เมษายน 19, 2024, 11:36:22 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)  (อ่าน 67303 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #30 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2014, 10:47:04 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก
               ๔. อรรถกถาทีฆนขสูตร               
               ทีฆนขสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูกรขาตายํ๑- ณ ถ้ำมีชื่ออย่างนี้ว่า สูกรขาตา.
____________________________
๑- บาลีว่า สูกรขตายํ.

               มีเรื่องกล่าวไว้ว่า ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ถ้ำนั้นเกิดภายในพื้นแผ่นดินซึ่งงอกขึ้นในพุทธันดรหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง สุกรตัวหนึ่งคุ้ยฝุ่นในที่ใกล้เขตปิดถ้ำนั้น. เมื่อฝนตกได้ปรากฏเขตปิดเพราะถูกฝนชะ พรานป่าคนหนึ่งเห็นเข้าจึงคิดว่า เมื่อก่อนไม่มีผู้มีศีลอยู่ในถ้ำ เราจักปรับปรุงถ้ำนั้น. จึงขนฝุ่นออกกวาดถ้ำให้สะอาด แล้วทำฝารอบด้านประกอบประตูหน้าต่าง ทำถ้ำให้มีบริเวณลาดด้วยทรายดังแผ่นเงิน ทำอย่างวิจิตร ฉาบปูนขาวจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี แล้วปูเตียงและตั่งได้ถวายเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้ำลึกขึ้นลงสะดวก.
               บทว่า สูกรขาตายํ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงถ้ำนั้น.
               บทว่า ทีฆนโข เป็นชื่อของปริพาชกนั้น.
               บทว่า อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้า.
               เพราะเหตุไร ทีฆนขปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้า.
               เล่ากันมาว่า ทีฆนขปริพาชกนั้น เมื่อพระเถระบวชได้ครึ่งเดือนคิดว่า หลวงลุงของเราไปสู่ลัทธิอื่นที่ผิดแล้วดำรงอยู่เป็นเวลานาน. แต่บัดนี้เมื่อหลวงลุงไปเฝ้าพระสมณโคดมได้ครึ่งเดือนแล้ว ประสงค์จะไปด้วยหวังว่า เราจะฟังข่าวของหลวงลุงนั้น. เราจักรู้คำสอนอันรุ่งเรืองนั้นหนอ. เพราะฉะนั้น ทีฆนขะจึงเข้าไปเฝ้า.
               บทว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
               นัยว่า ในขณะนั้น พระเถระยืน๒- ถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. ปริพาชกด้วยมีหิริโอตตัปปะในหลวงลุง จึงยืนทูลถามปัญหา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ดังนี้.
____________________________
๒- บาลีว่า นิสินฺโน นั่ง.

               บทว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา คือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ควรแก่เรา.
               ปริพาชกกล่าวด้วยความประสงค์ว่าปฏิสนธิทั้งหลายไม่ควร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันปริพาชกนั้นแสดงว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าขาดสูญ.
               แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพรางความประสงค์ของปริพาชกนั้น แล้วทรงแสดงถึงโทษในความไม่ควร จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยาปิ โข เต ดังนี้.
               ในบทนั้นมีความว่า แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร คือ แม้ความเห็นที่ท่านชอบใจยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร.
               บทว่า เอสา เจ เม โภ โคตม ทิฏฺฐิ ขเมยฺย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หากความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า. ความว่า หากความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราของเราผู้เห็นว่า เพราะสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา พึงควรไซร้. ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา. แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น. แม้ความเห็นนั้นก็ควรเหมือนความเห็นนี้แม้ถือเอาด้วยการถือเอาสิ่งทั้งปวงฉันนั้น. ปริพาชกกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรารู้โทษที่ยกในวาทะของตนขึ้นอย่างนี้ แล้วรักษาวาทะนั้น. แต่โดยอรรถย่อมรับว่าความเห็นนั้นของปริพาชกไม่ควรแก่เราดังนี้.
               อนึ่ง สิ่งทั้งปวงไม่ชอบใจแก่เราด้วยความเห็นนั้นของผู้ที่มีความเห็นไม่ควรไม่ชอบ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นความเห็นที่ชอบใจ. แม้ผู้นั้นพึงเป็นผู้ไม่ควรไม่ชอบใจ เพราะเหตุนั้นจึงย่อมรับได้ว่า สิ่งทั้งปวงย่อมควรย่อมชอบใจ. แต่ปริพาชกนั้นไม่รับข้อนั้น. ย่อมถือความขาดสูญแห่งอุจเฉททิฏฐิแม้นั้นอย่างเดียวเท่านั้น.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิโต โข เต อคฺคิเวสฺสน ฯลฯ อญฺญญฺจ ทิฏฺฐึ อุปาทิยนฺติ ความว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นมากกว่า คือมากกว่าคนที่ละได้ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้นบทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่าผู้ละได้. ความว่า คนเหล่าใดละได้ คนเหล่านั้นจักถามว่า คนเหล่าใดเล่าละไม่ได้. และคนเหล่านั้นแหละมีมากกว่า.
               หิ อักษรในบทนี้ว่า พหู หิ พหุตรา มีมาก คือมากกว่า นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มากกว่า มากกว่า.
               แม้ในบทว่า ตนู หิ ตนุตรา มีน้อยคือน้อยกว่า ตอนหลังก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า เย เอวมาหํสุ คือ ชนเหล่าใดกล่าวแล้วอย่างนี้.
               บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น คือยังละความเห็นเดิมไม่ได้ ยังยึดถือความเห็นอื่นอีก.
               อนึ่ง ในบทนี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้
               ยึดถือแม้ความเที่ยงแล้ว ก็ไม่ละความเที่ยงนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความขาดสูญหรือ ความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความขาดสูญแล้ว ก็ไม่ละความขาดสูญนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความเที่ยง หรือความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความเที่ยงแต่บางอย่างแล้วไม่ละความเที่ยงแต่บางอย่างนั้น ไม่สามารถยึดถือความเที่ยงหรือความขาดสูญได้.
               อนึ่ง ไม่ละความเที่ยงเดิม สามารถยึดถือความเที่ยงอื่นได้.
               อย่างไร.
               เพราะสมัยหนึ่งยึดถือว่ารูปเที่ยงแล้ว สมัยต่อมาไม่ยึดถือรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเที่ยง แม้เวทนาก็เที่ยง แม้วิญญาณก็เที่ยง.
               ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงแต่บางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะ ก็เหมือนในขันธ์.
               ท่านกล่าวบทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นดังนี้ หมายถึงความข้อนี้.
               พึงทราบความในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่ายังละไม่ได้. ความว่า ผู้ใดยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจักถามว่า ผู้ใดเล่าละได้. ผู้นั้นแหละมีน้อยกว่า.
               บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ น อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และยังไม่ยึดถือความเห็นอื่น. ความว่า ละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ถือเอาความเห็นอื่น.
               อย่างไร.
               เพราะในสมัยหนึ่งยึดถือว่า รูปเที่ยง แล้วสมัยต่อมาเห็นโทษในความเห็นนั้น แล้วละได้ด้วยคิดว่า ความเห็นของเรานี้หยาบ คือย่อมสละได้ว่า มิใช่ความเห็นว่ารูปเที่ยงอย่างเดียวเท่านั้นหยาบ เห็นว่าแม้เวทนาก็เที่ยงหยาบ แม้วิญญาณก็เที่ยงหยาบเหมือนกัน.
               ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงบางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะก็เหมือนในขันธ์ ฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่น.
               บทว่า สนฺติ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุไรเจ้าลัทธิที่ถือว่าขาดสูญนี้ ย่อมปิดบังลัทธิของตน แต่เมื่อกล่าวคุณของลัทธินั้นจักทำลัทธิของตนให้ปรากฏ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลัทธิที่เหลือเป็นอันเดียวกันแล้ว เพื่อทรงแสดงแยกจากกันจึงทรงปรารภเทศนานี้.
               พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สราคาย สนฺติเก ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ดังต่อไปนี้. ใกล้กิเลสเครื่องยินดีในวัฏฏะด้วยอำนาจราคะ คือใกล้กิเลสเครื่องผูกในวัฏฏะ ด้วยเครื่องผูกคือตัณหาและทิฏฐิ.
               อธิบายว่า กลืนด้วยความยินดีในตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐินั่นเองแล้วใกล้ความยึดมั่นและความถือมั่น.
               พึงทราบความในบทมีอาทิว่า วิราคาย สนฺติเก ใกล้เพื่อคลายความกำหนัดดังต่อไปนี้
               พึงทราบความโดยนัยมีอาทิว่า ใกล้เครื่องความยินดีในวัฏฏะ.
               อนึ่ง ในบทนี้ ความเห็นว่าเที่ยงมีโทษน้อย มีความคลายช้า. ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก มีความคลายเร็ว.
               อย่างไร.
               เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัว พอใจยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมไม่สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษน้อย คลายช้า.
               ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมละความเห็นได้เร็ว สามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าได้. เมื่อไม่สามารถก็สะสมบุญบารมีเป็นสาวกแล้วนิพพาน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก คลายเร็ว.
               แต่ปริพาชกนั้นกำหนดความนั้นไม่ได้ จึงพรรณนาสรรเสริญความเห็นนั้น ครั้นกำหนดได้ว่า ความเห็นของเราดีแน่นอน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุกฺกํเสติ เม ภวํ ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
               บัดนี้ เพราะปริพาชกนี้เปี่ยมด้วยความเห็นว่าขาดสูญเท่านั้น ดุจน้ำเต้าขมเต็มด้วยน้ำส้ม. ปริพาชกนั้นยังทิ้งน้ำส้มไม่ได้ จึงไม่สามารถใส่น้ำมันน้ำผึ้งเป็นต้นลงในน้ำเต้า. แม้ใส่ลงไปแล้วก็ถือเอาไม่ได้ฉันใด ปริพาชกนั้นยังละความเห็นนั้นไม่ได้ จึงไม่ควรเพื่อได้มรรคผลฉะนั้น. เพราะฉะนั้นเพื่อให้ปริพาชกละทิฏฐินั้น จึงทรงเริ่มบทมีอาทิว่า ตตฺร อคฺคิเวสฺสน.
               บทว่า วิคฺคโห คือ การทะเลาะ.
               บทว่า เอวเมตาสํ ทิฏฺฐีนํ ปหานํ โหติ การละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้ คือ ครั้นเห็นโทษแห่งการทะเลาะแล้วจึงละทิฏฐิเหล่านั้นได้.
               ปริพาชกนั้นคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการทะเลาะเป็นต้นนี้. จึงละความเห็นว่าขาดสูญนั้นได้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรัสว่า เราจักให้ปริพาชกบำเพ็ญโอสถอันอมตะไว้ในหทัย ดุจบุคคลใส่เนยใสและเนยข้นเป็นต้น ลงในน้ำเต้าที่คายน้ำส้มออกแล้วฉะนั้น เมื่อจะทรงบอกวิปัสสนาแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อยํ โข ปน อคฺคิเวสฺสน กาโย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ก็กายนี้เป็นที่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้.
               ท่านกล่าวความของบทนั้นไว้แล้วในวัมมิกสูตร.
               แม้บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.
               บทว่า โย กายสฺมึ ฉนฺโท ได้แก่ ความอยากในกาย.
               บทว่า เสนฺโห ความเยื่อใย คือความเยื่อใยด้วยตัณหา.
               บทว่า กายนฺวยตา คือความอยู่ในอำนาจของกาย. อธิบายว่า กิเลสอันเข้าไปสู่กาย.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปกรรมฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอรูปกรรมฐานจึงตรัสว่า ติสฺโส โข เวทนา ๓ เป็นอาทิ.
               เมื่อจะทรงแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นไม่ปนกัน จึงตรัสว่า ยสฺมึ อคฺคิเวสฺสน สมเย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ในสมัยใดเป็นอาทิ.
               ความย่อในบทนั้นมีดังนี้
               สมัยใด เสวยเวทนาอย่างเดียวในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้น สมัยนั้นเวทนาอื่นชื่อว่านั่งคอยดูวาระหรือโอกาสของตนย่อมไม่มี. โดยที่แท้เวทนายังไม่เกิดหรือหายไปดุจฟองน้ำแตก.
               บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป.
               บทว่า น เกนจิ วิวทติ ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ คือย่อมไม่กล่าวร่วมกันกับแม้พวกมีวาทะว่าขาดสูญว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยงเพราะมีทิฏฐิว่าเที่ยง. ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับผู้มีวาทะว่าเที่ยงบางพวกว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยง เพราะถือเอาทิฏฐิว่าเที่ยงนั้นนั่นแหละ. พึงประกอบเปลี่ยนแปลงวาทะแม้ ๓ อย่างด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า ยญฺจ โลเก วุตฺตํ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน คือพูดไปตามโวหารที่ชาวโลกพูดกัน.
               บทว่า อปรามสํ ไม่ยึดถือ คือไม่ยึดถือธรรมไรๆ ด้วยการถือมั่น
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า๓-
                         ภิกษุใด เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะบรรลุพระอรหัต
                         เป็นผู้ทรงร่างกายไว้เป็นครั้งสุดท้าย ภิกษุนั้นพึงกล่าว
                         ว่าเราย่อมกล่าวดังนี้บ้าง พึงกล่าวว่าพวกเขาย่อมกล่าว
                         กะเราดังนี้บ้าง เป็นผู้ฉลาด รู้สิ่งกำหนดรู้กันในโลก
                         พึงพูดไปตามโวหารนั้น.
               พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า๔- ดูก่อนจิตตะ ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก ภาษาของชาวโลก โวหารของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ.
____________________________
๓- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๕   ๔- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๒

               บทว่า อภิญฺญา ปหานมาห พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเที่ยงแห่งธรรมเหล่านั้นในบรรดาความเที่ยงเป็นต้นด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยง. ทรงรู้ความขาดสูญ ความเที่ยงแต่บางอย่างด้วยปัญญารู้ยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยงแต่บางอย่าง. ทรงรู้รูปด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละรูป พึงทราบความในบทนี้โดยนัยมีอาทิดังนี้แล.
               บทว่า ปฏิสญฺจิกฺขโต เมื่อพระสารีบุตรสำเหนียก คือเห็นตระหนัก.
               บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจิ จิตพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือจิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันดับแล้วด้วยความดับสนิทคือไม่เกิดอีกเพราะไม่ถือมั่น.
               ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขาตักให้ผู้อื่นแล้ว บรรเทาความหิวลงได้ เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณและปัญญา ๑๖ แล้วดำรงอยู่.
               ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย.
               ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔.
               องค์ ๔ เหล่านี้ คือวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.

               จบอรรถกถาทีฆนขสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #31 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2014, 11:09:55 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
๑๐. อนุรุทธสูตร
             [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่
ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่
ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ
ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วย
หมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้
มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล
ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ
แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไป
ปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ
ที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะ
ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่
ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ
ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย
ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด
แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้
สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี
คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี
ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ
จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต
ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก
ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด
ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-
*วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก
๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความ
ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคล
ผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้
ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มี
ปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบ
ใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น
เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ-
*อรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้
ในเวลานั้นว่า
                          พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
                          ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
                          พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ
                          ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
                          ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง
                          ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ
                          วิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
                          กระทำแล้ว ฯ
จบคหปติวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. อุคคสูตรที่ ๑  ๒. อุคคสูตรที่ ๒  ๓. หัตถสูตรที่ ๑
๔. หัตถสูตรที่ ๒  ๕. มหานามสูตร  ๖. ชีวกสูตร  ๗. พลสูตรที่ ๑
๘. พลสูตรที่ ๒  ๙. อักขณสูตร  ๑๐. อนุรุทธสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๔๗๑๗ - ๔๘๗๖.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๑๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=4717&Z=4876&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #32 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:50:23 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ ว่าด้วย อนุสสติ ๖ # ๑

เรื่องเกี่ยวกับอนุสสติ

อนุสสติเป็นธรรมในหมวดแห่งสมถะ เพื่อความเป็นไปแห่งสมาธิและความหลุดพ้นครับ ในวรรคที่ยกมาวันนี้มีหลายพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับอนุสสติ น่าสนใจมากๆครับ

พระสูตรยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ขอขอบพระคุณท่าน พญาเหยี่ยว

ที่มาจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aragorn&month=03-2006&date=02&group=4&gblog=78


***********************************

อนุตตริยวรรคที่ ๓


๑. สามกสูตร



[๒๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหาร ชื่อโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่ง เมื่อปฐมยามผ่านไป มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณีย์วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาตนนั้นได้กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาตนนั้นทราบว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัย จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ฯ

ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาตนหนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณีย์วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ครั้นเทวดาตนนั้นได้กล่าวคำนี้แล้ว อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้วได้หายไป ณ ที่นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ด้วยยาก ที่เธอทั้งหลายเสื่อมจากกุศลธรรม แม้เทวดาก็รู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๓ ประการแม้เหล่าอื่น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จักเสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล และชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวงก็ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ฯ
[ธรรมอันเป็นที่ตั้งของความเสื่อมจากกุศลธรรมของภิกษุ6ประการคือ
1.ความเป็นผู้ชอบการงาน ไม่ปฏิบัติธรรม
2.ความเป็นผุ้ชอบคุย
3.ความเป็นผู้ชอบหลับ
4.ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
5.ความเป็นผู้ว่ายาก
6.ความเป็นผุ้มีมิตรชั่ว]


จบสูตรที่ ๑





๒. อปริหานิยสูตร

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จักไม่เสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวงก็ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ฯ
[ธรรมอันเป็นที่ตั้งของความไม่เสื่อมจากกุศลธรรมของภิกษุ6ประการคือ
1.ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
2.ความเป็นผุ้ไม่ชอบคุย
3.ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ
4.ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
5.ความเป็นผู้ว่าง่าย
6.ความเป็นผุ้มีมิตรดี]


จบสูตรที่ ๒




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 10:14:49 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #33 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:52:20 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๒

๓. ภยสูตร

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า ทุกข์ นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค นี้เป็นชื่อของกาม คำว่า ฝี นี้เป็นชื่อของกาม คำว่า เครื่องขัดข้อง นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม นี้เป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจากภัยแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่าภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่าทุกข์ ... โรค ... ฝี ... เครื่องขัดข้อง ... เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้ ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในปัจจุบัน ไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตม นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่งทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง
เปือกตม ว่าเป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะเห็นภัย
ในการยึดถือ ซึ่งเป็นแดนเกิดของชาติและมรณะ ชนทั้งหลาย
จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพาน อันเป็นที่
สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้น ถึงแดนเกษม มีสุข ดับ
สนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวรและภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง ฯ
[คำว่ากามนี้อาจเรียกได้เป็นอย่างอื่นอีก6ลักษณะคือ
1.เรียกชื่อของกามว่าภัย เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากภัยในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
2.เรียกชื่อของกามว่าทุกข์ เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากทุกข์ในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
3.เรียกชื่อของกามว่าโรค เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากโรคในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
4.เรียกชื่อของกามว่าฝี เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากฝีในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
5.เรียกชื่อของกามว่าเครื่องขัดข้อง เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากเครื่องขัดข้องในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
6.เรียกชื่อของกามว่าเปือกตม เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากเปือกตมในปัจจุบันและในสัมปรายภพ]


จบสูตรที่ ๓





๔. หิมวันตสูตร


[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า ฯ
[ภิกษุประกอบด้วยธรรม6ประการพึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม6ประการนั้นคือ
1.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
2.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ
3.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ
4.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ
5.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
6.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ]


จบสูตรที่ ๔





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 10:14:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #34 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 10:02:25 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๓

๕. อนุสสติฏฐานสูตร

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
[พระผุ้มีพระภาคตรัสสอนถึงอนุสสติ 6ประการ คือ
1.อริยสาวกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า พระองค์เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือพุทธานุสสติ
2.อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผุ้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือธรรมานุสสติ
3.อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผุ้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นเนื้อนาบุญของโลก เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสังฆานุสสติ
4.อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่เศร้าหมอง เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสีลานุสสติ
5.อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ปราศจากความตระหนี่ สละทรัพย์ของตนเป็นทานแก่ผุ้มีธรรมอยู่เนืองๆ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือจาคานุสสติ
6.อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด จึงถึงซึ่งความเป็นเทวดานั้น อันศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น แม้เราก็มีอยู่ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือเทวตานุสสติ]


จบสูตรที่ ๕





๖. กัจจานสูตร

[๒๙๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงโอกาสได้ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสสติ ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบจญกามคุณ อริยสาวกนั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ ฯลฯ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ จาคะ ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ อริยสาวกผู้นั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้การถึงโอกาสได้ ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
[ท่านพระมหากัจจานะได้เทศนาธรรมเรื่องอนุสสติ6ประการว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ในข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ถึงโอกาสที่จะหลุดพ้นในโลกที่คับแคบเพราะประกอบด้วยกามคุณ5 อนุสสติ6ประการคือ
1.อริยสาวกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า พระองค์เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือพุทธานุสสติ
2.อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผุ้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือธรรมานุสสติ
3.อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผุ้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นเนื้อนาบุญของโลก เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสังฆานุสสติ
4.อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่เศร้าหมอง เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสีลานุสสติ
5.อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ปราศจากความตระหนี่ สละทรัพย์ของตนเป็นทานแก่ผุ้มีธรรมอยู่เนืองๆ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือจาคานุสสติ
6.อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด จึงถึงซึ่งความเป็นเทวดานั้น อันศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น แม้เราก็มีอยู่ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือเทวตานุสสติ]



จบสูตรที่ ๖




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 10:15:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #35 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 10:03:18 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๔

๗. สมยสูตรที่ ๑

[๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้นภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อผมอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
[พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนว่า เวลาที่ควรแก่การเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ คือ
1.ภิกษุถูกกามราคะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละกามราคะนั้น
2.ภิกษุถูกความพยาบาทครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาทนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละความพยาบาทนั้น
3.ภิกษุถูกถีนมิทธะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะนั้น
4.ภิกษุถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะนั้น
5.ภิกษุถูกวิจิกิจฉาครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉานั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉานั้น
6.ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นซึ่งหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนกระทำไว้ในใจโดยชอบแล้ว และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ]


จบสูตรที่ ๗





๘. สมยสูตรที่ ๒


             [๒๙๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุชั้นเถระหลายรูป อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน
ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เมื่อภิกษุชั้นเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนหนอแล ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อกล่าวกันอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระ
ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับ
จากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า สมัยนั้น ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น แม้ความ
เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะฉันอาหาร
ของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ก็ยังไม่สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัย
ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหารด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหาร
ด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น สมาธินิมิตใด
ที่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นได้ทำไว้ในใจในกลางวัน สมาธินิมิตนั้นก็ยังฟุ้งซ่าน
อยู่ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น
ก็ยังตั้งอยู่ในโอชา (มีโอชารสแห่งอาหารแผ่ซ่านไปทั่วตัว) ความสบายย่อมมีแก่
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น เพื่อทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ฉะนั้น สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกะภิกษุชั้น
เถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่
ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่
ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑
ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควร
เพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล ฯ


จบสูตรที่ ๘





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 10:18:53 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #36 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 10:29:06 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
๙. อุทายีสูตร
             [๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระ-
*ศาสดาตรัสถามท่าน ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยิน
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัส
ถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระ-
*อานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่า
เป็นกลางวันอยู่ เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืน
ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่
พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ญาณทัสสนะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการ
ต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
อนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้าตายแล้ว
วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวพราว มีหนองไหลออก
เธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็น
ธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็น
สรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอก
หรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า
กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความ
เป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก
มีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือด
มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก
เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยรายไปตามทิศต่างๆ คือ กระดูกมือ
ทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูก
เอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะทางหนึ่ง เธอย่อมน้อม
กายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อม
เป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูก
เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราด
เป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุรณ เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไป
เปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น
ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ
สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติ
๕ ประการนี้แล ฯ
             พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสติ
นั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ
จบสูตรที่ ๙
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #37 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 10:31:18 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
๑๐. อนุตตริยสูตร
             [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑
ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่
ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก
ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือ
สาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มี
ความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ
             ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ
ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจ
เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่
หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระ
ตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่ง
สัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธา
ตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรม
ของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนา
นุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือ
ได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้
มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้
ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ
ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษา
ศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้น
เป็นการศึกษาที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้ง
มั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิต
บ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอด
เยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้ง
หลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธา
ตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา
อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
นี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุง
นี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว ... ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้
ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ...
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก
ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนา
นุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
นี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึก
ถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่า
การระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มี
ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อม
ระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ
                          ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภา
                          นุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง
                          เจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึง
                          อมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษา
                          ตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็น
                          ที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ
จบอนุตตริยวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร ๓. ภยสูตร ๔. หิมวันต
สูตร ๕. อนุสสติฏฐานสูตร ๖. กัจจานสูตร ๗. สมยสูตรที่ ๑
๘. สมยสูตรที่ ๒ ๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 13, 2024, 07:25:12 AM