เมษายน 20, 2024, 06:31:38 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทาน เด่นเพราะ ศีล  (อ่าน 11548 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 09:28:23 PM »

Permalink: ทาน เด่นเพราะ ศีล
ตอนที่ ๑ ว่าด้วย เหตุใดจึงต้องทำทาน

ใน เนมิราชชาดก

พระอินทร์ได้ทรงเล่าเรื่องของพระองค์เองว่า  ได้เคยประกอบทานอันยิ่งใหญ่ เมื่อชาติที่เกิดเป็นพระราชาแห่งพาราณสี

ได้ทรงถวายอาหารแก่นักพรตที่อยู่บริเวณแม่น้ำสีทา เป็นจำนวนหมื่นรูป ได้รับกุศลยิ่งใหญ่แต่ก็เพียงแต่ได้เกิดในเทวโลกเท่านั้น

ส่วนบรรดานักพรต ที่ประพฤติพรหมจรรย์เหล่านั้น ล้วนได้ไปเกิดในพรหมโลก อันเป็นแดนที่สูงกว่าและมีความสุขสงบอันบริบูรณ์กว่า

แต่แม้ว่าพรหมจรรย์จะ ประเสริฐกว่าทาน พระอินทร์ก็ได้ ทรงเตือนให้พระเจ้าเนมิราชทรงรักษาธรรมทั้งสองคู่กันคือ บริจาคทานและรักษา ศีล

***********************************
ใน อาทิตตสูตร

เทวดาองค์หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้กล่าวคาถาว่า

เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา

ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไป ย่อมไหม้ในไฟนั้น ฉันใด ฯ
                
โลก (คือหมู่สัตว์) อันชราและมรณะเผาแล้ว ก็ฉันนั้น ควรนำออก (ซึ่งโภคสมบัติ) ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุ

ที่บุคคลให้แล้ว ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว ฯ

ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีสุขเป็นผล ที่ยังมิได้ให้  ย่อมไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น

โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบได้เพลิงยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้ ฯ
                          
อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยตายจากไป ผู้มีปัญญารู้ชัด ดั่งนี้แล้ว ควรใช้สอยและ ให้ทาน ฯ

เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควรแล้ว จะไม่ถูกติฉิน เข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์ ฯ

*********************
 ใน นิทานกถา

สุเมธดาบส  ถือกำเนิดในตระกูลที่ทั้งทางฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ร่ำรวยนับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใครจะดูถูกมิได้

ศึกษาศิลปะศาสตร์ทุกแขนง  จนเมื่อบิดาและมารดาได้ถึงแก่กรรมในตอนที่เขายังรุ่นหนุ่ม.

อำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์ นำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังสมบัติที่เต็มไปด้วย ทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดา เป็นต้น

บอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวด


สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์มากไว้ถึงปานนี้ แต่เมื่อสิ้นชีพไปแล้วไม่สามารถถือเอาทรัพย์นั้น แม้กหาปณะเดียวติดตัวไปได้

ดังนั้น เราควรกระทำเหตุที่จะทำให้ถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้. ดังนี้แล้วได้กราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปทั่วพระนคร ว่าจักให้ทรัพย์ทั้งหมดเป็นทานแก่มหาชน แล้วจักออกบวชเป็นดาบส

*****************






บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 12:03:01 AM »

Permalink: ทาน จะเด่น ศีล ต้องเข้มแข็ง
ตอนที่ ๒ ว่าด้วย อานิสงค์ของทาน

ใน  ทานานิสังสสูตร  พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของทานไว้ ๕ อย่างคือ

   ๑.  ผู้ให้ทาน  ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก
   ๒.  สัปบุรุษ  ผู้สงบ  มีพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
   ๓.  กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน  ย่อมขจรขจายไปทั่ว
   ๔.  ผู้ให้ทาน  ย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์  คือมีศีล  ๕  ไม่ขาด
   ๕.  ผู้ให้ทาน  เมื่อตายไปแล้ว  ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

******************
   ใน  ทานสูตร  อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้
ทานที่ให้แล้ว  มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก  และเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก  และมีอานิสงส์
มาก  ไว้ดังต่อไปนี้

   ๑.  บุคคลบางคน  ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้  
เมื่อตายไป  ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลก
แล้ว  ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๒.   บุคคลบางคนให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี  เป็นบุญ  เป็นกุศล   จึงให้
เมื่อตายไป  ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว
ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๓.   บุคคลบางคนให้ทานเพราะละอายใจที่  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร  
ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว  ก็
กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๔.   บุคคลบางคน ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้  เราหุงหากินได้  ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร  
ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว  
ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๕.   บุคคลบางคน  ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว  
เขาตายไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความ
เป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๖.   บุคคลบางคน  ให้ทานเพราะคิดว่า  เมื่อให้แล้วจิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้  
ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี  สิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่แล้ว  ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้  คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  ทานอย่างนี้มีผลมาก  แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

   ๗.   บุคคลบางคนในโลกนี้  ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง  ๖  อย่างข้างต้นนั้น  แต่ให้
ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต  คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของ
สมถะและวิปัสสนา  จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล  ตายแล้วได้ไปเกิดใน
พรหมโลก  เขาสิ้นกรรม  สิ้นฤทธิ์  สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว  เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิด
ในโลกนี้อีก  คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง  ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก  และมีอานิสงส์มาก

   สรุปรวมความว่า  ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก  ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิด
ที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์  แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก  เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้

   ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก  ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย  มีอานิสงส์
มากด้วย  เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

   ฉะนั้นคำว่า  "อานิสงส์มาก"  ในที่นี้  จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง  ไม่ต้องเกิดอีก

********************
ใน  ทานสูตร

โลกุตตรธรรม (มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน) เป็น นิปปริยายธรรม
(ธรรมโดยตรง เป้าหมายหลักโดยตรง)

             การให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญฌานสมาบัติ การฟังธรรม ศึกษาเล่าเรียนสอบถาม มนสิการต่างๆ โดยชอบ

เพื่อเป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผล เป็นกุศลธรรมที่อิงอาศัยวิวัฏฏะ เรียกว่า ปริยายธรรม (ธรรมเพื่อไปให้ถึงธรรมโดยตรง)

             มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ เป็น นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง)
             การทำกุศลที่นำไปสู่วัฏฏะ เช่น ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญฌานสมาบัติเพื่อมุ่งหวังความเป็นเศรษฐีบ้าง (มนุษย์สมบัติ) ทิพยสมบัติบ้าง (เทวสมบัติ) แล้วตั้งความปรารถนานั้นๆ เป็นกุศลธรรมที่อิงอาศัยวัฎฎะ เรียกว่า ปริยายอามิส(กระทำเพื่อให้ไปถึงอามิสนั้นๆ) ไม่ใช่ปริยายธรรม เพราะตั้งใจปรารถนาอามิส ไม่ได้ตั้งใจปรารถนาโลกุตตรธรรม

             การให้ทานแบบหวังผลเพื่ออามิสดังกล่าว จัดเป็นการให้ทานที่มีลำดับต่ำสุด
ในบรรดาทานทั้งหลาย ในทานสูตร (แต่ก็มีข้อดีคือ ดีกว่าไม่ให้)

             แต่ข้อเสียมีมากกว่าคือ เมื่อเห็นว่าความร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง หรือการได้อุบัติ
เป็นเทพบุตรหรือเทพธิดานั้น เป็นสุดยอดความปรารถนาแล้ว เมื่อได้สมปรารถนา
ก็จะไม่สนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนาเลย จะเพลิดเพลินด้วยความประมาท
จนหมดอายุขัย แล้วก็ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ


            

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 10:58:23 AM »

Permalink: ทาน เด่นเพราะรองรับด้วย ศีล
ตอนที่ ๓ ว่าด้วยองค์ประกอบของ ทาน

ในทานสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคัลลานะเป็นประมุข

         พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

        “ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร ?

        ภิกษุทั้งหลาย ! องค์ ๓ ของทายก (ผู้ให้) องค์ ๓ ของปฏิคาหก ผู้รับ)
        องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน ?
        ภิกษุทั้งหลาย !
        - ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑
        - ทายกกำลังให้ทานอยู่ ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑
        - ทายกครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ ๑

        นี้คือ องค์ ๓ ของทายก (ผู้ให้ทาน)

        ส่วนองค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ?
        ภิกษุทั้งหลาย !
        - ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑
        - ปฏิคาหกเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑
        - ปฏิคาหกเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑

        นี้คือ องค์ ๓ ของปฏิคาหก (ผู้รับทาน)

        องค์ ๓ ของทายก และองค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีด้วยประการดังนี้

        ภิกษุทั้งหลาย ! ทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล
การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะไม่ใช่ทำได้ง่าย  โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงน้ำที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น”

        ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ดีใจ
        กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส
        ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ
        นี้เป็นยัญสมบัติ

        ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตถึงพร้อมแห่งยัญ
         ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมีผลมาก เพราะตน (ผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ผู้รับทาน)
         ทายกผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุข ไม่มีความเบียดเบียน

                                                                                ทานสูตร ๒๒/๓๔๖
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2014, 11:47:17 PM »

Permalink: ทาน เด่นเพราะ ศีล
ตอนที่ ๔ ว่าด้วย ผลของทาน

         ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
        ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
        ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
        “ท่านโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงบริโภคทานนี้
        ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือ ? ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ ?”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะ (ได้รับ) แล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ (ไม่ได้รับ)”
        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามว่า
        “ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน ? และอฐานะเป็นไฉน ?”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตคิดปองร้าย และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก
        ดูก่อนพราหมณ์ ! ฐานะอันไม่เป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็น อฐานะ
(หมายถึงผู้ที่เราจะอุทิศไปให้ ไปเกิดอยู่ในนรก ย่อมไม่ได้รับ)

        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
        ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ
(หมายถึงผู้ที่เราจะอุทิศไปให้ ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่ได้รับ)


        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นชอบ
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษย์โลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้น ด้วยอาหารของมนุษย์
        ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ
(หมายถึงผู้ที่เราจะอุทิศไปให้ ไปเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่ได้รับ)


        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นชอบ
บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา
        ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ
(หมายถึงผู้ที่เราจะอุทิศไปให้ ไปเกิดอยู่สวรรค์ ย่อมไม่ได้รับ)


        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่ง ‘ปัตติทานมัย’ จากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยปัตติทานมัยนั้น
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ”

(หมายถึงผู้ที่เราจะอุทิศไปให้ ไปเกิดเป็นเปรต และได้กล่าวอนุโมทนาบุญ จึงจักได้รับ)


        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามว่า
        “ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้นแล้วใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ? ”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้น ย่อมบริโภคทานนั้น”
(หมายถึงญาติเหล่าอื่นที่เราไม่รู้จัก จักได้รับแทน)

        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามว่า
        “ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น แล้วใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
(หมายถึงในวัฏฏะอันยาวนานผ่านมา ญาติเหล่าอื่นของเราที่รอการอุทิศ มีอยู่อีกแน่นอน )

        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามว่า
        “ท่านโคดมผู้เจริญ ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ ?”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ
        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น
        ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้างนั้นด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่ สมณพราหมณ์
ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้นด้วยกรรมนั้น
(หมายถึงผู้ทำทาน แล้วตายไปเกิดเป็นช้าง ย่อมเป็นช้างที่ได้เสวยสุขเพราะผลทานที่เคยทำ)

        ดูก่อนพราหมณ์ ! อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดม้า โค สุนัข นั้น
        ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นผิด
บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัขด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดม้า โค สุนัข นั้นด้วยกรรมนั้น
(หมายถึงผู้ทำทาน แล้วตายไปเกิดเป็นม้า โค สุนัข ย่อมเป็นม้า โค สุนัข ที่ได้เสวยสุขเพราะผลทานที่เคยทำ)

        ดูก่อนพราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
บุคคลนั้นเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ เขาย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็นของมนุษย์ในมนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น
        ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นชอบ
ผู้นั้นเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็นของมนุษย์ ในมนุษย์โลกนั้น ด้วยกรรมนั้น
(หมายถึงผู้ทำทาน แล้วตายไปเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นมนุษย์ที่ได้เสวยสุขเพราะผลทานที่เคยทำ)

        ดูก่อนพราหมณ์ ! อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นชอบ บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
บุคคลนั้นเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น
        ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ และมีความเห็นชอบ
ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้นด้วยกรรมนั้น
(หมายถึงผู้ทำทาน แล้วตายไปเกิดเป็นเทวดา ย่อมเป็นเทวดาที่ได้เสวยสุขเพราะผลทานที่เคยทำ)

        “ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ทายก ก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามว่า
        “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
        “ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ
        ดูก่อนพราหมณ์ ! แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
        ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลว่า
        “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
                                                                                ชาณุสโสณีสูตร ๒๔/๒๗๗

        ส่วนเสริม
          ชาณุสโสณีสูตร หรือพระสูตรที่ว่าด้วยผลแห่งการให้ทานนี้ นับว่าเป็นพระสูตรสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยเปลื้องความข้องใจแก่ผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า ผลแห่งทานที่ตนให้แล้วนี้จะถึงผู้ที่ตายไปแล้วหรือไม่ ? และถ้าไม่ถึงทานนั้นจะเกิดการสูญเปล่าหรือไม่ ? ผู้เขียนจึงได้ลอกคัดพระสูตรนี้มาเสนอจนครบทั้งสูตรโดยมิได้ตัดทอนหรือต่อเติมเลย แต่ก็อดเป็นห่วงชาวพุทธประเภท ‘ธรรมะห่างใจ กายห่างวัด’ มิได้ เมื่อท่านได้อ่านพระสูตรนี้แล้ว คงมีท่านที่ไม้เข้าใจสำนวนภาษาพระอยู่บ้าง จึงขอสรุปเป็นภาษาชาวบ้าน ดังนี้

          ๑. จากสาระในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงรับรองเองว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีการสูญเปล่าแน่ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ขอให้ท่านที่บริจาควัตถุทานจงมั่นใจเถิดว่า จะไม่มีการสูญเปล่าเกิดขึ้นแน่ๆ

           ๒. การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายที่เป็นญาตินั้น ถ้าผู้นั้นตายไปแล้วไม่ไปเกิดอยู่ในภูมิของเปรตแล้ว ก็ไม่อาจจะได้รับส่วนบุญแน่ และคำว่า ‘เปรต’ ในพระสูตรนี้หมายถึงเปรตทั่วไป
มิได้เจาะจงเฉพาะพวกปรทัตตูปชีวี ก็หามิได้ (ตรงกับติโรกุฑฑกัณฑ์ ๒๕/๘)

          ๓. คนที่ตายไปแล้วนั้น ยกเว้นเปรตพวกเดียวแล้ว เขาย่อมจะได้รับอาหารในภพภูมินั้นๆ เช่น เกิดในกำเนิดสัตว์นรกก็มีอาหารของสัตว์นรกกิน เพราะผลแห่งการทำบาป
เกิดในสวรรค์ก็มีอาหารทิพย์กิน เพราะผลแห่งการทำบุญไว้ก่อน เมื่อมาเกิดในกำเนิดมนุษย์ก็มีอาหารของมนุษย์กิน เพราะผลแห่งการทำบุญไว้ในกาลก่อน
เกิดในกำเนิดดิรัจฉานก็มีอาหารของดิรัจฉานกิน เพราะผลแห่งการล่วงศีล แต่ก็ยังทำบุญอย่างอื่น มีให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ประทีปแก่สมณะทั้งหลายไว้ก่อน เป็นต้น

          ๔. มีข้อน่าคิดว่า ทานที่จะสำเร็จแก่เปรตญาตินั้น ผู้ทำทานจะต้องแสดง ‘ปัตติทานมัย’ คือ ให้ส่วนบุญนั้นแก่ผู้ตาย และผู้ตายที่เป็นเปรตก็จะต้องแสดง ‘ปัตตานุโมทนามัย’ คือพร้อมที่จะรับส่วนบุญนั้นด้วย

          ๕. พระสูตรนี้ปฏิเสธผลแห่งบุญที่พวกญาติอุทิศให้แก่ผู้ไปเกิดในกำเนิดอื่นๆ เช่น เทวดา มนุษย์ ดิรัจฉาน และนรก คงได้รับแต่เฉพาะเปรตพวกเดียวเท่านั้น

        ๖. ในสังสารวัฏฏนี้ คนที่ไม่มีญาติสาโลหิตที่ไม่เป็นเปรคอยู่เลยนั้น ไม่มี การอุทิศทุกครั้ง ย่อมมีเปรตที่เป็นญาติสาโลหิตของเราในภพชาติใดชาติหนึ่งรับได้เสมอ

ผลแห่งทานนี้ เมื่อไม่มีใครรับก็ยังเป็นของเราอยู่เช่นเดิม เมื่อเราไปเกิดในกำเนิดใดๆ ก็ย่อมจะได้รับผลแห่งบุญเมื่อนั้น เช่น ไปเกิดในสวรรค์ มนุษย์ หรือแม้แต่ดิรัจฉาน ผลแห่งบุญก็ย่อมตามไปสนอง ให้เราได้มีกินมีใช้ ได้อยู่อย่างดีมีความสะดวก สบายและมีความสุข

          ๗. ผลต่างแห่งคนมีศีลทำทาน กับคนทุศีลทำทาน คือ คนมีศีลทำทานย่อมไปเกิดในสุคติคือสวรรค์และมนุษย์ ส่วนคนทุศีลทำทานย่อมไปเกิดในนรก เมื่อมาเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เช่น โค ม้า สุนัข เป็นต้น จึงได้รับ และย่อมจะได้กินดี อยู่ดี กว่าคนที่ไม่เคยทำทานต่างๆ ไว้ก่อน

          ข้อนี้มีตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น วัว ควาย ที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี กับวัว ควายไปอยู่กับคนบางคน นอกจากจะถูกใช้งานอย่างหนัก ถูกเฆี่ยนตีอย่างทารุณแล้ว ยังปล่อยให้อดๆ อยากๆ อีกด้วย สุนัขบางตัวในปัจจุบัน มีการกินดีอยู่ดี ยิ่งเสียกว่าคนส่วนมากเสียอีก นั่นย่อมเป็นเครื่องสนับสนุนพระพุทธพจน์นี้ได้อย่างดีว่า บุพกรรมของสัตว์เหล่านั้นมีมาต่างกัน พระสูตรนี้ทำให้ผู้เขียนหายข้องใจในเรื่องนี้เป็นปลิดทิ้ง

          ๘. ข้อที่พระสูตรไม่กล่าวถึง ได้แก่ การให้ทานที่มีผลมากหรือน้อย ผู้บริจาคและผู้รับควรเป็นบุคคลประเภทใด ท่านไม่ได้กล่าวไว้แต่ก็ไปมีกล่าวไว้ในทานสูตร (๒๒/๓๔๗) แล้ว

          พระสูตรนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงผลแห่งทาน ที่บุคคลทำแล้วว่าไม่สูญเปล่า ถึงแม้ว่าเราจะอุทิศผลให้ผู้ตาย ถ้าผู้ตายไม่ไปเกิดเป็นเปรตหรือไม่มีใครรับผลทานนั้น ทานนั้นก็ย่อมจะเป็นของเราอยู่ตลอดไป ไม่มีใครจะมาแย่งชิงเอาไปได้
          


ที่มา http://www.dhammajak.net/index2.php?option=com_content&task=view&id=311&pop=1&page=0
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2014, 10:45:00 AM »

Permalink: ทาน เด่นเพราะ ศีล
ตอนที่ ๕ ว่าด้วย บุญกริยาวัตถุ ๑๐

ใน บุญกริยาวัตถู ๑๐

สงเคราะห์เข้าเป็น ทานมัย มี ๓ คือ

การบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละทรัพย์
การให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้
การอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา


ดังนั้น จึงควรทำให้ครบทั้ง ๓ อย่างทุกๆครั้งที่ทำ ทาน คือ
เมื่อให้ทานแล้ว ควรอุทิศส่วนบุญ และยินดีกับส่วนบุญที่ได้อุทิศ


***************
ทานยังมีอีก ๓ อย่าง คือ

ทาสทาน หมายความว่า การให้ของที่เลวกว่าที่เรากิน หรือของที่เลวกว่าที่เราใช้
สหายทาน หมายความว่า การให้ของเสมอที่เรากินอยู่ หรือที่เราใช้อยู่
สามีทาน หมายความว่า การให้ของที่ดีกว่าที่เรากินที่เราใช้อยู่

**********************
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2014, 05:21:03 PM »

Permalink: ทาน เด่นเพราะ ศีล
ตอนที่ ๖ ว่าด้วย ทาน ศีล ภาวนา กับ สุคติภูมิ

บุญกริยา ๑๐ หรือแบ่งโดยรวมเป็น บุญกริยา ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา

ทาน  ส่งไปสู่ สุคติภูมิ ๗ คือ มนุส๑ เทวภูมิ๖ แต่ยังไม่แน่นอน ถ้าผู้ทำทานนั้นมีการทำบาปไปด้วยเช่นฆ่าสัตว์ ก็อาจพลาดพลั้งลงสู่อบายภูมิได้อยู่

ศีล  ส่งไปสู่ สุคติภูมิ ๗ โดยแน่นอน เพราะป้องกันไม่ให้ไปตกอบาย

ภาวนา นอกจากส่งไปสู่ สุคติภูมิ ๗ แล้ว ยังไปสู่ รูปภูมิ ๑๖ และ อรูปภูมิ ๔ ได้อีก แล้วยังสามารถบรรลุเป็น พระอริยบุคคล มี พระโสดาบัน จนถึง พระอรหันต์

***************

จริงอยู่ การทำทาน ให้ผลเป็นความสุข และมีทรัพย์สมบัติ แต่การทำทานอย่างเดียว ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่ไปตกอบาย

ดังนั้น ผู้ทำทานจึงต้องรักษาศีลควบคู่ไปด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีลแก่ชาวปาฏลิคามใน มหาปรินิพพานสูตร1) ว่ามี 5 ประการ คือ

1. ย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติมากมาย

2. กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป

3. มีความองอาจเมื่อไปสู่ชุมชนใดๆ

4. ไม่เป็นผู้หลงตาย (ไม่ตายอย่างไร้สติ)

5. เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป

*************************
สีเลนะ สุคะติง ยันติ   
สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
สิเลนะ  นิพพุติง  ยันติ

สีเลนะ สุคะติง ยันติ.... หมายความว่า การรักษาศีลทำให้เกิดความสุข.... (เพราะไม่ได้เบียดเบียนใคร... ก็ไม่มีใครมาจองเวรจองกรรมเรา.. จึงเกิดเป็นความสุข)

สีเลนะ  โภคะสัมปะทา ... หมายความว่า การรักษาศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ หรือทำให้มีทรัพย์นั่นเอง

สิเลนะ  นิพพุติง  ยันติ ..... หมายความว่า การรักษาศีล เป็นหนทางให้เข้าสู่นิพพาน (ทั้งนี้เพราะการรักษาศีลเป็นฐานสำคัญในการที่จะบำเพ็ญภาวนา, มีสมถะ และวิปัสสนา, ใช้ปัญญาในการศึกษาวิจัยข้อธรรมอันเป็นหนทางสู่พระนิพพานนั่นเอง, ทั้งนี้ตัวศีลเองไม่ได้เป็นสิ่งที่จะเข้าถึงนิพพานโดยตรง แต่ผู้ที่จะเข้าถึงนิพพาน จะต้องมีศีล)

****************************
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 03:58:55 PM