เมษายน 25, 2024, 08:09:25 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408331 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #105 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 04:11:21 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

นิทานสูตรที่ ๒

            [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้
เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภ
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภ
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม
อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่
เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
ความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิด
เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง
ตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรองตาม
อยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรม
เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ
ในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม
อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภ
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภ
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความ
พอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ
ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความพอใจย่อม
ไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความพอใจย่อมไม่
เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมไม่
เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ
ในอดีต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วย
ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิด
เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งฉันทราคะในอนาคต ครั้นแล้ว
ละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ
ในอนาคตอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภ
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
รู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ครั้นแล้วละเว้น
วิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
พอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ

จบสัมโพธิวรรคที่ ๑


-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. ปุพพสูตร    ๒. มนุสสสูตร    ๓. อัสสาทสูตร    ๔. สมณสูตร
             ๕. โรณสูตร    ๖. อติตตสูตร    ๗. กูฏสูตรที่ ๑    ๘. กูฏสูตรที่ ๒
             ๙. นิทานสูตรที่ ๑    ๑๐. นิทานสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:05:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #106 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 04:11:41 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อสังขาสูตร # ๑

             [๖๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร สาวกของนิครณถ์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรนายคามณี นิครณถ์-
*นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างไร อสิพันธกบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไป
อบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิด
ในกาม ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด
กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป นิครณถ์นาฏบุตรย่อมแสดงธรรม
แก่พวกสาวกอย่างนี้แล พระเจ้าข้า ฯ
             [๖๐๙] พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก
ว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ
จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ดูกรนายคามณี ท่านจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืน
และกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมาก
กว่ากัน ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง
กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์มากกว่า
พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม
ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่
ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ
             [๖๑๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษลักทรัพย์
รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์ หรือ
สมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง
กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้ลักทรัพย์
มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม
ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่
ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ
             [๖๑๑] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
ประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขา
ประพฤติผิดในกาม หรือสมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกาม สมัยไหนมาก
กว่ากัน ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่
สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้นน้อยกว่า ส่วน
สมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกามนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า
กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่
ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ
             [๖๑๒] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพูดเท็จ
รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จ หรือสมัย
ที่เขามิได้พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง
กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้พูดเท็จ
นั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก กรรม
ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไป
อบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ
             [๖๑๓] ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้ มัก
เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบาย
ตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิดในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จ
ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ฯ
             [๖๑๔] ดูกรนายคามณี สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบาย
ตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่ แม้เรา
ก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่
สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น (สาวก
ของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า) ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่
ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า
ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยัง
ไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมา
ขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิด
ในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดากลับได้ความเห็นว่า กาเมสุ
มิจฉาจารที่เราประพฤติมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจา
นั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือน
ถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่พูด
เท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า คำเท็จ
ที่เราพูดมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละ
ความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้
ฉะนั้น ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:00:43 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #107 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 04:28:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อสังขาสูตร # ๒


             [๖๑๕] ดูกรนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิก-
*บานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ตถาคตนั้นทรงตำหนิติเตียน
ปาณาติบาต และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทาน
และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรงตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจาร และตรัส
ว่าจงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้น
จากมุสาวาท โดยอเนกปริยาย สาวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย
และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์
มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำ
บาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อม
งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ
ติเตียนอทินนาทานโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน
ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึง
เดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขา
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทานนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากอทินนาทาน
ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๖๑๗] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ
ติเตียนกาเมสุมิจฉาจารโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เราประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติผิดในกามมากมายนั้น ไม่ดี
ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรม
นั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละกาเมสุมิจฉาจารนั้นด้วย ย่อมงด
เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วงบาปกรรมได้
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๖๑๘] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ
ติเตียนมุสาวาทโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท ก็เราพูดเท็จ
มีอยู่มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน
เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้
แล้วย่อมละมุสาวาทนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากมุสาวาทต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละ
บาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๖๑๙] สาวกนั้นละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ละอทินนาทาน
งดเว้นจากอทินนาทาน ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละมุสา
วาท งดเว้นจากมุสาวาท ละปิสุณาวาจา งดเว้นจากปิสุณาวาจา ละผรุสวาจา งด
เว้นจากผรุสวาจา ละสัมผัปลาปะ งดเว้นจากสัมผัปลาปะ ละอภิชฌา ไม่โลภมาก
ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่มีจิตพยาบาท  ละความเห็นผิด มีความ
เห็นชอบ ดูกรนายคามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย มีความรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่
ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง
พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณ
อันใด ในเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้น
จะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรนายคามณี อริย-
*สาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย
รู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจ
ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง  เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี
คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก ฉันใด กรรม
ที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุติที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระผู้มี-
*พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ


จบสูตรที่ ๘



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:00:13 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #108 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 08:41:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

คันธภกสูตร

             [๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ นิคม
ของมัลลกษัตริย์ ในมัลลรัฐ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงเหตุเกิด
และเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี
ก็เราพึงปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาล
ได้มีแล้วอย่างนี้ ความสงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเรา
ปรารภอนาคตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาล
จักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้น ความสงสัย ความเคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่าน
อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่าน
ซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายคันธภก
คามณีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกร-
*นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์
โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน มีแก่ท่านหรือ ฯ
             คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูก
จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ
เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ ฯ
             คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความ
ร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาว
อุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็หรือว่า
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส ไม่พึงเกิดมีขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย
ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส
และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่า
ใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือเพราะถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มี
ฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น ส่วนความโศก ความร่ำไร
ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาว
อุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะ
ข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรมที่เห็นแล้ว
ทราบแล้ว บรรลุแล้วโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีตและอนาคต
ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ
เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล
อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ
เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระดำรัสนี้ว่า
ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ
เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ
เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กุมารนามว่าจิรวาสีบุตรของข้าพระองค์มีอยู่ เขาอาศัยอยู่ภายนอก
นคร ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ส่งบุรุษไปด้วย สั่งว่า แน่ะนาย เจ้าจงไป
จงทราบกุมารจิวาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นยังไม่มาเพียงใด ความกระวน-
*กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า อะไรๆ อย่าเบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย ดังนี้
เพียงนั้นๆ
             [๖๒๘] พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร
ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูก
จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์
ยังมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ
อุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อม
ทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ข้อนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดูกรนายคามณี  ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เมื่อใด ท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้น ท่านมี
ความพอใจ ความกำหนัดหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
             คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงมีความพอใจ ความกำหนัด
หรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ
             คา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารตาย
ถูกจำจอง เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ
             คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารมีชีวิตอยู่
ข้าพระองค์พึงมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร  ความทุกข์
โทมนัสและอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมาร
ตาย ถูกจองจำ  เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรนายคามณี ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่าง
ใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็น
เหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ฯ

จบสูตรที่ ๑๑

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 08:59:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #109 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 08:45:55 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

หลวงปู่สุก ศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ กับ ขรัวท่านโต วัดชายนา (น่าอ่าน) #๑

ทรงศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ
(พรรษาที่สอง สถิตวัดโรงช้าง ยุคอยุธยา)
พรรษาที่สอง พระองค์ท่าน ทรงได้พบ กับพระอริยเถราจารย์ อีกพระองค์หนึ่งในสมาธินิมิต ท่านมีนามบัญญัติว่า ขรัวท่านโต ท่านเคยสถิตวัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ หรือเรียกว่าพระเจ้าอู่ทอง ขรัวท่านโตดำรงขันธ์อยู่ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ท่านเข้ามาในสมาธินิมิตในครั้งนั้น ท่านมาบอกวิธีการ ให้แก่พระอาจารย์สุก สองอย่าง คือ
   การดำเนิน ความเป็นไปแห่งธาตุ ๑
   การทำลายธาตุ ๑
   และสอนให้ไม่หลงติดอยู่ในธาตุ และสอนให้ไม่หลงติดในฤทธิ์ ๑
    พระอริยเถราจารย์ บอกวิธีดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ เพื่อให้เกิดฤทธิ์ แก่พระอาจารย์สุก โดยให้บริกรรมดำเนินธาตุ บริกรรมตั้งธาตุ บริกรรมรวมธาตุ เป็นหนึ่งเดียวพระอาจารย์สุก ทรงดำเนินการตั้ง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ แล้วสัมปยุตธาตุ ประกอบธาตุทั้ง ๖ เป็นหนึ่งเดียว แล้วให้บริกรรมทำลายธาตุทั้ง ๕ ให้สลายไป ยกเว้นวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ท่านกล่าวว่าทำให้เกิดอิทธิวิธี
    ขรัวท่านโต กล่าวต่อไปว่า การดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ มิใช่จะทำได้ทุกคนบุคคลไหนมีวาสนาบารมีมาทางนี้ ข้าฯก็จะมาสอนให้เอง เหมือนอย่างที่ข้าฯมาสอนให้ท่านในครั้งนี้
    ขรัวท่านโต ยังกล่าวสอนพระอาจารย์สุกอีกว่า ฤทธิ์ทั้งหลายมีเกิด แล้วก็มีเสื่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมแปรปรวนไป ถ้าบุคคลใดยังเป็นปุถุชนอยู่ ไม่รู้ความจริงแห่งพระไตรลักษณ์ ย่อมติด ย่อมหลง อยู่ในฤทธิ์ ไม่สามารถหลุดจากกิเลส ไปพระนิพพานได้ ฉะนั้นขอให้ท่านพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ตลอดเวลา อย่าไปติด ไปหลงอยู่ในฤทธิ์ให้บำเพ็ญเพียรภาวนา ไปสู่นิพพานเถิด
     พระอาจารย์สุก ทรงฟังคำพร่ำสอนของ ขรัวท่านโต พระอริยเถราจารย์ ในสมาธินิมิตแล้ว พระองค์ท่านก็มั่นเพียรทำตามที่พระอริยเถราจารย์บอก และภายในเวลา ๓ ราตรี พระองค์ท่านก็บรรลุวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ได้สำเร็จฤิทธิบางอย่าง แต่ยังเป็นฤทธิ อย่างปุถุชน ยังมีหวั่นไหวบ้าง
     ถึงราตรีที่ ๔ ขรัวท่านโต ก็มาปรากฏในสมาธินิมิต ของพระอาจารย์สุกอีก ด้วยท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก สำเร็จวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุแล้ว และในสมาธินิมิตราตรีนั้น ขรัวท่านโต กล่าวกับพระอาจารย์สุกว่า วิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกีย์ ท่านก็สำเร็จแล้วต่อไปข้าฯ จะสอนวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกุตรธรรม นำทางท่านไปถึงมรรค ผล นิพพาน ตามคำสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ให้ท่านดำเนินตั้งสภาวะความเป็นไป แห่งปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๑ อาโปธาตุ ธาตุน้ำ ๑ เตโชธาตุ ธาตุไฟ ๑ วาโยธาตุ ธาตุลม ๑ อากาสธาตุ ธาตุอากาศ ช่องว่างภายในกาย ๑
วิญญาณธาตุ ธาตุวิญญาณ คือความรู้อะไรๆได้ ๑ พระอริยเถราจารย์กล่าวสอนต่อไปอีกว่า ในธาตุทั้ง ๖ นั้น

     ปฐวีธาตุ ธาตุดิน เป็นอย่างไร ปฐวีธาตุ ธาตุดินมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ภายใน ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
ภายนอกปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปที่มีใจครอง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน รูปในที่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน  ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็น อนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครองได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นธรรมชาติภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้ก็เรียกว่าปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ
 
     อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เป็นอย่างไร อาโปธาตุ ธาตุน้ำนั้นมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุ  ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ทั้งหมดนี้เป็นความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน
เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก ภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปข้างนอกไม่มีใจครอง ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รส ใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย น้ำที่อยู่ใน พื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ เป็นธรรมชาติที่มีความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความ
เหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครองภายนอก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายภายใน อาโปธาตุธาตุน้ำภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกันอย่างเดียวกันนี้เรียกว่า อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ

     เตโชธาตุ ธาตุไฟเป็นอย่างไร เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็น อุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้เผาไหม้ เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี นี้เรียกว่าความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปรูปมีใจครอง ข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่นธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่นธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายนอก เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกันนี้เรียกว่า เตโชธาตุ หรือธาตุไฟ

     วาโยธาตุ ธาตุลมเป็นอย่างไร วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมาธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายในเฉพาะตนเป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุ ธาตุลมภายในวาโยธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอกเป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก หรือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุฑ ลมใบตาล ลมเป่าปากหรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่าวาโยธาตุ ธาตุลม

      อากาศธาตุ คือช่องว่าง เป็นอย่างไร อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่างธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของ
เคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุ หรือช่องว่างภายใน อากาสธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่าช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุช่องว่างภายนอก อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า เป็นหมวดเดียวกัน กองเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ คือช่องว่าง

      วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เป็นอย่างนี้คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ สภาวะธรรม หลักแห่งความเป็นไปเอง เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖ ประการ คือ ความเป็นไปเอง ๖ ประการ นี้เป็นการดำเนินธาตุ ตั้งธาตุ ฝ่ายโลกุตรธรรม

      ขรัวท่านโต กล่าวสอนต่อไปว่า ข้าฯจะบอกวิธีทำลายธาตุทั้ง ๖ เพื่อกรุยทางไปสู่อมตธรรม ท่านว่าธาตุอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบนั้นมี ๖ ประการ

๖ ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
คือปฐวีธาตุ(ดิน)
อาโปธาตุ(น้ำ)
เตโชธาตุ(ไฟ)
วาโยธาตุ(ลม)
อากาสธาตุ(ช่องว่าง)
วิญญาณธาตุ ความรู้อะไรๆได้


ขอขอบพระคุณที่มาจาก  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6429.msg23841#msg23841
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 08:58:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #110 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 09:25:47 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

หลวงปู่สุก ศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ กับ ขรัวท่านโต วัดชายนา (น่าอ่าน) #๒

      ธาตุ ๖ ประการอัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่าน (หมายถึงพระอาจารสุก) เป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ จะพิจารณาอยู่อย่างไรเล่า จึงจะหลุดพ้น จากอาสวะกิเลส ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในธาตุทั้ง ๖ อันเป็นภายใน ภายนอกนี้ ฯ ขรัวท่านโต กล่าวว่า พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย ครอง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ ธาตุรู้อะไรๆได้ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ให้ครองอัตตา คือความมีตัวตน โดยอาศัย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เมื่อท่านครองธาตุ โดยความไม่มีตัวตน ท่านจึงจะทราบชัดเจนว่า จิต ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น และจะทราบชัด ไปอีกว่าจิตของท่านกำลังจะหลุดพ้น หรือหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้น เพราะสิ้นกิเลส ดับคืนกิเลส ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ และอนุสัย คือความตั้งใจ
และความปักใจมั่น โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ ได้ จะทำให้ท่านหลุดพ้นโดยเร็วพลัน เสร็จสิ้นคำกล่าวสอน ขรัวท่านโต ก็หายกลับไป จากนั้นพระอาจารย์สุก ก็ทรงออกจากสมาธิ ครั้งนั้นพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ ระลึกถึงคำสอนของขรัวท่านโต อยู่เสมอเนื่องๆว่า การยึดติดธาตุ ๖ และฤทธิ์ต่างๆไม่สามารถนำทาง
พระองค์ท่านไปสู่ทางพระนิพพานได้ ถ้ายังไปหลงติดอยู่ ตามคำที่พระอริยเถราจารย์

สั่งสอนอบรมมา แต่นั้นมาพระองค์ท่านก็ ไม่ทรงติดอยู่ในฤทธิ์ ในอำนาจต่างๆ ทรงเห็นเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน และทรงทบทวนดำเนินการตั้งธาตุ ๖ และทำลายธาตุ ๖ ทั้งทางอิทธิ และทางโลกุตรธรรม

      คืนต่อมาขรัวท่านโต ท่านก็มาสอนเรื่องธาตุ ในสมาธิจิตของพระอาจารย์สุกอีกโดยกล่าวว่า สิ่งที่เป็นธาตุยังมีอีก เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานะธาตุ ชิวหาธาตุ กาย

     ธาตุ มโนธาตุ ท่านกล่าวว่าในธาตุเหล่านี้ มีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุอยู่ด้วย
     ธาตุไฟ มีมากในจักขุ คือตา เมื่อตาเห็นรูปที่ดีก็ตาม เห็นรูปที่ทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนเปลวไฟ แล็บหายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในรูป ที่มากระทบจักขุ ก็จะหายไป
      ธาตุลม มีมากในหู ได้ฟังเสียงที่ดีก็ตาม ได้ฟังเสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำเหมือนลมพัดผ่านไป ความยึดมั่นในเสียงที่ดี และร้าย ก็ไม่มี
      ธาตุดิน มีมาก ในจมูก ได้กลิ่นที่ดีก็ตาม ได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป ความยึดมั่นถือมั่นในกลิ่น ดี ชั่ว ก็จะสลายไป
      ธาตุน้ำ มีมาก ในลิ้น ถ้าลิ้มรสที่ดีก็ตาม ได้ลิ้มรสที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป ความยึดมั่นถือมั่น ติดในรส ก็สลายไป

       ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มี มากในกาย ได้สัมผัสดีก็ตาม ได้สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิต เหมือน ธาตุทั้ง๔ สลายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในสัมผัส ก็จะสลายไป อากาศธาตุ มีมากในมโนธาตุ และวิญญาณธาตุ รู้ธรรมารมณ์ที่ดีก็ตาม รู้ ธรรมารมณ์ที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายไป จะทำให้จิตเป็นกลางใน สภาวธรรมทั้งที่ดี และไม่ดี จะทำให้ท่านหลุดพ้นจากอายตนะ ๖ และธาตุทั้ง ๖ คลายความยึดมั่น ถือมั่นไปสู่ทางนิพพานแล

คืนต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกธาตุ ๖ ประการ ขึ้นพิจารณา ไปสู่พระไตรลักษณะญาณ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ในธาตุทั้ง ๖ จิตของพระองค์ท่านก็ดำเนินทางไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐาน เจริญทางมรรคธรรม ทางผลธรรม เพื่อถึงเมืองแก้วอมตมหานิพพานธรรม ต่อไป กาลต่อมาพระองค์ท่านก็ไม่ยึดติดอยู่ในธาตุทั้ง ๖ และวิชาอิทธิฤทธิ์ ปล่อยวางได้ยิ่งๆขึ้นไป จิตของพระองค์ท่าน ก็หลุดพ้นขึ้นไปเรื่อยๆ


ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร มหาเถรเจ้า ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 ( วัดพลับ )




ขอขอบพระคุณที่มาจาก  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6429.msg23841#msg23841
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 08:58:07 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #111 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2015, 08:57:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


เรื่อง รูปฌาน และอรูปฌาน


http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=19.msg21#msg21


ปัญจมฌาน ใน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ


http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8158.msg30232#msg30232


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:24:44 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #112 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 09:02:15 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะวันที่ วันที่ 8/6/58

วันนี้ได้ไปทำบุญกับหลวงน้า พระครูนกแก้ว ซึ่งหลวงน้าได้เทสนาสั่งสอนเรา เรามีใจหมายจะถามไว้ในใจกับหลวงน้า แต่ยังไม่ได้กล่าวถามแล้วหลวงน้าก็เทสนาสั่งสอนเท่าที่เรา ข้อความเท่าที่เราพอจะจำได้ประกอบกับความตรึกนึกคิดที่เรานั้นพอจะเข้าใจได้ ซึ่งไม่ตรงตามจริงที่หลวงน้าเทสนาสั่งสอนไปทั้งหมด เท่าที่พอจะจับใจความได้มีดังนี้ว่า

๑. คนที่ไม่ได้สมาธิ มีเพียงขณิกสมาธิ แล้วสามารถสงเคราะห์เข้าถึงธรรมชาติแล้วบรรลุธรรมได้ เขาเป็นคนที่บุญมาก มีบารมีเยอะ สะสมมามากแล้ว เพราะปกติคนธรรมดาทั่วไปที่บารมีไม่พร้อม จะไม่สามารถเข้าถึงสภาวะธรรมอันเป็นธรรมชาติโดยใช้ขณิกสมาธิได้ เหมือนสมัยพุทธกาล พระอรหันตสาวก เอตทัคคะแต่ละองค์แม้ไม่เคยเรียรรู้ธรรมอันใด ไม่เคยฝึกกสิน หรือ สมาธิ แต่เพียงเห็นต้นไม้ ใบหญ้า ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ และ ได้ฟังธรรรมของพระพุทธเจ้าเพียงเล็กน้อยก็บรรลุอรหันตผลได้ ท่าตนทั้งหลายเหล่านั้นล้วนสะสมบารมีธรีรมทั้งปวงมามากมายนับไม่ถ้วน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถทำได้

๒. จิตนี้มันมีจิตดวงเดียวนี้แหละมันจะตกนรกหมดกไหม้ถูกไฟนรกแผดเผาจนดับสูญไปแต่มันก็ไม่ตาย มัะนดับไปมันก็เกิดใหม่ ตามแต่สภาวะธรรมของมันมีรูปลักษณ์ไปต่างๆ จิตมันนเหมือนหลอกไฟนี้แหละเปิดปิด เปิดปิด คือ เกิด-ดับๆ อยู่ตลอดเวลาตามแต่อารมณ์นั้นๆทีเกิดขึ้น แต่มันต่างจากหลอดไปตรงที่ไม่มีวันหมดอายุ แต่มันก็เกิด-ดับๆวนเวียนไปอย่างนั้นไม่จบสิ้น

    เราได้ถามหลวงน้าว่า ผมได้เห็นเหมือนจิตตนเองเองมีความสว่างใสดุจทอง แล้ว มีความสลดสังเวชวอันเป้นความไรู้สึกไม่ใช่ สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่รัก ไม่ใช่เกลียด แล้วกล่าวว่า คนเรานี้โง่หนอ มีความสุขอยู่บนสิ่งไม่เที่ยง ประมาณนี้ เสร็จแล้วหลวงน้าจึงตอบคำถามและกล่าวสอนว่า ธรรมชาติของจิตนี้มันมีเป็น ร้อยแปด พันเก้าอาการ ไปจนถึงเป็นล้านๆอาการ พระพุทธเจ้าจึงมีกรรมฐานทั้ง ๔๐ ตามแต่จิตประเภทนั้นๆไว้ให้ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอาการไรๆ นิมิตไรๆ ความรู้สึกไรๆขึ้น มันก็แค่อาการหนึ่งๆของจิตเท่านั้นไม่มีเกินนี้
    ทีนี้ไม่ว่าจะเกิดอาการใดมีเกิดขึ้น จะเกิดนิมิตไรๆ จะเกิดอาการความรู้สึกอย่างไร จะเป็นจะตายก็ช่างมัน ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น รู้ว่ามันเป็นเพียงปกติอาการของจิตที่มีอยู่มากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าปกติมันเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องไปยึด ไปถือ ไปเสพย์ตามมัน มีความระลึกรู้ด้วยวางใจไว้เพียงแค่รู้แค่แลดูมันอยู่ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เพียงเท่านั้นแค่นั้น นี่คือ รู้ ปกติ วาง เป็นความไม่ยึด ไม่ขัด ไม่เสพย์ ไม่หลงตาม สมาธิก็จะแน่วแน่ขึ้นเอง

พอเมื่อสนทนาได้ประมาณเกือบ 2 ชม. ก็ได้ลาหลวงน้ากลับพร้อมความเปลื้องจิตออก ไม่ยึดกับอาการไรๆของจิตอีกเพราะรู้ว่ามันเป็นเพียงอาการหนึ่งของจิตเท่านั้นที่มีมากมายนับไม่ถ้วน จึงเข้าถึงคำสอนของหลวงน้าที่สอนว่า
  รู้ ปกติ วาง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2015, 11:21:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #113 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 09:14:52 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทางเข้าสมาธิ โดยมนสิการ คือ ความทำไว้ในใจ ใน อุปสมานุสสติ+เมตตา

๑. แสวงหาความสงบ ความสงบ นั้นคือ ความไม่สัดส่าย ฟุ้งซ่าย วอกแวก ไม่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้หลายๆเรื่อง เดี๋ยวก็นั่นเดี๋ยวก็นี่
๒. ทำให้ใจสงบด้วย
- การรู้ลมหายใจเข้าออก จิตอยู่ที่ลมหายใจไม่ทิ้งไป ไม่ติดใคร่เรื่องราวไรๆให้หวนตรึกนึกคำนึงถึง ใช้คำบริกรรมพุทโธหนุนให้จิตมีกำลังจับอยู่ที่ลมหายใจ
- การทำใจหมายในความว่าง ไม่สัดส่ายไปตามความคิดปรุงแต่งจิต
๓. หากยังไม่สงบให้ทำไว้ในใจ หมายที่จะพักผ่อน หมายจะทิ้งกายใจลงพัก หมายจะทิ้งกายใจลงนอนเพื่อหลับ หมายจะทิ้งทุกสิ่งไปด้วยใจที่ช่างมัน

๔. เมื่อสงบใจได้บ้างแล้ว มีฟุ้งซ่านน้อยลง บางทีจะเห็นอาการที่มันขัดใจ บังคับให้สงบไม่ได้บ้าง เห็นอาการอึดอัดใจบ้าง ก็ให้ทำไว้ในใจดังนี้คือ
- มีจิตสงสารตนเอง ที่เร่าร้อน ร้อนรน ร้อนรุ่ม เพราะติดข้องขัดเคืองใจในเรื่องนั้นเรื่องนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง
 - มีจิตปารถนาน้อมใจสงเคราะห์ ให้ตนเองคลายความเร่าร้อนนั้นๆไปเสีย  หายใจเข้า
 - พึงมีจิตปารถนาจะให้ตนเอง สละคืนความเร่าร้อน ถึงความคลายอาการที่เร่าร้อนกายใจไรๆนั้นๆไปเสีย หายใจออก
 - ทำไว้ในใจว่า จิตเอ๋ย จงอย่าเร่าร้อนอีกเลย อย่าร้อนรุ่มอีกเลย อย่ามีฉันทะราคะต่อใคร บุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใดๆอีกเลย เพราะมันนำแต่ความเร่าร้อน ความแสวงหาปารถนาอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์มาให้ ขอเราจงเป็นสุข จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์เร่าร้อนกายใจทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวรภัยอันยังความฉิบหายมาสู่ตน และเป็นผู้ปราศจากความผูกเวรภัยอันหมายใจในความฉิบหายต่อผู้อื่น ขอเนาจงดำรงชีพอยู่เป็นสุขปราศจากความเร่าร้อยกายใจในกาลทุกเมื่อเทอญ

๕. พึงทำความไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น ด้วยทำใจไว้ในความปารถนาดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงประดุจดั่งเขาเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้อง ลูก เมีย สามี เป็นมิตรสหายที่ดี อันที่เราอยากให้เขาสำเร็จในประโยชน์สุขทั้งปวง ปราศจากความทุกข์เร่าร้อน ได้ดีมีสุขสำเร็จ พบแต่สิ่งที่ดีงาม แผ่ไปโดยหมายให้เป็นประดุจดั่งอากาศอันเป็นที่ว่างที่มีแทรกอยู่ในทุกๆอณูธาตุไม่มีเว้น ไม่ว่าที่รัก ที่เกลัยด ที่ละเอียด ที่หยาบก็เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุเสมอกัน  อากาศมีแทรกในธาตุทั้งปวงไม่ตั้งความรังเกลียดต่อสิ่งไรๆใดฉันใด เราก็แผ่เอาจิตความปารถนาดีของเราไปแทรกทั่วถึงซึ่งธรรมธาตุทั้งปวงไม่มีเว้นไปฉันนั้น
๖. เมื่อแผ่ไปอย่างนี้จิตที่น้ิมไปในการสงเคราะห์ แบ่งปัน สละให้ผู้อื่นย่อมเกิดมีขึ้น จิตที่น้อมไปในความยินดีที่ปู้อื่นสำเร็จปรโยชน์สุข ยังคงไว้ซึ่งประโยชน์สุขของเขาโดยปราศจากความอิจสาริษยาย่อมมีเกิดขึ้น เป็นจิตอันอัดปะทุขึ้นไปด้วยสุขแห่งกุศลย่อมมีเกิดขึ้น

๗. ด้วยความว่า อากาศ คือ ความว่างมีมากในใจตามวิชาธาตุ จะเป็นภวังคเจตสิกที่มีเกิดขึ้นในทุกๆวิถีจิตก็ดี จะเป็นอุเบกขาก็ดี ความไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศลก็ดี เมื่อแผ่ไปอย่างนี้ จิตย่อมว่างอยู่ด้วยความเป็นกุศล เพราะอากาศมีมากในจิตด้วยประการดังนั้น ทำให้จิตเป็นสมาธิเกิดขึ้นโดยอุปจาระสมาธิ

๘.ทีนี้ไม่ว่าจะเกิดอาการใดมีเกิดขึ้น จะเกิดนิมิตไรๆ จะเกิดอาการความรู้สึกอย่างไร จะเป็นจะตายก็ช่างมัน ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น รู้ว่ามันเป็นเพียงปกติอาการของจิตที่มีอยู่มากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าปกติมันเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องไปยึด ไปถือ ไปเสพย์ตามมัน มีความระลึกรู้ด้วยวางใจไว้เพียงแค่รู้แค่แลดูมันอยู่ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เพียงเท่านั้นแค่นั้น นี่คือ รู้ ปกติ วาง ไม่ยึด ไม่ขัด ไม่เสพย์ ไม่หลงตาม สมาธิก็จะแน่วแน่ขึ้นเอง

ผัสสะ → วิญญาณ → เจตานา+สัญญา+วิตก → วิญญาณ → เวทนา → วิญญาณ → ๑. ฉันทะ = ยินดี → วิญญาณ → สัญญา+เวทนา → วิญญาณ → ๒. นันทิ = ติดใจ, ติดใคร่, เสพย์ติดสิ่งนั้นๆ,  ตราตรึงใจอยู่ในสิ่งนั้นๆ → ๓. ราคะ = ความหมายใจผูกใฝ่ใจในสิ่งนั้น → ๔. แสวงหา → สัญญา+วิตก } กาม ความแสวงหาใคร่ปารถนาที่จะได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆทั้งปวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 22, 2015, 09:21:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #114 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2015, 09:14:03 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

สัญญาสูตร(ความสำคัญมั่นหมายของใจ)

            [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-
*ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ
ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น
อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็น
วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น
อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก
นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง
แล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่
ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี-
*ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโป-
*ธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น-
*อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น
ผู้มีสัญญา ฯ
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวง
หาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
กับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบ
ได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้
กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผม
เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
มีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ


จบสูตรที่ ๗

            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๗๗๐๔ - ๗๗๗๓.  หน้าที่  ๓๓๕ - ๓๓๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7704&Z=7773&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=214
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[214] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=214&Roman=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 25, 2015, 04:03:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #115 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 02:34:08 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

มนสิการสูตร(ความทำไว้ในใจ)

            [๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่
พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
วิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
เนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
โลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำ
ไว้ในใจ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ... ไม่พึง
กระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ
ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ
คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกร
อานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุ
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียง
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
ลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
โผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่
พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ ฯ

จบสูตรที่ ๘


            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๗๗๗๔ - ๗๘๑๑.  หน้าที่  ๓๓๘ - ๓๔๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7774&Z=7811&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=215
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[215] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=215&Roman=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24






จากสัญญาสูตรและมนสิการสูตร ทั้งสองพระสูตรนี้ทำให้เรารู้ว่า ที่เราเจริญปฏิบัติมาโดยความเข้าถึงและเห็นจริงตามที่หลวงพ่อเสถียรสอน เป็นความเข้าถึงสภาวะธรรมอันนี้ เข้าถึงอุปสมานุสสติอันพระอรหันต์ท่านเจริญ ความไม่ยึดเอาขันธ์ ๕ ไม่ยึดเอาวิญญาณธาตุ ไม่ยึดเอาจิตเพราะมันรู้แต่สมมติกิเลส ไม่ยึดเอาสิ่งที่จิตรู้โดยสมมติ เพราะมันเป็นเหยื่อล่อของกิเลส
- ไม่ยึดเอากายโดยทำไว้ในใจอันเป็นปฏิฆะต่อกายบ้าง เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเพียงอาการทั้ง 32 เป็นที่ประชุมโรค เป็นเพียงธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เป็นเพียงสิ่งเน่าเฟะเน่าเปื่อย ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นานดั่งปัญญาจากอสุภะกรรมฐานนั้นว่า ที่มีอีดเน่าเปื่อย ย่อยสลายไป ไม่คงอยู่ได้นาน
- ไม่ยึดเอาธรรมมารมณ์ทั้งปวงโดยทำไว้ในใจอันเป็นปฏิฆะต่อธรรมมารมณ์บ้าง เช่น เห็นว่าความสุข ทุกข์ เฉยๆ ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งทั้งปวง ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราว อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ทั้งปวง สิ่งเหล่านี้ที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นหลอกจิตทั้งสิ้น อาศัยสฬายตนะเป็นเหยื่อล่อให้รู้ผัสสะแล้วจิตเข้าไปยึดเอาสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกล่อ ทำให้จิตไม่เคยรู้ของจริงเลย จะเวทนา สัญญา สังขารเหล่าใดที่ วิญญาณรู้ ล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ผัสสะอันเป็นปัจจุบันมันดับไปตั้งนานแล้ว แต่จิตนั้นแหละเข้าไปยึดเอาสัญญาเวทนาจึงเกิดขึ้นค้างอยู่ เพราะจิตมันรู้แต่สมมติจากสัญญาทั้งปวง ไม่เคยรับรู้ของจริงเลย ของจริงมันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตนบุคคลใด สิ่งใด อารมณ์ใด อาการใด จิตมันเป็นธาตุรู้ มันรู้หมดทุกอย่าง แต่มันรู้แค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้น  ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดแม้กระทั้งวิญญาณหรือจิต




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 25, 2015, 04:05:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #116 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 03:59:30 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กรรมฐานวันที่ 25/6/58 ปัญญาอันเกิดจาก รูปกรรมฐาน

๑. ทวัตตสิงสาปาฐะ อาการทั้ง ๓๒ ขั้นแรกคือเห็นกายนี้เป็นเพียงอาการทั้ง ๓๒ นี่กอปรประชุมกันอยู่ ขั้นปัญญาคือ ม้างกายออกจน เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เห็นเป็นอนัตตา เช่น ผมที่หลุดร่วงออกมา ผมนี้หรือที่เป็นเรา ถ้าเป็นเราแล้วมันหลุดออกมาแล้วทำไมเรายังไม่ตาย เราหรือที่เป็นผมเหล่านั้น ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อหลุดออกมาก็เป็นเพียงอาการที่อ่อนแข็ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราในผม ในผมไม่มีเรา เราไม่เป็นผล ผมไม่เป็นเรา สักเป็นแต่ธาตุดินไม่มีตัวตนบุคคลใดสิ่งใดๆ ไม่มีเราในนั้น เราไม่ใช่นั้น นั่นไม่ใช่เรา

ธาตุวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8748&Z=9019



๒. อาทีนวสัญญา เริ่มแรกคือเป็นกายเป็นที่ประชุมของโรค ขั้นปัญญาคือเห็นความแปรปรวนของธาตุ เห็นกายนี้มีความเสื่อมแปรปรวนไปของโรค ไม่คงสภาพเดิมได้ บังคับไม่ได้



๓. อสุภะกรรมฐาน เริ่มแรกคือเห็นความไม่งามของกายจนหน่ายในราคะเมถุน ขั้นปัญญาคือเห็นความไม่เที่ยง จากร่างกายคนธรรมดาที่ว่างดงามเมื่อเวลาผันไปก็แแก่ เจ็บไข้ ตาย สุดท้ายก็เน่าเปื่อย ย่อยสลายไป กายนี้ก็ไม่คงความงามอยู่ได้นาน ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน สุดท้ายก็ต้องตายเปื่อยเน่าสลายไป บังคับให้คงสภาพให้งดงามอยู่ก็ไม่ได้ จนเห็นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ยินดีในรูปขันธ์นี้อีก

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นโดยปัญญาจากกรรมฐานทั้ง 3 ประการนี้เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 26, 2015, 10:36:24 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #117 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 04:35:16 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๘. เจตนาสูตรที่ ๑
             [๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
มีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
และอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ
ภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสก-
*ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่
เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่
ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบ สูตรที่ ๘

๙. เจตนาสูตรที่ ๒
             [๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็น
อารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง
วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูป
จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี
ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ
ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
แห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่
ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ
ไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง
มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบ สูตรที่ ๙

๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
             [๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมี
ตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติ
และอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จง
ใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง
วิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อ
มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มี
คติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
จบ สูตรที่ ๑๐
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. ภูตมิทสูตร ๒. กฬารขัตติยสูตร ๓. ญาณวัตถุสูตรที่ ๑
             ๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒ ๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑ ๖. อวิชชา
             ปัจจยสูตรที่ ๒ ๗. นตุมหากํสูตร ๘. เจตนาสูตรที่ ๑
             ๙. เจตนาสูตรที่ ๒ ๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 25, 2015, 04:37:54 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #118 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 04:40:08 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑
             [๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกร
คฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวก
ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่าง
ประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
สิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
             [๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้
ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม
เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพ
ภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัส
บ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใด
อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัส
บ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเม-
*สุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใด
อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง
เพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วย
อาการอย่างนี้ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก
ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้
สงบแล้ว ฯ
             [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง
เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป
ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้
ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ
คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของ
คำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น
นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า
ปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรม
เป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
             [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้
จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะ
อวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะ
ดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐ
นี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
             [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบ
แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง
และญายธรรมอย่างประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย
ปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้น
แล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้น
แล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๑
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #119 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 04:41:35 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทุติยวรรคที่ ๒
มหานามสูตรที่ ๑
             [๒๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้
พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก กระทำ
จีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว
จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบ
ข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี
พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทราบข่าวดังนี้ว่า
ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาค
มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่
อะไรพระเจ้าข้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้า
มาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่อง
อยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตร
ผู้เป็นกุลบุตร ดูกรมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา
ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อม
ไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้
บริบูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรมหาบพิตร
มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงทรงเจริญธรรม ๖ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรมหาบพิตร สมัยใดอริยสาวก
ระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนิน
ไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต
ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวก
ผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของ
อริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่
ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญพุทธานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ความรู้อรรถ
ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่
อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ
อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร
มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญธรรมานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ผู้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
เป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำ
อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรมหาบพิตร สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนิน
ไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์
ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจ
ประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริย-
*สาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้ถึง
ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญสังฆานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตนว่า
ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิลูบ
คลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิต
ดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์
กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อม
เสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้
อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้
ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส
ธรรมเจริญสีลานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของ
ตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทิน คือ
ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีแล้วในการสละ ควร
แก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทิน คือ
ความตระหนี่กลุ้มรุม ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้
ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่
อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ
อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร
มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญจาคานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดา
ทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้น
ยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิต
สวัสดีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหมกายมีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่ เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้น
นั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด
จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศีลเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ
แม้เราก็มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้
แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ
แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะและปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวก
ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้
ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่
อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ
อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร
มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้
ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญเทวตานุสสติ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 07, 2024, 11:41:27 PM