เมษายน 19, 2024, 04:59:00 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กุศล กรรม เจตนา  (อ่าน 12160 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2014, 09:52:45 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
คำว่า กุศล มีคำอธิบายว่า คือ สภาพที่ ดีงาม ฉลาด ไม่มีโทษ และมีผลเป็นสุข  ซึ่งตรงข้ามกับ อกุศล

กุศล สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ระดับ คือ กามาวจรกุศล  รูปาวจรกุศล  อรูปาวจรกุศล และ โลกุตตรกุศล

อธิบายได้ดังนี้

กามาวจรกุศล คือยังต้องข้องแวะกับกาม กุศลที่ยังพาให้เวียนว่ายอยู่ใน กามสุคติภูมิ๗ อันได้แก่ มนุษย์๑ และ เทวดา๖

เป็นกุศลของผู้ที่ยังปรารถนาในกามอยู่ กล่าวคือ ยังผลให้เกิดโภคทรัพย์  บริวาร ลาภ ยศ ผิวพรรณ วรรณะ บรรดาศักดิ์ ตลอดถึง ทิพยสมบัติ สวรรค์สมบัติ มีวิมาน นางฟ้า เป็นต้น

กามาวจรกุศลที่รู้จักคุ้นเคยกันดีก็คือ บุญกิริยา๑๐ นั่นเอง ย่อลงเป็น๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา ระดับทั่วๆไป ดังนี้
ทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของ เพื่ออนุเคราะห์ให้เขามีความสุขสบายขึ้น
ศีล คือ การสำรวมกาย วาจา ไม่เบียดเบียนทำให้เขาเดือดร้อน
ภาวนา คือ การควบคุมใจไม่ให้คิดมุ่งร้าย พยาบาท ต่อบุคคลอื่น

ในบุญกิริยา๑๐ สงเคราะห์ลงใน ทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้
สงเคราะห์ลงใน ทาน ได้แก่
การให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้
การอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา

สงเคระห์ลงใน ศีล ได้แก่
การประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย)
การขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย)

สงเคราะห์ลงใน ภาวนา ได้แก่
การฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย)
การแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย)
การทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์)

**********************************

จะสังเกตได้ว่า ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ที่อยู่ในบุญกิริยา๑๐ นี้ มี เจตนา การกระทำเพื่อผู้อื่น หรือ เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลผู้อื่น
ถ้าหากไม่ได้มี เจตนา ทำเพื่ออนุเคราะห์ผู้อื่น หรือ มีเจตนา ทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทนจากผู้อื่นแล้ว ก็ไม่ได้ บุญ แม้จะเป็นการแสดงธรรมก็ตาม ดังมีกล่าวไว้

“เอโก  เอวํ   มํ  ธมฺมกถิโกติ  ชานิสฺสนฺตีติ   อิจฺฉาย  ฐตฺวา  ลาภครุโก   หุตฺวา   เทเสติ ,   ตํ   น   มหปฺผลํ”

“ผู้ที่แสดงธรรมด้วยใจไม่บริสุทธิ์  เพราะมีความหวังว่า  คนอี่นจะชื่นชม จะรู้ว่าเราเป็นธรรมกถึก  ทั้งหวังอยู่ในลาภ  การแสดงธรรมอย่างนี้  ย่อมมีผลมีอานิสงส์น้อย  ไม่ไพบูลย์”

***************

“เอโก  อตฺตโน  ปคุณํ  ธมฺม  อปจฺจาสีสมาโน  วิมุตฺตายตนสีเสน  ปเรสํ  เทเสตํ,   อิทํ   เทสนามยํ   ปุญฺกิริยาวตฺถุ   นาม”

“ผู้ใดผู้หนึ่ง  แสดงธรรมแก่ชนทั้งหลายด้วยความรู้  ด้วยความชำนาญของตน  โดยไม่หวังลาภยศการชื่นชมแต่ประการใด  มุ่งหวังแต่ประโยชน์ของผู้ฟังอย่างเดียว  การแสดงธรรมอย่างนี้ได้ชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยธัมมเทศนามัยกุศล

*************

และอีกที่หนึ่งว่า

 การสาดน้ำล้างภาชนะลงไปในบ่อน้ำครำ  ด้วยเจตนาที่จะให้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่เหล่านั้นได้รับความสุข  ก็ยังมีอานิสงส์ไม่น้อย

************
ให้สิ่งที่ไม่ควรให้ทาน

๑.   ให้สุรายาเสพติด เช่น บุหรี่ เหล้า  กัญชา
๒.   ให้อาวุธ เช่น มีด ไม้ ปืน
๓.   ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนัง ดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ
๔.   ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาโคตัวเมียให้โคตัวผู้
๕.   ให้สิ่งลามก เช่นหนังสือลามก และสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย

และอีกอย่างหนึ่ง ของที่ได้มาจากการเบียดเบียนผู้อื่น นำมาให้ทาน ย่อมไม่บริสุทธิ์





บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2014, 11:33:10 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
กุศลในระดับที่เป็น กามาวจร จึงหมายถึงคำว่า บุญ ซึ่งนำมาซึ่งความสุขใน สุคติภูมิ๗
บุญ คือการทำประโยชน์ให้ผู้อื่น ให้ผู้อื่นมีสุข ยิ่งมากก็เป็นบุญมาก ดังมีภาษิตในประโยคที่ว่า

ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก

การให้ธรรมทาน จัดเป็นทานที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้ที่แสดงธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์สุข คือความดีตั้งแต่เบื้องต้นจนถึง พระนิพพาน 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "การได้ฟังซึ่งพระสัทธรรม เป็นของอันบุคคลพึงมีได้โดยยาก" ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

๑. ต้องรอให้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เสียก่อน จึงมีการแสดงธรรมเทศนาสั่งสอน
หรือแม้จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนแล้ว แต่ผู้ที่ได้ฟังหรือได้เล่าเรียนศึกษาไม่แตกฉานในธรรม เมื่อนำมาแสดงให้ผู้อื่นฟังก็ไม่เกิดความเข้าใจได้

๒. คนมีนิสัยไม่อยากฟัง หรือแม้ได้ฟังก็ไม่ซาบซึ้งในรสพระธรรม มีความเกียจคร้าน ฟุ้งซ่าน ง่วงเหงาหาวนอน หรือเกิดเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ พิการบ้าใบ้ หูหนวก หรือเกิดในอบาย ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะฟังธรรมได้ จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในการฟังธรรม


***************************************

กุศลที่สูงขึ้นไป เป็นการปฏิเสธกาม เป็นการสงัดจากกามเป็นสำคัญ ได้แก่ รูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศล
รูปาวจรกุศล คือ การเจริญฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน จนถึง ปัญจมฌาน
อรูปาวจรกุศล คือ การเจริญ อรูปฌานทั้ง๔

รูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศล ยังผลให้ได้ไปเกิดใน รูปภูมิ  และ อรูปภูมิ ตามกำลังของฌานของตนที่ได้



บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2014, 11:53:43 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
ใน ฌานสูตร กล่าวว่า

ธรรม ๖ ประการเป็น คือ

กามฉันทะ ๑
พยาบาท ๑
ถีนมิทธะ ๑
อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑
ไม่เห็นโทษในกาม ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่ละธรรม ๖ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ฯ

*******************
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ

กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ


***********************
กรรมฐานที่เหมาะสมแก่นิวรณ์

กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย
พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร4 วรรณกสิน4 เพื่อเพิ่มความเมตตา
ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร
อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ
วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน(พิจารณาธาตุ4) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย

**********************************
ลักษณะของนิวรณ์

กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม
พยาบาท เหมือนน้ำที่กำลังเดือด
ถีนมิทธะ เหมือนน้ำในที่มืด
อุทธัจจะกุกกุจจะ เหมือนน้ำกำลังแกว่ง
วิจิกิจฉา เหมือนน้ำที่มีจอกแหนลอยบังอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจมองเห็นใต้น้ำได้สะดวกฉันใด เมื่อจิตมีนิวรณ์ บุคคลย่อมไม่อาจเห็นจิตตามจริงได้สะดวกฉันนั้น


*************************
ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์

พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท

***************************
องค์ฌานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์

วิตก แก้ถีนมิทธะ
วิจารณ์ แก้วิจิกิจฉา
ปีติ แก้พยาบาท
สุข แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
เอกัคคตา แก้กามฉันทะ
เมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิจนเกิดองค์ฌานทั้ง 5 ย่อมทำลายนิวรณ์ลงได้ ชั่วคราว คือในขณะอยู่ในฌาน

***************************
พละ 5 ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์

ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา
วิริยะ แก้ถีนมิทธะ
สติ แก้พยาบาท
สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
ปัญญา แก้กามฉันทะ

***************************************
พระ พุทธองค์ทรงแสดงโทษของกามแก่โปตลิยคหบดี ณ นิคมชื่อ อาปณะของชาวอังคุตตราปะ ในแคว้นอังคุตตราปะ
เช้าวันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในอาปณนิคม เมื่อเสวยเสร็จแล้ว เสด็จประทับพักผ่อนที่ราวป่าแห่งหนึ่ง ประทับนั่งใต้ต้นไม้ ครั้งนั้น โปตลิยคหบดีถือร่ม สวมรองเท้าเดินเข้าไปในแนวป่านั้นเพื่อพักผ่อนเช่นเดียวกัน

พระศาสดาทรงทักทายและทรงเชื้อเชิญให้นั่ง แต่ทรงเรียกเขาว่า คหบดี (ผู้มั่งคั่งหรือผู้ครองเรือน) “คหบดี ที่นั่งว่างมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ก็ขอเชิญนั่งเถิด” ตรัสอย่างนี้ โปตลิยะไม่พอใจที่เรียกเขาว่า คหบดี พระศาสดาตรัสถึง 3 ครั้ง เขาจึงทูลว่าที่เรียกเขาว่าคหบดีนั้นไม่สมควร เพราะเขาเลิกการงานหมดแล้ว เลิกโวหารหมดแล้ว

พระศาสดาตรัสว่า อาการ เพศ และเครื่องหมาย (เช่น การแต่งกาย ร่ม และรองเท้า) ของท่านล้วนเหมือนคหบดีทั้งสิ้น จึงเรียกท่านเช่นนั้น อนึ่งเล่าที่ท่านกล่าวว่าเลิกการงานทั้งปวงแล้ว ตัดโวหารทั้งปวงแล้วนั้นเป็นอย่างไร

คหบดีทูลว่า ข้าพเจ้ามอบทรัพย์สินสมบัติทั้งปวงให้ลูกหมดสิ้นแล้ว เลิกว่ากล่าวสั่งสอนเขาโดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่าเลิกการงานและเลิกโวหารหมดแล้ว

พระพุทธองค์ตรัสว่า การเลิกโวหารของท่านเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการเลิกโวหารในอริยวินัย (ธรรมเนียมของอริยเจ้า) เป็นอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน คหบดีทูลขอให้ทรงแสดงการเลิกโวหารในอริยวินัย จึงทรงแสดงโดยย่อดังนี้

๑. เลิกปาณาติบาต ๒. เลิกอทินนาทาน ๓. เลิกพูดเท็จ ๔. เลิกพูดส่อเสียด ๕. เลิกติดใจแม้ในของๆตน (คิทธิโลภะ) ๖. เลิกโกรธเลิกนินทา ๗. เลิกคับแค้นเพราะโกรธ ๘. เลิกดูหมิ่นผู้อื่น

เมื่อเลิกได้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ต้องร้อนใจเพราะกิเลสเหล่านั้น การที่จะต้องถูกติเตียนจากวิญญูชนก็ไม่มี ตนเองก็ไม่ต้องติเตียนตนเอง ไม่ต้องไปทุคติเมื่อสิ้นชีพแล้ว นี่คืออานิสงส์แห่งการเลิกปาณาติบาต เป็นต้น

เพียงเท่านี้ยังไม่เรียกว่า การเลิกโวหารในวินัยของพระอริยะเสียทีเดียว คหบดีขอให้ทรงแสดงต่อไปว่า อย่างไรเรียกว่าเลิกโวหารอย่างเด็ดขาดในวินัยของพระอริยะ

พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นโทษของกามว่า

๑. กามทั้งหลายไม่ทำให้บุคคลอิ่มในกามได้เลย เหมือนกระดูกสัตว์ที่ไม่มีเนื้อติดอยู่ เปื้อนเลือดอยู่เพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้สุนัขตัวที่แทะกระดูกนั้นอิ่มได้ สุนัขนั้นเหนื่อยเปล่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตใจให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลก (คือกาม) (อฏฐิกงกลูปมา กามา)

๒. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่สัตว์แย่งกัน จิกตีกันเพื่อได้เนื้อชิ้นนั้น ถ้าไม่ปล่อยเสียมีหวังถูกรุมตีจนตาย (มํสเปสูปมา กามา)

๓. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงที่คนเดินถือทวนลม ย่อมทำให้ผู้ถือร้อน อาจไหม้มือพอง ถ้าไม่วางเสีย (ติณุกกูปมา กามา)

๔. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกท่วมหัวคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิงอันร้อนแรง (องคารกาสูปมา กามา) ใครตกลงไปย่อมเดือดร้อนถึงตาย

๕. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนสิ่งที่เห็นในฝัน (สุปินกูปมา กามา)

๖. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา (ยาจิตกูปมา กามา) เป็นของใช้ชั่วคราว ในที่สุดก็ต้องคืนเจ้าของเขาไป

๗. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดก (รุกขผลูปมา กามา) ย่อมถูกทำลายถึงกับถูกโค่นต้นลงด้วยมือของบุรุษผู้โง่เขลา เห็นต้นไม้มีผลดกแต่ขึ้นต้นไม้ไม่เป็น ต้องการผลของมันจึงโค่นทั้งต้น ชายคนแรกที่ขึ้นกินอยู่บนต้นย่อมตกลงมาพร้อมด้วยการโค่นล้มของต้นไม้ อาจถึงตายหรือเจ็บปางตาย

เมื่อเห็นโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทำจิตให้วางเฉยในกาม ไม่ยึดมั่นในเหยื่อของโลกคือกาม เมื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ย่อมระลึกชาติได้บ้าง รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายบ้าง ย่อมได้เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันยอดเยี่ยม หากิเลสมิได้ อย่างนี้แลเรียกว่าเป็นการเลิกโวหารโดยประการทั้งปวงในวินัยของพระอริยะ

โปตลิยคหบดีเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ทูลสรรเสริญว่า พระพุทธองค์เป็นสมณะที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง และขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2014, 11:08:37 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
ว่าด้วยเรื่องของ กรรม

กรรม คำบาลีว่า กมฺม ออกเสียงว่า กัมมะ แปลว่า การกระทำทั้งที่ดีและไม่ดี

และก็จะได้พบพุทธภาษิตนี้บ่อยๆว่า

“เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

*************

“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก....สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”

พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ เหมือนเป็นคำตอบที่ชัดแจ้งว่าสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ล้วนเกิดขึ้นเพราะกรรม

*************

เรื่องของกรรมยังมีนิยามอีกหลายมิติ ดังนี้

กรรมเก่าคือกระกระทำที่ได้กระทำล่วงไปแล้ว

กรรมใหม่คือกรรมที่กระทำในลำดับต่อมา

-------

กรรม มี กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม

---------------

เจตนาดี แต่กลายเป็นกรรมไม่ดีก็มี ตัวอย่างเรื่องอดีตกรรมของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ด้วยพระองค์เองใน คัมภีร์อปทาน ตอนที่ว่าด้วย ปุพพกัมปิโลติ พุทธาปทาน ข้อ ๓๙๒ ถึงกรรมเก่าที่พระองค์ทรงกระทำมาแล้วในอดีต

   ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาลต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัวจึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ แม้เราจะกระหายน้ำก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามปรารถนา

---------------
(ไม่มีเจตนาทำร้าย แค่ยินดีก็เป็นกรรมร้ายไปได้ก็มี )

 ในกาลก่อน เราเป็นเด็กลูกของชาวประมงในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะคือปวดศีรษะได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน ถูกพระเจ้าวิฏฏุภะฆ่า (พระเจ้าวิฏฏุภะนี้คือพระเจ้าวิฑูฑภะนั่นเอง)

-------------
(ตั้งใจรักษาโรค ไม่ได้มีเจตนาทำให้คนไข้ตาย ก็เป็นกรรมไม่ดีไปได้ก็มี)

เมื่อก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีตาย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา โรคนี้แหละที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าของเราในเวลาใกล้จะปรินิพพาน

---------------



 
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2014, 10:41:05 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
ผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่อง กรรม จัดเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีโทษตามมามากมาย ดังใน

อปัณณกสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ว่า

" ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์บางพวกซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

(๑) การให้ทานไม่มีผล (๒) การบูชาไม่มีผล
(๓) การเคารพบูชาไม่มีผล (๔) ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
(๕) โลกนี้ไม่มี (คือสัตว์จากโลกอื่นที่จะมาเกิดในโลกนี้ไม่มี)
(๖) โลกอื่นไม่มี (คือสัตว์จากโลกนี้ที่จะไปเกิดในโลกอื่นไม่มี)
(๗) คุณมารดาไม่มี (๘) คุณบิดาไม่มี (๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี
(๑๐) สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบชัดถึงโลกนี้และโลกอื่น
ด้วยปัญญาได้เอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วยไม่มี (รวมเป็น มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ ประการ)"

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า

"สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ จึงไม่อยากประพฤติ กุศลธรรม ๓ ประการ คือ

 กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต (แต่) กลับไปยึดมั่นในการประพฤติ อกุศลธรรม ๓ ประการ คือ

 กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เพราะเหตุที่ว่า ย่อมไม่เห็นโทษของ อกุศลธรรม และไม่เห็นอานิสงส์

ของกุศลธรรม ปรโลก (โลกหน้า) มีอยู่แท้ ๆ เขากลับเห็นว่าไม่มี ความเห็นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ

ปรโลกมีอยู่แท้ ๆ แต่เขากลับพูดว่าไม่มี คำพูดของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา

ปรโลกนี้มีอยู่แท้ ๆ เขากล่าวว่าไม่มี คนเช่นนี้ชื่อว่าคัดค้านต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้กล่าวยืนยันว่าปรโลกมีอยู่........"

************************
กรรม ยังให้ผลเป็นวิบากที่นำไปเกิดใหม่ ดังใน อังคุตตรนิกายแสดงว่า

           กมฺมํ เขตฺตํ, วิญฺญาณํ พีชํ, ตณฺหาสิเนหํ

กรรม เป็นเหมือนนาข้าว วิญญาณ เป็นเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก ตัณหา เป็นเหมือนยางในเมล็ดข้าว

           องค์ประกอบทั้ง ๓ คือ

           ๑) กรรมดี กรรมชั่ว ที่ได้ทำ

           ๒) วิญญาณ หรือปฏิสนธิวิญญาณ

           ๓) ตัณหา

เมื่อมีองค์ทั้ง ๓ ก็ยังต้องเกิดใหม่ เวียนว่ายไปอีก จนกว่าจะตัดองค์ทั้ง ๓ ได้ ก็จะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป


บันทึกการเข้า

kaitomkai
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 36
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2868


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2014, 05:32:10 PM »

Permalink: กุศล กรรม เจตนา
สิ่งของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของนอกกาย ...  หากตายไปก้อเอาติดตัวไปไม่ได้อยู่ดี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 12, 2024, 07:43:19 AM