เมษายน 20, 2024, 01:43:10 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407890 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #210 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 12:13:54 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พุทโธ พุทธะ พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก ผู้รู้แจ้งสังขารทั้งปวง
    ธรรมชาติของปุถุชนคนเรานี้ก็มีจิตเป็นผู้รู้ แต่มันรู้เพียงสมมติของปลอม มันปรุงไปรู้อดีตบ้าง ปรุงไปรู้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงบ้าง สมมติไปอดีต อนาคต ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจุุบันขณะ ไม่รู้ของจริงเลย
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก จึงทรงตรัสสอนให้เราได้เป็นผู้รู้จักตัวสมมติของปลอม กับ ของจริง(ยถาภูญาณทัสสะ, สัมมาทิฐิ, อริยะสัจ๔) พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้เราถึงซึ่งความเป็นผู้ตื่นจากสมมติของปลอม เพียรเพื่อดับสิ้นถึงความลุ่มหลงสมมติของปลอมนั้น(อริยะมรรค ๘, โพชฌงค์ ๗, นิพพิทา, วิราคะ) และ เป็นผู้เบิกบานหลุดพ้นแล้วจากความลุ่มหลงสมมติทั้งปวงตามพระองค์(นิโรธ, วิมุตติ)
     พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาได้ทรงสอนให้เราอยู่กับปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน เห็นปัจจุบัน แจ่มแจ้งในปัจจุบัน มีศีล ทาน ภาวนาเครื่องกุศล อินทรีย์สังวรณ์ มีสีลสังวรณ์ ภาวนาเป็นปัจจุบัน ไม่หลงไปกับสัญญาอกุศลธรรมอันลามก ไม่หลงไปกับสมมติกิเลสของปลอมที่สร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงเสพย์หลงยึดว่าจริง ไม่ติดความคิดสมมติไปอดีตบ้างหรืออนาคตบ้าง คำสอนและกรรมฐานทั้งปวงของพระพุทธเจ้าจึงเป็นปัจจุบัน มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น

ด้วยเหตุดังนี้ การที่เราเจริญภาวนามีพุทโธเป็นลมหายใจเข้า-ออกนี้ จึงรู้ได้ว่า

ก. พุทโธ คือ ผู้รู้ปัจจุบัน

ข. พุทโธ คือ ปัจจุบัน




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #211 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 10:33:34 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


คำสอน เรื่อง นโม สำคัญอย่างไร คืออะไร จากหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

๑. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน

เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใด ๆ ก็ดี จึงต้องตั้งนโมก่อน จะทิ้งนโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้นโมก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญจะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โม คือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า มาตาเปติก สมฺภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย – สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมา เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว ก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยง จึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของมารดา โมเป็นธาตุของบิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ นี้ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือน้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เองปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุนโมนั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละก็จะค่อยเจริญขึ้นเป็นอัมพุชะคือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และเปสิคือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา๒ หัว๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือเมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือนโมเป็นดั้งเดิม ในกาลต่อมาเมื่อ คลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า ปุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้งสิ้น มารดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้ กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งนี้เป็น “ มูลมรดก ” ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณท่านทั้งสองจะนับประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ขึ้นตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ภายหลัง นโมท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

๒. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ

นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้คือ เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระโอจากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายและใจเต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้มโนคือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำอะไรจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโนมยา – ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจคือมหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนรู้จักมโนแจ่มแจ้งแล้ว มโนก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลายในโลกจึงต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ถือเอาเป็นสมบัติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง หลงถือว่าตัวเป็นเรา เป็นของเราไปหมด


หลวงปู่บุญกู้ท่านเทศนาสอนเมื่อวันที่ ๑๒ กุทภาพันธ์ ๒๕๕๙ เรื่องกายมุลมรดกจากพ่อแม่และศีล

เท่าที่เราพอจะจำได้ประกอบกับควาาตรึกตรองเข้าใจของเรามีดังนี้ว่า..โลกเรานี้มีหลายทวีป คนเกิดในทวีปใด บ้านใด เมืองใด ก็นับคือจารีตประเพณี ความเชื่อ และ ศาสนาตามในพื้นที่นั้นๆต่างๆกันไป ไม่ใช่ว่าจะเกิดมาเจอพระพุทธศาสนาทุกคน พระพุทธเจ้า
        พุทธะ คือผู้รู้ รู้แจ้งโลก รู้แจ้งสังขาร รู้แจ้งเรื่องบาปบุญคุณโทษ เวรกรรม สวรรค์ นรก พระพุทธเจ้าจึงสอนให้รู้เรื่องทุกข์และสุข เรื่องบาปและบุญ เรื่องกรรมชั่วและกรรมดี เรื่องกุศลและอกุศล เรื่องผลของกรรม สอนให้รู้จักนรกและสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน เพื่อให้เราได้เป็นผู้รู้แจ้งชัดตามพระศาสดาแล้วกระทำความดีเพื่อถึงความหลุดพ้นทุกข์
ดังนั้นหากคนที่เกิดในพื้นที่นั้นๆไม่ได้ชี้แนะสั่งสอนหรือรู้แจ้งถึงกรรม วิบากกรรม บาป บุญ ไม่สอนการละเว้นอกุศล เพียรทำกุศล ศีล ทาน ภาวนา มรรค ผล นิพพาน คนนั้นก็จะไม่รู้จักดีและชั่ว บูญละบาป ก็ย่อมก้าวล่วงที่ต่ำได้ง่าย ด้วยผลของกรรมนั้นเมื่อกายเนื้อนี้แตกตายไปก็ไปเกิดในนรกบ้าง ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง เกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ต้องทำกุศล สะสมศีล มีศีล ๕ จึงจะได้เกิดมาเป็นคนอีก
จากที่กล่าวมาข้างต้นด้วยวัฏฏะสงสารการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดตามบุญและกรรมที่ทำมานี้จะเห็นได้ว่า..กายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราตายจากกายเนื้อนี้แล้วไปเกิดเป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง ไปไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ กี่ภพ กี่ชาติ กี่กัปป์ กี่อสงไขย กี่แสนมหากัปป์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น เราได้กายนี้มาจากพ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดกาย ถ้าไม่มีพ่อแม่เราก็เกิดมาไม่ได้ เพราะมีพ่อแม่ให้กายนี้มา เราจึงมาอยู่ในกายนี้ได้ กายนี้มีชีวิตเป็นเราได้ก็เพราะดวงจิตเราเข้ามาอาศัยมายึดครองเอากายนี้ที่พ่อแม่ให้กำเนิดมา เป็นมูลมรกจากพ่อแม่  ก่อนหน้านี้จิตเดิมเรานี้มันไปเกิดไปอาศัยยึดครองกายอื่นๆเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มามากมาย ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง คนบ้าง ตายจากกายเนื้อก็ไปเกิดเป็นมารบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เทวดาบ้าง แล้วก็มาอาศัยกายเนื้อนี้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง คนบ้างอีก วนเวียนไปนับไม่ถ้วน

** จากคำสอนหลวงปู่มั่น และ หลวงปู่บุญกู้ ทำให้เราเห็นชัดแจ้งขึ้นดังนี้ว่า เพราะกายนี้มันไม่อยู่ยั่งยืนนาน มันมีความเกิดขึ้น แปรปรวน เสื่อมโทรม แล้วก็ดับสลายไปในที่สุด วนเวียนไปมาตามวัฏฏะสงสาร เกิดเป็นสิ่งนั้น แล้วก็ดับไปเกิดเป็นสิ่งนี้ แล้วก็ดับไปเกิดเป็นสิ่งโน้น เวียนว่ายไปทั่วไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ทั้งกายเนื้อที่เราเข้ายึดครอง ทั้งจิตที่ยึดครองก็แปรปรวนไปเรื่อย แล้วก็เสื่อมโทรม ดับสูญสลายไปจากกัน ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนนาน ไม่คงอยู่ได้นาน มีความตายเป็นที่แน่นอน มีความดับสูญไปเป็นที่สุด จะหมายไปบังคับหรือสั่งให้มันเป็นไปดั่งใจปารถนาก็ไม่ได้ แล้วกายที่เราหวงแหนพอใจยินดีอยู่นี้ไม่นานมันก็แตกตายดับสูญไปไม่คงอยู่กับเราอีก ไม่มีตัวตนอันให้จิตเรานี้เข้ายึดครองเป็นตัวตนไรๆได้อีก เหลือแค่กองธาตุที่ไม่มีค่าอะไร แล้วจิตเราก็ตายจากกายนี้ไปเกิดในภพโน้นมีกายอย่างโน้น เกิดในภพนั้นมีกายอย่างนั้น เดี๋ยวก็เวียนว่ายตายเกิดมาเป็นคนบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเทวดาบ้าง แล้วกายเนื้อที่เป็นคนในตอนนี้มันก็ไม่มีตัวตนอีก กายนี้จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แต่อาศัยจิตนี้แหละเข้ามายึดครองจึงเห็นและหลงยึดว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา กายเป็นอนัตตาต่อเรา เราเป็นอนัตตาต่อกาย เราก็ไม่มีตัวตนต่อกายนี้เพราะเมื่อเราตายจากกายนี้ไปก็ไม่มีจิตเข้ายึดครองกายนี้อีก เราก็เป็นอนัตตาต่อกาย **



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 12:51:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #212 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2016, 06:48:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทำเหตุในศีล

ศีล เป็นเหตุแห่งกุศลทั้งปวง เมื่อทำเหตุให้ดีจึงนำไปสู่ผลที่ดี
- ทำเหตุดี-ผลก็ดี ทำเหตุชั่ว-ผลก็ชั่ว


ก. พิจารณาดูว่า อย่างเราเป็นคนฆ่าสัตว์เป็นนิตย์ เจอมดแมลงหรืออะไรก็ตบ แม้ไม่ตั้งใจอยากจะทำกายก็ทำเสียแล้วห้ามหรือยั้งไม่ทันตามสัญขาตญาณหรือสัญญาที่สำคัญไว้แก่ใจ ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นไปนั้นนั่นเพราะเราทำเหตุ คือ ทำใจตั้งเจตนายินดีหมายใจที่จะทำในปาณาติบาตเป็นนิตย์ไม่ให้ความสำคัญสนใจชีวิตเขาเราจึงฆ่าเขาเป็นนิตย์ เมื่อทำเหตุอย่างนี้ๆจนเต็มพอเมื่อเจออะไรขัดใจหน่อยยุง มด แมลงกัด หรือสิ่งไรๆที่ระคายเคืองตนมันก็บี้ปุ๊บตบปั๊บทันทีเพราะสัญญาก็ตั้งความต้องการของจิตไว้บังคับกายให้ทำอย่างนั้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งปาณาติบาต

ข. พิจารณาดูว่า คนลักทรัพย์ทำอยู่เป็นนิตย์ เพราะเหตุที่เข้าไปตั้งเจตนาหมายปองของๆผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ มันก็เคยชิน เมื่อมันเต็มก็เกิดเป็นความทะยานอยากที่จะได้ของเขาอยู่ประจำแม้เขาไม่ได้ให้ในสิ่งนั้นแก่เรา เมื่อมันปะทุแล้วทีนี้เมื่อเจออะไรมันก็จิ๊กเอาหมด อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งอทินนาทาน

ค. พิจารณาดูว่า คนที่ชอบผิดลูกเมียคนอื่น เพราะทำเหตุในความยินดีในเมถุนให้มีมากจนล้นปรี่ จึงเกิดความกระสันทัะยานอยากแสวงหาที่จะเสพย์ในราคะเมถุน จนไม่สนใจว่าคนๆนั้นจะเป็นบุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหนของใครหรือไม่ก็ตาม มันจะสนแต่จะเสพย์ในกามารมณ์อันเกิดแต่ความยึดมั่นถือมั่นติดใคร่ในการสัมผัสกายระหว่างเพศนั้น คือ เมถุนนั่นเอง จะเป็นใครหรืองบุคคลอันมีค่าและเป็นที่รักยิ่งของใครก็ช่างมันไม่สนมันเอาหมด ที่นี้พอเราระลึกอยู่เรื่อยๆ ได้ทำอยู่เรื่อยๆมันก็เป็นเหตุให้กาย วาจา ใจ เป็นไปในกาเมสุมิจฉาจารณ์เสมอๆจนมันเต็ม เป็นจริตนิสัยบารมีกามตัณหาเกิดเต็มมันก็จะแสวงหาทะยานอยากที่จะเสพย์เมถุนไปเรื่อยจนไม่สนลูกเมียตนหรือลูกเมียใครทั้งสิ้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งกามเมสุมิจฉาจารณ์

ง. พิจารณาดูว่า คนที่คิดว่าตนเป็นที่สุด ตนควรได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งนี้ๆไม่ควรเกิดมีแก่ตน สิ่งนี้ๆเป็นตน เป็นของตนบ้าง ตนดีที่สุด ให้ใครเหนือกว่าตนไม่ได้ คนต้องสรรเสริญตน ตนต้องดีกว่าใคร ไม่พอใจที่ใครได้ดีกว่า มีจิตริษยา หมายใจไว้จะทำร้ายผู้อื่น อัตตาเหล่าใด เพราะมีใจอย่างนี้เป็นเหตุ สะสมมันไว้จนให้มันเต็มใจตนจึงเกิดมีความพูดชักจูงเพื่อประโยชน์ส่วนตน วาจาเกิดมาแต่ความคิด วิตกเป็นวจีสังารดังนี้ จึงเกิดการพูดปดอยู่เป็นนิตย์ ยุแยงคนอื่นให้แตกกัน พร่ำเพ้อกล่าวคำไม่จริง ส่อเสียดให้คนแตกกัน ด่าทอ เอาเรื่องของคนนี้ไปบอกคนโน้น เอาเรื่องของคนโน้นมาบอกคนนี้เพื่อให้เขาแตกกัน ยินดีที่เขาแตกกันไม่เป้นกลุ่มสามัคคี นั่นเพราะเขาทำในเหตุอันเป็นมิจจาวาจาดังนั้นมานานทับถมจนเป็นจริตนิสัย อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งมิจฉาวาจา หรือ วจีทุจริตทั้งปวง

จ. พิจารณาดูว่า คนชอบดื่มสุรา ลองคิดดูว่าเมื่อยังเด็กมีใครเกิดมาแล้วกินเหล้าบ้าง ก็ไม่มีเลย แต่พอเมื่อโต เรากินเรื่อยๆ ยินดีในสภาพแวดล้อมตอนกินเหล้าในวงเหล้า ยินดีในสุราเรื่อยๆด้วยเหตุอย่างนี้เป็นต้น ยินดีที่กินเหล้าแล้วทำในอกุศลลามกเรื่อยๆได้ด้วยสนุกสนานด้วยคิดว่ามันระบายกายใจตนได้บ้างเป็นต้น เมื่อทำกาย-วาจา-ใจในเหตุอย่างนี้เรื่อยๆ ทีนี้ความคิดนั้นการกระทำนั้นๆมันก็สะสมเป็นจริตนิสัยขึ้น จนเต็มปริ่มปะทุ ทำให้เป็นคนที่คิดถึงแต่เหล้า อยากกินแต่เหล้าทะยานอยากจะเสพย์เหล้าจนเป็นนิสัยขี้เหล้าที่เราเห้นกันดังนี้แหละ อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

ฉ. พิจารณาดูว่า คนที่ละโมบโลภมาก ย่อมทำในเหตุโดยความยึดตัวตนแนบแน่นในสิ่งที่ปรนเปรอตนเป็นนิตย์ มีความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ยอมจะแบ่งปันอะไรให้ใครแม้แต่เล็กน้อยก็ตาม ถือเอาเป็นตัวตนผูกตนไปเรื่อย เมื่อสร้างความหวงแหนความตระหนี่ ความยินดีในสิ่งที่ปรนเปรอตนให้เป็นเหตุสะสมไปจนเต็มจนกลายเป็นจริตนิสัยที่หวงแหนตระหนี่ขี้เหนียวแค่ตน เมื่อมันเต็มปะทุก็จะมีแต่ความเสียดาย หวงแหนเป็นนิตย์ เพราะเหตุโดยยึดเอาความโลภเอาสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นสุขตนจนไม่ยอมแบ่งปันคิดแต่จะเอาโดยส่วนเดียว แสวงหาอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งๆที่ไม่สามารถเอาสิ่งไรๆตายตามไปด้วยได้เลยนอกจากบุญกับบาป

ช. พิจารณาดูว่า ทีนี้เมื่อทำจิตให้ยินดีในกามคุณ ๕ อยู่เป็นนิตย์ ก็เป็นเหตุให้จิตเรานี้เติมเต็มในอกุศลบารมี มีแต่ความลุ่มหลงในสมมติทั้งปวงทับถมจนเป็นตัวตนอุปาทานมานับไม่ถ้วน หลงโง่คลุกอยู่แต่ในสมมติจนไม่สามารถรับรู้ของจริงได้ แม้จะเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดมานับไม่ถ้วนไม่รู้ว่ากี่ิสงไขยมันก้ยังยิ่งเพิ่มทับถมบารมีแห่งโมหะไปอย่างนั้น เสริมกำลังให้ โลภะ ราคะ โทสะ ไปทุกภพทุกชาติ ทีนี้เมื่อเราไม่ปฏิบัติใน ศีล ทาน ภาวนา จิตเราก็จะทำเหตุสะสมแต่ในของปลอม ของสมมติไปเรื่อยๆ จนเกิดวิปปัลลาส ๓ คือ สัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปปลาส ๑ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา และ อัตตสัญญา)


นี่แหละสาเหตุที่ว่าทำไมเราต้องปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเจริญใน ศีล ทาน ภาวนา นั่นก็เพื่อทำเหตุแห่งกุศลให้ดีให้เต็มนั้นเอง
๑. ทำเหตุในศีลให้ดี..เพื่อล้างโทสะ(เมตตา)
๒. ทำเหตุในทานให้ดี..เพื่อล้างโลภะ(กรุณา,มุทิตา)
๓. ทำเหตุในนภาวนาให้ดี..เพื่อล้างโมหะ(อุเบกขา)


ธรรมจากพระอรหันต์
พระพุทธสารเถระ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน
พระครูอุปัชฌาย์อาจารย์กรรมฐานของผมท่านสอนว่า

ทำเหตุให้ดี ทำเหตุให้ดี.. เหตุไม่ดีจะไปเอาผลได้อย่างไร เอาแต่ภาวนาอย่างเดียวแล้วบรรลุ ก็ไม่ต้องมีศีลทานกันแล้วสิ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสรู้เห็นชัดแล้วว่าศีลทานภาวนานี้เป็นเหตุสะสมไปถึงผลแห่งกุศลดีงาม จึงต้องทำควบคู่กันจึงจะถึงทางหลุดพ้น

ศีล เป็นเหตุให้เราละความเบียดเบียน มีจิตเป็นกุศลไม่เร่าร้อน ไปอยู่ที่ไหนก็สบายกายใจ (ลองดูคนที่ผิดศีลนะมันเร่าร้อนไปอยู่ที่ไหนก็ไม่เป็นสุขสงบ)
ทาน เป็นเหตุให้ถึงความสละ ละความโลภ ไม่ที่ใดก้ไม่แสวงหาทะยานอยากให้เร่าร้อน
ภาวนา เป็นเหตุให้ถึงปัญญา ละความโง่ ความลุ่มหลงสมมติกิเลสทั้งปวง


- ที่พระท่านสอนว่า "ทำเหตุให้ดี" คนเราไม่รู้ว่าคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร ทำไมหัด ทำไมปฏิบัติให้ตนมี "ศีล-ทาน-ภาวนา" ทำไปเพื่ออะไร ซึ่งธรรมข้อนี้ในหนังสือไม่มีสอน คนที่ไม่ปฏิบัติก็จะไม่รู้ได้เลย กล่าวได้แค่มันสูงเกินบ้าง พูดได้แค่ว่านี่คือฐานบ้าง แต่ไม่รู้เลยว่าทำไมจึงเป็นพื้นฐาน ทำไมจึงเป็นฐานขอกุศลธรรม ของสัมมา ของสัมโพชฌงค์ ของวิราคะ ของวิมุตติ จะพูดก็ได้ตามแต่สังสือบอกกล่าวเท่านั้น
- "การปฏิบัติ ศีล ทาน ภาวนา เป็นกรรมฐาน เป็นการทำเหตุให้ดี" เมื่อทำอยู่เป็นนิตย์ก็จะสร้างลักษณะนิสัยอันเรียกว่า "จริต" ให้ทับถมด้วยกุศลแทนของแลอมสมมติกิเลสที่ทับถมเรามานับอสงไขย
- ครูบาอาจารย์ท่านจึงกล่าวว่าทำเหตุให้ดี ทำให้มาก อย่าหวังผล เหตุไม่ดีจะไปเอสผลได้อย่างไร ทำเหตุให้ดี ทำของเก่าที่มีให้มันดีกว่าเดิม ดังนั้น "การปฏิบัติเกรรมฐานเหล่าใดที่ประกอบไปด้วย ศีล ทาน ภาวนา สมถะ+วิปัสสนา เป็นการทำเหตุดังนี้แล" ที่นี้ เมื่อทำเหตุให้ดีสะสมไปเรื่อยนับไม่ถ้วนจนเป็นจริตกุศลให้เกิดมีแก่จริตสันดานตน เมื่อตายไป ของเก่านี้ก็ตามไปในภพภูมิใหม่ด้วย

** "เมื่อเหตุมันดีมันเต็ม ท่านเรียกว่า บารมี" คือ "เต็มกำลังใจใน กุศล ศีล ทาน ภาวนา" คือ "บารมี ๑๐ ทัศน์" ** นั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2016, 02:01:09 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #213 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2016, 10:50:41 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สิ่งทั้งปวงนี้ทั้งหมดเป็นความรู้เห็นได้เข้าถึงสัมผัสโดยส่วนตัวของเราเท่านั้น มีทั้งจริงทั้งปลอมที่นำมาแบ่งปันแต่เป็นการรู้เห็นจากการปฏิบัติล้วนๆ ท่านผู้รู้หรือผู้ศึกษาต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิดด้วย หากผิดเพี้ยนบิดเบือนคำสอนพระตถาคตก็ผิดที่ตัวเราเท่านนั้น ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสอนผิด หรือ ครูบาอาจารย์สอนผิด เพราะทั้งปวงเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน

..บนโลกใบนี้ไม่มีใครที่ไม่มีสมาธิแล้วบรรลุอรหันต์ได้มันขัดกับมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
..ดังนั้นทุกคนในพระพุทธศาสนาจึงต้องมีทั้ง สมถะและวิปัสสนาคู่กัน มีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ วิปัสสนาจะเกิดได้ก็ด้วยสมาธิ เพราะสมาธิเป็นเหตุของปัญญา หรือ มีแต่สมาธิไม่อบรมปัญญาก็บรรลุไม่ได้ คนที่อ่านท่องจำหรือหลับหูหลับตาปฏิบัติอย่างเดียวอันใดอันหนึ่งมันไม่เห็นธรรมหรอก ไม่มีสมาธิบรรลุธรรมไม่ได้เห็นธรรมไม่ได้ มีสมาธิไม่อบรมปัญญามันก็บรรลุธรรมไม่ได้ "มันผิดกับมรรค" เพราะมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
..คนโง่คนพาลคนหลงนี้มีศีล สมาธิ ปัญญาไม่ได้ เพราะมีความหลงแต่อันใดที่ตนพอใจเท่านั้น
..คนฉลาดท่านจะทำกิจเหล่าใดอันพระอริยะเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้วนั้น คือ ศีล ทาน ภาวนา ภาวนาก็คือการอบรมจิตด้วยสมถะ+วิปัสสนา ซึ่งวิปัสสนาของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปนั่งท่องจำนึกๆเอาว่าเป็นการภาวนา **วิปัสสนาจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีสมาธิตั้งมั่นปิดกั้นอกุศลธรรม รู้เห็นของจริง เข้าไปเห็นของจริงบ่อยๆ ไม่ใช่วูบวาบๆหรือจับผลัดจับผลูหลงไปเห็นแค่ครั้งเดียวแล้วทึกทักว่าจริง ท่านให้เข้าไปเห็นให้บ่อยโดยที่ไม่ปรุงแต่งสัญญาความคิดมันเกิดเห็นเอง มีธัมมวิจยะคือ พิจารณาลงธรรมที่เห็นในขณะนั้นโดยไม่ใช้ความคิด ท่านเรียกสำเหนียกรู้ธรรมในสมาธิ ปัญญามันเกิดเดินในสมาธิมันไม่เห็นตัวตนอะไรทั้งสิ้น ไม่มีอะไรทั้งนั้น **จากที่เราเคยพบเจอสัมผัสมาได้บ้างมีทั้งจริงทั้งไม่จริง ยังต้องรอทำให้แจ้งใจอีกมาก** คือ มันไม่มีอะไรสิ่งใดเลย มันไม่รู้อะไรทั้งสิ้น เห็นมีแค่อะไรสักอย่างไม่รู้ อยู่ฝั่งโน้นบ้าง ฝั่งนี้บ้างก็เกิดดับๆ สืบต่อเป็นปัจจัยอาศัยกันบ้าง เห็นแค่มันมี เกิด ดับ ว่าง ไปมาอยู่อย่างนั้น นอกนั้นไม่มีอะไรเลย มองภายในตนมันก็ว่างไปหมด มองไปทางใดมันก็ว่างไปหมด ไม่มีสิ่งใดจะยึดได้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ สิ่งนั้นสิ่งนี้ว่าเป็นเราเป็นสิ่งใด มันว่างไปหมด มีแต่อะไรก็ไม่รู้เป็นไปตามลักษณะดังกล่าวมานั้น พอออกจากสมาธิอันนั้นจึงรู้ว่ามันคืออะไรสิ่งใด พอออกมาเสร็จนี่ความปรุงแต่งสมมติเพียบเลย
..ดังนั้นคนเรียนอภิธรรมไม่ปฏิบัติไปนั่งนึกคิดเอาว่านี่เป็นกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา แล้วไปสาธยายปรามาศผู้ปฏิบัติว่าโง่อยู่แต่ลมหายใจ ทำอย่างอื่นไม่เห็น โดยที่ไม่รู้ว่า อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, ทวัตติงสาการ(อสุภะภายใน), ธาตุ ๔, ป่าช้า ๙ หรือ อสุภะ(ภายนอก),ฌาณ ๔ คือ วิปัสสนาทางกาย ดังนั้นคนเหล่านี้จึงไปไม่รอด เพราะไปนั่งนึกคิดรู้แต่สมมติความคิดตนเท่านั้นไม่เคยเห็นของจริง จับไฟว่าร้อนก็คิดว่าตนเองรู้จริงรู้อาการแล้ว อันนั้นมันความคิด เห็นว่าร้อน ว่าไฟ มันของปลอมทั้งนั้น แล้วก็เวลาที่จิตปฏิบัติถึงนะมันจะอยู่ที่ลมหายใจของมันเอง มันจับลมกหายใจเองเลยอัตโนมัติ อันนี้นักท่องจำจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ถึง สำหรับปุถุชนเป็นอย่างนี้ ส่วนพระอริยะเจ้าผมไม่รู้ เพราะผมไปไม่ถึงจึงกล่าวได้แต่แบบปุถุชนเท่านั้น ไม่รู้สิ่งที่ท่านรู้เห็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2016, 11:05:33 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #214 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2016, 09:17:41 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ ๒๙ กุทภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรื่อง "ศีล"


ศีล เหล่าใดเป็นศีลเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้


       ศีลที่จะทำให้เกิดสมาธิได้ ต้องมีคุณสมบัติที่ปุถุชนเข้าถึงได้แล้วทำสันดานแห่งพระอริยะเกิดมีขึ้นแก่ผู้เจริญนั้น นั่นคือ
๑. ศีล..ที่ไม่ทำให้กายใจเราเร่าร้อน ..แต่เป็นศีลที่ทำให้เราเป็นที่สบายเย็นใจ
๒. ศีล..ที่ทำไว้ในใจโดยแยบคายซึ่งกุศลไม่หลงอยู่ น้อมไปในการสละประโยชน์สุขอันปรนเปรอตน เกื้อกูลอิสระสุขแก่ผู้อื่น
๓. ศีล..เพื่อการละเว้นความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คือ
- เว้นจากความโลภ เว้นจากอภิชฌา เว้นจากราคะความกำหนัดกระสัน เว้นจากความตระหนี่
- เว้นจากความโกรธ เว้นจากโทมนัส เว้นจากความเกลียดผูกเวร เว้นจากความผูกแค้นพยาบาท เว้นจากความริษยา
- เว้นจากความลุ่มหลงสมมติของปลอม เว้นจากความหลงในสุขอันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนนาน สุขเพียงวูบวาบๆประเดี๋ยวประด๋าวชั่วคราวก็ดับไป แล้วประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง ยิ่งหวนระลึกถึงก็ยิ่งเป็นทุกข์
   ..ทุกข์เพราะมันแปรปรวน และ ดับไปของมัน
   ..ทุกข์เพราะความพรัดพราก
   ..ทุกข์เพราะความตรึกหน่วงนึกพอใจยินดี ในสิ่งไม่เที่ยง ไม่อยู่ยั่งยืนนาน อยู่ได้นานสุดกก็แค่หมดลมหายใจของตน
   ..ทุกข์เพราะความตรึกหน่วงนึกพอใจยินดี ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
   ..ทุกข์เพราะความคำนึงถึงถวิลหาด้วยความติดใจ ติดใคร่ แสวงหา ปารถนาทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์
๔. ศีลที่เป็นรากฐานเอื้อประโยชน์ให้จิตตั้งมั่นไม่กวัดแกว่งเอนไหวไปตามกิเลส ..แต่เป็นไปเพื่อความฉลาดในการปล่อยวาง ไม่หลงอยู่กับสมมติของปลอม ศีลอันเป็นไปเพื่อสุขที่เนื่องด้วยใจที่อิ่มเอมเป็นสุขจากกุศลปล่อยวาง สุขจากการไม่แสวงหาความเนื่องด้วยกายและวาจา ยิ่งหวนระลึกถึงก็ยิ่งเป็นสุขจากศีลนั้น
๕. ศีลอันเป็นมรรคมีองค์ ๘ ศีลที่ประกอบด้วยสังวรปธาน(สัมมัปปธาน ๔) อันมีสติสัมปะชัญญะคลุมให้ตั้งอยู่ใน ๔ ข้อข้างต้นนั้น นั่นก็คือ ศีลของพระพุทธเจ้าเท่านั้น



๑. ศรัทธา ใจจะถึงศีลได้เราก็ต้องมีศรัทธาก่อน นั่นคือ ศรัทธาพระพุทธเจ้า เชื่อองค์พระบรมศาสดา เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อด้วยปัญญา ปัญญาพิจารณาในความเป็นเหตุเป็นผล ทบทวนตรวจสอบได้ สัมผัสและเห็นได้จริง ไม่ใช่เชื่อตามๆกันมา เอนเอียงเชื่อเพราะรักใคร่ เพราะเกลียด เพราะกลัว เพราะพลง เพราะไม่รู้ตามจริง
** ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าก็จะเข้าไม่ถึงธรรม ไม่ถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระพุทธเจ้า จิตเข้าไม่เป็นพุทธะ หรือเข้าถึงได้ก็ยากลำบากมากเพราะมันจะมีกิเลสนิวรณ์คอยขัดไม่ให้เราเข้าถึงรู้แจ้งชัดได้

พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ก. ศรัทธาความเป็นผู้รู้ของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรู้อะไร รู้แจ้งโลก รู้แจ้งธรรม รู้แจ้งสังขารธรรม รู้เหตุและผล รู้แจ้งดีและชั่ว รู้แจ้งคุณและโทษ รู้แจ้งชัดซึ่งกุศลและอกุศล รู้แจ้งชัดเรื่องกรรมและผลของกรรม รู้แจ้งชัดทางหลุดพ้นทุกข์และบ่วงกรรม ไม่มีใครเสมอเหมือน

ข. ศรัทธาความเป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ศรัทธาความเป็นครูผู้ฝึกสอนบุรุษเพื่อถึงความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เข้าถึงธรรมอันลึกซึ้งได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เมื่อเชื่อสิ่งนี้เราก็จะเชื่อว่า..พระพุทธเจ้าสอนความจริง สอนทางกุศลดีงาม สอนทางชอบ สอนให้เรารู้จักกรรมและผลของกรรมตามความจริง พระตถาคตจึงได้ทรงสอนให้เราละเว้นในสิ่งที่ควรละ และ รู้จักเจริญในสิ่งที่ควรเจริญ

ค. เมื่อพิจารณาตรึกตรองถึงความเป็นเหตุเป็นผลอันเป็นข้อละเว้นทางกายและวาจาที่เรียกว่า ศีล อันพระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ที่สอนให้เจริญข้อละเว้นเหล่านั้นให้มาก จะเห็นได้ว่า..พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้แจ้งประจักษ์ทุกข์จากการกระทำทั้งปวง และ ผลของกรรมที่จะสืบทอดติดตามเรามาให้ได้รับผลของกรรมนั้น ดังนี้คือ..

- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทุกข์จากการที่ดำรงชีพอยู่โดยไม่รู้จักหรือไม่สนใจให้ความสำคัญว่าสิ่งไหนดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด กุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ดำรงชีพอยู่โดยความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์มันให้ผลลัพธ์เป็นยังไง มันเร่าร้อน ร้อนรุ่มกลุ้มรุม ให้ร้อนรนระส่ำไม่เป็นปกติที่สบายกายใจยังไง แล้วผลแห่งการกระทำเหล่านั้นในภายหน้าจะส่งผลสืบต่อให้เป็นไปอย่างไร

- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณาเห็นเหตุแห่งทุกข์ ทรงตรัสสอนให้เรารู้เห็นตามจริงถึงต้นตอที่ทำให้เราเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ระส่ำดั่งไฟสุมกลุ้มรุมกายใจ ไม่รู้จักถูกและผิด ไม่รู้จักดีและชั่ว ไม่รู้จักกุศลและอกุศล ไม่รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควร นั่นก็คือ อภิชฌา และ โทมนัส สิ่งนี้เป็นเหตุที่ควรละ แล้วให้ละที่เหตุอันนั้น

              อภิชฌา ในคำนั้นเป็นอย่างไร คือ จิตใจไม่บริสุทธิ์ มีใจประสงค์ร้ายเบียดเบียนผู้อื่น จิตใจแอบแฝงใคร่ได้หวังช่วงชิงฉุดพรากประโยชน์สุขของผู้อื่นมาปรนเปรอเป็นของตน มีความติดใคร่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต เพ่งเล็งหมายปองอยากได้ของผู้อื่นมาครอบครองเป็นของตน นี้เรียกว่าอภิชฌา.
               โทมนัส ในคำนั้นเป็นอย่างไร คือ จิตใจขุ่นขัดไม่รื่นเริง ความไม่สำราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ความตับแค้นใจ อัดอั้นใจ อึดอัดใจ เวทนาที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ ความโกรธ ความเกลียด ความเครียด ความแค้น ความพยาบาม ความมีจิตหมายให้ผู้อื่นฉิบหาย อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส.



สุขจากการการละอภิชฌาโทมนัส
ทางที่ละอภิชฌาโทมนัส
 เพราะเราไม่มีศีล และ มีศีลที่ละอภิชฌา โทมนัส ใช่ไหม

- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทุกข์จากการที่มีชีวิตอยู่ด้วยการละเว้นจาก อภิชฌา, โทมนัส มันเป็นยังไง มันเร่าร้อน ร้อนรุ่มกลุ้มรุมให้ร้อนรนไม่เป็นที่สบายกายใจยังไง

- ความสุขในการไม่เจริญศีลข้อละเว้นทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น มันยั่งยืนหรือเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย
(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางโลกมันเริ่มจากสุขมากไปหาความทุกข์ยากลำบากเสื่อมสูญในภายหน้า ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ยิ่งเสพย์ยิ่งขาดทุนยิ่งทุกข์ยิ่งเร่าร้อนสูญเสีย ยังผลให้บารมีการขาดทุนเสื่อมสูญติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ)

- ความสุขในการเจริญศีลข้อละเว้นทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น
(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางธรรมมันเริ่มจากทุกข์ยากลำบากไปหาอมตะสุขที่ไม่มีเสื่อม เป็นบารมีกำไรชีวิตพอกพูนขึ้นติดตามเราไปในทุกภพทุกชาติ)

 จากการก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทางวจีกรรม และ กายกรรม มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
 



ศีล ต้องบริสุทธิ์แค่ไหนถึงจะเกิดสมาธิ


ศีลของตนนั้นบริสุทธิ์พอจะเป็นสัมมาสมาธิได้ไหม ให้พิจารณารู้สภาวะจิตของตนดังนี้คือ


ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร เพื่อปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว
ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น
ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น เรามีความตื่นตัวรูู้ตัวอยู่เสมอๆหรือไม่ รู้ปัจจุบันขณะที่ตนกำลังดำเนินไปอยู่เสมอๆ ทุกๆขณะที่ทำอะไรหรือไหม่ทำให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว น้อมนำจิตให้จดจ่อตั้งมั่นตาม ทำให้ถึงความสงบใจไม่กวัดแกว่งไปตาม อภิชฌา โทมนัส ทำให้เราไม่เร่าร้อนกายใจ มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2016, 04:56:58 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #215 เมื่อ: มีนาคม 01, 2016, 07:13:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙

เมื่อปฏิบัติรู้จิตตานุปัสนา แล้วอึดอัดที่รู้ว่าตนเองมีอกุศลธรรมมาก

เมื่อเราปฏิบัติแล้วรู้ทันจิต รู้ว่าราคะตนเองมีเยอะ มีมาก ห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับให้ดับไปก็ไม่ได้ บังคับให้มันเกิดแต่กุศลจิตก็ไม่ได้ บังคับมันให้เป็นไปตามต้องการไม่ได้ จะให้กุศลจิตตั้งอยู่ตลอดไปก็ไม่ได้ ยิ่งกดข่มอกุศลธรรมในตนมันก็ยิ่งคุกรุ่นฟุ้งขึ้น ยิ่งยังความขัดเคืองใจ ไม่พอใจยินดีในตนยิ่งนัก

เหตุทั้งหมดนี้มาจากอุปกิเลส คือ ความตรึกหน่วงนึกจากความจดจำสำคัญหมายรู้อารมณ์ไรๆในอกุศลธรรมอันลามกจัญไร แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้มันขัดอึดอัดใจตน พึงเจริญดังนี้ว่า..

๑. รู้ว่าธรรมชาติสันดานของปุถุชนทั่วไปมันก็มีปกติจิตคิดในอกุศลธรรมอันลามกอย่างนี้เป็นธรรมดา

- หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ครูผู้มีความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อสอนกรรมฐานให้แก่เรา ท่านเคยสอนเราโดยส่วนตัวเมื่อเราไปหาท่านและขอกรรมฐานพร้อมขออโหสิกรรมท่านว่า.. "อกุศลธรรมความคิดอกุศลผมมีเยอะเหลือเกินจะปหานยังไงก็ไม่หมด ยิ่งกดข่มมันไว้มากเท่าไหร่ยิ่งฟุ้งขจรขึ้นมากเท่านั้น เผมเป็นทุกข์เพราะความคิดเหล่านี้มาก จะทำยังไงจึงจะดับมันได้ครับ"..
- ท่านก็หัวเราะแล้วบอกกับเราว่า.. "เราน่ะมันก็คนธรรมดาทั่วไป มันก็เหมือนคนอื่นๆนั้นแหละ มันดับความคิดไม่ได้หรอก ความคิดอกุศลมันก็มีขึ้นอยู่เป้นธรรมดานั้นแหละ ก็ให้รู้ว่ายังมีมันอยู่เป็นเรื่องปกติเหมือนคนทั่วไปนั่นแหละ ทำเหตุใน ศีล ทาน ภาวนา ให้มาก ทำไปเรื่อยๆ อย่าหวังผล ขอแค่ให้ได้ทำ ทำสะสมเหตุมันไปเรื่อยๆ เมื่อสะสมมันมากพอแล้วเดี๋ยวก็จะดีเองแหละ"..
(การทำเหตุสะสมนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้ ซึ่งพระตถาคตนั้นจะทรงเรียกว่า.. "อาหาร" องค์พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้เสมอๆว่า หิริและโอตตัปปะ, อาหารของการคบสัตตบุรุษ, อาหารของสัทธรรม, อาหารของศรัทธา, อาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย โยนิโสมนสิการ, อาหารของสติสัมปะชัญญะ, อาหารของการสำรวมอินทรีย์, อาหารของสุจริต ๓, อาหารของมรรค ๘, อาหารของสติปัฏฐาน ๔, อาหารของโพชฌงค์ ๗)

- ดังคำสอนนี้แล้ว เมื่อความตรึกหนวงนึกคิดมันเกิดมีขึ้น ก็แค่ให้รู้ว่า..ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมีอยู่แก่เรา เพราะเรายังมีความลุ่มหลงสมมติของปลอมอยู่ เป็นธรรมดาของปุถุชนคนทั่วไปจะมีขึ้นได้ ไม่ได้แปลกไปจากปุถุชนคนอื่นเลย อย่าใส่ใจกับมันให้มากทำใจให้ชินชาเฉยๆกับมันให้มากเข้าไว้ แค่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์กับมันก็พอ เมื่อมันเกิดขึ้นก็ทำไว้ในใจไม่ไปติดใจข้องแวะกับมัน ไม่ต้องไปดิ้นรนเร่าร้อนยินดียินร้ายกับมัน มันมีเกิดขึ้นประจำๆเป็นปกติจิตของเราอยู่แล้วเพราะเราแค่ปุถุชนคนทั่วไป มันเป็นปกติของคนธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆที่จะมีขึ้นได้อยู่แล้ว
- เมื่อมันเกิดก็เพียงรู้ว่าเรายังมีกิเลสตัวนี้ๆอยู่ มีมากหรือมีน้อยก็เท่านั้น ยังต้องคบหาสัตบุรุษและเรียนรู้พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าให้มาก เพื่อทำศรัทธาด้วยปัญญา ยังต้องศรัทธาพละอีกมากเพื่อเข้าถึงความทำไว้ในใจโดยแยบคายในปัจจุบันไม่ลุ่มหลงสมมติกิเลสของปลอมอีกมากเป็นเหตุให้สติสัมปะชัญญะเกิดมีขึ้นบริบูรณ์เพื่อเป็นกำลังให้อินทรีย์แก่กล้าเต็มที่ เมื่ออินทรีย์สังวรบริบูรณ์ก็จะยังเหตุในสุจริต ๓ คือ มรรคให้เจริญยิ่งๆขึ้น เพื่อทำให้สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม แจ้งชัดมีกำลังบริบูรณ์ เพื่อบ่มอาหารที่เยี่ยมยอดให้แก่สัมโพชฌงค์ ๗ ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้ แล้วก็ไม่ต้องไปใส่ใจให้ความสำคัญกับความตรึกหน่วงนึกอารมณ์นั้นๆ

๒. รู้ว่าเราติดสมมติของปลอม ติดความคิดอันเร่าร้อน เราก็เลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์
(โดยแค่เพียงเสพย์ความคิดอันเป็นกุศล เป็นที่สงบเย็นใจ ไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่มสุมใจ ไม่มีโทษ ไม่มีทุกข์นั่นคือ "พุทโธ')

- เมื่อมันเกิดมีขึ้น เรารู้ได้เลยว่ามันเร่าร้อนอึดอัด อัดอั้นร้อนรุ่ม รุ่มเร้ากลุ้มรุมกายใจ ทั้งเบื่อ ทั้งเกลียด ทั้งหน่ายความตรึกหน่วงนึกอันเกิดแต่ความจดจำสำคัญหมายรู้อารมณ์ในอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเหล่านี้ แต่ก็บังคับไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ตัวตน ความคิดไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ความคิด ความคิดไม่ใช่ตัวตนของเรา ความคิดนั้นไม่มีเรา เราไม่มีในความคิดเหล่านั้น ก็ความคิดเหล่านี้มันก็สิ่งสมมติทั้งนั้นของปลอมทั้งนั้นพอเมื่อเสพย์หรือเข้าไปยุ่งกับมันเรานี้ก็กระสันหน่วงหนักทีเดียว นี่ทุกข์เพราะคิด ทั้งที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมันก็ทุกข์ทั้งนั้น
- เมื่อรู้ดังนี้เราก็ไม่ต้องไปสนใจเสพย์ในความคิดเหล่านั้น หากหยุดคิดไม่ได้ ก็ให้พิจารณาดูว่าความคิดอันใดหนอเป็นมี่สงบ ความคิดอันใดหนอเป็นที่สบาย ความคิดอันใดหนอเป็นที่ร่มเย็นใจ ความคิดอันใดหนอไม่มีโทษ ความคิดอันใดหรอไม่มีทุกข์ ความคิดอันใดหนอจึงจะพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
- ความคิดที่ไม่เร่าร้อน ไม่มีโทษ ไม่มีทุกข์ เป็นที่สงบเย็นกายสบายใจ มีอยู่ 1 เดียว คือ พุทโธ
ก. พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า,
ข. พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
ค. พุทโธ คือ พุทโธ คือ ผู้รู้..คือ รู้แจ้งชัดปัจจุบัน ผู้ตื่น..คือ ตื่นจากสมมติของปลอม ผู้เบิกบาน..คือ ไม่หลงอยู่กับสมมติกิเลส,
ง. พุทโธ นี้คือ ปัจจุบัน, หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงพระพุทธเจ้า ตรึกหน่วงนึกว่า "พุท", หายใจออก ทำไว้ในใจถึงพระพุทธเจ้า ตรึกหน่วงนึกว่า "โธ"
จ. ความตรึกหน่วงนึกอารมณ์ถึง..พุทโธ จะทำให้จิตเรานี้เป็น..พุทโธ มีสันดานแห่งพระอริยะสถิตย์ขึ้น คือ มีสันดานแห่งความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่มีความตรึกหน่วงนึกใดที่มีคุณมากเท่าพุทโธ

- แล้วก็ทำไว้ในใจเอาจิตตรึกหน่วงนึกถึงเพียง "พุทโธ" ทุกลมหายใจเข้าและออก จิตก็จะสงบไม่มีทุกข์ ไม่เร่าร้อน ดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ ไม่เสพย์สมมติ เป็นที่เย็นใจ เป็นที่สบายสำราญใจยิ่งนัก
หากทำสมาธิบ่อยๆจนเห็นจริงบ้างแล้ว เห็นขันธ์แยกเป็นกองๆของใครของมันได้ หรือเห็นลำดับวิถีจิตจากของจริงไม่ใช่ตรึกนึกคิดเอา ให้หาเรียนวิชาขันธ์ ๕ หัดแยกขันธ์ ๕ ออกเป็นส่วนๆ พิจารณาแต่ละกองเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ความเข้าไปยึดครองสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนเป็นทุกข์ จนเห็นความเป็นไปของมันแยกจากดวงจิต "เมื่อแยกขันธ์ ๕ ออกเป็นกองๆจากกันแล้ว ก็จะเห็นว่าความคิดนั้นไม่มีในเรา" ก็สักแต่เพียงกองอะไรสักอย่างวุ้งวิ้งๆอยู่กองหนึ่งเท่านั้น ไม่มีค่าอะไร ไม่มีความหาย
  เว้นแต่เมื่อเราเข้าไปอยากรู้มันว่าคืออะไรหรือเข้าไปร่วมเสพย์มัน เมื่อนั้นสมมติของปลอมความไม่อยู่กับปัจจุบันขณะก็เกิดขึ้นให้กระสันหน่วงหนักเลยทีเดียว "นี่น่ะมันสมมติของปลอมทั้งนั้น มันไม่มีคุณอะไรเลย มีแต่โทษและทุกข์ สู้พุทโธไม่ได้นี่ของจริงนี่ปัจจุบัน"

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2016, 10:13:37 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #216 เมื่อ: มีนาคม 06, 2016, 11:12:20 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ศีล ทาน ภาวนา เป็นเหตุให้บารมีเต็มยังไง
ศีล ทาน ภาวนา เป็น มรรค
มรรคข้อที่ 1 คือ ปัญญา เห็นโลกเป็นของว่าง(ละสังโยชน์ได้ข้อใดข้อหนึ่ง หากเป้นเพียงปุถุชนที่เจริญมรรค ท่านเรียกกุลบุตรผู้ฉลาด ผู้มีความคิดชอบเดินตามทางที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุบทอันกระทำแล้ว) มรรคข้อที่ 2 เป็นสัญญา ๑๐,พรหมวิหาร ๔ มรรคข้อที่ 3,4, เป็นศีล มรรคข้อที่ 5 เป็นทาน มรรคข้อที่ 6,7,8 เป็นภาวนา (มรรคข้อ 6 เป็นอิทธิบาท ๔ มรรคข้อที่ 7,8 สติ สมาธิ ปัญญา) มรรค ๘ คือ สุจริต ๓
สุจริต ๓ หรือ มรรค ๘ เป็นอาหารของ สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหารของโพชฌงค์ ธรรมเครื่องตรัสรู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2016, 11:14:22 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #217 เมื่อ: มีนาคม 14, 2016, 11:51:52 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หลวงปู่บุญกู้ เทศนาสอนเรื่อง มีคนที่คอยเบียดเบียนเรา กลั่นแกล้งเรา ในที่ทำงานหรือที่ใดๆ เทศนาวันที่ 11 มีนาคม 2559

โดยย่อหลักๆคือ

1. ใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์
2. พิจารณาความบกพร่องตน
3. ทำศีล ทาน ภาวนาอบรมจิต หนุนให้ใจเป็นปกติไม่เร่าร้อน และ ปล่อยวาง


---------------------------------------------

ยกตัวอย่างชีวิตของเรา

- อย่างเรานี้กรรมมีมากจะทำอะไรก็ผิด ขัดหู ขัดตาเขาไปหมด ติดขัดไปหมด ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ที่วัด ที่ใดๆก็ตาม แม้จะตั้งใจทำดีเต็มกำลังใจเราสุดแล้ว บ่อยๆครั้งที่ท้อใจจนอยากลาออกจากงาน อยากเลิกไปทำบุญ อยากหนีบวช แต่ก็ทำไม่ได้มีภาระหน้าที่ที่คนเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นสามี จะต้องรับผิดชอบอยู่ ซึ่งจะเจอบ่อยมากๆจนท้อใจเลย

ก็ได้มีหลวงปู่เทศนาสอนเราดังนี้

1. เรื่องกรรมว่า
- มาสว่างไปสว่าง
- มาสว่างไปมืด
- มามืดไปสว่าง
- มามืดไปมืด

2. ทำเหตุ พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน ภาวนา
ท่านก็สอนให้ทำเหตุให้ดี ทำให้มากเข้าไว้ บ่อยๆ อย่าไปหวังผล ให้ได้ทำเป็นพอ



- ด้วยการเจริญตามหลวงปู่สอน ไม่เก่งเกินครู ไม่เถียง ไม่ขัดแย้ง และตั้งใจทำตามที่ครูสอน เมื่อเราต้องเจอกรรมที่ไม่ว่าจะทำอะไรตั้งใจทำดีแค่ไหนก็ขัดหูขัดตาไม่ถูกกาลเขาไปหมด ถูกติเตียนไปหมด แต่บางคนทำไม่ดีเลยแต่มีฐานะดีคนหล่านั้นกลับก็นับถือกราบไหว้ เมื่อเราได้สะสมเหตุตามหลวงปู่สอนเมื่อเจอดังนี้แทนที่เราจะไปโกรธคนที่ด่าเรา ริษยาคนที่ทำอะไรก็ดีนั้น เราก็ตั้งจิตไว้ในความสงบใจ แล้วพึงพิจารณาว่าคนนี้ๆเขาทำบุญอะไรมาหนอจึงอุดมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ แล้วกาลก่อนนี้เราทำกรรมมาอย่างไร มีอย่างไรจึงเลำบากอย่างนี้ๆแล้วก็ปลงใจยอมรับความจริงนั้น
- เมื่อพิจารณาในกรรมแล้วก็ตั้งความสงบใจ ไม่ยึดจับสิ่งใดๆ เหมือนสงบนิ่งทำใจให้สงบสมัยเด็กๆ แล้วก็ค่อยมาดูลมหายใจ+พุทโธ ซึ่งปกติแล้วเวลาเขาด่าติเตียนว่ากล่าวว่าร้ายเราเราก็ต้องเดือนร้อนอยู่แล้วมันกองไฟปะทุขึ้นเลยสุมใจนี้ให้อัดอั้นคับแค้นเกรี้ยวกราด หากเราใช้ปัญญาเราก็จะไม่ยึดความโกรธเพราะรู้ว่ามันเป็นมหาทุกข์ มหาภัย หากเรายึดความโกรธมันก็มีแต่ทุกข์กับความฉิบหายเข้ามาสู่เราแล้วจะต้องไปเสียดายเสียใจในภายหลัง ตั้งจิตไม่ยึดสมมติกิเลสความคิดปรุงแต่งสมมติ แล้วทำจิตไว้ให้ไม่มีความติดใจข้องแวะต่อสิ่งทั้งปวงแทน โดยตั้งอารมณ์อยู่ด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งทั้งปวง ไม่ตั้งความยินดี ยินร้าย ปารถนา ริษยา พยยาบาท ไม่หวั่นไหวต่อคำนินทา สรรเสริญ ตั้งจิตอยู่ที่ความเป็น "อนัตตาต่อตนเอง" ด้วยอนัตตสัญญา คือ
- กายนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย
- รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ความรู้อารมณ์ด้วยใจ..ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
- เราไม่ใช่..รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่รู้ทางกาย สัมผัสความรู้ด้วยใจ สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา
- เราไม่สำคัญต่อใครและสิ่งใด เราไม่ใช่สิ่งนั้น เราไม่ใช่สิ่งนี้ เราไม่สำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีสิ่งที่ควรหรือไม่ควรแก่เรา
- โลกนี้เกิดมาที่อยู่ 3 อย่างที่เจออยู่ทุกวัน นั่นคือ ชอบ ชัง เฉยๆ มันเจออยู่ปกติของมันอยู่แล้ว อล้วยังจะไปยึดมันอีกทำไม ควรจะชินกับมันได้แล้ว
(ปัญญาระดับปุถุชนของเราก็คือ..ใช้ความคิดพิขารณาเอาลงธรรม มีจิตเป็นกุศล กุศลแปลว่าฉลาด คนที่มีจิตเป็นกุศลจะมีความฉลาดในการปล่อยวาง สังเกตึุดูคนที่มีฌาณ ทรงฌาณท่านจะฉลาดมาก ฉลาดในการปล่อยวาง พิจารณาถึงเวรกรรมเป็นหลักว่าเราทำสิ่งใดมาจึงเป็นอย่างนี้ เขาทำสิ่งใดมาจึเป็นอย่างนี้ เป็นศรัทธาจากพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งโลกได้สอนให้รู้จักบุญ บาป กรรมดี กรรมชั่ว)
- แล้วน้อมจิตพิจารณาให้ปลงใจว่า เรานี้ทำอกุศลกรรมสะสมมาเยอะ มีบุญน้อยนัก จึงขัดหูขัดตาเขาไปหมด ไม่เจริญสักที ถ้าขัดหูขัดตาเขาเราก็ต้องดูว่าสิ่งที่เราทำนี้มันผิดหรือมันถูกมันเบียดเบียนใครไหม
- เขาด่าเพราะเราพลาดพลั้งในส่วนใด บางครั้งเราอาจจะตั้งใจทำดีแต่ที่ขัดเขาเพราะบางครั้งประมาทมองข้ามในบางส่วนเล็กๆน้อยๆไป เมื่อรู้แล้วก็แก้ไขใหม่ ไม่มาร่่ำไรรำพัน เพราะคิดไปก็ทุกข์ ไม่ว่าเราจะคิดหรือไม่คิดเรื่องนี้มันก็เกิดขึ้นแล้วอยู่ดี ความผิดพลาดของเราก็เกิดขึ้นแล้ว ความถูกกล่าวว่าติเตียนก็เกิดขึ้นแล้ว ไม่คิดยังดีกว่าเราจะได้ไม่ร้อนรุ่มตามคำติเตียนเขาไป แค่นี้ก็ได้อบรมจิตตนให้ผ่องใสเป็นกุศลฉลาดในการปล่อยวางไม่จับกิเลสอกุศลแล้ว

- เมื่อทำความสงบใจได้ นี่กุศลเกิดขึ้นมำให้ฉลาดในการปล่อยวางไม่มีสิ้นสุด ปัญญาก็เกิดขึ้นมาเรื่อยๆเพราะมันไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับความโกรธแค้นพยาบาท คนเราลองตามอารมร์กิเลสปัญญามันถูกปิดกั้นหมด ถ้าปลงใจสงยบใจได้นี่กุศลเกิดปัญญาเกิดจับสมาธิง่าย จับลมหายใจง่าย จิตตั้งมั่นไม่เอนเอียงไปตามกิเลสดีเลยล่ะ
- แล้วเราก็ตั้งต้นทำดีใหม่อีก หลวงปู่บุญกู้ ท่านสอนว่า คนเราเมื่อมีกรรมเยอะมันจะทำอะไรก็ติดขัดไปหมด ผิดที่ผิดทาง ขวางหูขวางตาเขา คนที่โง่นั้นพอทำแล้วเห็นว่าทำไปก็ไม่ได้ดี แล้วก็เลิกทำดีเสียได้ อันนี้ก็ทำให้อกุศลกรรมมันสะสมขึ้นไปอีก ยิ่งเป็นไปตามกรรมมากขึ้น
- หลวงปู่บุญกู้ ท่านสอนว่า..คงความดีไว้ เพียรเจริญ ศีล ทาน ภาวนาอบรมจิตให้ดี ศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าเป็นกำลังให้เกิดความยินดีทำดี เพียรทำดี เพียรเจริญสติ เพียรเจริญสมาธิ เพียรเจริญปัญญา หากกรรมมีเยอะไม่ใช่ว่าทำแค่วันสองวันแล้วจะได้ดี บางคนสะสมมานับสิบๆชาติ หรือเป็นอสงไขย จึงได้มี อายุ วรรณะ สุข พลังที่ดีได้ ทำอะไรก็ดีไปหมด ดังนั้นเมื่อรู้ตนมีบุญน้อยก็ทำ ศ๊ล ทาน ภาวนา ให้มากเข้าไว้

สิ่งที่ทำให้เรานี้ไม่หลงไปตามกิเลส ไม่เสพย์เสวยอารมณ์ความคิดปรุงแต่งอกุศล คือ สติ สัมปะชัญญะ
สติจะดีงามได้ ก็ต้องอาศัยเครื่องช่วย เรียกว่ากำลัง คือ ความเพียรเจริญในศีล ทาน ภาวนา
ศีล ทาน ภาวนา จะดีงามได้ ก็ต้องมี ศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า เป็นกำลัง

----------------------------------------------------------------------

แบ่งปันแนวทางเจริญปฏิบัติกันครับ แนวทางนี้เป็นการพลิกแพลงใช้โดยส่วนตัวของผม หากผิดพลาดประการใดไม่ใช่ครูบาอาจารย์หรือพระตถาคตสอนผิดแต่อย่างไร แต่เพราะปัญญาของปุถุชนอย่างผมเจริญปฏิบัติเข้าถึงได้แค่นี้เท่านั้น

แต่หากแนวทางนี้มีประโยชน์แก่ท่านใช้ละโทสะได้ ขอให้ท่านทั้งหลายพึงรู้ไว้ว่า ธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น ที่ครูบาอาจารย์สืบทอดถ่ายทอดมานี้ มีคุณมาก แค่เรารู้จักโอปนยิโก แล้วนำมาประยุกค์ใช้ตามกาลย่อมเกิดการอบรม กาย วาจา ใจ ให้สุจริต เป็นกำลังให้โพชฌงค์ดีนัก ดังนี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2016, 01:03:53 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #218 เมื่อ: มีนาคม 21, 2016, 03:06:50 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ว่าด้วยสมาธิ ทำไมหลายๆคนจึงทำสมาธิไม่ได้ จากการปฏิบัติของเราเห็นดังนี้คือ

๑. ตั้งใจมากไป
๒. ปารถนากระสันเกินไป




๑. การตั้งใจมากไป..เป็นไฉน ความตั้งที่จะทำ ทำให้จิตนั้นหดหู่ เศร้าหมอง ไม่เป็นที่สบาย ไม่เป็นธรรมชาติ มีความระแวง กลัว เช่น กลัวตนจะไม่ได้สมาธิ กลัวตนจะไม่มีจิตตั้งมั่น กลัวปวดฉี่ขณะทำสมาธิ กลัวปวดขาขณะนั่งสมาธิ กลัวมด ยุง แมลงกัดเวลาทำสมาธิ กลัวจะทำไม่ได้ ตั้งใจที่จะทำมากจนเกิดความเกร็งกายไม่เป้นสบาย มีจิตพะวงไม่เป้นที่สบาย เป็นเหตุให้ตั้งมั่นได้ยาก
- ทางแก้ ทำใจให้เป็นที่สบาย ง่ายๆ ไม่ต้องเกร็ง มีสติเป็นเบื้องหน้า เริ่มจาก

ก. นั่งเล่นๆพุทโธไปเรื่อยๆ ดูว่าพุทโธนี้มันสบายเป็นความคิดที่ไม่มีโทษ มีแต่คุณนานานับประมาณไม่ได้ ดูว่าเมื่อเราพุทโธแล้วจิตมันอยู่ที่ปัจจุบันคือลมหายใจไหม นี่เห็นธรรมเลยนะ เห็นปัจจุบันคือพุทโธ เกิดสัมปะชัญญะ เห็นจิตมีสติตั้งมั่นที่ลมและคำบริกรรมกำกับรู้อยู่ อันนี้ท่านเรียกคิดชอบ คิดลงธรรมตามสิ่งที่ตนพอจะระลึกสัมผัสได้ พอพิจารณาไปเรื่อยอย่างนี้มันเห็นและได้สัมผัสธรรมที่เกิดขึ้นบ้าง จิตก็เกิดความเพียรที่จะทำเพื่อความรู้เห็นยิ่งๆขึ้น ยิ่งจับรู้สัมผัสสภาวะได้มากมันยิ่งเกิดปิดติอิ่มใจเป็นสุข จิตมันก็จะเลิกฟุ้งซ่าน

ข. ถ้ากลัวปวดเยี่ยว กลัวแมลงกัด กลัวของหาย กลัวต่างๆนาๆนี้..จิตมันจะพะวงมากทั้งฟุ้งซ่าน ทั้งหดหู่ทำสมาธิได้ยาก แม้จะทำสมาธิได้บ้างแต่จะเกิดอาการที่เรียกว่าเสียววืดขึ้นไม่ยอมหายคลายไม่ได้สลัดไม่หลุด หลายคนจะเข้าใจผิดว่าเป็นปิติ จริงๆมันไม่ใช่ปิติ มันคืออาการความกลัวที่เกิดขึ้น เพราะจิตมีขณิกสมาธิละเอียดได้บ้างจึงพอจะจับปริ่มๆอาการความรู้สึกของสิ่งที่เราเรียกว่ากลัว พะวง ระแวงได้ชัดก็เท่านั้น ดังนั้นถ้ามันพะวงมาก ให้คิดลงธรรมปลงใจย่อมรับมันเสีย เช่น
- กลัวปวดขี้ปวดเยี่ยวตอนที่กำลังเข้าสมาธิก็เพียงทำใจให้สบายคิดเสียว่ามันเป็นธรรมชาติของกาย ทุกคนต้องขี้ ต้องเยี่ยวอยู่แล้ว ปวดก็แค่ลุกไปเยี่ยวไปขี้แล้วทำใหม่
- กลัวของหายตอนเข้าสมาธิได้ถ้าของอยู่ข้างกายก็เอามาวางบนตักหรือข้างเสีย หรือ ปลงใจเสียให้ได้ไม่ให้จิตยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆทั้งปวงดังนี้
.. ปลงใจไม่ยึดสิ่งภายนอกคนเรามันต้องพรัดพรากเป็นที่สุด จะต้องเสียของรักของจำเริญใจทั้งสิ้นไป หากถึงคราวมันจะต้องเสียให้ดูแลรักษาให้ตายมันก็ต้องเสียไปอยู่ดีแต่ถ้ารักษาดีหน่อยก็เสียน้อยลงแค่นั้น คิดซะว่าให้ทานเป็นต้น
.. ปลงใจลงที่กายนี้เอาความไม่เที่ยงไม่มีตัวตนลงในกายนี้ จะเห็นเลยว่าขนาดกายเราแท้ยังไม่ยั่งยืน ไม่ใช่ตัวตน จะนับเอาอะไรกับอย่างอื่นภายนอกได้อีกมันก็ต้องเสื่อมสูญพรัดพรากดับไปเป็นธรรมดา
.. แผ่เมตตาให้ตนมากๆให้ตนเป็นสุขปราศจากทุกข์ อยากได้อันใดสิ่งใดก็แผ่ให้ตนเป็นกำลังโดยกำหนดนิมิตว่ามีพระตถาคตทรงพระกรุณาแผ่บารมีเป็นฉัพพรรณรังสีแป่มาสู่ตนให้เข้าถึงคุณ อรหัง ความไม่มีกิเลสเครื่องเร่าร้อน พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วแผ่เมตตาไปแบบไม่มีประมาณสืบไปจิตจะตั้งมั่นดีนัก
.. ปลงใจโดยหาข้อธรรมไรๆก็ได้มาพิจารณาจิตมันจะปลงคลายอาการเกร็งอยู่เป็นธรรมชาติๆของมันแล้วก็เป็นที่สบายๆ เข้าสมาธิได้ง่าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะตรึกหน่วงนึกอะไรก็เป็นสมาธิได้หมด แต่สมาธิที่ควรแก่การดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าคือจิตตั้งมั่นอันปราศจากกิเลสนิวรณ์ พระองค์จึงทรงตรัสสอนให้ทำกุศลศีลทาน คิดดี พูดดี ทำดี คิดเป็นกุศลเป็นสัมมาสังกัปปะ กุศลแปลว่าฉลาด ฉลาดในธรรม ในกาลปล่อยวาง แต่การทำแบบนี้สำหรับผู้มักคิดท่านเรียก ใช้กุศลจิตคิดดับอกุศลจิต กศลวิตกดับอกุศลวิตกเป็นนามดับนาม เป็นประโยชน์ดีมากแต่จิตจะติดคิดเป็นนิสัยซึ่งต่างจากการทำ พุทโธ ดูลมหายใจ หรือ ทำเพ่งกสิน หรือ อุปสมานุสสติ เป็นต้น



๒. ปารถนากระสันเกินไป..เป็นไฉน ความอยากได้สมาธิอยากถึงสมาธิปารถนาในฌาณมากไป ปารถนาอยากได้ในอภิญญามากไป ปารถนากระสันจะได้นั่นได้โน่นได้นี่มากไป ยิ่งปารถนามากยิ่งฟุ้งซ่านมาก ต้องมีสติเป็นเบื้องหน้าทำจิตไว้ในความสงบไม่จับความตรึกนึกฟุ้งซ่านกระสันมาเป็นอารมณ์ดังนี้คือ

ก. พุทโธ พุทโธคือผู้รู้ ผู้แจ้งชัดรู้ชัดปัจจุบัน รู้พุทโธคือรู้ปัจจุบันขณะ พุทโธคือพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนเป็นที่สุดในสามโลกทั้ง อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สมาธิ ฌาณ อภิญญา ญาณ บารมี ปัญญา ไม่มีใครเสมอเหมือน แค่ระลึกถึงพุทโธก่อนตายแม้ไม่เคยทำบุญมายังได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต(ดูจากพระสูตรที่มีเศรษฐีขี้เหนียวไม่นับถือพระพุทธเจ้าและลูกตายไปก่อนตายลูกระลึกถึงพระพุทธเจ้าจึงไปเกิดเป็นเทวดาแม้ไม่เคยทำบุญใดๆมา) เมื่อรู้ว่าพุทโธมีคุณมากดังนี้ พุทโธคือพระศาสดา เราก็จะไปเอาฌาณ เอาญาณ เอาอภิญญา เอาปัญญาความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง เอาวิชชา ๓ วิชชา ๘ เอาฉฬภิญโญ เอาปฏิสัมภิทาญาณนี้กับพุทโธนั่นแหละ จะไปเอากับพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วก็ตั่งจิตมั่นทำไว้ในใจปักหลักรู้ลมหายใจเข้าออกไว้ที่ปลายจมูกไม่หวั่นไหวไปตามลมแล้วก็บริกรรมตรึกหน่วงนึกถึงพุทโธไปเรื่อยจะกำหนดรูปพระพุทธเจ้าด้วยก็ยิ่งดี ต่อไปมันจะดับ จะดิ่งวูบ แช่อยู่ก็ช่างมันปล่อยมันไประลึกแค่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามจิตจับที่พระพุทธเจ้าอย่างเดียว อย่างนี้นี่เข้าสมาธิได้ไวนัก

ข. ทำไว้ในใจถึงคุณ อรหังของพระพุทธเจ้า คือ ความดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีกิเลสทุกข์ ความดับ ความไม่มี ความสละคืน มันคือความว่างนั่นเอง เอาความว่างเป้นอารมณ์ ขอคุณแห่งสัมมาอรหังของพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแก่ตนน้องเอาความไม่มีกิเลสไม่หดหู่ฟุ้งซ่านของพระพุทธเจ้ามาสู่ตน เอาจิตจับความว่าง ความไม่มีนั้น
- หายใจเข้าตรึกนห่วงนึกถึงความว่างบริกรรมว่า "ว่าง" หายใจออกตรึกนห่วงนึกถึงความว่างบริกรรมว่า "หนอ"
- อากาศมีมากในใจ ทำใจประดุจอากาศธาตุ(อากาศคือความว่างไม่มีที่สิ้นสุด ความว่างนี้คือความไม่มี พื้นที่ว่างทั้งหมดไม่มีกิเลสนิวรณ์..เมื่อทำใจให้เป็นอากาศใจก็ว่างจากกิเลสนิวรณ์อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง)
- ทำไว้ในใจถึงความไม่มี ไม่เอา ไม่หยิบจับเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ทั้งปวง ทำไว้ในใจถึงความไม่มี ความดับ ความสละคืนเป็นที่ตั้งแห่งจิต (หากหัดเข้ารูปฌาณอันนี้คือละสมมติความตรึกนึกคิดฟุ้งซ่าน,หากเป็นอรูปฌาณท่านเรียกทางทำไว้ในใจเข้าสู่อกิญจัญญายตนะ)





ทั้งหมดนี้เป็นอาหารให้แก่การเดิน โพชฌงค์ตามกาล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 21, 2016, 03:09:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #219 เมื่อ: มีนาคม 22, 2016, 09:00:38 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙

ทำไมต้องพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์
จึงสอนให้ห็นทุกข์ สอนให้ปลงใจ เห็นไตรลักษณ์
และ การฝึกสมาธิจนเข้าวสีฌาณได้


      พอดีวันนี้หมอนัดตรวจอาการหูอักเสบ จึงไปหาตามหมอนัด แต่หมอติดผ่าตัดต้องรออีกนานประมาณ 2 ชม. เราเลยรู้สึกเบื่อๆเซ็งๆไม่อยากรอ แต่ขณะที่รอพอมองไปทางไหนๆผู้ช่วยพยาบาลกับหมอหญิงก็ใส่ชุดโครตบางเลย เห็นแล้วก็เพลิน..พอเพลินก็คิดเกินที่เห็น..เลยกระสันกำหนัดหนัก
       ก็พอดีมีสติรู้แล้วเปลี่ยนล้างสัญญาจากการรู้รูปด้วยราคะลงในธรรม หัดคิดกุศลแทน หัดทำสันดานพระอริยะคือลงไตรลักษณ์ให้หมด จึงทำกุศลวิตกตรึกนึกคิดว่า..

๑. เขาทำบุญอะไรมาหนอถึงได้สระสวยงดงามอย่างนี้ เราต้องทำบุญอย่างไหนบ้างหนอถึงจะงดงามมีหน้าที่การงานฐานะดีคู่ควรและเป็นที่ชอบใจแก่คนสวยๆอย่างนี้บ้าง

๒. แล้วก็นั่งมองดู กกน. ไปดูขาเรียวๆขอผู้ช่วยพยาบาลคนสวยๆไปด้วยใจตรึกหน่วงนึกคิดลงธรรมว่า..
- สิ่งที่เห็นอยู่นี้ ที่เราติดใจอยู่นี้มันจะอยู่ได้อีกนานไหมหนอ แม้ได้สิ่งที่เห็นมาครอบครองแล้ว แต่ความจำเริญใจนั้นจะอยู่ได้นานสักเท่าไหร่
- เหมือนเราสมัยยังเป็นวัยรุ่นแรกๆก็มีคนที่ตนรักที่ตนหลงไหลอยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น พอนานไปสิ่งนั้นก็ไม่จำเริญใจแล้ว ก็เบื่อหน่ายติดใจอันใหม่ที่สำคัญใจไว้ว่าสวยว่างดงาม ตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจหมายปองในรูปแบบนั้นๆ จดจำสำคัญใจอย่างนั้นไว้เยอะมากจนทับถมเต็มใจ เป็นเหตุให้เราสำคัญใจหมายรู้อารมณ์ไร รู้รูปที่ตาเห็นนั้นด้วยราคะ รู้เสียงที่หูได้ยินด้วยราคะ รู้กลิ่นที่จมูกได้รับด้วยราคะ รู้สัมผัสกายกับต่างเพศด้วยราคะ มีใจรู้ความรู้สึกทั้งปวงด้วยราคะ จนมันติดเป้นนิสัยสะสมจนเป็นมิจฉาบารมี เห็นปุ๊บเงี่ยนปั๊บ อยากอึ๊บทันที .."นี่กามราคะมันอิ่มไม่เป็น ยิ่งเสพย์ยิ่งนึกถึงยิ่งแสวงหากระสัน"
- ก็เลยมองๆไปจิตมันหน่วงนึกเห็นความไม่เที่ยงของขาสวยๆ หุ่นดีๆ หน้าตางามๆ ก็พอดีมียายแก่ๆเดินผ่านมาจึงทำให้เราเห็นว่า..ที่เราจำเริญใจกำหนัดอยู่นี้ไม่นานก็เป็นของน่าเบื่อ แปรปรวน เสื่อมโทรม สูญสลาย รอวันดับไปแบบป้าคนนี้ มันเห็นความไม่ยั่งยืนในความงามนั้นเลยหายกำหนัด
- จากนั้นเอาจิตน้อมเข้ามาภายใน..รู้ว่าเรากำหนัดเงี่ยนเพราะติดความตรึก ความนึกคิดสมมติเกิดสิ่งที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยความหมายรู้อารมณ์ไรๆด้วนสำคัญใจไว้ในราคะนั้นเอง จิตมันไม่ตั้งมั่นที่ปัจจุบัน สัมปะชัญญะไม่มีไม่เกื้อกูลแก่สติ เราจึงควรตั้งมั่นในปัจจุบันให้มากทำสัมปะชัญญะให้เกิดขึ้นคู่สติ เมื่อเห็นดังนั้นจิตมันก็ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันแทน เห็นรูป ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสกาย เสวยอารมณ์ทางใจเฉพาะปัจจุบัน แล้วก็เจริญพุทโธไปเรื่อยๆ มันเลยปลงใจได้เพราะมีสมาธิหนุนให้เกิดความฉลาดในการปล่อยวาง จิตไม่ยึดทางโลก พอไม่ยึดทางโลกเลยมานั่งสมาธิ..
- เพราะจิตที่ปลงได้แล้วคลายความยึดทางโลกแต่มาหน่วงนึกถึงอารมณ์ธรรมแทน นึกถึงความไม่มี มีจิตหน่วงนึกอยู่ในอารมณ์ฌาณที่เคยเข้าถึง มันสุข มันว่าง มันสงบไม่ไปยุ่งกับภายนอกที่มีแต่ทุกข์ จิตหน่วงนึกลงภายในจับอารมณ์ฌาณสมาธิแทน พุทโธไปเรื่อยหน่วงนึกถึงพระพุทธเจ้าเอาคุณแห่ง อรหัง และ พุทโธ มาเป็นอารมณ์ มันก็เข้าสมาธิได้ทันที จิตมันพักมันดับมืดไม่มีความคิดแช่อยู่นิ่งเลย สักพักมันหลุดอารมณ์ออกมาแต่รู้สึกว่าจิตมีกำลังมากมีกำลังอัดแน่นภายในเหมือนตัวพองโตขึ้นอย่างนั้น แล้วก็เริ่มรับรู้สิ่งรอบข้างเหมือนปกติ
- แต่ด้วยจิตมันไม่อยากหลุดจากสมาธิ เราจึงทำไว้ในใจจับเอาอารมณ์ปริ่มๆของสมาธิที่ยังมีอยู่นิดๆเป็นอารมณ์ มันก็วูบเข้าไปใหม่อีก สักพักนึงมันก็หลุดวูบออกมาจับรู้อารมณ์ภายนอก เราก็ทำไว้ในใจให้คลายความยึดอารมณ์ภายนอกแล้วปลงใจจากอารมณ์ภายนอก แต่จับหน่วงนึกถึงอารมณ์ฌาณเอามาตั้งเป็นอารมณ์มันก็เข้าไปในสมาธิอีก ทีนี้แรกๆมันจะนิ่งแช่อยู่พอรู้ตัวแล้วไม่เอาจิตเข้าไปหาอารมณ์นั้นมากไป ทำแค่รู้อยู่ เลยลองถอยออกมาอารมณ์ปกติ คือ คลายอารมณ์ที่จิตมันจับสมาธินั้นแล้วหน่วงนึกอารมณ์ที่มารับรู้ตามปกติเป็นที่ตั้งของจิตมันก็ถอยออกมาที่ภาวะนั้นทันที แล้วลองคลายอารมณ์ปกติไปหน่วงนึกอารมณ์สมาธิในแต่ละระดับที่เคยเจอ จิตมันก็วูบไปตามนั้นทันที ลองเล่นไปมาอยู่จนนานเท่าไหร่ไม่รู้ เลยออกจากสมาธิ พอออกจากสมาธิแผ่เมตตาเสร็จ..คนรอบข้างไม่กล้านั่งข้างเราหนีออกไปนั่งที่อื่นหมด แล้วจ้องมองเราอยู่ เรารู้สึกอายและคิดว่าเขาคงเกรงใจเห็นนั่งสมาธิเลยไม่อยากรบกวนมั้ง ไม่ก็เห็นว่าเราบ้า..




แต่ครั้งนี้ทำให้ฉันแจ้งชัดขึ้น 2 อย่างคือ

1. ทำไมพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์มักเทศนาให้เห็นทุกข์และไตรลักษณ์ไม่สอนกรรมฐานเลยทันที..นั่นเพราะให้กำหนดรู้ทุกข์ เพื่อเกิดความปลงใจ เมื่อปลงใจได้จิตมันคลายจากทางโลกน้อมมาทางธรรมแล้วจิตมันจะตั้งมั่นง่าย แล้วจิตจะน้อมเข้าภายมาในเห็นสิ่งที่ควรละ แจ้งในการทำความอิ่ม ความพอ ความดับ ความไม่มี รู้สิ่งที่ควรทำให้มาก แล้วเข้าถึงปัญญาเป็นที่สุด

2. สมาธิ วสี จึงเข้าใจคำที่พระตถาคตตรัสสอนว่า เพราะละสิ่งนี้ๆได้ สิ่งนี้ๆดับ จึงเข้าถึงจุดนี้ๆได้..เราเห็นว่าการทำไว้ในใจถึงวสีไม่มีสอนในตำรา มันต้องรู้เองเท่านั้น แต่ละคนทำต่างกัน แต่การทำไว้ในใจคงไม่ต่างกันมากนั่นคือ..
2.1 ทำใจให้คลายอารมณ์ที่เป็นอยู่ในปัจุบัน
2.2 ทำใจไว้หน่วงนึกถึงอารมณ์ที่จะเข้า

    อุปมาเหมือน..เด็กที่กินนมแม่ไม่ยอมหย่านม เพราะจิตติดหน่วงนึกในจำเพาะนมที่กินมาตลอด แม้เห็นของอื่นสิ่งอื่นก็ไม่ต้องการ ก็จนเมื่อจิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่นในนมได้ แล้วหน่วงนึกถึงของกินอย่างอื่น จึละและผละจากนมมากินข้าง กินขนม กินสิ่งอื่นๆได้ฉันใด
    การเข้าสู่สมาธิมีจิตตั้งมั่นชอบก็ต้องละทางโลกด้วยเช่นกัน และ การจะเลื่อนจากสมาธิจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจะสูงขึ้นหรือถอยออกก็ต้องทำไว้ในใจถึงความคลายจากอารมณ์ปัจจุบัน ไปทำใจไว้ในใจหน่วงนึกอารมณ์ที่จะไปต่อด้วยเช่นกันฉัน


สิ่งที่เราเข้าใจตามนี้นะอาจจะไม่ถูกไม่ตรงตามจริง..แต่มันใช้ได้กับเราและดับราคะของเราได้ในวันนี้

กรรมฐานของพระพุทธเจ้า หากตั้งใจทำจริง ต้องการพ้นทุกข์จริงๆ หากกจะเอาจริงไม่ยากเลย แค่ทำไว้ในใจเป็น
- ฟังธรรมพระอรหันต์เยอะๆ
- มีความยินดีทำในศีล ทาน
- มีความเพียรทำเหตุให้มากๆ
- ฝึกสติ สัมปะชัญญะ ให้เกิดขึ้นบ่อยๆให้มากๆเพื่อให้จิตเป็นกุศล มีความฉลาด
- ฝึกสมาธิ ปัญญา ให้มากๆเพื่อให้เราฉลาดในธรรมรู้เห็นตามจริงไม่มีสมมติ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2016, 10:17:50 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #220 เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 12:34:48 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 28 มีนาคม 2559

สัมมาทิฐิ เป็นเรื่องของพระอริยะ ของปุถุชนคือ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิ โดยแท้จริงแล้ว เป็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย สัมมาทิฐิไม่ใช่มานั่งนึกนั่งคิดเอาไรๆทั้งสิ้น สัมมาทิฐิ เป็น ยถาภูญาณทัสสนะ คือ ปัญญาในธรรม การรู้เห็นตามจริง ของจริง ไม่ใช่ตรึกหน่วงนึกเอา และ สัมมาทิฐิ เป็น นิพพิทาญาณ และ วิราคะ กล่าวได้ดังนนี้ว่า

สัมมาทิฐิ มีลำดับดังนี้

๑. เกิดความรู้เห็นตามจริง ของจริงแท้ ไม่ใช่ความตรึกหน่วงนึกคิด เป็น ญาณทัสสนะ
๒. เห็นความไม่เที่ยง ความไม่คงทนถาวรยั่งยืนอยู่ได้นาน มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แปรปรวน เสื่อมโทรม และ ดับสูญไปเป็นที่สุด เห็นของจริงไม่ใช่มานั่งคิดเอา ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เป็น นิพพิทาญาณ
๓. เห็นความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่ว่าสิ่งหนึ่งๆ ก้อนกองหนึ่งๆเกาะกุมรวมกันสงเคราะห์กัน เป็นเหตุปัจจับแก่กัน อาศัยกันเกิดมีขึ้น สักแต่ว่าเป็นธรรมหนึ่งๆนั้นๆไม่มีอะไรทั้งสิ้น ความว่าง ความไม่มี เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่มีเราในสิ่งไรๆ สิ่งไรๆไม่มีในเรา เห็นของจริงๆไม่ใช่มานั่งตรึกหน่วงนึกคิดเอา ทำให้เกิดอาการที่ตัด เป็น วิราคะ ตัดสังโยชน์ได้ ถึงความสละคืน


ความคิดเป็นเพียงสัมมาสังกัปปะ คิดออกจากทุกข์เอาสมมติมาหน่วงนึกเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น ถ้าผู้ที่ถึงสัมมาทิฐิแท้จริงแล้ว ท่านจะไม่มี ไม่เอา ไม่เห็น อะไรทั้งสิ้น ทุกสิ่งในโลกคือความไม่มีอะไรทั้งนัน

"ด้วยการตรึกหน่วงนึกน้อมไปในอารมณ์ธรรมจากคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ ความไม่เที่ยงทำให้เบื่อหน่าย" เมื่อเราทำงานพักกลางวันจิตมันหน่วงนึกอารมณ์อยู่อย่างนี้ๆไปเรื่อยๆ จนจิตมันปลงสงบขึ้นอารมณ์ธรรมเกิดหน่วงนึกถึงดูคนสวยๆตรงหน้า แล้วกปลงใจเกิดอารมณ์สมถะแบบอ่อนๆ ทำให้เห็นดังนี้(แต่ก็ยังเป็นเพียงสัมมาสังกัปปะ เพราะลืมตาดูหน่วงนึกคชตรึกตรอง ไม่ได้เห็นในสมาธิตามจริง) "เราจึงเข้าใจที่หลวงพ่อเสถียรท่านจะหัวเราทุกครั้งที่เราพูดถึงว่าเราเห็นสัมมาทิฐิ และ เข้าใจคำที่หลวงปู่บุญกู้สอนเราว่ามันเป็นความคิดชอบ คิดออกจากทุกข์ คิดลงในธรรมมันเป็นการฝึกสร้างสัมมาทิฐิของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป" เพราะที่เราหลงว่าเป็นสัมมาทิฐิ มันคือความคิดเท่านั้น สัมมาทิฐิเกิดมีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้น มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น โดยเข้าใจว่าโสดาปัตติมรรคยังละสังโยชน์ได้เพียงหนึ่งอย่าง สองอย่าง แต่ยังไม่ถึงพระโสดาบันจริงๆที่ละสังโยชน์ได้ ๓ เมื่อละครบ ๓ อย่างจึงเป็นพระโสดาบันแท้ เรียก โสดาปัตติผล

-ดังนี้แล้ว..ตราบใดที่ยังเป็นแค่ปุถุชน ก็อย่าหลงปัญญาทางโลกโดยสมมติของตนว่า..ได้สัมมาทิฐิ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2016, 04:13:42 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #221 เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 11:47:16 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกรรมฐาน ๒ เมษายน ๒๕๕๖

ทุกข์ จริง ชิน ถอน

วันนี้ไปฟังหลวงปูบุญกู้เทศนาตอนท่าย และ พาแม่ พี่สาว และ อั่งเปาไปถวายสังฆทาน หลวงปู่บุญกู้เทศนาสอนเรื่องพระรัฐปาลเถระ พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา โดยย่อว่า..ท่านเป็นลูกเศรษฐี พระราชาถามว่าทำไมท่านจึงบวชทั้งๆที่มีทุกอย่าง ทั้งหน้าตา รูปร่าง เงินทอง สุขภาพ พลานามัย อายุ วรรณะ สุขะ พละ

ท่านขึงเทศนาสอนว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาเทศนาสอนว่า แม้จะมีคนที่ประกอบไปด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ได้ทุกสิ่งทุกอย่างตามปารถนาหมดสิ้น แต่ก็ไม่มีใครจะล่วงพ้น ความเจ็บ ความป่วย ความชราไปได้ แล้วในที่สุดก็พรัดพราก ต้องตาย แล้วก้เวียนว่าย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในวัฏฏะสงสารไม่มีสิ้นสุด
(ทำให้นึกถึงเตี่ยแม่ที่แก่ชรา เตี่ยแก่ชรา แล้วก็เจ็บ ตาย แม่ก็แก่ชราและเจ็บป่วยต้องไปหาหมออยู่ตอนนี้)

แล้วหลวงปู่ก็เทศนาเพิ่มเติมว่า ร่างกายเราเมื่อล่วงพ้นตอนเด็ก ก็โตขึ้น เป้จวัยรุ่น วัยกลางคน แล้วก็แก่ชรา เจ็บป่วย เป็นโรค แล้วก็ตายในที่สุด
(อันนี้เรามองย้อนใส่ตัวเองสลดใจยิ่งนัก เห็นตนที่เจ็บป่วยและแก่ตัวลงยิ่งสลดใจต่อร่างกายนี้มาก เกิดความปลงใจ)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=6825&Z=7248


เมื่อคืนวันนี้เวลาประมาณเที่ยงคืน เราระส่ำนอนไม่หลับคิดถึงเรื่องราวที่ไม่พอใจยินดีต่างๆนาๆ จนระส่ำไม่เ)็นที่สบาย นอนไม่หลับ ขึงถึงประมาณตี 1 แม้พยายามทำสมาธิก็ไม่ได้ จึงได้หวนระลึกทำไว้ในใจดังนี้ว่า..

- เรื่องมันผ่านไปแล้วเราจะไปติดใจอะไรอีกหนอ
- เราใจแคบเกินไปไหม
- เราทำนั้นผิดที่ผิดทางไปไหม
- เราต้องเอื้อเฟื้อความสุขสำเร็จเป็นที่สบายกายใจไปสู่ผู้อื่นให้มากกว่านี้ เมื่อทุกคนเสมอกันก็ควรที่จะได้รับเช่นกัน ไม่ควรตั้งความยินดียินร้ายติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเพราะมันหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ และ โทษภัย


จากนั้นเราก็ทำไว้ในใจเพื่อที่จะทำความสงบใจดังนี้ว่า..

- เจริญพุทโธ มีสติเป็นเบื้องหน้าทำพุทโธให้เกิดขึ้นในใจเราให้เป็นผู้รู้ รู้ในปัจจุบันขณะ มีสัมปะชัญญะไม่เอนเอียงตามความคิดความรู้สึกปรุงแต่งสมมติ ตั้งปักหลังอยู่ในปัจจุบันขณะ
- ทุกข์ ปุถุชนอย่างเราก็ทำเพื่อปลงใจให้จิตมันเบื่อหน่ายที่จะไปเสพย์ความสำคัญมั่นหมายของใจนั้นๆย้ำคิดย้ำทำให้เกิดความคิดปรุงแต่งสมมติไปทั่วขึ้นมา ทำเหตุให้นิพพิทาญาณเกิดขึ้น คือ กำหนดรู้ทุกข์ดูความระส่ำจนนอนไม่หลับของเราสิ นี่มันคิดสมมติอดีตที่ผ่านไปแล้วให้เกิดขึ้นเสพย์อารมณ์เร่าร้อนขุ่นข้องใจอยู่ในปัจจุบันเสียได้ มันดีหรือไม่ดี มันมีคุณหรือโทษ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า มันไม่ดีมีโทษเป็นทุกข์ใช่หรือไม่ ดังนั้นอย่าไปติดใจข้องแวะความคิดที่ประกอบไปด้วยทุกข์นั้นเลย
- จริง ปุถุชนอย่างเราก็ทำเพื่อให้จิตน้อมไปในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ทำเหตุเพื่อการละเหตุในการสร้างสมมติแห่งทุกข์ คือ จับเอาอาการความรู้สึกที่ตนนั้นเรียกว่าทุกข์เรียกว่าชังดูเพื่อเห็นสิ่งที่ควรละ โดยน้อมดูความรู้สึกจากอาการที่เกิดมีขึ้นต่อกายใจตน เห็นว่ามันมีแค่อาการที่ขุ่นหมอง ที่อัดๆร้อนๆรุ่มๆอยู่ที่เกิดจากการเสพย์ความคิดนี้ๆอยู่เท่านั้น ยิ่งเข้าไปร่วมกับความคิดนั้นๆมากเท่าไหร่อาการนี้ๆก็เกิดแรงขึ้นและอยู่นานขึ้นเท่านั้น จะถอนความคิดก็ทำไม่ได้ จะดับความคิดก็บังคับไม่ได้ จะให้ความสงบตั้งอยู่แทนอยู่ยั่งยืนนานก็ไม่ได้ ทำได้แค่ปล่อยให้จิตมันคิด เมื่อปล่อยมันคิดไปเรื่อยๆโดยที่เราตั้งสติอยู่เป็นเบื้องหน้าทำพุทโธไปไม่สนใจใส่ใจความคิดนั้นคือไม่เข้าไปเสพย์ตามความคิดมีแวบเข้าไปรู้ตัวขึ้นมาก็ทำแค่รู้ว่าเราคิดสิ่งนี้ๆ ติดใจ ขัดใจ ข้องแวะร่วมไปในความคิดหรือสิ่งนี้ๆ พอเมื่อจิตนิ่งมีกำลังไม่สัดส่าย มันจะเห็นเลยว่าเพราะจิตมันน้อมไปจงใจเข้าไปหาในความจำได้หมายรู้อารมณ์จดจำสำคัญมั่นหมายของใจในเรื่องที่รักที่ชัง มันก็จึงตรึกสร้างสมมติล่อหลอกจิตให้ลงเสพย์ตามขึ้นมา ไม่มีอะไรอื่นอีกเลยนอกจากความคิดที่เกิดจากความจดจำในอารมณ์ที่รักที่ชังมาปรุงเรื่องราวสมมติต่างๆนาๆให้ตนเป็นทุกข์ไปอีก ควรหรือไม่ควรที่จะไปติดใจข้องเสพย์ความจำได้หมายรู้อารมณ์อันเป็นทุกข์นั้น
- ชิน ปุถุชนอย่างเราก็ทำเพื่อให้ปลงใจได้ ทำเหตุให้ปลงใจไม่ยินดียินร้ายให้ความสำคัญต่ออาการที่เป็นุสขเป็นทุกข์ทั้งปวงที่เกิดมีขึ้นในปัจจุบัน คือ อาการเหล่านี้ๆที่มันร้อนๆเร่าๆ รัก โลภ โกรธ หลง กำหนัด กระสัน เงี่ยน ความคิดที่เป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง มันมีเกิดขึ้นอยู่ทุกๆวันทุกๆเวลาทุกๆขณะอยู่แล้ว รายล้อมเราไปอยู่ทุกวันไม่มีหยุดเป็นเรื่องปกติของใจอยู่แล้ว ห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็น ไม่ให้ปรุงก็ไม่ได้ คิดเรื่องนี้แล้วก็ไปเรื่องโน้นเรื่องที่ผ่้านมาก็ดับไปทุกข์กับเรื่องใหม่แทน แล้วก็มาคิดเรื่องเดิมให้เป็นทุกข์ เรื่องที่กำลังคิดอยู่ก็ดับ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปๆมาๆไปเรื่อยของมันไม่สิ้นสุด นี่มันเป็นอยู่ทุกวัน ไม่เนื่อยไม่หน่ายมันบ้างหรือ มันเป็นปกติของใจมันอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่เลยเราควรจะชินกับมันได้แล้ว ควรจะชินชากับมันเฉยๆกับมันไม่ควรใส่ใจอะไรกับมันอีก จะไปใส่ใจสิ่งที่ทำให้กายใจเราเร่าร้อนเหมือนจุดไฟเผาตนให้มอดไหม้เป็นทุกข์ทำไม
- ถอน ปุถุชนอย่างเราก็ทำเพื่อกดข่มบ้าง เพื่อทำเหตุละถอนใจออกจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองเครื่องแผดเผากายใจตนได้บ้างบางเวลา บางขณะ คือ ปลงจิตทำสมาธิพุทโะไป เอาจิตน้อมเข้าจับอาการความรู้สึกที่เกิดขึ้นไว้ เช่น ความอึดๆอัดๆ อึกๆอักๆ เร่าๆ รุ่มๆ ร้อนๆ ระส่ำ สั่นกระสัน อัดปะทุ เกร็งๆดันๆ หดหู่ ห่อเหี่ยว เศร้าหมอง มัวหมอง ขุ่นๆไม่ผ่องใส ดุอาการมันไป มันเกิดตรงนี้มบ้าง ตรงโน้นบ้าง เหมือนกลุ่มก้อนเมฆดับครึ้นฝนที่มาปกคลุมรายล้อมจิตที่ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา มันก็มีอยู่แค่นี้อยู่ทุกๆขณะจิต เวียนวนไปมาตลอดเวลาไม่มีอะไรอื่นอีก เราก็ควรจะชินกับมันได้แล้ว จะไปสนใจใส่ใจทำมันให้มีค่าต่อใจขึ้นมาทำไม ตั้งใจมั่นให้จิตไม่กวัดแกว่งตามความขุ่นหมองที่รายล้อมจิตนั้นๆ ตั้งใจมั่นทำพุทโธไปพร้อมกับดูมันไปปล่อยมันเกิดรายล้อมใจอยู่อยู่อย่างนั้นด้วย..ความชิน ความช่างมัน สักพักจิตมันก็นิ่งว่างอาการที่เร่าร้อนทั้งปวงดับไป ไม่มีแล้ว จิตมันเฉนเป็นที่สบายมีกำลัง แล้วจิตมันก็เข้าไปรู้ว่ามันไม่มีความร้อนความขุ่นหมองอีกแล้ว สักพักชั่วพริบตานั้นความตรึกหน่วงนึกก็ค่อยเกิดขึ้นพร้อมกับอาการที่สบายๆเบาๆว่าเราถอนมันแล้ว ควรถอนมันทิ้งไปเสียให้หมด มันดับไปแล้วถอนแล้วไม่มีแล้ว เราไม่ควรไปให้ความสำคัญใส่ใจยินดียินร้ายกับมันอีก มันก็มีแค่นั้นเอง(ความตรึกหน่วงนึกกับวติในขณะนี้เหมือนมันจะแยกกันอยู่ด้วยอานิสงส์ของพุทโธ) เหมือนดั่งเกิดมีกองไฟอยู่ แล้วเราไม่เติมเชื่อไฟต่อ ตัดเชื้อไฟออกจากกองไฟ ไฟมันก็เผาไหม้ต่อไม่ได้

จากนั้นเราก็อธิษฐานจิตทำสมาธิไปเรื่อยๆจนหลับแล้วให้ตื่นมาตอน 7.00 น. โดยได้พักร่างกายเต็มที่ (เนื่องจากเป็นช่วงสลับกะแล้วหยุดวันเดียวทำให้วันที่ 1 เมษายนเราแทบจะไม่ได้นอนเลย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 02:09:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #222 เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 11:57:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ย้ำตนเองให้รู้ตัว ให้รู้จักเจียมตัว ไม่หลงตน เราไม่มีตัวตน

เราไม่สำคัญต่อใคร ไม่ดีกว่าใคร ไม่มีโอกาสดีๆเหมือนใครเขา

ทำดีที่สุดก็ได้แค่นี้ไม่มีมากกว่านี้อีก เป็นแค่อากาศที่ว่างเปล่า

ดังนั้นใช้ร่างกายและจิตใจนี้ตั้งมั่นทำประโยชน์สุขให้เกิดมีแก่ผู้อื่น

จักสละให้เอื้อเฟื้อความสุขสำเร็จแก่ผู้อื่น

..จากที่เราพบประสบพบเจอในชีวิต ไม่ว่าจะทางโลกก็ดี หรือ ทางไหนๆก็ตาม จนถึงทุกวันนี้เราก็พบเจอแต่ความผิดที่ ผิดกาล ไม่ถูกที่ถูกทาง แม้จะตั้งใจดีเจตนาทำดี แต่ก็ไม่เคยได้ดีเลย กลับเจอแต่เรื่องร้ายๆ ถ้อยคำถากถาง สายตาเหยียดหยาม ถูกมองดูต่ำ เงินเดือน 10,000 บาท ใช้นี้เป็นแสน เลี้ยงลูกลำบาก เงินกินมีกินสบายบ้างอดกินบ้าง เงินทำบุญก็มีน้อยไม่เหมือนเขา เวลาไปทำบุญอยากทำเยอะๆก็ไม่มีเงินจะทำ ทำน้อยเมื่อหลายๆคนที่มาทำบุญเพราะแสวงหาลาภก็มองไม่ดีต่อเรา จะไปที่ใดก็ลำบากแทบจะไม่มีคนใดเมตตา ทำอะไรก็ไม่เจริอญ ทำคุณคนไม่ขึ้น ช่วยเขาเราเจ็บบ่อยครั้ง เจอแต่เหตุการณ์ร้ายๆบ่อยๆเนืองๆ เพราะเรามีกรรมเยอะ ไม่มีบุญ ไม่มีค่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ มีน้อย และ โอกาสดีๆที่จะได้ทำอะไรตามปารถนามากมาย นับครั้งได้เลยก็ว่าได้กี่ครั้งในชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความภาคภูมิใจต่อเราที่สุดคือ ได้เกิดมาเป็นลูกเตี่ยกับแม่ที่ปฏิบัติดำรงอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างดี มีพี่สาวพี่ชายที่ดี ได้มีภรรยาที่เป็นแม่ของลูกที่งดงามเบญจกัลยาณีประดุจนางฟ้ามาโปรด ได้ลูกใช้ผู้ประกอบไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อดทนมีจิตใจดีงาม เป็นกำลังใจให้ปะป๊าทุกครั้งที่ล้มหรือเหนื่อยล้า มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์สั่งสอนแต่เมื่อก่อนก็เข้าไม่ถึงไม่แจ้งใจ เพราะเอาอารมณ์ที่ผิดหวังไม่สมปารถนามาเป้นที่ตั้งแห่งอารมณ์ เอาความอยาก เอาความโกรธแค้น เอาความหลง มาตั้งอยู่ในใจทุกๆขณะ

..จนปัจจุบันนี้ก็ได้โชคดีพบหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านได้อนุเคราะห์ชี้แนะสั่งสอนทางธรรมให้ ทำให้ดำรงชีวิตกับความยากลำบากได้ดีขึ้น แม้จะเจออะไรร้ายๆก็เอาใจลงธรรมตามที่หลวงปู่เทศนาสอนเราไว้ก่อน ถึงแม้ว่าชีวิตนี้จะเจอเรื่องร้ายๆมากมายจนเหนื่อยล้าในชีวิตอยากตายๆไปเสียได้ แต่เพราะได้ธรรมของพระพุทธเจ้าที่หลวงปู่บุญกู้เทศนาสั่งสอนญาติโยมทั้งหลายถ่ายทอดให้ออกมาให้เข้าใจง่าย ทำให้เราไม่ว่าจะเห็นดิน หิน ทราบ น้ำ ลม ไฟ อากาศ คน สัตว์ ต้นไม้ ใบหญ้า เมฆ หมอก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง คนเดินไปมา ศพ สถานที่ ภัยธรรมชาติ ฤดูที่แปรผัน ก็เห็นธรรมได้ แต่ใจก็ยังเป็นเพียงแค่ปุถุชนที่เอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ รวมทั้งพระอริยะเจ้าทั้งหลายมาสถิตย์ใส่สันดานตนเพื่อหวังหลุดพ้นทุกข์ตามท่านทั้งหลายนั้น จึงทำให้บ้างก็ควบคุมสงบใจได้ บ้างก็ขันแตก บ้างก็เห็นธรรม บ้างก็มืดบอด เพราะเป็นแค่ปุถุชน รู้ได้แบบปุถุชน มีปัญญาโดยสัญญา มีความตรึกหน่วงนึกเป็นธรรมชาติของจิต จึงทำได้เพียงเท่านี้เท่านั้น
..ทุกวันนี้ชีวิตก็ดีขึ้นบ้างด้วยอานิสงฆ์ที่หลวงปู่แผ่บุญกุศลให้เรา และ การที่เราได้พบเจอหลวงปู่ ได้ฟังพระสัทธรรมจากหลวงปู่ที่ท่านอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อประสิทธิ์ประสาทความรู้แจ้งให้ได้เห็นจริงจนเกิดศรัทธาด้วยปัญญาต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน พร้อมทั้งครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ได้อนุเคราะห์เมตตาเอื้อเฟื้อธรรมอันงามให้มา เราจึงเกิดความตั้งมั่นในคำสอนของหลวงปู่ แม้มีที่ไม่เข้าใจเพราะเราแค่ปุถุชนปัญญาน้อยนักทำให้ปฏิบติแรกๆที่ไม่รู้ก็มีความขัดใจฝืนใจทำอยู่บ้าง ..แต่หลวงปู่บุญกู้ ท่านก็ย้ำสอนให้ อดทนรู้จักขัดใจมันบ้างตั้งมั่นทำเหตุให้ดี จนมีชีวิตที่ดีขึ้นถึงวันนี้ แม้จะไม่สามารถเปลี่ยนชีวิตที่ถูกลิขิตไว้ได้ว่า ต้องพานพบเจอแต่สิ่งร้ายๆ เรื่องร้ายๆ เป้นที่รังเกลียด ไม่เป็นที่รักที่จำเริญใจใคร ถูกดูหมิ่นดูแคลน ถูกด่าว่ากล่าวไม่เว้นแม้จะทำดี ถูกคนใส่ร้ายกลั่นแกล้งนาๆเพื่อเอาผลประโยชน์เข้าตัวเขา ถูกกล่าวหาเสียๆหายๆ ถูกกดขี่ ข่มเหง ฯลฯ ..แต่มันไม่ทำให้เราเลวร้าย มีจิตใจชั่วช้าไปกับเรื่องราวนั้นๆ ต้องตรอมตรมทุกข์เศร้าโศรกเสียใจ ร่ำไรรำพันไปกับสิ่งเหล่านั้นเรื่องราวนั้นๆ จะต้องเป็นคนไม่ดีไปตามคำใส่ร้ายหรือเหตุการณ์นั้นๆ นั่นเพราะได้เรียนรู้ธรรมจากหลวงปู่บุญกู้ด้วยศรัทธายิ่ง และเราได้ตั้งใจมั่นที่จะทำตามที่หลวงปู่สอนให้มากที่สุดเท่าที่สติกำลังเราจะมีจะพึงทำได้ ทำให้เราอยู่ได้จนถึงทุกข์วันนี้ ไม่ยินดียินร้ายกับใครหรือสิ่งใด แม้จะมีแวบเข้ามาแล้วหลงเสพย์ตามให้ใจเศร้าหมองบ้างแต่ก็มีสติไหวทันแล้วละความติดข้องใจ ละความติดใจข้องแวะนั้นๆไปได้ แล้วตั้งอยู่ใน ศีล ทาน ภาวนา มีพุทโธทุกลมหายใจเข้าและออก มีพุทโธเป็นสติกำลัง มีพุทโธเป็นปัจจุบัน มีพุทโธเป้นจิตเป็นตัวรู้

ดังนี้แล้ว เราต้องย้ำในใจเสมอๆว่า ชีวิตเรามันลำบาก มันติดดินดูด้อยค่า เราไม่สำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีค่าอะไรต่อใคร เราไม่ใช่คนนั้น เราไม่ใช่คนนี้ เราไม่ใช่ผู้มีบุญบารมี เราเป็นผู้บุญน้อย เป้นผู้ด้อยโอกาส ไม่คู่ควรแก่สิ่งใดๆ เมื่อมันไม่มีบุญบารมี่ ไม่มีอะไรจะเสียอยู่แล้ว เราไม่ใช่นั้น เราไม่ใช่นี้ นี่ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ตัวตน ดังนั้นจึงต้องตั้งมั่นทำสิ่งที่ดีเป็นกุศลเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นให้มาก อย่าให้เสียชาติเกิดมา เมื่อตนเองไม่สำคัญไม่มีอะไรจะเสียอยู่แล้วจะไปหวงแหนบุญบารมีไปติดข้องใจใครหรือสิ่งใดๆเอามาเผากายใจตนให้มอดไหม้เร็วขึ้นไปทำไม ใครอยากได้อะไรโหยหาาบุญบารมีอะไรก็ให้เขาไป บางครั้งเขาจำเ)้นที่จะต้องใช้เพื่อพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ผัว เมีย ญาติๆ เพื่อนอันเป็นที่รักมากกว่าเราด้วยซ้ำ เรามันบุญน้อยต้อยต่ำ แม้จะเอาให้เขาไปเพื่อให้เขาได้เ)็นสุขอย่าได้ตรอมทุกข์ทนเหมือนเรามันยังจะมีค่ากว่าเลย ขนาดเราทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ กรรมฐานมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันชีวิตก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ทำได้แค่นี้ ดังนั้นจะไปหวงบุญให้ตนเองหรือปิดกั้นที่จะทำให้คนนั้นคนนี้โดยเฉพาะไปก็ไม่มีประโยชน์ บางคนที่มีชีวิตแบบเราหรือลำบากกว่าเราก็มีเราก็เอาสิ่งที่มีอยู่ให้เป้นประโยชน์แก่เขาเสียจะดีกว่า สละเสีย มันไม่มีอะไรมากกว่านี้อีก
 
........................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 03, 2016, 11:50:06 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #223 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2016, 02:54:38 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
**ข้อสำคัญสุดหลวงตามหาบัวท่านสอนว่าให้ปลงใจให้ได้ ถ้าปลงใจไม่ได้ ไปเอาช้างเอาม้า เอาภูเขาเลากา เอาของทั้งโลกมามันก็ทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องกำหนดรู้ทุกข์ให้ได้ก่อน**

     พระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะเกิดนิพพิทาญาณ แล้วออกบวช พระองค์ก็ทรงเห็นทุกข์ก่อนทั้งสิ้น ทุกข์จากความรัก โลภ โกรธ หลง ความไม่สมหวังตามปารถนา ความพรัดพราก ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์จากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วเพื่อได้ปฏิบัติบนทางพ้นทุกข์จึงเห็นชัดแจ้งโลกว่าสังขารโลกทั้งปวง เป็นตัวทุกข์ ความมีขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความเข้ายึดขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ ความมีใจเข้ายึดครองธาตุ ดิน น้ำ ลม ไป อากาศ เป็นทุกข์

     ปุถุชนอย่างเราๆนี้ก็ทำได้โดยความตรึกหน่วงนึกพิจารณา เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ คิดออกจากทุกข์ลงในธรรมอันสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้นจนเห็นทุกข์ เห็นตัวตนแห่งทุกข์ จิตมันจะน้อมลงในธรรมพร้อมตั้งใจมั่นเจริญใน ศีล ทาน ภาวนาไปเรื่อยๆจนเกิดสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ รู้เห็นตามจริงของจริงโดยปราศจากสัญญา และ ความหน่วงนึกตรึกนึกคิด อนุมานเอาเอง เห็นแจ้งถึงความไม่มีในโลก ลงสู่ มรรค ผล นิพพาน สืบไป..

     การปฏิบัติจริงๆนั้นคืออย่าไปหลักการอะไรมากนะ ให้จดจำหลักสำคัญๆในการปฏิบัติไว้ เช่น จุดหลักสำคัญการเจริญกรรมฐานกองนี้ๆคืออะไร ไปแบบไหน เพื่ออะไร แสวงผลอย่างไรได้เท่านั้นก็พอ แล้วเจริญปฏิบัติไปเรื้อยๆทำเพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา พระธรรมะบูชา พระสังฆบูชา มีความยินดีแต่ไม่ปารถนาเจริญปฏิบัติเพื่อสะสมบารมีธรรม กุศลบารมี เพื่อถึงความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้ หรือ เบื้องหน้า ภายหน้า กาลหน้า ชาติหน้า เพื่อไม่ให้เราตกล่วงไปในสิ่งที่ชั่ว ให้ตั้งใจมั่นเจริญใน ศีล ทาน ภาวนา ทำพละ ๕ อินทรีย์ ๕ สะสมไว้ไปเรื่อยๆจนมีอินทรีย์แก่กล้าเพื่อเป็นบารมี ๑๐ ทัศน์ สามารถยกขึ้นเป็นบารมี ๓๐ ทัศน์จนเต็มกำลังใจให้หลุดพ้นทุกข์ แม้ตายไปถึงเราจะไม่บรรลุเป็นพระอริยะสงฆ์พระอรหันต์แต่ก็จะไม่ไปอบายภูมิจักต้องขึ้นสวรรค์เป็นเทพบุตร เทพธิดา เป็นพรหม เป็นต้น

แนวทาง หลักการ กับการปฏิบัติ มันจะต่างกันนะ

      เรียกว่าปริยัติเป็นอย่างนี้ ปฏิบัติเป็นอีกอย่าง แต่อาศัยแนวทางจากปริบัตินั่นแหละในการปฏิบัติ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และ พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านย่อมสอนให้กำหนดรู้ทุกข์ให้เป็นเสียก่อน กำหนดรู้ทุกข์ได้ก็ปลงใจได้ มีจิตน้อมไปในธรรมได้


    - ทางปริยัติ การกำหนดรู้ทุกข์ก็คือ พระอริยะสัจ นั้นแหละ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค บางคนที่เรียนแต่ปริยัติไม่ปฏิบัติก็จะรู้เพียงว่าทุกข์คือความโศรกเศร้าร่ำไรรำพันคับแค้นกายใจไม่สบายกายไม่สบายใจ คือรู้เพียงทุกขเวทนาเท่านั้น เรียนแต่อภิธรรมก็ไปยกเอาว่านามธรรม รูปธรรมเป็นตัวทุกข์ จนทำนามรูปให้เป็นอัตตาแก่ตนไป แต่ยังสัมผัสจริงไม่ได้ สัมผัสได้แต่ความคิดสมมติเท่านั้น จึงมักจะตีความบอกไปว่ามันเป็นลำดับแก่กันต้องเห็นสิ่งนี้ก่อน อันนี้ทีหลัง จนพอเข้าเอาอภิธรรมแล้วก็ทิ้งสมาธิไป แต่ไปนั่งเพ่งนั่งมองเอาความคิดอนุมานของตนเองจนหลงว่าเป็นของจริง
     - แต่โดยการปฏิบัติแล้วใน อรรถถะ เนื้อความ และ พยัญชนะ รูปแบบและลักษณะถ้อยคำที่ใช้ อันบริบูรณ์แล้วไม่ขาดไม่เกิดดีงามแล้วของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงสอนให้เห็น "ผล" ก่อน คือ ทุกข์ และ นิโรธ เพราะเป็นสิ่งที่ปุถุชนคนทั่วไปรับรู้ง่าย เข้าถึงได้ สัมผัสได้ ทำให้เห็นชัดในปัจจุบัน และ หน่วงนึกตรึกถึงได้ ทำให้มีความยินดีปารถความเพียรเพื่อการในภายหน้าได้ แล้วจึงแสดงให้เห็นถึง "เหตุ" ที่ทำให้สิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นว่าเพราะอะไร ควรละ หรือ ควรเจริญให้มากที่ไหนยังไง เพื่อดับผลอันไหน เกิดผลเหล่าใดขึ้นมาในภายหลัง พระตถาคตนั้นตรัสสอนให้เราเห็นโลกเป็นที่ว่าง เห็นความไม่มี แม้นามรูป นามธรรมก็ไม่มีทุกอย่างล้วนสมมติทั้งสิ้น อาศัยกิเลสสร้างสมมติขึ้นมาหลอกให้จิตยึดจิตหลงทับถมไปเรื่อยโดอยอาศัยประตู่รับรู้คือ สฬายตนะ ได้แก่..ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ..นั่นเอง ดังนั้นให้เราปฏิบัติเพื่อถึงความเป็นผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าองค์พระบรมครู จนถึงความเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระพุทธเจ้าไปนั้นเอง


ทางปริยัติว่าการกำหนดรู้ทุกข์ คือ ท่านให้สังเกตุรู้อาการความรู้สึกแล้วไปนั่งแยกว่านี่ของจริง นี่ปรมัตถธรรม นี่สมมติบัญญัติ โดยคิดเทียบเคียงกับความจำที่อ่านที่รู้มา แล้วคิดลงธรรมว่าของจริงมันเป็นแบบสัมผัสอยู่เพียงเท่านี้ไม่มีอื่น
- เรียนรู้ทุกข์จากสิ่งต่างๆอันเป็นนามธรรม รูปธรรม ท่องจำกันไปว่านี้รูป นี่นาม จนครบอภิธรรม 7 คัมภีร์
- หากคนที่มีอภิธรรมเป็นอัตตาท่านก็ให้เรารู้ทุกข์ว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เป็นธาตุ เป็นรูปธรรม นามธรรม บ่นท่องจดจำเอาถึงนามรูป วิถีจิต ที่ตนไม่มีทางเข้าถึงด้วยการมานั่งตรึกนึกคิดอนุมานเอาได้เลย หากปฏิบัติลงใจไม่ได้ นักอภิธรรมก็จะมีนามรูปเป็นตัวตนเป็นอัตตาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์โดยความคิดอนุมาน เพราะติดความจำ ติดความคิดสืบไป หลงตนว่ามีปัญญาแก้ไม่ได้ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจึงบอกให้ทิ้งความรู้ในอภิธรรมไปก่อนแล้วมาเริ่มปฏิบัติไปแล้วความรู้เห็นทั้งหมดในอภิธรรมจะเกิดเห็นชัดเอง


ทางปฏิบัติการกำหนดรู้ทุกข์ คือ ท่านให้รู้แค่ว่าการมีชีวิตถือครองขันธ์ ๕ มีใจยึดครองอุปาทานขันธ์ ๕ แล้วยึดเอาตัวตนทั้งปวงนี้มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
- ท่านให้มีสติสัมปะชัญญะแค่รู้สภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดมีขึ้นไม่อาศัยความคิดสืบต่อสมมติแล้วก็ปล่อยเลยไปไม่ยินดียินร้ายหลงเสพย์อกุศลธรรม ให้รู้ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ ไม่มีรูปธรรม ไม่มีนามธรรม ให้รู้กายรู้ใจตนในภายใน ภายนอก ตั้งมั่นใน ศีล ทาน ภาวนา
- ศีล เป็นฐานแห่งกุศล ทำให้กายใจเป็นปกติไม่เร่าร้อน เป้นที่สบายเย็นใจ ไปที่ใดก็สบาย ไม่มีทุกข์ ไม่หวาดระแวง หวาดกลัวความผิด ไม่เบียดเบียนตนเองและผู่้อื่น ไม่ก้าวล่วงสู่อบายมุขและตายก้ไม่ตกสู่อบายภูมิ ไม่มีความเร่าร้อน ร้อมรุ่ม รุมเร้ากายใจ เป้นที่เย็นสบายกายใจดีนัก ไม่มีความฟุ้งซ่าน หดหู่
- ทาน ทำให้อิ่มใจ ถึงจาคานุสตติได้ก็ถึงความสละ อิ่มเอิบเต็มใจไม่ต้องการสิ่งไรๆอีก มีใจน้อมไปในการสละ เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปันต่อผู้อื่น มีจิตอิ่มเอิบ อิ่มเต็มไม่ต้องการสิ่งใดๆอีกเหมือนอิ่มข้าวแล้วก็ไม่หิวอีก ใจก็เป็นสุขจากความไม่อยากไม่ต้องการ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
- ศีลและทานเป็นของคู่กันเกื้อหนุนกัน ศีล และ ทาน ทำให้ภาวนาบริบูรณ์สมดั่งพระชินสีห์ตรัสกับพระอานนท์ไว้ใน อานิสงส์สูตร
- ภาวนาอบรมจิตในสมาธิ ท่านให้ทิ้งความรู้ทั้งปวงไปให้หมด แล้วก็ฝึกกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ให้เลือกเอากองใดกองหนึ่งที่ชอบใจไป ทำให้เป้นที่สบายไม่หดหู่ ฟุ้งซ่าน ง่ายสุดก็พุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกนี้แหละ จนมีจิตตั้งมั่นดี เห็นโลกเป็นที่ว่าง เป็นของว่าง
- ภาวนาอบรมจิตในปัญญา ก็หัดน้อมเอาเมื่อสักแต่ว่ารู้ เมื่อน้อมเอาสังขารโลกเข้ามาลงใจได้ มีสิ่งใดบ้างที่อยู่กับเราติดตามเราไปในทุกภพทุกชาติแม้เมื่อตายไป ก็ไม่เห็นจะมีอะไรที่เป็นอย่างนั้น สิ่งทั้งปวงอยู่กับเราได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจนี้เท่านั้น เมื่อเราตายก็ไม่มีสิ่งใดติดตามไปด้วยเลย มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่จะติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ เราไม่สามารถบังคับสิ่งไรๆให้เป้นไปดั่งใจเราได้เลย ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนของเรา ไม่ตัวตนของเรา อุปมาเหมือนกองดินที่เราจะปั้น จะหัก จะจับ จะต่อให้เป็นไปอย่างไรรูปแบบได้ก็ได้มันก็เจ็บปวดไม่เป็น ไม่มีความรู้สึก ก็เหมือนกับร่างกายเรานี้ประกอบเด้วยธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อาดอากาศ แต่อาศัยใจเรา หรือ ดวงจิต คือ มโน หรือ วิญญาณนี้เข้ายึดครองในธาตุ ๕ เหล่านั้นมันจึงเจ็บเป็นปวดเป็นรู้สึกนั่นนี่ได้  แม้แต่ร่างกายที่อาศัยพ่อแม่ให้มานี้เมื่อตายไปแล้วเราก็เป็นอนัตตาต่อกายนี้แล้ว คือ ไม่ใช่ตัวตนของกา่ยนี้อีก ไม่มีตัวตนในกายนั้นแล้ว ความเข้าไปปารถนาในสิ่งอันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนจึงเป็นทุกข์ ท่านให้้กำหนดรู้ทุกข์ในขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ สังขารธรรม สังขารโลกทั้งปวงอย่างนี้ จนแจ้งชัด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงความไม่มีเกิดปัญญาลงในมรรคหรือผล
- ภาวนาอบรมจิตในปัญญา ก็อาศัยสมาธิตัดขาดจากความตรึกหน่วงนึกคิด เห็นสภาวะธรรมภายในทั้งปวง ภายในเป็นอย่างไร ภายนอกก็เป็นอย่างนั้นไม่ต่าง ถึงความไม่มี เห็นของจริงไม่อิงสมมติของปลอม มีจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ตามพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ท่านให้เข้าไปเห็นมันบ่อยๆจนแจ้งชัดไม่ใช่เห็นครั้งเดียวมาอนุมานเอาจิตก็จะลงใน มรรค(พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน สมาธิ มาเองเกิดขึ้นเอง) ผล(ละสังโยชน์ได้สำเร็จเป็นพระอริยะสงฆ์ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแท้จริง) นิพพาน(บรรลุอรหันต์)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 04, 2016, 03:59:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #224 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 04:01:13 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

วันวิสาขบูชา 20 พ.ค. 2559 กรรมและผลของกรรมที่ทำให้ถึงพระนิพพาน และไปไม่ถึงพระนิพพาน


อธิบาย....ธรรมอันนี้เป็นความรู้เห็นโดยส่วนตัวที่ข้าพเจ้าเท่านั้น ซึ่งได้รู้เห็นมาจากการปฏิบัติ สดับ ฟัง อ่าน ศึกษาพิจารณาตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และ ครูบาอาจารย์ หากผิดพลาดบิดเบือนไม่จริงอันใดขอให้ท่านทั้งหลายรู้ไว้ว่า มันมาจากความเห็นผิดโดยส่วนตัวของข้าพเจ้าคนเดียวเท่านั้นตามที่ได้แจ้งไว้ ไม่เกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระตถาคต และครูบาอาจารย์แต่อย่างใด ซึ่งพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์นั้นท่านได้สอนมาดีแล้วถูกตรงแล้ว แต่เป็นเพราะความเข้าใจผิดเห็นผิดหลงผิดของผมเองเท่านั้นที่ทำให้ธรรมของพระตถาคต และ ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนนั้นบิดเบือนไม่เป็นจริง

...แต่หากธรรมบทนี้มีประโยชน์ เอื้อประโยชน์ ช่วยให้ท่านเข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เกิดศรัทธาด้วยปัญญา ถึงพระรัตนตรัย ขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้เลยว่า ธรรมทั้งปวงของพระสัพพัญญูสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธจ้า พระบรมศาสดา ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลจริงๆ ผู้รู้ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตน สามารถพลิกแพลงปรับใช้ได้ตามกาลไม่จำกัด เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ได้จริง ดังนี้



...พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงตรัสรู้เรื่องกรรมแจ้งสังขารโลกไม่มีมีใครยิ่งกว่า บัดนี้ผมจักขอกล่าวบทธรรมอันเป็นกรรมไปสู่ผลที่ไม่ถึงพระนิพพาน และ กรรมอันเป็นเหตุส่งผลให้ไปถึงให้ถึงพระนิพพาน
...กรรม คือ การกระทำทั้งในอดีตกาลก่อนที่ส่งผลให้เป็นวิบากกรรมในปัจจุบันนี้ และ การกระทำในปัจจุบันนี้ อันชื่อว่ากรรม อันเป็นเหตุเป็นผลให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ดังนี้...

การที่เราอ่านเยอะรู้ธรรมมาก รู้หมดทุกอย่าง ครบ 84000 พระธรรมขันธ์ แต่ก็ไม่อาจได้สัมผัสของจริงนั้นเลย เคยคิดมั้ยครับเพราะอะไร
- บ้างเราไปนั่งๆนึกดูอาการจริงแต่ก็ได้แค่การอนุมานเอาไม่มีของจริงเลย
- บ้างอ่านท่องจำอย่างเดียวไม่ปฏิบัติ ก็ได้แต่ความคิด รู้เห็นเกินความคิดอนึุมานไม่ได้ ไม่มีของจริง
- บ้างหลับหูหลับตาปฏิบัติเอาตามๆกันมาแบบหลับหูหลับตาทำ

เคยคิดไหมรู้ธรรมทั้งมากมายแต่เข้าไม่ถึงธรรมเลย เคยถามตนเองไหมครับ ติดความคิดหลงความคิดแล้วก็ถือตัวตนว่าจริงไปทั่วไม่หยุด

โดยส่วนตัวผมนี้ผมได้ถามตัวเองบ่อยๆว่านี่มาถูกทางไหม เราทำถูกไหม ทำไมไม่ถึง ไม่เห็นไม่ได้สักที มีโอกาสได้สัมผัสแบบปริ่มๆบ้างแต่ก็ทำไม่ได้ ทรงได้ไม่นาน พอระยะเวลาผ่านไปก็มาเป็นเหมือนเดิม ได้กัดฟันไม่หลับไม่นอนไม่กิน 2 วัน หนึ่งคืน เหมือนจะเข้าสมาธิได้ แต่ก็แค่ได้สมาธิไปไม่ถึง เรียนรู้อภิธรรมมากมาย อ่านพระไตรปิฏกยิ่งกว่าติวสอบเข้ามหาลัย ก็ไม่เห็นจริง/ไม่ถึงสักที ถึงแค่อัตตาตน ท่องจำไม่หยุดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่เคยเห็นจริงสักที ได้กแต่อนุมานเอาว่านี่มันดับ ไม่เที่ยง ผัสสะแล้วดับไป นี่มันบังค้บไม่ได้ นี่มันเป็นทุกข์ ผมเฝ้าตอบปัญหาตนเองมาเสมอๆว่าทำไมไม่ถึงสักที



..ก็จนวันนึงได้เข้าไปหาหลวงปู่บุญกู้บอกสิ่งที่ตนเป็นอยู่นี้แก่ท่าน ขอคำชี้แนะจากท่าน ท่านนี่ด่าผมเลย เหตุไม่ทำ มันจะไปเอาผลได้ยังไง วินาทีนั้น เหมือนฟ้าฟาดใส่หัวเปรี้ยงหนึ่ง ทบทวนความจำทั้งหมดที่ทำๆมา เหตุยังไม่ทำจะไปถึงผลได้ยังไง ๓ อย่างนี้ควบคู่กันไปจะเห็นธรรมตรงตามพระพุทธเจ้าทันทีไม่ลำบากเลย สมดั่งพระศาสดาตรัสสอนว่า..
- วิมุตติเกิดมีบริบูรณ์ได้ ก็ต้องมีสัมโพชฌงค์อันบริบูรณ์เป็นเหตุเป็นอาหาร
- สัมโพชฌงค์จะบริบูรณ์ได้ ก็ต้องมีมหาสติปัฏฐานอันบริบูรณ์
- มหาสติปัฏฐานจะบริบูรณ์ได้ ก็ต้องมีสุจริต ๓ อันบริบูรณ์ นั่นคือ มรรค ๘ นั่นเอง ศีล ทาน ภาวนาก็อยู่ในมรรค
- สุจริจ ๓ จะบริบูรณ์ได้ก็ต้องมี สติ และ สัมปะชัญญะที่บริบูรณ์ สติสัมปะชัญญะนี้ ก็อาศัยเกิดมีจากการอบรมกาย วาจา ใจ ของเราใน ศีล ทาน ภาวนา นั่นเอง

* ศีล เป็นเหตุใกล้ให้สติ สัมปะชัญญะ
* จาคะได้ความอิ่มใจเป็นเหตุใกล้ให้สมาธิ
* ศีลและจาคะเป็นเหตุเอื้อแก่ภาวนา 
* สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้ปัญญา เป็นมหาสติปัฏฐาน ถึง โพชฌงค์ คือ วิราคะ

   กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ก็ล้วนสอนให้ทำไว้ในใจมีสติเป้นเบื้องหน้า มีสติตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่เป้นอารมณ์เดียวตาม ทั้งสิ้น
มหาสติปัฏฐาน ๔ พระพุทธเจ้าสอนให้มีกายเป็นเบื้องหน้าก่อนสิ่งอื่น เพราะ กายานุปัสสนา เป็นเหตุให้เกิด สติ สัมปะชัญญะ คลายอุปาทาน ความยึดมั่นขันธ์ ๕ ลง จนถึงละสังโยชน์ได้ มีฐานให้ปัญญาคือ ฌาณ ๔ พระอรหันต์สุขวิปัสสโกทุกรูปท่านมีสมาธิถึง ฌาณ ๔ หมดท่านจึงเดินปัญญาได้ สมดั่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า มรรคมีองค์ ๘ ทางนี้เป็นทางเดียวในการพ้นทุกข์ หากไปนั่งท่องจำเอาอย่างเดียวแล้วบรรลุได้ก็ไม่ต้องมีมรรค ๘ สิ หากหลับหูหลับตานั่งสมาธิอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมได้ก็ไม่ต้องมีวิปัสสนาสิ อันนี้ขัดกับมรรค ๘ ทั้งหมด

   ดังนั้นแลท่านผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้รู้ธรรมทั้งหลาย ครูผมผู้เป็นพระที่มีบารมีเต็มให้ถึงพระนิพพานแล้ว ท่านจึงสอนว่า ทำเหตุให้ดี สะสมมันไป ทำบ่อยๆให้มากๆเรื่อยๆเนืองๆสะสมไปแต่อย่าสุดโต่งไป ทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆเนืองๆไม่ขาดมีมากทำมากมีน้อยทำน้อยตั้งมั่นในกุศล



   แต่อย่าอัตตาบ้าบุญบ้าธรรมเพราะอันนี้คือความลุ่มหลง สมดั่งพระบรมศาสดาตรัสสอนในการเจริญอิทธิบาท ๔ ว่า เธอจงมีความเพียรอยู่ประครองจิตไว้ใน ศีล ทาน ภาวนา(สมาธิ+ปัญญา) ไม่ให้ย่อหย่อนจนเกินไป ไม่ตรึงจนเกินไป ไม่อยู่ไม่เป็นไม่ทำด้วยความหดหู่ เศร้าหมอง เหนื่อยหน่าย เสียใจ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่ฟุ้งซ๋าน ทะยานนอยากไขว้คว้า พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ มีความยินดีในธรรรแต่ไม่ใช่ปารถนา เพียรอยู่ประครองจิตไว้ให้ทำเป็นที่สบายกายใจ ไม่ตรึงไม่หย่อนกลางๆ ไม่หดหู่่ ไม่ฟุ้งซ่าน



** ครูผมท่านสอนว่า..เกิดมาชาตินี้ได้เป็นคนทั้งทีอย่าเสียชาติเกิด ให้เอากำไรไปด้วย นั่นคือ ศีล ทาน ภาวนา เพราะทั้ง ๓ สิ่งนี้คือเหตุแห่งบารมี ๑๐ ทัศน์ เหตุไม่ดีจะไปเอาผลได้ยังไง ทำเหตุบ่อยๆสะสมก็เป็นอุปนิสัย สะสมไปเรื่อยก็เป็นจริต บารมี ติดตามเราไปทุกภพชาติ ให้ได้เสวยผลทั้งในปัจจุบันชาตินี้ และ ภพหน้า ชาติหน้า เมื่อมันเต็มก็จะบรรลุธรรมเอง หรือ มีคนมาสกิตปัญญาอั่งยิ่งให้เอง ศีล ทาน ภาวนา นี้เป็น มรรค ๘ ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่จะพ้นทุกข์ได้ หากสะสมเหตุอกุศลไปเรื่อยไม่รู้จักทำกำไรชีวิตนี้ เกิดมาชาตินี้ก็ขาดทุน ตายไปก็ลงไปสู่ที่ชั่วเสียดายที่ได้เกิดมาเป็นคน เพราะกว่าจะเป็นคนได้นี้ลำบากนัก ต้องสะสมศีลมามากตั้งเท่าไหร่จึงจะพอเกิดเป็นคนได้ ต้องสะสมทานทั้งเท่าไหร่จึงจะมีธนะสานสมบัติ บริวารอยู่สุขสบายอย่างวันนี้ได้ ต้องสะสมภาวนามามากตั้งเท่าไหร่จึงจะไม่เป็นคนโง่ มีปัญญาดี ใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีทุกข์ ไม่เบียดเบียนได้
เกิดเป็นคนว่ายากแล้ว เกิดมาเจอพระพุทธศาสนานี้ยากยิ่งกว่า ดังนั้นเมื่อรู้เมื่อเจอแล้วก็รีบเจริญปฏิบัติ ศีล ทาน ภาวนา ตามที่พระพทุธเจ้าสอน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาทรงตรัสรู้ อย่าให้เสียชาติเกิด ให้เป็นกำไรชีวิตติดตามเราไปทุกภพชาติ

อย่าไปท่องจำให้รกสมอง อย่าไปอนุมานคาดคะเนหลอกตนให้มาก อย่าติดความคิดตนให้มาก ทำเหตุให้ดีเถิดท่านทั้งหลาย เหตุไม่ดีจะไปเอาผลได้ยังไง



ศีล ที่ทำให้เกิดมีขึ้นของ สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ทีนี้เราต้องศีลขนาดไหน จึงจะถึงสมาธิได้

- เมื่อไหร่ที่มีศีลอยู่โดยความไม่เร่า ร้อน เป็นที่เย็นใจ สบายกายใจ ไปที่ใดก็สบาย เมื่อนั่นความฟุ้งซ่านจักไม่มี ไม่มีความเร่าร้อน ความกลัว ความอึดอัน ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นที่สบายไม่เร่าร้อนกายใจ อยู่สบาย

ทาน ที่ทำให้เกิดมีขึ้นของ สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ทีนี้เราต้องมีทานขนาดไหน จึงจะถึงสมาธิได้

- อาศัยศีลเป็นฐาน แล้วเมื่อไหร่เรามีทานอยู่โดยความไม่อยากไม่หวัง สละ ยินดีสละ ไม่ติดใจข้องแวะในการสละ เป็นที่อิ่มเอมใจ เป้นที่พรั่งพรูเอิบอาบอิ่มสุข ไม่ต้องการสิ่งใดอีก มันอิ่มใจเป็นปิติ สุข สงบสบายกายใจ ถึงจาคานุสสติ ความอิ่มเต็มไม่ต้องการแสวงหาอีก

สมาธิ ที่ทำให้เกิดมีขึ้นของปัญญา ทีนี้เราต้องมีสมาธิขนาดไหน จึงจะถึงปัญญาได้

- สมาธิ ที่ทำให้ถึงปัญญา คือ สมาธิที่มีสติสัมปะชัญญะตั้งมั่นมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ เกิดเป็นมหาสติปัฏฐาน จิตแยกขาดจากสมมติความคิด เห็นชัดความว่าง ความไม่มี แทงตลอดแจ้งชัด ของจริง กับสมมติ จิตเป็นพุทโธ คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

* ส่วนจะถึงปัญญาได้แค่ไหนตัดสังโยชน์ได้ไหมอยู่ที่ปัญญาเราคมแค่ไหน สะสมเหตุมาดีพอรึยัง ทำอินทรีย์ของเราให้แก่กล้าพอยังนั่นเอง*



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2016, 04:42:51 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 08, 2024, 07:38:12 AM