เมษายน 20, 2024, 01:43:54 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407825 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #165 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2015, 02:09:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อุปวาณสูตร
             [๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรม
อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ
             [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่
ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล
เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควร
น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             [๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ
แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย-
*ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ
กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็น
ผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มี
ในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วย
จักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด
ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็น
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
             [๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง  ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วย
จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             [๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภาย
ในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
จบสูตรที่ ๘




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #166 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2015, 08:27:15 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ทบทวนกรรมฐานที่พอจะเข้าถึงได้ที่ผ่านมาในปี 2558 นี้

    โดยปกติแล้ว หากเราจำแต่คำครูบาอาจารย์สอน จำที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จำพระสูตร จำพระอภิธรรม แต่เราไม่ได้ปฏิบัติในสะสมเหตุในอินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เราก็จะเข้าใจและรู้ได้แค่สัญญาในความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ แต่ไม่เคยรู้ของจริง จริงๆเลย ไม่เคยเข้าถึงใจแม้จะเห็นอารมณ์เกิดแล้วดับไป แล้วมันก็มาใหม่ แล้วก็ดับไป แต่มันก็ไม่เข้าถึงใจเลย กลับเข้าไปยึดอัตตา ยึดอุปาทานในคำสอนที่ว่า ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ซึ่งจริงๆ ของจริงเป็นอย่างไร รับรู้ไม่ได้เลย สัมผัสไม่ได้ ไม่เห็นมันจริงๆ ไม่เคยสัมผัสจริง สัมผัสได้แต่สมมติเท่านั้น แล้วก็เข้าไปหลงว่าตนรู้จริงเห็นจริง อ่านจบครบพระไตรรู้ได้หมดแต่ไม่เคยรู้ของจริง ในโบราณนานมาก็มีสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านว่าใบลานเปล่าบ้าง แม้พระนาคเสนผู้ยังพระพุทธศาสนาให้อยู่ครบ 5000 ปี เรียนจบครบไตรเพท เรียนจบครบพระไตรปิฏกทั้งหมด จบพระอภิธรรมทั้งหมดแต่ก็ไม่บรรลุอรหันต์ ไม่เคยรู้ของจริง ไม่ได้สัมผัสของจริง ก็จนเมื่ออบรมกาย วาจา ใจ อันดีแล้ว ทำเหตุคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มาเต็มดีแล้ว ก็จึงเข้าถึงได้ ดังนั้น พละ ๕ อินทรีย์ ๕ จึงเป็นเหตุสำคัญมากๆที่เราต้องเจริญ เป็นธรรมแห่งมรรค เป็นเครื่องบรรลุธรรรม นั้นเพราะ..
- ศรัทธาทำให้เกิด ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔
- ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ทำให้เกิดความไม่เร้าร้อน ทำให้จิตแจ่มใสเบิกบาน เป็นฐานของทุกอย่าง เป็นเหตุใกล้ให้สติและสัมปะชัญญะเกิด
- สติ สัมปะชัญญะ ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิจดจ่อมากขึ้น ซึ่งสติและสัมปะชัญญะที่จะทำให้จิตตั้งมั่นชอบได้ก็ คือ กรรมฐาน ทั้ง ๔๐ กอง, กายานุนุปัสสนาสติปัฏฐาน
- สมาธิ มีปัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ สมาธิทำให้เกิดญาณ ๒ ประเภทตามแต่ปัญญาของเราจะคมพอที่จะเข้าถึงได้ นั่นคือ ญาณอันเป็นไปในมรรค และ ญาณอันเป็นไปในปัญญา(ทางธรรม) นั่นเพราะสมาธิใน กรรมฐาน ทั้ง ๔๐ กอง, กายานุนุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นเครื่องกุศล ทำให้จิตสงัดจากนิวรณ์ทั้งปวง มีความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน มียถาภูญาณทัสสนะ ความรู้เห็นตามจริงอันปราศจากความตรึกนึกคิดปรุงแต่งสมมติเป็นเหตุใกล้ ทำให้แลเห็นตามจริงอยู่ได้โดยไม่เข้าร่วม สมาธิชอบเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เกิดธรรมเอกผุดขึ้นจากความรู้เห็นตามจริงของจริง รู้เห็นตัวสมมติ ตื่นจากสมมติ ฉลาดในการปล่อยวาง เบิกบานจากสมมติ
- ปัญญา มีวิปัสสนาเป้นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น คือ วิปัสสนาญาณ ๙ ญาณ ๑๖

กล่าวคือ..
- หากปัญญายังไม่คมก็เป็นมรรคญาณ คือ ลงในมรรคเราก็ได้สัมมาทิฐิ เห็นจริงด้วยปัญญาของจริง ไม่ใช่คิดเอาสมมติเอาว่าเป็นสัมมาทิฐิจากสัญญาความคิด
- หากปัญญาคมดีแล้วก็เป็นปัญญาญาณ คือ ถึงวิราคะ นิพพิทาญาณ มีลักษณะที่ตัดเข้าถึงวิมุตติทันที เข้าถึงพระอริยะบุคคลตามสังโยชน์ที่ตัดที่ละได้

ดังนั้นแล้ว การจะเข้าถึงสันดานพระอริยะของจริงเราจะขาดพละ ๕ ไม่ได้ และ ก็ต้อง มีทั้งสติและสมาธิ มีธรรมคู่คือทั้ง สมะ+วิปัสสนา เพราะในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนใครให้เจริญเรียนลัดเอาวิปัสสนาหรือเอาแต่สมาธิแล้วจะบรรลุสักคน ท่านให้เจริญคู่คือ อาศัยอิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ให้ยินดีใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ทำสมาธิไปเรื่อย ติดขัดสิ่งใดก็ให้เอาสงเคราะห์วิเคราะห์ธรรมให้เกิดเห็นไตรลักษณ์ แล้วก็จะถึงความ รู้ ปกติ วาง สะสมมาเรื่อยๆจนเหตุมันดี บารมีมันเต็มก็จึงพ้นทุกข์ได้ แม้ฟังธรรมเพียงคำเดียว หรือ เฆ็นแค่ดิน หรือน้ำ หรือลม หรือไฟ อากาศก็บรรลุได้ เพราะเหตุที่ทำมามันเต็มแล้วมันยังจิตให้เกิดขึ้นครบหมดทุกวงจร ดังนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดท่านจะไม่เรียนลัดเอาพระอภิธรรมมานั่งท่องบนจำยึดมั่นถือมั่น แต่ท่านจะปฏิบัติวิเคราะห์ธรรมไปเรื่อย รู้ ปกติ วาง ไปเรื่อย จนสมาธิมันเอื้อปัญญาให้เกิดขึ้นมีสติบริสุทธิ์จนมันอิ่มแล้วมันก็ตัดบรรลุได้ ซึ่งท่านต้องสะสมมานานมากมายไม่รู้กี่กัปป์ กี่อสงไขย เราเพิ่งจะเริ่มทำ อาจเป็นชาติแรกก็ได้เราก็ต้องเพียรทำเหตุไปเรื่อยๆให้มันดี ทำมาำกๆก็เป็นจริตนิสัยตน ทำมากขึ้นไปอีกก็เปลี่ยนจากจริตนิสัยเป็นบารมี




    สุขทางโลกมันมาจากกามราคะ มันสุขโดยการอาศัยความเข้าไปยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน มันสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราว วูบวาบๆ เดี๋ยวเดียวก็ดับไป ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงทนนาน ไม่คงอยู่ตลอดไป เมื่อเสพย์แล้วก็ต้องการเสพย์มันใหม่อีกไม่รู้จบ สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น..ดังนี้

    สุขทางโลกมันมาจากกามราคะ มันอยู่ได้โดยการอาศัยเข้าไปยึดเอาสมมติ เข้าไปยึดเอาความเป็นตัวเป็นตนในสิ่งสมมติที่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนสิ่งใดจริง ยึดเอาสมมติมาแล้วก็สำคัญใจไว้ว่า..เป็นนั่น เป็นโน่น เป็นนี่ จับยึดสมมติตัวตนอยู่อย่างนั้น อย่างนี้ ทั้งๆที่ความจริงแล้วไม่มีสิ่งไหนเหล่าใดที่เราจะสามารถจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่สมมติแห่งตัวตนที่เราหลงยึดไว้อยู่เท่านั้น..
     แต่ด้วยเหตุเพราะเรายึดสมมติกิเลส รู้แต่สมมติ ทำแต่เหตุในสมมติทับถมสะสมมานานนับไม่ถ้วนไม่รู้กี่อสงไขยกี่แสนมหากัปป์ จึงไปหลงเข้าใจว่า สิ่งนี้ๆเราจับต้องได้ รับรู้ได้ สัมผัสรู้สึกได้ มองเห็นได้ รู้เสียงได้ รู้กลิ่นได้ รู้รสได้ รู้สัมผัสด้วยกายได้ รู้อารมณ์รู้สึกนึกคิดทางใจ ด้วยเหตุนี้ๆเป็นต้น เราจึงเข้าใจหลงไปยึดเอาว่า..เพราะมันรับรู้ได้อย่างนั้นมันต้องเป็นตัวตนจริงๆของจริงไม่ใช่สมมติของปลอม
     ก็หากมันเป็นตัวตนแล้วไซร้ เราก็ต้องบังคับจับต้องให้มันเป็นไปดั่งใจปารถนาต้องการได้ว่า..ขอสิ่งนี้จงเป็นอย่างนั้น ขอสิ่งนั้นจงเป็นอย่างนี้ ขอจงเป็นดั่งเราปารถนานาไว้ ขอจงอย่าเป็นในสิ่งที่ชอบใจ ขอให้จงยั่งยืนนานไม่สูญสลายดับไปเลย ได้ดั่งใจปารถนาทุกอย่าง แต่มันก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เราไม่อาจบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้ เพราะแท้จริงแล้วมันไม่ใช่ตัวตนอันใดจริง เมื่อเสพย์แล้วก็ต้องการเสพย์มันใหม่อีกไม่รู้จบ สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น..ดังนี้


    สุขทางโลกมันอยู่ด้วยความใคร่ปารถนาที่จะได้เสพย์นั่น เสพย์นี่ อยากมีอยากได้นั่น อยากมีอยากได้นี่ อยากครอบครองสิ่งนั้นสิ่งนี้ พอสมปารถนาก็เป็นสุข แต่สุขแค่ประเดี๋ยวประด๋าว วูบวาบๆ ชั่วคราวแล้วก็ดับ แล้วก็ติดใจใคร่ได้ปารถนาต่อไป ไม่รู้จบ ไม่รู้อิ่ม แล้วก็ทุกข์ที่ต้องแสวงหาโหยหามันมาเสพย์ให้ได้อีก

   พอไม่สมปารถนา หรือ พบเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ หรือ ความพรัดพราก ก็จะเป็นจะตาย คับแค้นกายใจ ร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่เอาอย่างนั้น ไม่พอใจอย่างนี้ ไม่ต้องการอย่างนี้ ทนอยู่ไม่ได้ จะขาดใจตายเสียให้ได้

   แม้จะเป็นอย่างนั้น ยิ่งไม่สมปารถนา ยิ่งเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ยิ่งปารถนาที่จะได้จะมีจะพบเจอสิ่งที่ตนเองยึดว่าดีที่เป็นที่รักที่พอใจมากขึ้นไปอีก แล้วก็เฝ้าถวิลหาปารถนา ตะเกียกตะกายให้ได้มาครอบครองซึ่งสิ่งนั้น หยุดไม่ได้ อิ่มไม่เป็น

   สุขทางโลกมันยึดเอาความเป็นตัวตน หลงไปว่าเที่ยงแท้ยั่งยืนนาน ทั้งๆที่มันอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเราเท่านั้น พอเราตายมันก็ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย

   ยิ่งยึดตัวตนมากก็ยิ่งปารถนามาก ยิ่งปารถนามากก็ยิ่งทำเหตุในมันมาก ยิ่งฝักใฝ่สุขทางโลกมากมันยิ่งหิวโหยไม่หยุด ไม่พอ ไม่อิ่มเป็น




สุขทางธรรม มันคือ..ความฉลาดในการปล่อยวาง
สุขทางธรรม คือ สุขจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น
สุขทางธรรม คือ สุขจากความไม่ปารถนา
สุขทางธรรม คือ วิราคะ สงัดจากกามราคะทั้งปวง
สุขทางธรรม คือ ความที่จิตมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง สุขได้ด้วยตัวมันเอง ไม่อาศัยเครื่องยึด ไม่จับของปลอม ไม่ยึดสมมติ
สุขทางธรรม คือ สุขที่ละจาก..ความสุขทางโลกที่สิ่งไม่เที่ยงมาเป้นเครื่องยึดที่โหยหาไม่รู้จบที่อิ่มไม่เป็น มาเป็นสุขที่อิ่มในความไม่มี..ดังนี้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2015, 11:28:22 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #167 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2015, 09:43:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมฐานวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ไตรลักษณ์โดยสัญญาเจตนาที่จะรู้สึก กับไตรลักษณ์ของจริง

     วันนี้พิจารณาธรรมโดยความคิด และ จับเอาสภาวะธรรมความรู้สึกที่เกิดมีขึ้นแก่ตน พอดูหนังพระพุทธเจ้า ตอนพระกีสาโคตมีเถรี อุ้มลูกที่ตายเพื่อมาหาพระพุทธเจ้าให้รักษา

     แล้วพระพุทธองค์รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุผักกาดหยิบมือหนึ่ง มาเป็นเครื่อปรุงยา
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่ได้จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมก่อนเท่านั้นจึงสามารถใช้เป็นเครื่องปรุงยาได้



ปรากฏว่าทุกบ้านมีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น
แต่พอถามว่าที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้านต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่
ยังเหลือยู่นี้น้อยว่าคนที่ตายไปแล้ว” เมื่อทุกบ้านต่างก็ตอบนอย่างนี้นางจึงเข้าใจว่า “ความตาย
นั้นเป็นอย่างไร และคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตายเฉพาะลูกของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย
เหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อยไว้ในป่าแล้วกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า “ไม่
สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”
พระพุทธองค์ได้สดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า:-
“โคตมี เธอเข้าใจว่าลูกของเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้นเป็นของธรรมดาที่มีคู่
กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เพราะว่ามัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยม
ไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงไปในมหาสมุทรคือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้องน้ำใหญ่ ฉะนั้น”
นางได้ฟังพระดำรัสของพระบรมศาสดาจบลงก็ได้บรรลุอริยผลดำรงอยู่ในพระโสดาบัน
แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดารับสั่งให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นาง
บวชแล้วได้นามว่า “กีสาโคตมีเถรี”


     ด้วยเหตุดังนี้ทำให้เราเกิดความสลดสังเวชตนว่า มัวแต่เข้าไปยึดมั่นถือมันเอาสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนมาเป้นสุขของตนอยู่ได้ พอพรัดพรากก็ทุกข์เสียใจ พอสมหวังก็เพลิดเพลินหลงลืมแสวงหาให้ได้มาเสพย์อีกจนอิ่มไม่เป็น เอาความสุขสำเร็จของตนไปผู้กขึ้นไว้กับผู้อื่น เอาความสุขสำเร็จของตนไปผู้ขึ้นไม่กับสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เอาความสุขสำเร็จไปยึดมั่นถือมั่นของปลอม สุดท้ายแล้วก็เอาสมมติอันเป้นไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนมาเป้นสุขของตน จึงเกิดความหน่ายคลายกำหนัดลง แล้วก็วางใจออกจากสิ่งทั้งปวง
     แต่ในขณะที่มีอาการอย่างนั้น ก็รู้จิตตนว่ามันแช่มชื่นปราโมทย์เพราะไม่ยึด แต่ก็ด้วยความแช่มชื่นนั้นแลจิตมันเลยเข้าไปยึดว่า ถ้ารู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ทำไว้ในใจอย่างนี้จะไม่ทุกข์ เรารู้แล้ว เราเห็นแล้ว เราเข้าถึงแล้ว เราเห็เนธรรมของจริงแล้ว นี่น่ะมันเข้าไปยึดตนหลงตนอีกว่ารู้เห็นเข้าถึงจริง อัตตานุทิฏฐิ มานะทิฏฐิเกิดขึ้นเต็มปี๊ดทันที ก็เลยกลายเป็นความหลงเข้าไปยึดกับสัญญาที่ว่า ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ยึดสภาวะที่ตนสัมผัสได้ว่าเป็นของจริงของแท้ เห็นจริง ยึดตัวตนกับสิ่งที่ตนเห็นมันว่ามันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน กล่าวคือ เข้าไปยึดความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน มาเป็นอุปาทานเข้าให้แล้ว จึงเห็นได้เลยว่า..จิตนี้มันโง่นะ อะไรมันก็ยึดพไม่หมดไม่ว่างเว้นเลย ที่สำคัญ แม้แต่ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนมันก็ยังสำคัญใจยึดอุปาทานได้


     จากนั้นเราจึงได้พิจารณาว่า สมัยก่อนที่ทรงอารมณ์อยู่ได้หลายเดือนนั้นเราทำไฉนหนอ พิจารณาเช่นไร อย่างไร ความเศร้าหมองใจจากความเข้าไปยึดสัญญาว่าไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน จึงจะไม่เกิดมีขึ้นแก่เราอีกได้ จึงทวนกระแสความคิดแล้วนิ่งสำเหนียกรู้อาการของจิตอยู่(คือตั้งจิตไว้แค่รู้ไม่ตรึกนึกคิดไหลตามอารมณ์ไรๆ ตั้งสติเป็นเบื้องหน้าปักหลักวางจิตไว้ไม่เอนเอียงไม่คิดแทรกไม่สำคัญอะไรให้มันทำหน้าที่โดยธรรมชาติของมันคือแค่รู้เท่านั้น)
     ก็ให้เห็นว่า สมัยใดที่เราเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นตัวทุกข์ของจริง โดยที่ไม่ได้รู้ด้วยสมมติความรู้สึกนึกคิด ไม่ได้รู้ด้วยสัญญาว่า..สิ่งนี้ๆเป็นของไม่เที่ยง สิ่งนี้ๆเป็นของไม่มีตัวตน สิ่งนี้ๆเป็นกองทุกข์ คือ จิตมันรู้เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนจริงๆ ความไม่มีสิ่งไรๆ ความไม่มีอะไรนอกจากอาการหนึ่งๆโดยธรรมชาติ ไม่มีวิตก ไม่มีความคิดแทรกแทรงอารมณ์ โดยเมื่อเห็นแล้วไม่ได้ยึดว่าไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง แต่เห็นด้วยความไม่มี ไม่มีอะไร ไม่ยึดแม้จะรู้ว่าไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เพราะมันไม่มีอะไรเลยก็แค่ความเป็นไปเป็นอยู่จริงของสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น ไม่มีอื่นเลย ความเที่ยงหรือไม่เที่ยงก็ไม่มีเพราะเป็นแค่สิ่งหนึ่งๆเอกลักษณ์คุณสมบัติหนึ่งๆโดยธรรมชาติของสภาวะธรรมนั้นๆเท่านั้น ความมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ไม่มีเพราะเป็นแค่สิ่งหนึ่งๆเอกลักษณ์คุณสมมติหนึ่งๆโดยธรรมชาติของสภาวะธรรมนั้นๆเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย รู้โดยความไม่มี รู้ด้วยจิตที่ไม่ยึด ไม่สำคัญใจ รู้โดยไม่คิด รู้ด้วยจิตที่ไม่เจตนาในความรู้สึก ไม่ต้องทำไว้ในใจอย่างไรทั้งสิ้น จึงจะถึงของจริง อาการที่หน่ายของจริง หน่ายด้วยความไม่มี หน่ายด้วยความวาง หน่ายด้วยญาณที่ไม่ยึด




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2015, 12:30:07 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #168 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2015, 09:54:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สักแต่ว่ารู้ ละอุปกิเลส (อกุศลวิตก อกุศลธรรมอันลามกจัญไร)

ขั้นที่ ๑. มีสติเป็นเบื้องหน้า ดึงสติให้รู้ทันคิด อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตอนนั้นๆว่าคิดอะไร เห็นภาพนิมิตยังไง สมมติปรุงแต่งอะไร กำลังดำเนินไปในทางใด มีกิเลสตัวใดเป็นที่ตั้ง กำลังจะปรุงไปแบบได้

ขั้นที่ ๒. ดำเนินได้ ๓ ทาง ตามแต่จะตรงจริต หรือ ตามแต่จะจับตัวไหนแล้วละได้ สะสมเหตุให้เรื่อยๆ ได้แก่อุบาย ๓ ประการนี้ คือ

ก. เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรระวัง เพียรละ เพียรเจริญ เพียรรักษา

[156] ปธาน 4 (ความเพียร ๔)
       1. สังวรปธาน คือ เพียรระวัง,ยับยั้ง (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น)
       2. ปหานปธาน คือ เพียรละ (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว)
       3. ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญ (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี)
       4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษา (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์)

       ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4, สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่)

ทางปฏิบัติ

- เมื่อรู้ทันคิดทันจิตทันใจที่ปรุงแต่งสมมติกิเลสใน "ขั้นที่ ๑." ให้พึงตั้งใจมั่นด้วยสติเป็นเบื้องหน้า สงเคราะห์ลงใน สัมมาสังกัปปะ กุศลวิตก ๓ คือ

[69] กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม)
       1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน)
       2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย)
       3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย)

๑. เนกขัมมสังกัปป์ คิดออกจากกามราคะ คิดออกจากทุกข์
 - แบบที่ ๑.๑ ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ปักหลักไว้ที่ปลายจมูก รู้ลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" น้อมเอาคุณแห่งความเป็น ผู้รู้เห็นซึ่งสมมติกิเลสความลุ่มหลง ผู้ตื่นจากสมมติกิเลสความลุ่มหลง ผู้เบิกบานมีจิตพ้นแล้วจากสมมติกิเลสความลุ่มหลง..มาสู่ตน รู้ลมหายใจออก บริกรรม "โธ" กำหนดเอาพุทโธนี้แหละอัดลงไปทับลงไป ชะล้างอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นให้หายไปในอากาศพร้อมลมหายใจออกนั้น
** โดยการกำหนดลมหายใจนั้นให้หายใจเข้าและออกยาวเพื่อทำให้ลมหายใจเป็นปกติ เวลาที่เราเกิด รัก โลภ โกรธ หลง ลมหายใจเราไม่เป็นปกติ ทำให้ใจเราระส่ำไม่สงบ การกำหนดหายใจเข้าออกยาวนี้จะช่วยกายใจเราเป็นปกติ มีสติสัมปะชัญญะตั้งในความสงบ แถมยังรักษาโรคทางกายได้เพราะโรคทางกายเกิดจากความบกพร่องของธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายๆธาตุในร่างกาย ซึ่งอวัยวะต่างๆในอาการทั้ง ๓๒ นี้ทำหน้าที่ควบคุมธาตุในกายหากอวัยวะในร่างกายคือธาตุ ๔ ในขันธ์ ๕ นี้ไม่สมดุลย์กันก็จะเกิดโรคในกาย เวลาเกิดโรคลมหายใจเราจะไม่เป็นปกติ ดังนั้นการเดินลมหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ทำใจไว้ปรับธาตุในกายให้เป็นปรกติจะช่วยบรรเทาโรคได้และเกิดการรักษาตัวที่ดีขึ้น
 - แบบที่ ๑.๒ ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ตั้งต้นไว้ที่ปลายจมูก รู้ลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" พร้อมกำหนดระลึกว่า...ลมหายใจวิ่งผ่านจากปลายจมูก -> เข้ามาที่โพรงจมูก -> เข้ามาที่จุดโพรงกลวงกลางกระโหลกศีรษะ...รู้ลมหายใจออก บริกรรม "โธ" พร้อมกำหนดระลึกถึงลมเคลื่อนออกจาก จุดโพรงกลวงกลางกระโหลกศีรษะ -> ออกมาที่โพรงจมูก -> ลมหายใจวิ่งออกผ่านจากปลายจมูกไป
 - แบบที่ ๑.๓ ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ตั้งต้นไว้ที่กลางกระหม่อม รู้ลมหายใจเข้า บริกรรม "พุท" พร้อมกำหนดระลึกว่า..ลมหายใจวิ่งผ่านกลางกระหม่อม(กลางศีรษะเบื้องบน) -> เข้ามาที่จุดโพรงกลวงกลางกระโหลกศีรษะ...รู้ลมหายใจออก บริกรรม "โธ" พร้อมกำหนดระลึกถึงลมเคลื่อนออกจาก จุดโพรงกลวงกลางกระโหลกศีรษะ -> วิ่งผ่านออกมาที่กลางกระหม่อม(กลางศีรษะเบื้องบน) ให้ลมหายไปในอากาศ
 - แบบที่ ๑.๔ ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ตั้งต้นไว้ที่ท้องตรงจุดเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว ซึ่งเวลาเราหายใจเข้าจะรู้สึก รู้ตามผัสสะว่าลมผ่านเคลื่อนที่จุดท้อง ณ ตรงนี้ได้ก่อนและง่ายเสมอๆ เป็นแบบกำหนดจุดลมผ่านโดยทั่วไป
** บางสำนักว่าดังนี้คือ ท้องน้อยใต้สะดือ ๒ นิ้ว (มัชฌิมาแบบลำดับ) หรือ กลางสะดือ(บางตำรา) ซึ่งจุดนี้แต่ละสำนักจะสอนต่างกันแต่ฐานที่นี้คือที่ตั้งแห่งสตินั่นเอง เป็นส่วนที่จิตใช้สติระลึกรู้
 - แบบที่ ๑.๕ กำหนดจุดที่ตั้งของจิต ประดุจว่าจิตอาศัยตั้งอยู่ที่นั้น เป็นฐานรู้ ใช้เป็นฐานที่มั่นยึดสติได้ ตามที่หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ท่านสอนเอาไว้ว่า

อุบายการภาวนา ให้หาน้ำเย็นๆ 1 แก้ว ดื่มลงไป นั่งนิ่งๆ มีสติระลึกรู้ตามน้ำเย็นไปเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ น้ำเย็นจะค่อยๆ แผ่วๆ ตรงสุดท้ายที่ความเย็นหยุดนิ่ง ให้เอาเป็นฐานการระลึกรู้ของการภาวนา  จะภาวนาอะไรก็ได้ แต่จริงๆ ตรงนั้นคือตัวผู้รู้

จะลืมตาหรือไม่ลืมตา ก็ระลึกรู้ตรงนี้ได้ ให้รู้สึกอยู่ตรงน้ำ การกำหนดตรงนี้แตกต่างจากการกำหนดลมที่ต้องมีลมเข้า ลมออก  แต่ตรงนี้ น้ำเป็นตัวนำทางความรู้สึกเข้าไป และระลึกรู้อยู่ตรงนี้ ตรงความเย็นของน้ำหยุดอยู่ ดูผู้รู้สึกอยู่ตรงนี้ เป็นฐานการระลึกรู้การภาวนา หลับตาก็รู้ได้ ความรู้ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับลม ลมก็คือธาตุลม ธาตุรู้ก็คือธาตุรู้

ส่วนมากนักปฏิบัติจะเอาลมเป็นธาตุรู้ แต่ที่อาตมาปฏิบัติมาแล้ว ไม่ต้องใช้ลมตามไป แต่ใช้ธาตุรู้เป็นที่ตั้ง ธาตุรู้ตรงนี้ปรุงแต่งไม่ได้ เราไปคิดที่อื่นก็ไม่ได้ เพราะความรู้อยู่ตรงนี้ ไม่ว่าจะเดินไปไหนหรือทำงานก็แล้วแต่ ก็อยู่ตรงนี้ตลอด ถึงความเย็นของน้ำจะหายไป แต่ตำแหน่งความเย็นยังคงอยู่ การภาวนา ตรงนี้เป็นการกำจัดความฟุ้งซ่าน การปรุงแต่ง จิตแล่นออกจากกาย จิตจะอยู่กับผู้รู้อย่างเดียว และต่อไปทำอย่างไรต่อ ก็ให้รู้สึกอยู่ตรงนี้ มันจะปรุงแต่งไม่ได้ ธาตุที่ปรุงแต่งไม่ได้เรียกว่า จิต แต่ที่ว่าปรุงแต่งไม่ใช่จิต เป็นอาการของจิต ถ้าไปถึงจิตแล้ว จิตจะนิ่งอยู่ตลอดเวลา ความรู้สึกจะไม่เคลื่อนไหวไปตามกายที่เคลื่อนไหว แต่อยู่ในตำแหน่งรู้ และนิมิตทั้งหมดก็หายไป

ในตัวของเราคือจิต ตัวผู้รู้เป็นจิตตัวจริงไม่ใช่อาการของจิต จะให้ความยึดมั่นถือมั่นนอกจากผู้รู้ไม่มี หลวงปู่ดูลย์จึงว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ก็เป็นลักษณะเช่นนี้

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล (ลูกศิษย์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล และ หลวงตามหาบัว)


๓. เลือก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2015, 12:52:13 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #169 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2015, 12:42:26 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คิดใน พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน

คิดเพื่อละความสำคัญใจ
1.1 เมื่อรู้ใจรู้กายในปัจจุบันยนั้นแล้ว ว่ากำลังคิดกุศลธรรมอันลามกจัญไร ให้ตั้งจิตดู(หากสำเหนียกเป็น) หรือ ให้คิดทวนกระแสเข้าหาเหตุมันว่า นี่เราแสวงหา ถวิลหาอะไรอยู่ สำคัญใจไว้ไฉน เพราะยินดีอย่างไรๆจึงสำคัญใจไว้ เพราะแช่มชื่นรู้สึกมันว่า
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #170 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2015, 12:43:36 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
[123] สัปปุริสบัญญัติ 3 (บัญญัติของสัตบุรุษ, ข้อปฏิบัติที่สัตบุรุษวางเป็นแบบไว้ หรือกล่าวสรรเสริญไว้, ความดีที่คนดีถือลงกัน — things established by righteous people; recommendation of the good)
       1. ทาน (การให้ปัน, สละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — giving; generosity; charity; benefaction)
       2. ปัพพัชชา (การถือบวช, เว้นการเบียดเบียน ดำรงในธรรม คือ อหิงสา สัญญมะ และทมะ อันเป็นอุบายให้ไม่เบียดเบียนกัน และอยู่ร่วมกันด้วยความสุข — renunciation consisting in non-violence, restraint and self-control)
       3. มาตาปิตุอุปัฏฐาน (การบำรุงมารดาบิดา, ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข — support of mother and father)

A.I.151.   องฺ.ติก. 20/484/191.



[***] สามัญลักษณะ 3 ดู [76] ไตรลักษณ์.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[139] ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ - virtues for a good household life; virtues for lay people)
       1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง - truth and honesty)
       2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - taming and training oneself; adjustment)
       3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย - tolerance; forbearance)
       4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว - liberality; generosity)

       ในธรรมหมวดนี้ ทมะท่านมุ่งเอาด้านปัญญา ขันติท่านเน้นแง่วิริยะ.



[220] ธรรมสมาธิ 5 (ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดธรรมสมาธิ คือความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต - concentration of the Dhamma; virtues making for firmness in the Dhamma)
       1. ปราโมทย์ (ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส - cheerfulness; gladness; joy)
       2. ปีติ (ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ - rapture; elation)
       3. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็นกายใจ, ความผ่อนคลายรื่นสบาย - tranquillity; reaxedness)
       4. สุข (ความรื่นใจไร้ความข้องขัด - happiness)
       5. สมาธิ (ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย - concentration)

       ธรรม หรือคุณสมบัติ 5 ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของสมถะ (คือได้ฌาน) หรือวิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ



บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #171 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2015, 11:16:17 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
จรณะ ๑๕

กุศลกรรมบถ ๑๐ (ศีลพระโสดาบัน)
ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศลธรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ

       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม


สำรวมอินทรีย์
ผัสสายตนสูตรที่ ๓

             [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล
จากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรม
วินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

จบสูตรที่ ๑๑
จบมิคชาลวรรคที่ ๒

1. มีสติสัมปะชัญญะ ความกายรู้ใจ รู้ตัวอยู่เสมอๆ รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตน ในการดำรงชีพ
ไม่ว่าจะเรื่องการกิน เรื่องการอยู่ เรื่องการใช้ เรื่องการเสพย์สิ่งทั้งปวง

2. ทำเหตุให้ดี ทำเหตุให้มาก คือ พละ ๕ ได้แก่ ศรัทธา(ศรัทธา ๔ ผลคือ หิริ โอตัปปะ ศีล ทาน) วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
- พละ ๕ นี้ ท่านเรียกอีกอย่างว่าอินทรีย์ พระป่าเราจะเรียกว่าเหตุ การเจริญพละ ๕ คือ การทำเหตุให้ดี พละ ๕ เป็นอาหารเครื่องกุศลของจิต เป็นอาหารเสริมความหลุดพ้นทุกข์
- เหตุใน พละ ๕ นี้เป็นบ่อเกิดแห่งจริตนิสัยแห่งกุศลให้สถิตอยู่ในสันดานปุถุชน ผลที่ได้คือเป็นบารมีของจิต กล่าว คือ ทำมากก็กลายเป็นจริตนิสัย เมื่อเป็นจริตนิสัยมากเข้าๆจนมันอิ่มมันเต็มกำลังใจ..มันก็จะกลายเป็น บารมี

  วิธีการทำเหตุนี้..หลวงปู่บุญกู้อนุวัฑฒโน ท่านได้กรุณาสอนเราว่า ให้ทำให้เป็นที่สบาย ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องไปหวังผลลัพธ์จากเหตุให้มากจนทำให้จิตหดหู่ ท้อถอย ฟุ้งซ่าน ไม่ทำแบบสุดโต่งด้วยความลุ่มหลงมัวเมา ให้ทำตามสติกำลังอยู่เนืองๆ ทำสะสมเหตุให้ดีให้มากเข้าไว้ แต่ไม่ต้องไปหวังผล จะได้หรือไม่ได้ช่างมันขอแค่ให้เราได้ทำไว้ก่อนเป็นพอ "เหตุไม่ดี..แล้วจะไปเอาผลได้ยังไง"

- เราพอจะเข้าใจสิ่งที่ท่านสอนแล้วนำมาตีความปฏิบัติได้ดังนี้คือ ให้เราทำให้เป็นที่สบาย ทำเรื่อยๆไม่เร่งรีบ ในวันหนึ่งๆจะทำได้มากได้น้อยก็ช่างมันขอให้ได้ทำทุกวัน ทำสะสมเหมือนหยอกกระปุกเพียรทำไม่ย่อหย่อน ขอให้ได้ทำได้สะสมไว้ก็พอใจไม่ต้องไปหวังผล "ยินดีแต่ไม่ปารถนาลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งนั้นๆ" หากยังไม่ได้ก็ให้ระลึกว่า..เพราะเหตุในสิ่งนี้ๆของเรามันยังไม่ดี ยังไม่พอ ผลลัพธ์จึงยังไม่แสดงไม่มีไม่ได้ เราก็แค่ทำเหตุไปเรื่อยๆ สบายๆขอแค่ได้ทำไว้ก่อนก็พอ ไม่ใช่พอทำไม่ได้แล้วก็คลายความเพียร อันนี้ในปาฏิโมกข์เป็นพระท่านก็ปรับอาบัติปาจิตตีย์เลยนะ ดังนั้นให้ทำไปเรื่อยๆ หากท้อแท้เหนื่อยหน่ายก็เจริญ โพชฌงค์ตามกาล  เช่น..
๑. ยินดีในความพ้นทุกข์ ยินดีในอภิญญา เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทาญาณ..เราก็เพียรทำเหตุใน ศีล(ศรัทธา ๔) ทาน(ศรัทธา ๔) ภาวนา(สติ{สติปัฏฐาน ๔} สมาธิ [กรรมฐาน ๔๐ สายสุขวิปัสสโก จะเน้นลมหายใจแบบธรรมดาไปไม่กำหนดจุด เข้าขณิกสมาธิ เข้าอารมณ์สมถะ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ เอกัคคตา เข้าปัญญาเลย ไม่แวะเล่นของเล่น ไม่เอากสิน ไม่เอานิมิต, ส่วนสายเตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทา ท่านเจริญอานาปานสติกำหนดจุดดูจุดพักลม เพ่งลมที่จุดใดจุดหนึ่งบ้าง หลายจุดบ้าง, เพ่งอารมณ์, เล่นกสิน, ทัวัตติงสาการหรืออาการ ๓๒ ประการ, เล่นธาตุ ๖ ป่าช้า ๙ อสุภะ ๑๐ ลงธาตุลงกสิน, เล่นนิมิต, แวบเล่นของเล่น, พรหมวิหารเจโตวิมุตติ, เข้าสัมมาสมาธิด้วย รูปฌาณ ๔(รวมกสินฌาณเป้น รูปฌาณ ๕) และ อรูปฌาณ ๔(รวมสัญญาเวฯ เป็นอรูปฌาณ ๕) ซึ่งท่านจะขมักเขม้นเพียรทำเป็นอันมาก แต่ไม่หมกมุ่น เพราะรู้ว่าจำเป็นต้องทำ จำเป็นต้องต้องมีญาณนั้นญาณนี้ อิทธิฤทธิ์อย่างนั้นอย่างนี้ รู้ความจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อใช้ช่วยเหลือเกื้อกูลชนทั้งปวง สัตว์โลก เทวดา มาร พรหมทั้งปวง เพื่อให้เข้าถึงธรรมที่ถูกต้องและตรงตามจริง ไม่ได้ทำเพราะอยากเพราะอัตตา] ปัญญา)ไปเรื่อยๆ จะได้มากได้น้อย หรือ ไม่ได้เลย ก็อย่าไปสนใจใส่ใจมัน แม้จะได้ยินคนอื่นพูดว่าทำได้ เข้าถึง เห็นนั่น เห็นนี่ เราก้แค่ยินดีไปกับเขาไม่ต้องไปริษยาเขา หรือยิ่งปารถนาลุ่มหลงมัวเมา พึงรู้แค่ว่าเราอาจจะยังไม่เคยสะสมเหตุนี้ๆมาเลยในชาติก่อนๆ มันจึงไม่มีกำลังเสบียงเพียงพอจะให้แสดงผล เราก็แค่เพียรทำต่อไปเรื่อยๆ ไปสบายๆ เพราะเหตุนี้ๆเมื่อเต็มก็จะส่งผลให้ได้อย่างนั้นในภายหน้า
    หากเราไปยึดอัตตาในผลของมันแล้ว ทั้งๆที่เราตั้งใจปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ นั่นกลับกลายไปยึดเอาทุกข์มาครอบครองให้หนักอีกซ้ำเก่า ยิ่งยึดยิ่งทุกข์ ความพ้นทุกข์คือไม่ยึด คลายความยึดมั่นนั้นเสีย มันไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน แม้คนที่บอกว่าเห้นได้ตอนนั้นแต่สิ่งที่เขาเอามาพูดนั้นมันก็เป็นอดีตไปแล้ว ไม่ได้อยู่แล้ว ดับไปแล้วในปัจจบันขณะนั้นๆ เมื่อมันไม่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ยั่งยืนนาน ไม่เที่ยง แล้วควรหรือที่เราจะไปปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ไปริษยาเขา ยึดมั่นถือมั่นกับความไม่เที่ยงของเขาหรือเราหรือใครๆเหล่านั้น
    ฌาณก็ดี ญาณก็ดี หลวงปู่มั่นท่านสอนว่ามันก็แค่สังขารตัวหนึ่งเท่านั้น มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ความปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่มีตัวตนมันเป็นทุกข์ ดังนั้นแล้วสิ่งเหล่านี้เราจะไปบังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง จับบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจก็ไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับมันได้ เมื่อมันไม่มีตัวตนดังนี้ ควรแล้วหรือที่เราจะต้องเอาสิ่งนี้มายึดอุปาทานว่าเราต้องรู้ต้องเห็นต้องได้อย่างเขา ไปริษยาเขาให้ตนร้อมรุ่ม ระส่ำ ไม่เป็นสุขสบายกายใจ ไปคว้าตัวตนเอากับอากาศที่มองไม่เห็นที่ไม่มีตัวตน ที่เราไม่สามารถจะไปยึดบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้ เพราะมันไม่มีตัวตน ถ้าคนอื่นเขาทำแล้วเขาได้ก็แสดงว่าทางนี้มันพ้นทุกข์จริงแต่เราเราไม่ได้สักทีนั้นเพราะเรายังไม่เคยสะสมเหตุมา จิตมันจึงไม่มีกำลังพอจะเห็นของจริง
    อุปมาเหมือนเอาแก้วน้ำเล็กๆเท่ากำมือ 1 ใบ ไปรองรับน้ำในบึงใหญ่มันจะรับน้ำในบึงนั้นได้อย่างไร จะรับได้ก็ต้องมีแก้วที่ใหญ่และลึกเท่าบึงนั้น ดังนัน้เราก็ต้องค่อยสร้างก่อสร้างแก้วใบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆให้มันเพียงพอที่จะรับน้ำในบึงนั้นได้ เปรียบน้ำนั้นเป็น สติ สมาธิฌาณ ญาณ ปัญญา, เปรียบแก้วเป็นกายใจเรานี้แล

    หัวใจสำคัญใน พละ ๕ นั้นคือ เราต้องหาความยินดีใน พละ ๕ ศีล ทาน ภาวนา ให้ได้เสีย ถ้าเราหาความยินดีได้ก็จะทำได้โดยไม่ยากไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่ติดใจข้องแวะในการปฏิบัติ แล้วจะก่อเกิดความเพียรที่จะกระทำด้วย.. ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงต้องหาความพอใจยินดีในการปฏิบัติให้ได้ก่อน ความพอใจยินดีนี้เป็นที่ตั้งให้น้อมนำไปในสิ่งทั้งปวง ทีนี้เมื่อเรายินดีที่จะทำ ก็ทำได้เป็นที่สบายกายใจไม่ลำบาก จิตมันจะตั้งมั่นใจการทำเหตุ โดยที่รู้ว่าเหตุนี้มันดี เพราะเหตุยังไม่พอจึงยังไม่ส่งผม ไม่หวังผลมากเกินไปให้หดหู่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำด้วยความลุ่มหลง ทีนี้ก็จะเกิดความเพียรเจริญ สำรวมระวังด้วยสติสังขารขึ้นโดยรอบ ตั้งในความความเพียรระวังยับยั้ง + เพียรปหานะ และ มีความเพียรเจริญ + เพียรรักษาคงไว้ไม่ให้เสื่อม(ปธาน ๔) ยิ่ง เป็นบารมีของจิต

สัมมัปธาน ๔


1. สังวรปธาน คือ เพียรระวัง,ยับยั้ง (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น)
2. ปหานปธาน คือ เพียรละ (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว)
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญ (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี)
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษา (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์)

สรุป จรณะ ๑๕ โดยย่อคือ

๑.กุศลกรรมบถ ๑๐
๒.สำรวมอินทรีย์ รู้ผัสสะจำเพาะปัจจุบันขณะ เห็นความ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน เพื่อละความคิดสืบต่อ
๓.รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตน
๔ พละ ๕

ทั้งหมด ๔ ข้อ คือ  ศีล ทาน ภาวนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 30, 2015, 04:42:53 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #172 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2015, 10:26:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ปุณณสูตร

             [๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-
*ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่
ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี
กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความ
เพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ
ยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี
กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็บังเกิดขึ้น ดูกรปุณณะ
เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯ
             [๑๑๓] ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี
ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าว
สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลิน
ดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี
ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี
ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ
เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึง
ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ฯ
             [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่เบาใจในธรรมนี้
เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น
ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ
             ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่
ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไป
ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ
             เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา ดังนี้หรือ ฯ
             ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อความ
ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรปุณณะ ดีละ เธออันเรากล่าวสอนแล้ว
ด้วยโอวาทอันย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน ฯ
             ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่ ข้าพระ-
*องค์จักอยู่ในชนบทนั้น ฯ
             [๑๑๕] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบ
คายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในข้อนั้น เธอ
จักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก
บริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยมือ ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้
ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
มือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น  ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์
ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
ก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วย
ท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
ท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์
ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยศาตรา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย
ศาตราเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ปลงเราเสียจากชีวิต
ด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             [๑๑๖] พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงเธอ
เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ
             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลง
ข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด
อย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วย
กายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลง
ชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์
จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ
             พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจอยู่
ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้ ฯ
             [๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี-
พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บ
เสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริก
ไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนา-
ปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ในระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาว-
สุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้ง
และปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระ
โอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น
อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็น
บัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะปรินิพพานแล้ว ฯ

จบสูตรที่ ๕

บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #173 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2015, 10:36:30 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ผัสสายตนสูตรที่ ๑

             [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ทราบชัด ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ
เป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายในศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖
ตามความเป็นจริง ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ
             ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุด้วยอาการอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี
แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ
             พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ
             ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

จบสูตรที่ ๙



ผัสสายตนสูตรที่ ๒

             [๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ
๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันภิกษุนั้นไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรม
วินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ
             ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของ
เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วย
ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็น
อันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯลฯ
             ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอ
ละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯ

จบสูตรที่ ๑๐



ผัสสายตนสูตรที่ ๓

             [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล
จากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรม
วินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบมิคชาลวรรคที่ ๒
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #174 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2015, 12:16:01 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ฉฬวรรคที่ ๕

สังคัยหสูตรที่ ๑

             [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ
๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่
ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่
รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖
เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี
รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ
๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม
นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

             [๑๓๐]    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
                          นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
                          บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
                          เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
                          บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
                          บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
                          ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
                          และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
                          บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
                          น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
                          ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
                          ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
                          พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
                          ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
                          ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
                          ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
                          แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
                          เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
                          เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
                          สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
                          ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
                          บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
                          ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
                          อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
                          อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
                          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ


จบสูตรที่ ๑
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #175 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2015, 12:18:26 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

สังคัยหสูตรที่ ๒

             [๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวก
ทหรภิกษุทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม
ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น ฯ
             [๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว  เป็นผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มี-
*พระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ
             พ. ดูกรมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย
ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว
ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดม
แล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย
เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว
ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้ง
ไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง
มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะ
เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้
เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย  ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             [๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ใน
อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจัก
เป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์
ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็น
เพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่
ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูก
โทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน
ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้
รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสอง
ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
             มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม ที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า
             [๑๓๔]    สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ
                          หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง
                          ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
                          และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
                          อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว
                          เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต
                          กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่
                          มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
                          อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ
                          ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
                          สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง
                          ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
                          ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์
                          เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา
                          เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
                          ห่างไกลนิพพาน ฯ
             [๑๓๕]    บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี
                          จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป
                          และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
                          ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้
                          นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง
                          ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ
                          ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย
                          เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น
                          เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว
                          มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย
                          อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น
                          เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น
                          ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด
                          เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล
                          นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม
                          ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล
                          นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
                          กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่
                          กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
                          นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้
                          ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             [๑๓๖] พ. ดูกรมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรา
กล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า
             [๑๓๗]    สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ
                          มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ
             [๑๓๘]    บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าว
                          ว่าใกล้นิพพาน ฯ
             ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล ฯ
             [๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้
มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้ง
นั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
เยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกย
บุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๒

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2015, 12:22:05 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #176 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2015, 11:35:42 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วันที่ 4 ธันวาคม 2558

วันนี้ได้มีโอกาสไฟฟังพระธรรมเทศนาของหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านได้เทศนาสอนเหมือนที่เราเข้าใจที่ท่านสอนให้ทำเหตุมาว่า การปฏิบัติแรกๆมันยาก การทำดีมันยาก ค่อยๆทำไปทีละนิดสะสมไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ ทำกุศลให้มากในกาย วาจา ใจ เรื่องอกุศลก็ค่อยๆลดลง ให้มันนานขึ้นจึงเกิดมีได้ เวลามันคิดชั่วเราก็คิดดีแทรกแทรงโดยทำใจให้เอื้อเฟื้อปารถนาดี สงเคราะห์ให้ คนที่ชอบทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นให้ช้ำใจ พรากชีวิตผู้อื่นนั้น ลักขโมยของผู้อื่น ชอบไปผิดลูกเมียเขา พรากคนรักเขา กระทำไม่ดีชอบด่า ชอบว่าให้ร้ายคนอื่น ยุยงให้ผู้อื่นแตกคอกัน ชอบลุ่มหลงมอมเมาขาดสติในกามารมณ์ ในสุรายาเสพย์ติดที่ทำให้ขาดสติ ระลึกไม่ได้ เพราะมีนิสัยสันดานติดมาจากนรกมันสะสมมานาน และเพราะเขาได้สะสม ศีล ทาน ภาวนามา มากพอก็จะมาเกิดเป็นคนได้ พอมาได้เกิดเป็นคนแต่กรรมอกุศลทั้งปวงที่เขาทำมานั้นมีมากทำให้เขามีหน้าตาดุร้ายบ้าง พิการบ้าง หม่นหมองไม่งดงามบ้าง และสันดานจากนรกที่เคยเป้นสัตว์นรถที่ทำไม่ดีนี้สะสมมามากติดตามเขามาด้วย เขาเลยยังแก้ไม่ได้ ยังทำกาย วาจา ใจ เบียดเบียนทำร้านตนเองและผู้อื่นอยู่ แล้วเขาไม่ทำเหตุในกุศลเพิ่มมันก็ยิ่งชั่วไปใหญ่ เมื่อเขามีกรรมอย่างนั้นเราก็ไม่พึงข้องใจในเขา อย่าไปติดใจในเขา พึงสงเคราะห์เขาเสีย อย่าไปคิด พูด ทำ เพื่อเบียดเบียนเขาเพิ่มเติมซ้ำเติมเขาอีก เขาเป็นอย่างนั้นทั้งกายและใจเขาก็ได้รับทุกข์มามากพอแล้ว ทั้งเร่าร้อน, ร้อนรุ่ม, ถูกไฟกิเลสกรรมไฟนรกแผดเผาต้องกายใจให้หดหู่, วุ่นวาย, ฟุ้งซ่านมามากเต็มที่เขาแล้ว ควรอดโทษไว้แก่เขาสงเคราะห์เขาเสีย หากนิสัยจากนรกที่ติดตามมานี้เป็นตัวเราเองเมื่อรู้ว่านิสัยในนรกมีมากติดตามมาก็เพียรเจริญในกุศล ศีล ทาน ภาวนา ให้มากสะสมไปเรื่อยๆ เมื่อมันดีมีกำลังเรียกว่า พละ ๕ มันก็จะกลายเป็นอุปนิสัย คิด พูด ทำ ในกุศลโดยชอบไม่เร่าร้อนเป็นทุกข์ ท่านผู้รู้ผู้ภาวนาท่านมองมาดูที่ตนเองอย่างนี้ เมื่อเป็นอุปนิสัยก็จะกลายเป็นจริตสันดาน ตามไปทุกภพชาติ เมื่อมีจริตสันดานในกุศลที่เต็มที่เต็มกำลังใจก็กลายเป็นบารมี อินทรีย์ก็จะแก่กล้า ทีนี้จิตมันจะไม่ปล่อยให้อกุศลเล็ดลอดออกมาได้ ภาวนาก็ให้รู้ลมหายใจมีพุทโธนี้แหละ พิจารณาธาตุ ๖ ตามบทสวดมนต์ธาตุ

(เพิ่ม..อากาศธาตุ คือ ช่องว่างในกายนี้ที่ทำให้ธาตุไม่ผัสสะกัน อากาศในกายก็เป็นพวกแก๊ส อากาสธาตุเป็นช่องว่างมันเป็นที่ๆแก๊สทั้งปวงอาศัยอยู่, ..วิญญาณธาตุ คือ จิต คือ ตัวรู้ จิตนี้มันไม่ตายตามร่างกายไปก็ร่างกายดับสูญก็ไปเมื่อตายจากกายนี้จิตออกจากกายนี้ก็ไม่ใช่จิตเดิมที่เป็นอยู่ตอนมีชีวิตอยู่ด้วยรูปขันธ์นั้นแล้ว จิตมันก็แล่นท่องเที่ยวไปเกิดในสวรรค์บ้าง นรกบ้าง เป็นสัตว์หรือคนเข้านึดครองรูปขันธ์ มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณทรามบ้าง หยาบบ้าง งดงามบ้าง ละเอียดบ้าง จิตที่รู้ที่ยึดครองธาตุ ๕ คือ ลม ไฟ น้ำ ดิน อากาศ ก็ดับไปไม่มีอีกไม่คงอยู่อีก แม้ตอนยังที่ชีพอยู่จิตเรานี้ก็ไม่เที่ยง ไม่รู้สิ่งใดได้นาน ไม่ตั้งอยู่ในสิ่งใดได้นาน กลับกลอง เหลาะแหละ ไปรู้นั่นนี้ไปทั่วแต่ไม่ยั่งยืนนาน หมายใจจะไปบังคับให้เป็นดั่งใจก็ไม่ได้ ไม่สามารถบังคับได้ว่าขอจิตจงรู้และยึดแต่สิ่งนี้ ขอจิตจงอย่ารู้อย่ายึดสิ่งนั้น ขอสิ่งที่รู้นี้ไม่สูญไป จงอยู่ยั่งยืนตลอดไปก็ไม่ได้ จิตมันรู้มันฉลาดยึดฉลาดเสพย์แต่สมมตืของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิตให้ยึดโดยอาศัย อายตนะเป็นเครื่อล่อให้จิตหลง โดยมากแล้วจิตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติทั้งหมดไม่ว่าจะเวทนาสุข,ทุกข์,เฉยๆก็ช่าง ความคิดปรุงแต่งก็ช่าง ล้วนเกิดมาแต่ความรัก โลภ โกรธ หลงทั้งปวงสมมติให้เกิดมีขึ้นมาหลอกให้จิตยึด จะบังคับให้มันรู้ของจริงก็ไม่ได้เพราะไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ..ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ก็ด้วยจิต..ท่องเที่ยวไปด้วยจิต เกิด ดับจากขันธ์อย่างไรด้วยวิญญาณนั้นก็ตามที แต่เราก็บังคับให้มันเป็นดั่งปารถนาไม่ได้ มันดับจากกายนี้ก็เกิดขึ้นเป็นจิตใหม่ไปแล้วไม่ใช่จิตเดิมแท้ ดังนี้ **ดังนั้นทำจิตให้เป้นพุทโธเพื่อให้มันอยู่ได้ด้วยตัวของมัน เป็นผู้รู้เห็นสมมติความลุ่มหลง ผู้ตื่นจากสมมติความลุ่มหลง ผู้เบิกบานแล้วหมดสิ้นสมมติความลุ่มหลง)

ละราคะทางทวาร คือ รู้ว่าตนเองคิด รู้ว่าคิดในราคะ รู้ว่าที่เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปรุงสิ่งสมมติไปตามที่ใจปารถนาบ้าง แล้วเอากุศลวิตกเข้าแทรกกำหลายอกุศลวิตก คิดต่อรูปนั้นในทางที่ดี แล้วกลับมารู้ปัจจุบันว่า เห็นอะไรในปัจจุบัน เขามีท่าทางอาการอย่างไร ทำกิจการงานไรๆอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือของจริงแต่เรานั้นเองที่ไปคิดสืบต่อสมมติมองส่วนเล็กส่วนน้อยคิดเอาสัญญานั่นนี่มาผสมปนเปไปหมดจนกระสัน เงี่ยน เป็นทุกข์ เสียงก็รู้แต่เสียงนั้นในปัจจุบันแค่มีอาการอย่างนั้นอย่างนี้ ดัง เบา ทุ้ม แหลม แม้จะรู้เสียงผู้หญิง ผู้ชาย นก กา วัว ควาย แมว หมา ก็รู้แล้วคิดชอบมีกุศลวิตกคิดกับเสียงนั้นในทางที่ดี กลิ่น รส สัมผัสกาย.. สัมผัสใจให้รู้ตัวว่ากำลังคิด กำลังสมมติ กำลังติดในราคะ กระสัน เงี่ยนเพราะคิด เพราะแสวงหา ถวิลหา อยาก รู้ปัจจุบันในอารมณ์

ทำปัจจุบันให้แจ้ง ทำเหตุให้รู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย สัมผัสใจ ในปัจจุบันให้มาก ทำให้แจ้งจนกลายเป็นอุปนิสัยติดในความคิด เป็นจริตสันดาน ก็จะสร้างบารมีที่ สักแต่ว่ารู้อยู่ที่ปัจจุบันขณะไม่คิดสืบต่ออีก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2015, 12:44:45 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #177 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2015, 04:29:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วันที่ 6-12-58

มองเห็นว่างาม ไม่งาม สวยเสมอกันเหมือนกันหมด สวยต่างกัน บุคคลหรือสิ่งหนึ่งสวย แต่อีกบุคคลหรืออีกสิ่งหนึ่งไม่สวย


**ก. ความสวย หรือ ไม่สวย**

ความสวย หรือ ไม่สวย นี้คือ สัญญา

- สวย ไม่สวย หยาบกระด้าง ละเอียด ประณีต  เป็นสัญญา คือ ความจดจำสำคัญมั่นหมาายของใจ..สำคัญใจไว้ว่านี่คือสวย นี่คือไม่สวย นี่คือสวยมาก นี่คือสวยน้อย สีนี้สวย สีนี้ไม่สวย รูปร่างอย่างนี้สวย รูปร่างอย่างนี้ไม่สวย (วรรณะ,สันฐาน)



**ข. เหตุแห่งสัญญาที่ว่าสวย หรือ ไม่สวย**

เหตุแห่งสัญญาที่ว่าสวย หรือ ไม่สวย นี้คือ ฉันทะ ปฏิฆะ

หลายสิ่งหลายอย่าง หลายคนที่เรามองว่า สวยๆพอๆกันก็เพราะมีฉันทะในสิ่งนั้นๆเสมอๆกัน
๑. ความจดจำสำคัญมั่นหมาายของใจ..จากความปรุงแต่งใน ฉันทะ..ความพอใจยินดี รู้ผัสสะแล้วเป็นที่สบายกายใจ ก็เข้าไปตั้งสมมติปรุงแต่งลงอุปาทานสัญญาจดจำว่านี่คือ สวย, ปฏิฆะ..ไม่พอใจยินดี รู้ผัสสะแล้วเป้นที่อึดอัด อัดอั้น ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ก็เข้าไปตั้งสมมติปรุงแต่งลงอุปาทานสัญญาจดจำว่านี่คือ ไม่สวย
๒. ก็เพราะความชอบใจยินดีในอารมณ์นี้แหละ จึงทำให้เกิดความต้องการ หมายใจที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ ใคร่ปารถนา แสวงหา จนกำหนัดกระสันมีใจผูกใฝ่ในอารมณ์ให้เร่าร้อน เมื่อพบเจออารมณ์ที่ตรงข้ามกันก็เกิดความยินร้าย หมายใจไว้ว่าเป็นสิ่งไม่ต้องการ ไม่อยากได้ ไม่อยากพบอยากเจอ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนจนเกิดความกลัวบ้างเร่าร้อนหวาดระแวง
(ฉันทะราคะ)



**ค. เหตุแห่งความยินดี ยินร้าย**

เหตุแห่งความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ความยินดี-ยินร้าย ก็คือ เวทนา ความหน่วงนึกในอารมณ์ ๑๘

๑. เมื่อจิตรู้ผัสสะ มีอาการเหมือนประกายไฟ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บ ความเสวยอารมณ์แรกๆมันยังเป็นกลางๆ แล้วก็ดับไป

๒. จากสัญญาจดจำอารมณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนฟ้าแลบแปล๊บนั้นแหละสืบต่อให้จิตน้อมเข้าไปรู้อาการที่ผัสสะนั้นแหละ ทำให้เกิดสภาพจริงๆอาการจริงๆของอารมณ์นั้นๆให้เรารู้ (แต่ทั้งๆที่ของจริงมันดับไปแระ) แรกๆก็ยังเฉยๆเป็นกลางๆต่ออาการจริงนั้นๆอยู่

๓. แต่ด้วยธรรมชาติของจิตที่น้อมไปหาอารมณ์ และ สัญญาหมายรู้อารมณ์ทำให้อาการสภาวะนั้นๆเกิดสืบต่อมาอีกเรื่อยๆให้จิตรู้อาการที่เกิดขึ้นเนืองๆ จึงทำให้เกิด "ความหน่วงนึกรู้สึกแช่มชื่น ชื่นบานรื่นรมณ์ หรือ ความหน่วงนึกรู้สึกเหมือนเสียดขัดให้งุ่นง่าน ขัดๆต่ออาการจริงๆในอารมณ์ที่รู้นั้น"
(เราเข้าใจในสภาวะนี้ว่า จิตเข้าจับอนุสัยกิเลส)

๔. ก็เพราะความรู้สึกหน่วงนึกอารมณ์นี้ๆนี่เอง ที่ทำให้เกิดกลุ่มสภาวะธรรมหนึ่งขึ้นทำให้ตรึงใจไว้ในอารมณ์ ให้จิตเหมือนจิตถูกหน่วงเหนี่ยวลากจูงให้เข้าไปตรึงในอาการนั้นๆ จิตจึงเกิด "ความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี" แล้วจงใจเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยความติดใจว่า นี่คืออะไร มันเป็นอะไร สิ่งใด (เป็นสภาวะที่ติดข้องใจในอาการความรู้สึกจริงๆที่เกิดมีขึ้นอยู่)
(อาการนี้เราเข้าใจว่านี่คือ อนุสัยกิเลสสร้างอุปกิเลสก่อตัวขึ้นแล้ว)

๕. เมื่อเกิดความเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์นั้นๆ นี่แหละที่เป็นตัวไปเรียกเอาสัญญา ความจำได้หมายรู้ในอารมณ์  ความสำคัญมั่นหมายของใจ ทีนี้แหละสมมติทั้งปวงว่าสิ่งนี้คืออะไร เป็นอย่างไร มันออกมาหมด ความหน่วงนึกรู้สึกที่ว่า แช่มชื่น ชื่นบานรื่นรมณ์ นี่คือ สุข ส่วนความหน่วงนึกรู้สึกเหมือนเสียดขัดให้งุ่นง่าน ขัดๆต่ออาการที่มีนั้น คือ ทุกข์ ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าสิ่งที่รู้สัมผัสอยู่นี้คือ คน เพศ สัตว์ สิ่งของ เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย (อุปกิเลส นิวรณ์เหล่าใดเกิดขึ้นมาเบื้องหน้าให้จิตหลงยึดเสพย์แล้ว)

๖. เมื่อรู้สมมติบัญญัติแล้ว ก็จะเกิดความปรุงแต่งไปตาม สัญญา ความสำคัญมั่นหมายของใจ สังขาร ในมโนทวารลงใส่ใจจนเกิด "ฉันทะ และ ปฏิฆะ" หลงไปตามสมมติที่กิเลสมร้างขึ้นมาหลอกให้จิตรู้ จิตเสพย์ จิตหลง จิตยึดทางอายตนะ แล้วก็เกิดความตรึงตราติดใจในอารมณ์ ติดใคร่ ผูกใจฝักใฝ่หมายใจในอารมณ์ ขัดข้องขุ่นเคืองใจ มัวหมอง เศร้าหมองในอารมณ์โดยสมมติบัญญัติขึ้นมาทันทีว่า เจ็บ ปวด สบาย เกลียด ชัง ชอบ รัก สวย ไม่สวย ประณีต ไม่ประณีต เบื่อหน่าย หดหู่ ฟุ้งซ่าน
(เราเข้าใจว่านี่คือ อุปกิเลส, นิวรณ์ สำแดงฤทธิ์เดชแล้ว)

๗. เมื่อเข้ามารู้ในสมมติปรุงแต่ง ก็เกิดความติดใจ ตรึงตราในอารมณ๋ เหนี่ยวดึงให้เกิดอารมณ์ที่ใคร่ปารถนายินดีในอารมณ์ที่เสพย์เสวยอยู่นั้น เรียก กาม นันทิ ฉันทะราคะ ผูกใจหมายหมกมุ่นลุ่มหลงมัวเมาในอารมณ์ กำหนัด กระสัน เงี่ยน ตัณหา ทะยานอยาก แสวงหา ถวิลหาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมร์ทั้งปวง
(เราเข้าใจว่านี่คือ กิเลสอย่างหยาบ สำแดงฤทธิ์เดชแล้ว)




๑. กิเลสชั้นละเอียด ทำให้สันดานเศร้าหมอง
๒. กิเลสชั้นกลาง ทำให้มโนทวารเศร้าหมอง
๓. กิเลสชั้นหยาบ ทำให้วจีทวารและกายทวารเศร้าหมอง

จากผลการปฏิบัติที่เคยเห็นได้รู้สัมผัสในสมาธิ โดยเข้าสมาธิแล้วเดินทางปัญญา จะเห็นได้ว่า



กิเลส โลภะ กาม ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหลายมีอยู่โดย 3 ระดับ

ระดับที่รู้ว่าเกิดผัสสะ
ระดับที่รู้สภาวะธรรมจริง
ระดับที่รู้สมมติปรุงแต่งตรึกนึกคิด




ในพระสูตร อาทิตตปริยายสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเทสนาต่อชฏิล ๓ พี่น้อง ตามที่หลวงปู่ฤๅษีลิงดำอธิบายไว้ว่า
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ราคัคคิ โทสักคิ โมหัคคิ ยกเอาราตะมานั้นเพราะว่า เพราะราคะเป็นเหตุนั้นแหละจึงมีโทสะ ถ้าไม่มีราคะก็ไม่มีโทสะ ดังนั้นก็ต้องขจัดไฟราคะ โทสะ โมหะ กอยู่ไม่ได้




แนวทางปฏิบัติ

ก. สำรวมระวังในผัสสายตนะ ๖

1. พระตถาคต ย่อมสอนดังนี้ว่า รูปที่รู้ด้วยตา เสียงที่รู้ด้วยหู กลิ่นที่รู้ด้วยจมูก รสที่รู้ด้วยลิ้น สัมผัสที่รู้ด้วยกาย สัมผัสที่รู้ด้วยใจ เป็นสิ่งที่บุคคลควรฝึกฝน คุ้มครอง รักษา สำรวมระวัง
เมื่อรู้อารมณ์ในทางใดก็ดี จะรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสกายก็ดี สัมผัสใจก็ดี เมื่อรู้อารมณ์ที่ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจก็ตาม ท่านให้พึงบรรเทาราคะในอารมณ์ที่ชอบ, ไม่พึงเสียใจในอารมณ์ที่ไม่ชอบ ว่าพบเจออารมร์ที่ไม่ชอบใจ วางเฉยในผัสสะทั้งปวง
- โดยแนวปฏิบัติส่วนตัวของเราเพื่อให้เกิดความปลงใจ คือ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในสิ่งที่รู้อารมณ์ไรๆ ไม่สำคัญใจว่าเป็นที่รัก ที่ชัง ก็เพราะไปสำคัญใจต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบให้รู้เหล่านั้น ..ด้วยราคะ ใจของเราก็จึงกระสันกำหนัด เพราะสำคัญใจไว้ต่อสิ่งนั้นๆด้วยความไม่ชอบใจ ไม่ยินดี ว่าเป็นที่เสียใจ ที่กลัว ที่หวาดระแวง  เราจึงเกิดความอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เกลียดชังไม่อยากพบเจอ
ดังนั้นไม่ว่าจะสิ่งไรๆก็ช่าง เราอย่าไปติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆเลย ติดใจของแวะในสิ่งไรๆไปมันก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ ดังนั้นพึงละความติดข้องใจในอารมณ์ไรๆเหล่านั้นไปเสีย ทิ้งไป สละคืนไป แล้วทำใจให้ผ่องใสว่างไสวอยู่ทุกเมื่อ

2.  พระตถาคต ย่อมสอนดังนี้ว่า รูปที่รู้ด้วยตา เสียงที่รู้ด้วยหู กลิ่นที่รู้ด้วยจมูก รสที่รู้ด้วยลิ้น สัมผัสที่รู้ด้วยกาย สัมผัสที่รู้ด้วยใจ เป็นสิ่งที่บุคคลควรฝึกฝน คุ้มครอง รักษา สำรวมระวัง
เมื่อรู้อารมณ์ในทางใดก็ดี จะรูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสกายก็ดี สัมผัสใจก็ดี ก็สิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนนาน อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจของเรา ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย แม้เราหมายใจจะบังคับให้อารมณ์ทั้งปวงขอให้จงเป็นอย่างนั้น ขอให้จงเป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้ แม้แต่ตัวเรานี้เราจะหมายใจไปบังคับให้รู้อารมณ์ทางสฬายตนะนั้นๆตลอดไปได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนี้

- โดยแนวปฏิบัติส่วนตัวของเราเพื่อให้เกิดความปลงใจ  คือ  เพราะสิ่งภายนอกเหล่านั้นไม่มีตัวตน จะไปเจอสิ่งที่สวยที่รักที่ต้องการไรๆก็รู้ว่า เขาไม่ได้เกิดมาหรือมีอยู่เพื่อเรา เขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่าไปพึงปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเลย ยิ่งปารถนามากก็ยิ่งทุกข์มากละความปารถนาติดใจนั้นๆไปเสียเพราะเขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ได้มีอยู่เพื่อเรา

- เมื่อไปประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็พึงสังวรว่า เพราะเราไปให้ความสำคัญใจต่ออารมณ์เหล่านั้น มันจึงมาเกิดมีบทบาทสำคัญต่อเราเป็นอันมาก ทำให้โทมนัสเป้นอันมาก ทั้งๆที่สิ่งที่รักหรือที่เกลียดมันก็เป็นแค่เพียงอาการทั้ง ๓๒ เป็นธาตุ ๖ เหมือนกันหมด เป็นรูปธรรมก็ดี เป็นนามธรรมก็ดีเสมอกันหมด ก็แค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปไม่ต่างกันเสมอกันหมดทุกสิ่ง ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความงามเสมอกันหมดดังนี้(สุภะวิโมกข์) แต่เพราะเราเข้าไปตั้งเข้าไปยึดให้ความสำคัญใจในปฆิฆะต่อสิ่งนั้นๆเอาไว้มาก จึงใส่ใจต่อสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ขอบ เกลียด ชัง กลัว เสียใจ มากจนเป็นทุกข์เร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจ ดังนั้นเราก็เลิกให้ความสำคัญมั้นหมายของใจในปฏิฆะต่อสิ่งนั้นๆเสีย แม้เมื่อรู้เห็นไปก็ไม่ทุกข์กับสิ่งนั้นอีก



ข. สักแต่ว่ารู้

1. สักแต่ว่ารู้ในปัจจุบันนั้นๆ คือ รู้ว่ามีสีหรือแสงประกายอะไร อย่างไรอยู่เท่านั้น นี่เรียกว่า พิจารณาวรรณะ

2. สักแต่ว่ารู้ในปัจจุบันนั้นๆ คือ รู้ว่าสีเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้น มีรูปลักษณ์ เคล้าโคลง ลักษณะอย่างไร สูง ยาว สั้น แค่นแคะ กลม รี สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม คือรูปลักษณ์เคล้าโครงรูปแบบต่างๆ



ค. สมมติ (ละสมุทัย)

1. อุบายว่าจิตรู้สิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตลุ่มหลงแล้วยึดมั่นถือมั่นตัวตน โดยอาศัยทวาร คือ อายตนะเป็นเครื่องล่อหลอกจิต เราทุกข์ทรมานก็เพราะจิตมันรู้แต่สมมติ เราสุขกับสิ่งไม่เที่ยงไม่มีตัวตนก็เพราะจิตมันรู้แต่สมมติ ดังนั้นแล้วเราจะไม่ยึดจิต ไม่สนสิ่งที่จิตรู้หรือตรึกนึกคิดทั้งปวงเพราะมันคือสมมติของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิต

2. ของจริงนี้มีอยู่ในกายเรา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่กายต้องการ เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกายให้คงอยู่ นั่นก็คือลมหายใจนั่นเอง พึงคำนึงตรึกตรองอยู่เนืองๆว่าลมหายใจนี้เป็นของจริง เป็นวาโยธาตุ เป็นกายสังขารที่มีอยู่จริงในกายเรา ลมหายในนี้ไม่ทำให้เร่าร้อน ลมหายใจนี้ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้เป็นที่สงบ ดังนั้นจิตรู้ลมหายใจอยู่ตลอดเวลาคือรู้ของจริง รู้ปัจจุบัน รู้สงบ ไม่ใช่ทุกข์
** หากจับลมอย่างเดียวไม่ได้ คือ อยู่กับลมหายใจไม่ได้นาน ครูบาอาจารย์ท่านให้ใช้พุทโธกำกับ พุทโธนี้เป็นมูลกรรมฐาน เป็นยอดกรรมฐานทั้งปวง พุทโธนี้มีคุณมาก สร้างกำลังให้จิตจดจ่ออยู่ได้นาน ทำให้สลัดจิตจากนิวรณ์  ถ้าจิตว่างพุทโธหายนั่นแสดงว่าจิตกลายเป็นพุทโธแล้ว คือ
- เป็นผู้รู้เห็น ถึงสมมติของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิต ให้ลุ่มหลงมัวเมาติดยึดอยู่
- เป็นผู้ตื่น จากสมมติของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิต ไม่ลุ่มหลงมัวเมาติดยึดอยู่อีก
- เป็นผู้เบิกบาน คือไม่ยึดติดลุ่มหลงอีกแล้วซึ่งสมมติของปลอม ความพ้นจากสมมติกิเลสทั้งปวงแล้ว




ท่าน DEV วัดเกาะตอบคำถามในทาง พระอภิธรรมว่า

ลักษณะที่เห็นรูปอย่างนึง แล้วรู้สึกว่าเท่ ว่าน่ารัก ว่าสวย ว่างาม หรือ ว่าแปลก ว่าน่าเกลียด ว่าน่าขยะแขยง

ลักษณะของความงามที่มีต่างๆกัน กับความไม่งามที่มีต่างๆกัน ที่เกิดเพราะอาศัยการเห็นรูปๆนึงเป็นปัจจัย

ตัวลักษณะความสวย ความไม่สวย นี้เป็นธรรมอะไรครับ

เป็นรูปคงไม่ใช่ แสดงว่าต้องเปนเจตสิกหนึ่งที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยรูปนั้นๆจึงปรากฏความเท่ ความน่ารัก ความสวย ความไม่สวยที่แผลกๆกัน


รูปร่างที่เห็นเป็นคน ผู้หญิง ผู้ชาย
เมื่อแตกย่อยออกแล้ว แท้จริงก็เป็นเพียงรูปธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันใช่มั้ยครับ
รูปธาตุ ก็มีลักษณะที่หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ต่างกันไปตามเหตุปัจจัย

แต่หากไม่มีจิต/เจตสิก ที่รับรู้รูปนั้น ก็ไม่มีประโยชน์อันใด
ดังนั้น ความรู้สึกว่าเท่ ว่านักรัก ว่าสวย ว่างาม ว่าน่าเกลียด ว่าน่าขยะแขยง
ก็คือความนิยมชมชอบที่แต่ละคนเห็นแล้วรู้สึกพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจ
หากพึงพอใจก็เป็นโลภมูลจิต ซึ่งมีโลภเจตสิกประกอบอยู่นั่นเอง
หรือหากไม่พึงพอใจ ก็เป็นโทสมูลจิต ซึ่งมีโทสเจตสิกประกอบอยู่นั่นเองครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2015, 09:43:16 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #178 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2015, 09:41:06 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
จากผลการปฏิบัติที่เคยเห็นได้รู้สัมผัสในสมาธิ โดยเข้าสมาธิแล้วเดินทางปัญญา จะเห็นได้ว่า

กิเลส โลภะ กาม ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหลายมีอยู่โดย 3 ระดับ

ระดับที่รู้ว่าเกิดผัสสะ
ระดับที่รู้สภาวะธรรมจริง
ระดับที่รู้สมมติปรุงแต่งตรึกนึกคิด


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #179 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2015, 07:27:47 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

"เรื่องที่ห่างกรรมฐานมานาน ไม่เจริญ ศีล ทาน ภาวนามานาน แล้วเกิดนิวรณ์ กับ ขาดสติบ่อยๆมาก ใจจดจ่อได้ไม่นาน"


 ..ทางแก้หลักๆก็อยู่ที่หา "ฉันทะ" ในการปฏิบัติให้ได้นั่นแหละ เช่น ดูหนังพระพุทธเจ้า ดูสภาวะธรรมตามจริง รู้เห็นตามจริง ทั้ง 2 สิ่งนี้จะทำให้เกิดความปราโมทย์ ปิติ แล้วก็เชื่อและศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก จะทำให้เรามีความตั้งใจมั่น ยินดีในการปฏิบัติด้วยจิตปราโมทย์ คือ แช่มชื่นใจ ผ่องใส เบิกบานจากกิเลส จับเอาแต่พุทโธนี้แหละ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราอยากให้จิตเป็นพุทโธ ก็บริกรรมพุทโธนี้แหละ พุทโธทำให้สงบรำงับจากกิเลสได้ เมื่อรู้เห็นตามนี้ จิตจะจับเอาแต่พุทโธ

 ..ว่างๆเล่นๆไม่มีไรทำก็พุทโธๆเรื่อยๆ พอมีงานก็ทำงาน มีจิตรู้ตัวว่าทำงาน รู้ตัวว่าปัจจุบันนี้ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ทันความคิดความรู้สึกที่มีอยู่ นี่ก็เป็นสติสัมปะชัญญะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

 ..การรู้ลมหายใจ อานาปานสติ หรือ พุทโธ ก็ตาม คนไม่รู้ธรรมไม่ปฏิบัติจะหมิ่นธรรมนี้มากว่าเป็นสมถะบ้าง ว่าไม่ทำให้บรรลุบ้าง แต่จริงๆแล้ว 2 สิ่งนี้ มีคุณมากดังนี้ คือ

๑. "อานาปานสติ และ พุทโธ สองสิ่งนี้คือ สติ โดยตรง"..เป็นการฝึกสติสร้างสติแบบบ้านๆธรรมดาๆให้เข้าถึงมหาสติ กล่าวคือ ลมหายใจอยู่ที่ไหน..สติอยู่ที่นั่น, พุทโธ อยู่ที่ไหน ไม่หลุดไป..สติก็อยู่ที่นั่น นี่คือ..การฝึกสติโดยตรงทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านจับเอาความสงบเป็นกุศลแต่ได้สมาธิเครื่องกุศลมาเป็นของแถมด้วย
๒. "อานาปานสติ และ พุทโธ สองสิ่งนี้คือ ท่านยกเข้าโพชฌงค์ ๗ ได้"..ทำอานาปานสติ และ ทำพุทธานุสสติด้วยการบริกรรมพุทโธนี้ เพื่อทำให้จิตเป็นพุทโธ เมื่อจิตเป็นพุทโธแล้วคำบริกรรมพุทโธจะหายไป

 .."เพราะจิตเป็นผู้รู้เห็นถึงสมมติแล้ว จิตตื่นจากสมมติแล้ว ความคิดทั้งปวง วิตก วิจาร จึงหายไป" เมื่อวิตกวิจารหายไป จิตเป็นผู้ตื่นอยู่จากสมมติ ก็จะเห็นธรรมตามจริงในสภาวะธรรมจริง แล้วก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าทำสมาธิ รู้ว่าเกิดสภาวะอะไรขึ้นแล้วก็ดูมันไป พิจารณาธรรมตามจริงให้เป็นปัญญา หากเราสะสมปัญญามาดีแล้วก็จะถึงวิราคะได้ เป็นผู้เบิกบานเพราะสมมติกิเลสถูกเฉือดตัดทิ้งแล้ว ถ้าตัดไม่ได้ก็ให้จำไว้ว่า..

- รู้ คือ มีสติรู้ว่านี้เราเพียงเห็นนิมิตที่จิตมันสร้างขึ้นมา แค่สิ่งหนึ่งๆที่เกิดมีขึ้นอยู่เท่านั้น
- ปกติ คือ รู้ว่านี้แค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบตามปกติเท่านั้น
- วาง คือ ปล่อยวางสิ่งที่รู้เห็น ไม่เอามายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เห็นนั่นเห็นนี่ เว้นเสียแต่ว่าเอามาวิเคราะห์ลงในธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาตัดสมมติกิเลส


เมื่อออกจากสมาธิ ศีล ทาน ภาวนา กุศลธรรมทั้งปวงจะมีเกิดขึ้นสังขารแก่เราเองโดยรอบเอง

แม้ไม่สามารถเข้าถึงได้ตามนี้ ก็ให้ระลึกว่า รู้ ปกติ วาง

รู้ว่า..สติ ฌาณ สมาธิ ปัญญา ก็แค่สังขาร ที่เกิดสงเคราะห์กับจิต ให้จิตเอาไว้ยึดเพื่อใช้ในกิจการงานอันควรเท่านั้น มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา ตามปกติ..วิสัยของสังขาร และ วิญญาณ(จิต) เราจะไปบังคับให้เมันเป็นดั่งใจไม่ได้ ถ้าบังคับได้ก็คงบังคับให้มันถึงอภิญญา ๖ วิชชา ๘ ถึงสัมมาวิมุตติกันได้แล้ว แต่หาทำเช่นนั้นได้ไม่เพราะจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ตามปกติ..ของสังขาธรรม คือ ขันธ์ ๕ นั้นแหละ
แล้วก็วาง..ก็ปล่อยมันไปอย่าไปใส่ใจยึดมั่นถือมั่นให้มาก ทำำให้จิตเราเศร้าหมองเปล่าๆ พระพุทธเจ้าสอนให้ทำจิตให้ผ่องใส สว่างไสวควรยินดี (อาโลกะสัญญา) ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ดังนั้นการที่ได้แล้วเสื่อม หรือ ทำไม่ได้นี่ ไม่ใช่มีแต่เราคนเดียว ทุกคนบนโลกก็ล้วนเป้นกันตามปกติ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังเจอความเกิดดับ ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ของสังขาร

 ..เมื่อรู้ดังนี้แล้วก็ปล่อยวางความใคร่ปารถนาที่จะมี จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่อยากจะอยู่ จะเป็นอย่างนี้ๆ ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์อาการความรู้สึกนั้นๆไปเสีย มันเป็น ภวะตัณหา วิภวะตัณหา กามตัณหา ปลงใจเสียว่า เราทำเหตุมาน้อย มันก็ได้แค่นี้แหละเป็นปกติธรรมดา ก็แค่สะสมไปเรื่อยให้มากขึ้นเท่านั้นเองเดี๋ยวพอถึงเวลาก็ได้เองแหละ สิ่งที่เราควรทำ หน้าที่ของสาวก สมมติสาวกของเราพึงจะทำได้คือ ทำเหตุให้ดี ทำสะสมไปเรื่อยๆก็พอ ทำความเพียรอยู่ โดย เพียรระวังกิเลส เพียรละกิเลส เพียรเจริญกุศล เพียรรักษากุศล ตามสติกำลังที่มี จากเล็กไปใหญ่ จากน้อย ไปมาก ให้ประจำๆ จากจำกัดเวลา ไปจนถึงเนืองๆ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2015, 07:59:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 12, 2024, 05:20:21 PM