เมษายน 24, 2024, 09:57:10 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408240 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #225 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2016, 10:23:28 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ทาน

การทำทาน จะช่วยให้มีเงิน ทรัพย์สิน ธนสารสมบัติ มีบริวารมาก มีความอิ่มใจ อิ่มบุญ เป็นสุข


- เวลาทำทานพระป่าท่านจะบอกเรื่อง "กรรม" ว่าคนที่ชาตินี้เกิดมาร่ำรวย สบายกายใจ มีบริวารมาก มีความสะดวกสบายไม่ขัดสนลำบากกายใจ ที่เหลือก็เพียงแค่ปฏิบัติทำเหตุให้ดีให้เต็ม ทำของเก่าให้ดีพอกพูนยิ่งๆขึ้น ก็จะมีบารมีถึงพระนิพพาน
   เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย ท่านทำทานมาดีแล้ว สะสมเหตุแห่งทานมานับอสงไขย สั่งสมบารมีทานมาดีแล้วเต็มแล้ว เมื่อมาจุติบนโลกนี้ ท่านก็มีครบพร้อมหมดแล้ว ทั้งเงินทอง บริวาร ทรัพย์ สมมบัติ มี อายุ วรรณะ สุขะ พละดีแล้ว ทำอะไรก็ดีก็เจริญรุ่งเรืองไปหมด มีความสะดวกสบายกายใจไม่มีความลำบากยากแค้น ที่เหลือก็เพียงทำภาวนาที่ใจให้ถึงปัญญาหลุดพ้นทุกข์ ด้วยเหตุดังนี้แม้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจักสละตนออกบวชปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ด้วย ท่านก็ไม่ลำบาก เพราะฐานะทางครอบครัว พ่อ แม่ บุพการี ญาติ พี่ น้อง ลูก เมีย บริวาร ก็มีเงินทอง ธนะสารสมบัติ ไว้พร้อมมูลให้ใช้จ่ายได้มากมายสุขสบายกายใจไม่ลำบาก

- ดังนั้นเวลาเราทำทานพึงหวังอย่างนี้ว่า..บุญแห่งทานในชาตินี้จะส่งผลให้เราสุขสบายทั้งในปัจุบันและภายหน้า มีความอิ่มใจ อิ่มเต็มกำลังใจ เป็นสุข ไม่มีโลภ ไม่มีราคะความอยากได้กระสันอีก ทำให้เราสะดวกสบายปฏิบัติเข้าถึงธรรมได้ง่าย ร่ำรวยเงิน ทอง ธนะสารสมบัติ และ บริวารมาก เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทำอะไรก็ดี ก็เจริญสมดั่งใจปารถนาหรือยิ่งกว่าไปหมดทุกอย่าง ในทางครอบครัวเราแม้เราจะออกบวชปฏิบัติเขาก็มีเงินทองมากมายไว้ใช้จ่ายอย่างสุขสบายไม่ขัดสนไม่ลำบากให้เป็นห่วงเป็นบ่วงแก่เรา ไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลังว่าบวชหรือปฏิบัติแล้วจะทำให้คนทางบ้านไม่มีกินไม่มีใช้ ทำให้ทางบ้านยากจน ยากแค้น อดอยาก ปากแห้ง เป็นอุปสรรคในการออกบวชปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นสิ้นกองทุกข์

- ทำทานนี้หลวงปู่บุญกู้ ท่านสอนเหตุแห่งกรรมของทาน และ การทำว่า มีมากเราก็ทำมาก มีน้อยเราก็ทำน้อย ไม่มีเงินเราก็อกกแรงกายแรงใจช่วยเหลือทำงาน ทำทานไม่ใช่ทำทีเดียวเยอะๆแล้วไม่ทำอีกเลย หรือทำน้อยๆแต่ขออานิสงส์ซะมากมายเกินบารมีที่ตนจะพึงได้ เหมือนเราหยอกกระปุกมีเงิน 100 จะเอาของที่ราคาเกินหนึ่งร้อยก็ไม่ได้ การทำทานแม้เล็กน้อยสะสมไปไม่ขาดก็เป็นบารมีทานก้อนใหญ่ได้ ท่านมาว่าทำมากน้อยนี้ให้ดูกำลังของตนที่จะทำได้ทำแล้วไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นในภายหน้า ทำแล้วไม่มีความหวงแหนเสียดาย จะมากน้อยก็ตามทให้ทำสม่ำเสมอเรื่อยๆเนืองๆเป็นประจำไม่ขาด
   เพราะคนเราทำบุญกรรมมาต่างกันแต่ชาติก่อนๆ แต่เพราะถือศีลจึงได้เกิดมาเป็นคนอีก ด้วยกำลังแห่งวิบากกรรมแต่ปางก่อนทำให้คนเรายากดีมีจน มีกำลังและโอกาสทำกุศลต่างกัน ท่านจึงสอนให้เกิดมาเป็นคนชาตินี้แล้วอย่าให้เสียชาติเกิด เกิดมาก็เอากำไรชีวิตติดตัวไปด้วยนั่นคือ ทำบุญทำกุศลธรรมทั้งปวง ทำเหตุในศีล ทาน ภาวนาให้ดีสะสมไปเรื่อย เมื่อตายไปสิ่งนี้แหละจะติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ ให้ทำอย่าไปหวังผลให้มากตั้งมั่นทำสะสมไปเรื่อยๆ ให้มันเต็มจนพอถึงพระนิพพานได้ ทานนี้คือการสละ ละโลภ ความอยากได้ หวงแหนสิ่งปรนเปรอตนเกินความจำเป็น นี่ก็ได้ทาน คนรวยก็ทำทานได้มาก คนจนก็มีโอกาสทำได้น้อยตามกำลังลงมาเป็นเรื่องของกรรมแต่ขอให้ทำให้มากเข้าไว้ การทำให้มากเข้าไว้ก็คือ..การทำศีล ทาน ภาวนาให้สม่ำเสมอประจำๆไม่ขาด
   ทานนี้เป็นทางปูให้ถึงกรรมฐานถึงพระนิพพานเพราะละโลภได้ ทำจิตให้เป็นสุขสงบสบายไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆ คนโลภคนตระหนี่ขี้เหนียวนี้ทำทานไม่ได้ ทาน คือ ความอิ่มใจ อิ่มเอม สุข สุขเพราะไม่ยึด สุขจากการให้ สุขจากความไม่หวงแหน ไม่มีใจเข้ายึดครองในอามิสสิ่งของนั้นๆ ให้แล้วเพื่อหวังประโยชน์สุขเกิดมีแก่ผู้อื่น ไม่มาติดใจข้องแวะเสียใจเสียดายในภายหลัง เพราะไม่มีใจเข้ายึดครองในสิ่งของอันนั้นแล้ว ให้แล้วถือเว้นขาดจากความครอบครอง เมื่อเกิดความอิ่มใจ ท่านเรียกปิติ ปิติแล้วก็เป็นเป็นสุข สุขแล้วก็สงบเบาเย็นใจ เมื่อจิตสงบเบาเย็นใจไม่ฟุ้งซ่านตัดขาดความโลภ จิตก็ตั้งมั่นง่าย ถาวนาได้ง่าย ถึงวิราคะง่าย

- อันนี้คือเหตุที่ทำทานทุกครั้งที่เราทำ ยินดีแต่ไม่ปารถนา ไม่อัตตาบุญ แต่ทำบ่มสะสมเหตุบารมีให้ตนในภายหน้าเพื่อเข้าปฏิบัติเพื่อถึงพระนิพพานได้ง่าย มีมากก็ทำมาก มีน้อยก็ทำน้อย ไม่มีก็เอาร่างกายจิตใจเข้าทำช่วยเหลือ

- ทานนี้ คือ การสละ ให้ มีความอิ่มใจเป็นสุข ขั้นสุดในจาคะคือถึงความอิ่มเต็มบารมีไม่ต้องการอีกเหมือนอิ่มข้าวอิ่มแล้วไม่หิวไม่ต้องกินอีกแล้ว ถึงความอิ่มเต็มในขันธ์ ๕ ตัดพ้นไม่ยินดียินร้าย ถึงความสละคืนสังขารทั้งปวง ความไม่ยึด ไม่เอา ไม่มีสิ่งไรๆในโลกอันจิตเข้าไปยึดครองอีกด้วยความอิ่มเต็ม ความสละคืน พระนิพพาน

- อันนี้ท่านเรียกทำเหตุ เหตุและอานิสงส์ในทานมีอย่างนี้เป็นต้น






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2016, 10:19:14 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #226 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 10:08:45 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สติปัฏฐาน ๔

๑. เจริญกาย ได้..สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ สิ้นความหวาดกลัว ระแวง เป็นที่สบายกายใจ จิตมีกำลังมาก เป็นสมาธิง่าย ไม่เบียดเบียน ไม่แสวงหา ไม่หลงไหลติดใคร่รูปว่างาม รูปนี้เป็นที่รักที่ชอบใจ รูปนี้ที่เกลียดที่ไม่ชอบไม่ยินดี
- จิตเป็นพุทโธลงปัญญา ถึงความว่าง ความไม่มีในโลก เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อกาย เกิดนิพพิทาต่อรูปขันธ์ เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
๒. เจริญเวทนา ได้..สมุทัย ความวางใจไว้กลางๆ ไม่ยินดียินร้าย ยึดมั่นถือมั่นสุข ทุกข์ ถึงความปลงใจในโลก ไม่มีความปารถนาในโลกเพราะรู้ชัดว่าล้วนทุกข์ทั้งนั้น ดำรงชีพชอบอยู่กับร้อนเป็น-อยู่กับเย็นได้
- จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นเทวทูตทั้ง ๔ เกิดนิพพิทา เห็นแจ้งมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ คลายอเวทนานุปาทาน เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
๓. เจริญจิต ได้รู้แยกจริงแยกสมมติ
- จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นสิ่งที่ควรละ เกิดนิพพิทา ไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ ไม่ยินดียินร้าย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อจิต คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เห็นกามว่าเกิดแต่ความคิด ความดำริถึง เกิดวิราคะละโมหะในสมมติของปลอมได้ จิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
๔. เจริญธรรม ได้รู้นิวรณ์ตน พ้นกิเลสแล้วหรือยังมีกิเลสอยู่ แจ้งชัดพระอริยะสัจ ๔ สิ้นความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัยในธรรม
- จิตลงปัญญา เกิดนิพพิทาต่อขันธ์ ๕ ถึงวิราคะตัดขาดสิ้น ละมโน คือ ดวงจิต(มโน ไม่ใช่วิญญาณขันธ์) ดับสิ้นอุปาทานขันธ ์๕ ถึงพระนิพพาน




เมื่อจะเจริญ ไม่ต้องไปนั่งเพ่งจำจดจำจ้องเอามันแค่รู้แล้วทำไว้ในในตั้งจิตมั่นไม่เอนเอียง แล้วเจริญตามลำดับดังนี้

ลม หรือ พุทโธ (หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หน่วงนึกถึงความเป็นผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ผู้ตื่นจากสมมติของปลอม ผู้เบิกบานพ้นจากกิเลสทุกข์ของพระพุทธเจ้าน้อมมาสู่ตน เมื่อจิตสงบเป็นปกติดีแล้วค่อยให้มาดูว่าเรารู้สัมผัสสภาวะที่เคลื่อนของลมหายใจตรงไหนมากที่สุดค่อยจับเอาจุดนั้นเป็นที่ตั้งของสติไว้ระลึกดูลม เมื่อจิตนิ่งดีแล้วมีความรู้สึกอิ่มไม่ติดใคร่สมมติภายนอก คิดน้อยลง หรือไม่คิดเลย สงบ มีความชุ่มชื่นใจจากความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆซ่านอยู่(ขณิกสมาธิ)ให้พึงรู้ไว้ว่าเพราะเรามารู้ของจริงไม่ยึดสมมติทางกายและใจจึงสงบเย็นใจไม่ฟุ้งซ่านดังนี้แล้วทำไว้ในใจว่าเราจักทิ้งสมมติในกายนี้ไปเสีย ไม่ยึดกายนี้แล้ว ไม่ยึดความรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยึดสมมติความคิดทั้งปวง จะทิ้งความยึดมั่นถือมั่นแห่งตัวตนสมมตินั้นไปเสีย เพราะของจึงมันไม่มีอะไรเลยนอกจากสมมติ เราจักสละคืน แล้วเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระศาสดา แจ้งชัดของจริง เข้าถึงความไม่มี)
สัมปะชัญญะ (สภาวะที่เรากำลังดำเนินไป, กำลังเป็นอยู่, กำลังกระทำอยู่ ในปัจจุบัน)
อิริยาบถ ๔ (รู้ตัวรู้สภาวะปัจจุบันว่า กำลังอยู่ในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอนไรๆ แล้วตั้งมั่นรู้อิริยาบถๆนั้นไว้เสีย จากนั้นดูว่ามีสภาวะความรู้สึกเป็นไปแบบไหน อย่างไรในขณะนั้นๆ เหมือนกรรมฐานเดินจงกรม เดินจงกรมธาตุ)
สมมติ ("สำเหนียกไว้เลยว่าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ให้ความสำคัญใจกับมัน ทำใจให้ชินกับมันเพราะมันเกิดขึ้นทุกวันดับไปทุกวันแทบทุกเวลาด้วยซ้ำ มันไม่ได้สำคัญอะไรกับชีวิตเรานี้ ติดใจข้องแวะไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น ชินชาต่ออาการ วางเฉย ไม่เสพย์เพราะมันมีแต่สมมติทั้งนั้น ของจริงแท้ที่เกิดมีขึ้นอยู่ในทุกขณะๆก็คือพุทโธนี้แหละ คือลมหายใจเรานี้ที่เป็นของจริง เป็นธาตุ ๔ เป็นกายสังขาร เป็นปัจจุบันขณะ"..อาศัยสติที่ตั้งมั่นเป็นอารมร์เดียว ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่วได้นานจากการเจริญใน ลม หรือ พุทโธ หรือ กรรมฐาน ๔๐[ศีล กรรมฐานทั้ง ๔๐ มีไว้ฝึกสติให้ตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียว ทานและกรรมฐาน ๔๐ มีอานิสงส์คือจิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน เรียก สัมมาสมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้ปัญญา] ขึ้นพิจารณาใน อสุภะสัญญา, อาทีนวะสัญญา, ธาตุ ๔ หรือ ธาตุ ๖, นวสีวถิกา[ป่าช้า ๙ - อสุภะ ๑๐], เวทนา[ความรู้สึกในกระทบสัมผัส], จิต[ความรู้สึกนึกคิด], ธรรม[นิวรณ์ ๕ - อริยะสัจ ๔ - ของจริงแยกต่างหากจากสมมติ])




โดยความรู้ความเข้าใจของเราที่เป็นในแบบปุถุชนที่ได้จากการปฏิบัติมาโดยส่วนตัวคือ ที่สุดของมหาสติปัฏฐาน ๔ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้เห็นชัดตัวสมมติ เป็นผู้รู้สมมติ คือ รู้ตัวสมมติ รู้ว่าสมมติเป็นยังไง แบบไหน อย่างไหน เห็นแจ้งชัดของจริง ต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสสมติ เบิกบานแล้วพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม รู้แจ้งแทงตลอดถึงความไม่มี เกิดปัญญาตัดสิ้น สละคืน



วิธีดูสมมติ (ทำเหตุให้เห็นสมมติให้จิตวิ่งลงมรรคและผล) คือ ให้ดูว่าสิ่งเหล่าใดก็ตามที่เราะพิจารณาอยู่ในขณะนั้น มันยั่งยืนอยู่ได้นานติดตามเราไปแม้ตายหรือไม่ หรือมันเสื่อมไปทุกๆขณะอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เอง, เวลาที่สิ่งนั้นๆมันเกิดขึ้นมามันมีเราอยู่ในนั้นไหม หรือ มีสิ่งนั้น-สิ่งโน้น-สิ่งนี้ คนนั้น-คนโน้น-คนนี้ ภายนอกนู่น-นั่น-โน่น-นี่ไปทั่ว..แต่กลับไม่มีเราอยู่ในนั้นเลย ทั้งๆที่มันกำลังเกิดขึ้นเห็นมีอยู่กับเราแท้ๆ.. เวลาที่สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองหรือสิ่งอื่นใด เราหรือที่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นหรือที่เป็นเรา เราหรือที่มีอยู่ในสิ่งนั้น สิ่งนั้นหรือที่มีอยู่ในเรา
ปัญญา (มรรคและผล) คือ ความว่าง ความไม่มี อิ่ม ความสละคืน

ธรรมทั้งปวงนี้ไม่มีในหนังสือ ล้วนเป็นทางเข้าเจริญปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ พระอรหันต์ที่ท่านได้กรุณาสอนแก่เราเป็นหังข้อหรือวิธีสั้นๆง่ายๆ แล้วเราเอามาเจริญปฏิบัติจนเห็นผลได้ และได้ทำซ็ำๆจนแน่ชัดในทางที่ดำเนินไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2016, 11:40:44 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #227 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2016, 10:02:17 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อนุสสติ ๖ เพื่ออิทธิบาท ๔
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ กับ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสะ

พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นศรัทธา สร้างให้เกิด ความพอใจยินดีในกุศลตามที่พระศาสดาตรัสสอน เรียกว่า ฉันทะอิทธิบาท ๔

ศรัทธานี้ พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาตรัสสอนให้ใช้ปัญญาจึงเชื่อ ไม่ใช่เชื่อแบบคนโง่ เชื่อในสิ่งที่ลูบคลำไม่ได้ ไม่มีจริง ไม่เป็นเหตุเป็นผล ทบทวนมูลเหตุไม่ได้

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง รู้แจ้งสังขารโลก รู้ไม่มีหมด ไม่มีสิ้นสุด เห็นแจ้งสมมติของปลอม เห็นแจ้งของจริงอันเรียกว่าปรมัตถธรรม เป็นผู้ตื่นแล้วจากสมมติของปลอม และเบิกบานพ้นดังสิ้นแล้วซึ่งจากสมมติกิเลสของปลอมทั้งปวงไม่ติดหลงอยู่อีก
ด้วยเหตุดังนี้ๆ พระศาสดานั้นเมื่อยังทรงพระชนน์อยู่จึงสั่งสอนให้เห็นในทุกข์ ทุกข์จากการติดสมมติของปลอม หลงเวียนว่ายในสังขารโลก สอนถึงเหตุของทุกข์ สอนถึงความดับทุกข์ และ ทางพ้นทุกข์ ด้วยพระองค์ทรงแจ้งชัดในสิ่งทั้งปวง จึงได้สอนเรารู้ถึง บาป บุญ คุณ โทษ สอนเรื่องกรรม และ ผลของกรรม พระองค์ทรงชี้แนะด้วยความเป็นเหตุเป็นผลถึงการกระทำ ผลของการกระทำ ผลที่จะได้รับ ปัจจัยอันสืบต่อให้ได้รับผลนั้นๆ หากเป็นมิจฉายจ่อมรับผลอันเป็นมิจจาสืบไปไม่สิ้นสุด หากเป็นกุศลย่อมได้รับผลแห่งกุศลสืบไป ด้วยเพราะเรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล เป็นกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตามอาศัย เราจะทำกรรมใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราต้องเป็นทายาทได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ดังนี้แลพระศาสดาเมื่อยังทรงพระชนน์อยู่จึงสอนให้ทำในกุศล สอนให้ทำเหตุในกุศล มีศีลอันเป็นความปกติเป็นฐาน มีทานอันเป็นฐานให้อิ่มใจ มีภาวนาอันเป็นฐานแห่งปัญญา

- ศีล..เมื่อมีแล้วย่อมไม่เบีบยดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่มีความผูกเวรพยาบาท จะทำสิ่งใดก็เป็นที่สบายเย็นใจไม่เร่าร้อนมีกายใจเป็นปกติ ไม่หดหู่ ฟุ้งซ่าน ระแวงหวาดกลัว เมื่อมีศีลนี้จึงถึงความเป็นมนุษย์ มีปกติไม่เร่าร้อน มีชีวิตอยู่อย่างแช่มชื่นเป็นสุข สงบ จิตตั้งมั่นดี เป็นเหตุใกล้ให้เกิดมีสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบด้วยกุศล แม้เมื่อตายจากโลกนี้ไปก็ไม่ล่วงสิ่งที่ชั่ว ทำให้เกิดความสงบสบายอุ่นใจอยู่เสมอๆ
- ทาน..เมื่อทำแล้วย่อมอิ่มใจ อิ่มเอมเป็นสุข จิตนี้อิ่มเต็มสลัดจากความอยากหวนแหน ความตระหนี่ขี้เหนี่ยว ตัดขาดจากการเอาใจไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งอันปรนเปรอตน ไม่ดิ้นรนแสวงหา จิตมีความสงบไม่เร่าร้อนด้วย โลภะ กาม นัททิ ราคะ เป็นเหตุใกล้ให้จิตตั้งมั่นง่าย ถึงความสละคืน
- ภาวนา สมถะ+วิปัสสนา กรรมฐาน ๔๐ สติปัฏฐาน ๔ ทำแล้วสมาธิและปัญญาย่อมเกิดขึ้น จิตไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก สงบเย็นกายสบายใจ ไม่มีจิตผูกขึ้นไว้กับสิ่งไรๆ ความลุ่มหลงติดใคร่สมมติของปลอมจึงไม่มี สติตั้งมั่นในอารมณ์เดียวทำให้จิตตั้งมั่นตามเป็นจดจ่อในอารมณ์เดียวได้นาน จิตเดินเข้าสัมโพชฌงค์ ๗ ทำให้ปัญญาคม ถึงวิราคะ คือ ตัด ละสังโยชน์ได้

พระศาสดาย่อมสอนให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายตั้งมั่นในศีล ทาน ภาวนา มีพระอริยะสงฆ์ พระอริยะสาวกทั้งหลายนี้เป็นต้นผู้ได้สดับฟังธรรมคำสอนนี้แล้วปฏิบัติตาม จิตแล่นลงสู่ มรรค ผล นิพพาน เมื่อเราจักตั้งมั่นกระทำอยู่ตามพระศาสดาตรัสสอนย่อมพึงหวังให้เห็นและถึงธรรมของพระศาสดา มีจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาอย่างพระอริยะสาวกทั้งหลายนั้นๆ

เมื่อเรารู้เห็นธรรมใดตามที่พระศาสดาตรัสสอนด้วยความเป็นเหตุเป็นผล สัมผัสได้ ทบทวนตรวจสอบพิจารณาได้ เห็นชอบด้วยปัญญา เห็นชัดตามจริงที่น้อมพิจารณาสัมผัสได้ ความเป็นเหตุเป็นผลสิ่งนี้เป็นมูลฐาน สิ่งนี้เป็นเหตุปัจจัย สิ่งนี้มีเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับ จึงไม่เกิดขึ้น เห็นชัดในกรรมเกิดหิริโอตตัปปะ เชื่อในพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยชอบจริง ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งจริง อันนี้เรียกศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่พระสัพพัญญูเจ้าตรัสสอน ดังนั้นผุ้ที่ศรัทธาในพระพุทธเจ้าด้วยปัญญาเห็นชอบมีสัมมาทิฐิแจ้งชัดในสัจจะธรรมเห็นตามจริงที่พระพทธเจ้าตรัสสอนเท่านั้นจึงจะทำในพุทธานุสสติได้ ผู้ที่เห็นแจ้งชัดในพระธรรมเท่านั้นจึงจะทำในธัมมานุสสติได้ ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยปฏิปทาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะแจ้งชัดว่าพระอริยะสงฆ์มีอยู่จริง จึงทำในสังฆานุสสตินี้ได้

เมื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของจริงแท้แน่นอน เห็นแจ้งชัดว่าสุขทางโลกนี้เป็นทุกข์ มันเป็นสุขอันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่คงทนอู่ได้นาน เห็นแจ้งชัดว่าสุขทางธรรมนี้มันยั่งยืนคงอยู่ติดตามไปทุกภพชาติ เห็นแจ้งชัดถึงความไม่ใช่ตัวตนของเรา เขา ใคร สัตว์ใด สิ่งใด ความบังคับจับต้องให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ความหลงในสิ่งอันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เห็นชัดพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และสอนทางพ้นทุกข์ จิตย่อมเกิดความยินดีน้อมนำทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

** เพราะศรัทธาด้วยปัญญาอย่างนี้ๆเป็นต้นในพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดานี้เอง จึงทำให้บุคคลผู้มีความศรัทธามีจิตถึงพระรัตนตรัย และ น้อมนำปฏิบัติใน ศีล ทาน ภาวนา อันประกอบไปด้วยอิทธิบาท ๔ ดังนี้

- เกิดฉันทะ ความยินดีชื่นชอบพอใจใน ศีล ทาน ภาวนา และ ตั้งมั่นเจริญปฏิบัติใน ศีล ทาน ภาวนาได้
- มีวิริยะในสังวรปธาน คือ จิตมีความเพียรประครองใจไว้อยู่สายกลาง ไม่ย่อหย่อนเกินไป หรือ ประครองมากไปจนสุดโต่ง
- มีจิตตะความเอาใจใส่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทีเจริญ เห็นคุณประโยชน์ และ โทษของความเสื่อมไป หากมีและไม่มีซึ่ง ศีล ทาน ภาวนาที่เจริญอยู่นั้น โดยปราศจากนิวรณ์ความไม่หดหู่ฟุ้งซ่านใน ศีล ทาน ภาวนา
- มีวิมังสะ ประครองใจไว้ไม่ประมาท ตรวจสอบทบทวนดู ศีล ทาน ภาวนาของตน ไม่ให้ย่อหย่อนเกินไป ไม่ทำไปด้วยความหดหู่ ไม่ทำไปด้วยความฟุ้งซ่าน ต่อหน้าผู้อื่นเราประครอง ศีล ทาน ภาวนา ไว้ให้ดีอย่างไร..ลับหลังเขาหรือแม้ไม่มีใครเห็น เราก็ต้องประครองทำไว้อย่างนั้นไม่เปลี่ยน อยู่โดยความไม่ประมาทประครองไว้ทั้งกลางวัน กลางคืน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2016, 11:21:09 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #228 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2016, 12:06:53 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

การระลึกปฏิบัติใน พุทธานนุสติ ลงอิทธบาท ๔

หากมีกำลังความศรัทธาในพระพุทธเจ้าดีแล้ว จิตเราจะตั้งมั่นน้อมนำปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน ตั้งมั่นใน ศีล ทาน ได้เป็นอย่างดีจิตมีกำลังตั้งมั่นที่จะเจริญศีลและทานให้บริบูรณ์ดีงาม ภาวนาบริกรรมพุทโธโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้นด้วยรู้ว่าเป็นพุทธานุสสติ มีจิตหน่วงนึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานของพระศาสดา  หน่วงนึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ระลึกหน่วงนึกถึงพระอริยะสงฆ์ที่ควรกราบไหว้ต้อนรับ ด้วยเป็นผู้มีจิตเห็นชอบแล่วนไปในมรรค ผล นิพพานแล้ว ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงแล้วตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน และได้สืบทอดธรรมเครื่องพ้นทุกข์จากพระพุทธเจ้าเผยแพร่มาสู่เรา

- กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง มีพุทธนุสสติด้วยพุทโธนี้ง่ายสุด ทำพุทโธไม่ได้ก็ไปกรรมฐานกองอื่นไม่ได้..

- พุทโธนี้มีคุณมาก..เป็นมูลแห่งกรรมฐานทั้งปวงมีคุณต่างๆดังนี้
๑. พุทโธนี้ทำอินทรีย์ ๕ ให้แก่กล้ามีกำลังด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หากไม่มีศรัทธาพละต่อพระพุทธเจ้าจะบริกรรมพุทโธและจิตถึงพระรัตนตรัยไม่ได้ เพราะพุทธเจ้าคือพระศาสดาเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนธรรมเครื่องออกจากทุกข์ทั้งปวงมาแก่มนุษย์ และ เทวดาทั้งหลาย มีศีล ทาน ภาวนา เช่น กรรมฐานที่เราเจริญอยู่นี้เป็นต้น มีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตเป็นพุทโธแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ได้เข้าถึงธรรมนั้นแล้วเป็นตัวอย่างให้เรายึดปฏิบัติตามถ่ายทอดธรรมของพระพุทธเจ้ามาสู่เราให้เราได้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์นั้นตาม
๒. พุทโธนี้มีกำลังมากเป็นกำลังให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกได้ดียิ่งนัก ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวได้นาน ทำให้เกิดสติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาที่สมกันมีกำลังเกิดขึ้นได้บ่อย
๓. พุทโธ..นี้คือปัจจุบัน กล่าวคือ พุทโธคือผู้รู้ รู้ในปัจจุบันตัดขาดสมมติความคิดที่เป็นอดีตบ้างอนาคตบ้าง หายใจเข้าหน่วงนึกพุท..รู้ว่าตนกำลังหายใจเข้าในปัจจุบัน หายใจออกหน่วงนึกโธ..รู้ว่าตนกำลังหายใจออก นี่คือรู้ปัจจุบันขณะแล้ว
๔. พุทโธ..นี้คือของจริง กล่าวคือ รู้ตัวว่ากำลังหายใจเข้าหน่วงนึกพุท รู้ตัวว่าหายใจออกหน่วงนึกโธ ลมหายใจนี้คือของจริง เป็นกายสังขารเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกาย เป็นสิ่งที่กายต้องการ ลมหายใจเป็นวาโยธาตุที่มีอยู่ในกายนี้เป็นของจริงเป็นธาตุที่มีอยู่จริงในโลก รู้ลมหายใจที่เคลื่อนไหวตัวเข้าออก เกิดความตรึงหย่อนในกายนี้(ในกายก็ดูที่ท้องเป็นต้นเมื่อมีลมอัดเขาก็ทำให้เกิดความตรึงลอออกก็เกิดความหย่อน) พุทโธคือผู้รู้ รู้ของจริงคือวาโยธาตุ ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะแห่งกายนี้ เมื่อจิตตั้งมั่นดับความจำได้หมายรู้ความสำคัญใจไรๆ ดับสมมติความคิดที่เป็นอดีตบ้างอนาคตบ้างได้ ทำให้รู้เพียงสภาวะธรรมปัจจุบันที่เป็นอยู่ นี่ก็เป็นผู้รู้ของจริง
    เมื่อภาวนาพุทโธจิตไม่กวัดแกว่งไปที่อื่นสำเหนียกรู้ลมหายใจเข้าออกในปัจจุบันขณะชัดเจน เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ไม่มีคำบริกรรมแล้ว มีสติเป็นเบื้องหน้าในอารมณ์เดียว มีจิตรู้จดจ่อนิ่งแช่อยู่ในอารมณ์เดียวได้นาน ไม่มีความคิด มีความสำเหนียกรู้ธรรมในปัจจุบันที่เป็นอยู่ สัมผัสของจริงมีธรรมเอกผุดขึ้นให้แจ้งชัดถึงความไม่มี เห็นโลกเป็นของว่างแจ้งชัดอนัตตาของจริงในปัจจุบันขณะ อันนี้เรียกจิตเป็นพุทโธ เป็นผู้รู้ของจริง.. เมื่อเห็นชัดว่าที่เราเห็นเราเข้าใจว่าเป็นนั่น เป็นโน่น เป็นนี่ สิ่งนั้น สิ่งนี้ได้นั้น แท้จริงก็เพียงติดสมมติกิเลสความคิด ที่เกิดจากความจำได้หมายรู้ต่ออารมณ์ทั้งปวงอันมีขึ้นเมื่อเวทนาเกิดระคนแกว่งให้อนุสัยกิเลสนั้นฟุ้งขึ้นด้วยการกระทบสัมผัสทางสฬายตนะ กิเลสมันอาศัยอายตนะ ๑๒ นี้แลเป็นเคืรอ่งล่อหลอกให้จิตหลง ซึ่งของจริงแท้แล้วมันไม่มีอะไรเลย อันนี้เรียกจิตเป็นพุทโธ เป็นผู้รู้ตัวสมมติอันแยกจากของจริงแท้แล้ว
๕. พุทโธ..นี้คือมรรค เมื่อจิตได้รู้แจ้งชัดของจริง รู้ตัวสมมติของปลอม จิตแล่นลง ศีล ทาน ภาวนา ครบองค์มันเองเลย ดวงจิตคือมนะมันรู้แจ้งชัดว่า..จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ดวงจิตคลายอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ ร่างกาย,ความรู้สึกในอารมณ์ที่มากระทบ, ความจำ, เจตนากริยาที่คิด, ความรู้ซึ่งสมมติจากความคิดนั้นๆ(เพราะจิตคือวิญญาณขันธ์มันรู้แต่จากเจตนาความคิดโดยสมมตินี้เอง จึงกล่าวได้ว่าจิตหรือวิญญาณขันธ์รู้สิ่งได้สิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด) มีจิตตั้งมั่นใน ศีล ทาน ภาวนาไม่แปรเปลี่ยน นี่เรียกว่าเป็นผู้ตื่นแล้ว ไม่หลงอยู่อีก จิตเข้าสู่มรรค
๖. พุทโธ..นี้คือผล เมื่อจิตได้รู้แจ้งชัดของจริงต่างหากจากสมมติ เป็นผู้ตื่นจากสมมติ ตั้งมั่นใน ศีล ทาน ภาวนาไม่แปรเปลี่ยน จนเมื่อดับความยึดความหลงในส่วนต่างๆตามกำลังความคมของปัญญาที่จะพึงตัดได้ขาด อุปาทานแลความทุกข์ส่วนนั้นไม่มีให้ยึดให้หลงอีก เรียกว่าละสังโยชน์ได้ตามระดับปัญญาที่มีนั้นๆ นี่เรียกผู้เบิกบานหลุดพ้นจากความหลงสมมติกิเลสของปลอมแล้ว ความดับไปซึ่งกิเลสความหลงแห่งสังโยชน์ที่ร้อยรัดใจตามแต่ระดับปัญญาจะพึงทำได้นั้นๆ จิตเข้าสู่ผล
..นี่คือ พุทโธ จิตที่มีพุทโธเป็นเครื่องยึด และ จิตที่เป็นพุทโธ คือ จิตถึงความความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันเป็นอย่างนี้ๆเป็นต้น..







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2016, 08:56:28 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #229 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2016, 01:41:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พุทโธกับอิทธิบาท ๔

๑. ฉันทะกับพุทโธ..เมื่อทำพุทธานุสติ..ให้ตั้งมั่นในศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาก่อน..โดยพิจารณาถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้วเรานำมาน้อมลงใจปฏิบัติมันให้ผลมันเป็นทางพ้นทุกข์จริง พระองค์ทรงสละตนลำบากตรากตรำปฏิบัติหาแนวทางพ้นทุกข์เพื่อถึงความตรัสรู้และสั่งสอนเวไนยสัตว์พร้อมทั้งเวทดา มาร พรหมทั้งหลาย ทั้งๆที่เมื่อทรงตรัสรู้แล้วจะไม่ประกาศธรรมไม่ประกาศธรรมเครื่องออกจากทุกข์ไม่ประกาศศาสนาก็ได้ เพราะมันลำบากยากยิ่งที่จะทลายความเชื่อเดิมๆที่ปะปนกับอกุศลธรรมอันลามกของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปให้เห็นชอบตามจริง แล้วนำธรรมอันเป็นที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ปฏิบัติสบายๆมาให้คนอื่นได้รับรู้และหลุดพ้นทุกข์กัน พระพุทธเจ้าจะมีจริงไหมหลวงปู่บุญกู้ครูของเราท่านสอนว่า..พระนี้บวชจะบวชเองไม่ได้..โดยส่วนตัวเรานี้ที่เห็นพระอริยะสงฆ์ท่านสอนในเราเจริญ ศีล ทาน ภาวนาสะสมเหตุให้ดี เพราะกาย วาจา ใจของท่านนั้นประกอบไปด้วย ศีล ทาน ภาวนา อย่างเห็นได้ชัดไม่มุสาวาท พระพุทธรูปท่านก็กราบไหว้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดา ธรรมของพระพุทธเจ้าผู้รู้ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่วิญญูชนสรรเสริญปฏิบัติตาม และ พระอรหันต์ก็มีอยู่จริงให้ได้เห็นจนทุกวันนี้แม้เราเองก็ได้รู้สัมผัสมา ดังนั้นผู้ทีเห็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมปฏิบัตินี้ๆของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์นี้จริงแท้แน่นอนไม่มีความลังเลสงสัย แล้วน้อมนำปฏิบัติตามก็สำเร็จเป็นพระอริยะสงฆ์ให้เราเห็นอยู่มากมาย ดังนั้นเมื่อได้สัมผัสจริงและรู้ดังนี้แล้วหากเราอยากพ้นทุกข์ ทำให้ทุกข์เบาบางลงเราก็ต้องเชื่อมั่นพระตถาคต องค์พระบรมศาสดา พระธรรมอันที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ผู้เห็นชอบจริงตามพระศาสดาแล้วเจริญปฏิบัติตามจนถึงความหลุดพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้าได้ และได้ลำบากตรากตรำสเผยแพร่พระธรรมคำสอนอันนั้นของพระพุทธเจ้ามาสู่เราให้ได้เรียนรู้และถึึงความกหลุดพ้นทุกข์ตาม ..เมื่อเกิดศรัทธาจิตเราจะเกิดความชื่นชอบชื่นชมต่อพระศาสดาและตั้งใจมั่นที่จะปฏิบัติอย่างแน่วแน่ ขณะเดียวกันก็จะน้อมพิจารณาได้ถึงความยินดีในการหลุดพ้นทุกข์ตามพระตถาคต ยินดีในการภาวนาเพื่อล่วงออกจากทุกข์ ไม่ถูกทุกข์หยั่งเอาอีก ยินดีให้จิตเราเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ของจริงแยกต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานหลุดพ้นดับสิ้นเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์จากสมมติโดยสิ้นเชิงตามพระศาสดา..

๒. วิริยะกับพุทโธ..พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์พระอรหันต์ท่านสอน..ให้มีความเพียรประครองใจไว้อยู่ให้ตั้งใจมั่นทำไปเรื่อยๆ..ยินดีชื่นชอบให้จิตเป็นพุทโธตามพระตถาคตแล้วเพียรทำเรื่อยๆบ่อยๆเนืองๆเพื่อสะสมเหตุแห่งภาวนาไปเรื่อยๆ ให้ทำเป็นพุทธบูชา ทำเพื่อสะสมเหตุแห่งศรัทธาพละ สัทธินทรีย์ และ การภาวนาไปเรื่อยๆ ทำให้มากเข้าไว้..แต่ไม่ใช่จดจ้องจะเอาจิตเป็นพุทโธให้ได้ตอนนี้เดี๋ยวนี้ให้มันกดดันให้จิตเกิดความหดหู่ตนเอง ยิ่งทำไม่ได้ยิ่งเศร้าหมองกายใจไปใหญ่ หรือ สำคัญหมายมั่นใจว่าทำแล้วจะต้องได้ ฌาณ ญาณ อภิญญาอย่างนั้นอย่างนี้ จนกดดันตนเองให้หดหู่เศร้าหมองกายใจเพราะต้องการทำให้ได้เดี๋ยวนี้ทันที..

๓. จิตตะกับพุทโธ..พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์พระอรหันต์ท่านสอน..ให้เรายินดีให้จิตเป็นพุทโธมีความเพียรตั้งไว้อยู่ เอาใจใส่ในการปฏิบัติไม่ท้อถอย ทำให้มากเข้าไว้ ..แต่อย่าหวังปารถนาจำจดจำจ้องต้องการจะเอาผล..ผลนี้จะได้ไม่ได้ช่างมันแต่ขอให้เราได้ทำไว้ก่อน ได้ทำให้มากเข้าไว้เป็นพอ "คำว่าทำให้มาก คือ ทำบ่อยๆเนืองๆไม่ขาดเป็นพอ"..ให้เพียงรู้ว่าเจาทำอบรมสะสมเหตุเพื่อทำจิตให้เป็นพุทโธ แต่ไม่ใช่จะผลให้ได้เดี๋ยวนี้ตอนนี้ มันทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เหนื่อยหน่าย เบื่อ ไม่อยากทำ ฟุ้งซ่านแล่นไปเรื่อยๆไม่มีหลักเปล่าๆ..ให้ทำเป็นที่สบายกายใจ ไม่ให้ลำบากเกินไป แต่ไม่หย่อนเกินไป อยู่กลางๆไม่สุดโต่งเกินไป..เมื่อจิตมันรู้ว่าทำแล้วมันไม่ยาก ไม่ลำบาก ทำแล้วเป็นที่สบายรู้สึกดี ชื่นบาน จิตมันก็จะผ่องใสต่อการปฏิบัติ การปฏิบัติมันก็มันแค่นี้เอง มันก็จะเกิดความยินดีและความเพียรในการทำไม่ขาด โดยปราศจากความเกียจคร้าน หดหู่ เหนื่อยหน่าย เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน ห่อหุ่มจิตเมือคิดถึงหรือเมื่อทำ
(ให้ทำไว้ในใจถึงความยินดีในการปฏิบัติ ยินดีในการที่ได้ทำให้บ่อยให้มาก ยินดีให้จิตเป็นพุทโธ เพื่อหลุดพ้นทุกข์ในภายหน้า แต่ไม่หวังผล ไม่แสวงหาเอาผล ไม่จำจดจำจ้องจะเอาผลให้ได้ เพราะที่ทำอยู่นี้มันคือทางกุศลอันเป็นไปเพื่อสิ่งนั้นอยู่แล้ว การที่เราจะได้รับผลนั้นช้าหรือเร็ว เต็มช้าหรือเต็มเร็ว มันก็อยู่ที่ว่าเรานั้นในกาลก่อน ชาติก่อน จนถึงปัจจุบันขณะนี้เราสะสมมันมาได้มากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุดังนี้ให้สำเหนียกไว้เลยว่าเราเพิ่งจะเริ่มเจริญปฏิบัติสะสมมันเท่านั้นยังต้องสะสมเหตุนี้ไปอีกนานโขจึงจะเต็มอิ่มได้..โดยให้ระลึกเสมอๆทุกครั้งที่เราเกิดเบื่อหน่าย ขี้เกียจ หดหู่กายใจ ฟุ้งซ่านเตลิดไปในการปฏิบัติว่า..พระพุทธเจ้านั้นทรงอบรมทำเหตุสะสมมานานมากไม่รู้กี่อสงไขย เมื่อมันเต็มจึงทรงตรัสรู้จิตเป็นพุทโธได้ เราทำเหตุสะสมแค่ครั้งสองครั้ง หรือ แค่ไม่กี่ปีไม่มีชาติจะไปถึงได้ยังไง เมื่อเหตุยังสะสมมาไม่ดีทั้งแต่ชาติก่อนจนถึงปัจจุบันชาติแล้วจะไปเอาผลได้อย่างไร ดังนั้นให้ทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆไม่ให้ขาด โดยไม่ต้องหวังผลใดๆทั้งสิ้น หากมันเต็มบารมีแล้ว เต็มกำลังใจเราแล้วมันจะแสดงผลออกมาเอง "อันนี้เรียก..ยินดีแต่ไม่ปารถนา')..

๔. วิมังสะกับพุทโธ..ให้ทบทวนพิจารณาดูกายใจตนเองอยู่สม่ำเสมอว่า..
    ๔.๑ ทุกครั้งที่เราปฏิบัตินี้หรือพยายามประครองจิตตนให้เป็นไปในการประปฏิบัติอยู่นี้ เราทำด้วยความเบื่อหน่าย หดหู่ เศร้าหมองใจไหม ฟุ้งซ่านหรือไม่ หากใช่ก็แสดงว่า
..เราละเลยการปฏิบัตินานเกินไป ปฏิบัติไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่ประครองกายใจตนทำสะสมเหตุให้ดีให้มากบ้าง..
..แต่หากเราปฏิบัติอยู่เป็นประจำแล้วทำให้มากแล้วก็แสดงว่าเราจำจดจำจ้องจำจะเอาผลให้ได้มากเกินไปบ้าง..หรือ..ทำแบบสุดโต่งหลับหูหลับตาทำจนเกินไปบ้าง..
    ๔.๒ มีสติยั้งคิดมีสัมปะชัญญะรู้ตัวทุกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรไหม หากมีน้อยก็แสดงว่าเรายังทำมาไม่พอ ไม่ถูกจุด
    ๔.๓ หากมีสติสัมปะชัญญะแล้วแต่ยังไม่อาจจะละวางหยุดยั้งอกุศลที่กำลังเจริญขึ้นได้ อันนี้ก็แสดงว่าสติสัมปะชัญญะเรายังมีกำลังน้อยอยู่ เรายังทำสะสมเหตุมาน้อยอยู่ ยังต้องสะสมเหตุให้มันปะติดปะต่อกันเกิดขึ้นได้นานติดกัน มีกำลังมากเข้าไว้ ยังต้องทำพุทโธทำให้มากไปเรื่อยๆ ตั้งมั่นแค่ได้ทำก็พอแล้ว
**หลวงปู่บุญกู้ท่านสอนว่า บางครั้งเราก็ต้องรู้จักหัดมีขันติ รู้จักข่มใจ รู้จักขัดใจมันบ้าง เอาจิตตรึกหน่วงนึกในกุศลเห็นผลดีผลร้าย คุณและโทษของสิ่งนั้นๆอยู่เสมอๆจนแจ้งว่าสิ่งนี้ ควรละ ควรปล่อย ควรวาง ควรอดใจไว้ แล้วเอากุุศลธรรมหรือความคิดกุศลไรๆอัดเข้าไปแทนให้มันเว้นระยะของอกุศลธรรมให้มากเข้าไว้**
    ๔.๔ หากมีสติสัมปะชัญญะเกิดขึ้นแล้วเรารู้กายใจไม่ยินดียินร้ายกับมันได้ เพิกเฉยต่ออกุศลธรรมทั้งปวงเห็นว่ามันก็แค่ปกติของจิต อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบซึ่งเกิดขึ้นอยู่ประจำๆอยู่แล้ว แล้วเราละอกุศลธรรมเหล่านั้นได้เป็นครั้งคราว หรือบ่อยๆที่ทำได้ แสดงว่าเรามาถูกทางแล้วแต่ยังต้องทำเหตุให้มากเพิ่มขึ้นอีกก็เท่านั้นเอง
**หากทำจนแล้วจนรอดแต่ก็ยังไม่ได้ หรือทำได้บ้างๆแต่นานๆครั้งแต่ใจยังระส่ำกระสับกระส่ายยังเกิดความเร่าร้อยอยู่ แสดงว่า ศีลของเรายังบกพร่องอยู่  เพราะศีลและทานนี้จะประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทำให้เรามีจิตใจดีไม่ติดใจข้องแวะไรๆ ไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่ม ระแวง หวาดกลัว ไม่โลภ ไม่อยากได้ของเขา ไม่ตระหนี่ หวงแหน ไม่กระสันทะยานอยากแสวงหาที่จะกระทำในสิ่งที่มันปรนเปรอเกินความจำเป็นให้สมใจตน ทำให้ไปที่ใดก็เย็นใจเป็นสุข อยู่ที่ใดก็เย็นใจเป็นสุข ทำอะไรก็เย็นใจเป็นสุข เพราะไม่มีความเบียดเบียนในกายใจ มีความอิ่มใจ เป็นสุข สบาย สงบไม่หดหู่ ไม่ฟุ่้งซ่านฟุ้งเฟ้อ สงบ จิตตั้งมั่นดี เมื่อจิตตั้งมั่นมันจะว่างจากความคิดทำให้สติสัมปะชัญญะครบพร้อมมีกำลังมาก เวลามีอะไรแปลกปลอมเข้ามามันก็รู้หมดแล้วดับไปในทันทีไม่มีกำลังสืบต่อ**




คำว่าให้ทำให้มาก คือ ทำบ่อยๆเนืองๆไม่ขาดเป็นพอ มีความเพียรตั้งใจมั่นที่จะทำประครองใจไว้อยู่ ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลังใครเราเพียรให้เป็นที่ยินดีอย่างไรก็ทำอย่างนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ถึงความเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้แล้ว ทรงได้เห็นกายเรานี้เป็นที่ประชุมโรค กายนี้เบื้องบนแต่ปลายเท่้าขึ้นไป เยบื้องล่างแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบห่อหุ้มของอันสกปรกไม่สะอาดเอาไว้ มีอยู่เพียงอาการ ๓๒ ประการ มี ขน ผม เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น สักแต่เป็นเพียงธาตุ อันรอวันที่จะเร่าเปื่อยผุพังเสื่อมสูญสลายไป ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่ว่าเราไม่ว่าเขา ทรงเห็นกายในกายอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเราจะมีจิตเป็นพุทโธก็เพียรพิจารณาให้เห็นแม้ลืมตาหลับตา ม้างกายออกจนเห็นชัดว่า เราไม่มีในสิ่งนั้น ในสิ่งนั้นไม่มีเรา สิ่งนั้นไม่มีในเรา เราใช่ไม่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นเรา สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น พิจารณาด้วยปัญญากลับไปกลับมาตรงนี้ จนไม่เห็นมีสิ่งใดนอกจากความไม่มี ความว่าง ของจริงมันไม่มี แต่เพราะสมมติจึงมี จิตแล่นเข้าสู่ผลตัดสังโยชน์ขาดได้

พระพุทธเจ้านี้สว่างไสวดุจดวงประทีปมีจิตปภัสสร สว่างโร่แจ้งเป็นประกาย เมื่อทำพุทโธย่อมอบรมใจให้สว่างไสวตามพระศาสดา เปิดเผยไม่เคลือบแคลงอแบแฝง ไม่มีกิเลส เลสนัยย์ห่อหุ้มเจือปน มีความเพียรประครองใจไว้อยู่ให้สว่างไสวไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2016, 10:04:50 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #230 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2016, 10:19:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทศนาเรื่อง วิธีเจริญการกรรมฐาน ทำเพื่ออะไร และ กายคตาสติ พระพุทธเจ้าสอนให้เห็นประจักษ์ในไตรลักษณ์



http://board.postjung.com/977206.html

https://mega.nz/#!iE50jCbb!RfPuyjMXnZYzac8KyBM3C-XYaMyrXJvKE71bJ8R7SsU
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2016, 11:45:16 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #231 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 12:29:20 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หลวงปู่ บุญกู้ อนุวัฑฒโน สอนกรรมฐาน มีตอนหนึ่งว่า

- กรรมฐานกองใดเราทำแล้วได้สมาธิ ให้ทำกรรมฐานกองนั้นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
- กายที่จิตเราอาศัยอยู่นี้ มันก็ร่างกายอันเดิมๆ แบบเดิมๆ มีลมหายใจ มีมือ มีแขน มีแข้ง มีขา ใช้ยืน(ก็ยืนแบบเดิมๆ คือ ใช้ขายันพื้นเอาตัวตั้งขึ้นเหมือนเดิม) เดิน(ก็เดินแบบเดิมๆ คือ ใช้ขาก้าวย่างเคลื่อนที่ไปเหมือนเดิม) นั่ง(ก็นั่งแบบเดิมๆ คือ ก็ใช้ก้นนั่งเหมือนเดิม) นอน(ก็นอนแบบเดิมๆ คือ เอาลำตัวนอนเหมือนเดิม) หายใจ(ก็หายใจแบบเดิมๆ คือ มีลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก)


- ดังนี้แล้ว เราก็เอากรรมฐานแบบเดิมๆที่เราเคยได้ ที่เราเคยเข้าถึงนั้นแหละเจริญ ทำมันไปเรื่อยๆมันก็ได้เอง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #232 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2016, 03:20:02 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การเข้าสมาธิ โดยความเข้าใจส่วนตัวของเราว่า เป็นวสีที่เราทำ และ ทำได้บ่อยที่สุด

ก. "น้อมใจไปไม่ยึดเอากาย ตัดกาย คลายอุปาทานรูปขันธ์ ไม่ยินดีในกายให้ได้ก่อนทำสมาธิ"

1. เพราะมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ ตัดทางโลก ไม่ยินดีในทางโลก แม้สิ่งภายนอกที่ตนเคยรับรู้สัมผัสมาทั้งปวงก็ตาม มีสัมปะชัญญะตั้งมั่นในปัจจุบัน มีสติจับตั้งไว้เพียงปัจจุบัน น้อมใจลงธรรมตั้งมั่นที่จะเจริญในกรรมฐาน เพื่อทำสมาธิละความยินดีในโลก ไม่ตั้งจิตถวิลหาสิ่งที่ล่วงมาแล้วอันตั้งขึ้นเป็นอารมณ์แล้วทำให้ใจหดหู่ ไม่ตั้งจิตถวิลหาสิ่งที่ตนไม่เคยรู้ไม่เคยสัมผัส ไม่ตั้งจิตอนุมานสิ่งที่เป็นเบื้องหน้าที่ยังมาไม่ถึง

2. ไม่ยินดีในกายนี้ คือ รูปขันธ์(ร่างกาย, อาการทั้ง ๓๒ ม้างกายออกจนไม่เป็นตัวตน ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ของสิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ตัวตน, ธาตุ ๕ คือ ดิน(แค่นแข็ง-อ่อนนุม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น) น้ำ(เอิบอาบ ซาบซ่านไหลเวียน) ลม(เคลื่อนตัว พัดไหวไป ลมหายใจ ลมในกระเพาะอาหาร) ไฟ(อาการที่ร้อน ให้ความอบอุ่นในร่างกาย) อากาศ(ที่ว่างอันเป็นที่อาศัยของแก๊ซหรือก๊าซตามธรรมชาติ ตด ก็เป็นอากาศอันมีแก๊สอัดแน่นอยู่ ), กายนี้ประชุมไปด้วยโรค ความเจ็บป่วยอาพาตทั้งหลาย ความแก่ และ ความตายดับสูญสลายไปเป็นที่สุด ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน ประครองดูแลลำบาก ไม่เป็นที่สำราญใจ หาสิ่งใดดีๆไม่ได้เลย)

3. เมื่อเห็นดังนี้แล้วจิตน้อมเกิดความเบื่อหน่ายในกาย ให้ตั้งจิตมั่นว่าจักทิ้งกายนี้ไปเสียได้.. มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน มันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน มันไม่ใช่ตันตน เอาใจเข้ายึดครองมันไว้อยู่ก็รังแต่จะเจ็บ จะป่วย อาพาต ปวด เจ็บ คัน เต็มไปด้วยโรคนั่น โน่น นี่ ปวดขี้ ปวดเยี่ยว กินข้าว ต้องพยุงกายอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายมันก็ตาย เราก็ต้องเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ ไม่มีใจครองกายนี้แล้ว ดวงจิตก็เดินทางไปต่อตามบุญและกรรมสืบไป เหมือนคนตาย พอหมดลมหายใจก็ตาย ตายแล้วไม่ใช่เพียงกายเป็นอนัตตาต่อเขา แต่ดวงจิตเขาเองก็เป็นอนัตตาต่อกายนี้ ไม่มีใจเข้ายึดครองมันอีก

4. ตั้งจิตมั่นไม่ยินดี ไม่เอาใจเข้ายึดครองกายนี้อีก สิ่งที่เป็นปัจจุบันในกายนี้ เป็นของแท้มีอยู่ก็เพียง กายสังขาร หรือ กายลม คือ ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกนี้เท่านั้นเ

๑. การทำ "อานาปานสติ" ให้เอาจิตตั้งมั่นปักหลักปักตอไว้รู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกไม่ไหวเอนไปตามลม, ถ้าเพ่งจุดปลายจมูกไม่ได้รู้สึกมึนปวดหัว ให้ลองเอาจิตดูลมหายใจที่เคลื่อนผ่านเข้าโพรงจมูกมันเคลื่อนไปลึกสุดตรงไหน และ ลมหายใจออกผ่านตรงใดออกจากโพรงจมูกไป หรือ ทำตามหลักท่านพ่อลีสอน ดูตามจุดที่ลมเคลื่อน ปลายจมูก  หว่างคิ้วหรือหน้าผาก กลางกระหม่อม กลางโพรงกระโหลก ท้ายทอย ลำคอกลวง หน้าอก ท้องน้อย เมื่อหายใจออกก็ย้อนกลับไปทีละจุดวนกลับไป, แต่หากที่สุดแล้วยังทำไม่ได้ ยังปวดหัว ไม่เป็นที่สบายก็ให้ดูสัมผัสลมที่จุดหน้าอก ถ้าทำแล้วแน่นหน้าอกหายใจลำบาก ให้เพ่งมารู้สัมผัสลมผ่านที่ท้องน้อยหากรู้สึกปวดหน่วงเหมือนปวดปัสสาวะ หรือหายใจลำบากเพราะจิตมันไปบังคับท้องกับลมหายใจใก็ห้ทำตัวตามสบายให้เพียงแค่มีสติรู้ว่าตนกำลังหายใจเข้าและกำลังหายใจออกก็พอ

๒. การทำ "สัมปะชัญญะ" ความรู้ตัวในปัจจุบัน เป็นการฝึกไม่ให้ตนคิดฟุ้งซ่านสืบต่อจากสิ่งที่รู้เห็นหรือดำเนินไปในปัจจุบันขณะ เมื่อรู้ตัวว่ากำลังทำสมาธิอยู่จิตจะวอกแวกน้อย เพราะสัมปะชัญญะนี้จะช่วยไม่ให้จิตฟุ้งซ่านส่งจิตออกนอก เมื่อเจริญคู่ "อานาปานสติ" ซึ่งอานาปานสตินี้มีคุณมากเป็นกรรมฐานที่รู้ปัจจุบัน เป็นปัจจุบันโดยเฉพาะ คือ รู้ลมหายใจเข้า หายใจออก เป็นการรู้ปัจจุบันขณะ จะทำให้ละความฟุ้งซ่าน ติดคิด ติดสมมติความคิดไปได้ ..ดังนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า คนที่ฟุ้งซ่านให้เจริญ อานาปานสติ

๓. หากจิตไม่มีกำลังอยู่ลมหายใจได้ไม่นาน ให้ทำ "พุทธานุสสติ+อานาปานสติ" โดยก่อนทำให้เราตั้งใจไว้มั่นแน่วแน่ในศรัทธาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระศาสดาว่า พระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยคุณมีพระเมตตา และ พระกรุณาดุจห้วงมหรรนพ, “อระหัง” คือ ผู้ไม่มีกิเลส, “สัมมาสัมพุทโธ” คือ ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง, “สุคะโต” คือ เป็นผู้ได้แล้วด้วยดี, “โลกะวิทู” คือ เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง รู้แจ้งสังขารโลก รู้แจ้งในเหตุทั้งปวง พร้อมทั้งความเป็นไป ให้เกิดผล รู้แจ้งในกรรมของสัตว์ทั้งปวง, “ปุริสทัมมสารถิ” คือ เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าให้ถึงความพ้นจากกองทุกข์ตาม “สัตถา เทวะมนุสสานัง” คือ เป็นครูผู้สอนทางกุศลหลุดพ้นจากทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, “พุทโธ” คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, “ภะคะวา” คือ ผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ มีทั้งเบื้องต้น คือ ธรรมที่เห็นง่าย เข้าใจง่าย สัมผัสได้ง่าย สอนทำสะสมเหตุให้ดำเนินไปสู่ผล คือ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา, มีทั้งท่ามกลาง คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ และ สัมโพชฌงค์ธรรมเครื่องตรัสรู้, มีทั้งขั้นสุด คือ ธรรมวิมุตติธรรม ถึงความดับทุกข์
ดังนี้แล้ว..เมื่อผู้ใดน้อมระลึกถึงแม้พระนามของพระพุทธเจ้า ว่า.. "พุทโธ" จึงเป็นความหน่วงนึกคิดระลึกถึงอันไม่มีโทษ ทำให้ผู้ระลึกถึงนี้ปราศจากกิเลสตัณหา กามราคะ โทสะ โมหะ ความฟุ้งซ่าน ความสะดุ้งหวาดกลัว ทำให้ผู้ระลึกถึงดำรงอยู่ด้วยมีสติสัมปะชัญญะ มีจิตตั้งมั่นชอบในปัจจุบัน พร้อมด้วยปัญญาไม่ในล่วงสิ่งที่ชั่ว จักเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระศาสดา แม้เมื่อตายตอนระลึกถึงก็ไม่ล่วงอบายภูมิ แล้วหน่วงนึกระลึกถึงว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ปัจจุบันเห็นเห็นของจริงต่างหากจากสมมติของปลอม ตื่นจากสมมติ หลุดพ้นจากสมมติของปลอมทั้งสิ้นนี้ พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า เป็นนามของพระพุทธเจ้า เมื่อกล่าวพุทโธ คือ การการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทำพุทโธให้เป็นลมหายใจ ให้จิตมันระลึกถึงมีพระพุทธเจ้าอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ความคิดถึงพุทโธนี้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้านั้นปราศจากเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์โดยสิ้นเชิง หน่วงนึกระลึกถึงแล้วไม่มีโทษ แต่กลับทำให้จิตมีกำลัง เป็นกุศล ปราศจากกิเลสตามพระพุทธเจ้าอีก บริกรรมพุทโธนี้ดีสุดไม่มีอื่นใดเทียบ แล้วหายใจเข้าบริกรรมพุท หายใจออกบริกรรมโธ พึงตั้งมั่นจักไม่ยึดเอากายนี้อีก จดจ่อรู้อยู่ที่พุทโธทุกลมหายใจเข้าออกเท่านั้น
 **   ผู้ที่ระลึกบริกรรมพุทโธไม่ได้ เพราะยังไม่มี สัทธินทรีย์ คือ ศรัทธาพละ ต่อ พระพุทธเจ้า

๔. หากทำพุทโธแล้วจิตยังไม่นิ่งให้ทำ "มรณัสสติ+อานาปานสติ" โดยตั้งจิตระลึกถึงความตาย ก่อนทำให้หน่วงนึกตรึกคิดว่า เราจักตาย เราจักเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ ไม่มีตัวตนต่อกายนี้อีก ไม่มีจิตเข้ายึดครองกายนี้อีก กายนี้จักเป็นอนัตตาต่อเราเมื่อตาย เราจักไม่ยังกายนี้อีก หายใจเข้าเราก็จักตาย หายใจออกเราก็จักตาย เมื่อจะตายอยู่แล้วอย่าให้ตายเพราะกิเลสตัณหาเลย อย่าเอากิเลสตายตามเราไปเลยมันจักไม่ล่วงพ้นอบายภูมิ ดังนั้นโยนกิเลสนั้นทิ้งไปเสีย มารู้เพียงลมหายใจนี้พอ ไม่มีลมหายใจเราก็ตาย แขนขาด ขาขาด ตัดไตออกข้างนึง ตัดไส้ออกเราก็ยังไม่ตาย แต่หมดลมหายใจนี้เราตายเลย พระพุทธเจ้าให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก เป็น มรณัสสติ อันเป็นหนึ่งในกรรมฐานแห่งอนุสสติ ๑๐ จะหายใจเข้าระลึกบริกรรม มรณัง หายใจออกระลึกบริกรรม มรณัง กำกับรู้ว่าจักตายหายใจเข้า จักตายหายใจออกทุกลมหายใจนี้ไปก็ได้

**การเจริญแบบนี้เป็นการตัดนิวรณ์ ตัดเรื่องราวทางโลก เพราะธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันติดสมมติ สัมปะชัญญและสตินี้ช่วยให้เป้นปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก

**เพราะละความยึดมั่นกับสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ได้ ไม่ยินดีในกายทางโลกนี้อีกแล้ว "เพราะละจิตที่ยึดเหนี่ยวอุปาทานรูปขันธ์ได้ จิตจึงตัดทางโลกยกเข้าทางธรรมสมาธิได้ " และ "เพราะละสมมติอุปาทานทางโลกได้ จึงเห็นทางธรรมได้ "

** เจริญตามนี้ขั้นต่ำได้ ขณิกปิติ(มีอาการที่วูบหนึ่งจิตดิ่งเข้าความสงบ ความใส่ใจในภายนอกน้อยลง จิตส่งออกนอกน้อยลง), ขณิกสมาธิ(สงบ) ความสงบ สบายกาย สบายใจ ภาวะที่เหมือนอบอุ่มสบายกาย ร่มเย็นสบายใจ จิตเริ่มมีกำลัง เมื่อเจริญไปเรื่อยๆภาวะอะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมันสักแต่ว่ารู้ว่ามีอาหารนี้ๆเกิด มันจะคิดอะไๆรก็ปล่อยมันคิดไป รู้ว่ามันคิดไม่ต้องหยุด ไม่ต้องห้าม ให้มีสติสัมปะชัญญะเป็นพอ จิตมันเมื่อไม่ติดในสงบหรือความปรุงแต่งนึกคิด มันจะดิ่งลงลึกเข้าไปอีก เรียกว่าเพราะละสภาะของขณิกสมาธิได้ ไม่ตั้งมั่นให้คงสภาวะนั้นไป ไม่มีกลัวมันวูบดิงไปอย่างไรก็ปล่อยมันไป แล้วจิตมันจะดิ่งลงสู่อุปจาระสมาธิเอง บางครั้งรับรู้ไม่ทันจิตก็เข้าปฐมฌาณเลยเป็นภาวะที่เหมือนจะมีความคิดแต่้ก็ไม่มีความคิด จะว่าความคิดไม่มีก็ไม่ใช่ มันหน่วงตรึกนึกแล่้วก็นิงแช่ แต่เรื่องราวไรๆมันดำเนินไปอยู่ แล้วก็ไม่มีความคิดมีแต่ว่างสลับกันไปมา จนกล่าจิตจะลงลึกอีก จึงจะแช่ว่างรู้ภาวะอยู่เท่านั้น


ละอุปาทานความงุ่นง่านใจกับอารมณ์ภายนอก และ ความคิดภายใน

ข. น้อมใจไปไม่ยึดเอาจิต ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ยึดวิญญาณขันธ์ คลายอุปาทานเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

5. ไม่ยินดีในสมมติอารมณ์ความรู้สึกหน่วงนึกตรึกคิดทั้งปวง เวทนา, สัญญา, สังขาร มีใจวางไว้กลางๆไม่เอนเอียงตามด้วยรู้ว่า เป็นสมมติ เมื่อเราหลงตามมัน เราก็รู้แต่สมมติ เข้าใจแต่สมมติ รู้สึกแต่สมมติ จดจำแต่สมมติ ตรึกคิดคำนึงถึงแต่สมมติ

6. ไม่ยินดีใน วิญญาณ(ความรู้สัมผัสทั้งทางกายและใจ) ด้วยสำเหนียกว่า จิตนี้มันเก่ง มันรู้ทุกสิ่ง แต่สิ่งที่มันรู้ มันรู้เพียงสมมติของปลอมเท่านั้น ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจะคัน ไมว่าจะเจ็บ ไม่ว่าจะปวด ไม่ว่าจะสุข ไม่ว่าจะทุกข์ ไม่ว่าถวิลใจติดใคร่ แสวงหาอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่ว่าจะความกระสันกำหนัดนักในใจ ไม่ว่าจะความโกรธแค้น อาฆาต ความติดข้องใจหลงอยู่ในกิเลสทั้งปวง ความรู้สัมผัสแล้วเห็นว่าเป็น คนก็ดี สัตว์ก็ดี สิ่งของก็ดี เวทนาสุข-ทุกข์-เฉยๆก็ดี เห็นเป็นนามก็ดี เห็นเป็นรูปก็ดี ทั้งหมดล้วนแต่รู้โดยสมมติทั้งสิ้น ดังนี้แล้วอย่าไปติดข้องใจสิ่งใดกับมันแค่รู้แล้วก็ผ่านเลยไป

- เหมือนพระอาจารย์ณัฐพงษ์ท่านกล่าวว่า.. หลวงปู่ฝั้นสอนว่า.."ให้ทำสมาธิเหมือนเราขัยบรถเดินทางไกล เจออะไรก็ไม่ต้องไปใส่ใจมัน มันก็แค่สิ่งที่อยู่ข้างทางทั่วไปๆไปที่มีอยู่ตลอดแนวทาง"

- เหมือนหลวงน้าพระครูแก้วท่านสอนเราว่า.."สิ่งนี้ๆก็เพียงแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่มีเกิดมาให้เราเห็นเรารู้ทางใจตามปกติ มันไม่มีอะไรสลักสำคัญไปกว่านั้น ความจริงมันเป็นอยู่อย่างนั้น เท่านั้นเอง ให้รู้ เห็นว่าเป็นปกติของจิต แล้วก็วาง ไม่ต้องไปใส่ใจยึดอุปาทานมัน"

- เหมือนหลวงพ่อเสถียรท่านสอนเราว่า.."จิตมันรู้ทุกสิ่ง แต่จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้นไม่มีของจริงเลย ..กิเลสนี้มันฉลาดอาศัยอายตนะ ๑๒ เป็นเครื่องล่อจิตให้ติดหลงสมมติของปลอมจากการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้งหลาย เมื่อจิตมันรู้จักแค่สมมติมันจึงไปอุปาทานเอาของปลอมทั้งหลายมาเป็นเครื่องยึดลุ่มหลง ยิ่งยึดสิ่งที่จิตรู้มันไปมากเท่าไหร่ก็มีแต่ทุกข์มากเท่านั้น เมื่อเราไม่ยึดจิตมันก็ก็ไม่ทุกข์ เพราะไม่ยึดติดสมมติของปลอม"

- เหมือนหลวงปู่บุญญกู้ท่านสอนเราไว้ว่า.."จิตมันรู้แต่ของปลอมมาเยอะ มันจึงยึดแต่ของปลอมมาตลอด เราต้องฝึกสะสมเหตุให้มาก ทำเหตุให้มากๆ คือ ทาน ศีล ภาวนาไม่ขาดให้จิตมันมีกำลังมาก ทานทำให้อิ่มใจ ศีลทำใจเย็นใจ ภาวนาอบรมจิตทำให้จิตมีกำลังมาก เมื่อจิตมีกำลังมากก็เข้าไปเห็นของจริงบ่อยๆ สิ่งที่เห็นมันมีทั้งจริงและไม่จริง นิมิตนี้เราเอามากำลังหนดดูเพื่อละกิเลสได้ เวลากำหนดนิมิตให้จิตตั้งมั่นอธิษฐานให้เล็กได้ ใหญ่ได้ ดูมุมไหนก็ได้ แล้วค่อยอธิษฐานกำหนดไปเพื่อให้เราละกิเลส เช่น การม้างกาย เมื่อรู้ว่าจิตมันเห็นสมมติมากกว่าของจริง หากเห็นอะไรแล้วไม่แน่ใจว่าจริงไหมก็ให้ถอยออกมาก่อนแล้วค่อยเข้าไปดูมันใหม่ ทำซ้ำๆจนแน่ชัดในสิ่งที่เห็น เมื่อเห็นบ่อยๆมากๆสะสมไปเรื่อยๆ จิตมันก็คลายอุปาทานลงไปเรื่อยๆ มันก็ละความติดหลงสมมติของปลอมลงไปเรื่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2016, 08:58:38 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #233 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2016, 10:51:27 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พิจารณาธาตุ ๖ ให้คลายอุปาทาน

ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า ไม่ต้องไปดูไกล ให้ดูที่กายเรานี้แหละ

1. ดิน มันแข็ง มันนุ่ม มันอ่อน เช่น เนื้อ หนัง ฟัน กระดูก

2. น้ำ ชุ่มชื่น เอิบอาบ เช่น น้ำลาย น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง

3. ลม เคลื่อนไหว พัดขึ้น พัดลง เช่น ลมหายใจ

4. ไฟ อบอุ่น ร้อน เย็น เช่น อุณหภูมิในร่างกาย สิ่งที่ทำให้กายอบอุ่น

5. อากาศ ธาตุว่าง ช่องว่างต่างๆ เช่น รูหู รูจมูก ช่องปาก ช่องว่างที่ๆมีก๊าซอาศัยอยู่ เช่น ตด

(คำนิยามของก๊าซและแก๊ส http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/sd/div_knowledgesdetail.asp?div_id=51&kl_id=9)

6. วิญญาณ ธาตุรู้ รู้ทุกอย่าง แต่มันยึดรู้เอาแต่สมมติทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #234 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 08:11:43 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฝึกหัดทำวสีสมาธิโดยทำนิพพิทา ความปลงใจในโลก

การฝึกวสีต้องเริ่มจากทำไว้ในใจให้เป็น นักกรรมฐานที่ท่านได้วสีฌาณ ท่านจะรู้ดีว่าไม่ใช่ท่านไปตั้งทำเอาจุดนั้นจุดนี้เป็นเท่านั้น *..แต่ลำดับแรกก่อนที่ท่านจะไปตั้งหน่วงนึกเข้าตามจุดพักลมหายใจหรือนิมิตเหล่าใดได้ ท่านต้องทำไว้ในใจตัดละทิ้งจากสภาวะธรรมอารมณ์ไรๆที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆไปได้ก่อน(ปลงใจจากอารมณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ได้) แล้วก็ทำไว้ในใจเข้าไปในสภาวะที่จะทำ แล้วกำหนดจุดที่เป็นวสีของท่านเป็นที่ตั้งหน่วงนึกเข้าสภาวะของจิต
     ..เช่น ตัดใจละความยึดความติดใคร่ลุ่มหลงในโลกแม้ขันธ์ ๕ ที่ตนอาศัยอยู่ทิ้งไปเสียให้ได้ก่อน แล้วเอาจิตน้อมตั้งมั่นเข้าจับในสภาวะธรรมที่จะทำ..โดยจับเอาอาการลักษณะสภาวะที่เคยเข้าถึงได้นั้นๆจึงเข้าได้ เป็นการใช้สัญญาที่จดจำจากลักษณะอาการของสภาวะธรรมที่เป็นฌาณหรือญาณที่เคยเข้าได้นั้นๆ เรียกว่า ใช้สัญญา ความจำได้หมายรู้อารมณ์*..หรือ บางท่านทำไว้ในใจที่ความว่างจากกิเลสสมมติทั้งปวง ความดับ ความไม่มี นิพพาน

     หากคนฝึกใหม่ไม่เคยเข้าฌานได้..เวลาฝึกทำตามครูบาอาจารย์ท่านสอนไป ต้องปล่อยให้จิตมันเป็นไปของมันเอง โดยไม่ไปจำจดจำจ้องที่จะเอาจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ ไม่กระสันได้ ไม่หวังผล ยินดีแต่ไม่ปารถนา ปล่อยจิตให้มันสบายๆ ทำสะสมเหตุไปไม่หวังผลโดยระลึกขอแค่ให้ได้ทำก็เป็นที่พอใจแล้ว พอเหตุมันมีมากจิตมันมีกำลังเข้าถึงได้บ่อยๆ จิตมันจะจดจำสภาวะของมันเอง กล่าวคือ
ก. ตั้งมั่นปฏิบัติเพราะรู้ว่า นี่คือการทำเป็น พุทธปูชา ธรรมมะปูชา สังฆปูชา มาตาปิตุปูชา ครูอุปัชฌาอาจาริยะปูชา ปฏิบัติเพื่อถวายเป็นเครื่องสักการะบูชาแก่พระพุทธเจ้า บูชาแก่พระธรรม บูชาแก่พระสงฆ์ บูชาแก่พ่อแม่บุพการี บูชาแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลาย
ฃ. ทำด้วยรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ดี รู้ว่ามันทำให้กายใจเราไม่ฟุ้งซ่าน นั่นเพราะการฝึกอบรมจิตนี้..มันเป็นการฝึกฝนทำให้จิตเรามีสติสัมปะชัญญะเป็นเบื้องหน้าอยู่เนืองๆ อยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่ส่งออกนอก ไม่เสพย์สมมติ
ค. ทำเหตุสะสมภาวนาบารมี อบรมจิตเพื่อสะสมเหตุบารมีไปเรื่ิอยๆ ระลึกไว้เลยว่า..แค่เราทำสมาธิแล้วประครองจิตไม่ให้ส่งออกนอกมีความรู้ตัวรู้กายรู้ใจอยู่ในปัจจุบันขณะที่กำลังเป็นอยู่ไม่สัดส่ายส่งจิตออกนอกไปเสพย์สมมติได้แม้ชั่วขณะจิตหนึ่งนี้ บารมีภาวนาเราก็มากโขเลย ยิ่งทำได้มากยิ่งมีอานิสงส์มากมันยิ่งทำให้จิตเรามีกำลังมากตั้งมั่นได้ง่าย เพราะเมื่อมีสติสัมปะชัญญะตั่งมั่นได้บ่อยมากเท่าไหร่ จิตก็ตั่งมั่นตามได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
     ..เช่น เวลานั่งหลับตาทำสมาธิ ให้มีสติตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทีเกิดมีขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่างคือ
ค.๑ บริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจให้จิตเรามีกำลังรู้ลมในทุกขณะมากขึ้น แล้วปักหลักรู้ลมหายใจที่กำลังเข้าและออกสัมผัสผ่านที่ปลายจมูก จิตอยู่กับพุทโธไม่หลุดจากลมหายใจไป เป็นต้น และ มองออกไปเบื้องหน้าเห็นสภาวะที่มืดโล่งกว้างไม่มีอะไรเลยอยู่นั้น ระลึกรู้ว่าปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นมีแค่นั้นแหละไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรทั้งสิ้น
ค.๒ กำหนดนิมิตโดยมโนสัญญา เช่น กสิน เอาจิตหน่วงนึกถึงวงกสินนั้นในเบื้องหน้า ก็ให้รู้ตัวว่าเรากำลังกำหนดนิมิตวงกสินนั้นๆขึ้นมาเป็นอารมณ์ในการทำสมาธิอยู่
      ทำแบบ 2 ข้อนี้ นี่เรียกว่าเป็นการรู้ตัวรู้กายใจที่ทำที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว เมื่อมันคิดเกิดนิมิตเรื่องราวไรๆก็รู้ว่า..จิตมันรู้สมมติ เสพย์สมมติ หลงสมมติ ไม่ใช่ของจริง มันสมมติเรื่องราวทั้งที่ผ่านมาแล้วหรือที่ไม่รู้ไม่เห็นหรือที่ยังไม่้คยเกิดขึ้นให้มาอยู่เบื้องหน้าทั้งที่ของจริงในปัจจุบันเรื่องเหล่านั้นไม่มีอยู่เลย ของจริงแท้ที่มีอยู่ คือ ลมหายใจ พุทโธ ความมืดว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยในเบื้องหน้า หรือ วงกสินที่กำหนดขึ้นมาในที่โล่งมืดในเบื้องหน้าอยู่เท่านั้น แค่ฝึกทำไปเรื่อยๆอย่างนี้ประครองกายใจให้อยู่กับปัจจุบันอย่างนี้ ฝึกดับความคิดฟุ้งซ่านส่งจิตออกนอกอย่างนี้ ก็เรียกว่า..อบรมจิต ทำเหตุสะสม สมาธิและปัญญาแล้ว



การฝึกเริ่มแรกของการฝึกวสีโดยความปลงใจในโลก

๑. ทิ้งกาย (ไม่สนกาย ตั้งจิตจักทิ้งกายไป)
๒. ทิ้งอารมณ์ความรู้สึกจากภายนอก (ไม่สนอารมณ์ภายนอก ตั้งจิตจักวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อโลกในภายนอก)
๓. ละอารมณ์ความรู้สึกภายในใจ (จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็ไม่ยึดสมมติ)

๑. ทิ้งกาย..
๑.๑ กายเนื้อเรานี้เป็นของเน่าเหม็น เป็นของไม่สะอาด(อาการ ๓๒) เป็นที่ประชุมโรคร้ายเน่าเหม็นไม่น่ายินดี เป็นเพียงที่แนะชุมขึ้นของธาตุ ๖ ที่นับวันจะมีแต่ผุพังเสื่อมสูญสลายไปในที่สุด ไม่เป็นที่จำเริญใจ ไม่เป็นที่น่ายึดเหนี่ยว
๑.๒ ระลึกหน่วงนึกน้อมเข้าไปในดวงจิต(กำหนดนิมิตเข้าไปมองไปถามดวงจิต)  แล้วตรึกไถ่ถามใจตนว่าแน่ะดวงจิตของจริงอท้เป็นอย่างนี้แล้วเธอยังจะเอาของไม่สะอาดเน่าเหม็น ไม่คงทนอยู่ได้นานนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ด้วยหลงมันเพียงเพราะรู้เห็นแต่สมมติเท่านั้นอีกหรือ
เราควรละมันไปได้แล้ว แล้วตั้งมั่นทำไว้ในใจละทิ้งกายคือรูปขันธ์นี้ไปเสีย หน่วงนึกว่าพ่อแม่มอบกายนี้แก่เรามา ให้จิตเราเดินทางมาอาศัยเข้าไปยึดครองก็เพียงเพื่ออาศัยใช้งานมันในการเจริญปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นทุกข์เท่านั้น หากเราจักกระทำความกตัญญูนอกจากการเลี้ยงดูแลท่านแล้ว เราก็ควรใช้กายนี้ทำให้เราเข้าถึงธรรมเครื่องหลุดพ้นทุกข์ทั้งสิ้นนี้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน แล้วนำธรรมเหล่านั้นแลเอื้อประโยชน์สุขให้แกท่านในภายหน้า
แล้วตั้งมั่นทำไว้ในใจไมเอาจิตยึดมั่นในกายคือรูปขันธ์นี้อีก

๒. ทิ้งอารมณ์ความรู้สึกจากภายนอก
๒.๑ น้อมพิจารณาว่า เรื่องราวไรๆสิ่งไรๆภายนอกที่มากระทบเรานี้ มีอยู่เพียงแค่ ที่ทำให้เป็นสุข และที่ทำให้เป็นทุกข์ สิ่งที่ทำให้สุขก็อยู่กับเราได้ไม่นาน สิ่งที่ทำให้ทุกข์ก็มีเข้ามาอยู่ไม่ขาด ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา ไปเรียน ไปทำงาน กินข้าว เลิกเรียน เลิกงาน กลับบ้าน กินข้าว จนถึงตอนเข้านอน ก็มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่เรื่องราวสิ่งไรๆทำให้เราต้องแบกรับกอบเอาความทุกข์แวะเวียนมากระทบอยู่ไม่ขาด ทั้งจากคนรอบข้างในชีวิต ครอบครัว ที่เรียน ที่ทำงาน สิ่งของทั้งปวง ..เมื่อเราขวานขวายแสวงหาสิ่งที่ทำให้สุขไปแม้ได้มันมาสมใจอยากแต่มันก็ไม่ยั่งยืนนาน มันสุขกับสิ่งนั้นๆได้แค่วูบวาบๆชั่วคราว แล้วก็ดับไป อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้แหละไม่คุ้มกับที่มันทำให้จิตใจเราเศร้าหมองจากการติดใคร่หมายใจฝักใฝ่แสวงหามันมาเสพย์มายึดครอง ดังนี้แลโลกนี้มันมีแต่ทุกข์ จากความไม่มี ไม่ได้ ไม่เป็นดั่งใจต้องการ ที่รัก ที่ชัง ที่เกลียด ที่ไม่ยั่งบืน ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่สุดแล้วก็ตายไปโดยไม่เป็นแก่นสาร แล้วยังจะไปติดใจยึดเอาอะไรจากภายนอกมาอีกหรือ ละๆมันไปเสีย เราจะไม่ทุกข์ เรื่องภายนอกมันก็ส่วนเรื่องภายนอกมันแปรปรวนเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงโลกทั้งสิ่งที่รัก ที่ชัง มันเป็นสัจจะธรรม มันมีอยู่แค่นั้น เมื่อยึดถือไปก็มีแต่ทุกข์เท่านั้น ดังนั้นอย่าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญกับมัน ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะใส่ใจให้ความสำคัญกับสิ่งไรๆก็ไม่ทุกข์ เพราะมันเป็นธรรมชาติทั่วไปที่มีทั่วไปอยู่นับล้านๆแบบในโลกเราซึ่งสิ่งทั้งปวงไม่ว่าอะไร ไม่ว่าใครก็ต้องพบเจอ คือ สิ่งที่ทำให้เป็นสุข สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ สิ่งที่ทำให้ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ สิ่งที่พอใจยินดี - ไม่พอใจยินดี - สิ่งที่ไม่ยินดียินร้าย หรือ รัก - ชัง - เฉยๆ

เมื่อความจริงมันเป็นอยู่อย่างนี้ แค่นี้ แล้วจะไปเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตในโลกใบนี้ได้เล่า ควรละความยึดมั่นในโลกนั้นๆไปเสียมันไม่มีสิ่งใดน่าหลงใหลยินดี แล้วยกจิตขึ้นเพิกเฉยต่อธัมมารมณ์ภายนอกไรๆนั้นสิ่นไปเสีย

๓. ละอารมณ์ความรู้สึกภายในใจ
๓.๑ ติดสุข สบาย ทุกข์
๓.๒ สังขารความคิด ความตรึกหน่วงนึกถึง มันเกิดจากความจำได้หมายรู้ในสิ่งนั้น ตรึกสมมติเอาความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่มันผ่านไปแล้วดับไปแล้วนั้นๆขึ้นมาว่าเป็นอย่างนั้น เหตุการณ์ย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็สมมติให้มันเป็นแบบนั้น สมมติให้มันเป็นแบบนี้ สมมติเรื่องราวนั้นๆสืบต่อไปเรื่อยในเรื่องที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นบ้าง ไม่มีอยู่จริงบ้าง ยังมาไม่ถึงบ้าง คาดคะเนให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจที่เพลอดเพลิน ที่รัก ที่ต้องการ ที่ชัง ที่เกลียด ที่ไม่ต้องการ นี่แนะ จิตมันสมมติเอาทั้งนั้น มันติดสมมติมันก็ปรุงไปเรื่อย โดยแท้จริงสิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่เลย ไม่เกิดขึ้นเลย จิตมันสมมติ มันรู้อต่สมใติ มันหลงติดอย ู่ตั้งมั่นรู้อยู่แต่ในสิ่งสมมติล้วนๆทั้งสิ้น ที่มีให้เห็นรู้จริงอยู่ในปัจจุบัน คือลมหายใจกำลังเคลื่อนตัวเข้าแลัออกอยู่นี้ และ พุทโธ เท่านั้น พุทโธ คือพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นกริยาอาการของจิตที่รู้ รู้ปัจจุบัน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติไม่หลงติดอยู่ในสมมติ เบิกบานหลุดพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม กล่าวคือ
๓.๒.๑.ขณะที่เรารู้ว่าจิตมันรู้มันหลงยึดเอาแต่สมมติ รู้ว่าปัจจุบันของแท้คือเรากำลังลมหายใจเข้าออกนี้ แล้วตั้งมั่นรู้ในปัจจุบันที่ลมหายใจนั้น นี่เรียกว่า จิตเป็นผู้รู้แล้ว จิตเราก็ถึงซึ่งพุทโธอันว่าด้วยคุณแห่งความเป็นผู้รู้แล้ว
๓.๒.๒.เมื่อจะทำลมหายใจให้เป็นพุทโธ คือผู้รู้ อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก โดยเอาจิตหน่วงนึกระลึกบริกรรมพุทโธกำกับอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ตั้งจิตปักหลักปักตอไว้อยู่ที่ปลายจมูก ไม่ไหวไปตามลมไม่ให้จิตหลงส่งออกนอกไปตามสมมติแนบแน่นอยู่ปัจจุบันที่พุทโธแล้ว นี่เรียกว่าจิตเป็นผู้ตื่นแล้ว เพราะตั้งมั่นไม่หลงสมมติอีก จิตเราก็ถึงซึ่งพุทโธอันว่าด้วยคุณแห่งความเป็นผู้ตื่นแล้ว
๓.๒.๓.เมื่อจิตตั้งมันอยู่ในสภาวะธรรมปัจจุบัน ความตรึกหน่วงนึกดับ กิเลสนิวรณ์ไม่เหลืออยู่อีก คำบริกรรมพุทโธหายไปแล้ว สติตั้งมั่นในจุดเดียวได้ ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้นอารมณ์เดียวได้นานตามโดยปราศจากกิเลสสมมติที่ตรึกตรองจากความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ มันแช่อยู่ในความว่างแจ้งสว่าง สบาย เบา แช่มชื่น เย็นใจ ไม่หน่วงหนักตรึงใจ จิตมีกำลังอัดแน่นอยู่มากจนเหมือนสภาวะที่จิตอาศัยอยู่นี้ไม่พอที่จะรับมันเอาไว้ได้ มองไปที่ได้ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ว่างแปนราบไปหมด ไม่มีความติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกอีกด้วยขณะนั้นจิตมันเห็นว่าไม่มีอะไรที่ควรยึดถือว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เข้าอัปปนาสมาธิ นี่เรียกว่า จิตเริ่มเป็นผู้เบิกบานหลุดพ้นแล้วจากสมมติกิเลสเครื่องล่อใจทั้งหลาย จิตเราก็น้อมให้เป็นไปซึ่งพุทโธอันว่าด้วยคุณแห่งความเป็นผู้ตื่นแล้ว
เมื่อละสังโยชน์ได้ จิตก็เป็นพุทโธมากน้อยตามกำลังที่ละไ

ดังนั้น พุทโธ คือ กิริยาอาการของจิตมันเป็นอย่างนี้

๔. ดังนี้แล้วจิตเราจะเป็นพุทโธได้ก็ด้วย
ก. ละกาย ด้วยเห็นทุกข์ในกาย
ข. ละธรรมภายนอก ด้วยเห็นทุกข์จากโลก
ค. ละจิตอันเป็นธรรมภายใน ด้วยเห็นทุกข์ที่จิตมันรู้ มันยึด มันหลง และ เสพย์แต่สมมติ

๕. เมื่อกรรมฐานเสร็จแผ่เมตตา ต้องแผ่เมตตาให้ตนเองนี้เป็นผู้มีสขไม่มีกิเลสทุกข์ ไม่ผูกควาทโกรธเจ็บแค้นใคร ไม่อาฆาตพยาบาทใคร เป็นผู้มีความสุขเย็นกายเย็นใจ เป็นผู้ประครองกาย วาจา ใจ ให้ตรงต่อพระนิพพาน อันเป็นอมตะสุข ดับสิ้นซึ่งกิเลสแล้ว

หากแผ่เมตตาให้ศัตรูภัยพาลไม่ได้ ให้รู้ไว้เลยว่าเรายังมีใจคับแคบอยู่ เป็นผู้ผูกเวรคือผูกโกรธ เป็นผู้พยาบาทคืออาฆาตแค้นเขาอยู่ กิเลสยังมากหนาอยู่ จิตขาดความเมตตาเอ็นดูปรานีต่อเขา ก็แก้ที่ใจเรานี้แหละโดยทำไว้ในใจแผ่เมตตาให้ตนเองไม่ผูกเวรพยาบาทเขานั้นเอง คนเรามีรักกันเกลียดกันเพราะต่างฝ่ายต่างมีกิเลสนั้นเอง หากเราไม่มีกิเลสก็ไม่มีอะไรเป็นตัวถ่วงใจให้หน่วงตรึงจิต จิตมันก็ผ่องใสเป็นที่สบายไม่ยึดหลงอารมณ์ไรๆทั้งสิ้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2016, 12:05:19 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #235 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 09:26:13 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีวางใจเมื่อทำสมาธิ

วันนี้เป็นช่วงสลับกะจากดึกมาเช้า ทำให้นอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม ตื่นมา ตี 4 จึงเข้าทำสมาธิเวลาประมาณ ตี 5 พร้อมเปิดฟังเทศนาหลวงตามหาบัว ว่าด้วยวิธีทำสมาธิ จิตอยู่กับพุทโธ และ หลวง พ่อพุธ ฐานิโย วิธีทำสมาธิ จิตอยู่กับพุทโธ แล้วผลจากการปฏิบัติดังนี้ คือ

เริ่มต้นทำสมาธิ..ให้ทำใจให้เป็นที่สบายๆ ระลึกถึงความไม่มีทุกข์ใจ ไม่ลำบากกาย ทำสะสมเหตุไป ไม่ต้องประครองมากเกินไปหรือปล่อยละเลยเกินไป โดยระลึกว่า..หากมันจะเป็นสมาธิให้ทำยังไงมันก็เป็นสมาธิ หากมันจะไม่เป็นสมาธิให้จดจ้องประครองให้ตายมันก็ไม่เป็นสมาธิ ..ดังนั้นทำใจให้สบาย ปล่อยกายปล่อยใจให้โล่งเบาเป็นที่สบาย แล้วทำพุทโธไปเรื่อย ให้จิตอยู่กับพุทโธ

หากมีความคิดอื่นแทรก..ก็ให้มีสติเป็นเบื้องหน้ารู้ตัวว่าทำสมาธิอยู่ตั้งจิตมั่น ไม่หลงตามสมมติกิเลสความคิด แต่ปกติจิตเราหากอบรมมาน้อยมันไม่มีกำลัง ดังนั้นให้เราปักหลักรู้ลมหายใจมีพุทโธกำกับอยู่ไม่ออกจากพุทโธไป โดยหายใจเข้าออกให้ยาว ตั้งมั่นรู้ลมหายใจเข้าที่เคลื่อนผ่ายปลายหรือโพรงจมูกให้มั่น บริกรรมพุทยาวตามลมหายใจ หายใจออกยาวตั่งมั่นรู้ลมหายใจที่ผ่านโพรงหรือปลายจมูก บริกรรมโธยาวตามลมหายใจ แล้วมีสัมปะชัญญะและสติตั้งมั่นรู้อย ู่ทำใจแค่รู้ว่ามีสมมติกิเลสความคิดเกิดขึ้นมา แล้วก็ช่างมันปล่อยมันไปให้ทำแค่รู้ว่าคิดหรือสมมติเกิด

เมื่อรู้ว่าสมมติเกิด ก็เป็นผู้รู้จริงต่างหากจากสมมติแล้ว จากนั้นให้ทำจิตเป็นผู้ตื่นโดยตั้งมั่นปักหลักวางจิตไว้ไม่ไหวเอนให้อาจจะกำหนดนิมิตดั่งอุปมาว่า..

อุปมาเหมือน จิต เป็นดวงอาทิตย์ ปักหลักแย่นิ่งตรงกลางวงโคจรในจักรวาลไม่หมุนตัวหรือเคลื่อนโคจร ฉันใด..  ส่วนสมมติกิเลสความคิดมันก็เหมือนดาวเคราะห์บริวารที่หมุนเคลื่อนตัวโคจรวนรอบจิตคือดวงอาทิตย์ ฉันนั้น..

หรือ..จิตเป็นดวงแก้วมณี ดั่งดวงจันทร์เมื่อวันเพ็ญที่อยู่ท่ามกลางอากาศบนท้องฟ้ากว้างมีความสว่างไสวอยู่ฉันใด สมมติกิเลศความคิดก็เหมือนเมฆหมอกที่รายล้อมจรมาเคลื่อนมาคลุมจิตแสงสว่างก็ถูกบดบังไปฉันนั้น แล้วให้จิตจับที่ลมหายใจนี่แหละเป็นดั่งลมที่พัดเอาเมฆหมอกคือสมมติกิเลสความคิดออกไปจากจิต ทำให้จิตที่เป็นดั่งแก้วมณีดุจดวงจันทน์เมื่อวันเพ็ญตั้งตระหง่านเด่นสว่างไสวตามเดิม



เมื่อจิตอยู่กับพุทโธและลมหายใจได้ จิตจะมีกำลังมากมันเหมือนอาการที่ตัวเราภายในมีกำลังอัดปะทุไปทั่วร่าง เหมือนตนทรงกายอยู่ได้โดยไม่ประครองหรือเหมือนจะลอยได้ ช่วงนี้แหละต้องตั้งมั่นไม่ให้จิตเสพย์สมมติ

- มันง่วงจะหลับก็ตั้งมั่นทรงอยู่ที่ลมหายใจไว้ ตั้งมั่นพุทโธไปเรื่อย โดยหน่วงนึกว่าหากมันจะหลับก็นั่งหลับมันไปเลยนี่แหละ ได้ธุดงควัตรข้อ "เนสัชชิก" นี่บุญโขเลยนะนี่ หลับในสมาธิหลับในฌาณนี่อกุศลไม่เข้าแทรกแน่นอน เผลอๆไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ด้วย อะไรจะเกิดก็ช่างมันแต่รู้แล้วตั้งมั่นที่พุทโธเท่านั้นพอ

- มันจะวูบวาบๆขนลุกก็เฉยช่างมัน มันก็แค่จิตกับกายมันปรับตัวให้สมกันควรแค่ภาวนาเท่านั้น ความสงบใจจะเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านจะลดลง

- มันจะวูบลงไปจับแต่นิมิตที่อยู่ตรงหน้า ไม่บริกรรมพุทโธ เหมือนพุทโธหายไป หรือ เหมือนได้ยินคำบริกรรมพุทโธมันดำเนินไปของมันเองอยู่โดยที่เราไม่ได้ไปบังคับบริกรรมมันเลย แต่มันทำของมันเองเหมือนตัวบริกรรมนั้นมันอยู่อีกฟากหนึ่ง ส่วนมุมหนึ่งๆของตัวรู้กับนิมิตเบื้องหน้า สักพักคำบริกรรมก็ดับไม่มีคำบริกรรม ไม่ได้ยินคำบริกรรม ไม่มีพุทโธ มีอาการว่างจากเสียงและคำหน่วงนึกบริกรรมก็ช่างมัน ปล่อยมันไป ไม่ต้องให้ความสำคัญ หรือ รีบกลับมาบริกรรมพุทโธ แค่ให้เรารู้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็พอ ดูอาการที่เกิดขึ้นนั้นมันไปเรื่อยๆก็พอ ปล่อยมันไป มันแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านก็เท่านั้น ไม่ได้สลักสำคัญอะไร ไปคิดตามมันยิ่งติดสมมติไปใหญ่ วางเฉยต่ออาการนั้นเสียแค่รู้อยู่ก็พอเสีย แค่ธาตุขันธ์มันกำลังแสดงให้เห็นว่า..วิตก วิจาร คือ "วจีสังขาร" ตามที่พระตถาคตตรัสสอน เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยถ้อยคำพูด ความคิดหน่วงนึกตรึกเหล่าใดไม่มี เสียและวาจาเหล่านั้นก็จึงไม่มี ไม่มีเสียงพูดบริกรรมแม้ในใจเรานี้เอง (แต่ขณะนี้ไม่ใช้วิตกวิจารดับเพียงแค่จิตมันตั้งมั่นขึ้นแล้วคลายคำหน่วงนึกบริกรรมลง แล้วจดจ่อเอาอารมณ์หรือนิมิตที่จิตมันสนใจหน่วงนึกอยู่ข้างหน้าโดยส่วนเดียวเท่านั้นเอง หากเอาจิตไปจับที่คำบริกรรมเบาๆอีกฟากที่ยังรู้สึกได้ยินอยู่ ก็จะพุทโธต่อได้ ถ้าผู้ที่หายใจเข้าบริกรรมพุท หายใจออกบริกรรมโธ นับ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,...108 จะรู้สึกได้ดี แต่ตามหลักแล้วไม่ต้องไปสนมันแค่ตามรู้มันไปเรื่อยๆ)
- หรือ..มันจะเหมือนอาการที่ใจเรามันคลุกจ้องแลดูรู้อยู่ในอารมณ์หรือนิมิตใดนิมิตหนึ่ง ไม่สนสิ่งอื่น ไม่สนเสียงภายนอก เหมือนจิตมันตั้งมั่นที่ลมหายใจหรือจุดพักลมใดๆอยู่แต่กลับไม่รู้สึกถึงลมหายใจแล้ว เสียงลมหายใจหายไปหรือเบาลง มีอาการเหมือนหูอื้อได้ยินภายนอกเบาเหมือนอยู่ในโลกส่วนตัวที่อยู่เบื้องหน้านั้น ไม่จับที่ลมแล้วก็ช่างมัน นั่นเป็นธรรมชาติของกาย ลมหายใจมันละเอียดขึ้นตามจิต ที่พระสมเด็จพระศาสดาตรัสสอนว่า ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน มโมกรรมเป็นประธานสำเร็จที่ใจก่อนสิ่งใดมันเป็นอย่างนี้.. แค่ธรรมชาติของจิต ธาตุขันธ์มันกำลังแสดงให้เห็นว่า..วิตก วิจาร คือ "วจีสังขาร" ตามที่พระตถาคตตรัสสอน เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยถ้อยคำพูด ความคิดดับวาจาใดๆก็ดับ ไม่มีวาจา ไม่มีเสียงพูดบริกรรมแม้ในใจเรานี้เอง (แต่ขณะนี้ไม่ใช้วิตกวิจารดับเพียงแค่จิตมันตั้งมั่นขึ้นมันคลายคำบริกรรมลงจดจ่อเอาอารมณ์เบื้องหน้าหรือนิมิตข้างหน้าโดยส่วนเดียวเท่านั้นเอง)

- มันจะไปรู้เห็นอาการอย่างไรก็ช่างมัน มันเหมือนจะรู้อาการหนึ่งแล้วก็วูบนิ่งแช่ว่าง สักพักเหมือนจะไปรู้อะไรอีกแล้วก็วูบนิ่งแช่อยู่ ก็ช่างมัน ก็แค่อาการหนึ่งๆของจิตมีเกิดขึ้นให้เรารู้ ดูแล้วจะรู้ว่าเราบังคับไม่ได้จึงชื่อว่า สังขาราอนัตตา, วิญญาณังอนัตตา ไม่มีอะไรเกินนั้น ก็แค่รู้แล้วปล่อยมันไป "รู้ ปกติ วาง"

- มันจะนิ่งแช่อยู่เฉยๆไม่มีอะไรเลย แล้วรู้สึกเหมือนมันหายใจไม่ออก ไม่หายใจ ลืมหายใจ ก็ช่างมันให้หน่วงนึกสำเหนียกว่าตายเพราะกรรมฐานนี้เราก็ไปสวรรค์ ไปนิพพานแล้ว แล้วปล่อยมันไป มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่แล้วตายในกรรมฐานนี้มีคุณมากช่างมัน เราจะได้ไม่ต้องไปทุกข์กับมันอีก นี่เป็นธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งธาตุขันธ์มันกำลังแสดงให้เห็นว่า..ลมหายใจ คือ "กายสังขาร" ตามที่พระตถาคตตรัสสอน เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกาย เป็นสิ่งที่กายต้องการไม่ใช่จิต

- มันจะว่างไม่มีอะไรเลย พยายามจะคิดก็คิดไม่ออก นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก ไม่มีความคิดเลย ก็ช่างมัน เพราะนั่นคือ..จิตเราถึงพุทโธ ความเป็นผู้รู้ รู้ในปัจจุบัน, ความเป็นผู้ตื่นจากสมมติของปลอม ไม่หลงเสพย์สมมติอยู่อีกได้แล้ว.. เราอยู่นิ่งๆเฉยๆมันสบายโล่งดีแล้ว เมื่อจะระลึกทำ ก็ช่างมันให้หน่วงนึกสำเหนียกว่าตายเพราะกรรมฐานนี้เราก็ไปสวรรค์ ไปนิพพานแล้ว แล้วปล่อยมันไป มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่แล้วตายในกรรมฐานนี้มีคุณมากช่างมัน เราจะได้ไม่ต้องไปทุกข์กับมันอีก (อันนี้เรียกสมมติความตรึกนึกคิดดับ ธรรมเอกผุดขึ้นตรงนี้เพราะไม่มีสมมติแล้ว ของจริงคือเบื้องหน้าที่เห็นอยู่เท่านั้น คือ เห็นโลกเป็นของว่างเปล่านั่นเอง)

- มันจะสุขอัดปะทุขึ้น เกิดมาไม่เคยเจอความสุขอะไรอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ก็ช่างมัน เพราะจิตมันไม่หลงสมมติไม่เสพย์สมมติแล้ว จิตมันก็มีกำลังไม่มอมเมาสมมติกิเลสอยู่อีก..จิตเข้าถึงพุทโธความเบิกบาน หลุดพ้นจากสมมติกิเลสของปลอมเครื่องร้อยรัดใจ.. เวลาที่จิตมันมีกำลังไม่เสพย์สมมติของปลอม ไม่เสพย์สมมตืความคิด มันก็อยู่เบิกบานเป็นสุขได้ด้วยตัวของมันเองอย่างนั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมายรู้และ้วก็ปล่อยมันเป็นไปของมัน

- มันจะว่างเปล่า นิ่งแช่อยู่ไม่มีอะไรเลย ไม่เห็นอะไรทั้งนั้นดูมันสว่างๆแต่ก็ไม่มีอะไรเลย สุขก็ไม่มี มีแต่ว่าง สงบไม่มีอะไรทั้งสิ้น พอเหมือนจะคิดหรืออะไรมันเพิกไปของมันทันทีเลย นั่นแสดงให้เห็นว่าจิตมันไวกว่าแสง และ ทั้งหมดทั้งปวงนี้มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์ท่านว่า..ก็ในเมื่อมันไม่มีแล้วจะให้มันมีมันเห็นอะไร ของมันไม่มีจะทำให้มันมีได้ยังไง ที่เราหลงอยู่คือยึดเอาสมมติจากความไม่มีอะไรตรงนี้แหละ เมื่อเห็นว่ามันไม่มีอะไร ไปทางไหนก็ไม่มีอะไร ภายในก็ไม่มี ภายนอกก็ไม่มี แล้วมันจะมีอะไรให้ยึดเป็นตัวตนอันใดในโลกได้ เมื่อของแท้จริงโลกมันว่างเปล่าอยู่อย่างนี้ เราก็แค่รู้ดูมันไปเรื่อยๆ ปล่อยจิตให้มันคลายหลงสมมติในโลกทั้งๆที่จริงเป็นเพียงของความว่างเปล่านั้นๆไปเสีย

** ทำอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปอยากได้ฌาณเหมือนเขาอยากได้ญาณเหมือนเขา อยากได้อภิญญาเหมือนเขา ของเก่าเรามันไม่มีสะสมไว้มันไม่เกิดขึ้นได้หรอก การเข้าสมาธิอย่างนี้ๆเป็นพื้นฐานของทุกอย่างทั้งฌาณก็ดี อภิญญาก็ดี ญาณทัสสนะก็ดี ปัญญานิพพิทาวิราคะก็ดี ..ทำอย่างนี้ได้จะจับกสินเอาอภิญญาก็ง่าย ไปจับเจโตวิมุติก็ง่าย ปัญญาวิมุตติก็ง่าย ทำสมาธิแบบสบายๆอย่างนี้ไม่ได้ก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้เช่นกัน"ศีล ยังไม่ทำอย่าไปหวังเอาความเย็นใจ, ทาน ยังไม่ทำอย่าไปหวังเอาความอิ่มใจ, สัมมัปปธาน ๔ ยังไม่ทำอย่าไปหวังเอาสติ สัมปะชัญญะ, ภาวนา ยังไม่ทำก็อย่าไปหวังสมาธิ สมาธิยังไม่ทำก็อย่าไปหวัง ฌาณ ญาณ ปัญญา" ..."ดังนั้นทำสะสมเหตุภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อยๆสบายๆ จะได้ผลหรือไม่ได้ก็ช่างมัน เพราะว่าหากนจะเกิดมีมันเกิดมาเองไม่ต้องไปบังคับมันเลย หากมันจะไม่เกิดไม่มีให้บังคับให้ตายยังไงก็ไม่ได้หรอก" ด้วยเหตุดังนี้จึงชื่อว่า..สัพเพธัมมาอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่มีตัวตน สมดั่งพระศาสดาตรัสสอนไว้ ดังนั้นเราจึงต้องฝึกฝนอบรมจิตด้วยประการดังนี้
เมื่อจิตมันมีสมาธิเต็มกำลังแล้ว มันจะเห็นของมันเอง เกิดปัญญาเอง เกิดญาณทัสสนะมีคุณวิเศษเอง ไม่ต้องไปอยากดู อยากเจอนั่น โน่น นี้ อะไรทั้งสิ้น เมื่อมันเต็มมันถึงคราวแปล้วมันได้เอง ..ให้ทำแค่มีสติระลึกรู้ แลดูอยู่เฉยๆ ไม่ต้องการ ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องเอะใจติดข้องสิ่งใด ให้เหมือนตอนหัดปฏิบัติใหม่แรกเริ่มที่ไม่รู้จักอะไรนอกจากพุทโธเป็นพอ.."ทำแค่แลดู แต่ไม่ไปต้องรู้" เป็นอย่างนี้**



    ไม่ต้องไปหลงตามปัญญาจากสัญญาความคิด ว่าเห็นสมุทัยนนั่น โน่น นี่ จะละโน่น ดับนั่น ดับนี้แล้วถึงธรรม หากจิตตั้งมั่นไม่ได้ปัญญาแท้จริงก็มีไม่ได้ มันจะมีกีแต่ปัญญาที่เป็นสมมติความคิดจากความจำที่มันอนุมานคาดตะเนเดาเอา หากหลงตามมันไปมันนั่นแหละคือตัวสมุทัยที่ทำให้เราหลงสมมติสัญญาความคิดคาดคะเน ตามที่หลวงตามหาบัวสอน (เราคาดว่านี่คือตัวที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2016, 01:47:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« ตอบ #236 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 01:04:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สาธุ... ครับผม
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #237 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 01:35:19 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สาธุ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ ผมขอฝากบันทึกกรรมฐานไว้ที่เวบนี้หน่อยนะครับท่านเด็กหน้าวัด
บันทึกการเข้า
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« ตอบ #238 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 02:46:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ยินดีอย่างยิ่งเลยครับ อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #239 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2016, 09:21:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีในการเจริญมหาสติปัฏฐานตามกาล(๑. ลม หรือ พุทโธ)

๑. ลม หรือ พุทโธ

๒. ปัจจุบัน

๓. อิริยาบถ

๔. สมมติ




๑. ลม หรือ พุทโธ ก็คือ อานาปานสติ + พุทธานุสสติ นั่นเอง เป็นกรรมฐานที่มีคุณมาก มีคุณสูง เป็นมูลกรรมฐาน เป็นขั้นสุดในกรรมฐานทั้งปวง
- อานาปานสตินี้พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "ดูกร สารีบุตร เราเป็นผู้มีอานาปานสติเป็นอันมาก"
- พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมก็ด้วยอานาปานสตินี้แล ส่วนพุทธานุสสติ บริกรรมว่า พุทโธ นั่นคือพระนามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ผู้รู้(รู้แจ้งโลก รู้ปัจจุบัน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ) ผู้ตื่น(ตื่นจากสมมติของปลอม ตั้งอยู่บนทางแห่งสัมมาเพื่อดับสิ้นสมมติกิเลสของปลอม) ผู้เบิกบาน(หลุดพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม ดับสิ้นสมมติกิเลสแล้ว)


วิธีเจริญ

๑. ทำ ศีล ทาน อบรมจิตให้มีพรหมวิหาร ๔ อันมีสัมมัปปธาน ๔ ประครองกายใจไว้อยู่


   ..ก่อนอื่นใดที่เราควรเจริญไม่ขาดคือ ฝึก สติ สัมปะชัญญะ โดยตั้งมั่นทำใน ศีล ทาน โดยมีพรหมวิหาร ๔ คลุมอบรมจิตให้เจริญ ศีล ทาน ได้ง่าย มีความเพียร ๔ ประครองไว้อยู่
   ..โดยตั้งมั่นที่จะมีศีลและทานก่อน แล้วเพียรอบรมจิตให้เป็นเมตตาอยู่เนืองๆ เพียรประครองจิตใน ศีล ทาน และ เมตตา ไว้ในกาลทุกเมื่อ เพื่อละความติดข้องในสิ่งไรๆทั้งปวงในโลก อันนี้เป็นการเจริญเมตตาภาวนาคู่ ศีล และ ทาน เมื่อมีความเพีบรใน สัมมัปปธาน ๔ ประครองไว้อยู่ ก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ
   ..จิตเมตตานี้..พระศาสดาตรัสสอนให้มีความรักเสมอด้วยตน ทำอย่างไรจึงจะเสมอด้วยตนได้ เราก็ต้องฝึกอบรมจิตระลึกอยู่เนืองๆว่า..
ก. เรามีความอยาก เขาก็มีความอยาก
ข. เรามีความโกรธ เขาก็มีความโกรธ
ค. เรามีความหลง เขาก็มีความหลง
ง. เรามีทำไม่ถูกกาล เขาก็มีทำไม่ถูกกาล
จ. เรามีกิเลส เขาก็มีกิเลส
ฉ. เราแสวงหาความสุขสำเร็จ เขาก็แสวงหาความสุขสำเร็จ
ช. เราไม่ต้องการทุกข์ เขาก็ไม่ต้องการทุกข์
ซ. เรามีทำผิดพลาด เขาก็มีทำผิดพลาด
ฌ. เรามีขี้เกียจเหนื่อยล้า เขาก็มีขี้เกียจเหนื่อยล้า
ญ. เรามีคนที่รักและเกลียด เขาก็มีคนที่รักและเกลียด
ฎ. เรามีความกลัว เขาก็มีความกลัว
ฎ. เรามีอคติลำเอียง เขาก็มีอคติลำเอียง
ฐ. เรามีอาการ ๓๒ ประการ เขาก็มีอาการ ๓๒ ประการ
ฑ. เราเป็นที่ประชุมโรค เขาก็เป็นที่ประชุมโรค
ฒ. เราเป็นทีี่ประชุมธาตุ ๖ เขาก็เป็นที่ประชุมธาตุ ๖
ณ. เรามีขันธ์ ๕ เขาก็มีขันธ์ ๕
ด. เราเป็นเพียงดวงจิตที่มีความแปรปรวนไปตามกรรม เขาก็เป็นดวงจิตอันมีความแปรปรวนไปตามกรรม
ต. เราเป็นสิ่งมีชีวิต เขาก็เป็นสิ่งมีชีวิต
ถ. เราแสวงหาความสงบ เขาก็แสวงหาความสงบ


ก็ทุกอย่างทั้งเราและเขาต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสังขารที่มีในโลกด้วยกันทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนกัน ก็ย่อมมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนั้นแล้วเราจะไปติดข้องขัดเคืองใจ ผูกใจเจ็บแค้น ผูกอาฆาตปารถนาให้เขาฉิบหายก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากโทษและทุกข์ต่อตัวเราเอง เพราะต่างก็เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตในโลกนี้เสมอกันเท่านั้น ซึ่งต่างก็มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย จะไปหมายมั่นเอาอะไรจากสิ่งมีชีวิตที่มีแต่ความแปรปรวน เสื่อมสูญ แล้วก็ดับไปได้เล่า เพราะละความติดใคร่ ติดข้องขัดเคืองใจ กับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั่วไปออกเสียได้ เราจึงไม่เร่าร้อน ร้อนรนดั่งไฟสุมใจ ไม่มีสิ่งใดมาหน่วงตรึงขึงใจให้เศร้าหมอง ไม่ติดใคร่ก็ไม่ต้องร้อมรุ่มกระสันหนักให้ดิ้นรนแสวงหาที่จะได้มาครอบครองยิ่งหวนระลึกถึงยิ่งเป็นทุกข์ ไม่ติดข้องขัดเคืองใจก็ไม่เร่าร้อนให้จิตใจเราเศร้าหมองยิ่งหวนระลึกถึงยิ่งเป็นทุกข์ ไม่พึงควรไปจำเอาสิ่งที่แสวงหาประโยชน์สุขไม่ได้นอกจากทุกข์ทั้งปัจจุบันและภายหน้า สิ่งที่ทำให้เป็นสุขยั่งยืนอยู่ทุกๆขณะที่เข้าถึง แม้หวนระลึกถึงก็เป็นสุข คือ ความว่างจากทุกข์ ความไม่มีทุกข์ ..ถ้าเราและสิ่งมีชีวิตในโลกทั้งปวงนี้เป็นสุข ไม่มีทุกข์ คงไว้ซึ่งความสุขสำเร็จของตน ดังนี้แล้ว..สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกทั้งที่เรารักหรือชังจะกระทำความเบียดเบียนทำร้ายกันนั้น..ย่อมไม่มี
     ..ด้วยเหตุดังนี้จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่เราจักกระทำความเมตา กรุณา มุิตา อุเบกขาแผ่ไปให้แก่สิ่งมีชีวิตทั้งปวงในโลก ดวงจิตทั้งปวงในโลก ได้รับความสุขสำเร็จประโยชน์ คงไว้ซึ่งสิ่งมีค่าของตน เพื่อละความเบียดเบียนซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในที่แจ้ง ที่มืด บ้านเรือน ที่พักอาศัย ที่โล่ง ที่แคบ เดิน 2 เท้า เดิน 4 เท้า เดิน 6 เท้า เดิน 8 เท้า มีปีก ไม่มีปีก บินได้ บินไม่ได้ เลื้อยคลาน บนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ ตัวใหญ่ เล็ก ยาว สั้น หยาบ ละเอียด(สิ่งมีชีวิตที่เล็กมากมองไม่เห็นด้วยตา เช่น พวกเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ริ้น ไร) สิ่งมีชีวิตทุกซอกมุมในโลก ดวงจิตในภพภูมิทั้งปวง


     ..เมื่อจะหัดแผ่เมตตาแบบเจโตวิมุตติให้ฝึกทำไว้ในใจเพื่อแผ่เมตตาให้เขาตามบทแผ่เมตตาดังนี้..

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะ ชีวิโน

(หน่วงนึกถึงสิ่งมีชีวิตทั้งปวงในโลกไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน)ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
(ขอให้สิ่งมีชีวิตทั้งปวงในโลกเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์ มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน)จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเทอญ ฯ


สัพพัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต

(หน่วงนึกถึงบุญกุศล บารมี ศีล ทาน ภาวนาทั้งปวงอันที่ตนได้ทำมาแล้วในคราวนี้ หรือแม้ในกาลก่อนก็ดี บารมีธรรมอันสะสมมาดีแล้วทั้งปวง)
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญด้วย กาย วาจา ใจ แล้วนั้นเทอญฯ
(ตั้งจิตมั่นหน่วงนึกระลึกแผ่เอาบุญกุศลทั้งปวงไปให้สิ่งมีชีวิตในโลกทั้งที่รัก ที่ชัง ที่กลัว รู้จัก ไม่รู้จัก เล็ก ใหญ่ สั้น ยาว หยาบ ละเอียด ในที่โล่ง ที่แคบ ในพี่พักอาศับ บนดิน ใต้ดิน เบื้องบนในที่สูง ในอากาศ ในน้ำ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงในโลก อมนุษย์ พญายมราช ภูติผี สัมภเวสี นรกภูมิทุกชั้นจนถึงเปรต เทวดาอารักษ์ พระภูมิเจ้าที่ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พระอิมทร์ เทพบุตร เทพธิดา มหาเทพในสวรรค์ทุกชั้นฟ้า แผ่ไปไม่มีประมาณถึงชั้นพระนิพาน..)


ให้ฝึกหน่วงนึกระลึกหัดแผ่ไปให้ครบ แรกๆจะใช้เวลานาน พอเมื่อจิตมันชิน มันทำไว้ในใจเป็นมันวูบเดียว แค่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้นสำเร็จครบหมดทันที

๒. ภาวนา สะสมเหตุให้ใจผ่อนคลาย ตั้งมั่น ฉลาดในการปล่อยวาง หรือ ทำให้พุทโธให้เป็นลมหายใจเข้า-ออก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2016, 02:23:36 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 03, 2023, 12:08:31 PM