เมษายน 20, 2024, 12:56:40 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)  (อ่าน 67308 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 09:30:29 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กะระณียะเมตตะสูตร


หลวงปู่ดู่ดำริ-บทสวดกรณียเมตตาสูตร บทแผ่เมตตานี้คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า





                    มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ลูกศิษย์ท่านนึงกำลังสนทนาธรรมกับหลวงพ่อดู่ หลวงพ่อดู่ท่านเปรยว่า "เคยได้ยินเรื่องพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าไหม" ลูกศิษย์เรียนท่านว่าไม่เคยได้ยินหมายถึงอะไร หลวงพ่อท่านเลยเล่าเรื่อง "เมื่อครั้งที่พระภิกษุออกไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าได้วันแรก ๆ เทวดาหรือรุกขเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้ ก็อวยชัยให้พรดี แต่เมื่ออยู่นานไป ก็ทำท่าเหมือนกับมาหลอกพระ ทำให้พระต้องหนีออกจากป่า จึงกราบทูลกับ พระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราจะมอบพระขรรค์เพชร ไปให้พวกเธอ พระขรรค์เพชร ในที่นี้ คือ การเจริญเมตตา หรือกรณียเมตตาสูตร ซึ่งมีอยู่ใน 12 ตำนาน เป็นการกล่าวถึงกิจของพระสงฆ์ที่ควรกระทำ การแผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ตั้งแต่สัตว์ไม่มีขา สัตว์มีขา ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุเอาบทกรณียเมตตาสูตรมาสวด แล้วก็แผ่เมตตาไปให้เทวดาทั้งหลายนั้น เทวดาทั้งหลายก็ไม่ได้มารบกวนท่าน ทำให้การบำเพ็ญสมณธรรมลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งเหล่านั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ หลวงพ่อท่านบอกว่า "เวลาที่ข้าทำพระขรรค์ให้แกนั้น ข้าก็ใช้บทนี้ด้วย บทนี้เป็นบทสำคัญ เวลาเดินป่าหรือเวลาไปที่หนึ่งที่ใดก็ตามให้ใช้สวด หมั่นสวดให้จำได้อยู่เสมอ มีอานุภาพมาก หรือแม้แต่เราผ่านศาลไปที่หนึ่งที่ใด เราใช้เพียงคำว่า เมตตัญจะ สัพพะโล กัสมัง มานะ เทวดาที่ประจำอยู่ศาลก็จะมาส่งเป็นทอด ๆ ไปจนสุดทาง







คาถาแผ่เมตตา (กรณียเมตตาสูตร) แบบย่อ หลวงปู่่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดังนี้




พุทธะ เมตตัง จิตตังมะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ

ธัมมะ เมตตัง จิตตังมะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ

สังฆะ เมตตัง จิตตังมะมะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ


ใช้ ภาวนาก่อนจบการปฏิบัติภาวนา เป็นการแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล หรือภาวนาบ่อย ๆเป็นพรหมวิหารภาวนา มีอานิสงค์มาก หลวงปู่เคยภาวนาคุยกับพญาช้างในป่่ามาแล้ว







ขอขอบคุณที่มาของบทสวด กะระณียะเมตตะสูตร-แปล จาก http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0

ขอขอบคุณที่มาของคำแปลและเกร็ดสาระความรู้จาก http://www.visudhidham.com/





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2014, 09:41:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 09:31:17 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กะระณียะเมตตะสูตร


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นมิตรที่ดีกับคนและสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้
เราจักกระทำคุณอันงาม เป็นกิจอันประกอบไปด้วยประโยชน์
ซึ่งเป็นกิจที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นพึงกระทำบรรลุบทอันดีแล้วดังนี้ คือ


กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ
ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

กิจอันใด อันพระอริยะเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว
กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ


สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด
ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย


สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งปวง
เราจักเป็นมิตรที่ดีกับสิ่งทั้วงปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในที่ใดๆในโลกนี้ก็ตาม
จะอยู่ในที่แคบ ที่กว้าง ที่โล่ง ในป่า ในโพรงไม้ ในน้ำ ในดิน หรือ ในซอกใดมุมใดพื้นที่ใดก็ตาม
เราจักจักไม่มีความติดใจข้องแวะต่อใคร จักเป็นผู้ไม่ผูกโกรธแค้นเคืองพยาบาทใคร
ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอความสุขสวัสดิ์ดีจงมีแก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง
(น้อมจิตสละแผ่เอาบุญบารมีทั้งปวงที่เรามีอยู่นั้น ได้นำพาความสุขสวัสดิ์ดี
ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงบนโลกนี้ไปสู่เขาเหล่านั้น)
ซึ่งมีเป็นต้นดังต่อไปนี้ คือ


เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา )
หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ


ทีฆา วา เย มะหันตา วา
มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

เหล่าใดยาวหรือใหญ่
หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี


ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด


นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ


มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

มารดาถนอมลูกคนเดียว
ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด


เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

พึงเจริญเมตตา มีในใจ
ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น


---------------------------------------------------

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

บุคคลพึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น


อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น
ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี

สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี
เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด


เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้


ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว



เมื่อเจริญจิตทำไว้ในในเช่นนี้ๆ อธิษฐานเช่นนี้ๆ พระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าย่อมสำแดงเดชไปทุกที่ บทสวดมนต์นี้ คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า เป็นอาวุธที่ว่าด้วยเมตตา ซึ่งเมื่อจะสวดมนต์กระทำบริกรรมภาวนาใดๆในบทสวดมนต์พระสูตรนี้ ให้พึงทำไว้ในใจตั้งจิตแผ่ของไปอยู่นี้ๆ "เมตตาพรหมวิหาร ๔ คือ ความรักใคร่ปารถนาดีอันน้อมไปในการสละ" ย่อมเกิดขึ้นแก่จิตเราทันที


ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=23152

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:21:52 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 09:31:52 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สัลเลขสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร ๓๙.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒



           เป็นพระสูตรที่แสดงธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสต่างๆ  และยังแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งในเบื้องต้นเรื่องรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ทั้ง ๘ นี้ว่า ยังไม่ใช่หนทางหรือเครื่องขัดเกลากิเลสให้ถึงความเป็นอริยะหรือพ้นทุกข์  เนื่องจากผู้เขียนเล็งเห็นว่าศรัทธาอันดีงามอย่างถูกต้องในพระสูตรจากพระองค์ท่าน เมื่อนำมาเจริญวิปัสสนาหรือพิจารณาด้วยปัญญาอาจเป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติบ้าง จักได้ปฏิบัติได้ถูกต้องแนวทางแห่งพุทธธรรมโดยแท้จริง  เนื่องจากในปัจจุบันนี้  การปฏิบัติการเผยแผ่มักไปเน้นกันเสียแต่ในรูปแบบของสมถสมาธิหรือสมถกรรมฐานกันอย่างจริงจังล้วนๆเป็นส่วนใหญ่ด้วยอวิชชา ทั้งโดยรู้ตัวด้วยเจตนาบางประการ และทั้งด้วยความไม่รู้หรืออวิชชาว่า ไม่ใช่หนทางด้วยความเข้าใจผิดต่างๆ  ต่างจึงไม่เคยนำพาไปเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญากันอย่างจริงจังเลย  หรือพิจารณาเพียงพอได้ชื่อว่าได้พิจารณาเท่านั้นเองไม่เห็นความสำคัญ และมักเข้าใจผิดไปว่า ได้เจริญวิปัสสนา หรือได้ปฎิบัติพระกรรมฐานอย่างบริบูรณ์ดีงามแล้ว จึงเกิดการหลงผิดไปติดเพลินกันเป็นจำนวนมากมาย  ด้วยการไปติดเพลินหรือนันทิในฌานหรือสมาธิในรูปแบบต่างๆ ดังได้อธิบายไว้ในเรื่องติดสุข และเรื่องถาม-ตอบปัญหาสมาธิ ที่กลับกลายเป็นการดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทธรรมเสียโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา อันกลับกลายเป็นยังให้เกิดทุกข์ชนิดรูปภพและอรูปภพอันเร่าร้อนเผาลนรุนแรงโดยไม่รู้ตัว  อันสัลเลขสูตรนี้ พระองค์ท่านได้ทรงตรัสไว้อย่างแจ่มแจ้งดีงามตามความเป็นจริงอันยิ่งแล้วว่า ฌาน,สมาธิอันเป็นมรรคปฏิบัติอันสำคัญยิ่งก็ตามที และเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ให้เป็นสุข  แต่ยังไม่ใช่เครื่องขัดเกลาหรือเครื่องดับกิเลสตัณหาแต่โดยตรง  ฌานสมาธิจึงยังต้องนำไปเป็นเครื่องหนุน ในการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญา จึงจะเป็นไปเพื่ออริยะหรือเพื่อการดับทุกข์อย่างแท้จริงได้


สัลเลขสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส



           [๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง(การกล่าวถึงเรื่องต่างๆในทางโลก) ย่อมเกิดขึ้นในโลก(ย่อมเกิดเป็นธรรมดา)
เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ  (ใน)การละทิฏฐิเหล่านั้น  (ใน)การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า

           [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตา(การกล่าวถึง ว่าเป็นตัวตนหรือของตัวของตน)บ้าง
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลก(การกล่าวถึงเรื่องต่างๆในทางโลก)บ้าง  ย่อมเกิดขึ้นในโลก(เป็นธรรมดา)
ก็ทิฏฐิเหล่านั้น  ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์(สิ่งที่จิตไปกำหนด)ใด  นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด  และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นมิใช่ของเรา  เรามิใช่นั่น  นั่นมิใช่อัตตาตัวตนของเรา  
ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น  การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น  ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
รูปฌาน ๔

            [๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมา)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เรา(ยัง)ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า  (ยัง)เป็น(เพียงแค่)ธรรมเครื่องอยู่(เครื่องอาศัยให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม เครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
อรูปฌาน ๔

            [๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน ฌานอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ




ขอขอบคุณที่มาของ ธรรมอธิบาย และ สัลเลขสูตรแปล จาก
http://www.nkgen.com/386.htm

**ในวงเล็บนั้นท่านผู้โพสท์และเจ้าของเวบใช้เป็นคำขยายความภาษาทางโลกเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเชิงอรรถ**


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2014, 01:05:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 11:27:51 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สัลเลขสูตร (๒)

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส



[๑๐๔]    ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ

เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.(ละความเบียดเบียนเป็นศีล)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.(เว้นจากปาณาติบาต)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.(เว้นจากอทินนาทาน)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์.(เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด เว้นจากการกล่าวเท็จ.(เว้นจากมุสาวาท)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.(เว้นจากปิสุณาวาจา)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.(เว้นจากผรุสวาจา)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.(เว้นจากสัมผัปปลาปะ)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะ(ทรัพย์สินสิ่งของมีค่า)ของผู้อื่น
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.(ละอภิชฌา)
[ละอภิชฌาได้ ย่อมเว้นจากปาณาติบาต,อทินนาทานและกาเมสุมิจฉาจารได้,ทำกุศลธรรมที่ควรเสพย์ให้เจริญขึ้นได้]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่มีจิตพยาบาท.
(ละพยาบาท [มีใจหมายทำร้ายให้ผู้อื่นถึงความฉิบหายจากความผูกโกรธ] ย่อมได้ "เมตตา")


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเห็นชอบ.(สัมมาทิฏฐิ)
[เห็นในอริยะสัจจ์]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความดำริชอบ.(สัมมาสังกัปปะ)
[กุศลวิตก ๓ เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วาจาชอบ.(สัมมาวาจา)
[กล่าวแต่วาจาที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์เว้นจากสุสาวาททั้งปวง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีการงานชอบ.(สัมมากัมมันตะ)
[ประพฤติชอบ (ทางกาย) มีศีลสังวร เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี อาชีพชอบ.(สัมมาอาชีวะ)
[เลี้ยงชีพชอบ ดำรงชีพชอบ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเพียรชอบ.(สัมมาวายามะ)
[สัมมัปปธาน ๔ เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สติชอบ.(สัมมาสติ)
[ระลึกชอบ,ระลึกรู้ชอบ,หวนระลึกรู้ชอบ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สมาธิชอบ.(สัมมาสมาธิ)
[จิตตั้งมั่นชอบ,ตั้งจิตมั่นชอบ มีจิตจดจ่อควรแก่งานให้รู็เห็นตามจริง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี ญาณชอบ.(สัมมาญาณ)
[ปัญญาชอบ ปัญญารู้เห็นตามจริง ยถาภูญาณทัสนะ ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วิมุติชอบ.(สัมมาวิมุตติ [หลุดพ้นชอบ])

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.(ความหดหู่และเคลิมเคลิ้มเซื่องซึม ความง่วงเหงาซึมเซา)
[ละโมหะ ย่อมได้ความแช่มชื่นผ่องใส มีความเพียรขยัน]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.(คิดนึกเรื่อยเปื่อย คิดวนเวียนปรุงแต่ง จิตส่งออกไปภายนอก)
[ละความฟุ้งซ่านย่อมได้ความสงบ คือ สมาธิ มีจิตตั้งมั่น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้าม พ้นจากวิจิกิจฉา.(ความคลางแคลงสงสัย)
[ละโมหะอันเป็นไปในความสงสัยย่อมได้ปัญญา เจริญปฏิบัติและพิจารณาจนเห็นตามจริง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความโกรธ.
[ละโทสะ ย่อมไม่เร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจ และ ได้เมตาและศีล]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่ผูกโกรธไว้.
(ละความผูกเวร ย่อมได้ เมตตาและศีล)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ สัปปุริสธรรม ๗)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ยกตนเทียมท่าน.
(ละมานะทิฐิ และ อัตตานุทิฐิ ไม่ยกตนเทียมท่าน ย่อมได้ ความสำรวมกายใจ,สัปปุริสธรรม ๗)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความริษยา.
[ละความริษยา ย่อมได้ มุทิตาพรหมวิหาร ๔ เป็นบารมี]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความตระหนี่.
[ละโลภะ ย่อมได้ กรุณาพรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นบารมี]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ โอ้อวด.
[ไม่โอ้อวดตน ย่อมละมานะทิฐิในตนได้ ย่อมละอัตตานุทิฐิได้ เข้าถึงสัปปุริสธรรม ๗]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ มีมารยา.
(ละมารยา ย่อมได้ สุจริต ๓ และ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ ดื้อด้าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ ดูหมิ่นท่าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ สัปปุริสธรรม ๗,มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ว่าง่าย.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี กัลยาณมิตร.
(ละการคบมิตรชั่ว คบกัลยาณมิตร ย่อมได้ สัมมาทิฐิ ปัญญา มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนไม่ประมาท.
[ความไม่ประมาท ย่อมสำเร็จได้ใน ศีลสงวร ความสำรวมกาย-วาจา-ใจ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนมีศรัทธา.(ความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล)
(ศรัทธา ๓ เชื่อเรื่องกรรม ผลของกรรม เชื่อการตรัสรู้เองโดยชอบของพระพุทธเจ้า)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น ผู้มีหิริในใจ.(ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.(ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสุตะมาก.(การเล่าเรียน สดับฟัง ศึกษาหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญ)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ปรารภความเพียร.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.(เจริญในสัมมัปปธาน ๔)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.
(อาศัยสัมาสติ+สัมมาสมาธิ จนเกิดปัญญารู้แจ้งตามจริง ทำลายความยึดถือตัวตน ความเห็นว่าเที่ยง เพื่อออกจากทุกข์)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

[๑๐๕]    ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาท(จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, การเกิดขึ้นแห่งความคิด, ความคิดที่เกิดขึ้น, ที่เกิดขึ้นแห่งความคิด, ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นหรือเกิดแบบกะทันหัน) ว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
    ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
    ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย





- จะเห็นได้ว่าทั้งหมดใน วรรค [๑๐๔] และ [๑๐๕] นี้ "พระพุทธเจ้าตรัสสอนเลยว่าการหลุดพ้นถึงวิมุตติได้ไม่ใช่แค่ จิต สมาธิ หรือ สติอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องมีศีลสังวรเป็นหลักอยู่ทุกขณะด้วย"
- ดังนั้นให้เราพึงระลึกเจริญในศีลอันงามนี้อยู่ทุกขณะ โดยต้องเจริญในพรหมวิหาร ๔ และ ทาน ร่วมไปด้วย ศีลก็จะหมดจดงดงาม ขจัดสิ้นซึ่งกิเลส เป็นมงคลอันดีนำพาไปซึ่งความเป็น พระอริยะ เป็นทางมรรคและผล เมื่อเราเจริญระลึกอยู่ใน ศีลสังวร(ความสำรวมระวังในศีลไม่เบียดเบียนทางกายและวาจา) เมื่อหวนระลึกถึงศีลอันเราทำบริบูรณ์ดีแล้วนั้น ก็เป็น "สีลานุสสติ" ความระลึกเอาศีลเป็นที่ตั้งแห่งสติ คือ ระลึกเอาศีลข้อที่ไม่ขาดไม่ทะลุ อันบริสุทธิ์ดีแล้วมาเป็นที่ตั้งแห่งสติ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2014, 11:44:12 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 25, 2014, 09:45:13 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สัลเลขสูตร (๓)

ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว



             [๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น

อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น
ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล
--> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน

             การงดเว้นจากปาณาติบาต --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
             การงดเว้นจากอทินนาทาน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
             การประพฤติพรหมจรรย์ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.
             การงดเว้นจากมุสาวาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
             การงดเว้นจากปิสุณาวาจา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
             การงดเว้นจากผรุสวาจา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
             การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
             ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
             ความไม่พยาบาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
             ความเห็นชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.   (สัมมาทิฏฐิ)
             ความดำริชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.   (สัมมาสังกัปปะ)
             การกล่าววาจาชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.   (สัมมาวาจา)
             การงานชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.   (สัมมากัมมันตะ)
             การเลี้ยงชีพชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.   (สัมมาอาชีวะ)
             ความเพียรชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.   (สัมมาวายามะ)
             ความระลึกชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.   (สัมมาสติ)
             ความตั้งใจชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.   (สัมมาสมาธิ)
             ความรู้ชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.   (สัมมาญาณ - สัมมาปัญญา)
             วิมุตติชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.   (สัมมาวิมุตติ)

(ทั้ง ๑๐ ข้างต้นนี้ เรียก สัมมัตตะ ๑๐  หรือการปฏิบัติหรือภาวะที่ถูกต้อง  หรือมรรคมีองค์ ๑๐ ของพระอริยเจ้า)

             ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถีนมิทธะครอบงำ.
             ความไม่ฟุ้งซ่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
             ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.
             ความไม่โกรธ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
             ความไม่เข้าไปผูกโกรธ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ.
             ความไม่ลบหลู่คุณท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.
             ความไม่ยกตนเทียมท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน.
             ความไม่ริษยา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
             ความไม่ตระหนี่ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
             ความไม่โอ้อวด --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
             ความไม่มีมารยา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
             ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน.
             ความไม่ดูหมิ่นท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
             ความเป็นผู้ว่าง่าย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
             ความเป็นผู้มีมิตรดี --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
             ความไม่ประมาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
             ความเชื่อ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
             ความละอายต่อบาป --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
             ความสะดุ้งกลัวต่อบาป --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
             ความเป็นพหูสูต --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
             การปรารภความเพียร --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
             ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
             ความถึงพร้อมด้วยปัญญา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
             ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก.


             [๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง
             กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน.
             การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
             การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ ลักทรัพย์ ฯลฯ

             ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับ ความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2014, 12:18:06 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 25, 2014, 09:45:55 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

สัลเลขสูตร (๔)

ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน



            [๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
             ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
             ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.

             ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด.
            ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล --> ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียน.
            การงดเว้นจากปาณาติบาต --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
            การงดเว้นจากอทินนาทาน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์.
            การประพฤติพรหมจรรย์ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.
            การงดเว้นจากมุสาวาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ.
            การงดเว้นจากปิสุณาวาจา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
            การงดเว้นจากผรุสวาจา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
            การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
            ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
            ความไม่พยาบาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
            ความเห็นชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
            ความดำริชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
            การกล่าววาจาชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด.
            การงานชอบ(ประพฤติชอบ [ทางกาย]) --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด.
            การเลี้ยงชีพชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
            ความเพียรชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
            ความระลึกชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
            ความตั้งใจชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจผิด.
            ความรู้ชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
            วิมุตติชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด.
            ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
            ความไม่ฟุ้งซ่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
            ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย.
            ความไม่โกรธ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ.
            ความไม่เข้าไปผูกโกรธ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ.
            ความไม่ลบหลู่คุณท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน.
            ความไม่ยกตนเทียมท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน.
            ความไม่ริษยา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา.
            ความไม่ตระหนี่ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่.
            ความไม่โอ้อวด --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด.
            ความไม่มีมารยา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา.
            ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน.
            ความไม่ดูหมิ่นท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
            ความเป็นผู้ว่าง่าย --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก.
            ความเป็นผู้มีมิตรดี --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
            ความไม่ประมาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท.
            ความเชื่อ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา.
            ความละอายต่อบาป --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
            ความสะดุ้งกลัวต่อบาป --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
            ความเป็นพหูสูต --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
            การปรารภความเพียร --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
            ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
            ความถึงพร้อมด้วยปัญญา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
            ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย --> เป็นทาง สำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก.

            [๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้ แสดงแล้ว
             เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
             ดูกรจุนทะ กิจอัน ใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ ทั้งหลายแล้ว
             ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.


             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.





พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตร ที่ ๘






๑. พระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระบรมครูยิ่งใหญ่ไม่มีใครเสมอเหมือนในสามโลก พระองค์ทรงได้ตรัสพระธรรมเช่นนี้ๆกับพระอรหันตสาวกของพระองค์ แล้วพระอรหันตสาวกของพระองค์นั้นได้นำมาเผยแพร่ให้เราได้รับรู้ถึงทางจพที่เข้าถึงมรรคและผล ซึ่งโดยใจความสรุปโดยย่อแล้ว พระตถาคตเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า การที่จะบรรลุสู่วิมุตติ หรือ มรรค ๑๐ ได้นั้น ไม่ใช่มีเพียง สมาธิ หรือ ปัญญาเท่านั้น แต่ต้องดำรงในศีล คือ ความไม่เบียดเบียนทางกายและวาจาด้วย หากไม่มีศีล มีสมาธิก็ยากที่จะเข้าสู่กุศล มีปัญญาก็เป็นปัญญาอันมิชอบ
๒. ดังนั้นแล้วด้วยเหตุอย่างนี้ๆ..ผู้ปฏิบัติเพื่อถึงความเป็นอริยะถึงวิมุตติความหลุดพ้นชอบจะขาดไม่ได้เลยซึ่งศีล อันเป็นฐานเป็นที่ตั้งให้ "จิตตุปบาทอันเป็นสัมมาเกิดขึ้น๑" เป็นฐานที่ตั้งให้ "เราหลีกเลี่ยงออกจากอภิชฌา อสัปปุริสธรรม อกุศลธรรมทั้งปวง๑" เป็นฐานที่ตั้งให้ "กาย-วาจา-ใจ ถึงซึ่งความเป็นเบื้องบน๑" เป็นฐานเป็นที่ตั้งให้ "เราเข้าถึงความดับสนิทซึ่งกิเลส๑"
๓. ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อย่อกล่าวถึงความถึงซึ่งทางแห่งพระอริยะ คือ มรรค และ ผล อันเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่แล้ว ต่องเจริญใน ศีล-สมาธ-ปัญญา สงเคราะห์ร่วมกัน ไม่อย่างนั้นจะถึงซึ่งทางแห่ง มรรค ๑๐ ไม่ได้เลย
๔. ดังนั้นแล้วพึงสำรวจดูศีลของตนและเจริญในสัลเลขะเบื้องต้นด้วยวิธีดังนี้
    ๔.๑ เมื่อตื่นขึ้นมาให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ พึงหายใจเข้าระลึก พุท หายใจออก ระลึก โธ จนจิตสงบสบาย (หากมีสติอยู่จะไม่หลับ หากสติมีน้อยจะหลับต่อทันทีครับข้อนี้จึงพึงมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราตื่นนอนแล้วกำลังทำสมาธิอยู่ มีสติระลึกรู้ว่าเรานั้นกำลังกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่)
    ๔.๒ พึงทำไว้ในในว่า เราจักเป็นมิตรที่ดีต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดบุคคลใดก็ตาม ไม่ตั้งความพอใจไม่พอใจต่อเขา จะไม่ติดใจข้องแวะต่อเขา จะไม่เป็นศัตรูกับใคร จะมีความปารถนาดีให้เขาด้วยความเป็นมิตรที่ดีดังนี้ ให้เต็มกำลังใจในเมตตานั้น
    ๔.๓ พึงหวนระลึกถึงศีล มีศีล ๕ เป็นต้น อันที่เราได้ทำมาดีแล้วตลอดวันได้สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว เป็น "สีลานุสสติ" เมื่อมีส่วนไหนที่ยังขาดอยู่ก็ตั้งใจเจริญให้บริบูรณ์ดีงาม ให้เต็มกำลังใจในศีลนั้น แล้วพึงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่กระทำไรๆทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทำร้ายบุคคลใด สัตว์ใดๆทั้งปวงบนโลกนี้
    ๔.๔ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้มีจิตสงเคราะห์ อนุเคราะห์ แบ่งปันให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ให้เต็มกำลังใจแห่งกรุณานั้น
    ๔.๕ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักทำลายความตะหนี่ ความโลภปรนเปรอตน จักถึงความเป็นผู้ให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ตามสติกำลังที่ทำได้ให้เต็มกำลังใจในทานนั้น
    ๔.๖ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้ไม่ริษยาใคร จักมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้เสร็จผลปารถนาอันดีและคงไว้ซึ่งภัณฑะของเขา แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ให้เต็มกำลังใจในมุทิตานั้น
    ๔.๗ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้วางใจไว้กลางๆ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี จะเว้นซึ่งอคติ ๔ คือ
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะชอบเป็นพิเศษ ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ความไม่ชอบ ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะไม่รู้จริง ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก ไม่รู้เท่าทันการณ์ หรือ เพราะสงสาร ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ ๑
    - ทำไว้ในใจว่าเราจะเจริญอย่างนี้ๆให้เต็มกำลังใจในอุเบกขานั้น
๕. เมื่อสำรวจดูตนดีแล้วพร้อมทำไว้ในใจที่จะเจริญปฏิบัติใน ศีล พรหมวิหาร ๔ ทาน สมาธิ ปัญญา แล้ว ความที่เราจะประครองอยู่ให้สำเร็จได้นั้น จะขาดไม่ได้เลย คือ "สัมมัปปธาน ๔" เพราะ ปธาน ๔ หรือ ความเพียร ๔ นี้เป็นการเจริญสติ มีสติดำรงมั่นใน กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เพียรละใน อกุศลที่ยังไม่เกิด หรือ เกิดขึ้นแล้ว๑ ทำกุศลให้เกิดขึ้น๑ คงกุศลไว้๑ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมไป๑ ประหารซึ่งอภิชฌาด้วยการเลือกธรรมที่ควรเสพย์ คือ ทำให้กุศลเกิดขึ้นอกุศลธรรมเสื่อมลงนั่นเอง ดำรงในศีลสังวร พรหมวิหาร๔ สมาธิ โดยอัตโนมัติ จนเกิดซึ่งปัญญาญาณเห็นธรรมที่ควรเสพย์บ้างกล่าวโดยย่อคือ เห็นสภาวะจริงว่าเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆที่ไม่น่าใคร่บ้างทำให้เกิดการรักษากุศลไว้ คงกุศลไว้ไม่ให้เสื่อม ด้วยมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ ไปจนถึง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2014, 03:04:53 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #21 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 08:35:31 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร # ๑

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด ฯ


[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า

  พ. ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด

   ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ


[๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า

  พ. ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ

[๖๗๖]   ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้
   ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ


  พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน ฯ

   ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ

  พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ

   ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ


[๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ


[๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖

มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น

ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป

ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก

เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ

พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ



[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี

ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน

สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย

อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ

๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก

รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง

แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา

แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก

ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง

นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก

โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ

หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญา(ความไม่หลง, ความรู้เห็นตามจริง, อโมหะ)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีสัจจะ(ความจริง, ความไม่อนุมาน, ความเป็นเหตุเป็นผล)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีจาคะ(การสละ, การให้ปัน, อโลภะ)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีอุปสมะ(ความสงบใจจากกิเลส)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

   ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔

นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ

พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติ(ความสงบ)เท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ

อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ



[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ

ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้

สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า

ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น

พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต

คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ



[๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา

เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ

ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป

ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย

ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา

ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ

ได้ ฯ



[๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย

นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม

ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว

ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน

กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน

และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม

ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น

แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ



[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป

ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ

ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ

ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา

ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ



[๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน

ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย

ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด

ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ

ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น

อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่

ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้

จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ



[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล

ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข

บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ

นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ

ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่

ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม

เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง

เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป

ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2014, 07:30:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 08:35:40 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร # ๒

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้

สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป

สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ

นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ

ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่

ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม

เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง

เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป

ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น

สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย

และผ่องแผ้ว ฯ



[๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง

ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู

ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย

และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง

ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม

อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ

เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา

อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล

ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ-

*จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้

ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่

อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา

ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน

นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้

เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ

เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น

ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่

อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน

และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้

อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม

ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น

จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย

เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่

หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง

อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา

นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่

ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน

ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต

เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น

ของสงบ ฯ



[๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้

จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น

ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ

เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ

เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ

รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี

กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก

อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ

หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง

ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่

นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ

ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่

ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน

เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก

ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ

อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล

นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท

ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม

นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว

ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย

ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น

อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม

รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้

กล่าวแล้ว ฯ



[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น

ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป

ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ

เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ

ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น-

*สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น

สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ

ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี

ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม

ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง

เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย

จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส

เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ

กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น

เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้

ของเราไว้เถิด ฯ



[๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา

พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ

ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล

พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า

แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี-

*พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่

ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ



[๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่
เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ
รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ
แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ


ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ

ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ

[๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ

[๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ
ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา ฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ




จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐







เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๘๗๔๘ - ๙๐๑๙. หน้าที่ ๓๗๐ - ๓๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2014, 07:32:14 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 08:35:55 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

มหาราหุโลวาทสูตร

เรื่องพระราหุล # ๑




            [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า
ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.


            พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ?

            พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.


            [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตรได้เห็น
ท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
ครั้งนั้น เวลาเย็น
ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?
ธาตุ ๕



            [๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.



            [๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.



            [๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.



            [๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.



            [๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ.



ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕


            [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อ
เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก
ไม่ครอบงำจิตได้.
ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ
เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตได้.



            [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ
ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
ดูกรราหุล
เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด
เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ
อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.



            [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลาย
บ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอ
จงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.



            [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอ
ได้.
ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้น
ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย
ลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.



            [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ
ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2014, 02:29:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #24 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2014, 07:55:12 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

มหาราหุโลวาทสูตร

เรื่องพระราหุล # #




การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

            [๑๔๕] ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาทได้. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละ
วิหิงสาได้. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.
เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้. เธอจง
เจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา
ภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.



อานาปานสติภาวนา

            [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.




จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.











             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๒๕๔๑ - ๒๖๘๑.  หน้าที่  ๑๑๑ - ๑๑๖.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_13




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2014, 02:41:21 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #25 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 02:44:19 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

ปุณโณวาทสูตร


            [๗๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะออกจากที่หลีก-
*เร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี-
*พระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-
*พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดสั่งสอนข้าพระ
องค์ ด้วยพระโอวาทย่อๆ พอที่ข้าพระองค์ได้สดับธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว
จะเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออก ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ฯ


            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

            ท่านปุณณะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ


            [๗๕๕] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วย
จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น
นันทิ(ความติดเพลิดเพลินยินดี) ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้นได้
เพราะนันทิเกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ ฯ


            ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             ดูกรปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             ดูกรปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             ดูกรปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             ดูกรปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุ
เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิย่อมเกิดแก่เธอผู้
เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้นได้ เพราะเหตุคือนันทิ
เกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ ฯ



            [๗๕๖] ดูกรปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น นันทิของเธอผู้ไม่เพลิด
เพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น ย่อมดับไป เพราะนันทิดับ
เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ ฯ


            ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             ดูกรปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             ดูกรปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             ดูกรปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             ดูกรปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิของเธอ
ผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น ย่อมดับไป
เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ ฯ


            ดูกรปุณณะ ก็เธออันเรากล่าวสอนด้วยโอวาทย่อๆ นี้แล้ว จักอยู่ใน
ชนบทไหน ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วย
โอวาทย่อๆ นี้แล้ว มีชนบทชื่อสุนาปรันตะ เป็นที่ที่ข้าพระองค์จักไปอยู่ ฯ



            [๗๕๗] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้ายหยาบช้า
นัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ เธอจักมีความคิด
อย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก
บริภาษข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยฝ่ามือ ข้าแต่พระผู้มี-
*พระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์มีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



            [๗๕๘] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักให้การ
ประหารเธอด้วยฝ่ามือ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยก้อนดิน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



            [๗๕๙] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยก้อนดิน เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีหนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยท่อนไม้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



            [๗๖๐] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยท่อนไม้ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยศาตรา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้น อย่างนี้ ฯ



            [๗๖๑] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยศาตรา เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยศาตรา ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาตราอันคม
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



            [๗๖๒] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลิดชีพ
เธอเสียด้วยศาตราอันคม เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ


            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักปลิดชีพ
ข้าพระองค์ด้วยศาสตราอันคม ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า มีเหล่า-
*สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่อึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต พากันแสวงหา
ศาตราสังหารชีพอยู่แล เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย ก็ได้ศาตราสังหารชีพแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



            [๗๖๓] พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วย "ทมะ" และ "อุปสมะ" ดังนี้แล้ว
จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้แล ดูกรปุณณะ เธอจงสำคัญกาลที่ควร
ในบัดนี้เถิด ฯ


            ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ แล้วเก็บเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรเดินทางจาริกไปยังที่ตั้งสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ได้ลุถึงสุนาปรันตชนบทแล้ว ฯ


             [๗๖๔] เป็นอันว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น
แล ท่านพระปุณณะได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทกลับใจแสดงตนเป็น
อุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง กลับใจแสดงตนเป็นอุบาสิกา
ประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง และตัวท่านได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓
ภายในพรรษานั้นเหมือนกัน ครั้นสมัยต่อมา ท่านได้ปรินิพพานแล้ว ฯ

             ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะที่
พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ นั้น ทำกาละเสียแล้ว เธอมีคติ
เป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร ฯ


            [๗๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตร เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรม
สมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุณณกุลบุตรปรินิพพานแล้ว ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ



จบ ปุณโณวาทสูตร ที่ ๓





             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๙๖๔๑ - ๙๗๔๕.  หน้าที่  ๔๐๘ - ๔๑๒.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2014, 10:53:11 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #26 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 02:44:32 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

อุปาลีสูตร # ๑

ธรรมสำหรับผู้ทำสมาธิ แล้วฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิโดยเฉพาะ # ๑


             [๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า
และราวป่าอันสงัด

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและ
ราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว
ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย

             ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักซ่องเสพเสนาสนะ
คือ ป่าและราวป่าอันสงัดผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน
ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า
ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่น
บ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตาม
ต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การ
ลงในน้ำลึก


             ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือ
ปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่
ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมา
แล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทัน
ได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักลอยขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็ก ย่อม
ไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อ
ไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวัง
ข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

             ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและคูถของ
ตน ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้เป็นการเล่นของ
เด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้น
พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความ
แก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายที่เป็นของเล่นของพวกเด็กๆ คือ
เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้ เล่นตวงทราย เล่น
รถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การ
เล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ ฯ
             อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความ
แก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ด้วยรูปทั้งหลาย
อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน
ชวนให้กำหนัด ด้วยเสียงทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอัน
บุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะ
ทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน
ชวนให้กำหนัด ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็น
การเล่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ ฯ
             อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของ
พระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้
ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

  คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น
แล้วได้ศรัทธาในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้
อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัด
แล้วไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกบวช
เป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่
แล้วปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต

.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยศีลสังวร)

             เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
  -  ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
  -  ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้
ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
  -  เว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด
เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตก
ร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน
สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ
กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วน
มากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ
ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
  -  ภิกษุนั้นเว้นขาดจากการ พรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี
งดการฉันในเวลาวิกาล
  -  เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรีและการดูการเล่นอันเป็น
ข้าศึกแก่กุศล
  -  เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของ
หอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว
  -  เว้นขาดจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
  -  เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย
เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอม และการฉ้อโกงด้วยเครื่องตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง
  -  เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
  -  ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ
ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด
     ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มีโทษเฉพาะตน ฯ

.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยสำรวมใจ อบรมใจ)

             ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ(ส่วนเล็กส่วนน้อย)
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่า
ย่อมรักษามนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน ฯ


.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยทรงสติสัมปชัญญะ)

             ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความ
รู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียด
ออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมทำความรู้สึก
ตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น
การพูด การนิ่ง


             ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์
สังวรอันเป็นอริยะนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่อง
เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้  หรืออยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้
บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความโลภในโลกแล้ว มีจิต
ปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย
คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ทั้งปวงอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2014, 12:19:26 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #27 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 02:45:42 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

อุปาลีสูตร # ๒

ธรรมสำหรับผู้ทำสมาธิ แล้วฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิโดยเฉพาะ # ๑


            ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการนี้ได้แล้ว
(ทุรพล คือ มีกำลังน้อย, อ่อนแอ, มัวหมอง, เสื่อมลง)
(ทําปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑ ,
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑,
-  นวิรณเ์ครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑,
-  นวิรณเ์ครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑,
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑.)

 สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
 ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้
 เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้
(ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการ
อยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึง
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลี
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีต
กว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
*ฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูกรอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการ
อยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของ
ภิกษุนั้นเป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์
เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี ฯ



จบสูตรที่ ๙






             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๔๖๑๐ - ๔๗๙๒.  หน้าที่  ๑๙๙ - ๒๐๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4610&Z=4792&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=99
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=24&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2014, 01:27:30 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #28 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 11:09:44 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)


อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕


๙. อุปาลีสูตร




              อรรถกถาอุปาลิสูตรที่ ๙              
               อุปาลิสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้.
               บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่าใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่าอรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่าวนปัตถะ เพราะละเลยแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้.
               บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน.
               บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวกที่ทำยาก.
               บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่ายๆ.
               บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว.
               ทรงแสดงอะไร.
               ทรงแสดงว่า แม้เมื่อกระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น. จริงอยู่ โลกนี้มีของเป็นคู่ๆ กันเป็นที่ยินดี.
               บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่ เหมือนนำไป เหมือนสีไป.
               บทว่า มโน ได้แก่ จิต.
               บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.
               ทรงแสดงอะไร.
               ทรงแสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่านด้วยเสียงใบหญ้าและเนื้อเป็นต้น และสิ่งที่น่ากลัวมีอย่างต่างๆ.
               บทว่า สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก.
               บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่ จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
               บทว่า กณฺณสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหู.
               บทว่า ปิฏฺฐิสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหลัง.
               ทั้งสองอย่างนั้น การจับงวงและรดน้ำที่หูสองข้าง ชื่อว่ากัณณสันโธวิกะ. รดน้ำที่หลัง ชื่อว่าปิฏฐิสันโธวิกะ.
               บทว่า คาธํ วินฺทติ ได้แก่ ได้ที่พึ่ง.
               บทว่า โก จาหํ โก จ หตฺถินาโค ความว่า เราเป็นอะไร พระยาช้างเป็นอะไร ด้วยว่าทั้งเราทั้งพระยาช้างนี้ก็เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งพระยาช้างนี้ก็ ๔ เท้า ทั้งเราก็ ๔ เท้า แม้เราทั้งสองก็เสมอๆ กันมิใช่หรือ.
               บทว่า วงฺกํ ได้แก่ ไถน้อยๆ สำหรับเด็กเล่น.
               บทว่า ฆฏิกํ ได้แก่ เครื่องเล่นเวียนไปรอบๆ. ท่านอธิบายว่า เครื่องเล่นที่จับหางไว้บนอากาศวางหัวลงดิน หมุนเวียนไปทั้งข้างล่างข้างบน (กังหันไม้).
               บทว่า จิงฺคุลิกํ ได้แก่ เครื่องเล่นมีล้อที่ทำด้วยใบตาลเป็นต้น หมุนไปได้เพราะลมดี (กังหันใบไม้). ทะนานใบไม้เรียกว่า ปัตตาฬหกะ พวกเด็กๆ เอาใบไม้ต่างทะนานนั้นตวงทรายเล่น.
               บทว่า รถกํ ได้แก่ รถน้อยๆ.
               บทว่า ธนุกํ ได้แก่ ธนูน้อยๆ.
               คำว่า โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ในโลกนี้แล.
               บทว่า อิงฺฆ ในคำว่า อิงฺฆ ตฺวํ อุปาลิ สงฺเฆ วิหราหิ นี้เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเตือนพระเถระ เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ท่ามกลางสงฆ์ มิใช่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระนั้น.
               เพราะเหตุไร.
               เพราะพระศาสดาทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในเสนาสนะป่าจักบำเพ็ญได้ แต่วาสธุระอย่างเดียว (วิปัสสนาธุระ) บำเพ็ญคันถธุระไม่ได้ แต่พระเถระเมื่ออยู่ท่ามกลางสงฆ์บำเพ็ญธุระแม้ทั้งสองนี้ได้ แล้วจักบรรลุพระอรหัต ทั้งจักเป็นหัวหน้าในฝ่ายวินัยปิฎก ดังนั้นจำเราจักกล่าวความปรารถนาแต่ก่อนและบุญเก่าของเธอ จักสถาปนาภิกษุนี้ไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศของเหล่าภิกษุผู้ทรงวินัยในท่ามกลางบริษัท เมื่อทรงเห็นความข้อนี้ จึงไม่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระ.





จบอรรถกถาอุปาลิสูตรที่ ๙



              


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2014, 04:07:17 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #29 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 11:10:10 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก
             [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
             อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
             [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่ง
ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของ
สมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้
ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่อง
ความเห็นของข้าพเจ้า.
             อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้นส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้าง
ธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
             [๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความ
ทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความ
เบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ
การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ใน
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา
ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความ
ทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย
ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควร
แก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็น
อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี
ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชน
นั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน
ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
             [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย
เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า
เป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความ
อยู่ในอำนาจของกายในกายได้.
เวทนา ๓
             [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.
             [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข-
*ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
             [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=13&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2014, 10:46:40 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 09, 2024, 04:24:23 AM