เมษายน 19, 2024, 11:14:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่จะพบคนที่รักเราจริงๆ  (อ่าน 21221 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปิยพนธ์
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 41
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2857


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 23, 2014, 11:31:30 AM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่จะพบคนที่รักเราจริงๆ
ผมเองขอแชร์ประสบการณ์ความรัก และขอคำแนะนำ

ผมเกิดในครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ให้อิสระในความคิด
ปัจจุบันผมทำงานเป็นผู้บริหาร บริษัทแห่งหนึ่ง
ทั้งหน้าที่การงาน และครอบครัว มั่นคง
แต่ในเรื่องของความรัก ผมเสียใจบ่อยครั้ง

                ผมขอเล่าครั้งล่าสุด ผมได้รู้จักเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ซึ่งเราเคยทำงานในแผนกเดียวกัน เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนั้นผมพึ่งจบมาใหม่ๆ ได้พบกับเธอ แต่ตอนนั้นเราก็รู้จักกันและสนิทสนมกันในแบบเพื่อน ได้รับรู้ว่าเธอก็มีแฟนอยู่แล้ว ผมเองก็แอบชอบเธอมาตลอด แต่เราก็ต่างแยกย้ายกันไปทำงานในแต่ละที่ตามวิถีทางของมนุษย์เงินเดือน
                 แต่เราเองก็ยังติดต่อกันบ้าง แลกเปลี่ยนทัศนคติ ช่วยเหลือกันตามอัตภาพของคำว่าเพื่อน แ่แล้ววันหนึ่งเราต่างคนต่างก็เพิ่งเลิกกับแฟนจนมีโอกาสได้พบกันอีกครั้ง เราจึงตัดสินใจคบกันในฐานะคนรัก ระยะเวลาประมาณ 1 ปีเศษ เราร่วมทุกและสุขด้วยกันมาโดยตลอด จนเมื่อระยะหลังเราเริ่มมีปัญหาทะเลาะกันแต่เป็นผมที่เข้าใจเธอทุกอย่าง
                  เธอบอกเลิกกับผม ทั้งที่เรากำลังจะแต่งงานกันในปี 2558 เธอให้เหตุผลว่า เราถอยกันคนล่ะก้าวมาเป็นเพื่อนกันเช่นเดิมเถอะ ถ้ามีโอกาสเจอใครที่ดีก็จะได้ไม่ทำให้อีกฝ่ายเสียใจไปมากกว่านี้ ผมก็ต้องยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่เธอได้ตัดสินใจลงไป ผมทำใจไม่ได้เลยจริง คงเป็นเพราะคาดหวังเอาไว้เยอะ แต่หลังจากเลิกกันเราก็ยังคุยกันอยู่บ้างแต่น้อยลง
                   เธอเป็นคนมีเสน่ห์ มีคนหมายปองมากมาย ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ที่ผมได้มีโอกาสพบเจอกับความรัก และทุกๆครั้งผมพยายามทำให้มันดีที่สุด แต่สุดท้ายก็เป็นแบบนี้ทุกครั้ง
                    ส่วนครั้งนี้หนักที่สุด แต่ผมพยายามเอาธรรมะเข้ามาปรับใช้ ทั้งการสวดมนต์ ภาวนา วิปัสสนา แต่ดูเหมือนจิตใจยังคงว้าวุ่น นอนไม่ค่อยหลับ ก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็คงต้อง "ปล่อย" เธอไป แต่ใจของเราเป็นทุก จะคลายยังไงดีครับ
พยายามตัดใจ แต่ดูเหมือนว่ายังทำใจไม่ได้เลยแม้เวลาจะผ่านมา เกือบ 4 เดือนแล้วครับ




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 23, 2014, 03:36:14 PM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่&
ไม่ใช่แค่คุณคนเดียวหรอกครับที่เจอ คุณยังไม่ได้แต่งงานฐานะมั่นคงมันก็ดีแล้ว

ปัญหาขของผู้อื่น

1. ผมนี้ มีลูกกันแล้ว 1 คน แต่ก็ต้องเจอความพรัดพรากเป็นที่สุดจนคิดว่าตกนรกทั้งเป็น จนคิดว่าจะฆ่าตัวตายเสียตอนนี้เลย ไม่ก็หนีบวชไปเลย แต่ที่ยังอยู่ได้ เพราะลูกผมอายุ 3 ขวบเห็นผมร้องไห้ทุกวัน เขาเลยเข้ามากอดผมพร้อมร้องไห้แล้วพูดว่า "เราอยู่กัน 2 คนก็ได้นี่นา" เนี่ยเด็กที่แม้รู้ว่าต้องขาดแม่ยังพูดกับผมอย่างนี้ เราสิโตพอจะดูแลตัวเองได้แล้วยังเอาแต่เสียใจแล้วจะดูแลลูกยังไง หากผมล้มในตอนนี้ในวันข้างหน้าจะเอาอะไรไปสอนลูก พร้อมกันนั้นมีคำสอนที่เตี่ยผมสอนว่า "กูเลี้ยงมึงมาทั้งชีวิตของกู กูไม่มีเงินก็หาให้มึงกินมึงใช้ บ้านเราไม่ใช่คนรวยแค่มีอยู่มีกินไปวันๆ บางวันกูกับแม่มึงต้องอดข้าว เพื่อเอาเงินไปซื้อข้าวให้มึงกิน ส่งมึงเรียนจบ ปวส. ยังหาเงินสำรองไว้ให้มึงอีก มึงเจอปัญหาแค่นี้มึงคิดจะฆ่าตัวตาย เสียชาติเกิดมาเป็นลูกกู" จากคน 2 คนนี้แหละที่ทำให้ผมยังยืนอยู่ได้ แค่คำพูดแค่นี้ก็เสียบไปกลางหัวใจให้คิดได้จนละอายแก่ใจมากแล้ว แล้ววันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556 เตี่ยผมได้ละโลกนี้ไปแล้ว ความเสียใจมันเหลือหลาย แต่กระทั่งพ่อที่เลี้ยงดูเรามาอย่างดีตั้งแต่เกิด เรายังไม่เคยทดแทนบุญคุณท่านเลย พ่อตาย 3 วันเผา เลิกร้องไห้ เมียตายหรือเลิกกับเมีย 10 ปียังไม่เลิกเสียใจ ทั้งๆที่เขาไม่เคยหาเลี้ยงเราเลย นอกจากเสพย์ความใคร่ ความกำหนัดราคะ เสพย์เมถุน เท่านั้น นี่ดูสิ ใจเรามันอกตัญญูแค่ไหน จนทำให้เรารู้ว่า ไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพ่อและแม่ที่ให้กำเนิดเรามาและเลี้ยงดูแลเรามาจนโต จนทุกวันนี้ผมเหลือแม่คนเดียวลูกผมก็อยู่กับแม่ผม ผมก็พยายามหาให้ลูกกับแม่ได้มากที่สุดเท่าที่มีปัญญา เงินเดือนผม 10,300 บาท ต้องเลี้ยงทั้งลูกและแม่ที่อายุได้ 75 ปี
- คุณลองหวนระลึกดูว่าสิ่งใดควรให้ความสำคัญในชีวิตมากที่สุด

2. พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า คนเรามีความพลัดพรากเป็นที่สุด ไม่มีใครล่วงพ้นสิ่งนี้ไปได้ ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ตลอดไป จะต้องเสื่อมสลายไปทุกๆอย่างไม่ว่าจะด้วยสภาพแวดล้อม การดูแลรักษา กาลเวลา สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน(จริตสันดาน ความตรึกนึกคิดไรๆ เป็นต้น) หรือ ความตาย ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปยื้อยุด ฉุดรั้งมันให้เป็นไปดังใจเราได้ บังคับให้มันคงอยู่ไม่ได้ บังคับให้มันไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ความเข้าไปตั้งความปารถนาใคร่ได้ยินดีฝักใฝ่จดมั่นในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันเป้นทุกข์ นี่พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์


ทางสู้ปัญหา

3. ใช้ "ทมะ" (อ่านว่า ทะ-มะ) ทมะ คือ ความข่มใจจากกิเลส ความข่มใจจากกิเลสนี้มีขันติ คือ ความทนได้ทนไว้ ด้วยสภาวะที่ใจเรานั้นรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางร่วมอยู่ด้วย
- แล้วเราจะข่มใจจากกิเลสอันเศร้าหมองใจอย่างไร  อย่างเราๆนี้ คือ คิดดีนั่นเอง พึงหวนระลึกตรึกนึกเช่นว่า
ก. เราเลิกกันตอนนี้ ก็ยังดีกว่าแต่งงานแล้วเลิกหรือหย่ากัน อันนั้นมันเจ็บกว่า เสียตังค์เป็นแสนแขนไม่ได้จับ
ข. เราเลิกกันตอนนี้ ก็ยังดีกว่าแต่งงานมีลูกกันแล้วเลิกรากันไป อันนั้นจะเป็นปมด้อยให้ลูกด้วย ไม่ใช่แค่เรานั้นเสียใจฝ่ายเดียว
ค. ที่เธอเลิกราไปนี้ มันช่วยให้เราได้สำรวจดูความบกพร่องของตัวเองมากขึ้น และ รู้ว่าใครที่เราควรจะทุ่มเทให้มากที่สุด นั่นคือ แม่เรานี่เอง
ง. ที่เธอเลิกราเราไปนี้ มันช่วยให้เราได้เห็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจนั่นก็เป็นทุกข์ เมื่อคุณปารถนาที่จะอยู่กับบุคคลอันเป็นที่รักแต่ไม่อาจสมปารถนาได้มันก็เป็นทุกข์ ดั่งคำสอนที่ว่า ยัมปิจฉังนะละภะติตัมปิทุกขัง ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ นี่น่ะเห็นธรรมเลยนะได้รับรู้ความจริงเลย สภาพจริงๆที่ว่า ความขุ่นเคืองคับแค้นใจมีอาการยังไง นี่รู้สภาพปรมัตถธรรมด้วย
จ. ที่เธอจากไปนี้ มันช่วยให้เราได้รู้ว่า ความสละให้ สละทิ้งเป็นเช่นไร แม้พระพุทธเจ้าเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรนี้ เมื่อชูชกมาขอเอาลูกก็ยังต้องยอมสละทิ้ง เมื่อมาขอเอาพระนางมัทรีก็ยังต้องยอมสละทิ้ง ส่วนเรานี้มีความพรัดพรากอย่างนี้ เมื่อเราเจริญจิตไปด้วยเมตตาปารถนาให้เธอเป็นสุขกับสิ่งที่ใช่ของเธอ มีความสงเคราะห์ให้อนุเคราะห์ให้มีจิตจะปลดปล่อยให้เธอไป เรียกว่า กรุณา มีการสละให้ สละคืนเธอไปสู่วิถีชีวิตของเธอ เรียกว่าทาน มีจิตยินดีเมื่อเธอเป็นสุขคงไว้ซึ่งความสุขและสมบัติในชีวิตของเธอโดยที่เราไม่มาเสียใจเสียดายในภายหลัง นั่นเรียก มุทิตาจิต นี่เมื่อเจริญขึ้นเต็มกำลังใจเรียกว่าบารมี คือ ทำให้เต็มกำลังใจ เรียกว่าคุณได้ทำบารมีใน เมตตา กรุณา ทาน มุทิตา พร้อมๆกันในชาตินี้เลยทีเดียว อย่างนี้ต้องขอบคุณเธอที่ทำให้เรานั้นได้สะสมบารมี ๑๐ ทัศ

4. เมื่อมีความข่มใจด้วยทมะแล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่ง "อุปสมะ" คือ ความสงบใจจากกิเลส ก็เหมือนๆกับทมะและขันติ โดยความสงบใจจากกิเลสนี้อาศัยทมะและขันติ คือ ความทนได้ทนไว้ ด้วยสภาวะที่ใจเรานั้นรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางให้เกิดขึ้นหรือรสงเคราะห์ร่วมด้วยให้เข้าถึงความสงบใจนั้น
- อุปสมะนี้ เป็นธรรมคู่กัน ๒ คือ ทมะ+อุปสมะ แล้ว ทมะเป็นมรรค คือ หนทางพ้นทุกข์ อุปสมะนี้ คือ ผล ซึ่ง เมื่อเราข่มใจจากกิเลสด้วย กุศลวิตก ๓ คือ
(ความตรึกที่เป็นกุศล ๓ , ความนึกคิดที่ดีงาม ๓ — wholesome thoughts)
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)
ก็จะทำให้คุณมีกุศลจิตเกิดขึ้นอันทำให้เราคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวของแฟนคุณ ด้วยละเสียว่า
- เธอไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่เพียงให้เราได้ยืมมาเสวยสุขเวทนาและความโสมนัสเวทนาชั่วคราว เมื่อถึงเวลาเธอก็ต้องไป ไม่มีสิ่งใดคงอยู่นาน ไม่มีตัวตนที่เราจะจับบังคับให้เป็นดั่งใจได้ เมื่อเราเข้าไปปารถนาในเขาซึ่ีงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ย่อมนำความทุกข์มาให้
- เราควรถึงความปารถนาดีแก่เขาจักไม่ผูกเวรโกรธแค้นเคืองไรๆต่อเขา พึงปารถนาให้เขานั้นได้ดีมีสุขดั่งที่เราตั้งเจตนาไว้ เราควรแล้วที่จะสงเคราะห์เขาที่ผ่านมาเขาก็ให้ความสุขเรามาพอสมควรแก่หน้าที่เขาแล้ว เราควรสละคืนสุขนั้นให้เธอบ้างเช่นกัน
- เมื่อเราสละเธอแล้วก็จะไม่มาเสียใจเสียดายในภายหลังอีก เพราะถือว่าเราสละความครอบครองทิ้งไปแล้วเพื่อประโยชน์สุขของเธอ
- เมื่อเราติดใจข้องแวะจากการพรัดพรากไปไม่ว่าจะด้วยสภาพแวดล้อม กาลเวลา การดูแลรักษา สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน หรือ ความตายไรๆไปมันก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆนอกจากทุกข์ ละความติดใจข้องแวะนั้นไปเสีย เพราะนี่คือธรรมชาติ นี่คือสัจธรรม
- ถึงจะติดใจข้องแวะหรือไม่ติดใจข้องแวะที่เธอจากไป ก็ไม่ทำให้เธอกลับคืนมา เธอก็ต้องจากไปอยู่ดี / ถึงเราจะร้องไห้เสียใจหรือเราจะเป็นสุขไม่ร้องไห้เสียใจเธอก็จากไปอยู่ดี / แล้วอย่างนี้จะไปเอาสิ่งไรๆกับความพรัดพรากได้เล่า หากรักเธอจริงก็อย่าเอาความขุ่นมัวคับแค้นกายใจของเราไปให้เธอ ควรยินดีเมื่อเธอไปพบเจอความสุขที่เธอต้องการ ดั่งเราจับนกมาขังไว้มันย่อมอยากพบเจอผืนป่าผืนน้ำที่อยู่อาศัยของมันตามวิถีชีวิตของมัน เมื่อเราปล่อยมันไปมันย่อมเป็นสุขที่มีอิสระ ถือว่าเป็นเมตตาทานบารมีของเรา นี่ยิ่งเป็นมนุษย์คือสัตว์ประเสริฐ ยิ่งถือเป็นเมตตา กรุณา และทานบารมีอันสูงสุด

**   เพราะด้วยเจริญจิตขึ้นฉะนี้ โทสะย่อมดับไป กุศลจิตอันเป็นไปในเมตตา กรุณา ทาน มุทิตา ย่อมเกิดขึ้นแก่เรา ให้สงบรำงับจากความเร่าร้อนที่มากด้วย โลภ โทสะ โมหะ ถึงความว่างนิ่งไม่ติดข้องใจในสิ่งใดๆ ไม่จับเอาโทสะ ความอัดอั้นคับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ โศรกเศร้าร่ำไรรำพันไรๆมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ไม่ยินดียินร้ายไปกับกิเลส เข้าถึงความสงบใจ ว่างอยู่จากกิเลส สงบกายใจไม่เราร้อน รู้สึกเบากายใจเป็นที่สุด อันนี้เรียกอุปสมะ / หากเข้าถึงขั้นสูงก็เปรียบเสมือนได้ดับกิเลสสิ้นแล้ว ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีอุปกิเลสอีก เรียกว่า พระอระหันต์ หรือ สภาวะที่เป็นคุณของพระนิพพาน







- ผมขอกล่าวแค่นี้ก่อนนะครับ เอา ทมะ+อุปสมะ ไปก่อน ไปเจริญให้ได้ก่อน ซึ่งต้องอาศัย ศีล ทาน ภาวนา(สมาธิ+ปัญญา) ด้วย จะทำให้เกิดปรปะโยชน์อันสูงสุด จนสืบต่อมาเมื่อคุณไม่เจอสิ่งไรๆเข้า คุณจะรู้ทันทีว่าติดใจข้องแวะไปมีแต่ทุกข์ คุณจะไม่เสพย์อารมณ์อันใดที่ทำให้เร่าร้อนกายใจอีกเลย เมื่อถึงสภาวะนี้ สติกับสมาธิจะมีกำลังมาก ควรแก่การเจริญในลำดับต่อมา นั่นคือ เข้าถึงอัปนาสมาธิหรือฌาณ และ วิปัสสนาญาณหรือปัญญา

- อันนี้ผมอธิบายยืดเยื้อจนยาวไม่รู้ว่าจะพอเข้าใจไหม สรุปโดยย่อคือ

ก. ทมะ ความข่มใจจากกิเลส คือ คิดดี ได้แก่
กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)

ข. อุปสมะ สงบใจจากกิเลส ได้แก่
- อาศัยความรู้จักปล่อย ละ วาง สละทิ้ง ไม่หยิบจับเอาสิ่งไรๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เลือกเสพย์แต่สิ่งที่ดีงามเป็นกุศล / เป็นเหตุทำให้กายใจเราเข้าถึงความว่างจากกิเลสทุกข์เครื่องเร่าร้อน รุ่มร้อน เดือดดาล ร้อนรุ่มกายและใจทั้งหลายเป็นผล



ยาวเกินไปจนทำให้สับสนไหมครับ

- หากคุณปฏิบัติแล้วพบว่าเป็นพระโยชน์ ขอให้คุณศรัทธาในพระรัตนตรัยให้มาก เคารพพ่อแม่และครูบาอาจารย์ให้มาก จะนำพาให้คุณมีชีวิตที่ดีงามแน่นอน

1. เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสสอนชี้แนะให้เราเห็นทางพ้นทุกข์
2. เพราะพระธรรมเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเผยแพร่สั่งสอนซึ่งให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง
3. เพราะพระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นผู้เข้าถึงมรรคและผลแล้วถ่ายทอดพระธรรมคำสอนสืบต่อมาให้เราได้รู้ตามเพื่อถึงความพ้นทุกข์
4. เพราะบิดา-มารดาที่เดลี้ยงดูเรามาให้กำเนิดเราดูแลเรามาอย่างดีจนสามารถเลี้ยงชีพได้ และ ได้เจอพระพุทธศาสนานี้
5. เพราะครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งทางโลกที่ชี้แนะสั่งสอนวิชาชีพให้เราใช้ดำรงชีวิต และ ทางธรรมให้เราได้เรียนรู้สิ่งที่ดี ถูกและผิด ดำเนินไปในทางที่เป็นกุศล ได้เลี้ยงชีพโดยชอบและเห้นทางพ้นทุกข์นั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2014, 03:49:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ปิยพนธ์
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 41
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2857


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 01:41:54 PM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่จะพบคนที่รักเราจริงๆ
อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณสำหรับปง่คิดดีๆ ที่มีค่าซึ่งเหมือนแสงสว่างที่ส่องทางผมในขณะนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 05:19:39 PM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่จะพบคนที่รักเราจริงๆ
สาธุ ด้วยครับ

สิ่งที่ผ่านไปแล้ว ถ้าไม่ดี อย่าเอามาย้ำคิดย้ำจำอีก เพราะทำให้จิตเศร้าหมอง

พระพุทธเจ้าเตือนไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติ เป็นอันหวังได้

นอกจากตายไปสู่ ทุคติ แล้วขณะยังไม่ตาย จิตที่เศร้าหมองก็จะเปฺดโอกาสให้กรรมที่ไม่ดีหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตแทน

ดังนั้นจึงควรรักษาใจให้ผ่องใส ระลึกถึงแต่กุศล แล้วกรรมดีต่างๆก็จะหลั่งไหลมาแทน

จิตเราเหมือนเป็นผู้เปิดประตูกรรม ถ้าเปฺดประตูของ อกุศล ก็ไปต้อนรับ อกุศลเข้ามา

ถ้าเปิดประตูของ กุศล ก็ต้อนรับ กุศลเข้ามา

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านครับ

บันทึกการเข้า

บาส
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 37
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2954


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2015, 04:56:27 PM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่จะพบคนที่รักเราจริงๆ
ทำตัวเองดีคนดีๆจะเข้ามาเองแหละครับ
บันทึกการเข้า
Jonsnow
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 4
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 3226


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2019, 04:43:25 PM »

Permalink: อกหักบ่อยครั้ง เสียใจทุกครั้ง เมื่อไร่&
สาธุ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2019, 01:55:18 PM โดย Jonsnow » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 12, 2024, 11:01:40 PM