เมษายน 20, 2024, 11:40:20 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #150 เมื่อ: กันยายน 03, 2015, 01:18:45 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

คาถาเลิกเหล้า แก้ความกำหนัดเมถุน




   สุขทางโลก หรือ สุขทางโลกียะนั้น มันสุขแค่ประเดั๋ยวชั่วคราว ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน แต่ประกอบไปด้วยทุกข์
เช่น เมื่อกินเหล้า สูบบุหรี่ หรือ เมถุนแล้ว สุขกับการเสพย์มันก็แค่ประเดี๋ยวชั่ววูบชั่วคราว แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้วก็ทุกข์ร้อนรนตะเกียกตะกายแสวงหามาให้ได้เสพย์อีก เมื่อเสพย์มันแล้วก็ต้องแลกกับ กุศล ความดีงาม ภัณฑะ ทรัพย์สิน สิ่งของมีค่าทั้งปวงที่สั่งสมมา เพื่อแลกกับที่จะได้เสพย์มันเพียงชั่วคราวเท่านั้น


   เราเองก็ได้รู้รสความสุขเพียงประเดี๋ยวชั่วครู่ชั่วคราวจากกามคุณ ๕ คือ ทั้งเหล้า ยา ปลาปิ้ง บุหรี่ เมถุน แต่ทำร้ายกุศลที่ดีงาม ทรัพย์สิน บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รักที่หวงแหนยิ่ง ที่สั่งสมมาอย่างยากลำบาก ที่เก็บไว้เพื่อลูกเมีย เพื่อเตี่ยแม่ จนนำความสูญเสียความฉิบหายมาให้มีมากมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นเราควรละความสุขทางโลก อันไม่เที่ยงสุขแค่ประเดี๋ยวประด๋าวชั่ววูบชั่วคราวนั้นเสีย ละความสุขในกามารมณ์ กามคุณ ๕ กามเมถุน ทั้งปวงเสียได้ เราจักไม่ทุกข์อีก

    พระตถาคตตรัสสอนอย่างนี้ว่า เพราะละความสุขทางโลกียะที่มีแค่ชั่วคราววูบหนึ่ง ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ทั้งหลายเหล่านี้เสียได้ จึงถึงสุขแห่งโลกุตระอันเป็นนิรันด์ เป็นอมตะสุขได้



สุขทางโลก กับสุขทางธรรม

หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนว่า...

… "ความสุขทางโลกียะมันอาศัยความเข้าไปยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นความสุขของมัน เสพย์แล้วก็ดับไป แล้วก็ประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง มันสุขได้นานสุดแค่หมดลมหายใจของเรา มันไม่ได้ติดตามเราไปด้วย ส่วนสิ่งที่ติดตามเราไปทุกที่่ทุกภพทุกชาติ คือ บุญกับบาป แล้วทีนี้เราควรแล้วหรือ ที่จะยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของตน"..

… "ส่วนโลกุตระสุข คือ สุขในการปล่อยวาง สุขด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น สุขด้วยตัวของมันเอง อิ่มเอมด้วยตัวของมันเอง ไม่ยึดสิ่งไรๆทั้งปวง มีแต่บุญจาก ศีล ทาน ภาวนา ที่จะติดตามเราไปทุกๆชาติ แล้วควรหรือไม่ควรที่เราจะน้อมมาพิจารณาแล้วเจริญปฏิบัติให้ถึงสุขแห่งโลกุตระนั้น" ...








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2015, 02:10:30 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #151 เมื่อ: กันยายน 03, 2015, 01:42:57 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

วิธีมนสิการระลึกเวลาเราใส่บาตรให้ทาน ทำนุบำรุงพุทธสถาน
ทำกิจการงานช่วยเหลืองานพระสงฆ์สามเณร

ประการที่ ๑

    ก็ให้เราพึงทำในใจไว้ว่า..การทำบุญใส่บาตรให้ทานอยู่นี้ เป็นการปฏิบัติบูชา สละคืนความโลภ โกรธ หลง ละซึ่งกิเลสความติดข้องใจทั้งปวงแห่งเราเพื่อถวายเป็น พูทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา พระพุทธศาสนา พระพุทธสถาน พระพุทธสาวก และ สมมติสงฆ์ สมมติสาวกทั้งหลาย เพื่อความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
(คนที่สละคืนกิเลสได้เมื่อทำบุญทำทานเขาย่อมคิดเห็นถึงอย่างนี้ๆว่า.. "จะมีสิ่งเหล่าใดบ้างหนอที่เมื่อเราทำแล้ว..จักพึงเอื้อประโยชน์สุขเกื้อกูลแก่ พระรัตนตรัย พระพุทธศาสนา พระพุทธสถาน ครูบาอาจารย์ พระ เณร สมมติสงฆ์ สมมติสาวกทั้งหลายได้บ้าง หรือ สิ่งเหล่าใดที่เราทำอยู่ในตอนนี้นั้น จะเป็นประโยชน์สุข เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลให้แก่ พระรัตนตรัย และ พระพุทธศาสนา อย่างไรได้บ้าง")


    ** (แต่หากขณะนั้นเรามีจิตสละคืนความโลภไม่ได้ หรือ เพราะว่าอยากได้อานิสงส์ผลแห่งทานนี้ ก็เพียงแค่น้อมระลึกเอาว่า เพื่อความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ท่านเหล่านั้น และ ตัวข้าพเจ้าเอง ลูก เมีย(สามี) ญาติพี่น้อง เพื่อสนิทมิตรสหาย บุพการีทั้งหลายทั้งในอดีตชาติ อดีตกาลจนถึงปัจจุบันนี้ทั้งที่ละโลกนี้ไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหลาย ให้ท่านได้รับประโยชน์สุขและอานิสงส์อันนี้ทั้งปวงจงสำเร็จประโยชน์แก่ท่านเหล่านั้นในทันทีและในกาลทุกเมื่อเทอญ
         หากยังไม่ถึงพระนิพพานฉันใด ขอให้ข้าพเจ้าได้เจริญสำเร็จประโยชน์ทั้งในทางโลกและทางธรรม เข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ได้เกิดเจอพระพุทธศาสนาไปทุกๆชาติ ขอให้ได้เจอและสดับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หากแม้ไม่เจอพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ได้เจอพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เจอพระอรหันต์สาวก ได้เจอพระอริยะสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ได้เรียนรู้ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้จากท่านเหล่านั้นโดยง่าย
         ขอบุญอีกส่วนหนึ่งขอให้แก่เจ้ากรรมนายเวรให้เลิกแล้วต่อกัน ละเว้นจากความผูกเวรพยาบาทอาฆาตต่อกัน ด้วยเหตุดังนี้หากเมื่อข้าพเจ้าได้รับสุขกุศลผลบุญแห่งธรรมอันใดก็ขอให้ท่านเหล่านั้นได้รับสุขจากอานิสงส์นั้นด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้รู้เห็นเข้าถึงกุศลธรรม ธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนหรือ พระอรหันต์ พระอริยะสงฆ์ สมมติสงฆ์ และ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เทศนาธรรมสั่งสอนชี้นำทางเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ก็ขอให้เจ้ากรรมนายเวรได้รู้ตาม ถึงตาม สำเร็จประโยชน์สุขอันประเสริฐนี้ตามด้วยประการดังนี้)**




ประการที่ ๒

เวลาจะไปกวาดลานวัด หรือทำงานเอนกประสงค์ให้แก่วัด ให้พึงมนสิการระลึกอย่างนี้ว่า

วันนี้ๆ เราจะทำสิ่งใดถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมมะบูชา สังฆบูชาได้บ้างหนอ จักทำกิจการงานสิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เราเคารพนับถือบูชา และ พุทธสถาน พุทธวัตถุในพระพุทธศาสนาแห่งนี้ได้บ้างหนอ

   เราจักถวายทาน ใส่บาตร ถวายน้ำปานะ กวาดลานวัด จักช่วยเหลือกิจการงานในวัด เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จักทำกิจการงานทั้งหลาย หรือ ทานเหล่าใดทั้งปวง ที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ อันเป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งคุณประโยชน์ และ ความสุข แก่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เราเคารพบูชา ที่อยู่ ณ ที่นี้ และ เพื่อการทำนุบำรุงดูแลรักษาซึ่งพุทธสถาน ที่อยู่ใน ณ ที่นี้ (แล้วให้น้อมระลึกถึงประโยชน์จากสิ่งที่เราทำนี้ไว้ในใจ ว่าจะมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล จะสำเร็จประโยชน์สุขอันใด มีต่อพระรัตนตรัย และ ครูบาอาจารย์)

   แล้วทำไว้ในใจดังนี้ว่า..สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้ ไม่ใชเพื่อประโยชน์สุขในคำสรรเสริญ เยินยอ ชื่นชม หนือลาภ ยศ สักการะแต่ประการใด แต่เป็นไปเพื่อคุณประโยชน์ต่อพระรัตนตรัย และ ความละ ความดับ ความสละคืนเสียซึ่งความแสวงหา อยากได้ ความละโมบ โลภมาก ความอยากปรนเปรอตนเหล่าใดที่เป็นไปเพื่อคำสรรเสริญ เยินยอ ชื่นชม ลาภ ยศ สักการะ กิเลสโลภะ กาม ราคะ โทสะ โมหะทั้งปวง เพื่อถึงซึ่งความละสังโยชน์ได้ ถึงไตรลักษณ์ ถึงอนัตตสัญญาดังนี้..




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2015, 01:53:18 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #152 เมื่อ: กันยายน 03, 2015, 01:55:29 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

แสวงหาสุขทางโลกียะมันเป็นเรื่องของทางโลก แสวงหาสุขทางโลกุตระเป็นเรื่องในทางธรรม

ลำดับทั้งหมดนี้เห็นโดยสมาธิทีละขณะๆเกิดดับๆ เป็น 1010101010 โดยส่วนตัวเราเท่านั้น ที่รู้เห็นนี้ไม่มีลำดับที่ถูกจริงแน่นอน ก็สุดแล้วแต่ว่าจิตมันจะรู้สิ่งใดก่อน ไม่สามารถลำดับที่ถูกต้องได้ เพราะเรายังโลกียะยังเป็นเพียงปุถุชนเท่านั้น ที่รู้เห็นนี้มีทั้งจริงทั้งไม่จริง หรือ ไม่จริงทั้งหมด แต่อาศัยสัญญาจากที่รู้เห็นตามจริงด้วย ยถาภูญาณทัสสนะนี้มาเป็นธัมมะวิจะยะ วิเคราะห์ลงในธรรม เพื่อความคลายกำหนัด คลายอุปาทาน ถึงซึ่งนิพพิทาญาณ และ วิราคะเท่านั้น

รูป+ตา+วิญญาณ = ผัสสะ(เหมือนฟ้าแลบแปล๊บ) »→ มนะ »→ จิตรู้ผัสสะมีอาการเหมือนฟ้าแลบนั้น »→ เวทนา(กลางๆเฉยๆไม่ยินดียินร้าย) »→ เจตนา »→ ผัสสะ(อาการสภาพจริงๆที่เป็นเพียงสภาวะธรรมที่ไม่มีชื่อไม่มีบัญญัติ) »→ มโนวิญญาณ »→ วิญญาณ  »→ เวทนา(กลางๆเฉยๆไม่ยินดียินร้าย) »→ มนสิการ »→ เวทนา(โสมนัส,โทมนัส,อุเบกขา) »→ ฉันทะ »→ สัญญา(สมมติบัญญัติ) »→ มโนวิญญาณ »→ สังขาร  »→ วิญญาณ, จิต { ฉันทะ(ความพอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ) »→กาม(ความใคร่น่าปารถนายินดีในอารมณ์นั้นๆ) »→ นันทิ(ความติดใจในอารมณ์นั้นๆ) »→ ราคะ(ความกำหนัดยินดี ผุกใจหมายใฝ่ใครได้ที่จะเสพยืในอารมณ์นั้นๆ ความกระสัน) »→ ตัณหา(ความแสวงหา ความทะยานอยากในอารมร์ทั้งปวง) »→ มิจฉาทิฐิ(ทิฐิวิปปัลลาส, สัญญาวิปปัลลาส, นิจจะสัญญา, อัตตะสัญญา) »→ อุปาทาน(ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณืทั้งปวง) }



ดังนั้นถ้าดับความแสวงหาได้ก็ไม่ทุกข์ เลิกตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในสิ่งไรๆ เลิกแสวงหา เราจะไม่ทุรนทุรายเพราะกามอีก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2015, 02:31:31 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #153 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 01:58:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กรรมฐานวันที่ 5 กันยายน 2558 ทำไมจึงต้องทำเหตุให้ดี เหตุคืออะไร เป็นไฉน

หลังจากที่ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านได้เมตตาเทศนาสอนเรื่องสุดโต่งกับเรา แล้วบอกให้เราทำเหตุให้ดี จาก..บันทึกกรรมฐาน วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เราได้มาใคร่ครวญพิจารณาเจริญใน ศีล ทาน ภาวนา ที่สมกันที่ควรกัน ทำให้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงและทำให้ได้รู้ดังนี้ว่า

๑. ศีล คือ ความไม่เบียดเบียน เว้นจากความผูกเวรพยาบาท สละคืนโทสะ ศีลเป็นที่ตั้งแห่งสติ มีศีลได้สติก็สังขารโดยรอบแก่จิตให้เป็นกุศลด้วยความสำรวมระวังในศีล ไม่เบียดเบียนทางกายและวาจาเป็นหลัก ตัดขาดความผูกเวรพยาบาท ศีลนี้ละโทสะได้จึงถึงแก่ศีล การถือศีลโดยความขุ่นมัวใจยังใช้ไม่ได้ ศีลนี้มีเมตตาพรหมวิหาร ๔ เป็นบาทฐานยังให้ถึงศีลบริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ (มีขณิกสมาธิเป็นผลแห่งฐานกุศลจิต)

๒. ทาน คือ การสละคืนความโลภ เป็นความสละให้ ให้โดยปารถนาให้ผู้รับสำเร็จประโยชน์สุขจากการให้นั้นของเรา ทานตั้งโดย เมตตา กรุณา มุทิตา สังขารโดยรอบ(มีขณิกสมาธิเป็นผลแห่งฐานกุศลจิต)

๓. ภาวนา คือ การเจริญในทั้งสมถะ+วิปัสสนา เพื่อเพาะบ่มสมาธิ+ปัญญา สละคืนโมหะ ภาวนานี้ละความโง่ด้วยทำให้จิตรู้เห็นเข้าถึงสภาวะธรรมจริงของจริง อันปราศจากสมมติกิเลสความตรึกนึกคิดจอมปลอมทั้งปวง(สัมมาทิฐิ) เมื่อบ่มเพาะใน ศีล ทาน ภาวนา มาดีแล้วก็เป็นการทำเหตุให้เกิดปัญญาเป็นวิราคะ คือ ตัด ถึงวิมุตติได้



- ศีลและทานนี้มีความทำไว้ในใจโดยแยบคายในพรหมวิหาร ๔ ถึงในอุเบกขาเเป็นหลังคาปกคลุมพืชผลแห่งศีลและทานนั้น ทั้งหมดจึงเป็นกรรมฐานโดยแยบคายแล้วเพื่อยังกุศลทางกาย วาจา ใจ ให้เกิดมีขึ้น
- เมื่อทั้งหมดนี้คือกรรมฐานเหตุใดเราจึงควรปฏิบัติกรรมฐานเหล่านี้ โดยย่อแล้วเราย่อมรู้ดีว่า ศีล ก็คือกรรมฐาน ทานก็คือกรรมฐาน ผลของศีล และ ทาน เป็นอนุสสติ ๖ กรรมฐานนี้มีไว้ละความโง่ ความลุ่มหลงสมมติกิเลสทั้งปวง
- อนุสสติเมื่อปฏิบัติเห็นจริงแล้วย่อมรู้ว่าทั้งหมด คือ ความทำไว้ในใจโดยแยบคาย ทำไมเราต้องเน้นที่จะทำ ต้องเน้นที่จะเจริญ ศีล ทาน ภาวนา เพื่ออะไร เอาง่ายๆว่า ทั้งหมดนี้เป็นเหตุแห่งกุศลทั้งปวง เมื่อทำเหตุให้ดี เหตุดี จึงนำไปสู่ผล
- ทำเหตุดี-ผลก็ดี ทำเหตุชั่ว-ผลก็ชั่ว




ก. พิจารณาดูว่า อย่างเราเป็นคนฆ่าสัตว์เป็นนิตย์ เจอมดแมลงหรืออะไรก็ตบ แม้ไม่ตั้งใจอยากจะทำกายก็ทำเสียแล้วห้ามหรือยั้งไม่ทันตามสัญขาตญาณหรือสัญญาที่สำคัญไว้แก่ใจ ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นไปนั้นนั่นเพราะเราทำเหตุ คือ ทำใจตั้งเจตนายินดีหมายใจที่จะทำในปาณาติบาตเป็นนิตย์ไม่ให้ความสำคัญสนใจชีวิตเขาเราจึงฆ่าเขาเป็นนิตย์ เมื่อทำเหตุอย่างนี้ๆจนเต็มพอเมื่อเจออะไรขัดใจหน่อยยุง มด แมลงกัด หรือสิ่งไรๆที่ระคายเคืองตนมันก็บี้ปุ๊บตบปั๊บทันทีเพราะสัญญาก็ตั้งความต้องการของจิตไว้บังคับกายให้ทำอย่างนั้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งปาณาติบาต

ข. พิจารณาดูว่า คนลักทรัพย์ทำอยู่เป็นนิตย์ เพราะเหตุที่เข้าไปตั้งเจตนาหมายปองของๆผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ มันก็เคยชิน เมื่อมันเต็มก็เกิดเป็นความทะยานอยากที่จะได้ของเขาอยู่ประจำแม้เขาไม่ได้ให้ในสิ่งนั้นแก่เรา เมื่อมันปะทุแล้วทีนี้เมื่อเจออะไรมันก็จิ๊กเอาหมด อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งอทินนาทาน

ค. พิจารณาดูว่า คนที่ชอบผิดลูกเมียคนอื่น เพราะทำเหตุในความยินดีในเมถุนให้มีมากจนล้นปรี่ จึงเกิดความกระสันทัะยานอยากแสวงหาที่จะเสพย์ในราคะเมถุน จนไม่สนใจว่าคนๆนั้นจะเป็นบุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหนของใครหรือไม่ก็ตาม มันจะสนแต่จะเสพย์ในกามารมณ์อันเกิดแต่ความยึดมั่นถือมั่นติดใคร่ในการสัมผัสกายระหว่างเพศนั้น คือ เมถุนนั่นเอง จะเป็นใครหรืองบุคคลอันมีค่าและเป็นที่รักยิ่งของใครก็ช่างมันไม่สนมันเอาหมด ที่นี้พอเราระลึกอยู่เรื่อยๆ ได้ทำอยู่เรื่อยๆมันก็เป็นเหตุให้กาย วาจา ใจ เป็นไปในกาเมสุมิจฉาจารณ์เสมอๆจนมันเต็ม เป็นจริตนิสัยบารมีกามตัณหาเกิดเต็มมันก็จะแสวงหาทะยานอยากที่จะเสพย์เมถุนไปเรื่อยจนไม่สนลูกเมียตนหรือลูกเมียใครทั้งสิ้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งกามเมสุมิจฉาจารณ์

ง. พิจารณาดูว่า คนที่คิดว่าตนเป็นที่สุด ตนควรได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งนี้ๆไม่ควรเกิดมีแก่ตน สิ่งนี้ๆเป็นตน เป็นของตนบ้าง ตนดีที่สุด ให้ใครเหนือกว่าตนไม่ได้ คนต้องสรรเสริญตน ตนต้องดีกว่าใคร ไม่พอใจที่ใครได้ดีกว่า มีจิตริษยา หมายใจไว้จะทำร้ายผู้อื่น อัตตาเหล่าใด เพราะมีใจอย่างนี้เป็นเหตุ สะสมมันไว้จนให้มันเต็มใจตนจึงเกิดมีความพูดชักจูงเพื่อประโยชน์ส่วนตน วาจาเกิดมาแต่ความคิด วิตกเป็นวจีสังารดังนี้ จึงเกิดการพูดปดอยู่เป็นนิตย์ ยุแยงคนอื่นให้แตกกัน พร่ำเพ้อกล่าวคำไม่จริง ส่อเสียดให้คนแตกกัน ด่าทอ เอาเรื่องของคนนี้ไปบอกคนโน้น เอาเรื่องของคนโน้นมาบอกคนนี้เพื่อให้เขาแตกกัน ยินดีที่เขาแตกกันไม่เป้นกลุ่มสามัคคี นั่นเพราะเขาทำในเหตุอันเป็นมิจจาวาจาดังนั้นมานานทับถมจนเป็นจริตนิสัย อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งมิจฉาวาจา หรือ วจีทุจริตทั้งปวง

จ. พิจารณาดูว่า คนชอบดื่มสุรา ลองคิดดูว่าเมื่อยังเด็กมีใครเกิดมาแล้วกินเหล้าบ้าง ก็ไม่มีเลย แต่พอเมื่อโต เรากินเรื่อยๆ ยินดีในสภาพแวดล้อมตอนกินเหล้าในวงเหล้า ยินดีในสุราเรื่อยๆด้วยเหตุอย่างนี้เป็นต้น ยินดีที่กินเหล้าแล้วทำในอกุศลลามกเรื่อยๆได้ด้วยสนุกสนานด้วยคิดว่ามันระบายกายใจตนได้บ้างเป็นต้น เมื่อทำกาย-วาจา-ใจในเหตุอย่างนี้เรื่อยๆ ทีนี้ความคิดนั้นการกระทำนั้นๆมันก็สะสมเป็นจริตนิสัยขึ้น จนเต็มปริ่มปะทุ ทำให้เป็นคนที่คิดถึงแต่เหล้า อยากกินแต่เหล้าทะยานอยากจะเสพย์เหล้าจนเป็นนิสัยขี้เหล้าที่เราเห้นกันดังนี้แหละ อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน


ฉ. พิจารณาดูว่า คนที่ละโมบโลภมาก ย่อมทำในเหตุโดยความยึดตัวตนแนบแน่นในสิ่งที่ปรนเปรอตนเป็นนิตย์ มีความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ยอมจะแบ่งปันอะไรให้ใครแม้แต่เล็กน้อยก็ตาม ถือเอาเป็นตัวตนผูกตนไปเรื่อย เมื่อสร้างความหวงแหนความตระหนี่ ความยินดีในสิ่งที่ปรนเปรอตนให้เป็นเหตุสะสมไปจนเต็มจนกลายเป็นจริตนิสัยที่หวงแหนตระหนี่ขี้เหนียวแค่ตน เมื่อมันเต็มปะทุก็จะมีแต่ความเสียดาย หวงแหนเป็นนิตย์ เพราะเหตุโดยยึดเอาความโลภเอาสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นสุขตนจนไม่ยอมแบ่งปันคิดแต่จะเอาโดยส่วนเดียว แสวงหาอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งๆที่ไม่สามารถเอาสิ่งไรๆตายตามไปด้วยได้เลยนอกจากบุญกับบาป

ช. พิจารณาดูว่า ทีนี้เมื่อทำจิตให้ยินดีในกามคุณ ๕ อยู่เป็นนิตย์ ก็เป็นเหตุให้จิตเรานี้เติมเต็มในอกุศลบารมี มีแต่ความลุ่มหลงในสมมติทั้งปวงทับถมจนเป็นตัวตนอุปาทานมานับไม่ถ้วน หลงโง่คลุกอยู่แต่ในสมมติจนไม่สามารถรับรู้ของจริงได้ แม้จะเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดมานับไม่ถ้วนไม่รู้ว่ากี่ิสงไขยมันก้ยังยิ่งเพิ่มทับถมบารมีแห่งโมหะไปอย่างนั้น เสริมกำลังให้ โลภะ ราคะ โทสะ ไปทุกภพทุกชาติ ทีนี้เมื่อเราไม่ปฏิบัติใน ศีล ทาน ภาวนา จิตเราก็จะทำเหตุสะสมแต่ในของปลอม ของสมมติไปเรื่อยๆ จนเกิดวิปปัลลาส ๓ คือ สัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปปลาส ๑ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา และ อัตตสัญญา)



นี่แหละสาเหตุที่ว่าทำไมเราต้องปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเจริญใน ศีล ทาน ภาวนา นั่นก็เพื่อทำเหตุแห่งกุศลให้ดีให้เต็มนั้นเอง
๑. ทำเหตุในศีลให้ดี..เพื่อล้างโทสะ(เมตตา)
๒. ทำเหตุในทานให้ดี..เพื่อล้างโลภะ(กรุณา,มุทิตา)
๓. ทำเหตุในนภาวนาให้ดี..เพื่อล้างโมหะ(อุเบกขา)





ธรรมจากพระอรหันต์
พระพุทธสารเถระ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน
พระครูอุปัชฌาย์อาจารย์กรรมฐานของผมท่านสอนว่า

ทำเหตุให้ดี ทำเหตุให้ดี.. เหตุไม่ดีจะไปเอาผลได้อย่างไร เอาแต่ภาวนาอย่างเดียวแล้วบรรลุ ก็ไม่ต้องมีศีลทานกันแล้วสิ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสรู้เห็นชัดแล้วว่าศีลทานภาวนานี้เป็นเหตุสะสมไปถึงผลแห่งกุศลดีงาม จึงต้องทำควบคู่กันจึงจะถึงทางหลุดพ้น

ศีล เป็นเหตุให้เราละความเบียดเบียน มีจิตเป็นกุศลไม่เร่าร้อน ไปอยู่ที่ไหนก็สบายกายใจ (ลองดูคนที่ผิดศีลนะมันเร่าร้อนไปอยู่ที่ไหนก็ไม่เป็นสุขสงบ)
ทาน เป็นเหตุให้ถึงความสละ ละความโลภ ไม่ที่ใดก้ไม่แสวงหาทะยานอยากให้เร่าร้อน
ภาวนา เป็นเหตุให้ถึงปัญญา ละความโง่ ความลุ่มหลงสมมติกิเลสทั้งปวง





- ที่พระท่านสอนว่า "ทำเหตุให้ดี" คนเราไม่รู้ว่าคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร ทำไมหัด ทำไมปฏิบัติให้ตนมี "ศีล-ทาน-ภาวนา" ทำไปเพื่ออะไร ซึ่งธรรมข้อนี้ในหนังสือไม่มีสอน คนที่ไม่ปฏิบัติก็จะไม่รู้ได้เลย กล่าวได้แค่มันสูงเกินบ้าง พูดได้แค่ว่านี่คือฐานบ้าง แต่ไม่รู้เลยว่าทำไมจึงเป็นพื้นฐาน ทำไมจึงเป็นฐานขอกุศลธรรม ของสัมมา ของสัมโพชฌงค์ ของวิราคะ ของวิมุตติ จะพูดก็ได้ตามแต่สังสือบอกกล่าวเท่านั้น
- "การปฏิบัติ ศีล ทาน ภาวนา เป็นกรรมฐาน เป็นการทำเหตุให้ดี" เมื่อทำอยู่เป็นนิตย์ก็จะสร้างลักษณะนิสัยอันเรียกว่า "จริต" ให้ทับถมด้วยกุศลแทนของแลอมสมมติกิเลสที่ทับถมเรามานับอสงไขย
- ครูบาอาจารย์ท่านจึงกล่าวว่าทำเหตุให้ดี ทำให้มาก อย่าหวังผล เหตุไม่ดีจะไปเอสผลได้อย่างไร ทำเหตุให้ดี ทำของเก่าที่มีให้มันดีกว่าเดิม ดังนั้น "การปฏิบัติเกรรมฐานเหล่าใดที่ประกอบไปด้วย ศีล ทาน ภาวนา สมถะ+วิปัสสนา เป็นการทำเหตุดังนี้แล" ที่นี้ เมื่อทำเหตุให้ดีสะสมไปเรื่อยนับไม่ถ้วนจนเป็นจริตกุศลให้เกิดมีแก่จริตสันดานตน เมื่อตายไป ของเก่านี้ก็ตามไปในภพภูมิใหม่ด้วย

** "เมื่อเหตุมันดีมันเต็ม ท่านเรียกว่า บารมี" คือ "เต็มกำลังใจใน กุศล ศีล ทาน ภาวนา" คือ "บารมี ๑๐ ทัศน์" ** นั่นเอง





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2015, 10:21:28 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #154 เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 07:23:33 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
(๑) ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม, (๒) ความตรึกในการทำความไม่มุ่งร้าย, (๓) ความตรึกในการไม่ทำคนอื่นให้ลำบาก.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #155 เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 08:04:48 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีสำรวมอินทรีย์

แบบที่ ๑ ปหานด้วยอาศัยเจตนา


๑. เจตนาที่จะไม่อ่อนข้อให้กิเลส โดยมี "ขันติ" เป็นกำลัง "รู้ว่าควรละ ควรปล่อย ควรวาง" เป็นเหตุลงในสมาธิให้จิตตั้งมั่น คือ
เมื่ออกุศลธรรมเกิดมีขึ้นรู้ผัสสายตนะ ให้ตั้งใจมั่นมีเจตนาที่จะไม่เสพย์กิเลสความคิดปรุงแต่ง สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่เกลียด แล้วปล่อยให้ใจเราเป็นที่สบายไม่ต้องเกร็ง จดจ้องระแวงมัน มันจะเกิดก็ปล่อยมันเกิดไปแค่เรารู้มันแล้วไม่อ่อนข้อเสพย์มัน สละคืนมันสู่กองสังขารนั้น ไม่ยึดจิตที่รู้แล้วตามเสพย์สมมติไปกับมันอยู่ พอมันพรั่งพรูออกมาจนหมด พอมันเสร็จกิจของมัน มันก็ดับไปเอง โดยที่เราไม่ได้อ่อนข้อให้มัน ไม่ยอมน้อมใจไปเสพย์ตามมัน




๒. เจตนาโดย "เมตตา ศีล กรุณา ทาน มุทิตา" เป็นกำลัง "มีความปารถนาดีฉันท์มิตร ไม่เบียดเบียนใครแม้ทาง กาย วาจา ใจ ความสละคืน สละให้ ความเป็นยินดีไปพร้อมกับเขาดับความริษยาทั้งปวง"

1. เจตนาที่จะไม่เบียดเบียนทำร้าย ตั้งใจมั่นที่จะไม่เพ่งเล็งภัณฑะ คือไม่เพ่งเล็งหมายใจในสิ่งของ สัตว์ หรือ บุคคล อันเป็นที่รัก ที่มีค่า ที่หวงแหนของผู้อื่น
(ศีล ว่าด้วย "อนภิชฌา" องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้เห็นโทษของความโลภ ได้แก่ ไม่คิดเพ่งเล็งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยอยากจะได้มาเป็นของตน
http://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=370 : กรรมบท ๑๐ พระราชพรหมญาณ)

ให้ทำด้วยอาศัยพรหมวิหารถดังนี้

ก. เจตนาในความเป็นมิตรที่ดีต่อผุ้อื่น ตั้งใจมั่นที่จะไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ อันเป็นไปเพื่อความเบียดเบียนทำร้ายให้เขาต้องมัวหมอง มีจิตอยากให้เขาเป็นสุขพ้นจากความมัวหมอง เศร้าหมองกายใจทั้งปวงเป็นฐาน(เมตตา) ทำให้เรานี้ไม่ขัดขุ่นข้องใจตนเอง

ข. ทำความสละคืน ความยึดมั่นติดในสังขารธรรมทั้งปวงทิ้งไปเสีย สละคืนซึ่งอกุศลวิตก และ สละฉันทะราคะของเราทั้งปวง ที่มีต่อเขาหรือภัณฑะของเขาทิ้งไป เพื่อให้เป็นความเอื้อเฟื้อแก่เขาไม่ให้เขาต้องมามัวหมอง เศร้าหมองกายใจ จากอกุศลวิตกของเรา(กรุณา+ทาน)

ค. ทำไว้ในใจโดย "ความยินดีที่คงไว้ซึ่งภัณฑะ ปราศจากความมัวหมอง แล้วใช้จิตจับเอาที่จิตอันเป็นสุขนั้นไปสู่เขา" เช่น สำเหนียกว่าหากมีคนมาเพ่งเล็งหมายใจ หมายปองมีจิตคิดอกุศลกับบุคคล หรือ สิ่งของอันเป็นที่รักที่มีค่าของเรา หรือ แม้แต่กับตัวเราเอง เราก็ย่อมไม่ยินดีแน่นอน ก็เมื่อไม่มีคนเพ่งเล็งหมายปองในบุคคล หรือ สิ่งของอันเป็นที่รักที่มีค่าของเรา แม้ด้วยตัวเราให้มัวหมองแม้ความคิดอันเป็นด้วยอกุศลธรรมทั้งปวง กลับมีแต่คนยินดีที่เราได้คงไว้อยู่ซึ่งสิ่งอันมีค่าเหล่านั้น หรือ ไม่มีจิตคิดอกุศลเหล่าใดต่อเรา อันทำให้เราต้องหม่นมัวหมองกายใจ เราก็ย่อมเป็นสุขยินดีแน่นอน จากนั้นให้เราระลึกถึงความสุขจากความคงไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักและความไม่มัวหมองของเรา แล้วแผ่เอาสุขอย่างนั้นไปสู่เขา ให้เขาได้รับสุขอย่างนั้นเหมือนกับเรา

2. อนัตตสัญญา ให้พึงทำไว้ในใจ ด้วยความสำเหนียกว่า "เขาหรือสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา"
"เราอย่าได้ไปปารถนาเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของเราเลย มันทำให้เรารุ่มร้อนเป็นทุกข์"
"เราอย่าได้ไปเพ่งเล็งหมายใจปองอยากได้ หรือ พรากเอาภัณฑะของผู้อื่นเลย"

เมื่อเราตั้งมั่นในใจที่จะละอภิชฌาโทมนัสอยู่อย่างนี้ มีอินทีย์สังวรอยู่อย่างนี้ มีศีลสังวรอยู่อย่างนี้ ย่อมปหานอกุศลทิ้งไปได้ และ ยังกุศลให้เกิดขึ้นด้วยการภาวนานั้น




๓. เจตนาโดย "อุเบกขา" เป็นกำลัง "มีความวางเฉย "ความวางใจไว้กลางๆ ไม่ยึดเสพย์เอาความยินดี ยินร้ายใจอารมณ์ไรๆ" คือ

1. เจตนาที่จะไม่เสพย์ในอกุศลวิตก สมมติกิเลสใดๆทั้งปวง

2. พึงทำในใจไว้ด้วยการวางใจไว้ใน "ความไม่ติดใจข้องแวะ ยินดี ยินร้าย ในสิ่งไรๆที่รู้อารมณ์ที่เกิดมีขึ้นมาผัสสายตนะ"

พึงตั้งใจไว้มั่นด้วยความสำเหนียกว่า "ติดข้องใจไปตามสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาให้จิตรู้ จิตยึด จิตเสพย์ ในอารมณ์ไรๆทั้งปวงไปก็มีแต่ทุกข์ มีแต่ความเร่าร้อน ร้อนรุ่ม แผดเผากายใจให้หมองไหม้ หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ทุรนทุรายจากความปารถนาและแสวงหานั้น"




๔. เจตนาให้จิตรู้ปัจจุบันขณะเป็นกำลัง (สักแต่ว่ารู้) "ไม่ส่งจิตออกนอกเสพย์ไปตามความตรึกนึกคิด"
ตรงนี้แหละที่จะทำให้เรารู้ว่า "กาม..เกิดจากความดำริถึง" ตามที่พระตถาคตตรัสสอน คือ

1. ทำไว้ในใจ ตั้งจิตให้มั่นคงแน่วแน่ ไม่เสพย์ความคิดอกุศล มีจิตเป็นปฏิฆะไม่ยินดีในความคิดอกุศล ไม่เสพย์อกุศลวิตกทั้งปวง

2. ทำความสงบใจ เหมือนสงบนิ่งหน้าเสาธงเมื่อยังเด็กๆ โดยทำไว้ในใจถึงความสงบ ความสละคืน ความดับไปซึ่งสังขารความปรุงแต่งทั้งปวง ความไม่มีกิเลส ความดับสิ้นกิเลส ความเบิกบาน

3. ให้หวนระลึกถึงเมื่อตอนที่เรายังเด็ก จะเห็นได้ว่าเรา สมัยนั้นแม้เราจะเจอคนสวย สาวแก้ผ้า หนังโป๊ เราก็ยังมีใจวางเฉยอยู่ได้ นั่นเพราะที่เรารู้ผัสสายตนะ เราก็รู้เห็นอยู่แค่นั้นในปัจจุบัน ว่าแค่เป็นคน สัตว์ สิ่งของนั้นๆแค่มีท่าทางอาการลักษณะนั้นๆเท่านั้น คือ เห็นแค่เป็นหญิงหรือชาย เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ หรือคนแก่ แม้เห็นเขาใส่ชุดชั้นในก็รู้แค่ว่าเขาใส่ชุดชั้นใน แม้เห็นเขาใส่ชุดว่ายน้ำก็รู้แค่เขาใส่ชุดว่ายน้ำ แม้เห็นเขาเปลือยกายก็รู้อยู่แค่เขาไม่ใส่เสื้อผ้า กำลังอาบน้ำ กำลังนอน กำลังว่ายน้ำ กำลังยืน กำลังเดิน กำลังนั่งอยู่ กำลังทำกิจการงานของเขาอยู่เท่านั้น ไม่คิดสืบต่อเกินกว่านี้ ไม่เข้าไปมองโดยอนุพยัญชนะ คือ ไม่มองโดยดูส่วนเล็กส่วนน้อย อวัยวะต่างๆของเรา ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้ด้วยราคะเมถุนต่อเขา เช่น ไม่มองดเขาใสู่เสื้อชั้นใน กางเกงใน ชุดว่ายน้ำ หรือเปลือยกาย แล้วคิดปรุงแต่งสมมติสืบต่อให้เป็นไปในราคะเทฝมถุนว่า นม หัวนม อวัยวะเพศ ความใหญ่ สีผิว ความนุ่ม กลิ่น รส เสียง ข้างในชุดที่ปกปิดไว้ของเขาต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วคิดสืบต่อว่าน่ารักน่าใคร่ปารถนา น่าเสพย์ น่าสัมผัสอวัยวะส่วนเล็กส่วนน้อยตรงนั้นตรงนี้ จนลามไปถึงการคิดปรุงแต่งสมมติไปว่าได้เสพย์เมถุนกับเขา มีอาการสัมผัสอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่เราสำคัญใจไว้ต่อเขา ทั้งๆที่เขาก็อยู่อย่างนั้นของเขาไม่ได้มาเกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย แต่จิตเรามันยังติดไปได้ ดำริสมมติไปทั่วจนเกิดความกระสันฝักใฝ่ที่จะเสพย์ จนเป็นทุกข์กับการแสวงหา นี่แหละ กามเกิดมาแต่ความดำริถึงสมจริงตามคำทั่พระพุืธเจ้าตรัสสอนไว้

ดังนั้นสักแต่ว่ารู้ คือ ไม่คิดสืบต่อสมมติเรื่องราวเกินเลยจากที่เห็นในปัจจุบัน ไม่มองเห็น ฟังเสียง ดมกลิ่น สัมผัสกาย สัมผัสระหว่างเพศ ตรึงนึกคิดจากสิ่งที่รู้นั้นโดยส่วนเล็กส่วนน้อย ไม่สำคัญใจยินดีในส่วนเล็กส่วนน้อย ไม่สำคัญมั่นหมายใจในราคะเมถุนต่อเขาดังนี้แล รู้แค่ปัจจุบันว่าเขามีลักษณะอาการ อิริยาบถ อย่างนั้นๆอยู่เท่านี้พอ

4. วิปัสสนา ตั้งใจมั่นมองดูแค่ว่าคนนั้นๆที่เรามองอยู่ในตัวเขามัสีอะไรย้าง ผมสีดำ แคง ทอง ผิวขาว เหลือง ดำ เสื้อกางเกงมีสีแดง น้ำเงิน เขียว ขาว ชมพู เหลือง.. ฯลฯ แล้วพึงดูโดยรวมว่าที่เห็นจากเขานี้มีสีอะไรบ้าง สีนั้นๆมีเคล้าโครงรูปร่างยังไง เท่านั้น ดูแค่สีที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น จากนั้นก็ดูว่าสีนั้นๆอยู่ในที่ใกล้ หรือที่ไกลเท่านี้พอแล้ว ไม่มีอื่นอีก



บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #156 เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 08:08:22 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีสำรวมอินทรีย์

แบบที่ ๒ ปหานด้วยอาศัยกรรมฐานภาวนา


แบบที่ ๑ พิจารณาใน "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" คือ

1. ทำไว้ในใจ ตั้งจิตให้มั่นคงแน่วแน่ ไม่เสพย์ความคิดอกุศล มีจิตเป็นปฏิฆะไม่ยินดีในความคิดอกุศล ไม่เสพย์อกุศลวิตกทั้งปวง หายใจเข้า...ทำไว้ในใจ ตั้งจิตให้มั่นคงแน่วแน่ ไม่เสพย์ความคิดอกุศล มีจิตเป็นปฏิฆะไม่ยินดีในความคิดอกุศล ไม่เสพย์อกุศลวิตกทั้งปวง หายใจออก

2. ทำความสงบใจจากกิเลสโดยอุปสมะ

3. พึงตั้งจิตมั่นให้เป็นที่สงบ เพ่งดูด้วยความจดจ่อ หมายใจไว้ว่าเราจักรู้ของจริง

4. ม้างกายออกมา ดูว่า เสื้อผ้าหรือ ผมหรือ ขนหรือ นมหรือ โยนีหรือ น้ำลายหรือ น้ำมูตหรือ น้ำเหงื่อหรือ น้ำสุกกะหรือ หนังที่หุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบนี้หรือที่เป็นเขา มันออกมาจากตัวเขา เขาก็ยังอยู่ของเขาอย่างนั้นไม่ได้ติดตามสิ่งนี้ๆมาด้วย เมื่อม้างกายออกเริ่มจาก ขน ผม เล็บ ฟัน หนังของเขาออกที่ละอาการๆมากองๆรวมกันไว้ จนครบอาการทั้ง ๓๒ ประการ แล้วมองดูซิมันยังมีเขาอยู่อรกไหม ก็ไม่มีอะไรเลยนอกจากอาการที่น่ารังเกลียดเน่าเหม็นนั้นกองๆกันไว้อยู่เท่านั้น กลิ่นหรือ เสียงหรือที่เป็นเขา รสหรือที่เป็นเขา ก็หาไม่ได้ แล้วเราจะไปกระสันอะไรจากสิ่งนั้นๆที่ไม่มีเขาในนั้นเลย การสัมผัสกายแม้ระหว่างเพศ คือ ระหว่างชายหญิงก็ที่แค่อ่อน แข็ง ร้อน เย็น เอิบอาบ เคลื่อนไหวไปมานี้หรือที่เป็นเขา ฯลฯ ก็ไม่เห็นจะมีเขาในนั้น แล้วเราจะไปหมายใจสำคัญมันไว้ดับสิ่งเหล้านี้ว่าเป็นเขาแทนตัวเขาได้อย่างไรหนอ แม้เมื่อได้สิ่งเหล่านั้นมาถือครองไว้ก็ไม่ใช่เขาที่เราถือครองอยู่ดี แล้วจะไปหมายเอาสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขาได้อีกหรือหนอ

5. เห็นเป็นธาตุ ๖ ว่าเขากับเราก็มี รูปขันธ์เหมือนกัน มีอาการทั้ง ๓๒ ประการเหมือนดันกัน ก็กายเราโดยอาการทั้ง ๓๒ ประการนี้ ก็สักแต่เป็นแค่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่เกาะกุมกันขึ้น เป็นรูปร่างสีสันที่มีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามแต่ธาตุใดมีมากมีน้อย แล้วอาศัยใจอันเป็นวิญญาณธาตุเจ้ายึดครองเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นเมิ่อเขาก็มีอาการทั้ง ๓๒ ประการเหมือนเรา มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเหมือนกัน เขาก็าักแต่เป็นธาตุ ๖ เหมือนเรา แล้วจะไปพิศมัยอะไรเอากับสิ่งที่เราก็มี กับสิ่งที่เป็นเพียงธาตุ ไม่มีตัวตนบุคคลใดนี้

6. อสุภะ ก็กายที่เราเห็นว่างามนี้ อาการทั้ง ๓๒ ประการ ธาตุ ๖ เหล่าใด มันมีความผุพัง เน่าเปื่อย ย่อยสลายไปในที่สุด ดั่งศพในป่าช้าที่สัตว์ยื้อแย่งกันกินบ้าง ที่เมื่อก่อนตายก็งดงาม ต่อมาก็เหี่ยวย่น เป็นโรค เป็นฝี เป็นหนอง แล้วก็ตาย เขียวขึ้นอืด น้ำเลือด น้ำเหลืองไหลเยื้ม มีหนอนชอนไชกัดกินไปทั่วเหลือแต่กระดูกที่ผุพังสลายไป ไม่ว่าจะเป็นคนขาว คนดำ คนสวย คนไม่สวย คนแก่ หรือนยังวัยรุ่น ก็ต่างมีเลือดสีแดง มีน้ำเหลือง น้ำหนอง ตายเสร็จก็ขึ้นอืดบวมเขียว แล้วก็เปื่อยเน่าย่อยสลายไปเหมือนกันหมดไม่มีเว้น ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนนานอยู่ได้นาน มีความเสื่อมอยู่ทุกขณะ จะปารถนาเอาความไม่เที่ยงมาเป็นสุขของตนรึ มันสุขแล้วมันก็ค่อยๆทุกข์เพราความเสื่อมสลายอันเปฌนเอกลักษณ์ของมัน เอาความไม่เที่ยงมาเป็นสุขตนหรือ มันสุขแค่ชั่วคราวแระเดี๋ยวประด๋าวนายสุดก็แค่หมดลมหายใจเรา ตายไแก็เอาไปด้วยไม่ได้ เรายังจะปารถนามันอีกหรือ

"มันแค่สมมติกิเลสทั้งนั้นที่เห็นว่างาม แค่หนังหุ้มสิ่งเน่าเหม็นไว้ภายในเท่านั้น ของจริงที่รู้ได้ก็มีแค่ลมหายใจนี้เท่านั้นเอาจิตมาจับที่ลมนี่แหละขิงจริง"



แบบที่ ๒ พิจารณาใน "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ต้องอาศัยการเข้าไปรู้ก่อนว่า นี่คือสุข นี่คือทุกข์ นี่คือความไม่สุขไม่ทุกข์ คือ

1. พึงเห็นว่าอุปกิเลสทั้งปวงนี้ล้วนแต่เกิดมาจากความคิด ความคิดทั้งปวงล้วนเกิดมาแต่ความสำคัญใจไว้ ความสำคัญใจทั้งปวงล้วนเกิดมาแต่ความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีในสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นทั้งปวง

2. เมื่อเกิดมีผัสสะ ระหว่าง อายตนะภายนอก+สฬายตนะ+วิญญาณ จึงเกิดมีอาการแช่มชื่นรื่นรมณ์ ชื่นบาน พรุ่งพรูในอาการนี้ๆต่ออารมณ์ใด "ก็เพราะจิตรู้สิ่งนั้นแล้วน้อมไปหาอารมณ์ โดยความจงใจหมายเข้าไปรู้อารมณ์นั้นแหละ ว่าเป็นอะไรจนเกิดหวนระลึกถึงสัญญาหมายรู้อารมณ์นั้นขึ้น สมมติกิเลสก็เกิดเป็นเรื่องราวต่างๆขึ้นมาทันที รู้ว่านี่มันคือความโสมนัส สุขใจ ความเข้าไปยึดมั่นในอาการนี้คือความยินดีในอารมณ์" เมื่อมีความยินดีในอารมณ์นั้นด้วยความน่าใคร่ปารถนายินดี จิตเรานี้จะมีความติดตรึงตามในอารมณ์ประดุจดั่งถูกตาข่ายกุมล้อมขังใจเราไว้ แม้อาการนี้ยังไม่ส่งถึงทุกข์อย่างหยาบ แต่มันเป็นทุกข์อย่างกลางไปถึงละเอียดที่รู้ได้ยาก มีความอัดประดังด้วยความร้อนรุ่มเร่าร้อนบางๆอยู่ นี่เห็นได้เลยว่าความยึดเวทนาเหล่าใด แม้จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นทุกข์ก็ดี หรือ จะเป็นไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี นี่มันทุกข์ทั้งนั้นเลย เมื่อรู้ดังนี้แล้วการสำรวมอินทรีย์นี้เราก็เริ่มจาก

ก. ดูความยินดีในอารมณ์ที่รู้สึกดีทางใจนั้น ก็ความยินดีนั้นแหละเกิดมีขึ้นด้วยอาการที่ติดตรึงยึดตามในอารมณ์นั้นด้วยอาการที่หมองๆด้วยอาการที่รุ่มๆเร่าๆใจอ่อนๆ นี่เป็นอกุศลฉันทะมันมีอาการทุกข์จากความยินดีในการยึดเวทนาในอารมณ์นั้นๆ ก็อาศัยสัญญานี้แหละจดจำอาการสำคัญใจที่ยินดีให้ยึดสืบต่อไม่รู้จบ

ข. เมื่อมีความติดตรึงยึดตามในอารมณ์นั้น ก็เกิดความตั้งใจหมายจะเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์นั้นๆ(เจตนาในกาม) แล้วก็เกิดความตรึกนั่น ตรึกโน่น ตรึกนี่ด้วยความเร่าๆรุ่มๆตามไปในอารมณ์ที่ยึดมั่นยินดีอยู่นั้น เหมือนกายใจถูกขังตรึงรุ่มเร่าตามไปอยู่ด้วยอารมณ์นั้น เรียกว่า ความรู้สึกที่มีอาการน่าใคร่น่าปารถนาในอารมณ์นั้นๆ นี่แหละเห็นได้เลยว่า กามเป็นทุกข์

ค. รู้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปารถนาไรๆแล้ว มันจะมีอาการติดใจในอารมณ์ที่เสพย์อยู่นั้นๆ เหมือนสิ่งนั้นไปที่ใดแม้เราจะไม่ผัสสะมันแล้วแต่มันยังตรึงติดใจในอารมณ์ประดุจเขาเอาเรือลากอวนจับลากเราไปตามเรือนั้น หาความว่างสงบว่างอยู่ไม่ได้ นี่ความติดใจมันทุกข์อยู่อยา่างนี้แล

ง. ความติดใจในอารมร์นั้นเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัด กระสัน ผูกใจฝักใฝ่ใคร่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆให้ได้อย่างแรง จนเกิดความแสวงหาเร่าร้อน เหฟมือนเราถูกไฟเดผาให้ร้อนรุ่มร้อนรน ทุรนทุรายตะเกียกตะกายที่จะหามาเสพย์ให้ได้ หวนระลึกถึงเมื่อไหร่ก็เร่าร้อนเมื่อนั้น ราคะมันทุกข์หนักอย่างนี้
(ราคะมีในที่ใด โทสะย่อมมีเกิดเพราะความไม่้สมปารถนานั้น โมหะความลุ่มหลงย่อมมีเป็นกำลังในมันเป็นอุันมาก)

3. ก็เมื่อรู้อย่างนี้แล้วว่า เวทนา ๓ ล้วนเป็นทุกข์ คนรวย คนมี คนจน คนงาม คนหยาบ ย่อมเป็นทุกข์จาก เวทนา ๓ นี้ด้วยกันทั้งนั้นไม่ต่างกันเลย เราก็ยังจะยึดมันอีกรึ คนรวยจะสำคัญว่าสุขตนมีเหนือใครได้อีกรึ ก็มีเวทนา ๓ ไม่ต่างจากคนจน คนพิดาร หรือ หมา แมวเลย ส่วนคนจนนี้จะสำคัญว่าแม้เรายากจนเราก็มีเวทนาเหมือนคนรวย เกิดมามีเวทนาเท่ากันกับคนรวยอย่างนั้นหรือ แล้วความเสมอกันนั้นอยู่นานไหม พอความรู้สึกนี้ดับไป เราก็กลับไปกระวนกระวายเป็นทุกข์อยากได้อยากมีอยากเป็นเหมือนเขาอีก ก็ตะเกียกตะกายแสวงหาสุขอย่างเขานั้นจนวันตายไม่รู้จบ จะแบกเอาทุกข์เอาความอยากนั้นตายตามเราไปอย่างนั้นหรือ ไปยึดเอาสุขจากสิ่งของภายนอก ยึดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงมาเป้นสุขของตนมันก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์เพราะความเสื่อมสูญสลายไปไม่ยั่งยืนของมันนั้นเอง ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ส่วนสุขที่เกิดแต่โลกุตระธรรมนั้นมันทำยากจริงแต่มันเป็นบรมสุขที่นิรันดร์ สุขเพระาความปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆทั้งปวง แม้ตายไปแล้วสุขอันนี้ก็ติดตามเราไปด้วย ดังนั้นเราจะอยู่ดีสูงกว่าเขาได้ก็ด้วยความไม่ยึด ความปล่อยวาง ความเป็นกุศลจิตของเรานี้แหละ ทำให้จิตเราสูงเหนือ โลภ โกรธ หลง เราก็จะสูงกว่าแม้มหาเศรษฐี พระราชา คนจน คนรวย สัตว์ใดๆของโลก ด้วยเห็นดังนี้แล้ว ก็พึงละความยึดมั่นถือมั่นใน เวทนา ๓ นี้ๆไปเสียโดย

ก. รู้อารมณ์ไรๆอันเป็นที่รักก็ดี ที่เกลียดก็ช่าง ที่กลางๆก็ดี ก็สักแต่ว่ารู้เท่านั้น ไม่ตั้งเอาจิตไปคิดข้องแวะในอารมณ์นั้นๆ ก็แค่รู้ว่าเวทนาเกิดมีขึ้น

ข. พึงเห็นโทษในเวทนาเหล่านั้น โดยความสำเหนียกในทุกข์ที่จะเกิดมีว่า แม้สุขก็ทุกข์โดยความไม่เที่ยงไม่คงอยู่นาน แม้ทุกข์ก็ทุกข์โดยความไม่เที่ยงไม่คงอยู่นาน แม้ความไม่สุขไม่ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยความไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นาน

ค. เวทนาเหล่าใดเมื่อเรารู้โดยบัญญัติว่า มันคือสุข คือทุกข์ คือไม่สุขไม่ทุกข์ สิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้นมันดับไปนานแล้ว แต่อาศัยสมมติกิเลสที่ยึดอาการแบบนั้นๆไว้โดยสัญญาจึงทำให้เหมือนว่ามันยังคงอยู่ในขณะนั้นๆ นี่เราถูกกิเลสสร้างสมมติขึ้นมาว่านี้คือสุข นี่คือทุกข์ นี่คือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งสิ้น จริงๆอาการนั้นๆมันดับไปตั้งแต่ผัสสะรู้โดยอาการจริงๆของมันแล้ว นี่เราจะยึดจะเสพย์สมมติเอาว่าสุข ว่าทุกข์อย่างนั้นหรือ คงหาประโยชน์ไม่ได้เลย แม้เพราะสุขที่ว่าสุขนักสุขหนานี้เมื่อพิจารณาในข้างต้นแล้วก็ประกอบไปด้วยทุกข์ทั้งสิ้น ทุกข์จากความยึด ทุกข์จากความหลงติดใคร่ในอารมณ์นั้นๆ ดังนั้นแล้วประโยชย์อะไรที่เราจะยังเสพย์สมมติที่เรียกว่าเวทนานี้อยู่ ควรละมันไปเสีย

ง. เวทนานี้อาศัยจิตเป็นเครื่องรู้ ก็เพราะจิตรู้อารมณ์เสพย์สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นจึงเกิดมีเวทนา ๓ นี้อยู่ได้ ดังนั้นแล้วละสิ่งที่จิตรู้ทั้งปวงนี้ๆไปเสีย พึงสำเหนียกไว้ว่า จิตรู้สิ่งใดหลังผัสสะมาแล้วสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ดังนั้นหากไม่อยากจะหลงสมมติก็ไม่ยึดเอาสิ่งที่จิตรู้ โดยไม่ยึดเอาจิต มันจะรู้อะไรก็ช่างก็สักแต่ว่ารู้ สิ่งที่มันรู้ล้วนเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตยึด
- จิตมันเข้าไปรู้สุข..เราก็ไม่เข้าไปยึดรู้เสพย์ตามมัน จิตไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา สุขก็ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา สักแต่สมมติขึ้นมาให้จิตหลงยึดตามกิเลสความเร่าร้อนเท่านั้น
- จิตมันเข้าไปรู้ทุกข์..เราก็ไม่เข้าไปยึดรู้เสพย์ตามมัน จิตไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา สักแต่สมมติขึ้นมาให้จิตหลงยึดตามกิเลสความเร่าร้อนเท่านั้น
- จิตมันเข้าไปรู้ความไม่สุขไม่ทุกข์..เราก็ไม่เข้าไปยึดรู้เสพย์ตามมัน จิตไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา ความไม่สุขไม่ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา สักแต่สมมติขึ้นมาให้จิตหลงยึดตามกิเลสความเร่าร้อนเท่านั้น
- เจริญไปอย่างนี้ๆเป้นเหตุให้มาก ก็จนเมื่อจิตเห็นจิต สติมันก็ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ไรๆทั้งสิ้น แม้จิตที่เป็นตัวรู้เองมันก็แค่ดูเฉยๆ เมื่อจิตเห็นจิต จิตไม่ยึดจิตแล้ว มันจะมีอาการที่ว่างสงบ แต่จะมีอาการตรึงๆหนักๆ เนือยๆที่จิตอยู่บ้าง ยังไม่ผ่องใสนัก เพราะจิตมันไม่มีที่ยึดนั่นเอง ธรรมชาติของขิตย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ดังนั้นให้ตั้งฐานจิตไว้ที่ลมหายใจ ณ ปลายจมูก รู้ลมมันไปเพราะลมหายใจเป้นกายสังขาร เ)้นสิ่งที่กายต้องการ ลมหายใจนี้เป็นของจริงที่มีอยู่จริงๆที่สัมผัสได้ง่ายรู้ได้ง่าย เป็น 1 ใน ธาตุ๖ ที่มีอยู่ในกายนี้

* พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาย่อมตรัสสอนว่า ให้ระลึกรู้ว่ามันเกิด ระลึกรู้ว่ามันดับ แต่ไม่เข้าไปเสพย์ มันสักแต่มีไว้รู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ ไม่ได้มีไว้ยึด *
* พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาย่อมตรัสสอนว่า ให้ระลึกรู้ว่าอานาปานสติให้มาก แม้พระองค์เองก็รู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลาไม่ทิ้งไป ทรงมีอานาปานสติเป็นอันมาก*
การเจริญตามคำที่พระตถาคตผู้เป็นพระสัพพัญญุเจ้า เราก็มีพอจะมีปัญญาระลึกรู้ไดัดังนี้เท่านี้



แบบที่ ๓ พิจารณาใน "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ต้องอาศัยการเข้าไปรู้ลักษณ์อาการของจิตก่อนว่า นี่คือรัก นี่คือโลภ นึี่คือโกรธ นี่คือหลง แล้วจึงพิจารณาตามจิตตานุปัสสนาจนเห็นแจ่มแจ้ง ก็อาศัยการรู้ของจริงนั้นและในการเจริญในข้อนี้ คือ

1. พึงพิจารณารุ้เหตุปัจจัยตามจริงของความคิดว่า ความคิดนี้เกิดแต่ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งไรๆไว้ ยิ่งสำคัญไว้มากยิ่งตรึกนึกคิดถึงมาก ความสำคัญมั่นหมายของใจก็เกิดมาแค่ความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี่ในอารมณ์นั้นๆ ความพอใจยินดีไม่พอใจยินดีในสิ่งไรๆก็ล้วนมาจาก$
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2015, 12:01:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #157 เมื่อ: กันยายน 29, 2015, 08:50:48 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
.....
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #158 เมื่อ: กันยายน 29, 2015, 09:23:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 29/9/58 ค้นหาวิธีการทำและเข้าถึงสมาธิ


๑. ให้นั่งสมาธิทำใจให้เป็นที่สบาย (ก่อนนั่งให้เดินจงกรมก่อนจะดีมาก เนื่องจากเป็นการทำสมาธิในท่าหยาบเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมในการทำสมาธิ)

๒. ทำไว้ใจใจเหมือนปูลาดด้วยผ้าขาว สะอาด สงบไม่มีกิเลสเครื่องเร่าร้อน และ ความฟุ้งซ่านตรึกนึกไรๆ

๓. ทางที่ปูผ้าขาวนั้น คือทางเดินลมหายใจ เข้า และ ออก เป็นทางปูลาดทางเดินให้พระพุทธเจ้าได้เสด็จเข้ามา บริกรรมพุทโธ เป็นการเชิญให้องค์พระท่านเข้ามา รู้ลมหายใจตั้งมั่นไว้ที่ปลายจมูก




คุณแห่งพุทโธ ขจัด กิเลสกาม โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวงทิ้งไป

๔. หายใจเข้า ระลึก "พุท" น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า แห่งความเป็น
- ผู้รู้ คือ รู้เห็นตัวตนสมมติกิเลสทั้งปวง ที่ลุ่มหลง ได้รู้เห็นสัมผัสของจริง อันปราศจากซึ่งสมมติกิเลสทั้งปวง
- ผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติกิเลสทั้งปวง ไม่หลงมัวเมาอยู่อีก ไม่ลุ่มหลงเสพย์สิ่งสมมติกิเลสอยู่อีก ดำรงมั่นด้วยทางแห่งกุศลถึงความพ้นทุกข์ทั้งสิ้นนี้อันเป็นไปในทางแห่งสัมมา (โดยชอบ) ถึงซึ่งกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศ วิโมกข์ ๘ วิชชา ๘ อภิญญาทั้ง ๖ วิปัสสนาทั้ง ๙ ญาณทั้ง ๑๖ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงถึงแล้ว มีแล้ว ได้แล้ว รู้เห็นแล้ว และ ตรัสสอนมาดีแล้วนั้นทั้งหลายทั้งปวง
- ผู้เบิกบาน คือ เบิกบานด้วยธรรม หลุดพ้นดับสิ้นแล้วซึ่งเพลิงกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไร ดับเพลิงทุกข์สิ้นเชิง เบิกบานอยู่ด้วยความพ้นทุกข์ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว
- ทำไว้ในใจน้อมเอา… คุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเข้ามาสู่ตน ได้มาสถิตย์อยู่ในกายใจตน ในทวารทั้งปวง
(ทำไว้ในใจถึงคุณทั้งปวงเหล่านั้นของพระพุทธเจ้าเข้ามาตามทางลมที่ลาดปูไว้ หรือตามจุดพักลมต่างๆตั้งแต่ ่จุดปลายจมูก จุดหว่างคิ้วนาสิกหรือจุดกลางหน้าผาก จุดกลางกระหม่อม จุดโพรงกลวงกลางกระโหลก จุดท้ายทอย จุดตรงลำคอช่วงหลอดลมตรงลูกกระเดือกหรือจุดสุดคอกลวง จุดกลางหน้าอก หรือจุดลิ้นปี่ ท้องเหนือสะดือ 2 นิ้ว ไปขาถึงปลายเท้า แล้วกระจายหายไปในอากาศตามลม)

๕. หายใจออก ระลึก "โธ" น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า แห่งความเป็น ผู้เบิกบานขจัดสิ้นสมกิเลส อกุศลธรรมทั้งปวง ดับหายสิ้นไปจากกายใจเราตามลมหายใจออก
(ทำไว้ในใจถึงกิเลสทั้งปวงสูญหายไปตามลมหายใจออก ตั้งแต่ปลายเท้า ขา จดท้องเหนือสะดือ 2 นิ้ว จุดลิ้นปี่หรือจุดกลางหน้าอก จุดตรงลำคอช่วงหลอดลมตรงลูกกระเดือกหรือจุดสุดคอกลวง จุดท้ายทอย จุดโพรงกลวงกลางกระโหลก จุดกลางกระหม่อม จุดกลางหน้าผากหรือจุดหว่างคิ้วนาสิก จุดปลายจมูก ให้สมมติกิเลสทั้งปวงหายไปในอากาศตามลมหายใจออก)




การวางใจเมื่ออยู่ในสมาธิ

๖. บริกรรมตามลมหายใจเข้าออกถึง พุทโธ ธัมโม สังโฆ จากนั้นเหลือแต่เพียงพุทโธตั้งหลักมั่นเสียบตอไว้ที่ปลายจมูก หรือ จุดพักลมใดๆก็ได้ที่ตนเห็นได้ชัดไปเรื่อยๆ

- จะเข้าไปตรึกนึกคิดเรื่องราวใดๆก็ช่างมัน ให้เราแค่รู้ว่าจิตมันคิดก็พอ ให้แค่รู้และตามรู้มันไปว่ากำลังตรึกถึงคิดไรๆอย่างนี้ๆอยู่เท่านั้น ไม่ต้องไปฝืนมันหรือพยายามข่มให้มันดับ มันคิดก็ปล่อยมันคิดให้พอใจให้มันเต็มใจมัน แต่เราต้องมีสติรู้ว่า..จิตมันคิด ให้มีสติรู้ตามมันไปว่า..นี่เป็นความปรุงแต่งตรึกนึกคิดให้เป็นไปใน.. อดีตบ้าง หรือ อนาคตบ้าง.. สมมติให้เป็นไปต่างๆนาๆบ้างตามแต่กิเลสที่ทับถมใจมันต้องการแสวงหา ตามแต่กิเลสความอยากที่มันหลอกให้จิตเสพย์จิตยึดสมมตินั้นๆ ..มันไม่ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันไม่ใช่ของจริงเลย ดังนั้นให้เรารู้ว่ากำลังตรึกนึกสมมติเรื่องราวไรๆอยู่เท่านั้น  แค่รู้ก็พอ ให้สักแต่ว่ารู้ว่ามันเกิดมีขึ้น ธรรมชาติของจิตมันคือคิด ดั่งองค์พระสัพพัญญูตาเจ้าองค์พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนว่า "ธรรมชาติใดคิด..ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต" มันเป็นเพียงปกติของจิตที่มีเกิดอยู่ประจำๆเท่านั้น เพราะจิตที่ไม่มีกำลังมันอยู่นิ่งไม่ได้ต้องน้อมไปเสพย์อารมณ์ต้องหาที่ยึดเป็นเรื่องปกติของจิต มันเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้นเมื่อเกิดความตรึกนึกคิดสิ่งๆไรให้ช่างมัน ปล่อยมันไปตามแต่มันจะคิด เพียงแต่เราต้องมีสติกำกับรู้อยู่ทุกขณะๆเท่านั้น รู้ว่าจิตมันคิด และ ตามรู้มันไป พอมันดับก็รู้ว่ามันดับ เมื่อมันดับไปแล้วถ้าไม่มีความคิดหรือว่างอยู่ก็มีสติรู้ตามมันไป หากมันวูบมันหลุดมารู้ตัวมาตรึกคิดตามปกติแล้วก็ค่อยกลับมารู้ลมหายใจภาวนาพุทโธต่อไป

- จะรู้เห็นเกิดมีนิมิตอะไรก็ตาม ให้เราแค่รู้ว่ามันเกิดก็พอ ให้แค่รู้และตามรู้มันไปว่ากำลังรู้เห็นนิมิตอย่างนี้ๆอยู่เท่านั้น ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องไปดีใจอยากได้มันแล้วจำจดจำจ้องใสสภาวะธรรมไรๆที่เกิดขึ้นแล้วมา..เฮ้ย..ถึงนี้แล้ว..เข้านี่ได้แล้ว..นี่ถึงตรงนี้แล้ว ไม่เข้าไปเสพย์ปรุงแต่ง ไม่ต้องเข้าไปรู้แล้วจำจดจำจ้องมัน หรือ ไม่ต้องไปฝืนมันหรือพยายามข่มให้มันดับเพื่อดึงจิตให้กลับมาอยู่ที่ลมหายใจและบริกรรมพุทโธ**แต่ให้มีสติกำกับอยู่ รู้ว่าเกิดนิมิตนิมิตนั้นแล้วดูมันไปเรื่อยๆ แค่รู้ก็พอ ให้สักแต่ว่ารู้ว่ามันเกิดมีขึ้น นิมิตหรืออาการสภาวะลักษณะของจิตนั้นๆมันดำเนินไปมีรูปร่างแบบไหนยังไงก็ช่างมัน ก็แค่รู้ว่ามันก็แค่อาการรูปร่างนิมิตไรๆมันก็เป็นเพียงแค่ปกติอาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยุ่นับล้านๆแบบเท่านั้น เป็นเรื่องปกติของจิต มันเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันดับก็รู้ว่ามันดับ เมื่อมันดับไปถ้าไม่มีความคิดหรือว่างอยู่ก็มีสติรู้ตามสภาวะมันไป หากมันวูบมันหลุดมารู้ตัวมาตรึกคิดตามปกติแล้วก็ค่อยกลับมารู้ลมหายใจภาวนาพุทโธต่อไป "ถ้าไม่ทำตามนี้ก็พลาดโอกาสทองที่จะแวะไปเล่นฌาณซะแล้ว"

- ทำให้หมือนขับรถเดินทางไกลตามที่หลวงปู่ฝั้นสอนตามที่หลวงปู่ณรงค์ชี้แนะ สิ่งนั้นๆที่เรารู้เห็นก็แค่เพียงวิวทิวทัศน์ข้างทางเท่านั้น ถ้สแวะเล่นก้ได้เที่ยวชมวิวแต่การเดินทางของเราก็ช้าลงไปอีก ถ้าไม่แวะชมก็ไปเร็วขึ้น
- ทำตามหลวงน้าสอนว่า รู้ ปกติ วาง




การขจัดสิ่งรบกวนรอบกายทำให้ฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ

๗. เมื่อนั่งๆอยู่ แต่ไม่เป็นสมาธิ หรือ เกิดอาการคันๆเหมือนมดแมงมากัดด หรือ วูบวาบๆ หวิวๆ เสียวๆ เหมือนมีดกรีด เจ็บปวด เสียดแทง เหมือนหล่นจากที่สูง หรือหนักอั้งตรึงกายใจ ไม่ยอมหาย ไม่หลุดไปสักที ก็ให้ตั้งใจมีสติดำรงมั่น ระลึกถึง สมรณัสสติ คือ ความตาย ว่า

- อาการนี้ๆคือเราคงจะตายแล้วในไม่ช้า ไม่ชั่วขณะหายใจเข้าแล้วตาย ก็ชั่วขณะลมหายใจออกแล้วตาย ก็เมื่อจะตายแล้ว ตายไปก็ขอไปพระนิพพาน ไปสวรรค์ชั้นดุสิต ไปชั้นพรหม ระลึกพุทโธนึกถึงพระพุทธเจ้ายี่แหละ เมื่อตายไปจึงจะไปจุติที่นั่นได้ ดังนั้นแล้วก็ตายด้วยกุศลดีกว่า คือระลึกถึงพระพุทธเจ้าไปจนตายนี่แหละ แล้วก็ตั้งมั่นระลึกบริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกต่อไปโดยสงบ
- เมื่อเจ็บจี๊ดเสียดแทง ก็ระลึกว่า เรากำลังจะตาย ไอ้ที่เจ็บเสียดจี๊ดนี้ เพราะถูกมีดพร้า ของมีคมเสียบแทงให้ตาย ก็เมื่อจะตายอยู่แล้ว ก็ขอตายอย่างกุศลนี่แหละ คือระถึงพุทโธ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อตายไปจะได้ไม่ตกสู่ที่ชั่ว ตายไปแล้วนี่จะได้ไปหาพระพุทธเจ้า ไปกราบนมัสการพระองค์ท่านที่แดนพระนิพพาน หรือไปสวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นพรหม แล้วก็ตั้งมั่นระลึกบริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกต่อไปโดยสงบ
- เมื่อคันยุบยิบๆ คันจี๊ดๆ ทั้งๆที่ ที่นั่งสมาธิก็สะอาดสบาย ก็ระลึกว่าเรากำลังจะตาย ไอ้ที่คันอยู่นี้เพรากำลังโดนหนอน โดนแมลง หรือ สัตว์ทั้งหลาย พากันกัดยื้อแย่งกันกินร่างกายนี้อยู่ ก็เมื่อจะตายอยู่แล้วก็ขอตายอย่างกุศลนี่แหละ คือระถึงพุทโธ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อตายไปจะได้ไม่ตกสู่ที่ชั่ว ตายไปแล้วนี่จะได้ไปหาพระพุทธเจ้า ไปกราบนมัสการพระองค์ท่านที่แดนพระนิพพาน หรือไปสวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นพรหม แล้วก็ตั้งมั่นระลึกบริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกต่อไปโดยสงบ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2015, 11:21:41 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #159 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 09:34:01 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อัคคิสูตร
เจริญโพชฌงค์ตามกาล


             [๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม
อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า
ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
โพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะ
ยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
ตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
             [๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
*วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
             ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.


จบ สูตรที่ ๓

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2015, 09:36:16 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #160 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 09:39:12 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อาหารของโพชฌงค์ ๗

 พุทธพจน์ และ พระสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙

 คลิกขวาเมนู
    [๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร

ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้  แม้ฉันใด

โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร

ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

 

    [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่

การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น

นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและ

อกุศลที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก

ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น

มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์

มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต

มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่

การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่ง

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร

ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

 

    [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร

ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะ

อาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบ สูตรที่ ๒
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #161 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2015, 03:56:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

กรรมฐานวันที่ 16 ตุลาคม 2558 การละความสำคัญมั่นหมายในราคะของใจ ล้างราคะสัญญา

วันนี้เข้าฟังเทสนาของหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน จิตไม่เป้นสมาธิ มีความระส่ำ จึงทำความสงบใจ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนว่า ทำอย่างไรหนอ จึงจะละความเร่าร้อนนี้ได้ ละความสำคัญใจในกิเลสทั้งปวงได้ พอได้ความสงบใจบ้างก็เกิดกุศลวิตกคิดออกจากทุกข์ผุดขึ้นมาว่า
- การละราคะ ก็ละที่ความไม่คิดสืบต่อจากที่รู้ในปัจจุบันด้วยนิมิตด้วยอนุพยัญชนะ จะละความตรึกตรองในนิมิตในอนุพยัญชนะได้ก็ต้องละที่เจตนาเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์นั้น จะละอารมณ์นั้นๆได้ก็ตค้องละที่ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ ละที่ความสำคัญใจในราคะที่มีต่อสิ่งนั้นๆ ละความสำคัญใจในราคะต่อสิ่งนั้นๆได้ก็ต้องไม่ยึดสัญญา ละสัญญาก็ไม่ให้ความสำคัญในสิ่งไรๆอาการไรๆแม้แต่เวทนา จิตรู้ยึดแต่สัญญายึดแต่สมมติก็มาแต่ความสำคัญใจในความโสมนัส โทมนัสที่มีต่อสิ่งนั้นๆ เราก็ต้องไม่ยึดจิต ไม่ยึดจิตก็ไม่มีทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ไม่ยึดสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
- การสละคืนความสำคัญใจในราคะ ก็ต้องไม่เสพย์ไม่ยึดในสัญญาแห่งราคะ เหมือนเราเป้นเด็กก็ไม่เคยมีความจำสำคัญมั่นหมายของใจในราคะต่อสิ่งไรๆเลยฉันใด เราก็ไม่ซ้องเสพย์ให้ความสำคัญใจในราคะต่อสิ่งไรๆฉันนั้น ตั้งจิตจับแต่กุศล ยึดเพียง ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา ละอภิชชา ละโทมนัสให้จงได้ ไม่ยึดจับเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น ตั้งแต่กุศล เพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษาไว้ไม่ให้เสื่อม ทำสมาธิเสพย์แต่กุศลล้างจิตเสพย์เอาแต่กุศล ล้างขยะอกุศลธรรมทั้งปวงทิ้งไป ตั้งโดยความสงบให้จิตจับจิตน้อมรับแต่กุศลให้มากที่สุด เป็นการล้างสัญญาใน ราคะ ละอภิชชา ละโทมนัส ปุถุชนอย่างเราๆไม่สามารถเข้าโลกุตระได้จึงไม่สามารถล้างขันธ์แบบพระอรหันต์ในสมาบัติได้ แต่ก็อาศัยสมาธิตั้งแต่ ความสงบใจ อุปจาระสมาธิขึ้นไปจนถึงปฐมฌาณ อารมณ์สมถะทั้งปวงนี้แหละล้างสัญญาขันธ์ให้ได้มากที่สุด จิตจึงจะมีแต่กุศล สะอาดได้[/size


ทางเจริญที่พอจะเห็นได้ในขณะนั้น

- ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ จิตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงยึดทั้งสิ้นเป็นของปลอมทั้งนั้นไม่มีของจริงเลย
- เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ ไม่ยึดไม่เสพย์ไปตามอกุศลวิตก ไม่เสพย์ความคิด รู้ว่ามันระลึกในราคะก็รู้ว่ามันตรึกตรองในราคะ รู้แล้วก็ช่างมันปล่อยมันไปไม่เสพย์ตาม ละความสำคัญใจในราคะต่อสิ่งที่มันตรึกตรองถึง ไม่ยึด ไม่ให้ความสำคัญใจในราคะต่อสิ่งไรๆ ละความหมายรู้อารมณ์นั้นด้วยราคะ ชักนำอบรมจิตให้อยู่ในปัจจุบันบ้าง เช่นปัจจุบันเห็นอยู่เพียงคนทีมีผิว มีชุด มีหน้าตา ท่าทางอิริยาบถอยู่อย่างนี่ๆเท่านั้น เขาไม่ได้ข้องเกี่ยวกับเราเลย เราเองที่ไปยึดเอาความดำริในกามมาสำคัญใจต่อเขาลงในราคะ ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย หลงเสพย์เร่าร้อนเพราะความคิดตริตรึกลงนิมิตในอนุพยัญชนะต่อเขาของเราเองเท่านั้น เสพย์ความเร่าร้อนจากสมมติความคิดตนโดยแท้ กามเกิดแต่ความดำริถึงอย่างนี้ๆ
- มีสติตั้งมั่นระลึกรู้ ตามรู้ แค่รู้ว่าคิดก็สักแต่รู้ว่าคิดเท่านั้น ไม่ยึดไม่เสพย์ความคิดสมมติ มันเกิดมีขึ้นก็รู้ว่ามันแค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นให้จิตหลงเสพย์ให้จิตยึดแล้วเร่าร้อนตามมันไป เมื่อเกิดความรัก โลภ โกรธ หลง ก็รู้ว่ามีความรัก โลภ โกรธ หลง เกิดมีขึ้น ปล่อยความคิดมันไปให้มันคิดไป อาการนั้นเกิดมีขึ้นก็ตามรู้มันไป แต่ไม่ร่วมเสพย์ ให้เราแค่รู้เท่านั้น..จนมันกลายเป็นแค่สภาวะธรรมหนึ่งๆไม่มีตัวตนบุคคลไรๆไม่มีความหมายไรๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
- หมายรู้แค่กุศลแล้วตั้งมั่นทำสัมปะชัญญะเกิดขึ้นตื่นรู้ตัวเป็นกำลังให้สติตั้งอยู่ในปัจุบัน รู้กายรู้ใจในปัจจุบันให้มาก เพื่อดำรงกายใจเราให้ตั้งอยู่ในปัจจุบัน รู้ตัวรู้ใจในปัจจุบันที่เป็นอยู่กำลังดำเนินไปอยู่ในกิจการงานไรๆอิริยาบถไรๆ
- ทำให้จิตตั้งอยู่แต่ในกุศล ยินดีในกุศล เพียรสำคัญใจในกุศล หมายใจรู้แต่กุศล หมายใจจับเอาแต่กุศล แล้วสงเคราะฆ์กายใจลงตั้งมั่นใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ บ้าง ให้มากๆ เพียรตั้งอยู่ในกุศลเหล่านั้นให้บ่อยๆเนืองๆ เช่น
๑. ตั้งใจมั่นอยู่ในความเอ็นดูปรานีปารถนาดีประดุจมิตรประดุจคนในครอบครัวประดุจบุตรอันเป็นที่รักคนเดียว หรือ พ่อ แม่ พี่ น้อง คนที่มีค่าที่ห่วงใยหวงแหนเคารพถนุถนอมไรๆในชีวิตของเรา ไม่คิดร้าย ไม่คิดเบียดเบียน ไม่คิดรุกล้ำล่วงเกิน ไม่ทำอกุศลจิตอานาจารต่อกันและกัน
๒. ไม่หมายใจเพ่งเล็งสัตว์ สิ่งของ บุคคลอันเป็นที่รักที่มีค่าของใคร
๓. มีความเอื้อเฟื้อแก่กัน อิ่มเอมเป็นสุขยินดีที่เขาไม่ต้องมาแปดเปื้อนอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเพราะเราเอง ตั้งจิตจับเอาความอิ่มเอมสุขนั้นไว้ให้มั่น
๔. ยินดีในความสงบใจจากกิเลส ยินดีในความไม่เร่าร้อนจากกิเลส ทำความสงบใจจากกิเลส ทำในไว้ในความสงบ ไม่ให้ความสำคัญ ไม่สำคัญใจไรๆไว้ต่อสิ่งใดๆทั้งสิ้นทั้งปวง

- ภาวนาอยู่ในอาการ ๓๒ บ้าง ภาวนาอยู่ในธาตุ ๖ บ้าง ภาวนาอยู่ในมรณะสติบ้าง ภาวนาอยู่ในอสุภะบ้าง ยินดีภาวนาอยู่ในความสงบใจ สงบนิ่ง ความว่าง ความไม่มี ความไม่ยึดเอาสิ่งไรๆทั้งปวง ความสละคืน เพียรในสมาธิเพียรเจริญในกรรมฐาน ๔๐ ให้เกิดสมาธิเข้าสู่ความสงบใจจากกิเลสสงบรำงับจากนิวรณ์ได้ เข้าอุปจาระสมาธิ เข้าปฐมฌาณ ทุติยะฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ อารมณ์สมถะอันเป็นกุศลสงบรำงับอุปกิเลสนิวรณ์ทั้งปวงเป็นต้น เพื่อล้างจิตอกุศลธรรมออก ให้จิตมันจับเสพย์แต่กุศล ตั้งไว้ในกุศล คงกุศลไว้ไม่เสื่อมไป แม้เมื่อออกจากสมาธิจิตตั้งจับเอาที่ศีล ทาน ภาวนา อยู่ทุกๆขณะ มีจิตตั้งอยู่ลมหายใจตลอดเวลา ระลึกรู้เอาแต่สภาวะธรรมอาการจริงๆของจิต ของรูปภายนอกที่รับรู้เป็นต้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2015, 06:58:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #162 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2015, 06:17:47 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เวลาที่หดหู่ ท้อแท้หมดหวัง ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก เหนื่อยหน่าย เศร้าหมอง เกียจคร้าน ง่วงนอน เป็นเวลาที่ควรแก่ การวิเคราะห์ธรรม ความสักแต่รู้สภาวะธรรมเพื่อเห็นจริง รู้ของจริง รู้ตัวสมมติ เห็นธรรมเห็นไตรลักษณ์ ความเพียร ความอิ่มใจ ให้ทำดังนี้

๑. สติเป็นเบื้องหน้า มีความตั้งใจมั่นเจตนาที่จะไม่เสพย์อกุศลธรรมทั้งปวง ยังความสงบใจให้เกิดมีขึ้น
๒. เมื่อมันเกิดมีสิ่งไรๆอารมณ์ไรๆเกิดขึ้นอยู่ก็ตามให้ตั้งมั่นอยู่ในความพอใจยินดีที่มันเกิดขึ้น ด้วยตั้งใจหมายที่จะรู้สภาวะธรรมจริงๆที่ปราศจากสมมติ หมายใจไว้ว่าจะรู้มันให้บ่อยให้มากเพื่อให้เกิดความหน่ายสมมติของปลอมล้างสมมติกิเลสที่ทับถมใจเรามานับไม่ถ้วนนั้น ตั้งใจที่จะรู้เพื่อล้างอกุศลธรรมทั้งปวงให้ได้ ตั้งมั่นด้วยเจตนาว่ามันเกิดล้านครั้ง เราก็จะรู้ให้ทันมั่น จะตามรู้มันทุกๆครั้งไปเสมอๆ
๓. จากนั้นจับอาการจริงๆจากสภาวะธรรมทั้งปวงที่เกิดมีขึ้นโดยปราศจากความตรึกนึกคิดไรๆ ตั้งมั่นเจตนาที่จะรู้อาการจริงๆจากอารมณ์เหล่านั้น ตั้งจิตปักหลักไว้ว่าเราสักแต่เพียงเป้นผู้รู้ไม่ใช่ผู้เสพย์ แล้วตามรู้อาการที่มากระทบสัมผัสให้เกิดมีขึ้นในสฬายตนะนั้นไป ตั้งมั่นจับเอาความรู้สึกจากผัสสะนั้นๆเท่านั้น
**แต่หากทำไม่ได้ ฏ้ให้ตริ ตรอง นึกคิดตามถึงสภาวะที่เกิดมีขึ้นว่า**
- อาการความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นที่เรารับรู้อยู่นี้ๆมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
- จากนั้นก็ตรองถึงสืบเสาะดูว่าอารมณ์นี้ๆอาการความรู้สึกนี้ๆเกิดมาจากอะไร มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น เพราะเหตุใด ติดใจอะไร สำคัญใจอย่างไร พอใจยินดีสิ่งไหน
- ยังความสงบใจให้เกิดขึ้น
๔. เมื่อทำไว้ในใจตามในข้อที่ ๑-๓ และเมื่อเจริญและทำได้แล้ว เมื่อเราได้รู้อาการจริงจนมันดับไป ด้วยจิตยินดีที่มันเกิดขึ้น ที่เราจะรู้ของจริงในมัน ธรรมชาติของจิตเมื่อมันได้รู้ได้เห็นอะไรสมใจหรือเจอสิ่งที่ไม่เคยรู้มันจะสำคัญใจในสิ่งนั้นมาก ความเพียรก็จะเกิดขึ้นสังขารโดยรอบทันที เป็นสังวรปธาน
๕. ธรรมชาติหากมีสติ มีสัมปะชัญญะ มีจิตตั้งมั่นเกิดอารมณ์สมถะ หรือ เกิดจิตตั้งมั่นน้อมใจไปโดยแบบวิปัสสนา เมื่อพิจารณาตามข้อที่ ๑-๔ อย่างนี้ลงตามจริงย่อมเห็นของจริง จิตมันย่อมเกษมอิ่มเอมตื้นตันใจ ความเศร้าหมองนัน้ก็ดับไป


เวลาฟุ้งซ่าน ระส่ำ เร่าร้อน เป็นเวลาที่ควรแก่การทำความสงบใจ สมาธิ อุเบกขา ให้ทำดังนี้

๑. ทำไว้ในใจถึงความสงบใจ ระลึกถึงธรรมชาติที่สงบ ธรรมชาติที่ไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิด ไม่ปรุง ธรรมชาตินั้นประณีต สงบเบาโล่ง เป็นที่สบายกายใจ
๒. ปลงใจจากสิ่งทั้งปวง ยอมรับความจริง ประมาณตน ปลงใจ ปล่อยวาง
- ทำใจไว้ว่าอย่างเราๆนี้ได้แค่ไหนก็แค่นั้น เราทำบุญมาแค่นี้ก็ทำได้เพียงเท่านั้น ปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา-ไม่มีในเราไปก็เป็นทุกข์ เพราะไม่เ)้นสิ่งที่เราจะพึงได้ พึงควร พึงมี ที่เรามีอยู่เป็นไดยังไงก็แค่นั้น เราบังคับสิ่งไรๆให้เป้นไปดั่งใจไม่ได้เพราะมันไม่ใข่เรา ไม่ใช่ของเรา ยอมรับมันแล้วปลงใจเสีย
- มีสติเป็นเบื้องหน้าระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ว่า..เราจักตายอยู่มะรอมมะล่ออยู่แล้ว เราจักตายตอนตักข้าวเข้าปากหรือตอนเคี้ยวคำข้าวหรือตอนกลืนคำข้าว เราจักตายตอนอาบน้ำ เราจักตายเพราะโดยแมลงหรือสัตว์มีพิษกัด เเราจักตายเพราะอุบัติเหตุ ราจักตายเพราะโรคกำเริบ เราจักตายเมื่อตอนเมื่อยืน เราจักตายเมื่อตอนเมื่อเดิน เราจักตายเมื่อตอนเมื่อนั่ง  เราจักตายเมื่อตอนกำลังนอน เราจักตายเมื่อตอนกำลังตื่นนอน เราจักตายเมื่อตอนหายใจเข้า เราจักตายตอนหายใจออก เรามีความตายอยู่เบื้องหน้าเป็นที่แน่นอน จะล่วงพ้นไม่ได้ เมื่อเรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่อย่างนี้ เราควรมีสติเป็นที่สุดรอบพึงละความปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่พึงหอบความเศร้าหมองใจตายตามเราไป ไม่พึงหอบเอาอภิชฌาและโทมนัสตายตามไปด้วย เมื่อเป้นอย่างนั้นก็จะลงนรกไปเสียได้ เราควรระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ปลงใจเสียจากกิเลสทั้งปวง พึงน้อมเอาคุณแห่งความดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงของพระพุทธเจ้านั้นมาสู่ตน มาสู่ขันธ์ ๕ มาสู่ธาตุ ๖ เพื่อชำระล้างให้ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ ของเรามีสะอาดบริสุทธิ์
- น้อมเอาคุณแห่งความเป็น อรหัง พุทโธ ความหมดสิ้นกิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง ความเป็นผู้รู้(รู้แจ้งเห็นจริงใน โมหะและสมมติกิเลส) ผู้ตื่น(ตื่นจาก โมหะและสมมติกิเลส) ผู้เบิกบาน(เบิกบานแล้ว จากโมหะและสมมติกิเลส) ของพระพุทธเจ้ามาสู่ตน เป็นดารเชิญองค์พระท่านมาสู่กายใจตน แล้วขัดชำระล้างในธาตุ ๖ ดังนี้
ก. ธาตุลม คือ ลมที่พัดขึ้น พัดลง ในกายนี้ มีลมหายใจ อาการที่เคลื่อนตัวไหวไปมาทั้งปวงในร่างกาย แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุลมในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุลมจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
ข. ธาตุไฟ คือ ไฟที่ให้ความอบอุ่นในร่างกาย อุณหภูมิ ไฟที่ย่อยอาหารในกายนี้ อาการที่ร้อนเย็นทั้งปวงในร่างกาย  แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุไฟในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุไฟจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
ค. ธาตุน้ำ คือ น้ำที่ให้ความเอิบอาบในร่างกาย นำเลือด น้ำดี เสลด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำปัสาวะ อาการที่เอิบอาบทั้งปวงในร่างกาย  แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุน้ำในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุน้ำจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
ง. ธาตุดิน คือ ดินที่แค่นแคะ อ่อนแข็งในร่างกาย ก้อนเนื้อ หัวใจ เส้นเอ็น กระดูก อาการที่อ่อนแข็งทั้งหลายในกายนี้ แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุดินในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุดินจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
ง. ธาตุอากาศ คือ อากาศที่ว่าง ช่องว่างในร่างกาย ช่องจมูก ช่องหู ช่องปาก ช่องทวาร แก๊สที่อยู่ในกาย อาการที่ว่าง ช่องว่างระหว่างธาตุทำให้ธาตุไม่สัมผัสกระทบกันทั้งหลาย แก๊สในกระเพราะอาหาร ใสช่องหู ช่องปาก ช่องทวาร ตด ในกายนี้ แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุว่าง อากาศธาตุในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุอากาศจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
จ. ธาตุวิญญาณ คือ วิญญาณที่รู้ ตัวรู้ ธาตุรู้ รู้ร้อน รู้เย็น รู้เจ็บ รู้ปวด รู้อิ่ม รู้รัก รู้โลภ รู้โกรธ รู้สุข รู้ทุกข์ อาการที่รู้ทั้งปวง รู้กระทบสัมผัสทั้งปวงทั้งอาการทางกายและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทางใจ แล้วหายใจเข้า..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ นี้เข้ามาชำระล้างธาตุรู้ วิญญาณธาตุในกายเราให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจออก..น้อมเอาคุณแห่ง อรหัง พุทโธ ชำระล้างเอาสมมติกิเลส อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง จากธาตุรู้ วิญญาณธาตุจากกายใจเราทิ้งไปตามลมหายใจออก ให้หายไปในอากาศ
(หากให้ดีก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้งที่ 1 น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 น้อมเอาคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรสไว้ดีแล้วเพื่อออกจากทุกข์ ครั้งที่ 3 น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าบริกรรมก็ระลึกตามบทสวดธาตุ ๖ ของวัดอโสการามไป)
๓. ทำไว้ในใจถึงอากาศ ทำใจให้ประดุจอากาศ มีความว่าง อาการที่ว่างจากสิ่งทั้งปวง มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ด้วยอุบายว่า อากาศมีมากในใจ ทำใจให้เป็นดั่งอากาศอันเป้นที่ว่างที่ไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ ไม่ยินดียินร้าย ไม่เข้าไปทำใจไว้ทั้งชอบทั้งชัง ไม่รักไม่เกลียดต่อสิ่งไรๆทั้งปวง
 ๔. ความวางเฉย มีใจวางไว้กลางๆไม่ยินดียินร้าย ความไม่ยินดียินร้ายด้วยเห็นว่าด้วยเหตุและผลสืบมาจากการกระทำสะสมมาแต่ปางก่อนจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเหตุให้ได้รับผลอย่างนั้น
- ทำไว้ในใจถึงอุเบกขา ความวางเฉย ความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งปวง ทั้งการกระทบทางกาย ทั้งอารมณ์ความรู้สึกทางใจ ความตรึกนึกคิดไรๆทั้งปวง ตั้งสติเป็นเบื้องหน้าคิดก็รู้ว่าคิด หรือจะหายใจเข้า บริกรรม "คิด" หายใจออกบริกรรม "หนอ" ก็ได้ พึงตั้งใจไว้ว่าติดข้องใจมันไปไม่ว่าสิ่งไรๆก็มีแต่ทุกข์ ความวางใจอยู่ที่การวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย จึงจะไม่ทุกข์
- ทำสมาธิบริกรรมในใจไว้ถึงความว่าง หายใจเข้า บริกรรม "ว่าง" หายใจออก บริกรรม "หนอ"
๕. ไม่จับสมมติ ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง มันมีแต่ให้เป้นไปในอดีบ้าง อนาคตบ้าง ปรุงแต่งอยากให้เป็นไปตามใจปารถนาบ้าง ไม่มีของจริงเลย ไม่รู้ปัจจุบัน พอเสพย์ตามมันไปก็หลงไปตามสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตเสพย์ ละสิ่งที่จิตรู้ ไม่ยึดเอาสิ่งไรๆก็ตามที่จิตรู้ ไม่ให้ความใส่ใจสัมคัญมันก็ไม่ทุกข์ ไม่หลงตามมันไป พึงทำไว้ในใจด้วยอุบายว่า " จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นคือสมมติ เป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตรู้ ให้จิตเสพย์ ให้จิตหลง ไม่ใช่ของจริง ของจริงๆที่มีในกายนี้ คือ กายสังขาร นั่นก็คือ ลมหายใจนั่นเอง ลมหายใจไม่ฟุ้งซ่าน ลมหายใจเป็นของจริง ลมหายใจเป้นสติ ลมหายใจเป็นปัจจุบัน รู้ของจริงก็มารู้ที่ลมหายใจเข้า-ออกนี้แล"
๖. ความไม่ยึด ความไม่จับ ไม่เสพย์สิ่งไรๆทั้งปวง ไม่เอาสิ่งใดเลย ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น ไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ ไม่ทำใจไว้ในสิ่งไรๆ เข้าไปทำใจไว้ในอารมร์ไรๆทั้งปวง ไม่ยึดอะไรทั้งนั้น ไม่ว่ากายใจตน หรือสิ่งไรๆในสามโลกก็ไม่ยึดไม่เอาทั้งนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2015, 11:28:28 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #163 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 02:50:23 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


10-11-58 ฝึกเปลี่ยนความสำคัญใจจากอกุศลวิตกให้เป็นกุศลวิตกแทน สัมมัปปธาน ๔ เพื่อละอุปกิเลสความคิดอกกุศล

คิดในราคะ ให้ใช้พุทโธ อัดแทนที่บ้าง ให้ใช้ความคิดชอบ คิดในกุศล สงเคราะห์ลง พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน ภาวนา อัดแทนที่บ้าง




19-11-58 ละราคะตามกาล


ประการที่ ๑ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้สมมติ มีสติเป้นเบื้องหน้าเอราสมาธินำ แล้วทำเจตนาในกุศล

1. มีสติรู้ทัน รัก โลภ โกรธ หลง
๒. พึงรู้ว่าตนสำคัญใจในอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆ แบบไหน อย่างไร ต่อสิ่งที่เรารู้อารมณ์อยู่นั้น
๓. ไม่ยึด ไม่หลง ไม่เสพย์ในสมมติ พึงละความสำคัญใจในธรรมลามก ด้วยความไม่ยึด เพราะนี่คือธรรมลามก ไม่ควรเสพย์ ไม่ให้ความสำคัญไรๆกับมัน
๔. ตั้งสติมีพุทโธ รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกเป็นเบื้องหน้า
๕. พึงตั้งมั่นสำคัญใจในสิ่งนั้นด้วยกุศล ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา
๖. พึงตั้งความสำคัญใจในอารมณ์ไรๆ ด้วยอุเบกขาไม่อิงอามิส ไม่ตั้งอยู่ด้วยราคะ
๗. รู้อาการสภาวะธรรม อารมณ์ความรู้สึกไรๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ให้ความหมาย ไม่ให้ความสำคัญใจไรๆต่อมัน ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ คือ สักแต่ว่ารู้ว่ามีอาการความรู้สึกนี้ๆเกิดขึ้นมีอยู่เท่านั้น แล้วก็ปล่อยไป ผ่านเลยไป ไม่ไปติดใจข้องแวะ ตรึกถึง นึกถึง คิดถึง หวนระลึก คำนึงถึงสืบต่อกับมัน มันดับก็แค่รู้ว่าดับ





ประการที่ ๒ รู้สมมติแล้วใช้กุศลวิตกพิจารณาตรึกนึกตามอันไปแ่ทนที่อกุศลวิตก

๑. มีสติรู้ทัน รัก โลภ โกรธ หลง ความตรึกนึกปรุงแต่งสมมติสืบต่อ แต่งนั่นเติมนี้ให้เป้นไปในอนุพยัญชนะ ส่วนเล็กส่วนน้อยด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมะ
๒. พึงรู้ว่าตนสำคัญใจในอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆ แบบไหน อย่างไร ต่อสิ่งที่เรารู้อารมณ์อยู่นั้น

โดยปกติแล้ว เมื่อ 2 สภาวะนี้เกิดขึ้นบางครั้งความคิดนั้นก็ดับไป หากดับก็รู้แค่ว่ามันดับ ไม่สืบต่ออีก หากยังคงขัดใจยังค้างความตรึกนึกอยู่ก็พิจารณาต่อไปดังนี้..

๓. จากข้อที่ ๑ และ ๒ เราจะรู้ได้ว่า เพราะเรานี้มีความโสมนัส โทมนัส พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ชอบ ชัง สำคัญใจในธรรมลามก รัก โลภ โกรธ หลง ต่อสิ่งที่รู้อารมณ์เหล่านั้นอย่างไร เป็นเหตุให้เกิดความตรึกนึกคิดสมมติปรุงแต่งในอนุพยัญชนะ ไม่ใช่ของจริงในปัจจุบันที่รู้อารมณ์อยู่

(อาการที่พอจะรู้ได้ในบางขณะจิต ไม่ใช่ลำดับโดยจริง แต่อาศัยรู้ความสัมผัสในแต่ละขณะที่พอจะมีปัญญารู้ได้ คือ..
ผัสสะ -> เวทนาเสวยอารมณ์กลางๆ -> เจตนาที่จะเข้าไปรู้อารมณ์ที่รู้ผัสสะ + สัญญาความจำได้หมายรู้อารมณ์ -> สมมติ -> สุขใจ, ทุกข์ใจ -> ความสำคัญมั่นหมายของใจต่ออารมณ์ -> ฉันทะ, ปฏิฆะ -> เจตนา จงใจเสพย์ในอารมณ์ -> มนสิการ ความเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์ -> วิตก วิจาร -> ฉันทะราคะ -> วิตก วิจาร สมมติปรุงแต่ง -> ลุ่มหลงสมมติ)

....ด้วยเหตุดังนี้ๆจะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่า...เพราะเราเป็นสุข ชอบใจ ยินดีในสิ่งที่เรากำลังรู้อารมณ์อยู่นั้นอย่างไร จึงให้ความสำคัญหมายใจในสิ่งที่รู้อารมณ์อยู่นี้ไปในทางอันลามกอย่างนั้น เป็นเหตุให้ถวิลหาคำนึงถึง ตรึกถึง นึกถึง ปรุงแต่งสมมติสืบต่อไปจากสิ่งที่รู้อารมร์ในปัจจุบันอยู่ เกิดเป็นความผูกใฝ่ในส่วนเล็กส่วนน้อยไปเรื่อย เกิดความกระสัน เงี่ยน ใครเสพย์ ทะยานอยากเสพย์ เร่าร้อน ร้อมรุ่มแผดเผากายใจตนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเมื่อหวนระลึกดูแล้วทำไมสมัยเด็กๆเราก็เจอคนแก้ผ้า เจอคนสวย ก็รู้แต่ปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดสืบต่อสมมติอะไร นั่นเพราะจิตมันไม่ได้สำคัญใจไว้ด้วนราคะ โทสะ โมหะ ต่อสิ่งไรๆนั่่นเอง จึงไม่มีสมมติกิเลส ไม่เพ่งดูด้วยอนุพยัญชนะ ไม่ดูด้วยราคะ โทสะ โมหะ ** ด้วยเหตุดังนี้..การที่เราจะละความตรึกนึกอันฟุ้งในไปสมมติกิเลส ที่เป็นไปในอนุพยัญชนะด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ไม่อยู่ที่ปัจจุบันขณะที่สักแต่ว่ารู้ เราก็ต้องตัดที่การให้ความสำคัญมั่นหมายใจของ ความสำคัญใจ มั่นหมายในอารมร์เหล่านั้นไปเสีย แล้วทำเหตุใหม่สะสมสำคัญมั่นหมายของใจด้วยความกุศล ความวางเฉย ไม่ปรุงแต่งสมมติกิเลสตรึกนึกคิดสืบต่อไปในอนุพยัญชนะ ไม่คิดเล็กคิดน้อย เรียกว่า..การล้างสัญญา โดยในระดับปุถุชนอย่างเรานี้ บางครั้งมีสมาธิมากหน่อยก็รู้ของจริงมีสติสัมปะชัญญะ มีจิตตั้งมั่นและปัญญาที่จะรู้เห็นจริงได้บ้าง เรียก ยถาภูญาณทัสสนะ หรือ สัมมาทิฐิ ล้างขันธ์ ๕ โดยฌาณได้บ้าง.. แต่โดยส่วนมากปุถุชนอย่างเรานี้ทีกำลังสมาธิไม่พอก็จะทำได้แต่ตรึกนึกคิดตามไป ให้คิดออกจากทุกข์เอา เรียก สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ ความคิดชอยนี้หากทำเหตุให้ดี ก็นำไปสู่การปฏิบัติที่เปลี่ยรจริตเป้นกุศล เป็นบารมีกุศลแก่ตน นำพาไปสู่สัมมาทิฐิที่เป็นปัญญาญาณอันแท้จริงได้

    ดังนั้นพึงตั้งจิตขึ้นว่า..เราควรเมตตาตา เอ็นดูปรานี กรุณา สงสารตนเองและผู้อื่น ตั้งจิตใน ศีล ทาน ตั้งจิตในความยินดีเมื่อเขาพ้นทุกข์ประสบสุข วางเฉยไม่เอนเอียงอคติ ๔ คือ ลำเอียงเอนเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง เช่น...

- บางครั้งเห็นข่าวสาวถูกรุมโทรม ก็ไปนึกถึงสัญญาหมายรู้ในหนังโป๊ที่เคยดูบ้างว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แน่นอน บางทีมีอารมณ์ทางเพศ พึงรู้เสียว่า..คนที่รับเคราะห์นั้นเขาก็เจ็บปวดสาหัสจนชีวิตแทบแตกสลายอยู่แล้ว เรายังจะเอาราคะอันลามกของเราไปเบียดเบียนให้ถาโถมซ้ำเติมเขาอีกอย่างนั้นหรือ มันไม่ใช่ฐานะที่ผู้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์อย่างเราจะไปทำเช่นนั้น นี่เราจะเอาไฟคือราคะนี้แผดเผาเธอให้มัวหมองซ็ำเติมอีกหรือ แถมยังแผดเผาตนเองให้หมองไหม้ด้วยความกระสันกำหนัดให้เร่าร้อนสั่นเร่าด้วยอีก พึงละความสำคัญใจในธรรมอันลามกต่อเธอนั้นเสีย พึงเห็นเธอด้วยความเป็นประดุจญาติ พี่ น้อง มิตรสหายที่ถูกเคราะห์ภัยหยั่งเอาแล้ว ควรที่เราจะเมตตาสงสารเอื้อเฟื้อไม่คิดเบียดเบียน พึงสำคัญใจขึ้นว่า ขอให้เธอถึงความพ้นทุกข์ ขอให้เธอประสบสุข พึงถึงซึ่งความไม่เบียดเบียนเธอด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี

หรือเห็นคนขาวสวยนุ่งสั้นห่มสั้น หรือถึงแม้จะแต่งตัวมิดชิดและเห็นเขางดงาม ก็กำหนัด กระสัน ใคร่ เงี่ยน ทะยานอยากใคร่ได้เสพย์ได้ครอบครอง พึงเห็นว่าเธอก็อยู่ของเธอตามปกติดีๆอยู่แล้ว งดงามบริบูรณ์ดีแล้ว นี่เราจะเอาไฟคือราคะนี้แผดเผาเธอให้มัวหมองไปทำไม แถมยังแผดเผาตนเองให้หมองไหม้ด้วยความกระสันกำหนัดให้เร่าร้อนสั่นเร่าด้วยอีก มันไม่ใช่ฐานะที่สาวกของพระรัตนตรัยอย่างเราจะพึงทำได้ พึงละความสำคัญใจในธรรมอันลามกต่อเธอนั้นเสีย พึงเห็นเธอด้วยความเป็นมิตรเมตตาสงสารไม่คิดเบียดเบียน ..พึงสำคัญใจขึ้นว่า เราจักไม่เพ่งเล็งหมายปองสิ่งของมีค่าและบุคคลอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น พึงถึงซึ่งความไม่เบียดเบียนเธอด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี พึงตั้งใจมั่นพิจารณาขึ้นว่า..เพราะอะไรหนอเธอจึงงดงามอย่างนี้ เธอทำบุญมาด้วยอะไรหนอ มีศีล ทาน ภาวนาอย่างไรจึงสวยสดหมดจรดงดงามเช่นนี้ แม้นหากเราหมายใจจะได้มีคู่เช่นนี้ๆ เราจะต้องมีศีล ทาน ภาวนา มีตจิตเป็นกุศลบริสุทธิ์งดงามสักเพียงไรหนอจึงจะคู่ควรมีเนื้อคู่อย่างนี้ได้ ดังนั้นแลเราพึงละอกุศล แล้วยังกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ไม่ให้เสื่อมเพื่อความงดงามทั้งภายในภายนอกันที่หมายปองแก่เทวดาและมนุถษย์ทั้งหลาย

- บางครั้งเจอคนทำให้ไม่พอใจ เจอเรื่องที่เกลียดชังคับแค้นกายใจ ให้พึงคั้งจิตเมตตาตนเอง ปารถนาดีสงสารต่อตนเองที่ต้องเร่าร้อนเป็นทุกข์อยู่นี้ก่อนว่า..นี่เราเร่าร้อนเป็นทุกข์ขัดเคืองคับแค้นใจจนแทบอกจะแตกเลยหรือ การหยิบจับความโกรธแค้น ผูกเวร ผู้พยาบาทมันทุกข์ทรมานอย่างนี้ๆจนแทบอกจะแตกทะลุออกมาเลย เราไม่ควรไปยินร้ายขัดข้องใจ ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆให้มันทุกข์ทรมาน ละความคิดข้องใจนั้นๆไปเสียติดแวะขัดเคืองขุ่นข้องใจในสิ่งไรๆไปทั้งที่รักที่ชังก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ละความติดข้องแวะใจเหล่านั้นไปเสียจึงจะไม่ทุกข์ แล้วแผ่เมตตาให้ตนเองมากๆให้ตนเป็นผู้มีสุข ไม่มีทุกข์  เป็นผู้ไม่เร่าร้อนด้วยกิเลสทุกข์ ตั้งใจมั่นทำไว้ในใจว่า..เราจักไม่ผูกเวรผูกโกรธ ผูกแค้น ผูกพยาบาทใคร จักมีความเข้าใจเป็นมิตรที่ดีต่อทุกคน พึงเว้นเสียซึ่งเวรพยาบาทด้วยจิตที่ปารถนาดี เอ็นดู ปรานี ต่อชนทั้งปวง ทำความสงบใจไม่เพย์อกุศลวิตก ...ยกจิตเอาความปารถนาให้ตนหลุดพ้นจากภัยทุกข์แห่งโทสะ ความโกรธแค้น ขุ้นข้อง ขัดเคืองใจให้สิ้นสลายไปจากใจเพื่อความไม่ร้อนรุ่มเร่าร้อนแผดเผาตน แล้วตั้งมั่นอยู่ในความเอ็นดู ปรานี ไม่ผูกเวรพยาบาทขึ้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต จนกว่าจะสงบใจได่้ แล้วให้พึงตั้งจิตตรึกนึกทวนอารมณ์ไปดูว่า เราไม่พอใจอะไร เพราะเรื่องไหน ด้วยเพียงเท่านี้น่ะหรือที่เราอกจะแตกตายเร่าร้อนไม่หยุด หากคนทั้งโลกทำอย่างนี้กับเรา สิ่งไม่เป็นที่รักไม่พอใจทั้งโลกมีเกิดขึ้นแก่เราทุกๆขณะจิต เราจะต้องตามไปไม่พอใจเขาและสื่งเหล่านั้นทั้งหมดทุกคนทุกอย่างบนโลกเลยหรือ เรื่องเพียงเท่านี้เรากลับมาเร่าร้อนเสียได้ ยิ่งไม่ติดใจข้องแวะ ติดแวะขัดข้องขุ่นเคืองใจมากก็ทุกข์มาก มันเป็นความเบียดเบียนตนเองให้ถูกแผดเผาด้วยไปคือโทสะ และเผาคนอื่นด้วยไฟคือโทสะ แต่ก่อนจะเผาเขาได้ตนเองก็ไหม้เกรียมไปก่อนแล้ว โทสะไม่ควรยึด ไม่ควรเสพย์ดังนี้

ทุกสิ่งทั้งปวง ทั้งราคะ โทสะ ก็เกิดมาแต่ความที่จิตรู้สมมติ แล้วไปหลงยึดสมมติเอา อาการ ๓๒ ประการ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ มาเป็นตัวตนที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ ยินดี ยินร้าย ทั้งๆที่ทุกอย่างที่สมมติอยู่นั้นก็เสมอด้วยกันกับเรา มีสุข ทุกข์ มีความเสื่อม เป้นเกียงธาตุไม่ต่างกันเลย

** แล้วพึงตั้งจิตเห็นว่าสิ่งที่เรารู้อารมณ์ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสกาย ไดเ้สัมผัสใจอยู่นั้น ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของเราเลย เขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตนบุคคลใด บังคับให้เป้นไปดั่งใจเราต้องการก็หาได้ไม่.. เราไม่ควรแก่สิ่งนั้น ไม่ได้เหมาะกับสิ่งนี้ เราไม่ได้สำคัญอย่างนั้น ไม่ได้มีความหมายอย่างนี้ ไม่มีสิ่งนี้ที่เป็นไปเพื่อเรา ไม่ใช่ตัวตน ความเข้าไปปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนย่อมมีแต่ทุกข์เร่าร้อนแผดเผาตาเอง เพราะความไม่สมปารถนา ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ..แม้จะสมหวังปารถนาได้มาครอบครองก็อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจ ไม่ยั่งยืนนาน ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย แล้วก็ต้องพรัดพรากจากกันไป เสื่อมโทรม สูญสลายไปในที่สุด จะบังคับว่าขอให้เขาคงอยู่อย่างนั้น ขอให้เขาจงเป้นอย่างนี้ ขอให้เราจึงเป้นอย่างนั้น ขอให้เราจงเป็นอย่างนี้ ขอให้ไม่พรัดพราก ขอให้ไม่เสื่อมสูญไปก็ไม่ได้ นั่นเพราะความไม่ใช่ตัวตน..ดังนี้ **

อ้างอิงด้วยผัสสายตนะสูตร
ผัสสายตนะสูตรที่ ๑ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=948&Z=968&pagebreak=0
ผัสสายตนะสูตรที่ ๒ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=969&Z=989
ผัสสายตนะสูตรที่ ๓ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=990&Z=1026

๔. ไม่ยึด ไม่หลง ไม่เสพย์ในสมมติ พึงละความสำคัญใจในธรรมลามก ด้วยความไม่ยึด เพราะนี่คือธรรมลามก ไม่ควรเสพย์ ไม่ให้ความสำคัญไรๆกับมัน
๕. ตั้งสติมีพุทโธ รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกเป็นเบื้องหน้า
๖. พึงตั้งมั่นสำคัญใจในสิ่งนั้นด้วยกุศล ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา
๗. พึงตั้งความสำคัญใจในอารมณ์ไรๆ ด้วยอุเบกขาไม่อิงอามิส ไม่ตั้งอยู่ด้วยราคะ
๘. รู้อาการสภาวะธรรม อารมณ์ความรู้สึกไรๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ให้ความหมาย ไม่ให้ความสำคัญใจไรๆต่อมัน ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ คือ สักแต่ว่ารู้ว่ามีอาการความรู้สึกนี้ๆเกิดขึ้นมีอยู่เท่านั้น แล้วก็ปล่อยไป ผ่านเลยไป ไม่ไปติดใจข้องแวะ ตรึกถึง นึกถึง คิดถึง หวนระลึก คำนึงถึงสืบต่อกับมัน มันดับก็แค่รู้ว่าดับ


      พระพุทธเจ้า ตรัสกับ ท่านโมฆะ มาณพว่า

  “ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ตามพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ถอนการตามหมายว่าเป็นตัวเป็นตนเสีย”

   ดังนั้น พระพุทธเจ้าสอนธรรม 3 อย่าง แก่ โมฆะมาณพ จนท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ กรรมฐาน 3 อย่างมีดังนี้

    1. เธอจงเป็นผู้สติ
    2. เธอจงมองโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า
    3. เธอจงถอนความสำคัญมั่นหมายว่า เป็นตัวเป็นตนเสีย จากโลก


โดยการปฏิบัติที่เราเจริญอยู่คือ

1. สติ+สมาธิ
2. ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ เพราะจิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสมมติ ไม่ยึดสมมติก็ไม่ยึดสิ่งไรๆที่จิตรู้ ไม่ยินดียินร้$
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2015, 02:47:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #164 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2015, 02:09:50 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อุปวาณสูตร
             [๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรม
อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ
             [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่
ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล
เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควร
น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             [๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ
แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย-
*ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ
กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็น
ผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มี
ในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วย
จักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด
ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็น
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง  ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วย
จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             [๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภาย
ในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
จบสูตรที่ ๘
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 12, 2024, 05:16:22 PM