เมษายน 26, 2024, 06:44:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408458 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #180 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2015, 01:32:37 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 12/12/2558
โดยเรียนรู้จากผลกรรมฐานที่ทำมาตลอดปีที่ได้พบเจอและเรียนรู้กรรมฐานจากพระอรหันต์

ทำให้เห็นทุกข์ ได้รู้เห็นตัวทุกข์จากการกำหนดรู้
ทำให้เห็นสมุทัย รู้เห็นสมุทัยที่ควรละ
ทำให้เห็นความดับทุกข์ รู้เห็นความดับทุกข์ที่ควรทำให้แจ้ง
ทำให้เห็นทางพ้นทุกข์ที่ควรเจริญให้มาก รู้เห็นทางดับทุกข์ที่ควรทำให้มากนั้น


วิธีละวิญญานูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานวิญญาณ เป็นเหตุให้ละ อุปาทานขันธ์ ๕

พิจารณาเพื่อให้เห้นแนวทางและเข้าถึงความปลงใจ

            ทำจิตให้เห็นสมมติ เพราะจิตรู้สมมติ จึงจะถึงพุทโธ คือ จิตถึงความเป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระสัพพัญูเจ้า องสมเด็จพระบรมศาสดา ธรรมชาติของเรานี้ยึดจิตเป็นหลัก เพราะจิตเป็นตัวรู้ จิตเป็นตัวเสพย์ จิตเป็นตัวยึด ยึดอัตตาในไตรลักษณ์ก็จิตเป็นเป็นตัวยึด ยึดอัตตาว่าไม่มีตัวตนจิตก็เป็นตัวยึด คนที่ยึดอัตตาในไตรลักษณ์ ยึดอัตตาในอนัตตา ล้วนไม่เคยสัมผัสของจริงแต่เพียงจดจำตามๆกันมาเท่านั้นไม่ใช่คนรู้ธรรมจริงแต่อย่างใด ดังนั้นแล เราจะไม่อัตตาในไตรลักษณ์ ไม่อัตตาในอนัตตา เราก็ต้องเข้าถึงและเห็นของจริง คือ ให้จิตมันเห็นจริงไม่ใช่สักแต่เพียงมาตั้งอัตตาจดจำในความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
             การที่จะให้จิตเข้าถึงของจริงแท้ จิตเดิมแท้ เราต้องรู้อุบายชำระจิตโดยตรง เพื่อให้จิตมันมีกำลังเข้าถึงปัญญาแห่งการหลุดพ้นทุกข์ ซึ่งจิต หรือ วิญญาณนี้ ก็คือดวงจิตเรานี้เอง จะอยู่ จะไป จุติที่ใด ก็ด้วยวิญญาณนี้เข้าไปยึดครองรูปขันธ์บ้าง เข้าไปอยู่ในภพภูมิต่างๆบ้าง  แต่วิญญาณเรานี้แลเราไม่สามารถบังคับได้ว่า จักให้มันไปจุติ ณ ที่นี้ๆ จะให้มันยึดเอาแต่เพียงอารมณ์นี้ จะให้มันรู้แต่ปรมัตถธรรม จะให้มันถึงวิมุติ จะให้มันมีรูปลักษณะอาการอย่างนี้ ให้มันกำกับนิมิตนี้ก็ไม่ได้ ตายจากรูปขันธ์ไป ก็บังคับให้มันจงมีรูปลักษ์ตามที่ต้องการไปอยู่ในภพภูมิดีๆก็ไม่ได้ พอตายจากรูปขันธ์ มันก็เปลี่ยนจากรูปลักษณ์เดิมไปเป็นสิ่งใหม่อื่นไปเรื่อย ดับจากรูปแบบนี้ ไปเป็นรูปแบบนั้น โน้น นี่ไปเรื่อย เกิดขึ้น แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ดับเปลี่ยนไปเรื่อย บังคับไม่ได้เลย ให้มันคงอยู่ในความงามไม่ดับไปก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวตน ดังนั้นแล วิญญาณ จึงเป็นตัวทุกข์ เป็นสมุทัย ผมอาศัยอะไรพูด.. ก็ด้วยว่าผลลัพธ์จากที่ได้เรียนรู้ตามจริงเห็นจริงตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนเอาไว้ว่า "จิตนี้มันเป็นตัวรู้ มันรู้หมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่มันไม่รู้ แต่สิ่งที่มันรู้ล้วนแต่เป็นสมมติทั้งนั้นมันไม่รู้ของจริงเลย
             ดังนั้นจิตนี้ไม่ใช่ตัวยึด เพราะจิตมันรู้แต่สมมติกิเลสเท่านั้น ไม่ควรยึดสิ่งที่จิตรู้ กิเลสมันอาศัยอายตนะ 12 หลอกให้จิตยึดจิตหลงในสมมติไหลไปตามกิเลสทั้งปวง ดังนั้นการที่จะทำให้จิตล้างของสมมติปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิตได้ เราก็ต้องไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ สำเหนียกว่าจิตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติกิเลสของปลอมทั้งสิ้น เห็นเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ความตรึกนึกคิดคำนึงถึงต่างๆ ความหวนคำนึงถึง อารมณ์นั้น อารมณ์นี้ สัญญาความสำคัญมั่นหมายของใจ ความเข้าไปรู้ว่าสุข ว่าทุกข์ ว่าเฉยๆ เวทนา ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณก็สมมติ ของจริงมันไม่มีอะไรทั้งสิ้นไม่มีชื่อธาตุ ไม่มีอะไรเลย เป็นที่ว่าง มีแค่อาการที่เรารู้สึกได้ มีแค่กองอาการสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น อันที่จิตมีปัญญาจึงจะเห็นจริงได้ ไม่ใช่จดจำอัตตาเอาว่านี่เป้นสภาวะธรรม ดังนั้นจิตที่รู้ด้วยปัญญจึงเป็นของจริง ก็เมื่อเรายังรู้เห็นแต่เพียงความคิดเท่านี้ รู้เพียงความสำคัญมั่นหมายของใจ ของจริงมันดับไปตั้งแต่ผัสสะเกิดมีขึ้นแล้ว รู้ว่านี่เป็นสุข เป็นทุกข์ มีความคิดเมื่อไหร่ก็สมมติเมื่อนั้น ดังนั้นแล้วยังจะควรยึดจิตนี้อีกหรือ ทั้งๆที่มันรู้แต่ของปลอมจนทับถมมามากแล้วไม่รู้กี่อสงไขย หลอกให้เราหลงยึดสมมติไปเรื่อยไม่สิ้นสุด ไม่ยึดจิตจึงจะไม่ยึดสมมติ ทำปัญญาความรู้เห็นตามจริงเกิดขึ้นให้จิตรู้ จิตมันก็จะไม่ยึดจับสมมติ





             เมื่อได้พิจารณาตามบทเพื่อปลงใจแล้วเราก็จะเห็นได้ว่า..ซึ่งทางเดียวที่มีอยู่นั้น ก็คือ "สักแต่ว่ารู้..ว่าจิตมันรู้สมมติเห็นสมมติอะไร รู้ว่ามันกำลังตรึกนึกคิดสมมติของปลอมเป็นไปตามกิเลสอย่างไรอยู่ก็แค่นั้น แล้วก็ปล่อยวางมันเสีย..วางเฉยต่อสิ่งที่มันรู้นั้น..ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเพราะมันประโยชน์เหล่าใดกับสมมติกิเลสของปลอมที่ทำให้เร่าร้อนนั้นไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ ปล่อยผ่านเลยไปไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ทั้งปวง เพราะจิตรู้ เห็น คิดตรึกตรองสิ่งใดล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้น" เมื่อทำเหตุนี้ๆให้มากเข้าจิตมันก็เริ่มรู้ว่าสมมติไม่มีค่า มันก็จะไม่ยึดจับเอาสมมติ แต่มันจะน้อมหาของจริงแทน หากจิตไม่ยึดสิ่งใดเมื่อจิตมันไม่มีกำลังด้วยตัวเองมันหาที่ยึดไม่ได้ มันก็จะว่างแบบโหวงๆเหวงๆ หน่วงๆ ตรึงๆจิต ด้วยธรรมชาติของจิตคือน้อมไปหาอารมณ์ หาที่ยึดเพราะจิตมันไม่มีกำลังอยู่ด้วยตัวมันเอง ซึ่งของแท้มีอยู่ในกายเรานี้แล ของแท้คือ ลมหายใจ อัสสาสะ-ปัสสาสะนี้นี่เอง เอาจิตจับที่ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก ลมนี่เป้นกายสังขาร เป้นสิ่งที่กายต้องการ เนื่องด้วยกาย เป็นของจริง เป็นธาตุจริง ดูลมหายใจไปตั้งไว้ปักหลักที่ปลายจมูกไปเรื่อย ดูลักษณะอาการของมันไปเรื่อยๆ








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2015, 01:57:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #181 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2015, 10:42:39 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ชาติ คือ ความเกิด เกิดมาเพื่อเจอทุกข์ ประสบทุกข์ที่หาที่สุดไม่ได้ ต้องเกิดมาเจอความไม่สมปารถนาดั่งใจหวังต้องการ ต้องเกิดมาพบเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ เกลียด ชัง สิ่งที่ไม่น่ายินดีทั้งหลายทั้งปวงไม่มีที่สิ้นสุดตราบที่ยังชีพอยู่ ถึงแม้จะมีหรือได้ในทุกสิ่งทุกอย่างสมดังปารถนา แต่ก็ล่วงพ้นความไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเราไปไม่ได้ เพราะไม่ยึดเอาสมมติของปลอมอันเป็นสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของตน สุดท้ายก็ต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยกาลเวลา การดูแลรักษา สภาพแวดล้อมภายนอก สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน และ ความตาย ไม่มีใครจะล่วงพ้นสิ่งนี้ๆไปได้ หมายจะไปบังคับสิ่งใดให้เป็นไปดั่งใจก็ไม่ได้ จะบังคับให้สิ่งนั้น สิ่งโน้น สิ่งนี้ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ สังขารภายใน สังขารภายนอก นามรูปทั้งปวงให้เป็นไปดั่งใจก็ไม่ได้ จะบังคับให้สิ่งนี้จงตั้งอยู่ตลอดไปก็ไม่ได้ จะบังคับให้สิ่งนั้นจงดับสูญไปไม่เกิดมีขึ้นก็ไม่ได้ ไม่ให้หนาว ไม่ให้ร้อน ไม่ให้หิว ไม่ให้ปวดขี้ ไม่ให้ปวดเยี่ยว ไม่ให้เหนื่อย ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ป่วย ไม่ให้เป็นโรค ไม่ให้แก่ ไม่ให้ร่างกายอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดจิตใจที่ต้องการไม่เสื่อมสูญไป ให้คงไว้แต่สิ่งที่พอใจยินดีต้องการก็ไม่ได้ จะหมายใจให้สิ่งเหล่าใด บุคคลใด สัตว์ใด ให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ให้รู้สึก ให้จดจำ ให้คิด ให้พูด ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ดังใจก็ไม่ได้ แม้แต่กาย ความรู้สึกนึกคิด และจิตใจเราของเราเองเรายังไม่สามารถจะบังคับให้มันเป็นไปตามปารถนาต้องการได้ นับประสาอะไรกับสิ่งภายนอกเหล่านั้นยิ่งไม่มีสิทธิ์จะบังคับมันได้เลย ขอให้เป็นดั่งใจ เพราะไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา เป็นของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของใคร ไม่ใช่ตัวตนของสิ่งใด

ดังนั้น ความเกิดจึงเป็นทุกข์ เพราะต้องเกิดมาเจอ ความไม่สมดั่งหวังปารถนาทั้งหลาย ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป้นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย เป็นโรค เจ็บป่วยไข้ แก่ ชรา สุดท้ายก็ต้องตาย ความไมเที่ยงแท้ยั่งยืน ความไม่มีตัวตน สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป้นทุกข์ ดังนี้..พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า..แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ เพราุะต้องเกิดมาเจอทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงดังนี้

การที่ต้องมาพบเจอ ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ชรา โรคา พยาธิ และ ความตาย ก็เพราะมีการเกิดนี้แล ดังนั้นเหตุของ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็คือ ชาติ ความเกิดนี้แล

โรคา พยาธิ คือ ความเป็นโรค ความเจ็บไข้

ชรา คือ ความแก่

มรณะ คือ ความตาย

   ทำความเข้าใจแล้วำพิมพ์บันทึกโดยย่อเพื่อเตือนสติตนจากพระธรรมคำสอนเรื่อง สัมมาทิฐิใน เทวทูตทั้ง ๔ ของ สมเด็จพระญาณสังวร พระสังราช (เจริญ) สกลมหาสังฆปรินายก
ขอขอบพระคุณที่มาจาก ที่มา http://sammatitti.blogspot.com/2012/10/blog-post_8.html

ขอขอบพระคุณ เฮียนั้ม..ที่แนะนำและโพสท์ Link ให้พิจารณาศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2015, 01:04:48 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #182 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2015, 01:44:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อุเบกขา คือ ความว่าง ความไม่มี อุปมาเหมือน อากาศธาตุ อันเป็นที่ว่าง ช่องว่าง ไปตลอดทางไม่มีประมาณฉันนั้น
- อุเบกขาที่จะถึงด้วยวิราคะ คือ อุเบกขาที่มีสติสัมปะชัญญะกำกับอยู่ด้วยจิตตั้งมั่นชอบ ผลของอุเบกขานี้ทำให้เกิดปัญญา เกิดญาณรู้เห็นตามจริง ซึ่งทำหน้าที่ตัดสังโยชน์
สุญญตา คือ ความดับ ความหมดสิ้น ความสูญ ความสละคืนสังขารทั้งปวง
- เป็นผลเกิดมาจากวิราคะ สัมมาวิมุตติ




เรามักจะเจอบุคคลอยู่ 2 ประเภท ที่เป็นเพียงปุถุชน แล้วศึกษาธรรมปฏิบัติของพระพุทธเจ้า คือ

1. บุคคลที่ปฏิบัติโดยส่วนเดียว
2. บุคคลที่เรียนอภิธรรมไม่ปฏิบัติ

ซึ่ง บุคคลที่ 1. มักจะบอกแก่เราว่า ไม่ต้องอ่านมากรู้มาก แม้จะอ่านแนวทางปฏิบัติของครูบาอาจารย์ หรือ จะอ่านพระสูตรการปฏิบัติ ท่านก็ว่าไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องสวดมนต์ ไม่ต้องรับศีล รับพร แต่แปลกใจที่ท่านเหล่านั้นก็ปฏิบัติไม่ถึง และ ยังเปิดเทป เปิดยูทูป เปิดหนังสือครูบาอาจารย์ที่นับถืออ่านเช่นกัน

ซึ่ง บุคคลที่ 2 มักจะบอกว่าไม่ต้องไปลงสมถะมันติดสุข สมถะไม่ใช่ทางหลุดพ้น ไม่ต้องทำสมาธิก็เห็นจริงใจ แต่เขาเหล่านั้นไม่มีใครที่จะได้สมาธิแม้แต่ขณิกสมาธิเลย ขณิกสมาธินี้ขั้นต้นที่เราได้สัมผัสมาคือความสงบ ขณิกสมาธิละเอียดนี้ก็ตามรู้อาการที่เกิดมีขึ้นได้ แต่ยังไม่เป็นปัจจุบันขณะ ไม่เห็นลำดับ ไม่ถึงของจริงแท้ ยังปะปนกับความคิดตน ทำให้หลงนิมิตว่าจริงได้ง่าย



     ดังนั้นแลเมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้ ซึ่งสิ่งที่เป็นกับตัวเรานี้ เราไม่ได้เรียนอภิธรรม ไม่รู้จักและสนใจที่จะอ่านในพระอภิธรรม แต่โดยสันดกานมักที่จะเห็นจริงแล้วตั้งปณิธานไว้ว่า จะยังพระพุทธศาสนาให้อยู่ตราบสิ้นกาลนาน ครบสิ้นพุทธันดร ยังให้เกิดมีผู้ที่บารมีเต็มดีแล้วควรแก่พระนิพพาน หรือ ละสังโยชน์ได้บ้างได้รู้ตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุดังนี้เราได้มาพิจารณาเห็นว่า

- ปริยัติ เวลาที่เราอ่านพระธรรม ส่วนมากจะเป็นของครูบาอาจารย์ พระสูตรไรๆ อ่านเรียนรู้เพื่อควมมีใจถึงธรรม มีใจตั้งมั่นในจุดมุ่งหมายเพื่อรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าให้ยิ่งๆขึ้น ให้เห็นแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน การวางกาย วาจา ใจ และ ถึงความปลงใจน้อมไปในธรรมอันเป็นกุศลเพื่อความหลุดพ้น

- ปฏิบัติ เวลาที่เราปฏิบัติกรรมฐาน สิ่งไรๆที่รู้มาให้ทิ้งให้หมด ให้ทำใจเป็นที่สบาย ยินดีในสมาธิ ไม่หวังปารถนาเอาสิ่งไรๆ ไม่ไปหวนระลึกคำนึกในปริยัติที่เรียนรู้จดจำมา เอาความรู้นั้นนั้นทิ้งไปให้หมด ให้จดจำเพียงว่า พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ลมหายใจและพุทธานุสสติ ครูบาอาจารย์สอนให้อย่าทิ้งพุทโธ พุทโธคือพระพุทธเจ้า พุทโธนี้มีคุณมาก พุทโธเป็นกำลังให้จิต พุทโธนี้สลัดซึ่งกามราคะ โทสะ โมหะได้ พุทโธเป็นกรรมฐานกองใหญ่คือเป็นทั้งยอดและพื้นฐานกรรมฐาน ให้ทำพุทโธไปเรื่อยๆ ตั้งปักหลักที่ปลายจมูกระลึกไว้ว่า..

๑. ตั้งจิตมั่นที่จะปฏิบัติเพื่อเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ไม่มีอื่นนอกจากนี้อีก
๒. สิ่งสัมผัสรับรู้ในภายนอกเหล่าใด ความปรุงแต่งตรึกนึกคิดสมมติภายในเหล่าใด ล้วนสมมติ ไม่ใช่เครื่องยึด เมื่อเข้าไปเสพย์ล้วนมีแต่ทุกข์ หาสุขไรๆไม่ได้ เราอย่างไปติดใจข้องแวะทั้ง สิ่งที่รู้สัมผัสภายนอก และ ความตรึกนึกคิดสมมติกิเลสภายใน ละมันไปเสีย มันเป็นทุกข์ จิตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้น
๓. เมื่อจะทำพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ก็ต้องทำจิตให้เป็น พุทโธ คือ เป็นผู้รู้เห็นตัวสมมติ ผู้ตื่นจากตัวสมมติ ผู้เบิกบานหลุดพ้นจากความลุ่มหลงสมมติ ซึ่งของจริงที่มีอยู่ในกายเรานี้ที่รู้ได้อยู่ทุกๆขณะก็คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจนี้เป็นที่สงบ ลมหายใจเป็นที่สบาย ลมหายใจนี้ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้ไม่ทำให้เร่าร้อน รู้ลมหายใจย่อมไม่มีทุกข์ดังนี้ **แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นผู้มีอานาปานสสติเป็นอันมาก คือ รู้ลมหายใจอยู่ทุกๆขณะตลอดเวลา ทรงตรัสอีกว่า ลมหายใจนี้เป็นวาโยธาตุในกายเรา เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกาย เป็นสิ่งที่กายต้องการ เมื่อรู้ว่ามีคุณมากขนาดนี้ก็ให้เราตั้งพุทโธนี้ไว้ในใจ บริกรรมพุทโธไปตามลมหายใจ ด้วยพุทโธนี้ คือ พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
- ปฏิบัติโดยปักหลักไว้ที่ปลายจมูกไม่เอนเอียงหวั่นไหวไปตามลม หายใจเข้ายาว บริกรรม "พุท" , หายใจออกยาวบริกรรม "โธ" เพื่อทำจิตน้อมไปให้ถึงความเป็นพุทโธ..คือ ทำจิตให้ถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั่นเอง




** เมื่อจิตเป็นพุทโธแล้ว คำบริกรรมจะหายไป จะเหลือแต่สภาวะที่รู้เห็นตามจริงโดยปราศจากสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิต ไม่มีความคิด แต่มีความแนบอารมณ์ไว้อยู่ สำเหนียกรู้อยู่ซึ่งสภาวะธรรมทั้งปวงที่เกิดมีขึ้น

** เมื่อรู้เห็นตามจริงก็จะเกิดสภาวะที่ จิตเป็นผู้ตื่น คือ จิตจะไม่ยึดจับสมมติกิเลส จิตรู้แต่ของจริงมันจะไม่จับยึดสมมติกิเลสไรๆ จะปักหลักแต่ลมหายใจเท่านั้นจิตจะน้อมไปแต่ ศีล ทาน ภาวนา สมาธิ มีสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบ มีปัญญา ศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นอันมาก จิตสำนึกรู้ซึ่งกฏแห่งกรรม บาป บุญ คุณ โทษ ตามจริง จิตจะไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเลย เพราะจิตมันรู้ว่าสมมติกิเลสมันหาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์

** เมื่อจิตถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น จิตจะไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งสิ้น ความคิดแทบจะไม่มี มีแต่รู้ปัจจุบัน และตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น เมื่อคิดก็จะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์มีเนกขัมมะวิตกเป็นอันมาก กิเลสย่อมเข้ามาปะปนไม่ได้ แม้จะมีรายล้อมให้จิตรู้ แต่จิตจะก็ไม่จับยึดเอาทั้งสิ้นจะเห้นเป็นแต่เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเกิดมีขึ้นอยู่เท่านั้น ไม่มีค่า ไม่ใส่ใจยินดี มีสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบแต่กุศลตลอดเวลา เป็นผู้ไม่มีทุกข์อีก จิตใจแจ่มใส เบิกบาน เพราะไม่ยึดสมมติ ไม่ติดคิด ไม่เร่าร้อนต่ออารมณ์เพราะไม่ติดใจข้องแวะให้เกิดมี ราคะ โทสะ โมหะ นี่เรียกว่าถึงความเป็นผู้เบิกบานแล้ว
  - แต่ข้อระวังในอารมณ์นี้คือ คนส่วนมากเมื่อถึงอารมณ์นี้มักจะหลงยึด ว่าตนรู้แล้วเห็นจริงสูงกว่าดีกว่าผู้อื่น ผู้อื่นด้อยกว่า เห็นเขาพูดคุยเล่นกันก็มองว่าคนอื่นไม่ทำไม่ปฏิบัติ ไปเพ่งโทษคนอื่นเอาเสียได้ ตีตนเสมอผู้อื่น ถือตัวว่าดีกว่าผู้อื่น อันนี้เป็นอุปกิเลสทั้งนั้น ด้วยเหตุดังนี้จงระวังอย่าให้จิตมันหลอกจิตทำสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ มรรคญาณให้เป็นอุปทานเป็นกิเลสตัณหาไป แทนที่จะต่อยอดสิ่งที่มีที่เกิดขึ้นนั้นของตนให้มันดี ดังนั้นเมื่อถึงสภาวะนี้ให้รู้ว่า อารมร์ความรู้สึกทั้งปวงสักแต่เป็นเพียงสังขาร มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เสื่อมไปอยู่ทุกขณะ ไม่เป็นที่ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน..[/i]
  - พึงจำคติของพระสารีบุตรเมหาเถระ และ พระราหุลมหาเถระ เอาไว้ว่า เราเป็นเพียงผู้ไม่รู้ สิ่งที่เรารู้นี้ช่างน้อยนัก แค่เพียงเศษเสี้ยวธุลีที่ท่านผู้รู้และพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งปวงท่านรู้เท่านั้น เรายังปฏิบัติมาน้อยเห็นมาน้อย ต้องทำให้อย่างนี้ๆให้ยิ่งๆขึ้นไปอีก ธรรมของพระพุทธเจ้ามีมากเท่าเม็ดทรายบนโลกนี้เราจักเรียนรู้ให้มากเป้นผู้พหูสูตร จะรู้ธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มากประมาณเท่าเม็ดทรายบนโลกนี้..
  - ดังนั้นเมื่อมันเกิดอยู่นี้ ให้จดจำว่ามันมีคุณอย่างไรๆ ควรแก่น้อมนำมาเจริญให้ถึงอยู่เนืองๆหรือไม่ และในขณะที่อารมณ์นี้เกิด จิตจะเป็นสมาธิง่ายมาก แค่หายใจเข้าตั้งปักหลักที่ปลายจมูกรู้ลมเข้าผ่ายโพรงจมูกเข้าจากเบื้องหน้ามาภายในก็ถึงสมาธิแล้ว ให้สืบต่อให้จิตเป็นฌาณ แล้วเข้าออกฌาณ รู้วสีฌาณได้ ทบทวนคือย้อนพิจารณาว่าเราปฏิบัติเป็นมาอย่างไร สะสมเหตุอย่างไร ทำใจไว้อย่างไรๆ พิจารณาอย่างไรจึงเข้ามาตรงนี้ได้ เผื่อเมื่อเสื่อมจะได้กลับมาเจริญใหม่ได้ เพราะมันเพียงแค่โลกียะฌาณเท่านั้น ทิ้งความเบิกบานในโลกียะฌาณ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในโลกียะฌาณ




ดังนั้นจากประสบการเรียนรู้ประฏิบัิตโดยตรงของเราสรุปได้ดังนี้ว่า

๑. ปริยัติ รู้เพื่อปลง, รู้แล้ววาง
๒. ปฏิบัติ ทำเพื่อเข้าถึงของจริง, วางทิ้งทั้งหมดแล้วทำ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 17, 2015, 08:09:03 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #183 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2015, 11:59:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 16 ธันวาคม 2558 เรื่อง อายตนะ ๑๒ ผัสสายตนะ ๖ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน

   วันนี้เราได้หวนระลึกในหนังพระพุทธเจ้าตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ก่อนตาย ท่านสอนเรื่อง อายตนะ ๑๒ ผัสสายตนะ ๖ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งเราจะเห็นมากในพระสูตร แต่ไม่เคยเข้าใจลึกซึ่ง จักเอามาพิจารณาได้แค่เพียงเบื้องต้นโดยบัญญัติให้คลายราคะลงบ้างเช่น ผู้หญิงที่เราเห็น ที่เรากระสัน เขาไม่ใช่ของเรา ไม่ได้เกิดมาเพื่อเรา ดังนั้นอย่าหมายใจปารถนาในเขาเลย (อนภิชฌา)แล้วปลงใจเสียที่จะฝักใฝ่หมายใจใคร่ได้กระสันในเขา ตั้งอยู่ทำเหตุที่ปัจจุบันว่าเราแค่เห็นคนนี้ๆ สิ่งนี้ๆ ผ่านไป ผ่านมา อยู่ในอิริยาบถนั้นๆ ไม่มีเกินนี้ แต่จิตมันไปคิดสมมติเกินเลย อย่าไปให้ความสำคัญในสมมติ อย่าติดสมมติของปลอม เราทำอยู่อย่างนี้ๆเสมอมา **แต่ไม่เคยเข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สฬายตนะ จักษุก็ดี โสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน
    จนมาในวันนี้ได้ทำสมาธิก่อนไปงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งได้อธิษฐานว่าขอให้เราได้เห็นและเข้าถึงดั่งพระราชนิพนธ์ที่องค์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฑฒโน) ท่านเข้าถึงแล้วได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้
    แลในขณะนั้นสาวๆสวนๆงดงามทั้งนั้นเดินผ่านไปมาชิดใกล้เสียดสีเราบ้างก็มี เราก็เกิดความกระสัน จึงได้มองไปที่พระเมรุแล้วอธิษฐานแล้วทำสมาธิขณะยืนรอถวายดอกไม้จันทร์อยู่นั้น พร้อมกับมองคนใดก็ตามที่มองแล้วเราเกิดกำหนัด พลันก็ได้เห็นสมดังปารถนาขณะที่เกิดความสงบใจว่า สฬายตนะ จักษุก็ดี โสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน โดยอุปมาตามความเข้าใจของเราได้ดังนี้ว่า..

นาย ก. ข. .ค ง. จ. เป็นนายทวารเฝ้าอยู่ประตู ณ ทางห้าแพร่งล้อมรอบเมือง แล้วมี..นาย ฉ. เป็นนายทวารหอคอย ณ ป้อมปราการอยู่คอยแลดูสิ่งที่เกิดมีขึ้นอยู่ท่ามกลางทาง ๕ แพร่งนั้น ทำหน้าที่คอยเข้าไปตรวจสอบรับ-ส่งข่าวสารที่นายทวารเฝ้าประตูทั้ง ๕ ทิศได้รับรู้เหตุการณ์ ส่งไปให้พระราชารู้

นาย ก.ก็ดี นายข.ก็ดี นายค.ก็ดี นายง.ก็ดี นายจ.ก็ดี ทั้งห้าคนนี้ เมื่อมีใครรู้สิ่งใดเหตุการณ์ใดๆขึ้น นาย ฉ. ก็จะรู้เห็นด้วยว่ามีเหตุการณ์อะไรอะไรเกิดขึ้น ณ ประตูนั้นๆ พร้อมควบม้าเร็วเข้าไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางประตูนั้นๆ จากนั้น นาย ฉ. ก็จะนำข่าวที่ได้มารวบรวมเรียบเรียงลงบันทึกเอาสิ่งที่นาย ก. หรือ ข. หรือ ค. หรือ ง. หรือ จ. รู้เห็น ไปบอกให้พระราชารู้ พระราชาก็จะทำการพิจารณาตรึกตรองตามสิ่งที่นาย ฉ. บอกไปพร้อมดูข้อมลในสานส์ที่ได้รับรู้มาจากนาย ฉ. นั้น..ดังนี้แล

    อุปมา..เปรียบเหมือน..

- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประตูทาง ๕ แพร่งให้ นาย ก., นาย ข., นาย ค., นาย ง., นาย จ. รู้เหตุการณ์ ณ ที่นั้น คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ เป็นของภายนอก ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

- เปรียบประตูเหล่านั้นคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย..ประตูทั้ง ๕ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนของเรา สักแต่เป็นช่องทางเปิดรับสิ่งต่างๆที่จะมีมาในทางนั้นๆเท่านั้น

- ส่วน นาย ก., นาย ข., นาย ค., นาย ง., นาย จ. ที่เฝ้าประตูทั้ง ๕ ก็คือ วิญญาณทางทวารทั้ง ๕ ได้แก่

๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)

๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)

๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)

๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)

๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)

**ผู้ที่รู้สิ่งต่างๆทางประตูทั้ง 5 ก็คือนายทวาร ก. ข. ค. ง. จ. ทั้ง ๕ คนที่รู้ ซึ่งรู้เหตุการณ์ ณ ที่นั้นแล้วก็จบเรื่องราวที่รู้ ณ ที่นั้น..ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนของเรา**


- ส่วนนาย ฉ. ผู้เฝ้าสังเกตุการณ์แลดูอยู่หอคอยกลางทาง ๕ แพร่งนั้น ก็คือ ใจ หรือ มโนวิญญาณ

๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) รู้ ไม่ใช่เราที่รู้

**ผู้ที่คอยแลดูอยู่บนหอคอยป้อมปราการกลางทาง ๕ แพร่ง ผู้ที่คอยขี่ม้าเร็วเข้าไปรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายทวารที่เฝ้าอยู่ประตูทั้ง ๕ แพร่ง ก็คือนาย ฉ. ไม่ใช่เราที่รู้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน แล้วนาย ฉ. ก็นำเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมเขียนบันทึกเรียบเรียงสำนวนแล้วมาแจ้งให้พระราชารู้ แล้วก็กลับไปป้อมปราการดังเดิม ไม่อยู่บอกเล่าอะไรที่เกิดขึ้นนอกจากทิ้งสาร์นไว้ให้อ่าน

- ส่วนพระราชาที่เป็นเจ้าเมืองอยู่รอรับข่าวสารนั้น ก็คือ จิต นั่นเอง

** เพราะพระราชาเป็นใหญ่ในเมือง เป็นผู้ที่รู้หมดสิ้นทุกสิ่งที่เกิดมีขึ้นในเมืองโดยไม่ต้องเข้าไปรู้ในเหตุการณ์จริงนั้นๆเอง ได้แต่รอให้นาย ฉ. บันทึดกสานส์ส่งมาให้รู้เท่านั้น โดยที่ไม่เคยรู้เลยว่าสานส์จาก นาย ฉ. ที่เขียนมารายงายนั้นนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม จงลุ่มหลงว่าตนนี่รู้มากเป็นใหญ่รู้หมด มีแต่คนคอยรับใช้ก็มักจะลุ่มหลงในบทความที่นาย ฉ. ส่งมาให้ทั้งๆที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์จริงด้วยตัวเอง จนคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตน ฉันนั้นแล

ดังนั้นวิญญาณขันธ์ หรือวิญญาณทางทวารทั้ง ๖ ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2015, 01:40:08 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #184 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2015, 10:04:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้


            [๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม
สมณพราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ
ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ
สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่ง
เลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่ง.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าพวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญา
ของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่งนั้น จงงดไว้เถิด เราจัก
แสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ปิงคลโกจฉพราหมณ์
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
             [๓๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ
แก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลย
กระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็น
เขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จัก
สะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก
ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของ
เขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้
แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลย
กระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด
ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว
เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไป
เสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย
ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษ
ผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริง
อย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อ
ต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น
และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มี
แก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้น
แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จัก
สะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้
ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรือ
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้
อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขา
ผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จัก
สะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั่นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น
และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขาจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.
             [๓๕๕] ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภ
สักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ
และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า
เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มี
ศักดาน้อย. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย
เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย
ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น
             [๓๕๖] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพ-
*ชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้
บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
นั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขายังฉันทะให้
เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่ง
ศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม แล้วด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะ
ความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น
นอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
ธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติ
ย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก
ไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.
             [๓๕๗] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำ
ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความ
สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความ
สรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. อนึ่ง
เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภ
สักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยัง
ความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความ
ดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายัง
ฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความ
ถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม
แห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น
เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์
เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว. เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด
ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น
ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย
ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์
แก่เขาฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.
             [๓๕๘] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้
บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
นั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะ
ให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม
แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.
เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่
ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้
แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความ
ดำริเต็มเปี่ยม ด้วยญาณทัสสนะอันนั้น. เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้
เราเห็น ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติ
ย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว
เสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น
และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เรา
เรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.
             [๓๕๙] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับ
แล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้
เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้
เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและความ
สรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม
แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีล
นั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิ
ให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่ง
สมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้
สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่า และประณีตกว่า ญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. ดูกรพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็น
ไฉน? ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.
แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
ญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป
เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า
อากาศหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
ญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
             อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. แม้ธรรมข้อนี้
ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
ญาณทัสสนะ.
             เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้
แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมา
ฉันนั้น.
             [๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ
เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็น
ประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่
คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่
พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับ
พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.


จบ จูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐
จบ โอปัมมวรรค ที่ ๓

-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้
                          เรื่องพระโมลิยะภัคคุนะ เรื่องภิกษุชื่ออริฏฐะ
                          เรื่องอันธวัน เรื่องพระปุณณะ นิวาปสูตร
                          ปาสราสิสูตร จูฬหัตถิปโทปมสูตร มหาหัตถิ
                          ปโทปมสูตร มหาสาโรปมสูตร จูฬสาโรปม
                          สูตร.

-----------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2015, 08:41:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #185 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2015, 08:54:36 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

20/12/58 เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น

ตั้งแต่หลังเข้าพรรษามาเรายินดีในศีลมาตลอด จึงตั้งมั่นในศีล แต่ไม่ได้ทำสมาธิเลย นานๆถึงจะนั่งบ้าง หรือ เพ่งกสินไฟและอาโลกสัญญาก่อนนอนบ้าง จะมีก็เจริญสติไปเรื่อย ใช้ขณิกสมาธิพิจารณาธรรม เป้นเหตุให้จิตตั้งมั่นไม่พอทำให้จิตไม่เกิดกุศลัปัญาฉลาดในการปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ เป็นเหตุให้เข้าไปยึดจับเอาทุกสิ่งมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต จนเกิดอุปกิเลส และ การกระทำที่เป็นไปตามสมมติกิเลสเป็นอันมาก ซึ่งเกิดทุกข์มากๆ จึงได้เข้าสมาธิ พิจารณาให้ปลงใจ เพราะห่างสมธิมานานได้มากสุดก็แค่ความสงบกับเห็นวสีเข้าสมาธิลางๆเท่านั้น ซึ่งได้แค่ขณิกสมาธิ คือ ความสงบใจเท่านั้น แต่ก็ยังพอยกขึ้นพิจารณากิเลสได้ โดยเห็นโดยเนกขัมมะวิตกได้ดังนี้



    ก. ครั้งนั้นได้เกิดอารมณ์ที่ปลงใจด้วยกุศล ทำให้เห็นว่า

    เมื่อคราที่เราไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ ไม่เกิดความน่าใครน่าปารถนาในสิ่งไรๆ ไม่ตรึงตราใจในอารมณ์ เพราะจิตไม่ยึดอารมณ์ไรเวทนาอันใด ไม่มีความติดตรึงน้อมในอารมณ์ไรๆ ไม่เกิดความกำหนัดหมายใจฝักใฝ่ใคร่เสพย์ในอารมณ์ ความเร่าร้อน ความทุกข์ ความกระสันเงี่ยน ความโกรธแค้นผูกเวรผู้กแค้น มีใจคิดเบียดเบียน ร้อนรุ่ม เร่าร้อน ลุ่มหลงในอารมณ์สมมติที่เกิดจากอุปกิเลส คือ ความคิดนั้นนั้นก็ไม่มีเลย มันสบาย เบา ผ่องใส ปราโมทย์ อิ่มเอิบ เป็นสุขด้วยความสงบใจจากกิเลสนั้น




    ข. ย้อนหวนคำนึงถึงเมื่อตอนก่อนจะปลงใจจากกิเลสนั้น มันทุกข์จริงๆ

- แค่ได้เห็นผู้หญิงที่เราสำคัญว่า สวยเซ็กซี่ ขาว ใส่ชุดอันวิจิตรที่ให้เห็นรูปทรงส่วนต่างๆชัดเจน..ก็ติดใจข้องแวะร้อมรุ่มกระสันหมายใจฝักใฝ่ที่จะได้เสพย์เมถุนกับเขาจนทนไม่ไหว
- แค่ได้ยินเสียงผู้หญิงก็ฟังสำเนียงด้วยสำคัญใจว่า เซ็กซี่..ก็ติดใจข้องแวะมันคิดไปถึงเสียงในกามเมถุน แล้วก็เงี่ยนกระสัน ถูกราคะกลุ้มรุมอย่างแรงมันร้อนรุ่มกระสันจนทนไม่ไหว
- แค่ได้กลิ่มน้ำหอมจากหญิงที่้เราสำคัญว่า สวยเดินสวนทางกัน..ก็ติดใจข้องแวะร้อมรุ่มกระสันผูกใจใคร่เสพย์อยากสูดดม
- แค่ได้สัมผัสถูกต้องกายหญิงที่เราสำคัญใจไว้งาม..ก็ติดใจข้องแวะ มันก็ร้อมรุ่มกระสันอยากจะสัมผัสไปทั่วร่างเขา อยากลูบไล้เสพย์เมถุนกับเขา ทำให้กระสันอย่างมาก

- แค่ได้เห็นบุคคลหรือสิ่งไรๆที่เราสำคัญว่า ไม่พอใจยินดีเขา ไม่ชอบ เกลียดชัง ก็ติดใจข้องแวะด้วยความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เร่าร้อนผูกความขัดเคืองใจ จนมีจิตเบียดเบียนหมายใจอยากทำลายให้สิ่งนั้นบุคคลเหล่านั้นจงฉิบหายไปเสีย
- แค่ได้ยินเสียงบุคคลหรือสิ่งไรๆที่เราสำคัญว่า ไม่พอใจยินดีเขา ไม่ชอบ เกลียดชัง ก็ติดใจข้องแวะด้วยความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เร่าร้อนผูกความขัดเคืองใจ จนมีจิตเบียดเบียนหมายใจอยากทำลายให้สิ่งนั้นบุคคลเหล่านั้นจงฉิบหายไปเสีย
- แค่ได้กลิ่มบุคคลหรือสิ่งไรๆที่เราสำคัญว่า ไม่พอใจยินดีเขา ไม่ชอบ เกลียดชัง ก็ติดใจข้องแวะด้วยความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เร่าร้อนผูกความขัดเคืองใจ จนมีจิตเบียดเบียนหมายใจอยากทำลายให้สิ่งนั้นบุคคลเหล่านั้นจงฉิบหายไปเสีย
- แค่ได้ลิ้มรสอาหารหรือสิ่งไรๆที่เราสำคัญว่า ไม่พอใจยินดี ไม่ชอบ ก็ติดใจข้องแวะด้วยความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เร่าร้อนผูกความขัดเคืองใจ จนมีจิตเบียดเบียนหมายใจอยากทำลายให้สิ่งนั้นบุคคลเหล่านั้นจงฉิบหายไปเสีย
- แค่ได้สัมผัสบุคคลหรือสิ่งไรๆที่เราสำคัญว่า ไม่พอใจยินดีเขา ไม่ชอบ เกลียดชัง ก็ติดใจข้องแวะด้วยความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เร่าร้อนผูกความขัดเคืองใจ ไม่อยากพบเจอ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน จนมีจิตเบียดเบียนหมายใจอยากทำลายให้สิ่งนั้นบุคคลเหล่านั้นจงฉิบหายไปเสีย

นี่น่ะทำให้เห็นเลยว่า นี่มันทุกข์จริงๆ ทุกเพราะอุปนิสัยความคิดทั้งสิ้น ทั้งๆที่มันก็แค่สมมติเอาสิ่งที่เป็นอดีตผ่านไปแล้ว ทำให้เหมือนเกิดขึ้นอยู่ ณ เบื้องหน้าปัจจุบัน หรือ คิดสมมติปรุงแต่งสืบต่อจากสิ่งที่รู้อารมณ์ให้เป็นไปตามอุปนิสัยวันดานตาม ราคะ โทสะ โมหะของตน หรือ คิดปรุงไปใรอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ไม่ใช่ปัจจุบันเลยทุกข์ก็เพราะคิด เพราะติดในสมมติกิเลสนี่แหละ




จากเหตุการณ์นี้เราจึงได้หวนพิจารณาว่า จะทำไฉนหนอถึงจะหลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ไปได้ ก็ได้พิจารณาเห็นว่า

จากเหตุการณ์นี้เราจึงได้หวนพิจารณาว่า จะทำไฉนหนอถึงจะหลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ไปได้ ก็ได้พิจารณาเห็นว่า

ความสุข อันหาประมาณมิได้นั้น คือ โลกุตระ แล้วสุขในโลกียะ ก็มาจาก.. ➠ ความไม่ติดใจข้องแวะยินดียินร้ายในสิ่งไรๆทั้งปวง

ความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งปวง ก็มาจาก.. ➠ ความไม่คิดปรุงแต่งสมมติสืบต่อ แค่เพียงสักแต่ว่ารู้เท่านั้น

ความไม่คิดปรุงแต่งสมมติสืบต่อ แค่เพียงสักแต่ว่ารู้ ก็มาจาก.. ➠ ความฉลาดในการปล่อยวางนั่นเอง

ความฉลาดในการปล่อยวาง ก็มาจาก.. ➠ กุศลจิต กุศลธรรมนั่นเอง

กุศลจิต ก็มาจาก.. ➠ อุบายเครื่องกุศล คือ คิดชอบ คิดออกจากทุกข์ จิตมีพรหมวิหาร ๔ เว้นจากการเบียดเบียนด้วยศีล ทาน คือ ละอภิชฌา ความละโมบ ยินดี อยากได้ไปทั่วไม่เว้นแม้บุคคลและสิ่งของของผู้อื่น โทมนัส ความคิดเบียดเบียน ความยินร้ายผูกแค้นเคืองหมายใจทำร้ายเขาให้ฉิบหาย มีความสละให้ผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว ไม่ลุ่มหลงหวงแหนลุ่มหลงในสิ่งที่ปรนเปรอตน อบรมจิตด้วยภาวนา คือ สติ สมาธิ ปัญญา

พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน ภาวนา ก็มาจาก.. ➠ การทำเหตุแห่งกุศลบารมีให้ดี

อีกประการหนึ่ง..ทบทวนกลับไปกลับมา ก็ได้พิจารณาเห็นแน่ชัดอีกว่า ความไม่ติดใจข้องแวะ ฉลาดในการปล่อยวาง ล้วนมาจาก สติ สมาธิ ปัญญา กล่าวคือ

ความสุข อันหาประมาณมิได้นั้น คือ โลกุตระ แล้วสุขในโลกียะ ก็มาจาก.. ➠ ความไม่ติดใจข้องแวะยินดียินร้ายในสิ่งไรๆทั้งปวง

ความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งปวง ก็มาจาก.. ➠ ความไม่คิดปรุงแต่งสมมติสืบต่อ แค่เพียงสักแต่ว่ารู้เท่านั้น

ความไม่คิดปรุงแต่งสมมติสืบต่อ แค่เพียงสักแต่ว่ารู้ ก็มาจาก.. ➠ ความฉลาดในการปล่อยวาง คือ กุศลจิตนั่นเอง

กุศลจิต หรือ ความฉลาดในการปล่อยวาง ก็มาจาก.. ➠ ความที่จิตไม่เสพย์ไม่ยึดในอกุศลวิตก

ความที่จิตไม่เสพย์ไม่ยึดในอกุศลวิตก ก็มาจาก.. ➠ จิตที่ตั้งมั่นชอบ คือ จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน จิตตั้งอยู่ด้วยความไม่ลุ่มหลงเสพย์สิ่งสมมติของปลอม
(เพราะจิตตั้งมั่นชอบเรียกได้ว่า จิตเป็นพุทโธ จะมีสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบล้างความหมายรู้อารมณ์ที่เป็นไปในอกุศล ละความสำคัญมั่นหมายใจที่เป็นไปในอกุศล ไม่วิตกจริตฟุ้งเฟ้อ แยกจิตตัวรู้ กับสังขารปรุงแต่งจิต ทำให้จิตไม่มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน)

สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบด้วยกุศล ก็มาจาก.. ➠ อุบายเครื่องกุศล คือ คิดชอบ คิดออกจากทุกข์ด้วยมีสติเป็นเบื้องหน้า ไม่มีสติหลงลืมไปตามสมมติกิเลส มีสติสังขารด้วยโดยรอบให้จิตตั้งอยู่ใน พรหมวิหาร ๔, เว้นจากการเบียดเบียนด้วย ศีล ทาน คือ ละอภิชฌา ความละโมบ ยินดี อยากได้ไปทั่วไม่เว้นแม้บุคคลและสิ่งของของผู้อื่น โทมนัส ความคิดเบียดเบียน ความยินร้ายผูกแค้นเคืองหมายใจทำร้ายเขาให้ฉิบหาย มีความสละให้ผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว ไม่ลุ่มหลงหวงแหนลุ่มหลงในสิ่งที่ปรนเปรอตน, อบรมจิตด้วยภาวนา คือ สติ สมาธิ ปัญญา (อุบายเครื่องกุศลทั้งปวง ล้วนมีสติเป็นเบื้องหน้าทั้งหมด ทำให้จิตจดจ่อตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ด้วยกุศล)

พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน ภาวนา ที่ทำให้เกิด สัมมาสมาธิ ก็มาจาก.. ➠ การทำเหตุสะสมในอุบายแห่งกุศลทั้งปวง

การทำเหตุแห่งกุศลบารมีให้ดีทำได้จากการ อบรม กาย วาจา ใจ ดังนี้

๑. ทำจิตให้หัดเสพย์หัดรู้อารมณ์แต่ปัจจุบันขณะ ไม่ตรึกนึกคิดสมมติสืบต่อจากปัจจุบันที่รู้อารมณ์อยู่นั้น จนเป็นอุปนิสัย,
 ๒. มีสติ+สัมปะชัญญะ,
 ๓. มีความพอใจรักใคร่ยินดีความตั้งใจ ตั้งจิตมุ่งมั่นใน ศีล ทาน มีพรหมวิหาร ๔ คลุม,
 ๔. มีความเพียรในธรรมเครื่องกุศลที่ทำให้เฉลาดในการปล่อยวาง ไม่เหลาะแหละ เพียรระวังอกุศลไม่ให้เกิดมีขึ้น เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรเจริญกุศลให้เกิดมีขึ้น เพียรรักษากุศลคงไว้ไม่ให้เสื่อม ทำจิตให้ผ่องใสสว่างไสวดุจดวงประทีป อาโลกะสัญญา มีจิตปราศจากนิวรณ์,
 ๕. ภาวนาอบรมจิตด้วยความมีสติสัมปะชัญญะเป็นเบื้องหน้าในปัจจุบัน
 ๖. ภาวนาอบรมจิตด้วยการเจริญสมาธิในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง,
 ๗. ภาวนาอบรมจิตด้วยปัญญาในธรรมโดยหมั่นไตร่ตรองพิจารณาลงในธรรมด้วยการมีจิตตั้งมั่นเข้าไปรู้จากสภาพจริงที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความคิด แต่ถ้าหากตัดคิดไม่ได้ก็ให้ใช้ปัญญาทางโลกด้วยวืเคราะห์ไตร่ตรองในความจำได้หมายรู้ความสำคัญมั่นหมายของใจไรๆให้เห็นในผล และ เห็นถึงเหตุ โดยกำหนดรู้ทุกข์จากมัน จากความรู้สมมติจากอารมณ์เหล่านั้นก็ดี จากความคิดก็ดี จากการกระทำไรๆทางกายและวาจาก็ดี หวนระลึกถึงความเป็นมาที่ทำให้ผลอันเป็นทุกข์เกิดมีขึ้นนั้น ให้รู้เห็นในสิ่งที่ควรละ แล้วเพียรตัด ถาก ขุด ที่รากเหง้าของมันออกมาให้สิ้นไป
 ๘. เห็นแจ้งสภาวะธรรม ความดับสิ้นไม่มีสมมติกิเลส พิจารณาเห็นสาเหตุที่ทำให้เราเข้าถึงความไม่เสพย์ ไม่หลง ไม่ยึดในสิ่งเหล่าใดที่ทำให้กายใจเราเร่าร้อนไม่สงบสุข จนเห็นทางทำเหตุเพื่อถึงความดับความพ้นทุกข์ที่เกิดมีอยู่นั้น มีความพอใจยินดี ตั้งใจไม่่กลับกลอกเหลาะแหละในทางปฏิบัติอันสะสมเหตุที่ดับจะสมมติกิเลสเหล่านั้น แล้วทำเหตุนั้นให้มาก อย่าไปสนใจผล จนเมื่อมันอิ่มมันเต็มมันก็จะกลายเป็น อุปนิสัย ไปจนถึงบารมีแก่เราเอง.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2015, 12:34:17 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #186 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2015, 12:17:40 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระพุทธเจ้า และ พระอรหันต์สาวกทั้งปวง ย่อมเทศนาให้เราปลงใจให้ได้ก่อน โดยให้เราเห็นทุกข์ เห็นความยากเข็ญลำบากในสิ่งที่เราลุ่มหลงสมมติ ยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพื่อให้จิตเรามันอ่อนควรแก่งานแล้วปลงใจ มีใจใฝ่ธรรมเครื่องกุศล มีใจน้อมไปในธรรมเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่อจิตอ่อนควรแก่งานดังนี้ท่านจึงค่อยสอนกรรมฐาน ที่ท่านไม่เทศกรรมฐานเลยนั้นเพราะเหตุนี้ๆซึ่งเป้นเหตุให้นำพาผู้คนปลงใจลงใน ศีล ทาน ภาวนา ได้เป็นอันมาก แต่คนที่ไม่รู้ มักไม่เห็นค่า เพราะคิดว่าเป็นเปลือกไม่ใช่แก่น แต่หากไม่รู้ว่านี้คือ ใบ นี้คือกิ่ง นี้คือกรัพี้ นี้คือลำต้น นี้คือแก่น ก็สำคัญว่าสิ่งนั้นสิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นแก่นไปทั่ว ซึ่งคนหมู่นี้มักจะไม่มีศีล หรือทำได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือไม่ทำเลย ไม่มีทาน หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง หรือไม่ทำเลย แต่บ้าภาวนาโดยการจดจำ ซึ่งไม่ใช่ภาวนาด้วยความปล่อยวางปลดเปลื้องให้ถึงปัญญา
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #187 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2015, 02:11:47 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

กรรมฐานวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ทางเจริญธรรมคู่อันงาม ทมะ อุปสมะ

จากการปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวง เราได้ใครครวญเสมอๆว่า ทมะ อุปสมะคืออะไร เหตุทำอย่างไร เข้าอย่างไร ถึงอย่างไร จนแจ้งชัดขึ้นมาบ้างตามที่ปุถุชนผู้มีปัญญาน้อยอย่างเราจะเข้าถึงได้ว่า ธรรมพระพุทธเจ้ามี ๓ ระดับ ขั้นต้น ขั้นกลาง และที่สุด

ขั้นต้นของ ทมะ อุปสมะ
อยู่ที่ เมตตา ศีล ทาน


ขั้นกลางของ ทมะ อุปสมะ อยู่ที่ จาคะ สมาธิในพรหมวิหาร ๔ (พรหมวิหาร ๔ ทั่วไปไม่ใช่เจโตวิมุตติ)



ส่วนในขั้นสุดที่ปัญญหาแห่งปุถุชนไม่ถึงของจริงอย่างพระอริยะท่าน จะพอรู้เห็นได้ในโลกียะฌาณ ซึ่งมีทั้งจริงบ้างปลอมบ้าง และปฏิบัติให้ผลได้บ้างแล้ว แต่จิตก็ยังกลับกลอกกลับมายึดกิเลสเหมือนเดิมอยู่โดยยังไม่สิ้นไป คือ "สติ เจตนา มนสิการ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ" ดังนี้

ทมะ     :   มีอาการที่เจตนาเข้าไปทำใจไว้ในอารมณ์แห่งกุศล ทำไว้ในใจถึงกุศล ทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงความไม่ยึด ความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งภายนอกทั้งภายใน ความว่าง เป็นที่ว่าง ความไม่มี
มีสติตั้งอยู่เป็นเบื้องหน้า ขันติ โสรัจจะ ให้สติสังขารอยู่โดยรอบ

อุปสมะ  :   ความสิ้น ความดับ ความสละคืน เป็นผลอันเกิดจากทมะนั้น
มีสมาธิ ปัญญา วิราคะ วิมุตติ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดผล




การเพ่งกสินแสง อาโลกกสิน อาโลกสัญญา

เอาจิตกำหนดนิมิตความจำได้ในวงแสง จับที่วงแสงสว่าง ดวงแก้ว แสงไฟที่สว่างไสว แต่ให้จิตเพ่งที่ประกายแสงที่ทอออกมาจากดวงแสงสว่างนั้นๆเท่านั้น ด้วยรู้ว่านี้คือแสง บริกรรม อาโลกังกสินัง แสงๆ หรือทำไว้ในใจให้รู้ว่าแสงก็ได้


**แต่หากทำอาโลกสัญญาในอิทธิบาท ๔ คือ จิตที่สว่างไสว ให้นึกถึงดวงจิตที่สว่างไสวเป็นสีทองเป็นประกายจ้าที่เราเคยเห็นในสมาธิ หากลืมแล้วระลึกไม่ได้แล้ว ก็ให้เอาจิตกำหนดรูปที่จำได้ถึงที่ดวงแก้ว ดวงไฟ หลอดไฟสปอร์ตไลท์สีขาวหรือเหลืองทอง ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ที่สว่างไสว แล้วเพ่งในอารมณ์นั้นไปเรื่อยๆ เอาจิตเพ่ง ทำว่าจิตเรานี้แหละปกติสว่างไสวเป็นเหมือนดวงไฟที่สว่างไสวนั้น เวลาเราใช้จิตเพ่งเรากำหนดทำอยู่ 2 จุดที่เป็นสติ คือ

1. หลับตามองออกไปที่เบื้องหน้ากำหนดระลึกถึงดวงไฟที่สว่างไสวนั้น

2. หลับตากำหนดว่าจิตเป็นดวงไฟ เอาจิตเพ่งดวงไปสภาวะที่สติจับเป็นฐานที่อาศัยจิตคือเหนือสะดือขึ้นมานิดหน่อย สังเกตุรู้โดยจุดพักลม จุดที่ลมผัสสะที่ท้องที่รู้สึกได้ในอานาปานสติ

3. กำหนดว่าดวงไฟที่สว่างไสวเหล่านั้นคือ ดวงจิต คือ มโน คือ ปฏิสนธิวิญญาณของเรา ที่ปกติมันสว่างไสวเพราะไม่มีกิเลส อาศัยกิเลสที่จรมาให้หม่นหมองเหมือนหมอกบังจันทร์ ดังนั้นก็ทำให้ดวงจิตนั้นสว่างไสว คือ กำหนดดวงไฟนั้นแหละเอาจิตจับจำเพาะดวงไฟที่สว่างไสวนั้นโดยไม่สน ไม่ยึดความคิดทั้งปวง กิเลสทั้งปวง พึงตั้งว่าจิตไม่มีกิเลส ดวงจิตจึงสว่างไสว ทำใจให้ไม่มีกิเลสนิวรณ์ก็คือเอาจิตจับแต่ดวงไฟที่สว่างไสวเท่านั้น ไม่ทำให้ดวงไฟนั้นหม่นหมอง ทำไปเรื่อยๆ บ้างดวงไฟแยยกร่างย้ายไปมุมบน ล่าง ซ้าย ขวา หรือซ้อนกัน ก็แค่ให้รู้ ทำใจให้เฉยรู้แค่เป้นดวงแสง มันจะไปที่ไหนก็ช่างก็คือดวงจิตที่สว่างไสว คือดวงแสง แต่ไม่เอาจิตวิ่งไปตามมัน ปักหลักตัวรู้ไว้กับที่ มันจะเกิด จะดับก็ช่างมัน ปักหลักตัวรู้ให้อยู่กับที่ไว้ เดี๋ยวมันก็ปรากฏมาใหม่เอง อยู่เบื้องหน้าเลย ภาวะนี้ถ้าจิตวูบ มันดิ้งลงไปในนิมิต รู้แต่อยู่ไม่มีความคิดเหมือนคลับคล้ายคลับคลาลางๆ เหมือนจะจำอะไรไม่ได้ เหมือนจะวูบไห เหมือนจะหลัง จะดิ่งไปในนิมิตก็ช่างมันปล่อยมันไปให้สุดนั้นแหละ มันจะเข้าฌาณเอง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2015, 11:12:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #188 เมื่อ: มกราคม 04, 2016, 08:47:05 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อินทรีย์สังวร ว่าด้วย สติ สัมปะชัญญะ ลงใน สัมมัปปธาน ๔

สติ ทำให้เกิดขึ้นเป็นอินทรีย์สังวร ควบคุมใจในปัจจุบันขณะ มีความรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเป็นปัจจุบันในเบื้องหน้า อยู่ด้วยความสักแต่ว่า คลุมจิตอยู่ให้ถึงความปลงใจ ปล่อยวาง ไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกไรๆมาปรุงแต่งสมมติเสพย์ความตรึกนึกคิดสมมติไปทั่วให้ทวีคูณกิเลสตัณหาสมมติกิเลสอกุศลธรรมทั้งปวง คือ

รู้อารมณ์ความรู้สักนึกคิดสมมติปรุงแต่งไรๆทางใจ..ก็สักแต่ว่า..รู้ว่ามีอารมณ์ความรู้นึกคิดปรุงแต่งอย่างนั้นๆขึ้นในใจ รู้ว่าเป็นอกุศลธรรมเหล่าใด ก็ให้สักแต่ว่ารู้ว่าอกุศลธรรมเหล่านั้นมีเกิดขึ้นแก่ตน ยังคงมีอยู่ในตน ยังคงมีมากหรือน้อยในตน ไม่ได้ให้รู้เพื่อเศร้าหมองกายใจ ไม่ได้ให้รู้เพื่ออัดอั้นคับแค้นกายใจ ร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ แต่ที่ให้รู้ว่ามีอกุศลเกิดขึ้น มีมาก หรือ น้อยในตนนั้นก็เพื่อให้รู้ว่า..เรานั้นยังคงมีกิเลสตัณหาอกุศลธรรมทั้งปวงนี้มากอยู่ มีกิเลสเหล่าใดมาก เกิดขึ้นบ่อยๆที่ควรปหานก่อน มีกิเลสเหล่าใดน้อย หรือที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ต้องขจัดให้สิ้นไป แลเพื่อให้รู้ว่า..เหตุเรายังทำไม่พอ หรือ ทำไม่ถูกจุด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกทาง ยังไม่เห็นทางเข้า ยังไม่แม่นวสี ยังโออนอ่อนอยู่ ยังคล้อยตามกิเลสอยู่ ยังติดหลงในสมมติอยู่ ยังทำไว้ในใจยังไม่เป็น จิตยังมีกำลังไม่พอต่อสู้กับกิเลสที่ทับถมอยู่ในจิตมานับล้านๆอสงไขยให้สิ้นไปได้ ทำให้รู้ว่า..เรายังต้องเพียรเจริญสะสมในเหตุอีกมาก ด้วยความไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงโอนอ่อนให้กิเลสมัน ด้วยทำความเพียรประครองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ให้มั่นที่จะขจัดกิเลสไม่หลงเสพย์ ไม่ติดใคร่ในสมมติกิเลสทั้งปวง ให้ถึงความดับ ความไม่มีกิเลส เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระทศพล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา


สัมปะชัญญะ ทำให้เกิดขึ้นเป็น อินทรีย์สังวร ควบคุมกาย วาจา ในปัจจุบันขณะ มีความรู้ตัวเป็นปัจจุบันในเบื้องหน้า อยู่ด้วยความสักแต่ว่า คือ

ได้เห็น..ก็สักแต่ว่า..เห็น.. คือ เมื่อเห็นก็รู้เพียงว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นๆ คืออะไร กำลังทำกิจการงานใด ดำเนินไปอย่างไร มีอิริยาบถไรๆอยู่เในปัจจุบันท่านั้น ..ส่วนเรานี้ก็มองย้อนมาดูว่าเรากำลังอยู่อย่างไรทำกิจการงานไรๆอยู่ กำลังดำเนินไปอย่างไร มีอิริยาบถอย่างไรในปัจจุบัน ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องยุ่งเกี่ยวสัมพันธ์ สัมผัสไรๆกับเขา แต่จิตเรานี่แหละมันคิดเกินความจริงเกินสิ่งที่รู้เห็นมันติดคิดสมมติในราคะจึงเงี่ยนกระสันคิดไปถึงเมถุน จึงมองเขาโดยนิมิต มองด้วยอนุพยัญชนะ ..สิ่งที่เราเห็นตรึงตราใจอยู่นั้นๆ มันก็แค่เพียงสิ่งหนึ่งๆที่มีอยู่นับล้านๆที่กระตุ้นความเสวยอารมณ์ปั่นคนอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ให้ฟุ้งกระจายขึ้นมาประดุจพายุให้จิตหลงเสพย์ อาศัยความจำได้หมายรู้อารมณ์ ความสำคัญมั่นหมายของใจในอารมณ์อันเป็นไปในราคะต่อสิ่งที่เรารับรู้อยู่นั้นๆ สร้างความตรึกนึกติดใคร่มาให้เราหลงยึดเสพย์สมมติ หมายใจใคร่กระสันเงี่ยน เป็นทุกข์
ดังนั้นเราก็ต้องทำเหตุให้รู้เพียงปัจจุบันรู้ว่า..
๑. ปัจจุบันนั้นๆห็นอะไร รูปลักษณ์อย่างไร สีอะไร(สีผม สีผิว สีเสื้อผ้า) เขากำลังทำกิจการงานใด อยู่ในอิริยาบถไรๆเท่านั้น อยู่ใกล้ อยู่ไกลกับเรา
๒. รู้ว่าตนตรึกนึกคิดสืบต่อสมมติ ติดสมมติอะไรใคร่กระสันตรงไหนอย่างไร ก็ละคสามผูกใจหมายใจ สำคัญใจไว้ต่อสมมตินั้นๆไปเสีย หรือ เมื่อรู้ว่าตนคิดสืบต่อสมมติเป็นไปในราคะ ก็ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว บริกรรมระลึกถึง พุทโธ ทำจิตน้อมไปถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ของพระสัพพัญญูเจ้า ให้เราได้ถึงตามคุณนั้นของท่าน หรือ ตั้งจิตพิจารณาใน อาการ ๓๒ บ้าง ม้างกายออกดูว่ามีตัวตนเราเขาในอาการนั้นๆไหมจนเห็นความไม่มีเราหรือเขาในนั้น ในนั้นไม่มีเราหรือเขา หรือ กำหนดนิมิตระลึกถึงดวงจิตที่ปกติสว่างไสวแต่ต้องมัวหมองอับแสงเพราะกิเลสที่จรมาก็ให้ปักหลักดวงจิตนั้นไว้ตั้งมั่นปักไว้ไม่เอนเอียงไปติดสมมติกิเลสขัดล้างทำจิตให้สว่างไสวดุจดวงอาทิตย์ ลักษณะของแสงคือ ส่องสว่าง เป็นประกาย ไม่มืดมิด แม้กลางวัน แม้กลางคืน
๓. รู้อารมณ์ตามจริง ของจริง อาการจริง โดยไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ อุบายว่าจิตรู้สิ่งใดล้วยนเป็นสมมติทั้งหมด ทำจิตประดุจอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณบ้าง, อุปสมานุสสติ โดยทำไว้ในใจไม่เสพย์สิ่งที่จิตรู้แล้วตั้งจิตมั่นอยู่ในความไม่มีบ้าง ,วิราคะสัญญา นิโรธสัญญา ตือ ความดับสิ้นกิเลสบ้าง ความสละคืนบ้าง

ได้ยิน..ก็สักแต่ว่า..ได้ยิน...

ได้กลิ่น..ก็สักแต่ว่า..ได้กลิ่น...

ได้รู้รส..ก็สักแต่ว่า..ได้รู้รส...

ได้รู้สัมผัสทางกาย..ก็สักแต่ว่า..รู้สัมผัสทางกาย...


สติ และ สัมปะชัญญะ ท่านอาศัย..ทำความชอบใจ ความพอใจ ความใฝ่ใจยินดีในกุศลความปล่อยวาง ไม่ติดใจยินดี,ไม่ติดใจข้องแวะในบาปอกุศลเพื่อความพ้นทุกข์ให้เกิดมีขึ้น แล้วพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ ปฏิบัติให้เกิดมีขึ้น

๕. สัมมัปปธานสังยุต
ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔


[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

- ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
- เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
- เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
- เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
- เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.


[๑๐๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็น
ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.


[๑๐๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.


ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่าง เหล่านั้น
อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึงขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน)



จบ วรรคที่ ๑
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2016, 09:38:59 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #189 เมื่อ: มกราคม 04, 2016, 07:44:53 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


บันทึกกรรมฐาน วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๙
วันนี้เป็นวันครบรอบวันตายของ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ครบ ๓ ปี

วิธีดูลมหายใจในการเจริญสมาธิ ด้วยพุทโธ และ อานาปานสติ
(ทำให้มีขึ้น เกิดมีขึ้นซึ่งจิตตั้งมั่น)

   อานาปานสติ คนทั่วไปมักจะเพ่งเอาแต่ลมเข้าลมออกเท่านั้น แม้จะปักหลักจุดไว้ที่ปลายจมูก หรือที่หว่างคิ้ว หรือที่กระหม่อม หรือที่โพรงสมองกวง หรือที่ท้ายทอย หรือที่คอ หรือที่หน้าอก หรือที่ท้องก็ตาม แต่ส่วนตัวจำเพาะเราแล้วได้เจริญปฏิบัติคิดพิจารณาทบทวนจากผลโดย โดยสัญญาความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ ที่พิจารณาเห็นมีสติรู้อยู่เมื่อตอนเข้าฌาณสมาธิ ได้บ่อยๆนั้น มันไม่ได้เพ่งลมเข้าออกอย่างนั้น แต่จิตมันเพ่งรู้ผัสสะที่ลมแรกเข้าแล้วดูที่ปลายลมเมื่อสุดลมหายใจเข้า เพ่งรู้ผัสสะที่ลมแรกออกแล้วดูที่ปลายลมหายใจออก

การเจริญที่พอจะจำได้มีดังนี้

- ดูอาการลมที่หายใจเข้า.. ต้นลมมันผ่านแตะกระทบสัมผัสที่ปลายจมูก มีอาการลักษณะที่ตรึงเคลื่อนไหวเข้าโพรงจมูก ปลายลมสุดที่ไหน ลมหายใจเข้าก็สุดที่นั่น
- ดูอาการลมที่หายใจออก ต้นลมมันผ่านโพรงจมูกไป มีอาการลักษณะที่ตรึงเคลื่อนไหวแตะกระทบสัมผัสปลายจมูกด้านใน ปลายลมสุดที่ไหน ลมหายใจออกก็สุดที่นั่น
- การทำจิตให้เป็นปกติ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องกลัวจะเจอหรือไม่ได้นั่นนี่ ไม่ต้องตั้งหวังตั้งท่าทรอหรืออยากที่จะเจอสภาวะนั้นๆสภาวะนี้ ทำจิตทำใจให้ประดุจเหมือนสักแต่เป็นผู้รู้ผู้อยู่แต่ไม่มีหน้าที่จะเข้าไปสั่งการหรือไปทำไรๆทั้งสิ้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะพึงทำได้ เช่น ไม่ว่าเราจะคัน จะเจ็บ จะปวด จะวูบสาบเหมือนหล่นจากที่สูง เสียปี๊ดขึ้นเหมือนจะขาดใจตาย จะเอนเอียงโยกเยก จะหลับ จะผงก หรือไรๆก็ตาม ให้พึงระลึกรู้ว่าเราทำได้แค่สักแต่ว่ารู้อาการที่เกิดมีขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ไปสั่งการบังคับทำอะไรได้ แล้วก็รู้ลมหายใจเข้าออกและบริกรรมพุทโธเพื่อให้จิตมีกำลังต่อไป จนเมื่อจิตมีกำลังและชินกับการสักแต่รู้อาการมันก็จะไม่หวั่นไหวไปตามอาการไรๆที่เกิดขึ้น มันจะทำหน้าที่แค่ดู แค่รู้ ตามรู้ แลดูอยู่เท่านั้น ทำกายให้พร้อมเป็นปกติอยู่ที่ลมหายใจ อยู่ที่การหายใจ กำหนดลมหายใจเข้ายาว ออกยาว อยู่ประจำ จะทำให้กายเป็นปกติ จิตและกายเป็นที่สบายตั้งมั่นง่าย




- สมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หลวงพ่ออเสถียร ธิระญาโน ท่านสอนเมื่อเราไปกราบนมัสการท่านประมาณวันที่ 28-29 ธันวาคม 2558 และ ได้ร่วมสมทบทุนสร้างวัด วัดป่าโศกขามป้อม พร้อมนำข่าวสารบุญนี้ไปบอกให้แก่ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายได้ร่วมกันทำบุญสมทบทุนสร้างวัดด้วยกันได้เงินมาจำนวนหนึ่งภายในเวลาประมาณ 1 ชม. ซึ่งคำสอนของหลวงพ่อตามที่เราพอจะจดจำได้โดยสัญญาว่า มีไว้เพื่อให้จิตเข้าความปล่อยวาง ความไม่มี ให้จิตได้พัก เป็นที่พักจิต จิตนี้มันทำงานอยู่ตลอดเวลาไม่เคยได้หยุดพักเลย กรรมฐานมีไว้เพื่อความไม่มี ไม่เสพย์ ไม่ยุ่งของจิต ให้จิตได้พัก ทำให้จิตมีกำลังมากพอที่จะรู้เห็นของจริง เข้าถึงความไม่มี ความดับ ความสูญ เกิดปัญญาเป็นกำลังแก่วิปัสสนาสืบไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 11:39:58 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #190 เมื่อ: มกราคม 08, 2016, 11:58:35 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สรุปหัวข้อการล้างราคะสัญญาที่มีต่ออารมณ์ที่รู้ไรๆ คือ

๑. ลม
๒. สัมปะชัญญะ
๓. อิริยาบถ
๔. สมมติ



แนวทางการเจริญปฏิบัติเมื่อดำรงชีวิตประจำวันได้ดังนี้

๑. สติ รู้ทันความปรุงแต่งจิต คือ รู้ว่าเสพย์สมมติกิเลสของปลอมอยู่ คือ
ก. รู้ว่าเกิดความตรึกนึกคิดคำถึงถึงใน ราคะ โทสะ โมหะ
ข. รู้ว่าสำคัญใจให้เป็นไปใน ราคะ โทสะ โมหะ ต่ออารมณ์นั้นๆ
(ถ้าไม่รู้ตัวว่าเสพย์ความจำได้หมายรู้ ตรึกนึกคิดสมมติ เราก็จะหลงอยู่ในสมมติที่สร้างขึ้นมานั้น ดังนั้นต้องมีสติกำกับเพื่อรู้ตัวรู้ใจก่อน)




๒. สมาธิ คือ มีสติเป็นเบื้องหน้าทำให้เกิดจิตตั้งมั่นขึ้นไม่กวัดแกว่งไปตามสมมติกิเลส
ก. พรหมวิหาร ๔
ข. อานาปานสติ
ค. พุทธานุสสติ
ง. ธัมมานุสสติ
จ. สังฆานุสสติ
ฉ. สีลานุสสติ
ช. จาคานุสสติ
ซ. อุปสมานุสสติ
(ลม คือ หมวดนี้ ถ้าไม่มีสติเพ่งอยู่ในอารมณ์เดียวได้สมาธิก็ไม่เกิดขึ้น เพราะสติเป้นตัวนำสมาธิให้เกิดมีขึ้นจดจ่ออยู่ได้นาน)




๓. สัมปะชัญญะ คือ รู้ปัจจุบันขณะในกิจการงานและอิริยาบถที่ตนกำลังดำเนินไปอยู่ในปัจจุบัน
ก. สัมปะชัญญะบรรพ
ข. อิริยาบถบรรพ
(ในหัวข้อที่แยกระหว่าง สัมปะชัญญะ และ อิริยาบถไว้ เพื่อให้จดจำระลึกรู้กายใจได้ง่าย แต่ทั้ง ๒ อย่างนี้คือ สัมปะชัญญะทั้งหมด)





๔. สมมติ คือ รู้เห็นสมมติตามจริง รู้ว่ากำลังลุ่มหลงตามสมมติกิเลส ตื่นจากสมมติ เบิกบานด้วยความละ ดับ พ้นจากความลุ่มหลงสมมติ


ก. สัญญา ๑๐
ก-๑. อนิจจสัญญา คือ รู้เห็นสมมติตามจริง คือ ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง
ก-๒. อนัตตสัญญา คือ รู้เห็นสมมติตามจริง คือ อายตนะ ๑๒, ผัสสายตนะ ๖(ความรู้อารมณ์ที่ผัสสะในอายตนะ ๑๒) เป็นอนัตตา
ก-๓. อสุภสัญญา คือ รู้เห็นสมมติตามจริง คือ อาการ ๓๒ ประการ
ก-๔. อาทีนวสัญญา คือ รู้เห็นสมมติตามจริง คือ กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เป็นที่ประชุมโรค เป็นกองเแห่งความ เจ็บ ปวด ทุกข์
ก-๕. ปหานสัญญา คือ ตื่นจากสมมติ ยินดีในความไม่หลงเสพย์สมมติ แล้วทำความเพียรประครองไว้ใน สัมมัปปธาน ๔
ก-๖. วิราคสัญญา คือ อุปสมานุสสติ(ดูใน สัญญาสูตร และ มนสิการสูตร)
ก-๗. นิโรธสัญญา คือ อุปสมานุสสติ(ดูใน สัญญาสูตร และ มนสิการสูตร)
ก-๘. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา คือ ตื่นจากสมมติไม่หลงสมมติกิเลสของปลอม
ก-๙. สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา คือ ไม่ติดใจยินดี ความเอืมระอาในสังขารธรรมซึ่งเป็นกองทุกข์ทั้งปวง
ก-๑๐. อานาปานสติ


ข. เวทนานุปัสนา รู้ว่าตนกำลังสุข ทุกข์ เฉยๆ รู้ว่าสุข ทุกข์ เกิดหรือดับไป, เมื่อรู้ว่าเกิดแล้วก็ให้ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ อุบายว่าจิตรู้สิ่งใดล้วนเป้นสมมติทั้งสิ้น

ค. จิตตานุปัสสนา รู้ว่ากิเลส เกิด ดับ แต่สักแต่ว่ารู้ว่ายังมีกิเลสอยู่มากหรือเบาบางลงจนถึงความสิ้นไป โดยไม่ร่วมเสพย์หลงไปตามสมมติ, เมื่อรู้ว่าเกิดแล้วก็ให้ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ อุบายว่าจิตรู้สิ่งใดล้วนเป้นสมมติทั้งสิ้น

ง. ธัมมานุปัสสนา รู้ว่านิวรณ์เกิด หรือ ดับ รู้ว่านิวรณ์ยังมีอยู่หรือสิ้นไป ทำอริยะสัจ ๔ ให้แจ้งประจักษ์ใจ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 01:29:56 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #191 เมื่อ: มกราคม 10, 2016, 09:30:41 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ธรรมชาติของพระอริยะที่ท่านสอนให้มองย้อนดูตน เพื่อสอนให้เรามีสติ กาย เวทนา จิต ธรรม ภายในเรามี ภายนอกมี ไม่ต่างกัน ขณะนี้สิ่งใดเกิด มีมากหรือน้อย เราควรที่จะละสิ่งใดก่อน ควรทำความเพียรตั้งใจไว้ ประครองใจเพื่อการปหานสิ่งใดให้มาก แล้วปลงใจเสีย ไม่ยึด ไม่เสพย์ ไม่หลงอยู่ ท่านผู้ถึงแล้วย่อมมีอุบายวาทะอันวิตรทำให้จิตผู้ฟังน้อมมาสู่ตน ถึงความเห็นจริง

ธรรมชาติของปุถุชนที่มักจะกล่าวว่า ให้ดูตนเอง กลับไปดูตนเอง ทำนั่นหรือยัง ทำนี่หรือยัง เจริญนี่หรือยัง ว่ากล่าวต่อผู้อื่นบ้าง รังเกลียดในบุญกุศลของผู้อื่นบ้าง นั่นเพราะตนมักขุ่นมัวใจต่อผู้อื่นบ้าง ยินดีเพลิดเพลินในความยกตนได้บ้าง ข่มผู้อื่นได้บ้าง ไม่ยินดีต่อกุศลของผู้อื่นบ้าง สักแต่ทำตามสิ่งที่อ่านๆฟังๆที่เชื่อตามๆกันมาบ้าง
ธรรมชาติของบุคคลผู้ที่มักจะกล่าวชักชวนผู้อื่นให้ทำในกุศลโดยไม่เจาะจง มีใจหมายให้ผู้อื่นได้รับสุขแห่งกุศลดีงาม มีจิตเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีอุบายแห่งวาทะอันสื่อให้ถึงตามจริตผู้อื่นได้ ไม่อวดโม้ ไม่อวดตน ไม่ยกตน ไม่หลงตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่ผูกความโกรธแค้น ไม่เบยดเบียน ไม่พร่ำเพ้อ ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ส่อเสียด ไม่พูดเสียดแทง พูดแต่คำจริง เป็นผู้รับฟัง เป็นผู้มักกล่าวอนุโมทนากะผู้อื่น ยินดีในความสุขสำเร็จแห่งกุศลของผู้อื่น  ไม่ริษยาในกุศลความสำเร็จของผู้อื่น เป็นผู้สละ ไม่หวังลาภสักการะ เป็นผู้ไม่ละเลยแม้กุศลเพียงเล็กน้อย เป็นผู้เห็นค่าในกุศลธรรมแม้เพียงเล็กน้อย เป็นผู้เพียรอยู่ทำจิตให้ถึงซึ่งกุศลธรรมทั้งปวง ท่านว่าเป็นกุลบุตรผู้แสวงหาประโยชน์อันพระอริยะเข้าบรรลุบทที่กระทำแล้ว
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #192 เมื่อ: มกราคม 10, 2016, 01:54:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิชชา คือ พุทโธ
อวิชชา คือ ไม่เห็นพุทโธ

วิชชา  คือ จิตรู้เห็นตามจริง
อวิชชา คือ จิตลุ่มหลงสมมติ ไม่รู้ซึ่งสมมติ

วิชชา คือ ถึงธรรมอันแจ้งใน อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา
อวิชชา คือ วิปปัลลาส

วิชชา คือ ดับเจตนาและจิต
อวิชชา คือ อนุสัยกิเลส

วิชชา คือ วิชชา ๘ อันเป็นญาณโลกุตระ
อวิชชา คือ ไม่ถึงวิชชา ๘


อวิชชาสูตร
             [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็
เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา
ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร
กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ
คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ
ไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้
บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้
บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้
บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม
ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่
ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี-
*อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ
สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2016, 02:33:23 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #193 เมื่อ: มกราคม 10, 2016, 03:07:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อวิชชาวิชชาสูตร
             [๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรม
ทั้งหลาย ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป เป็นของมีมาตามอวิชชานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นผิด ผู้มีความเห็น
ผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการ
งานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความ
พยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด
ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมี
ความหลุดพ้นผิด ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริและโอตตัปปะเป็นของมีมาตามวิชชานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวิชชา
เห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ
ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ
ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความ
ระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มี
ความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๕
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #194 เมื่อ: มกราคม 10, 2016, 03:12:40 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เพศนักบวชผู้ปฏิบัตินี้แลเป็นเพศที่เหมาะสม หรือใกล้ชิดติดกับอรรถกับธรรมกับมรรคผลนิพพานอย่างยิ่ง ถ้าทำให้เป็นไปตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นไปตามเจตนาดั้งเดิมที่บวชมาเพื่อมรรคผลนิพพาน งานของพระทุกชิ้นทุกอันจะเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานทั้งนั้น เพราะงานโดยตรงของพระ เป็นงานเพื่อถอดถอนกิเลส เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ตั้งสติมีความรู้สึกตัว ระวังไม่ให้เผลอ ปัญญามีความคิดอ่านไตร่ตรองอยู่เสมอในสิ่งที่ควรละควรถอน สิ่งที่ควรบำเพ็ญ สิ่งที่ควรจะรู้แจ้งเห็นจริง พยายามทำ พยายามพิจารณาด้วยปัญญาอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เว้นแต่หลับเท่านั้น เป็นผู้ทำงานเพื่อรื้อถอนตนออกจากทุกข์ ด้วยอำนาจของความเพียรมีสติปัญญาเป็นเพื่อนสองอยู่โดยสม่ำเสมอ

กิเลสจะมาจากที่ไหน จะยกกองพันกองพลมาจากที่ไหนก็ยกมาเถอะ มันพังทลายทั้งนั้นแหละ แต่กิเลสมีอยู่ที่ใจ เหตุที่กิเลสมีมากจนทำให้เกิดทุกข์เป็นไฟทั้งกองภายในใจก็เพราะความไม่รู้ทันมัน ความไม่เข้าใจวิธีการแก้ การถอดถอนมัน และความเกียจคร้านอ่อนแอ ความสะเพร่ามักง่ายแบบสุกเอาเผากิน อยู่ไปวันๆ ซึ่งมีแต่เรื่องสั่งสมขึ้นมาโดยถ่ายเดียว กิเลสจะหาทางออกทางสิ้นไปช่องไหนได้ เมื่อมีแต่เปิดประตู คือทวารทั้งหกรับมันเข้ามาอยู่ตลอดเวลาดังที่เป็นอยู่นี้ ไม่ยอมปิดและขับไสไล่มันออกไปบ้าง

หลักธรรมท่านสอนไว้ทุกแง่ทุกมุมไม่มีทางต้องติ ฉะนั้น เราควรทำหน้าที่ให้เต็มภูมิ อย่าให้เสียเวล่ำเวลาในความเป็นนักบวชเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม อยู่ที่ไหนให้ถือว่างานเป็นของสำคัญประจำใจ อย่าเห็นงานใดมีความสำคัญยิ่งกว่างานถอดถอนตนให้พ้นจากทุกข์ ผู้นี้แหละผู้ที่ใกล้ชิดต่อมรรคผลนิพพาน ใกล้ต่อความสำเร็จ สุดท้ายก็ผ่านไปได้อย่างหายห่วง

สิ่งที่ปิดบังลี้ลับไม่ให้รู้ให้เห็นก็ไม่ใช่สิ่งใดที่ไหน ได้เคยพูดอยู่เสมอ มีแต่กิเลสทั้งนั้นที่ปิดบังไว้ ไม่ใช่กาล ไม่ใช่สถานที่ ไม่ใช่เวล่ำเวลา ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งใดมาปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน มีกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น จะมีกี่แขนงก็รวมชื่อว่ากิเลส เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหาอะไร มันเป็นเรื่องกิเลสแตกแขนงออกไป

เหมือนกับต้นไม้ที่แตกกิ่งแตกก้านแตกแขนงออกไป ออกจากไม้ต้นเดียวนั้นแหละ กิเลสก็ออกจากใจดวงเดียว "รากฐานของกิเลสแท้ท่านเรียกว่า อวิชชา" มันตั้งรากตั้งฐานอยู่ภายในใจนั่นแล และครอบงำจิตใจไว้ แล้วก็แตกแขนงออกไปเป็นกิ่งเป็นก้านสาขาดอกใบไม่มีประมาณ ดังธรรมท่านว่า กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดอะไรเหล่านี้ มันเป็นกิ่งก้านสาขาของกิเลสอวิชชานั่นแล

**โดยส่วนตัวเราแล้ว อนุสัยกิเลส(ธรรมมารมณ์ เป็นภายนอกที่ยังกระเพื่อมฟุ้งขึ้น) และ เจตนา(เป็นจิต เป็นมโนกรรมในภายใน) ก็คือ อวิชชา ที่สถิตอยู่ในจริต สันดานแห่งจิต ติดตามอยู่ทุกภพชาติ **

เพราะฉะนั้น การพิจารณาจึงต้องพิจารณาตามกระแสของจิตที่เกี่ยวพันกันกับกิเลส ซึ่งทำให้ลุ่มหลงในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส เครื่องสัมผัสต่างๆ พิจารณาคลี่คลายโดยทางปัญญาจะถอดถอนได้ กิเลสผูกมัดจิตใจ กิเลสทำให้มืด กิเลสทำให้โง่ ตัวกิเลสเองมันไม่ได้โง่ มันฉลาด แต่เวลามันมาครอบครองใจเรา เราก็เป็นคนโง่ ไม่ทันกลมายาของมัน เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กิเลสกลัว นำมาขับไล่ปราบปราม

นับบวชต้องเป็นผู้มีความอดทน ตามหลักของนักบวชเป็นอย่างนั้น มีความขยันหมั่นเพียรก็คือนักบวช ชอบคิดอ่านไตร่ตรองก็คือนักบวช ความไม่ลืมเนื้อลืมตัวก็คือนักบวช ความเอาจริงเอาจังในสิ่งที่ชอบธรรมทั้งหลายก็คือนักบวช นักบวชต้องเอาจริงเอาจังทุกงาน ไม่ว่างานภายนอกภายใน มีสติคอยกำกับรักษาใจเป็นประจำ มีปัญญาคอยพิจารณาไตร่ตรองเลือกเฟ้น สอดส่องดูว่าอันใดผิดอันใดถูก ปัญญาแนบนำอยู่เสมอ

ทุกข์ก็ทน คำว่าทุกข์มันไม่ใช่ทุกข์เพราะความเพียรเท่านั้น มันทุกข์เพราะการฝืนกับกิเลสเป็นสำคัญ ความขี้เกียจก็คือเรื่องของกิเลส ความอ่อนแอคือเรื่องของกิเลส เราฝืนความอ่อนแอ เราฝืนความเกียจคร้านซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความเอาจริงเอาจังจึงเป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่ใช่เป็นทุกข์เพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะความต่อสู้กับกิเลส ถ้าเรายังเห็นว่าความต่อสู้กับกิเลสเป็นเรื่องความทุกข์แล้ว ก็ไม่มีทางต่อสู้กับกิเลสได้ และไม่มีวันชนะกิเลสไปได้เลยแม้ตัวเดียว

เราต้องหาอุบายวิธีแก้ไขไม่นอนใจ ตราบใดที่กิเลสยังมีอยู่ภายในใจ การทำความเพียรต้องทำอย่างเข้มแข็งอยู่ตราบนั้น ถอยไม่ได้ ถ้าไม่อยากให้กิเลสบดขยี้แหลกเหลวน่ะ การนั่งนานเกิดความเจ็บปวด นั่นมันเป็นธรรมดา เดินนานก็เหนื่อยเราเปลี่ยนได้พลิกได้ แต่สำคัญที่ความทุกข์เพราะการต่อสู้กับกิเลสนี้มันไม่มีเวล่ำเวลา ถ้าเราไม่ต่อสู้มัน มันยิ่งเอาเราหนัก การต่อสู้มันก็เพื่อชัยชนะ จึงไม่ถือว่าเป็นความลำบากลำบนเพราะเราต้องการอยู่เหนือกิเลส เราต้องการชนะกิเลส เรากลัวกิเลส เราจะเอาอะไรไปสู้กับมัน

เหมือนนักมวยเขาขึ้นชกกันบนเวที ถ้ากลัวกันอยู่แล้วก็ไม่ได้ต่อยกัน เพราะต่างคนก็ต่างหวังเอาชนะกันนั้นเอง หวังชนะทุกคน มันพลีชีพด้วยกันในขณะนั้น จะไปขี้เกียนอ่อนแอในขณะชกกันอยู่บนเวทีได้หรือ ขาดกำลังใจนิดหนึ่งก็ต้องแพ้ เผลอนิดนิเดียวก็ต้องแพ้ถูกหามลงเปลว่าไง ดีแล้วหรืออย่างนั้นน่ะ

เราเป็นนักรบก็ต้องให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นเหมือนนักมวยขึ้นต่อยกันบนเวที จิตใจอยู่กับความชนะทั้งนั้น กำลังใจเป็นรากฐานแห่งความชนะก็มีประจำใจ การตั้งความชนะกิเลสไว้เป็นรากฐานสำคัญ แล้วก้าวเดินเข้าไป ทุกข์ก็ยอมรับว่าทุกข์เพราะต่อสู้กัน เราเข้าสงครามระหว่างกิเลสกับจิต ในธรรมท่านกล่าวไว้ โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน, เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ, ส เว สงฺคามชุตฺตโม. การชนะสงครามที่คูณด้วยล้าน ก็หาได้เป็นความชนะอันประเสริฐไม่ เพราะการชนะเหล่านั้นเป็นเครื่องก่อเวร ผู้แพ้ก็เป็นทุกข์ ผู้ชนะก็ต้องได้ระมัดระวังตัว และเป็นต้นเหตุแห่งความก่อเวรผูกพันกันไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด

แต่ผู้ชนะกิเลสภายในใจของตนเพียงคนเดียวนั่นแล เป็นผู้ประเสริฐสุดยิ่งกว่าการชนะในสงครามที่คูณด้วยล้านนั้นเป็นไหนๆ ความชนะเหล่านั้นสู้ความชนะกิเลสของตนไม่ได้ นี่เป็นพุทธภาษิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2016, 09:40:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 05:49:40 PM