที่พอใจยินดี])

วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น -
[ความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆสูญไม่มีอีก เช่น ตายแล้วจะไม่มีการกลับมาเกิดอีก])


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 04:52:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 04:50:12 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๒


อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )

[มีสติหวนระลึกพิจารณาถึงการดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรา ว่าเราต้องประสบพบเจอกับสิ่งใดๆบ้าง แลเมื่อได้รับการกระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆเหล่านั้นแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์ทางใจอย่างไรบ้าง หรือ มีความรู้สึกอาการทางกายอย่างไรบ้าง ให้กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานี้อยู่ให้เป็นประจำ จะทำให้เห็นแจ้งในทุกข์]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )

[เมื่อเรากำหนดรู้ทุกข์ รู้ในอารมณ์ความรู้สึกอาการทางกายและใจเมื่อได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆแล้ว แลเห็นทุกข์ตามจริงอันเป็นผลจากการได้เสพย์ ไม่ได้เสพย์ หรือ ผลอันเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆที่ได้รับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแล้ว จิตใจเราย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นว่ามันหาประโยชน์สุขไรๆอันแท้จริงไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น แลเห็นตามจริงว่าสุขที่ได้รับจากการเสพย์อารมณ์ไรๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปเพราะเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน กำหนัดยินดีเท่านั้น แล้วก็ต้องมาตะเกียกตะกายไขว่คว้าทะยานอยากหามาให้ได้สมกับความเพลิดเพลินใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ หรือ ทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างที่ตนเองตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีไว้ หรือ ทะยานอยากจะผลักหนีจากสิ่งอันที่ตนตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่าไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี ไม่เกิดเพลิดเพลิน มีแต่ความมัวหมองเศร้าหมองใจ หรือ ทุกข์อันเกิดแต่ความพรัดพรากบ้าง ไม่สมปารถนาบ้าง ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจไม่พึงปารถนาบ้าง ทุกข์อันเป็นไปในความเพลิดเพลินกำหนัดยินดีบ้าง เป็นต้น (นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้ทุกข์)]

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย )
.
[ก็เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็จะรู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นว่าทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาแต่เหตุไรๆ แล้วเพียรละที่เหตุนั้นเสีย]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )

[เมื่อแลเห็นสมุทัยแล้ว รู้สิ่งที่ควรละแล้วความดับไปในทุกข์ในขั้นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเราแล้ว เช่น ติดเหล้า เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ก่อนกิน โดยหวนระลึกถึงว่าทุกข์จากการกินเหล้าเป็นไฉน มึนเมา เจ็บป่วย เมื่อยล้า เงินไม่มี เสียงาน อารมณ์ร้อน ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทั้งหมด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เป็นทุกข์มหันต์ ระลึกถึงรสชาติที่ได้เสพย์มันว่า รสชาติมันเฟื่อนลิ้นเฟื่อนคอ เหม็นมีกลิ่นฉุน กินแล้วก็ร้อนคอร้อนท้องไม่อิ่มเหมือนข้าว หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากความติดใจเพลิดเพลินแล้วก็มาผจญกับความสูญเสียอันหาประมาณมิได้ นี่เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ในเหล้า ทำให้เห็นคุณและโทษจากเหล้า จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในเหล้า สืบต่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ลงในธรรมและมีความเพียรตั้งมั่นที่จะออกจากทุกข์นั้น จิตย่อมน้อมหวนระลึกหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เหล่านี้คือเหล้า เหตุที่ทำให้เราอยากกินเหล้าคือสิ่งใดหนอ เมื่อหวนระลึกพิจารณาถึงก็จะเห็นว่า ความอยากนี่เอง ทำไมถึงอยากกินเหล้า ก็เพราะเราคอยตรึกนึกถึงมันนี่เอง ทำไมตรึกนึกถึงเสมอๆ ทีเรื่องที่ควรตระหนักถึงกลับไม่คิดถึง เมื่อหวนระลึกถึงก็จะเห็นว่าเหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับเหล้าไว้มาก ที่เราให้ความสำคัญกับเหล้าเพราะสิ่งใดหนอ เมื่อหวนพิจารณาจะเห็นว่าเพราะเราพอใจยินดีในเหล้านี่เอง ก็เพราะพอใจยินดีในเหล้าเลยยึดมั่นถือมั่นเอาโสมนัสเวทนาจากเหล้ามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทนสติ+สัมปชัญญะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เรารู้สมุทัยที่ควรละแล้ว เมื่อตั้งความเพียรที่จะละแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อไม่พอใจยินดี ไม่ให้ความสำคัญในเหล้า ความอยากเหล้านี้ย่อมหายไป และ สภาพทางกาย สภาพแวดล้อม การเงิน ฯลฯ จะต้องดีขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเรามี ความเห็น ความคิดถึง ความตรึกถึง ความนึกถึง ความตรองถึง ความคำนึงถึง น้อมพิจารณาเช่นนี้ๆเป็นเบื้องต้นแล้ว จิตเราย่อมละวางความสำคัญมั่นหมายของใจในเหล้า ย่อมละความพอใจยินดีในอารมณ์ที่จะเสพย์ลง จิตใจเราย่อมแช่มชื่น ปราโมทย์ ผ่องใส อันเป็นผลเกิดจากกุศลจิตที่จะดับทุกข์นั้น ความดับทุกข์แม้เพียงแค่้คิดจะละเหตุนี้ ยังเกิดขึ้นแก่้เราเป็นเบื้องต้นแล้ว(แม้เป็นเพียงอุดมคติคือจากความคิดก็ยังสุขเลยนะครับ) เมื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง กายและใจเราย่อมน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งถึงความดับทุกข์อันแท้จริง ด้วยเห็นว่าเมื่อดับทุกข์เหล่านี้ได้แล้วผลลัพธ์มันเเป็นสุขเช่นนี้ๆ]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )

[เมื่อทำนิโรธให้แจ้งแล้ว เห็นความสุขอันเกิดแต่ความดับทุกข์นั้นแล้ว เริ่มแรกอาจจะเห็นว่ามีแนวทางมากมายหลายทางที่จะดำเนินปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์นั้น เมื่อเราได้เพียรปฏิบัติในทางพ้นทุกข์ให้มากแล้วเราก็จะเห็นว่า ทางพ้นจากทุกข์เหล่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เอง (การเจริญปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายหากถึงความเป็นสัมมาแล้ว จะสงเคราะห์ลงในมรรค ๘ ได้ทั้งหมด มรรค ๘ จึงเป็นเรือข้ามฝั่งที่ใหญ่มากเพียงลำเดียวที่พระพุทธเจ้าจอดไว้ให้เรา ขึ้นอยู่แต่ว่าเราจะขึ้นเรือลำนี้ไหม)
ดังนั้นที่เราควรเจริญปฏิบัติให้มาก คือ มีกายสุจริต วาจาสุริต มโนสุจริต อันเกิดแต่ ศีล พรหมวิหาร๔(พรหมวิหาร๔นี้ เบื้องต้นปฏิบัติให้เจริญเมตตาจิตให้มากให้สภาพจิตเกิดเมตตาต่อกันจนเกิดเป็นสมาธิจะให้ผลดีมาก) ทาน สมาธิ ปัญญา(ความรู้แจ้งรู้เห็นตามจริงอันเกิดขึ้นด้วย สัมปชัญญะ+สติ และ สมาธิอันควรแก่งาน หรือ เจริญปฏิบัติใน กุศลกรรมบท๑๐ เป็นต้น จนเข้าถึงมรรค๘ อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุให้ นิโรธอันแท้จริงเกิดแก่เรา)]



ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )


ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา
ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 05:12:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 05:12:09 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๓


เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )


ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )


อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
( พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว )
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
( พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
( ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ )
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ
( จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ )
"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"
( ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" )

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
( ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว )
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
( เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

( ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ )

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
(เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ"

( "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" )

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
( โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ )

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
( ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป )

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
( ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก )

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
( ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ )

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
( ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า )

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ
( โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ )

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
( เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว
ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ )

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 05:31:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 05:31:38 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๔


หมายเหตุ

รอบ 3 อาการ12 หมายความถึง การหยั่งรู้ หยั่งเห็น ในอริยสัจ 4 ครบ 3 รอบ หยั่งรู้ หยั่งเห็นในทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค
วนเวียนไปจนครบ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 รวมเป็น 12 ครั้ง จนชัดแจ้งและชัดเจน มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 จนไม่มีข้อกังขา เรียกว่าบริสุทธิ์ พระองค์ก็ทรงบรรลุ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....เป็นวิสัยของพระโพธิสัตย์ทุกพระองค์ที่ต้องกระทำก่อนที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ..คือการพิจารณาในอริยสัจ 4 ครบสามรอบสามวาระ หรือที่เรียกว่า ญาณทัสนะ 3 อันได้แก่


1. สัจจญาณ
2. กิจจญาณ
3. กตญาณ


ในอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ขอขอบพระคุณท่าน  พระรวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068


-------------------------------------------------------------------------------------------------


รอบ 3 อาการ12 หมายถึง การหยั่งญาณทัสสนะ ๓ ลงในอริยะสัจจ์ ๔ ขอรับ
ที่ว่า ญาณทัสสนะ ๓ คือ


๑. สัจจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือ
ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ
ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย
ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ

๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ
ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว


ขอขอบพระคุณท่าน  Kanya  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068

บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 05:36:21 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

บทสวดชุมนุมเทวดา ๑๒ ตำนาน


สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตังนุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่เมตตาจิต ด้วยคิดว่า
ขออานุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน
พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยราชวงศ์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร


สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี
และภุมมเทวดา ซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมานหรือยอดเขาและหุบผา ในอากาศก็ดี


ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี
ในต้นพฤกษาและป่าชัฏก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี


ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
เทพยดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตย์ตามภาคพื้นดิน รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์ และ พยานาค
ซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบ ก็ดี



ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้
คำใดเป็นของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้น


ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม


จบบทสวดชุมนุมเทวดา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:51:02 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 11, 2014, 02:42:52 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

ธชัคคสูตรบรรยาย # ๑


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐


    จะเล่าตำนานสวดมนต์ต่อ ตำนานที่ ๕ ในเจ็ดตำนานคือ ธชัคคสูตร จัดเป็นพระปริตรที่ ๕ คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่า

     เมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง หรือ ชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้
     ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป
     พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น นั้นเอง
     และเรื่อง เทวาสุรสงคราม ที่ว่าเป็นเรื่องเคยมีมานั้น ก็มีเรื่องโดยสังเขปว่า ท้าวสักกะจอมเทพได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ว่าอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุซึ่งตั้งอยู่กลางใจโลก และที่ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของอสูรทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะไปอยู่ ทีแรกก็อยู่ร่วมกับอสูรทั้งหลาย แต่มายหลังก็ได้หาวิธีขับอสูรทั้งหลายออกไป ฝ่ายอสูรทั้งหลายต้องเสียรู้ท้าวสักกะต้องถอยออกไปอยู่ภายนอก ก็มีความผูกใจแค้น ถึงคราวก็ยกมารบกับหมู่เทพซึ่งเข้ามายึดถิ่นฐานเดิมของตนเสียทีหนึ่ง ก็เกิดสงครามระหว่างเทพกับอสูรทั้งหลายกันทีหนึ่ง และอสูรทั้งหลายก็ต้องถอยไปทุกที แต่ว่าถึงคราวก็ยกมารบใหม่ เล่าว่าอย่างนั้น เรียกว่าเทวาสุรสงคราม เป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว และนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันก็สันนิษฐานว่า คงจะมีสงครามแย่งถิ่นกันระหว่างชาวอริยกะซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในอินเดียกับหมู่ชนชาวพื้นเมือง ดังที่แสดงเล่าไว้ในพุทธประวัติตอนต้นนั้น ก็เป็นเค้ามูลของเรื่องเทวาสุรสงคราม ซึ่งแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงอ้างมาเล่านี้ และแม้ในสมัยพุทธกาลเอง เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเก่ามาแล้ว จึงใช้คำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเคยมีมาแล้ว

พระสูตรนี้ก็เป็นพระสูตรที่นับถือกันพระสูตรหนึ่ง มีคำแปลตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้

    ตั้งต้นพระสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ เอกํ สมยํ ภควา เป็นอาทิ ซึ่งแปลความเป็น ลำดับ ว่า
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี ใกล้เมืองสาวัตถี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้นจึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
     พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว สงครามแห่งเทพดากับอสูร ได้เกิดประชิดกันแล้ว
     ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เรียกหมู่เทพในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่หมู่เทพ ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด
     ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงหรือยอดธงของเรานั่นแหละ เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่ ความกลัวความหวาดสะดุ้งหรือขนพองสยองเกล้า อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าอันมีจักหายไป
     ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณ เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองใสยองเกล้ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณ
     เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาณอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมีก็จักหายไป
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นแล คือการแลดูชายธงของเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมี ก็จักหายไปได้บ้าง ไม่หายไปบ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดั่งนี้
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแล กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เพื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ทีโคนไม้ก็ตาม ไปอยู่ที่เรือนเปล่าก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะด้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่บังเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา อรหฺ สมฺมาสมฺพุทโธ แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อรหํ เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้โลก
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺโธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม ดั่งนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรมว่า

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺฐิโก เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง
อกาลิโก เป็นธรรมให้ผลไม่มีกาล เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมอันจะพึงเรียกร้องให้มาดูได้
โอปนยิโก เป็นธรรมอันบุคคลควรน้อมเข้ามาใส่ใจ หรือควรน้อมเข้ามาในตน
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ เป็นธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัวดังนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว หรือปฏิบัติเป็นธรรมแล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้แล้ว
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ คือ คู่แห่งบุรุษบุคคลทั้งหลาย ๔
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรสักการะที่พึงนำมาบูชา
ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทกฺขิเนยฺโย เป็นผู้ควรทักษิณาคือของทำบุญหรือควรทำบุญ
อญฺชลิกรณีโย เป็นผู้ควรอัญชลีคือควรพนมมือไหว้ คือแสดงความเคารพ
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพอง สยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะด้ง เป็นผู้ไม่หนี ดั่งนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นั้นอีกว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนไม้ หรือในเรือนว่าง พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ มัยก็จะไม่พึงมีแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธซึ่งเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก ประเสริฐแห่งนรชน ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2014, 09:23:56 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 11, 2014, 03:53:01 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

ธชัคคสูตรบรรยาย # ๒


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐


     พระสูตรนี้มีคำแปลโดยความดังที่ได้แสดงมา ในการสวดมนต์เมื่อมีเวลามาก หรือในพิธีใหญ่ที่ต้องการให้สวดพระสูตรเต็ม ก็สวดพระสูตรเต็ม ในการสวดมนต์ทั่วไป สวดจำเพาะอนุสสรณปาฐะ คือปาฐะที่เป็นอนุสสรณะ คือเป็นเครื่องระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ก็คือสวด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นต้น ต่อด้วย สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโมเป็นต้น ต่อด้วย สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ก็คือสวดจำเพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น
     อันนำสวดด้วยคำว่า อนุสสรณปาฐะ คือ เป็นปาฐะบาลี หรือถ้อยคำที่แสดงอนุสสรณะ คือคำที่สำหรับระลึกถึง ก็หมายถึงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นเนื้อหาสำคัญของพระสูตรนี้ กับสวดตอนท้ายพระสูตรอันเรียกว่านิคมคาถา ที่แปลว่าคาถาตอนท้าย ตั้งต้นด้วยคำว่า อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา เป็นต้น ที่แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนไม้ หรือในเรือนว่างเรือนเปล่า ดั่งนี้เป็นต้น
     ต่อไปนี้นั่งขัดสมาธิ เรื่องอานาปานสติยังมีต่อ แต่ว่าเท่าที่ได้แสดงแนวทางปฏิบัติมาแล้วอันเป็นขั้นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือสติปัฏฐานขั้นพิจารณากาย ก็เป็นการเพียงพอสำหรับที่จะใช้ฝึกหัดปฏิบัติ จึงจะแสดงถึงกรรมฐานข้ออื่น อันควรถือเป็นข้อปฏิบัติสับเปลี่ยนกับอานาปานสติ และข้อกรรมฐานทีจะแนะในวันนี้ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติสังฆานุสสติ ดั่งที่สอนให้ปฏิบัติในธชัคคสูตรนี้ อันนับว่าเป็นกรรมฐานข้อหนึ่ง
     การระลึกถึงพระพุทธเจ้าอันเรียกว่า พุทธานุสสติ นั้น ที่ใช้ปฏิบัติก็คือระลึกถึงพระคุณดังบทที่สวดว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ เป็นต้น แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้ไกลกิเลส ควรไหว้ควรบูชา สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองชอบดั่งนี้เป็นต้น วิธีระลึกนั้น

     วิธีที่หนึ่ง ก็คือการระลึกถึงบทพระพุทธคุณ ยกขึ้นมาทีละบท เช่นบทว่า อรหํ ยกขึ้นมาว่า อรหํ และก็พิจารณาไปตามความว่าเป็นผู้ไกลกิเลส คราวนี้ อิติปิ ที่เป็นคำต้นนั้นแปลว่า เพราะเหตุนี้ ๆ ก็คือระลึกขยายความออกไปว่า เพราะเหตุที่พระองค์ทรงเป็นผู้บรรลุถึงธรรมที่ตัดกิเลสได้อย่างนี้ ๆ ฉะนั้น จึงทรงเป็นผู้ไกลกิเลส คือสิ้นกิเลส และกิเลสที่สิ้นนั้นก็สิ้นทั้งหมด ทั้งกิเลสที่เป็นชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด กิเลสที่เป็นชั้นหยาบก็คือที่เป็นชั้นแรงอันทำให้ละเมิดทางกาย ทางวาจา เช่นฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้าง ปรากฏเป็นกรรมกิเลสออกมา ที่เป็นอย่างกลาง ก็คือที่บังเกิดขึ้นเป็นนิวรณ์กลุ้มกลัดอยู่ในจิตใจ ที่เป็นอย่างละเอียด ก็คือที่เป็นอาสวอนุสัย นอนจมหมักหมมอยู่ในจิต สืบเป็นจิตสันดานฝ่ายเศร้าหมอง ละได้หมดจึงเป็นผู้สิ้นอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดานได้หมด จึงเป็นผู้ไกลจริง ๆ คนสามัญทั่วไปนั้น ยังไม่ไกล ยังอยู่กับกิเลส แม้ว่ากิเลสส่วนหยาบจะไม่ปรากฏ เพราะรักษาศีลมีศีล กิเลสอย่างกลางไม่ปรากฏเพราะมีสมาธิ แต่ว่ากิเลสอย่างละเอียดที่เป็นอาสวอนุสัย ยังดองจิตสันดานอยู่ เป็นตะกอนนอนก้น เป็นน้ำที่บนพื้นผิวในตุ่มก็ใสแต่ว่าก้นตุ่มนั้นมีตะกอน ถ้าไปกวนน้ำขึ้นเมื่อใดตะกอนฟุ้งขึ้นมา น้ำในตุ่มก็ขุ่นไปทั้งหมด จิตคนสามัญก็เหมือนกัน ในขณะที่ดูใสตะกอนกิเลสยังอยู่ แต่เมื่อประสบอารมณ์มายั่วยวนเข้า ตะกอนกิเลสก็ฟุ้งขึ้นมาปรากฏเป็นนิวรณ์ หรือเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลง เป็นราคะ โทสะ โมหะ จิตก็ขุ่นมัวจึงยังไม่ไกลกิเลส แม้ว่าดูจิตจะใสเหมือนอย่างไกล แต่อันที่จริงนั้นใกล้ คืออยู่กับกิเลส อยู่กับอาสวอนุสัย แต่พระพุทธเจ้านั้นละได้หมด ด้วยทรงบรรลุมรรคผลนิพพาน ตัดกิเลสได้สิ้นเชิงทั้งหมด จึงเป็น อรหํ เป็นผู้ไกลกิเลส เมื่อเป็นผู้ไกลกิเลส ก็เป็นผู้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจสิ้นเชิง ก็เป็นผู้ที่ควรไหว้ ควรบูชาอย่างแท้จริง อย่างนี้แหละที่เรียกว่า อิติปิ ที่แปลว่า แม้เพราะเหตุนั้น ๆ คือเป็นอย่างนี้ ๆ พระองค์จึงทรงเชื่อว่า เป็นอรหันต์ เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา และก็ยกบท สัมมาสัมพุทโธ ขึ้นมาทีละบทแล้วก็พิจารณาไป ในบทพระธรรมคุณก็เหมือนกัน ในบทพระสังฆคุณก็เหมือนกัน

     วิธีที่สอง กำหนดสวดมนต์นี่แหละเป็นกรรมฐาน ก็กำหนด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นต้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ให้จิตอยู่กับบทสวดมนต์นี้ วิธีที่สองนี้เป็นวิธีสาธยายกรรมฐาน แต่ว่าสาธยายอยู่ในจิต คือว่าจิตสวดมนต์ นึกถึงบทสวด และในการระลึกถึงบทสวดนั้นเมื่อมีความเข้าใจอยู่แล้ว ใจก็เข้าถึงอรรถคือ เนื้อความไว้ด้วย แต่ว่าถ้าไม่เข้าใจ รู้จักไม่เข้าถึงอรรถคือเนื้อความ ได้แต่พยัญชนะคือถ้อยคำแต่ก็ทำให้ใจรวมได้ และก็ด้วยเหตุที่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณนั้นเป็นบทที่บริสุทธิ์ แม้จิตจะระลึกถึงโดยพยัญชนะ ไม่รู้ความ ก็ยังเป็นการดี เพราะเป็นบทที่บริสุทธิ์ ไม่มีบทไหนที่ไม่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างยิ่งจริง ๆ จิตก็อยู่กับบทสวดที่บริสุทธิ์ ก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ และ แม้ในการเจริญอานาปานสติที่หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ก็เป็นการเจริญพุทธานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อเจริญหายใจเข้า ธัม หายใจออก โม ก็เป็นการเจริญธรรมานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อใช้หายใจเข้า สัง หายใจออก โฆ ก็เป็นการเจริญสังฆานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก








ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/somdej-21.htm


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2014, 03:55:46 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 11:15:23 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)


ธชัคคสูตร


ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว


บทขัดธชคฺคสุตฺตํ

ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ
ปติฏฺฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยํ วิย สพฺพทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย
สพฺพูปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี
คณนา น จ มุตฺตานํ
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด
ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ



ธชัคคสูตร # ๑


เอวัม เม สุตังฯ
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดัลมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
เสด็จพระทับอยู่ที่เชตะวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกะเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถี
ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกขุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว

ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้

ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า


(หยุด)

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เรื่องดึงดำบรรพเคยมีมาแล้วเทวาสุระสังคาโม
สงครามแห่งเทพดากับอสูร

สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ
ได้เกิดประชิดกันแล้ว
อะถะโข ภิกขะเว สักโก
ครั้งนั้นแล ภิกขุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช
เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี
พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โส ปิหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา


อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี
ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี


อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายบแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิส
อันนั้นจักหายไป
สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ


อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ที่นั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน
อีสานัสสะ หิโว เทวะราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
อันนั้นจักหายไปดังนี้


ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล
สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี ก็ตาม
วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ วรุณ ก็ตาม
อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ อีสาน ก็ตาม
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ
อั้นนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่หายบ้าง
ตัง กิสสะเหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้



อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกขทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ ดังนี้้


(หยุด)

อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา (ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง (ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ (ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  (หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู
เป็นผู้ทรงรู้โลก (ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า (ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา
อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงตามระลึกถึงพระธัมม์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ให้เราได้เห็นทางพ้นทุกข์ เป็น ธัมมานุสสติ ดังนี้้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:49:52 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 11:17:10 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

ธชัคคสูตร # ๒

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธัมม์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อเราน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติ ย่อมเห็นผลจากการเจริญปฏิบัตินั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะไปรู้เห็นโดยผู้อื่นปฏิบัติแทนไม่ได้ เหมือนดั่งการกินข้าว
- ผู้กินข้าวเขาย่อมรู้รสชาติในคำข้าวนั้น มีความอิ่มท้องดำรงชีพอยู่ได้
  แต่ผู้ไม่ได้กินสักแต่เพียงมองดูเขากิน แม้จะรู้ดีว่าผู้กินนั้นจะต้องอร่อยและอิ่มท้อง
  แต่ก็ย่อมไม่รู้รสในคำข้าวนั้นและอิ่มท้องไม่ได้ฉันใด
- ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนย่อมเป็นดั่งคนกินข้าว
  ผู้ที่ละเลยต่อการเรียนรู้และปฏิบัติจริง แม้จะรู้ว่าพระธรรมนั้นเป็นสิ่งดี
  แต่ก็ไม่รู้รสชาติและรับรู้ความอิ่มเต็มจากการเจริญปฏิบัติ
  ดั่งคนไม่ได้กินข้าวสักแต่เพียงมองอยู่ฉันนั้น)


อะกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติเมื่อไหร่ ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติได้เมื่อนั้นไม่จำกัดกาล)

เอหิปัสสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่ปฏิบัติแล้วให้ผลแห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ไม่จำกัดกาล
เป็นธรรมอันเป็นเครื่องปฏิบัติใน มรรค และ ผล
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศล ที่ควรแก่การบอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ตาม)


โอปะนะยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศลที่ได้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน)


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นของอันวัญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้ (เป็นสิ่งที่วิญญูชน ๓ คือ ผู้รู้ ๓ จำพวก (แค่หัวข้อก็รู้ อธิบายจึงรู้ แนะนำจึงรู้) พึงรู้เฉพาะตน คือ จะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือมิใช่วาจะไปรู้แทนผู้อื่นได้)


ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธัมม์อยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธัมม์
อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระอริยะสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็น สังฆานุสสติ ดังนี้้


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว (คือ ผู้ที่เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน มีความสำรวมกาย-วาจา-ใจ อบรมกาย-วาจา-ใจ เจริญบนทางแห่งกุศลศีล-ทาน-ภาวนา เป็นผู้อยู่บนทางแห่งมรรค)

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว (คือ ผู้ที่ปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนตรงตามจริงไม่บิดเบือน คือเป็นผู้อยู่ในทางแห่งมรรคที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้นำพาไปสู่ผล)

ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว (คือ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามจริงอยู่บนทางแห่ง "มรรค ๔" ให้เป็นไปเพื่อเสวยใน "ผล ๔" อันเกิดจากทางแห่งมรรคนั้น)

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว (คือ สัมมาวาจา เจรจาชอบ และ สัมมากัมมันตะ ความประพฤติชอบ อันเกิดแต่ สัมมาทิฐิ + สัมมาสังปัปปะ กล่าวคือ ดำรงกาย-วาจา-ใจ ด้วยมีศีลสังวร เจริญใน "สัลเลขสูตร" เป็นต้น อันเป็นที่เกิดแห่ง สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้รู้เห็นตามจริงได้ดำเนินไปในสัมโพชฌงค์ ๗ จนไปสู่ผล คือ วิมุตติ)

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่(มรรค ๔ ผล ๔ คือ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลขึ้นไป) นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
ท่านเป็นผุ้ควรสักการที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน(ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก) ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

(หยุด)


สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

ตัง กิสสะ เหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อะภิรุ อัจฉัมภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อะนุตราสี อะปะลายีติฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทัง วตวานะ สุคะโต
พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า



อะรัญเญ รุกขะมูเล วาสุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า
หรือในรุกขมูล หรือในเรือนเปล่า


อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ
ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ    
โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ
พระธัมม์และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้


ภะยัง วา ฉัมภิตัตตังวา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:57:20 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 12:40:22 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

มงคลสูตร


บทความโดยย่อบทหนึ่งใน อนุสสติสูตร เป็นบทว่าด้วย เทวตานุสสติ

[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล..


อนุสสติฏฐานสูตร จบ

(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


ตำนานมังคละสุตตัง





       หมู่มนุษย์ทั้งหลาย ในชมพูทวีป มาประชุมกันที่ประตูเมือง แล้วต่างก็พากันพูดคุยกันว่า สิ่งที่ตนนับถือเป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างก็พากันถกเถียงกัน ในความเป็นมงคลของสรณะแห่งตน จนบังเกิดโกลาหล หาข้อยุติไม่ได้ พวกภุมเทวดา และเทพารักษ์ เมื่อได้ฟังพวกมนุษย์คิดและถกเถียงกัน ในข้อที่เป็นมงคล ก็พากันถกเถียงกันบ้าง จนเกิดโกลาหลรุกรามขึ้นไปจนถึงชั้นพรหม สิ้นเวลาไปจนถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดชี้เด็ดขาดลงไปได้ว่า สิ่งใดเป็นมงคล
       
       จนร้อนถึง ท้าวสุทธาวาส มหาพรหม จึงได้ประกาศ แก่หมู่เทพและมนุษย์ทั้งหลายว่า นับแต่นี้ไปอีก ๑๒ ปี องค์พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงตรัสแสดงมงคลทั้งหลาย ให้เราทั้งหลายฟัง ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
       
       เมื่อกาลล่วงเลยมา สิ้นเวลาได้ ๑๒ ปี พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติในโลกนี้แล้ว พวกเทวดาก็ต่างพากันไปถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลแก่องค์อินทร์ องค์อินทร์ก็ไม่สามารถตอบปัญหาได้ จึงชวนกันไปเฝ้า พระบรมศาสดา เพื่อทูลถามปัญหา แล้วก็มอบหน้าที่ให้เทพยดาองค์หนึ่งเป็นผู้ถามปัญหา
       
       เมื่อความรู้ไปถึง เทพทุกชั้นฟ้า ต่างก็พากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อสดับมงคลคาถา รวมเป็นมีจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ จักรวาล






กล่าวโดยอรรถกถา

               เทพบุตรนั้นเชิญเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลให้ประชุมกันในจักรวาลอันเดียวนี้ เพื่อต้องการจะฟังมงคลปัญหา ได้เห็นแล้วซึ่งเทวดา มารและพรหมทั้งปวงผู้เนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ประมาณเท่าปลายขนทรายเส้นหนึ่งเป็น ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง ๗๐ บ้าง ๘๐ บ้างผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ผู้รุ่งโรจน์ก้าวล่วง (เทพ, มาร, และพรหม) เหล่านั้น ด้วยพระสิริและพระเดช และได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ที่ยังไม่ได้มาในสมัยนั้นด้วยใจ เพื่อจะถอนเสียซึ่งลูกศรคือความสงสัยของเทพเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง จึงได้ทูลว่า
               เทพเจ้าและมนุษย์เป็นอันมากหวังอยู่ซึ่งความสวัสดี คือปรารถนาความสวัสดีแห่งตน จึงพากันคิดมงคลทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ตามความอนุมัติของเทพเจ้าเหล่านั้น และด้วยความอนุเคราะห์ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอจงตรัสบอกซึ่งมงคลอย่างสูงสุด คือว่าขอพระองค์ได้อาศัยความอนุเคราะห์ต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย โปรดตรัสบอกมงคลอันสูงสุด เพราะจะนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียวแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น. การไม่คบ คือการไม่เข้าไปนั่งใกล้ ชื่อว่า อเสวนา ในพระคาถานั้น. ในคำว่า พาลานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดย่อมอ่อนแอ เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า คนพาล.
               ถามว่า ย่อมอ่อนแอ เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า ชนทั้งหลายย่อมเป็นอยู่สักว่าลมหายใจเข้าออก. อธิบายว่า ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งคนพาลทั้งหลายเหล่านั้น.
               ในคำว่า ปณฺฑิตานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า บัณฑิต. อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมดำเนินไปด้วยญาณคติในประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ. ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.
               การคบ คือการเข้าไปนั่งใกล้ ได้แก่ การมีบุคคลนั้นเป็นสหาย การมีบุคคลนั้นเป็นเพื่อนชื่อว่า เสวนา.
               การทำสักการะ การทำความเคารพ การนับถือและการกราบไหว้ ชื่อว่า บูชา.
               คำว่า ปูชเนยฺยานํ หมายถึง ผู้ควรแก่การบูชา.
               คำว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวมการกระทำทั้งหมดคือ การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ เข้าด้วยกันแล้วตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด
               มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านจงถือเอาในคำที่ท่านถามว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นมงคลอันสูงสุดก่อนดังนี้ก่อน นี้คือการอธิบายบทแห่งพระคาถานี้.
               ส่วนการอธิบายเนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาลทั้งหลายดังนี้เป็นต้น.


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นข้อเจริญปฏิบัติที่เหล่าเทวดาทั้งหลายไปทูลกราบขอข้อเจริญปฏิบัติกับพระตถาคตผู้เป็นพระบรมครู มนุษย์และเทวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น






ความหมายของคำว่า มนุษย์

               สัตว์โลกที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.
               มนุษย์เหล่านั้นมี ๔ จำพวก คือ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ๑ พวกมนุษย์ชาวอมรโคยาน* ๑ พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ ๑.
               มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.


ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้

ทวีปต่างๆในจักรวาล
๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"

๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๙,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"

๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"

๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)" ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว






ขอขอบคุณที่มาบทขัดมังคลสุตตังโดยย่อจาก
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
ขอขอบคุณอรรถกถาจาก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=317
มนุษย์ จักรวาล หนื่นแสนโกฏฺิโลกธาตุ มีใน จูฬนีสูตร เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5985&Z=6056
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2014, 03:58:04 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 02:57:03 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

มงคลสูตร


(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นสิ่งอันผู้ชื่อว่า มนุษย์และเททวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น



เอวัมเม  สุตัง
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,            
เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,
สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ
อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,

อะถะ  โข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,
อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,

อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,
เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,

โอภาเสตะวา, เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด
ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,
อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,
เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น
ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,
พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ,
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก,
มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง,        
ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย,
พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง.
ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด.
                                               

(ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)

   อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑,          
ปิณฑิตานัญจะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑,
ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑,        
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,

   ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑,
ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญ อันทำแล้วในกาลก่อน ๑,
อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ,                                                    
การตั้งตนไว้ชอบ ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,
              
   พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ,
การได้ฟังมาแล้วมาก ๑, ศิลปศาสตร์ ๑,
วินะโย  ตะ  สุสิกขิโต,
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑,
สุภาสิตา   จะ  ยา  วาจา,
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงมารดาและบิดา ๑,
ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราห์ลูกและเมีย ๑,
อะนากุลา  จะ  กัมมันตา,
การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑,
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ,
การให้ ๑,  การประพฤติธรรม ๑,
ญาตะกานัญจะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑,
อะนะวัชชานะ  กัมมานิ,
กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑.
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   อาระตี  วีระตี  ปาปา,
การงดเว้นจากบาป ๑,
มัชชะปานา  จะ  สัญญะโม,
การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ๑.
อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ,
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑.
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   คาระโว  จุ  นิวาโต  จะ,
การเคารพ ๑   การไม่จองหอง ๑,
สันตุฏฐี  จะ  กะตัญญุตา,
ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑,
การเป็นผู้รู้อุปการะ อันท่านทำแล้วแก่ตน ๑,
กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ขันตี  จะ  โสวะจัสสะตา,
ความอดทน ๑,  การเป็นผู้ว่าง่าย ๑,
สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง,
การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑,
กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การเจรจาธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ตะโป  จะ  พรัหมะ  จะริยัญจะ,
ความเพียรเผากิเลส ๑,
ความประพฤติอย่างพรหม ๑,
อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑,
นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง,
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย
ยัสสะ  นะ  กัมปะติ,
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง,
ไม่มีโศก  ปราศจากธุลี   เกษม,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   เอตาทิสานิ  กัตวานะ,
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว,
สัพพัตถะ  มะปะราชิตา,
เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ,                                    
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง,
ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด  ของเทพยดา
และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.


- เมื่อเราทำไว้ในใจเจริญระลึกในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้มาเป็นที่ตั้งแห่งสติ ด้วยระลึกว่าพระตถาคตผู้เป็นสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสสอนแก่ท้าวมหาพรหมให้เจริญปฏิบัติดังนี้และแม้เทวดาหมู่ใดทั้งหลายบนสวรรค์ทั้งปวงก็พึงกระทำให้บรรลุบทในมงคงทั้ง ๓๘ ประการนี้ ด้วยเหตุดังนี้เราก็ควรน้อมนำปฏิบัติเจริญในใจอยู่เนืองๆซึ่งมงคลทั้ง ๓๘ ประการนั้นแล้วกระทำออกมาทางกายและวาจา ย่อมถึงซึ่งอนุสสติ ๖ อันว่าด้วย "เทวตานุสสติ" และ ทำให้เราเข้าถึงซึ่งทางแห่งมรรค อันสืบเนื่องไปสู่ผล ที่พระโสดาบันเป็นต้นพึงกระทำให้บรรลุบท เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่ก้าวลงสู่สิ่งที่ชั่วและแม้เมื่อจะละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่ก้าวล่วงสู่นรกย่อมขึ้นไปสู่แดนสุคติภูมิที่เหล่าเทวดาอาศัยอยู่ด้วยประการฉะนี้


ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:45:06 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 03:09:06 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

ตำนานรัตนสูตร ( ยังกิญจิ)


          ในอรรถกถารัตนสูตรกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชี มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหาร อาณาประชาราษฏร์ร่มเย็นเป็นสุข
          มาคราวหนึ่งในสมัยพุทธกาล เกิดฝนเเล้ง ขาดแคลนอาหารถึงขนาด คนยากจนอดตาย ซากศพถูกทิ้งเกลื่อน พวกอมนุษย์ได้กลิ่นก็พากันเข้าไปทำอันตรายซ้ำเต็ม ทำให้คนตายมากขึ้น อหิวาตกโรคก็เกิดโรคระบาด ทำให้คนตายเหลือที่คณานับ นครเวสาลีประสบภัย ๓ ประการพร้อมกันคือ


๑. ทุพภิกขภัย ( ข้าวยากหมากแพง )
๒. อมนุษย์ ภัย ( ผีรบกวน )
๓. โรคร้าย ( เกิดอหิวาตกโรค )


          เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

          เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

          เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

          พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

          ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

          ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

          บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

          พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

          เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

          ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

          พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา






บทขัดระตะนะสุตตัง


- ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ
- ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ

- ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ
- เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี

- โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
- เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.







ขอขอบคุณที่มาของ ตำนาน รตนสูตร
http://www.dhammathai.org/buddha/g74.php
ขอขอบคุณที่มาของ อรรถกถา ตำนาน รตนสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314
ขอขอบคุณที่มาของ บทขัดรตนสูตร
http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2014, 03:54:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 03:21:00 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

รตนสูตร # ๑

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี


ก. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณอันยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยอันไม่มีใครเสมอเหมือน
ได้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะดังพระสูตรที่เราจะสาธยายดังต้อไปนี้คือ


๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย
อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด

ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ฯ
ขอท่านทั้งหลาย
จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย
ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท
ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด


ข. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีพระคุณและพระกรุณาที่สูงค่าอันหาที่เปรียบไม่ได้
เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
แผ่ประกาศก้องไปสู่ ภูต สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ได้รับรู้ตามพระสูตรนี้
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจร
ะลึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างนั้น


๒. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ
ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

ค. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมอันสูงค่ากว่าธรรมใดๆ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงพระธรรมอย่างนั้น


๓. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น
ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ง. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อสมถะได้แก่กุศลสมาธิและวิปัสสนาญาณได้แก่ปัญญารู้แจ้ง
น้อมระลึกถึงคุณแห่งธรรมอันเป็นไปเพื่อสัมมาสมาธิ
และคุณแห่งสัมมาสมาธิอันทำให้จิตตั้งมั่น ให้เกิดเห็นยถาภูญาณทัสนะ
ถึงนิพพิทาญาณด้วยวิปัสสนาณาณอันถึงความหลุดพ้นเป็นวิมุตติ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสัมมาสมาธินัั้น


๔. ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

จ. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ซึ่งเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นั้นแล้ว
เป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ เป็นผู้ที่ควรแก่การทำทักษิณาทาน
เป็นผู้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบไป
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านัั้น


๕. เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น
ย่อมมีผลเป็นอันมาก

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๖. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี
ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
จึงได้เสวยอมตะรส คือ
ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๗. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว
ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด

ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย
อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เราตถาคตกล่าวว่า
สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๘. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย
ที่พระบรมศาสดา ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง
ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๙. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
สังโยชน์ ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ
อันพระโสดาบันละได้แล้ว
เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว
จากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน
คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๐. กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว
เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดไว้นี้
อันเราตถาคตกล่าวแล้ว

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๑. วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์
แห่งคิมหันตฤดูฉันใด

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระตถาคตเจ้า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ
ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน
เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็มีอุปมาฉันนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๒. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ

อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า
ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๓. ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว
กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
พระอริยบุคคลเหล่าใด
มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา
พระอรหันต์เหล่านั้น
มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว
ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน
เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:33:21 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 06:37:16 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

รตนสูตร # ๒

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี


ฉ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดังนี้คือ


๑๓. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ช. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระธรรมเป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ซ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระสงฆ์เป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:34:52 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 06:02:00 PM