เมษายน 20, 2024, 07:20:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)  (อ่าน 44321 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 03:19:33 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)


ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม



      ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

      หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
      ซึ่งพระปริตรทุกๆบท คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อความคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายใดๆทั้งปวง ซึ่งการจะเข้าถึงสภาวะนี้ได้นั้นไม่ใช่สักแต่เพียงสวดมนต์บริกรรมเท่านั้น แต่พระตถาคตยังสอนให้เจริญจิตขึ้นแล้วปฏิบัติทางกายและวาจา เพื่อให้เป็นไปตามความสัจจริงดั่งพระปริตรนั้น เมื่อสวดมนต์และเจริญปริบัติตามพระปริตรทั้งหลายแล้ว ผลที่ได้นั้นไม่ใช่แค่เพียงคุ้มภัยเท่านั้นยังเป็นหนทางแห่งมรรคและผลทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพราะผู้ที่เจริญพระปริตรนั้นต้องเจริญปฏบัติใน ศีล ทาน ภาวนาด้วย จึงจะเกิดเป็น "สัจจะ" เพื่อความคุ้มครองให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงได้ ด้วยเหตุดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเจริญในพระปริตรทั้งหลายพร้อมน้อมนำมาเจริญปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งมรรคและผลด้วยประการทั้งปวงนี้เทอญ


บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่ ถึงแม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน หากบุคคลใดไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ  พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนจริงๆต่อให้ศีลนั้นมี 1000 ข้อ ท่านก็ถือได้โดยง่าย และ ท่านจะไม่ตำหนิพหรือเปลี่ยนแปลงระวินัยเลยด้วยมองว่าเป็นของถูกเป็นสิ่งดีเป็นกรรมฐานทั้งหมด ดังนี้..

       ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลายเพื่อการระลึกถึง สวดมนต์และปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

       บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..


      ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2014, 03:13:30 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
Graydone
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 32
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2867


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2014, 03:34:26 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)
ผมสวดทุกวันก่อนนอนครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 10:56:39 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)


อาราธนาพระปริตร


วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลังขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง        ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลังขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศไป




พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครอง คือ ป้องกันอันตรายภายนอกมี โจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายในมีโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้น อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนี้เกิดมาจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและอานิสงส์จากการเมตตา เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาภาวนา ดังนั้น ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ เช่น ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน ดังพระพุทธดำรัสว่า

   "เธอจงเจริญพุทธานุสสติ ภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริญภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ" (ขุ. อป. ๓๒/๓๖/๙๘)

    "อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา ย่อมประสบภัยพิบัติเอง เปรียบเหมือนคนที่ใช้มือจักหอกคม จะได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น" (สํ. นิง ๑๖/๒๒๗/๒๕๑)



มหาปริตร (สิบสองตำนาน) มี ๑๒ ปริตร คือ


๑.มงคลปริตร มงคลชีวิต ๓๘ ประการ สวดเพื่อความเป็นมงคลให้กับชีวิต ป้องกันชีวิตตกต่ำ
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงหลักปฏิบัติ ๓๘ ประการ ที่จะช่วยให้ชีวิตมีแต่ความเป็นสิริมงคล อันจะทำให้เกิดความสุข และความเจริญสูงสุดในชีวิต

๒.รัตนปริตร ขับไล่เสนียดจัญไร โรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความสวัสดีในชีวิต
เนื้อความในบทสวดกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อาราธนาเอาคุณความดีของพระรัตนตรัยนั้นมาปกปักรักษาตน ช่วยทําลายความทุกข์โศกให้หายไป และขออํานวยความสุขสวัสดิ์แก่ตน

๓.เมตตปริตร หรือกรณียเมตตสูตร ทำให้เทวดารักใคร่
เนื้อความในบทสวดกล่าวาวถึงอานุภาพของการแผ่เมตตา

๔.ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงการแผ่เมตตาให้สัตว์ร้ายทั้งปวง เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เสือ จระเข้ เหยียว แร้ง กา นิยมสวดเมื่อเข้าป่า ช่วยให้เกิดความแคล้วคลาดปลอดภัย

๕.โมรปริตร ป้องกันภัยทั้งกลางวัน และกลางคืน สวดบูชาให้พ้นจากผู้คิดร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญานกยูง พุทธานุภาพให้พระโพธสัตว์รอดพ้นจากบ่วงของนายพรานนานถึง ๑๒ ปี สวดเพื่อให้รอดพ้นจากผู้คิดร้าย

๖.วัฏฏกปริตร ป้องกันอัคคีภัย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ้มที่กำลังถูกไฟป่าลุกลาม แต่ด้วยสัจจะอธิษฐานจึงทำให้ไฟป่าสงบลง ใชสวดเพื่อป้องกันอัคคีภัย

๗.ธชัคคปริตร ป้องกันอันตรายจากความเสี่ยง และภยันตรายทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสงครามระหวางเทวดาและอสูร ท้าวสักกะเห็นว่าเหล่าเทวดาเกิดความหวาดกลัว จึงชี้ให้เหล่าเทวดามองขึ้นไปบนยอดธงรบของพระองค์ เพื่อให้เกิดกําลังใจจนได้รับชัยชนะในที่สุด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนําให้เหล่าภิกษุไปปฏิบัติธรรมตามป่า เขา เมื่อเหล่าภิกษุเกิดความหวาดกลัวอันตราย พระพุทธองค์ทรงกแนะให้ระลึกถึงยอดธงรบของท้าวสักกะอยู่เสมอ ธงรบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย ที่มีชัยเหนือทกสรรพสิ่ง อานุภาพของพระคาถาบทนี้จึงปกป้องคุ้มครองให็ผู็สวดเกิดความฮึกเหิมและแคล้วคลาดปลอดภัย

๘.อาฏานาฏิยปริตร คาถาท้าวเวสสุวรรณป้องกันภูตผี ปีศาจ อมนุษย์
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ในอดีต และการอาราธนาพุทธานุภาพเหล่านั้นมาคุ้มครองให้ผู้สวดรอดพ้นจากอันตราย

๙.อังคุลีมาลปริตร สัจจะวาจาของพระอังคุลีมาล ช่วยให้คลอดบุตรง่าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสัจาธิษฐานของพระองคุลิมาลเถระ ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยหญิงมีครรภ์คนหนึ่ง

๑๐.โพชฌังคปริตร คุณธรรม ๗ ประการที่จะช่วยให้บรรลุธรรม ป้องกันโรคร้าย ทำให้สุขภาพแข็งแรง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสร ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา มีอานุภาพรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นไข้

๑๑.อภัยปริตร ป้องกันฝันร้าย ภัยพิบัติทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดสวดมีอานุภาพเพื่อแก้ลางร้าย เหตุร้าย ฝันร้าย ทําลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงให้มลายสิ้น

๑๒.ชัยปริตร มีชัยชนะเหนอความชั่วร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงอานุภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สวดเป็นประจําเพื่อให้ได้รับชัยชนะเหนือสิ่งเลวร้าย








บทสวดชุมนุมเทวดา ๑๒ ตำนาน


สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตังนุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่เมตตาจิต ด้วยคิดว่า
ขออานุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน
พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยราชวงศ์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร


สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี
และภุมมเทวดา ซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมานหรือยอดเขาและหุบผา ในอากาศก็ดี


ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี
ในต้นพฤกษาและป่าชัฏก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี


ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
เทพยดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตย์ตามภาคพื้นดิน รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์ และ พยานาค
ซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบ ก็ดี



ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้
คำใดเป็นของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้น


ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม


จบบทสวดชุมนุมเทวดา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 10:51:57 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:34:05 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

มงคลปริตร หรือ มงตลสูตร

ใช้สวดเพื่อแสดงมงคลอันสูลสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกให้แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนและที่พักอาศัย


(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นสิ่งอันผู้ชื่อว่า มนุษย์และเททวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น



เอวัมเม  สุตัง
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,           
เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,
สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ
อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,

อะถะ  โข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,
อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,

อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,
เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,

โอภาเสตะวา, เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด
ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,
อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,
เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น
ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,
พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ,
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก,
มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง,       
ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย,
พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง.
ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด.
                                                 

(ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)

    อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑, 
ปิณฑิตานัญจะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑,
ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑, 
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,

    ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑,
ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญ อันทำแล้วในกาลก่อน ๑,
อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ,                                                   
การตั้งตนไว้ชอบ ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,
             
    พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ,
การได้ฟังมาแล้วมาก ๑, ศิลปศาสตร์ ๑,
วินะโย  ตะ  สุสิกขิโต,
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑,
สุภาสิตา   จะ  ยา  วาจา,
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงมารดาและบิดา ๑,
ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราห์ลูกและเมีย ๑,
อะนากุลา  จะ  กัมมันตา,
การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑,
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ,
การให้ ๑,  การประพฤติธรรม ๑,
ญาตะกานัญจะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑,
อะนะวัชชานะ  กัมมานิ,
กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑.
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    อาระตี  วีระตี  ปาปา,
การงดเว้นจากบาป ๑,
มัชชะปานา  จะ  สัญญะโม,
การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ๑.
อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ,
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑.
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    คาระโว  จุ  นิวาโต  จะ,
การเคารพ ๑   การไม่จองหอง ๑,
สันตุฏฐี  จะ  กะตัญญุตา,
ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑,
การเป็นผู้รู้อุปการะ อันท่านทำแล้วแก่ตน ๑,
กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    ขันตี  จะ  โสวะจัสสะตา,
ความอดทน ๑,  การเป็นผู้ว่าง่าย ๑,
สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง,
การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑,
กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การเจรจาธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    ตะโป  จะ  พรัหมะ  จะริยัญจะ,
ความเพียรเผากิเลส ๑,
ความประพฤติอย่างพรหม ๑,
อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑,
นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง,
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย
ยัสสะ  นะ  กัมปะติ,
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง,
ไม่มีโศก  ปราศจากธุลี   เกษม,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

    เอตาทิสานิ  กัตวานะ,
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว,
สัพพัตถะ  มะปะราชิตา,
เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ,
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง,
ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด  ของเทพยดา
และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.





- เมื่อเราทำไว้ในใจเจริญระลึกในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้มาเป็นที่ตั้งแห่งสติ ด้วยระลึกว่าพระตถาคตผู้เป็นสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสสอนแก่ท้าวมหาพรหมให้เจริญปฏิบัติดังนี้และแม้เทวดาหมู่ใดทั้งหลายบนสวรรค์ทั้งปวงก็พึงกระทำให้บรรลุบทในมงคงทั้ง ๓๘ ประการนี้ ด้วยเหตุดังนี้เราก็ควรน้อมนำปฏิบัติเจริญในใจอยู่เนืองๆซึ่งมงคลทั้ง ๓๘ ประการนั้นแล้วกระทำออกมาทางกายและวาจา ย่อมถึงซึ่งอนุสสติ ๖ อันว่าด้วย "เทวตานุสสติ" และ ทำให้เราเข้าถึงซึ่งทางแห่งมรรค อันสืบเนื่องไปสู่ผล ที่พระโสดาบันเป็นต้นพึงกระทำให้บรรลุบท เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่ก้าวลงสู่สิ่งที่ชั่วและแม้เมื่อจะละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่ก้าวล่วงสู่นรกย่อมขึ้นไปสู่แดนสุคติภูมิที่เหล่าเทวดาอาศัยอยู่ด้วยประการฉะนี้





ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 02:17:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:35:15 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

รตนปริตร หรือ รตนสูตร # ๑

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี ป้องกัยภัยจากสัมภเวสี อมนุษย์ และ มารทั้งหลาย


ก. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณอันยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยอันไม่มีใครเสมอเหมือน
ได้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะดังพระสูตรที่เราจะสาธยายดังต้อไปนี้คือ


๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย
อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด

ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ฯ
ขอท่านทั้งหลาย
จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย
ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท
ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด


ข. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีพระคุณและพระกรุณาที่สูงค่าอันหาที่เปรียบไม่ได้
เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
แผ่ประกาศก้องไปสู่ ภูต สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ได้รับรู้ตามพระสูตรนี้
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจร
ะลึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างนั้น


๒. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ
ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

ค. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมอันสูงค่ากว่าธรรมใดๆ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงพระธรรมอย่างนั้น


๓. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น
ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ง. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อสมถะได้แก่กุศลสมาธิและวิปัสสนาญาณได้แก่ปัญญารู้แจ้ง
น้อมระลึกถึงคุณแห่งธรรมอันเป็นไปเพื่อสัมมาสมาธิ
และคุณแห่งสัมมาสมาธิอันทำให้จิตตั้งมั่น ให้เกิดเห็นยถาภูญาณทัสนะ
ถึงนิพพิทาญาณด้วยวิปัสสนาณาณอันถึงความหลุดพ้นเป็นวิมุตติ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสัมมาสมาธินัั้น


๔. ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

จ. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ซึ่งเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นั้นแล้ว
เป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ เป็นผู้ที่ควรแก่การทำทักษิณาทาน
เป็นผู้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบไป
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านัั้น


๕. เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น
ย่อมมีผลเป็นอันมาก

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๖. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี
ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
จึงได้เสวยอมตะรส คือ
ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๗. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว
ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด

ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย
อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เราตถาคตกล่าวว่า
สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๘. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย
ที่พระบรมศาสดา ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง
ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๙. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
สังโยชน์ ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ
อันพระโสดาบันละได้แล้ว
เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว
จากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน
คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๐. กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว
เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดไว้นี้
อันเราตถาคตกล่าวแล้ว

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๑. วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์
แห่งคิมหันตฤดูฉันใด

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระตถาคตเจ้า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ
ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน
เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็มีอุปมาฉันนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๒. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ

อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า
ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๓. ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว
กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
พระอริยบุคคลเหล่าใด
มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา
พระอรหันต์เหล่านั้น
มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว
ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน
เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:53:56 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:43:13 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

รตนปริตร หรือ รตนสูตร # ๒

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี ป้องกัยภัยจากสัมภเวสี อมนุษย์ และ มารทั้งหลาย


ฉ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดังนี้คือ


๑๓. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ช. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระธรรมเป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ซ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระสงฆ์เป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:54:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:46:01 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

กะระณียะเมตตะปริตร หรือ กะระณียะเมตตะสูตร

ใช้สวดป้องกันภัยจากสัตว์ พระภูมิ เทพารักษ์ อมนุษย์ผู้ประสงค์ร้าย เมื่อเข้าอยู่ในป่าหรือบ้านก็ดี


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นมิตรที่ดีกับคนและสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้
เราจักกระทำคุณอันงาม เป็นกิจอันประกอบไปด้วยประโยชน์
ซึ่งเป็นกิจที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นพึงกระทำบรรลุบทอันดีแล้วดังนี้ คือ


กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ
ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

กิจอันใด อันพระอริยะเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว
กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ


สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด
ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย


สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งปวง
เราจักเป็นมิตรที่ดีกับสิ่งทั้วงปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในที่ใดๆในโลกนี้ก็ตาม
จะอยู่ในที่แคบ ที่กว้าง ที่โล่ง ในป่า ในโพรงไม้ ในน้ำ ในดิน หรือ ในซอกใดมุมใดพื้นที่ใดก็ตาม
เราจักจักไม่มีความติดใจข้องแวะต่อใคร จักเป็นผู้ไม่ผูกโกรธแค้นเคืองพยาบาทใคร
ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอความสุขสวัสดิ์ดีจงมีแก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง
(น้อมจิตสละแผ่เอาบุญบารมีทั้งปวงที่เรามีอยู่นั้น ได้นำพาความสุขสวัสดิ์ดี
ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงบนโลกนี้ไปสู่เขาเหล่านั้น)
ซึ่งมีเป็นต้นดังต่อไปนี้ คือ


เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา )
หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ


ทีฆา วา เย มะหันตา วา
มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

เหล่าใดยาวหรือใหญ่
หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี


ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด


นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ


มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

มารดาถนอมลูกคนเดียว
ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด


เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

พึงเจริญเมตตา มีในใจ
ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น


---------------------------------------------------

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

บุคคลพึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น


อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น
ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี

สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี
เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด


เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้


ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว



เมื่อเจริญจิตทำไว้ในในเช่นนี้ๆ อธิษฐานเช่นนี้ๆ พระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าย่อมสำแดงเดชไปทุกที่ บทสวดมนต์นี้ คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า เป็นอาวุธที่ว่าด้วยเมตตา ซึ่งเมื่อจะสวดมนต์กระทำบริกรรมภาวนาใดๆในบทสวดมนต์พระสูตรนี้ ให้พึงทำไว้ในใจตั้งจิตแผ่ของไปอยู่นี้ๆ "เมตตาพรหมวิหาร ๔ คือ ความรักใคร่ปารถนาดีอันน้อมไปในการสละ" ย่อมเกิดขึ้นแก่จิตเราทันที


ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=23152

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 11:54:51 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 12:10:00 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

ขันธปริตร

ตามตำนานกล่าวว่า เกิดจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดที่เท้า ทนพิษไม่ไหวถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตรัสสอนให้พระภิกษุรู้จักแผ่เมตตาแก่สกุลพญางูทั้งสี่ คือ พญางูวิรูปักข์ พญางูเอราบถ พญางูฉัพยาบุตร และพญางูกัณหาโคตรมะ

ซึ่งมีเนื้อความว่า ไมตรีของเราจงมีแก่สกุลพญางูทั้งสี่ ตลอดทั้งสัตว์สองเท้า สี่เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ทั้งหลาย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น ล้วนมีประมาณไม่มากเหมือนพระรัตนตรัย เราทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ขอสัตว์ร้ายจงหลีกไป มีความเชื่อว่าพระสูตรบทนี้ใช้ภาวนาป้องกันอสรพิษทุกชนิดได้


ให้ทำไว้ในใจด้วยจิตอันเป็นมิตรแก่สัตว์ทั้งหลายมี งู เป็นต้น ไปจนถึงสัตว์เหลือบคลาน แมง แมลง อสรพิษ อื่นๆ ด้วยจิตอันปารถยาขอให้เขาเป็นสุขปราศจากทุกข์ เป็นผู้ไม่มีเวรภัยอันตราย ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ รักษาตัวให้รอดพ้นจากทุกข์ภับทั้งสิ้นทั้งปวงได้ดังนี้ แลด้วยเดชแห่งบุญอันที่เราเป็นมิตรมีจิตที่ปารถนาดีต่อเขาทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ขอบุญทั้งหลายเหล่านั้นขอจงส่งผลให้เขาทั้งหลายจงเป็นมิตรที่ดีต่อเราเช่นกัน ขอให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้ไม่มีเวรภัยอันตรายเบียดเบียนแก่เราดังนี้


วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย ตระกุลวิรูปักษ์ด้วย

เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมะกะด้วย

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าด้วย

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๒ เท้าด้วย

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
สัตว์ ๒ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ
สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด

มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
โทษลามกไร ๆ อย่าได้มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น

อัปปะมาโณ พุทโธ
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ ธัมโม
พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ สังโฆ
พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิวิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ
(ไม่มากเหมือน คุณพระรัตนตรัย)


กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ความรักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้ว

ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
หมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย

โสหัง นะโม ภะคะวะโต
เรานั้นกระทำการนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
ทำการนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์อยู่



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2014, 01:43:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 03:24:06 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

โมระปริตร

เพื่อความแคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทางไปทำกิจการงานต่างๆ หรือ ดำรงชีวิตในป่าดงพงไพรก็ตาม





๑. อุเทตะยัง จักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
    ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง                                 


พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้
เสด็จอุทัยขึ้นทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์
ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น
พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว
ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดวัน



เป็นการตั้งจิตระลึกถึงคุณของธรรมชาติที่ให้ความสว่างอบอุ่น
หรือ เทพผู้ให้แสงสว่าง คือ พระอาทิตย์ เป็นอารมณ์
ที่สาดส่องให้แสงสว่าง ให้เราได้มองเห็นที่ทาง และ สิ่งรอบกาย
ให้ความอบอุ่น เพื่อการดำรงชีวิตของเรา
ด้วยความสำนึกในคุณของพระอาทิตย์นี้
ให้เราน้อมจิตทำความเคารพกราบไหว้
แลพึงตั้งจิตน้อมว่า บุญใดที่เราเคารพสำนึกในคุณของพระอาทิตย์อยู่นี้
ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอจงได้ช่วยปกปักดูแลรักษาให้เรา
แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง
ให้เราได้เดินทาง ทำกิจการงาน หาเลี้ยงชีพ ยั่งยืนโดยความสวัสดี อยู่ตลอดวัน

หมายเหตุ เป็นการระลึกถึงคุณของพระอาทิตย์ ระลึกถึงคุณของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ที่ให้เราดำรงชีพอยู่ ไปจนถึง เทพผู้เป็นดวงอาทิตย์ส่องแสงให้โลกให้เราได้มองเห็น
(ระลึกถึงคุณของเทวดา แต่ไม่ใช่ระลึกแบบใน เทวตานุสสติ)   



๒. เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร จะระติ เอสะนา             


พระพุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว
ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม

เป็นการตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
และ ทำความเคารพนอบน้อมกราบไหว้พระพุทธเจ้า
ขอบุญบารมีที่เราทำความเคารพกราบไว้อยู่นี้
ช่วยปกปักดูแลรักษาให้เรา แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง
ในการทำ กิจการงาน หากิน ดำรงชีวิต
กล่าวคือ เป็นการระลึกเจริญปฏิบัติใน "พุทธานุสสติ"
 

                               
เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงออกเสวงหาอาหาร
ใช้ภาวนาเมื่อเดินทางหรือทำกิจการงานใดๆในยามเช้าเพื่อความแคล้วคลาดปลอดภัย




๓. อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง
    ตะยาชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง                                   


พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลก ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้
เสด็จอัสดงคตทรงพระรัศมีสีทองสาดส่องปฐพี
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระอาทิตย์
ผู้ทรงรัศมีสีทองสาดส่องปฐพีพระองค์นั้น
พระองค์ได้คุ้มครองข้าพระองค์ในวันนี้แล้ว
ขอให้ข้าพระองค์มีชีวิตยั่งยืนอยู่ตลอดราตรี

เป็นการตั้งจิตระลึกถึงคุณของธรรมชาติที่ให้ความสว่างอบอุ่น
หรือ เทพผู้ให้แสงสว่าง คือ พระอาทิตย์ เป็นอารมณ์
ที่สาดส่องให้แสงสว่าง ให้เราได้มองเห็นที่ทาง และ สิ่งรอบกาย
ให้ความอบอุ่น เพื่อการดำรงชีวิตของเรา
ให้เราได้ดำรงชีพทำกิจการงานต่างๆได้อยู่รอดแคล้วคลาดปลอดภัยในตลอดวัน
ด้วยความสำนึกในคุณของพระอาทิตย์นี้
ให้เราน้อมจิตทำความเคารพกราบไหว้
แลพึงตั้งจิตน้อมว่า บุญใดที่เราเคารพสำนึกในคุณของพระอาทิตย์อยู่นี้
ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอจงได้ช่วยปกปักดูแลรักษาให้เรา
แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง
ให้เราได้เดินทาง ทำกิจการงาน หาเลี้ยงชีพ ยั่งยืนโดยความสวัสดี อยู่ตลอดคืน
ให้เราได้นอนหลับ พักผ่อน ปลอดภัยยั่งยืน อยู่ตลอดคืน



๔. เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตฺวา โมโร วาสะมะกัปปะยิ             


พระพุทธเจ้าเหล่าใด ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธจ้าทั้งหลาย
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้ว
ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม



เป็นการตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
และ ทำความเคารพนอบน้อมกราบไหว้พระพุทธเจ้า
ขอบุญบารมีที่เราทำความเคารพกราบไว้อยู่นี้
ช่วยปกปักดูแลรักษาให้เรา แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง
แม้ในยามพักผ่อน และ นอนหลับ
กล่าวคือ เป็นการระลึกเจริญปฏิบัติใน "พุทธานุสสติ"



เมื่อนกยูงนั้นสาธยายพระปริตรอย่างนี้แล้ว จึงนอน
ใช้ภาวนาเมื่อเดินทางหรือทำกิจการงานใดๆในยามค่ำคืนเพื่อความแคล้วคลาดปลอดภัย หรือ นอนหลับได้อย่างปลอดภัยตลลอทั้งคืน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 10:46:22 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 04:29:25 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

วัฏฏกปริตร





บทขัดวัฏฏะกะปะริตตัง


ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร
นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง
ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ
มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ
ด้วยเดชแห่งพระปริตรใด ทำให้ไฟไม่เผาไหม้
ในที่ที่พระมหาสัตว์ถือกำเนิดเกิดเป็นนกคุ้มไฟ
ผู้กำลังบำเพ็ญบารมี เพื่อเสริมสร้างพระโพธิญาณ



เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ
โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ
มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ      
ท่านทั้ง หลายโปรดจงสาธยายพระปริตรนั้น
ซึ่งมีเดชมากมาย ตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์
ที่พระโลกนาถเจ้าทรงตรัสไว้แก่พระสารีบุตรนั้นเถิด




บทวัฏฏะกะปะริตตัง


อัตถิ โลเก สีละถุโณ
คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก
ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่งศีล อันเป็นไปเพื่อความเป็นกุศลทางกายและวาจา
ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไวดีแล้ว จากนั้นให้น้อมระลึกถึงศีลอันไม่ขาด
ไม่ทะลุ ไม่ด่างพร้อย อันที่ตนได้กระทำมาดีแล้ว
(เป็น "สีลานุสสติ")



สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
ผู้ประกอบด้วยความสัตย์
ความสะอาดกาย ความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก                                            
ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่ง ศีลบารมี จริยวัตรที่งดงาม บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงของพระพุทธเจ้า
(ความดำรงกายและวาจาโดยความสัตย์ เป็นกุศลสุจริต สะอาดบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)
แล้วระลึกถึง ศีลข้อใดที่เราได้ทำแล้วมีความสุขกายใจมีความยินดีที่ให้ดำเนินไป
ซึ่งข้ออันที่เราเจริญโดยไม่ขาดไม่ทะลุ อันเป็นกุศลดีงาม ที่เราได้เจริญปฏิบัติมาเป็นอันดีแล้ว

ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่ง เมตตาบารมี ของพระพุทธเจ้า
(ความเอ็นดูรักใคร่ปารถนาดีต่อผู้อื่น ปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เห็นเป็นของงามเสมอกันหมด)
แล้วระลึกถึง เมตตาจิต อันเป็นกุศลดีงาม ที่เราได้เจริญปฏิบัติมาเป็นอันดีแล้ว

ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่ง กรุณาบารมี ของพระพุทธเจ้า
(ความมีจิตสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์แบ่งปัน ปารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์)
แล้วระลึกถึง กรุณาจิต อันเป็นกุศลดีงาม ที่เราได้เจริญปฏิบัติมาเป็นอันดีแล้ว

ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่ง มุทิตาบารมี ของพระพุทธเจ้า
(ความมีจิตยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุขหรือประสบรับผลสำเร็จอันดีงามเป็นกุศลอันปราศจากความริษยา)
แล้วระลึกถึง มุทิตาจิต อันเป็นกุศลดีงาม ที่เราได้เจริญปฏิบัติมาเป็นอันดีแล้ว

ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่ง อุเบกขาบารมี ของพระพุทธเจ้า
(ความมีใจวางไว้กลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต)
- มีความไม่เอนเอียงเพราะรัก ๑
- มีความไม่เอนเอียงเพราะชัง ๑
- มีความไม่เอนเอียงเพราะความหลงหรือไม่รู้ตามจริง ๑
- มีความไม่เอนเอียงเพราะกลัว ๑
ไม่ว่าจะต่อสัตว์ใด บุคคลใดในโลก แม้แต่สัมภเวสี มาร อมนุษย์ เทวดา พรหม พระองค์ก็ทรงมีพระทัยไม่เอนเอียง
แล้วระลึกถึง อุเบกขาจิต อันเป้นกุศลดีงาม มีใจวางไว้กลางๆไม่เอนเอียง ที่เราได้เจริญปฏิบัติมาดีแล้ว



เตนะ สัจเจนะ กาหามิ
ด้วยความสัตย์นั้นเราจักกระทำ

สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
สัจจกิริยาอันสูงสุด

อาวัชชิตวาธัมมะพะลัง
เราคำนึงถึงกำลังพระธรรม






ระลึกถึงพระธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
แล้วน้อมระลึกถึงพระธรรมใดๆ พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ พระคาถาใดๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอน
ที่เราได้น้อมนำมาจะเจริญระลึกปฏิบัติแล้วทำให้เราสุขกายสบายใจ ได้หลุดพ้นจากทุกข์ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลแก่เรา
(เป็น "ธัมมานุสสติ")



สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารทั้งหลายในปางก่อน          
ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณแห่งความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ พิชิตมาร คือ กิเลส
ได้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
(เป็น "พุทธานุสสติ")



สัจจะพะละมะวัส สายะ
อาศัยกำลังความสัตย์

สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
ได้กระทำสัจจกิริยาว่า

สันติ ปักขา อะปัตตะนา
ปีกของเรามีอยู่ แต่ไม่มีขน (บินไม่ได้)

สันติปาทา อะวัญจะนา
เท้าของเรามีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้

มาตา ปิตา จะ นิกขันตา
มารดาบิดาก็พากันบินออกไปหาอาหารแล้ว            

ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ
ดูก่อนไฟป่า จงกลับไป (จงดับเสีย)

สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง
พร้อมกับเมื่อเรากระทำสัจจกิริยา (นี้)  

มะหาปัช ชะลิโต สิขี
ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ใหญ่หลวง

วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ
ได้หลีกไป ๑๖ กรีส

อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี
ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือนตกลงในน้ำ

สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ
สิ่งที่จะเสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี

เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 10:50:14 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:50:02 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

ธชัคคสูตร

ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว


บทขัดธชคฺคสุตฺตํ

ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ
ปติฏฺฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยํ วิย สพฺพทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย
สพฺพูปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี
คณนา น จ มุตฺตานํ
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด
ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ



ธชัคคสูตร # ๑


เอวัม เม สุตังฯ
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดัลมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
เสด็จพระทับอยู่ที่เชตะวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกะเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถี
ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกขุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว

ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้

ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า


(หยุด)

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เรื่องดึงดำบรรพเคยมีมาแล้วเทวาสุระสังคาโม
สงครามแห่งเทพดากับอสูร

สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ
ได้เกิดประชิดกันแล้ว
อะถะโข ภิกขะเว สักโก
ครั้งนั้นแล ภิกขุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช
เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี
พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โส ปิหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา


อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี
ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี


อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายบแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิส
อันนั้นจักหายไป
สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ


อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ที่นั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน
อีสานัสสะ หิโว เทวะราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
อันนั้นจักหายไปดังนี้


ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล
สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี ก็ตาม
วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ วรุณ ก็ตาม
อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ อีสาน ก็ตาม
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ
อั้นนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่หายบ้าง
ตัง กิสสะเหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้



อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกขทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ ดังนี้้


(หยุด)

อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา (ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง (ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ (ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  (หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู
เป็นผู้ทรงรู้โลก (ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า (ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา
อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงตามระลึกถึงพระธัมม์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ให้เราได้เห็นทางพ้นทุกข์ เป็น ธัมมานุสสติ ดังนี้้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:55:08 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:50:26 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

ธชัคคสูตร # ๒

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธัมม์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อเราน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติ ย่อมเห็นผลจากการเจริญปฏิบัตินั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะไปรู้เห็นโดยผู้อื่นปฏิบัติแทนไม่ได้ เหมือนดั่งการกินข้าว
- ผู้กินข้าวเขาย่อมรู้รสชาติในคำข้าวนั้น มีความอิ่มท้องดำรงชีพอยู่ได้
  แต่ผู้ไม่ได้กินสักแต่เพียงมองดูเขากิน แม้จะรู้ดีว่าผู้กินนั้นจะต้องอร่อยและอิ่มท้อง
  แต่ก็ย่อมไม่รู้รสในคำข้าวนั้นและอิ่มท้องไม่ได้ฉันใด
- ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนย่อมเป็นดั่งคนกินข้าว
  ผู้ที่ละเลยต่อการเรียนรู้และปฏิบัติจริง แม้จะรู้ว่าพระธรรมนั้นเป็นสิ่งดี
  แต่ก็ไม่รู้รสชาติและรับรู้ความอิ่มเต็มจากการเจริญปฏิบัติ
  ดั่งคนไม่ได้กินข้าวสักแต่เพียงมองอยู่ฉันนั้น)


อะกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติเมื่อไหร่ ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติได้เมื่อนั้นไม่จำกัดกาล)

เอหิปัสสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่ปฏิบัติแล้วให้ผลแห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ไม่จำกัดกาล
เป็นธรรมอันเป็นเครื่องปฏิบัติใน มรรค และ ผล
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศล ที่ควรแก่การบอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ตาม)


โอปะนะยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศลที่ได้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน)


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นของอันวัญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้ (เป็นสิ่งที่วิญญูชน ๓ คือ ผู้รู้ ๓ จำพวก (แค่หัวข้อก็รู้ อธิบายจึงรู้ แนะนำจึงรู้) พึงรู้เฉพาะตน คือ จะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือมิใช่วาจะไปรู้แทนผู้อื่นได้)


ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธัมม์อยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธัมม์
อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระอริยะสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็น สังฆานุสสติ ดังนี้้


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว (คือ ผู้ที่เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน มีความสำรวมกาย-วาจา-ใจ อบรมกาย-วาจา-ใจ เจริญบนทางแห่งกุศลศีล-ทาน-ภาวนา เป็นผู้อยู่บนทางแห่งมรรค)

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว (คือ ผู้ที่ปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนตรงตามจริงไม่บิดเบือน คือเป็นผู้อยู่ในทางแห่งมรรคที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้นำพาไปสู่ผล)

ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว (คือ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามจริงอยู่บนทางแห่ง "มรรค ๔" ให้เป็นไปเพื่อเสวยใน "ผล ๔" อันเกิดจากทางแห่งมรรคนั้น)

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว (คือ สัมมาวาจา เจรจาชอบ และ สัมมากัมมันตะ ความประพฤติชอบ อันเกิดแต่ สัมมาทิฐิ + สัมมาสังปัปปะ กล่าวคือ ดำรงกาย-วาจา-ใจ ด้วยมีศีลสังวร เจริญใน "สัลเลขสูตร" เป็นต้น อันเป็นที่เกิดแห่ง สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้รู้เห็นตามจริงได้ดำเนินไปในสัมโพชฌงค์ ๗ จนไปสู่ผล คือ วิมุตติ)

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่(มรรค ๔ ผล ๔ คือ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลขึ้นไป) นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
ท่านเป็นผุ้ควรสักการที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน(ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก) ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

(หยุด)


สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

ตัง กิสสะ เหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อะภิรุ อัจฉัมภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อะนุตราสี อะปะลายีติฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทัง วตวานะ สุคะโต
พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า



อะรัญเญ รุกขะมูเล วาสุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า
หรือในรุกขมูล หรือในเรือนเปล่า


อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ
ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ    
โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ
พระธัมม์และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้


ภะยัง วา ฉัมภิตัตตังวา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 11:56:54 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 12:03:36 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

ตำนานอาฏานาฏิยปริตร


           ในตำนานอาฏานาฏิยะปริตร นี้ เป็นตำนานเริ่มจาก มีพระออกธุดงค์เพื่อค้นหาโมกขธรรม แต่ถูก ยักษ์ ภูตผีปีศาจ อมนุษย์ทั้งหลาย ที่ไม่ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า และ พระพุทธศาสนาเข้าทำร้ายก่อกวน
           เมื่อท่านท้าวเวสสุวรรณเห็นอย่างนั้นจึงได้ไปเผ้าพระพุทธเจ้าเจ้า แล้วขอถวายพระสูตรนี้เป็นเครื่องป้องกัน ภูติ ผี ปีศาจ อมนุษย์ ทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งพระสูตรนี้มี 2 ภาคคือ ภาคภาณพระ และ ภาณยักษ์ ประกอบไปด้วยพระปริตร และ พระถาคาอันประเสริฐมากมายที่ใช้ปัดเป่าเพศภัยอันตรายทั้งปวง จากสิ่งชั่วร้าย ภัยอันตรายทั้งหลาย อันที่เราควรน้อมนำมาเจริญปฏิบัติและสวดมนต์ซึ่ีงประกอบไปด้วยประโยชน์เป็นอันมาก พระสูตรนี้จะเริ่มจาก อนุสสติ ๖ เป็นหลัก ซึ่งมีอานิสงส์มากมายหาประมาณมิได้ พร้อมกับด้วยการแผ่อนุภาพแห่งพระรัคนตรัยอันไม่มีประมาณ มีความเจริญเมตตาจิต กล่าวถึงภาคภาณยักษ์ เพื่อป้องกันการรบกวนจาก ยักษ์ คนธรรน์ ดังนี้




อาฏานาฏิยปริตร


ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้พิชิตมาร
ได้ทรงดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองเป็น "พุทธานุสสติ"
พร้อมตั้งจิตระลึก นอบน้อม น้อมรับ ปฏิบัติ ตนตามความดีงามที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงไว้ซึ่งคุณนั้นอยู่
เพื่ออานิสงส์อันงามไม่มีประมาณและถึงพร้อมที่เป็นสิริมงคล
และช่วยปกป้องรักษาเราจาก ภัย อันตราย เสนียด จัญไร ใดๆทั้งปวง
จากนั้นให้เริ่มสวดพระสูตรดังนี้




บทขัดอาฏานาฏิยะปริตร


อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าใหญ่ยิ่ง
ทรงแสดงพระปริตรอันใดเพื่อความไม่เบียดเบียนกัน


อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ด้วยความคุ้มครองของตนแก่บริษัท ๔ เหล่า
อันเกิดจากหมู่อมนุษย์ที่ร้ายกาจ กระทำกรรมอันหยาบช้า ในกาลทุกเมื่อ


ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ
ผู้มิได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า

คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
เป็นผู้ที่พึ่งของโลกอันสัตบุรุษ สมมติว่าเป็นศาสนาอันดี

ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ





อาฏานาฏิยปริตร # ๑ (ภาณพระ)


วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
  ผู้ทรงมีพระปัญญาจักษุ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ )


สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า
  ผู้ทรงมีพระทัยอนุเคราะห์ ต่อสัตว์ทั้งปวง )


เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า
  ผู้ทรงมีกิเลสอันชำระแล้วผู้ทรงมีตบะธรรม )


นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
  ผู้ทรงย่ำยีเสียซึ่งมารและเหล่าเสนาทั้งหลาย )


โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า
  ผู้ทรงลอยบาปเสียแล้ว ผู้ทรงมีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว )


กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
  ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง )


อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
( ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
  ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากยราช ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ )


โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
( พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
  อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง )


เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
( อนึ่ง แม้ชนเหล่าใดก็ดี ที่ดับกิเลสได้แล้วในโลก
  เห็นแจ้งตามความเป็นจริง )


เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
( ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความส่อเสียด
  เป็นผู้ทรงความเป็นใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว )


หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
( เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อมอยู่
  ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร
  ผู้ทรงเกื้อกูลแก่มนษย์และเทวดาทั้งหลาย )


วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
( ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ
  ผู้ทรงความเป็นใหญ่เป็นผู้ปรศจากความครั่นคร้ามแล้ว )


(วิชชาจะระณะสัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ)
( ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
  ผู้ทรงเป็นโคตมโคตรผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ )






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 01:20:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 12:33:45 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๒ (บทนมัสการพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์)


นะโม เม สัพพะพุทธานัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง
อุปปันนานัง มะเหสินัง
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ซึ่งได้อุบัติแล้ว คือ


๑. ตัณหังกะโร มะหาวีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระตัณหังกร
ผู้กล้าหาญ
๒. เมธังกะโร มะหายะโส
ปฏิปทาพิเศษของพระเมธังกร
ผู้มียศใหญ่


๓. สะระณังกะโร โลกะหิโต
ปฏิปทาพิเศษของพระสรณังกร
ผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก
๔. ทีปังกะโร ชุตินธะโร
ปฏิปทาพิเศษของพระทีปังกร
ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง


๕. โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
ปฏิปทาพิเศษของพระโกณฑัญญะ             
ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. มังคะโล ปุสิสาสะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระมังคละ
ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ


๗. สุมะโน สุมะโน ธีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระสุมนะ
ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม
๘. เรวะโต ระติวัฑฒะโน
ปฏิปทาพิเศษของพระเรวะตะ
ผู้เพิ่มพูนความยินดี


๙. โสภิโต คุณสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระโสภิตะ
ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๑๐. อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระอโนมทัสสี
ผู้สูงสุดอยู่ในหมู่ชน


๑๑. ปะทุโม โลกะปัชโชโต
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมะ
ผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. นาระโท วาระสาระถี
ปฏิปทาพิเศษของพระนารทะ
ผู้เป็นสารถีประเสริฐ


๑๓. ปะทุมุตโต สัตตะสาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมุตตระ
ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
๑๔. สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
ปฏิปทาพิเศษของพระสุเมธะ
ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้


๑๕. สุชาโต สัพพะโลกัคโค
ปฏิปทาพิเศษของพระสุชาตะ
ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. ปิยะทัสสี นะราสะโภ
ปฏิปทาพิเศษของพระปิยทัสสี
ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน


๑๗. อัตถะทัสสี การุณิโก
ปฏิปทาพิเศษของพระอัตถทัสสี
ผู้มีพระกรุณา
๑๘. ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
ปฏิปทาพิเศษของพระธรรมทัสสี
ผู้บรรเทาความมืด


๑๙. สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ปฏิปทาพิเศษของพระสิทธัตถะ
ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. ติสโส จะ วะทะตัง วาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระติสสะ
ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย


๒๑. ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
ปฏิปทาพิเศษของพระปุสสะ
ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. วิปัสสี จะ อะนูปะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระวิปัสสสี
ผู้ที่หาเปรียบมิได้


๒๓. สิขี สัพพะหิโต สัตถา
ปฏิปทาพิเศษของพระสิขี
ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. เวสสะภู สุขะทายะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระเวสสภู
ผู้ประทานความสุข


๒๕. กะกุสันโธ สัตถะวาโท
ปฏิปทาพิเศษของพระกกุสันโธ
ผู้นำสัตว์ออกจากสันดารตัวกิเลส
๒๖. โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
ปฏิปทาพิเศษของพระโกนาคมนะ
ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส


๒๗. กัสสะโป สิริสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระกัสสปะ
ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโว
ปฏิปทาพิเศษของพระโคตมะ
ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช


(เตสาหัง สิระทา ปาเท วันทามิ ปุริสัตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต)
(ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบาทของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
 และขอกราบไหว้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ผู้เป็นตถาคตด้วยวาจาและใจทีเดียว)


(สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา)
(ทั้งในที่นอนในที่นั่ง ในที่ยืน และแม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อฯ)

(ตัณ เม สะ ที โก มัง สุ เร โส อะ ปะ นา ปะ สุ สุ )
(ปิ อะ ธะ สิ ติ ปุ วิ สิ เว กุ โก กะ โค นะมามิหัง)
(พระนามพระพุทธเจ้าตั้งแต่องค์แรกถึงองค์ปัจจุบัน
 โบราณจารย์ท่านถือว่าเป็นพระคาถาแก้วสารพัดนึก)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 02:24:15 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 02:28:14 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๓


เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี
มีจำนวนหลายร้อยโกฏิ


สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดเสมอกัน ไม่มีใครเหมือน
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนมีฤทธิ์มาก


สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
ล้วนประกอบแล้วด้วยทศพลญาณ
ประกอบไปด้วยเวสารัชชะญาณ


สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ล้วนตรัสรู้อยู่ ซึ่งอาสภะฐานอันอุดม


สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้องอาจไม่ครั่นคร้าม
บันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย


พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยังพรหมจักรให้เป็นไป อันใครๆ
ยังไม่ให้เป็นไปแล้วในโลก


อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น
ประกอบด้วยพระพุทธธรรม ๑๘ ประการ


ทะวัตติงสะลักขะณูเปตา- สีตะยานุพะยัญชะนาธะรา
ผู้ประกอบด้วยพระมหาปุริสะลักษณะ ๓๒ ประการ
และทรงไว้ซึ่งอสีตะยานุพยัญชนะ ๘๐ ประการ


พะยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
มีพระรัศมีอันงามด้วยพระรัศมีมณฑลข้างละวา
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ


พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนเป็นพระสัพพัญญู
ล้วนเป็นพระขีณาสพผู้ชนะ


มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มีพระรัศมีมาก มีพระเดชมาก
มีพระปัญญามาก มีพระกำลังมาก


มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพ สานัง สุขาวะหา
มีพระกรุณามาก เป็นนักปราชญ์
นำความสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง


ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลนา จะ ปาณินัง
เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย เป็นที่ต้านทาน
และเป็นที่เร้นของสัตว์ทั้งหลาย


คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
เป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยินดี เป็นที่ระลึก
และทรงแสวงหาประโยชน์


สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เพื่อสัตว์โลกกับทั้งเทวโลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์


เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปะริสุตตะเม
ข้าพระพุทธเจ้าขอวันทาแทบเบื้องพระยุคลบาท
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
และขอวันทาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้เป็นบุรุษอันอุดม


วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
และข้าพระพุทธเจ้าขอวันทาพระตถาคตเจ้า
ด้วยวาจา และใจทีเดียว


สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทาฯ.
ในที่นอนด้วย ในที่นั่งด้วย ในที่ยืนด้วย
แม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อด้วย ฯ.


สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
พระพุทธเจ้า ผู้กระทำความระงับ
จงรักษาท่านด้วยความสุขในกาลทุกเมื่อ


เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ทรงรักษาแล้ว จงเป็นผู้ระงับ


สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
พ้นแล้วจากโรคภัยทั้งปวง
เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง


สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง
ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย


สัพพีตีโย วิวัชชันตุ   สัพพะโรโค วินัสสะตุ
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย


มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน
ขอท่านจงเป็นผู้มีสุขมีอายุยืน


อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้
มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ฯ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 02:43:27 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:01:44 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๔ (เตสัง สัจเจนะ (ภาณยักษ์))


ตั้งจิตระลึกถึงคุณแห่งพระเมตตาและกรุณาของพระพุทธเจ้า
จากนั้นตั้งจิตน้อมนำเอาพระบารมีนั้นแผ่เมตตาไปตามทิศทั้งหลาย
ขอให้ สัมภเวสี และ อมนุษย์ จงเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์
ขอให้ เทพยดาทั้งหลาย ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔
มีท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวกุเวร) ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ จงเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์
ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นมิตรอันดีแก่เรา จงดูแลคุ้มครองรักษาเรา อย่าได้ผูกเวรเบียดเบียนเรา
แล้วแผ่ไปให้เขาเหล่านั้นตามทิศต่างๆตามบทสวดดังนี้

                                                                       .

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
ด้วยสัจจะ ด้วยศีล และด้วยกำลังแห่งขันติ
และเมตตาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้คุณธรรมเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศบูรพา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้คนธรรพ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เทพยดาทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศทักษิณ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้เทพยดาเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
นาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศปัศจิม
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้นาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


อุตตะรัสสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
ยักษ์ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก มีอยู่ในทิศอุดร
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้ยักษ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะวิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
ท้าวธตรฏฐ์ ประจำอยู่ทิศบูรพา
ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักข์ ประจำอยู่ทิศปัศจิม
ท้าวกุเวร ประจำอยู่ทิศอุดร

จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
มหาราชทั้ง 4 เหล่านั้น เป็นผู้มียศ รักษาโลก
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้มหาราชเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุข


อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เทพยดาและนาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก
สถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิต อยู่ในภาคพื้นก็ดี

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
แม้เทพยดาและนาคเหล่านั้น
จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลายเทอญ
ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรค มีแต่ความสุขทุกเมื่อเทอญ.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2014, 04:44:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:19:22 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๕ สัจจะกิริยา คาถา
                              .

ให้ตั้งสัจจะอธิษฐานขอถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐไปตลอดชีวิต




ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
กำหนดนิมิตว่าเราน้อมก้มลงกราบแทบเบื้องพระบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยความเคารพศรัทธา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิเม โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า



ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์
กำหนดนิมิตว่าเรานั่งอยู่ในส่วนข้างหนึ่งอันควรแล้วพระพุทธเจ้านั้นตรัสเทสนาธรรมแก่เรา
(ให้ระลึกถึงพระธรรมบทใด พระสูตรใด พระปริตรคาถาใดๆที่เราฟังหรือสวดแล้วสบายกายใจ
ที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้จริง)
แล้วเรากราบลงน้อมรับในธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาดีแล้ว
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิเม สะระณัง อัญญัง  ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า




ให้ทำไว้ในใจระลึกบูชาถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันต์ และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
แลได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้เราได้รู้ตาม เป็น สังฆานุสสติ
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


นัตถิเม สะระณัง อัญญัง  สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุสัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า





อาฏานาฏิยปริตร # ๖ ยังกิญจิ ระตะนัง คาถา


ตั้งจิตระลึกถึงบูชาคุณของพระรัตนตรัย เป็น อนุสสติกรรมฐาน



พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีใครเสมอเหมือน
มีพระเมตตาเอ็นดูต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอกันหมดไม่เอนเอียง มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
ได้ทรงนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้รู้อมตะธรรมอันประเสริฐอันเป็นบรมสุข
ชี้นำทางสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตาม
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน




พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
ซึ่งเป็นธรรมอันประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีธรรมใดเสมอเหมือน ด้วยเป็นอมตะธรรมอันประเสริฐ อันเป็นบรมสุข
เป็นทางนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตามเป็นผล
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน




พึงทำไว้ในใจระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีพระอรหันตสาวกทั้งหลาย พระอริยะสาวกทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว และ ได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เราได้รู้ตาม
ซึ่งเป็นสมณะสงฆ์ที่ประเสริฐที่สุดในสามโลกไม่มีสมณะสงฆ์ใดเสมอเหมือน ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับ ควรแก่เขานำมาบูชา
ได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเผยแพร่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ได้รู้ทางออกจากที่มืดไปสู่แสงสว่างให้ได้พ้นจากกองทุกข์ตามเป็นผล
แม้เทวดาและพรหมทั้งหลายก็สักการะบูชา
จากนั้นก็กล่าวพระคาถาดังนี้ว่า


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
รัตนะหลายหลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ
แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระสังฆรัตนะ ย่อมไม่มี
ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ฯ





บทพระคาถานี้ผู้ที่ปฏิบัติและศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระรัตนะตรัย
จะสามารถน้อมระลึกถึงด้วยความปราศจากกิเลส มีความสงบและจิตตั้งมั่น
จากความทำไว้ในใจจากการประกาศตนเป็นพุทธบริษัทนั้นด้วยเหตุดังนี้ว่า

- ศรัทธาในพระพุทธเจ้ายิ่ง เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยขัดเคืองกายใจ
- ศรัทธาในพระธรรมยิ่ง เชื่อและเข้าถึงซึ่งธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
- ศรัทธาในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า คือ พระอรหันต์ พระอริยะเจ้า ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว

เพราะมีศรัทธาเต็มกำลังใจอย่างนี้ๆ จิตเราจึงมีความมุ่งมั่นจดจ่อตั้งอยู่ที่พระรัตนตรัยโดยส่วนเดียว
เป็นเหตุทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย จึงเข้าถึงซึ่งอุปจาระสมาธิได้ง่ายดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2014, 02:05:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:21:26 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๗ สักกัตตะวา คาถา





ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระพทุธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ
แล้วระลึกว่า เรากราบแทบเบื้องพระบาทของพระองค์ จากนั้นสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระพุทธรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


หิตัง เทวะมะนุสสานัง
เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย     
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระธรรม เป็น ธัมมานุสสติ
แล้วระลึกว่า เรานั่งอยู่ในส่วนข้างหนึ่งอันควรแล้วพระพุทธเจ้านั้นตรัสเทสนาธรรมแก่เรา
(ให้ระลึกถึงพระธรรมบทใด พระสูตรใด พระปริตรคาถาใดๆที่เราฟังหรือสวดแล้วสบายกายใจ
ที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้จริง)
แล้วเรากราบลงน้อมรับในธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาดีแล้ว จากนั้นสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย       
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี


สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




ตั้งจิตระลึกบูชาถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระอรหันต์ และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ผู้ได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว
แลได้นำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้เราได้รู้ตาม เป็น สังฆานุสสติ
แล้วสวดพระคาถาดังนี้


สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระสงฆรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ


อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์


นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
โรคา วูปะสะเมนตุ เต
ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี




บทสวดพระคาถานี้ใช้เสกยาสมุนไพรกินหายชะงัดดีนักแล
มีความเชื่อว่า..แม้ท่านหมอชีวกท่านก็ใช้พระคาถานี้เสกเมื่อปรุงยาสมุนไพร





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2014, 10:24:54 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:22:06 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

อาฏานาฏิยปริตร # ๘ สามัญญานุโมทนา คาถา
                                                      .



สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย..........    
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย..........    
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป

สัพพะโรโค วินัสสะตุ..........
โรคทั้งปวง(ของท่าน)จงหาย

มา เต ภะวัตวันตะราโย..........
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน

สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ..........
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

อะภิวาทะนะสีลิสสะ..........นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ......อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่
ผู้มีปรกติไหว้กราบ,มีปรกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ ฯ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2014, 04:20:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:39:35 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)
อาฏานาฏิยะสุตตะปาโฐ (ภาณยักษ์)




เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห

วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต ฯ อะถะโข จัตตาโร มะหาราชา

มะหะติยา จะ ยักขะเสนายะ มะหะติยา จะ คันธัพพะเสนายะ

มะหะติยา จะ กุมภัณฑะเสนายะ มะหะติยา จะ นาคะเสนายะ

จะตุททิสัง รักขัง ฐะเปต๎วา จะตุททิสัง คุมพัง ฐะเปต๎วา

จะตุททิสัง โอวะระณัง ฐะเปต๎วา อะภิกกันตายะ รัตติยา

อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง คิชฌะกูฏัง โอภาเสต๎วา

เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิงสุ อุปะสังกะมิต๎วา ภะคะวันตัง

อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เตปิ โข ยักขา อัปเปกัจเจ

ภะคะวันตัง อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

ภะคะวะตา สัทธิง สัมโมทิงสุ สัมโมทะนียัง กะถัง สาราณียัง

วีติสาเรต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ เยนะ ภะคะวา

เตนัญชะลิมปะณาเมต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

นามะโคตตัง สาเวต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

ตุณ๎หีภูตา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เอกะมันตัง นิสินโน โข

เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวันตัง เอตะทะโวจะ สันติ หิ

ภันเต อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต

อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา

ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา ยักขา

ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต

อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา

เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะสันนาเยวะ ภะคะวะโต ฯ

ตัง กิสสะ เหตุ ฯ ภะคะวะตา หิ ภันเต ปาณาติปาตา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ อะทินนาทานา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ กาเมสุ

มิจฉาจารา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ มุสาวาทา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะฏิ-

วิระตาเยวะ ปาณาติปาตา อัปปะฏิวิระตา อะทินนาทานา

อัปปะฏิวิระตา กาเมสุ มิจฉาจารา อัปปะฏิวิระตา มุสาวาทา

อัปปะฏิวิระตา สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เตสันตัง โหติ

อัปปิยัง อะมะนาปัง สันติ หิ ภันเต ภะคะวะโต สาวะกา

อะรัญเญ วะนะปัตถานิ ปันตานิ เสนาสะนานิ ปะฏิเสวันติ

อัปปะสัททานิ อัปปะนิคโฆสานิ วิชะนะวาตานิ มะนุสสะราหะ-

เสยยะกานิ ปะฏิสัลลานะสารูปานิ ตัตถะ สันติ อุฬารา ยักขา

นิวาสิโน เย อิมัส๎มิง ภะคะวะโต ปาวะจะเน อัปปะสันนา

เตสัมปะสาทายะ อุคคัณหาตุ ภันเต ภะคะวา อาฏานาฏิยัง รักขัง

ภิกขูนัง ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา รักขายะ

อะวิหิงสายะ ผาสุวิหารายาติ ฯ อะธิวาเสสิ ภะคะวา ตุณ๎หีภาเวนะ ฯ

อะถะโข เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวะโต อะธิวาสะนัง

วิทิต๎วา ตายัง เวลายัง อิมัง อาฏานาฏิยัง รักขัง อะภาสิ

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต

สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต

โย อิมัง ธัมมะทะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูปะทัง

เยจาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง

เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

ยะโต อุคคัจฉะติ สุริโย อาทิจโจ มัณฑะลี มะหา

ยัสสะ จุคคัจฉะมานัสสะ สังวะรีปิ นิรุชฌะติ

ยัสสะ จุคคะเต สุริเย ทิวะโสติ ปะวุจจะติ

ระหะโทปิ ตัตถะ คัมภีโร สะมุทโท สะริโตทะโก

เอวันตัง ตัตถะ ชานันติ สะมุทโท สะริโตทะโก

อิโต สา ปุริมา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

คันธัพพานัง อาธิปะติ ธะตะรัฏโฐติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ คันธัพเพหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโตวะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

เยนะ เปตา ปะวุจจันติ ปิสุณา ปิฏฐิมังสิกา

ปาณาติปาติโน ลุททา โจรา เนกะติกา ชะนา

อิโต สา ทักขิณา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

กุมภัณฑานัง อาธิปะติ วิรุฬโห อิติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ กุมภัณเฑหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

ยัตถะ โจคคัจฉะติ สุริโย อาทิจโจ มัณฑะลี มะหา

ยัสสะ โจคคัจฉะมานัสสะ ทิวะโสปิ นิรุชฌะติ

ยัสสะ โจคคะเต สุริเย สังวะรีติ ปะวุจจะติ

ระหะโทปิ ตัตถะ คัมภีโร สะมุทโท สะริโตทะโก

เอวันตัง ตัตถะ ชานันติ สะมุทโท สะริโตทะโก

อิโต สา ปัจฉิมา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

นาคานัง อาธิปะติ วิรูปักโขติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ นาเคหิปิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะนามา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

เยนะ อุตตะระกุรู รัมมา มะหาเนรุ สุทัสสะโน

มะนุสสา ตัตถะ ชายันติ อะมะมา อะปะริคคะหา

นะ เต พีชัง ปะวัปปันติ นะปิ นียันติ นังคะลา

อะกัฏฐะปากิมัง สาลิง ปะริภุญชันติ มานุสา

อะกะณัง อะถุสัง สุทธัง สุคันธัง ตัณฑุลัปผะลัง

ตุณฑิกิเร ปะจิต๎วานะ ตะโต ภัญชันติ โภชะนัง ฯ

คาวิง เอกะขุรัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

ปะสุง เอกะขุรัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

อิตถิง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

ปุริสัง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

กุมาริง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

กุมารัง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

เต ยาเน อะภิรูหิต๎วา สัพพา ทิสา อะนุปะริยันติ

ปะจะรา ตัสสะ ราชิโน ฯ

หัตถิยานัง อัสสะยานัง ทิพพัง ยานัง อุปัฏฐิตัง

ปาสาทา สิวิกา เจวะ มะหาราชัสสะ ยะสัสสิโน

ตัสสะ จะ นะคะรา อะหุ อันตะลิกเขสุ มาปิตา

อาฏานาฏา กุสินาฏา ปะระกุสินาฏา

นาฏะปะริยา ปะระกุสิตะนาฏา

อุตตะเรนะ กะปีวันโต ชะโนฆะมะปะเรนะ จะ

นะวะนะวะติโย อัมพะระอัมพะระวะติโย

อาฬะกะมัณฑา นามะ ราชะธานี

กุเวรัสสะ โข ปะนะ มาริสะ มะหาราชัสสะ

วิสาณา นามะ ราชะธานี

ตัส๎มา กุเวโร มะหาราชา เวสสะวัณโณติ ปะวุจจะติ

ปัจเจสันโต ปะกาเสนติ ตะโตลา ตัตตะลา ตะโตตะลา

โอชะสี เตชะสี ตะโตชะสี สุโรราชา อะริฏโฐ เนมิ

ระหะโทปิ ตัตถะ ธะระณี นามะ ยะโต เมฆา ปะวัสสันติ

วัสสา ยะโต ปะตายันติ

สะภาปิ ตัตถะ ภะคะละวะตี นามะ ยัตถะ ยักขา ปะยิรุปาสันติ

ตัตถะ นิจจะผะลา รุกขา นานาทิชะคะณายุตา

มะยุระโกญจาภิรุทา โกกิลาภิหิ วัคคุภิ

ชีวัญชีวะกะสัทเทตถะ อะโถ โอฏฐะวะจิตตะกา

กุกกุฏฐะกา กุฬีระกา วะเน โปกขะระสาตะกา

สุกะสาลิกะสัทเทตถะ ทัณฑะมาณะวะกานิ จะ

โสภะติ สัพพะกาลัง สา กุเวระนะฬินี สะทา

อิโต สา อุตตะรา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

ยักขานัง อาธิปะติ กุเวโร อิติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ ยักเขหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ฯ

อะยัง โข สา มาริสะ อาฏานาฏิยา รักขา ภิกขูนัง

ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา รักขายะ อะวิหิงสายะ

ผาสุวิหารายาติ ฯ ยัสสะ กัสสะจิ มาริสะ ภิกขุสสะ วา ภิกขุนิยา

วา อุปาสะกัสสะวา อุปาสิกายะ วา อะยัง อาฏานาฏิยา รักขา

สุคคะหิตา ภะวิสสะติ สะมัตตา ปะริยาปุตา ตัญเจ อะมะนุสโส

ยักโข วา ยักขิณี วา ยักขะโปตะโก วา ยักขะโปติกา วา

ยักขะมะหามัตโต วา ยักขะปาริสัชโช วา ยักขะปะจาโร วา

คันธัพโพ วา คันธัพพี วา คันธัพพะโปตะโก วา คันธัพพะโปติกา

วา คันธัพพะมะหามัตโต วา คันธัพพะปาริสัชโช วา คันธัพพะปะจาโร

วา กุมภัณโฑ วา กุมภัณฑี วา กุมภัณฑะโปตะโก วา กุมภัณ-

ฑะโปติกา วา กุมภัณฑะมะหามัตโต วา กุมภัณฑะปาริสัชโช วา

กุมภัณฑะปะจาโร วา นาโค วา นาคินี วา นาคะโปตะโก วา

นาคะโปติกา วา นาคะมะหามัตโต วา นาคะปาริสัชโช วา

นาคะปะจาโร วา ปะทุฏฐะจิตโต ภิกขุง วา ภิกขุนิง วา อุปาสะกัง

วา อุปาสิกัง วา คัจฉันตัง วา อะนุคัจเฉยยะ ฐิตัง วา อุปะติฏเฐยยะ

นิสินนัง วา อุปะนิสีเทยยะ นิปันนัง วา อุปะนิปัชเชยยะ ฯ นะ

เม โส มาริสะ อะมะนุสโส ละเภยยะ คาเมสุ วา นิคะเมสุ วา

สักการัง วา คะรุการัง วา นะ เม โส มาริสะ อะมะนุสโส

ละเภยยะ อาฬะกะมัณฑายะ นามะ ราชะธานิยา วัตถุง วา

วาสัง วา นะ เม โส มาริสะ อะมะนุสโส ละเภยยะ ยักขานัง

สะมิติง คันตุง อะปิสสุนัง มาริสะ อะมะนุสสา อะนะวัยหัมปิ

นัง กะเรยยุง อะวิวัยหัง อะปิสสุนัง มาริสะ อะมะนุสสา

อัตตาหิปิ ปะริปุณณาหิ ปะริภาสาหิ ปะริภาเสยยุง อะปิสสุนัง

มาริสะ อะมะนุสสา ริตตัมปิ ปัตตัง สีเส นิกกุชเชยยุง อะปิสสุนัง

มาริสะ อะมะนุสสา สัตตะธาปิสสะ มุทธัง ผาเลยยุง สันติ

หิ มาริสะ อะมะนุสสา จัณฑา รุทธา ระภะสา เต เนวะ

มะหาราชานัง อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ

นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ เต โข เต

มาริสะ อะมะนุสสา มะหาราชานัง อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ

เสยยะถาปิ มาริสะ รัญโญ มาคะธัสสะ วิชิเต โจรา เต เนวะ

รัญโญ มาคะธัสสะ อาทิยันติ นะ รัญโญ มาคะธัสสะ ปุริสะกานัง

อาทิยันติ นะ รัญโญ มาคะธัสสะ ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง

อาทิยันติ เต โข เต มาริสะ มะหาโจรา รัญโญ มาคะธัสสะ

อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ เอวะเมวะ โข มาริสะ สันติ หิ

อะมะนุสสา จัณฑา รุทธา ระภะสา เต เนวะ มะหาราชานัง

อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง

ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ เต โข เต มาริสะ อะมะนุสสา

มะหาราชานัง อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ โย หิ โกจิ มาริสะ

อะมะนุสโส ยักโข วา ยักขินี วา ยักขะโปตะโก วา ยักขะโปติกา

วา ยักขะมะหามัตโต วา ยักขะปาริสัชโช วา ยักขะปะจาโร วา

คันธัพโพ วา คันธัพพี วา คันธัพพะโปตะโก วา คันธัพพะโปติกา

วา คันธัพพะมะหามัตโต วา คันธัพพะปาริสัชโช วา คันธัพพะปะจาโร

วา กุมภัณโฑ วา กุมภัณฑี วา กุมภัณฑะโปตะโก วา กุมภัณฑะโปติกา

วา กุมภัณฑะมะหามัตโต วา กุมภัณฑะปาริสัชโช วา กุมภัณฑะ-

ปะจาโร วา นาโค วา นาคินี วา นาคะโปตะโก วา นาคะโปติกา

วา นาคะมะหามัตโต วา นาคะปาริสัชโช วา นาคะปะจาโร วา

ปะทุฏฐะจิตโต ภิกขุง วา ภิกขุนิง วา อุปาสะกัง วา อุปาสิกัง

วา คัจฉันตัง วา อะนุคัจเฉยยะ ฐิตัง วา อุปะติฏเฐยยะ นิสินนัง

วา อุปะนิสีเทยยะ นิปันนัง วา อุปะนิปัชเชยยะ อิเมสัง

ยักขานัง มะหายักขานัง เสนาปะตีนัง มะหาเสนาปะตีนัง

อุชฌาเปตัพพัง วิกกันทิตัพพัง วิระวิตัพพัง อะยัง ยักโข

คัณหาติ อะยัง ยักโข อาวีสะติ อะยัง ยักโข เหเฐติ อะยัง

ยักโข วิเหเฐติ อะยัง ยักโข หิงสะติ อะยัง ยักโข วิหิงสะติ

อะยัง ยักโข นะ มุญจะตีติ ฯ กะตะเมสัง ยักขานัง มะหายักขานัง

เสนาปะตีนัง มะหาเสนาปะตีนัง ฯ

อินโท โสโม วะรุโณ จะ ภารัท๎วาโช ปะชาปะติ

จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ

ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ

จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะโนสะโภ

สาตาคิโร เหมะวะโต ปุณณะโก กะระติโย คุโฬ

สิวะโก มุจจะลินโท จะ เวสสามิตโต ยุคันธะโร

โคปาโล สุปปะเคโธ จะ หิริเนตติ จะ มันทิโย

ปัญจาละจันโท อาฬะวะโก ปะชุนโน

สุมะโน สุมุโข ทะธิมุโข

มะณิ มาณิจะโร ทีโฆ อะโถ เสริสะโก สะหะ ฯ

อิเมสัง ยักขานัง มะหายักขานัง เสนาปะนีตัง มะหาเสนา-

ปะตีนัง อุชฌาเปตัพพัง วิกกันทิตัพพัง วิระวิตัพพัง อะยัง ยักโข

คัณหาติ อะยัง ยักโข อาวีสะติ อะยัง ยักโข เหเฐติ อะยัง ยักโข

วิเหเฐติ อะยัง ยักโข หิงสะติ อะยัง ยักโข วิหิงสะติ อะยัง

ยักโข นะ มุญจะตีติ ฯ อะยัง โข สา มาริสะ อาฏานาฏิยา

รักขา ภิกขูนัง ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา

รักขายะ อะวิหิงสายะ ผาสุวิหารายาติ ฯ หันทะ จะทานิ มะยัง

มาริสะ คัจฉามะ พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียาติ ฯ ยัสสะทานิ

ตุม๎เห มะหาราชาโน กาลัง มัญญะถาติ ฯ

อะถะโข จัตตาโร มะหาราชา อุฏฐายาสะนา ภะคะวันตัง

อะภิวาเทตะวา ปะทักขิณัง กัต๎วา ตัตเถวันตะระธายิงสุ ฯ เตปิ

โข ยักขา อุฏฐายาสะนา อัปเปกัจเจ ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา

ปะทักขิณัง กัต๎วา ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ ภะคะวะตา

สัทธิง สัมโมทิงสุ สัมโทะนียัง กะถัง สาราณียัง วีติสาเรตะวา

ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ เยนะ ภะคะวา เตนัญชะลิมปะ-

ณาเมตะวา ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ นามะโคตตัง สาเวตะวา

ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ ตุณ๎หีภูตา ตัตเถวันตะระธายิงสุ ฯ



http://www.watpamafai.org/index.php?mo=3&art=304602
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2014, 03:39:42 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)
อาฏานาฏิยะสุตตะปาโฐ (ภาณยักษ์)




เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห

วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต ฯ อะถะโข จัตตาโร มะหาราชา

มะหะติยา จะ ยักขะเสนายะ มะหะติยา จะ คันธัพพะเสนายะ

มะหะติยา จะ กุมภัณฑะเสนายะ มะหะติยา จะ นาคะเสนายะ

จะตุททิสัง รักขัง ฐะเปต๎วา จะตุททิสัง คุมพัง ฐะเปต๎วา

จะตุททิสัง โอวะระณัง ฐะเปต๎วา อะภิกกันตายะ รัตติยา

อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง คิชฌะกูฏัง โอภาเสต๎วา

เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิงสุ อุปะสังกะมิต๎วา ภะคะวันตัง

อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เตปิ โข ยักขา อัปเปกัจเจ

ภะคะวันตัง อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

ภะคะวะตา สัทธิง สัมโมทิงสุ สัมโมทะนียัง กะถัง สาราณียัง

วีติสาเรต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ เยนะ ภะคะวา

เตนัญชะลิมปะณาเมต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

นามะโคตตัง สาเวต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ อัปเปกัจเจ

ตุณ๎หีภูตา เอกะมันตัง นิสีทิงสุ ฯ เอกะมันตัง นิสินโน โข

เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวันตัง เอตะทะโวจะ สันติ หิ

ภันเต อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต

อุฬารา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา

ยักขา ภะคะวะโต อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต มัชฌิมา ยักขา

ภะคะวะโต ปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต

อัปปะสันนา สันติ หิ ภันเต นีจา ยักขา ภะคะวะโต ปะสันนา

เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะสันนาเยวะ ภะคะวะโต ฯ

ตัง กิสสะ เหตุ ฯ ภะคะวะตา หิ ภันเต ปาณาติปาตา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ อะทินนาทานา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ กาเมสุ

มิจฉาจารา เวระมะณิยา ธัมมัง เทเสติ มุสาวาทา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณิยา

ธัมมัง เทเสติ เยภุยเยนะ โข ปะนะ ภันเต ยักขา อัปปะฏิ-

วิระตาเยวะ ปาณาติปาตา อัปปะฏิวิระตา อะทินนาทานา

อัปปะฏิวิระตา กาเมสุ มิจฉาจารา อัปปะฏิวิระตา มุสาวาทา

อัปปะฏิวิระตา สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เตสันตัง โหติ

อัปปิยัง อะมะนาปัง สันติ หิ ภันเต ภะคะวะโต สาวะกา

อะรัญเญ วะนะปัตถานิ ปันตานิ เสนาสะนานิ ปะฏิเสวันติ

อัปปะสัททานิ อัปปะนิคโฆสานิ วิชะนะวาตานิ มะนุสสะราหะ-

เสยยะกานิ ปะฏิสัลลานะสารูปานิ ตัตถะ สันติ อุฬารา ยักขา

นิวาสิโน เย อิมัส๎มิง ภะคะวะโต ปาวะจะเน อัปปะสันนา

เตสัมปะสาทายะ อุคคัณหาตุ ภันเต ภะคะวา อาฏานาฏิยัง รักขัง

ภิกขูนัง ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา รักขายะ

อะวิหิงสายะ ผาสุวิหารายาติ ฯ อะธิวาเสสิ ภะคะวา ตุณ๎หีภาเวนะ ฯ

อะถะโข เวสสะวัณโณ มะหาราชา ภะคะวะโต อะธิวาสะนัง

วิทิต๎วา ตายัง เวลายัง อิมัง อาฏานาฏิยัง รักขัง อะภาสิ

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต

สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต

โย อิมัง ธัมมะทะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูปะทัง

เยจาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง

เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

ยะโต อุคคัจฉะติ สุริโย อาทิจโจ มัณฑะลี มะหา

ยัสสะ จุคคัจฉะมานัสสะ สังวะรีปิ นิรุชฌะติ

ยัสสะ จุคคะเต สุริเย ทิวะโสติ ปะวุจจะติ

ระหะโทปิ ตัตถะ คัมภีโร สะมุทโท สะริโตทะโก

เอวันตัง ตัตถะ ชานันติ สะมุทโท สะริโตทะโก

อิโต สา ปุริมา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

คันธัพพานัง อาธิปะติ ธะตะรัฏโฐติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ คันธัพเพหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโตวะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

เยนะ เปตา ปะวุจจันติ ปิสุณา ปิฏฐิมังสิกา

ปาณาติปาติโน ลุททา โจรา เนกะติกา ชะนา

อิโต สา ทักขิณา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

กุมภัณฑานัง อาธิปะติ วิรุฬโห อิติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ กุมภัณเฑหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

ยัตถะ โจคคัจฉะติ สุริโย อาทิจโจ มัณฑะลี มะหา

ยัสสะ โจคคัจฉะมานัสสะ ทิวะโสปิ นิรุชฌะติ

ยัสสะ โจคคะเต สุริเย สังวะรีติ ปะวุจจะติ

ระหะโทปิ ตัตถะ คัมภีโร สะมุทโท สะริโตทะโก

เอวันตัง ตัตถะ ชานันติ สะมุทโท สะริโตทะโก

อิโต สา ปัจฉิมา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

นาคานัง อาธิปะติ วิรูปักโขติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ นาเคหิปิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะนามา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมัง ฯ

เยนะ อุตตะระกุรู รัมมา มะหาเนรุ สุทัสสะโน

มะนุสสา ตัตถะ ชายันติ อะมะมา อะปะริคคะหา

นะ เต พีชัง ปะวัปปันติ นะปิ นียันติ นังคะลา

อะกัฏฐะปากิมัง สาลิง ปะริภุญชันติ มานุสา

อะกะณัง อะถุสัง สุทธัง สุคันธัง ตัณฑุลัปผะลัง

ตุณฑิกิเร ปะจิต๎วานะ ตะโต ภัญชันติ โภชะนัง ฯ

คาวิง เอกะขุรัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

ปะสุง เอกะขุรัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

อิตถิง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

ปุริสัง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

กุมาริง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

กุมารัง วาหะนัง กัต๎วา อะนุยันติ ทิโสทิสัง

เต ยาเน อะภิรูหิต๎วา สัพพา ทิสา อะนุปะริยันติ

ปะจะรา ตัสสะ ราชิโน ฯ

หัตถิยานัง อัสสะยานัง ทิพพัง ยานัง อุปัฏฐิตัง

ปาสาทา สิวิกา เจวะ มะหาราชัสสะ ยะสัสสิโน

ตัสสะ จะ นะคะรา อะหุ อันตะลิกเขสุ มาปิตา

อาฏานาฏา กุสินาฏา ปะระกุสินาฏา

นาฏะปะริยา ปะระกุสิตะนาฏา

อุตตะเรนะ กะปีวันโต ชะโนฆะมะปะเรนะ จะ

นะวะนะวะติโย อัมพะระอัมพะระวะติโย

อาฬะกะมัณฑา นามะ ราชะธานี

กุเวรัสสะ โข ปะนะ มาริสะ มะหาราชัสสะ

วิสาณา นามะ ราชะธานี

ตัส๎มา กุเวโร มะหาราชา เวสสะวัณโณติ ปะวุจจะติ

ปัจเจสันโต ปะกาเสนติ ตะโตลา ตัตตะลา ตะโตตะลา

โอชะสี เตชะสี ตะโตชะสี สุโรราชา อะริฏโฐ เนมิ

ระหะโทปิ ตัตถะ ธะระณี นามะ ยะโต เมฆา ปะวัสสันติ

วัสสา ยะโต ปะตายันติ

สะภาปิ ตัตถะ ภะคะละวะตี นามะ ยัตถะ ยักขา ปะยิรุปาสันติ

ตัตถะ นิจจะผะลา รุกขา นานาทิชะคะณายุตา

มะยุระโกญจาภิรุทา โกกิลาภิหิ วัคคุภิ

ชีวัญชีวะกะสัทเทตถะ อะโถ โอฏฐะวะจิตตะกา

กุกกุฏฐะกา กุฬีระกา วะเน โปกขะระสาตะกา

สุกะสาลิกะสัทเทตถะ ทัณฑะมาณะวะกานิ จะ

โสภะติ สัพพะกาลัง สา กุเวระนะฬินี สะทา

อิโต สา อุตตะรา ทิสา อิติ นัง อาจิกขะตี ชะโน

ยัง ทิสัง อะภิปาเลติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส

ยักขานัง อาธิปะติ กุเวโร อิติ นามะโส

ระมะตี นัจจะคีเตหิ ยักเขหิ ปุรักขะโต

ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว เอกะนามาติ เม สุตัง

อะสีติ ทะสะ เอโก จะ อินทะมานา มะหัพพะลา

เต จาปิ พุทธัง ทิส๎วานะ พุทธัง อาทิจจะพันธุนัง

ทูระโต วะ นะมัสสันติ มะหันตัง วีตะสาระทัง

นะโม เต ปุริสาชัญญะ นะโม เต ปุริสุตตะมะ

กุสะเลนะ สะเมกขะสิ อะมะนุสสาปิ ตัง วันทันติ

สุตัง เนตัง อะภิณหะโส ตัส๎มา เอวัง วะเทมะ เส

ชินัง วันทะถะ โคตะมัง ชินัง วันทามะ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ฯ

อะยัง โข สา มาริสะ อาฏานาฏิยา รักขา ภิกขูนัง

ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา รักขายะ อะวิหิงสายะ

ผาสุวิหารายาติ ฯ ยัสสะ กัสสะจิ มาริสะ ภิกขุสสะ วา ภิกขุนิยา

วา อุปาสะกัสสะวา อุปาสิกายะ วา อะยัง อาฏานาฏิยา รักขา

สุคคะหิตา ภะวิสสะติ สะมัตตา ปะริยาปุตา ตัญเจ อะมะนุสโส

ยักโข วา ยักขิณี วา ยักขะโปตะโก วา ยักขะโปติกา วา

ยักขะมะหามัตโต วา ยักขะปาริสัชโช วา ยักขะปะจาโร วา

คันธัพโพ วา คันธัพพี วา คันธัพพะโปตะโก วา คันธัพพะโปติกา

วา คันธัพพะมะหามัตโต วา คันธัพพะปาริสัชโช วา คันธัพพะปะจาโร

วา กุมภัณโฑ วา กุมภัณฑี วา กุมภัณฑะโปตะโก วา กุมภัณ-

ฑะโปติกา วา กุมภัณฑะมะหามัตโต วา กุมภัณฑะปาริสัชโช วา

กุมภัณฑะปะจาโร วา นาโค วา นาคินี วา นาคะโปตะโก วา

นาคะโปติกา วา นาคะมะหามัตโต วา นาคะปาริสัชโช วา

นาคะปะจาโร วา ปะทุฏฐะจิตโต ภิกขุง วา ภิกขุนิง วา อุปาสะกัง

วา อุปาสิกัง วา คัจฉันตัง วา อะนุคัจเฉยยะ ฐิตัง วา อุปะติฏเฐยยะ

นิสินนัง วา อุปะนิสีเทยยะ นิปันนัง วา อุปะนิปัชเชยยะ ฯ นะ

เม โส มาริสะ อะมะนุสโส ละเภยยะ คาเมสุ วา นิคะเมสุ วา

สักการัง วา คะรุการัง วา นะ เม โส มาริสะ อะมะนุสโส

ละเภยยะ อาฬะกะมัณฑายะ นามะ ราชะธานิยา วัตถุง วา

วาสัง วา นะ เม โส มาริสะ อะมะนุสโส ละเภยยะ ยักขานัง

สะมิติง คันตุง อะปิสสุนัง มาริสะ อะมะนุสสา อะนะวัยหัมปิ

นัง กะเรยยุง อะวิวัยหัง อะปิสสุนัง มาริสะ อะมะนุสสา

อัตตาหิปิ ปะริปุณณาหิ ปะริภาสาหิ ปะริภาเสยยุง อะปิสสุนัง

มาริสะ อะมะนุสสา ริตตัมปิ ปัตตัง สีเส นิกกุชเชยยุง อะปิสสุนัง

มาริสะ อะมะนุสสา สัตตะธาปิสสะ มุทธัง ผาเลยยุง สันติ

หิ มาริสะ อะมะนุสสา จัณฑา รุทธา ระภะสา เต เนวะ

มะหาราชานัง อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ

นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ เต โข เต

มาริสะ อะมะนุสสา มะหาราชานัง อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ

เสยยะถาปิ มาริสะ รัญโญ มาคะธัสสะ วิชิเต โจรา เต เนวะ

รัญโญ มาคะธัสสะ อาทิยันติ นะ รัญโญ มาคะธัสสะ ปุริสะกานัง

อาทิยันติ นะ รัญโญ มาคะธัสสะ ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง

อาทิยันติ เต โข เต มาริสะ มะหาโจรา รัญโญ มาคะธัสสะ

อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ เอวะเมวะ โข มาริสะ สันติ หิ

อะมะนุสสา จัณฑา รุทธา ระภะสา เต เนวะ มะหาราชานัง

อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ นะ มะหาราชานัง

ปุริสะกานัง ปุริสะกานัง อาทิยันติ เต โข เต มาริสะ อะมะนุสสา

มะหาราชานัง อะวะรุทธา นามะ วุจจันติ โย หิ โกจิ มาริสะ

อะมะนุสโส ยักโข วา ยักขินี วา ยักขะโปตะโก วา ยักขะโปติกา

วา ยักขะมะหามัตโต วา ยักขะปาริสัชโช วา ยักขะปะจาโร วา

คันธัพโพ วา คันธัพพี วา คันธัพพะโปตะโก วา คันธัพพะโปติกา

วา คันธัพพะมะหามัตโต วา คันธัพพะปาริสัชโช วา คันธัพพะปะจาโร

วา กุมภัณโฑ วา กุมภัณฑี วา กุมภัณฑะโปตะโก วา กุมภัณฑะโปติกา

วา กุมภัณฑะมะหามัตโต วา กุมภัณฑะปาริสัชโช วา กุมภัณฑะ-

ปะจาโร วา นาโค วา นาคินี วา นาคะโปตะโก วา นาคะโปติกา

วา นาคะมะหามัตโต วา นาคะปาริสัชโช วา นาคะปะจาโร วา

ปะทุฏฐะจิตโต ภิกขุง วา ภิกขุนิง วา อุปาสะกัง วา อุปาสิกัง

วา คัจฉันตัง วา อะนุคัจเฉยยะ ฐิตัง วา อุปะติฏเฐยยะ นิสินนัง

วา อุปะนิสีเทยยะ นิปันนัง วา อุปะนิปัชเชยยะ อิเมสัง

ยักขานัง มะหายักขานัง เสนาปะตีนัง มะหาเสนาปะตีนัง

อุชฌาเปตัพพัง วิกกันทิตัพพัง วิระวิตัพพัง อะยัง ยักโข

คัณหาติ อะยัง ยักโข อาวีสะติ อะยัง ยักโข เหเฐติ อะยัง

ยักโข วิเหเฐติ อะยัง ยักโข หิงสะติ อะยัง ยักโข วิหิงสะติ

อะยัง ยักโข นะ มุญจะตีติ ฯ กะตะเมสัง ยักขานัง มะหายักขานัง

เสนาปะตีนัง มะหาเสนาปะตีนัง ฯ

อินโท โสโม วะรุโณ จะ ภารัท๎วาโช ปะชาปะติ

จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ

ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ

จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะโนสะโภ

สาตาคิโร เหมะวะโต ปุณณะโก กะระติโย คุโฬ

สิวะโก มุจจะลินโท จะ เวสสามิตโต ยุคันธะโร

โคปาโล สุปปะเคโธ จะ หิริเนตติ จะ มันทิโย

ปัญจาละจันโท อาฬะวะโก ปะชุนโน

สุมะโน สุมุโข ทะธิมุโข

มะณิ มาณิจะโร ทีโฆ อะโถ เสริสะโก สะหะ ฯ

อิเมสัง ยักขานัง มะหายักขานัง เสนาปะนีตัง มะหาเสนา-

ปะตีนัง อุชฌาเปตัพพัง วิกกันทิตัพพัง วิระวิตัพพัง อะยัง ยักโข

คัณหาติ อะยัง ยักโข อาวีสะติ อะยัง ยักโข เหเฐติ อะยัง ยักโข

วิเหเฐติ อะยัง ยักโข หิงสะติ อะยัง ยักโข วิหิงสะติ อะยัง

ยักโข นะ มุญจะตีติ ฯ อะยัง โข สา มาริสะ อาฏานาฏิยา

รักขา ภิกขูนัง ภิกขุนีนัง อุปาสะกานัง อุปาสิกานัง คุตติยา

รักขายะ อะวิหิงสายะ ผาสุวิหารายาติ ฯ หันทะ จะทานิ มะยัง

มาริสะ คัจฉามะ พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียาติ ฯ ยัสสะทานิ

ตุม๎เห มะหาราชาโน กาลัง มัญญะถาติ ฯ

อะถะโข จัตตาโร มะหาราชา อุฏฐายาสะนา ภะคะวันตัง

อะภิวาเทตะวา ปะทักขิณัง กัต๎วา ตัตเถวันตะระธายิงสุ ฯ เตปิ

โข ยักขา อุฏฐายาสะนา อัปเปกัจเจ ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา

ปะทักขิณัง กัต๎วา ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ ภะคะวะตา

สัทธิง สัมโมทิงสุ สัมโทะนียัง กะถัง สาราณียัง วีติสาเรตะวา

ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ เยนะ ภะคะวา เตนัญชะลิมปะ-

ณาเมตะวา ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ นามะโคตตัง สาเวตะวา

ตัตเถวันตะระธายิงสุ อัปเปกัจเจ ตุณ๎หีภูตา ตัตเถวันตะระธายิงสุ ฯ



http://www.watpamafai.org/index.php?mo=3&art=304602
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #21 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 10:11:39 AM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)

๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒


[๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้าง
ด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
          ก็มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด


          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

          เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตาย เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ
          ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังไม่ได้ละ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ(ความพยายาม อดทนบากบั่น ไม่ย่อท้อ) ความเพียร(วิริยะ ) ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
          เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

          เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตาย เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป อกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ
          ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่าธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ



จบสูตรที่ ๑๐
จบสาราณิยาทิวรรคที่ ๒


-----------------------------------------------------


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. สาราณิยสูตรที่ ๑ ๒. สาราณิยสูตรที่ ๒ ๓. เมตตสูตร
๔. ภัททกสูตร ๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลสูตร ๗. กุสลสูตร
๘. มัจฉสูตร ๙. มรณัสสติสูตรที่ ๑ ๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๗๒๕๕ - ๗๓๐๖.  หน้าที่  ๓๑๘ - ๓๒๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=7255&Z=7306&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=291
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_22





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2014, 10:25:19 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 18, 2024, 03:37:08 PM