เมษายน 25, 2024, 07:19:08 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408323 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #75 เมื่อ: เมษายน 09, 2015, 10:52:12 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 9/4/58 #๑

เมื่อวันที่ 8/4/58 ได้มีความรู้สึกในจิตว่าเรานี้ได้เพียรมาดีแล้วแต่ทำไมไม่ถึงธรรมใดเลย

- เมื่อเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี 2550 เราก็ได้พบกับความสูญเสียจนจะฆ่าตัวตายให้เสียได้ เพราะเรายึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนี้ๆเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืน จนได้รู้ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เห็นความสุขที่ไม่ยั่งยืนในทางโลก สภาวะธรรมไรๆ ตัวตนบุคคลใด สัตว์ใดๆ สิ่งของไรๆ จะสามารถมีอายุอยู่ได้นานแค่ไหนก่อนที่จะดับสูญไปนั้นอยู่ที่กาลเวลา การดูแลรักษา สภาพแวดล้อมหรือสภาวะธรรมภายนอก สภาวะธรรมภายใน ไม่ก็การดับสูญ ตาย สลายไป ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนนาน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สภาวะธรรมไรๆหรือสิ่งของตัวตนบุคคลใดจะสามารถตั้งอยู่ได้นานแค่ไหนก็อยู่ที่เหตุปัจจัยตามกาลเวลา การดูแลรักษา สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาวะธรรมภายในเท่านั้น แต่สุดท้ายก็ต้องดับสูญไปอยู่ดี ไม่มีสิ่งใดที่พ้นจากความดับสูญ ตาย สลายไปได้
- เมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2558 เราก็ได้ทุกข์กับการที่เรายึดมั่นถือมั่นว่าทำไมเราไม่มีอย่างเขาบ้าง ทำไมเราไม่ได้อย่างเขาบ้าง ทำไมเขามีบุญเยอะขนาดนี้ ทำไมเราไม่มีบุญบารมีบ้าง อยากจะเป็นบุคคลอย่างนั้นบ้าง อยากจะเป็นบุคคลอย่างนี้บ้าง อยากได้รับโอกาสอย่างนั้น อยากได้รับโอกาสอย่างนี้ เราเป็นคนเก่งอย่างนั้น เราเป็นคนเก่งอย่างนี้ เรามีภูมิธรรมอย่างนั้น เรามีภูมิธรรมอย่างนี้ เราต้องได้อย่างนั้น เราต้องได้อย่างนี้ สำคัญตัวอย่างนั้นอย่างนี้ไปทั่ว จนก่อให้เกิดการกระทำที่ยังความฉิบหายมาให้ เมื่อยังความเศร้าหมองใจอยู่นั้น เราได้ตั้งว่าจะไม่กิน จะไม่นอน จะทำสมาธิปและเจริญสติโดยส่วนเดียว แล้วก็มีเหตุให้เห็นว่า ที่ทุกข์อยู่นี้ ที่เกิดการกระทำไรๆอยู่นี้ เพราะเรายึดตัวตนว่าเป็นเราเป็นเขา ยึดอัตตาเอาทุกสิ่ง อุปาทานเอาทุกอย่าง ทั้งๆที่สิ่งไรๆก็ตามแต่ไม่มีในเรา เราไม่มีในมัน นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ของเรา ก็เมื่อไม่มีก้อนกิเลสที่เรียกว่าเรา ตัวเราแล้ว จะเพิกไปทิศไรๆในสิบทิศนี้ก็ไม่มีสิ่งไรๆ ไม่มีตัวตนไรๆ ทุกข์ก็ไม่มี ความเศร้าหมองใจก็ไม่มี เพราะไม่มีคำว่าเรา ไม่มีสิ่งที่เป็นเรา ไม่มีเราในสิ่งใด สิ่งใดๆไม่มีในเรา มีธรรมเอกผุดขึ้นเห็นความเป็นอนัตตา ณ ที่นั้น ความเศร้าหมองใจดับไป ดังนี้

- เมื่อหวนระลึกถึงใน อนิจจะสัญญา อนัตตะสัญญา ที่เราเคยได้รับรู้สัมผัสมาดังนี้แล้ว ก็ประดุจดั่งว่าเราจักบรรลุโสดาบันได้ในไม่เนิ่นช้านี้

- แต่ทว่าเราก็ยังสำคัญตนผิด แล้วได้ทำการอธิษฐานจิตไว้ว่า แม้ตอนนี้ตนจะมีความฟุ้งมาก หากจะมีโอกาสบรรลุโสดาบันก็ดี หรือ จะสามารถเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้องและตรงตามจริง แล้วสามารถช่วยให้คนที่ทุกข์ได้รู้และพ้นทุกข์ตาม ขอให้ได้สามาธิได้ฌาณ ๔ บ้าง มีธรรมเอกผุดขึ้นจนตัดขาดสักกายทิฐิบ้าง แต่มันหาเป็นเช่นนั้นไม่ จึงคลายความเพียรลวงไป



- จนเมื่อมาในวันนี้ได้ทบทวนพิจารณาตนเองใหม่
๑. หวนระลึกถึงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตอนที่หลวงพ่อเสถียรสอนแล้วเรานำมาปฏิบัติว่า จิตมันรู้ทุกสิ่ง แต่มัยรู้แค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้น ไม่เคยรู้ขอบจริงเลย อุปาทาน อัตตาจึงเกิดมีขึ้น เมื่อเราไม่ยึดสิ่งไรๆที่จิตรู้ มีความตรึกนึกคิด อาการเจ็บปวด ผัสสะทางกาย เป็นต้น รู้แค่ของจริงที่เป็นปัจจุบันคือ ลมหายใจ มีวิตกด้วยพุทโธเป็นเบื้องหน้าเท่านั้น เมื่อจิตมันไม่ยึดสิ่งไรๆ อัตตาจึงไม่มี เราจึงถึงสภาวะธรรมอันเป็นจริงได้
๒. หลวงปู่บุญกู้สอนไว้เสมอว่าให้มี ศีล ทาน ภาวนา มีความเพียร จิตมันชินกับของปลอมมานาน ต้องเพียรอบรมจิตให้รู้ของจริงมันจึงคลายอุปาทานได้ ตัวตนจึงไม่มี
๓. เมื่อเรานี้ไม่มีตัวตน ไม่มีความสำคัญกับสิ่งไรๆ ความจำได้หมายรู้อันเป็นเราก็ไม่มี เมื่อเราไม่มีค่าความสำคัญไม่มีตัวตนต่อตัวตนบุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใด จะหมายรู้ไปขอธรรมไรๆกับครูบาอาจารย์ท่านไหนท่านก็คงไม่สนใจ เพราะครูบาอาจารย์ท่านจะเทสน์สั่งสอนโดยรวมหรือเจาะจงเฉพาะคนที่มีบุญบารมีคู่ควรมาเกิดบ้างหรือผู้ที่จะบรรลุธรรมได้เท่านั้น อย่างเราๆนี้เมื่อไม่มีความหมายกับใครบุคคลใด ไม่มีบารมี สิ่งที่เรานี้ทำได้ที่คู่ควรกับเราก็มีแต่ อยู่กับลมหายใจรู้ลมในปัจจุบัน มีพุทโธอยู่ทุกขณะลมเข้าออกเท่านั้น
๔. เพราะปารถนามากจึงจำจดจำจ้องเอาสภาวะธรรมที่อยากจะเข้าถึงมาก ที่ผ่านๆมานี้เมื่อเราคลายความยึดมั่นทำไปโดยไม่รู้จักฌาณและญาณไม่รู้จักอะไรทั้งนั้นนอกจากพุทโธเป็นลมหายใจก็จึงเห็นได้ ดังนี้แล้วแม้จะรู้อ่านมาเยอะ เห็นมาสัมผัสสมา ปารถนาก็ช่างความคิดมัน มันไม่ใช่เรา ที่มันคิดไม่มีเราเลย จะเกิดสิ่งไรๆก็ช่างมันล้างความตรึกนึกคิดทั้งปวงอันเป้นไปเพื่ออุปาทานนั้นทิ้งเสียเพราะมันแค่สมมติ แล้วกลับมาเพียงพุทโธ ไปเรื่อยๆ แบบพระอาจารย์ณรงค์สอนว่า "หลวงปู่ฝั้นสอนว่า การทำสมาธิ ให้พุทโธไปตามลมหายใจเข้าออก ทำเหมือนเราเดินทางไกล จะพบเจออะไรก็รู้แล้วผ่านเลยไปไม่แวะเข้าหาเข้าดู ขับรถดูทางข้างหน้าไปตามทางเรื่อยๆเพื่อให้ถึงปลายทาง"




๕. วันที่ 9/4/58 เราบังเอิญได้มาอ่านเจอธรรมของหลวงตามหาบัวเทศนาสั่งสอนเรื่อง ทุกขเวทนา ตามเวบนี้ http://www.oknation.net/blog/Aug-saraporn/2014/02/10/entry-1
ความโดยย่อว่า

ฉะนั้น จงพยายามน้อมโอวาทคำสั่งสอนของท่าน
เข้ามาเป็นครูเป็นอาจารย์สอนตนอยู่เสมอ
ท่านสอนว่าอย่างไร ให้นำโอวาทท่านที่สอนไว้แล้วนั้น
เข้ามาปฏิบัติต่อตัวเอง จะชื่อว่า
“เราอยู่กับครูกับอาจารย์ตลอดเวลา”
เหมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
อยู่ตลอดกาลสถานที่
การปฏิบัติตนเป็นหลักสำคัญ ที่เป็นความแน่ใจสำหรับเรา
การอาศัยครูอาศัยอาจารย์นั้นเป็นของไม่แน่นอน
ย่อมมีความพลัดพรากจากไป ท่านไม่พลัดพรากเราก็พลัดพราก
ท่านไม่จากเราก็จาก เพราะโลกอนิจจัง มีอยู่ด้วยกันทั้งท่านและเราไม่ผิดกันเลย
สิ่งที่พอจะยึดเอาได้ ก็คือหลักธรรมของท่าน
จงยึดมาประพฤติปฏิบัติสำหรับตัวด้วยความเอาจริงเอาจัง
เพื่อเห็นเหตุเห็นผล เพื่อกำชัยชนะภายในใจ
ชัยชนะนี้เป็นชัยชนะอันเลิศประเสริฐสุดในโลก
ไม่มีชัยชนะใดจะเสมอเหมือนเลย
เรายื้อแย่งเอาชนะตน !
คือกิเลสที่ถือว่าเป็น“ ตน” เป็น “ตัว”
เป็นเราเป็นของเรามาตั้งกัปตั้งกัลป์ นี้เป็นเรื่องใหญ่โตมาก
จะทำเล่นเหมือนเด็กเล่นตุ๊กตา เดี๋ยวกิเลสจะขยี้ขยำเอา
เพราะถือมาเป็นเวลานานแล้ว
จงรีบพิจารณาให้รู้แจ้งและปล่อยวาง
จิตใจจะได้ว่างเปล่าจากทุกข์ ไม่ฉุกละหุกกันตลอดไป
การสั่งสมคำว่า “เป็นเรา เป็นของเรา” มานี้
นับกัปนับกัลป์ไม่ได้แล้ว
ถ้ากิเลสเป็นวัตถุ
ความสั่งสมมานานถึงขนาดนั้น
จะเอาอะไรมาเทียบเล่าในโลกนี้?
ถึงจะใหญ่โตยิ่งกว่าก้อนกิเลสตัณหาอาสวะ ก้อนเราก้อนของเราเหล่านี้
เพราะมีมากต่อมาก จะขนออกมาเทียบไม่หวาดไม่ไหว
ถ้าขนเล่น ๆ แบบกิน ๆ นอน ๆ
จะถากจะเถือ จะเจาะจะฟัน เพียงหนสองหนให้มันขาดไปนั้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้
นอกจากจะพากันคว้าน้ำเหลวไปตาม ๆ กันเท่านั้น
จำต้องทุ่มเทกำลังลงอย่างหนักหนาทีเดียว
ตอนนี้ตอนจะชิงชัยชนะกัน เราก็เป็นนักปฏิบัติ
ไม่ต้องท้อถอยกับการรบกับกิเลสซึ่งมีอยู่ในตัวเราเอง

คำว่า“กิเลส”ก็คือ“ก้อนเรา”นั้นเอง
กิเลสเป็น “เรา”เป็น“ของเรา”อะไร ๆ เป็น“เรา”ทั้งนั้น
เหล่านี้คือ “กองกิเลสแท้ ๆ” ไม่น่าสงสัยเลย

ถ้าจะแยกให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน
ตามความสัตย์ความจริง ในหลักธรรมชาตินั้นจริง
ต้องแยกด้วยความพากเพียร
โดยทางสติปัญญาเป็นเครื่องพิสูจน์ พิจารณากัน

การแยกธาตุ ธาตุก็ธาตุสี่ ธาตุ ๔
ก็รู้กันเต็มโลกเต็มสงสารอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะให้รู้ถึงใจ ซาบซึ้งถึงใจจริง ๆ นั้นต้องภาคปฏิบัติ
พิจารณาด้วยปัญญาจนเห็นชัดเจนแล้วก็ซึ้งไปเอง
ถ้าลงได้ซึ้งถึงใจแล้ว ไม่ต้องบอกมันปล่อยเอง
เมื่อรู้อย่างถึงใจแล้วก็ปล่อยวางอย่างถึงใจเช่นกัน
การที่จะรู้อย่างถึงใจ ปล่อยวางอย่างถึงใจ
ต้องพิจารณาแล้วพิจารณาเล่า ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนเป็นที่เข้าใจ
อย่าไปสำคัญว่า
นี่เราพิจารณาแล้ว นั้นเราพิจารณาแล้วในคราวนั้น
ด้วยความคาดหมาย นับอ่านครั้งนั้นครั้งนี้
โดยที่ยังไม่ซึ้งถึงขั้นปล่อยวางมันก็ยังไม่แล้ว
ต้องพิจารณาให้ถึงขั้นแล้วจริง ๆ
ด้วยความซาบซึ้งและปล่อยวาง
ถ้า“แล้วจริง” ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาอีก
มันเข้าใจแล้ว ปล่อยวางได้หมด





** นี่ไงกิเลสความเป็นเรามันทับถมมาตั้งไม่รู้กี่กัป กี่กัลป์ กี่อสงไขย อยู่จะแค่หายใจเข้าแล้วออกจากไปบรรลุได้อย่างไร เราต้องเพียร และเพียร เสริมให้จิตเป็นกุศลให้มากๆ เพราะจะถึงธรรมไรๆ หรือ มรรค๔ ผล ๔ ใดๆก็ต้องมีจิตเป็นกุศลเพียงพอและได้รู้เห็นตามจริงอยู่บ่อยๆจนกว่าจะขนกองกิเลสทิ้งได้หมด หมั่นเจริญใน อิทธิบาท ๔, สัมมัปปธาน ๔, พละ ๕, มรรค ๘, โพชฌงค์ ๗ ให้มากจึงจะถึงวิมุตติหรือบรรลุโสดาบันได้ การเพิ่มความเพียรในธรรมเหล่านี้นนั้นก็เสริมด้วย พรหมวิหาร๔ ไปจนถึงเจโตวิมุติ ศีล กรรมบถ ๑๐ ทาน(ทานที่บริบูรณ์นั้นคือเรานั้นมีศีลบริบูรณ์พร้อม) ภาวนา คือ การอบรมใจ ทำทั้งสมาธิในกรรมฐาร ๔๐ และ มีสติปัฏฐานอยู่ทุกขณะ หลวงปู่บุญกู้ก็สอนอยู่ทุกวันทุกขณะแต่เรากลับไม่ถึงเอง

เมื่อเห็นดังนี้เราก็คลายอัตตาว่าจะต้องบรรลุเวลานั้นเวลานี้ วันนั้นวันนี้ บารมีเราไม่พอ บุญเราไม่มี กุศลเราไม่มีจะไปทำอย่างครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ต้องเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อเจริญในเครื่องแห่งกุศลดังที่กล่าวมานั้น มันจะถึงไม่ถึงก็ช่างมัน เรามีปัญญาสะสมมาเท่านี้ก็ต้องพอใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงจะไม่มีอิสสา ไม่มีความเศร้าหมอง ให้เพียรและเพียรและเพียร โดยไม่ให้มีคำเรา ตัวเรา ตัวใครผุดขึ้นมาในจิต ผุดมาให้จิตรู้ (เพราะเมื่อมีคำว่าเรา ตัวเราผุดขึ้นมาในจิตเมื่อไหร่ อุปาทาน อัตตาจะมีเกิดขึ้น ณ ที่นั้นในเสี้ยววินาทีนั้นทันที) ดังนั้นเราต้องเพียรและเพียรและเพียรโดยไม่เข้าไปยึดว่า นี่เป็นเรา นี่เป้นของเรา เราควรแก่สิ่งนั้น เราควรแก่สิ่งนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เรามีดีอย่างนั้น เรามีดีอย่างนี้ เราถึงนั่นถึงนี่ เราเป็นคนนั้นคนนี้ เท่านั้นก็พอแล้ว











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2015, 03:05:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #76 เมื่อ: เมษายน 09, 2015, 03:35:06 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 9/4/58 #๒

ทบทวนกรรมฐานที่ต้องเจริญให้มากในครั้งนี้

๑. กรรมบถ ๑๐ เป็นฐานแห่งกุศลทุกอย่าง เพราะสงเคราะห์ด้วยทั้ง กาย วาจา ใจ เป็นเบื้องต้นแห่งมรรค๘ เป็นเบืองต้นแห่งสัลเลขธรรม
๒. ทาน ประหารโลภะ ความโลภยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนอกกายตนอันเรานี้หวงแหนบ้าง ตะหนี่บ้าง
๓. พรหมวิหาร ๔ โดยเจริญไปแบบไม่มีประมาณ เป็นฐานของวิโมกข์ ๘ ให้เข้าถึงเจโตวิมุติ

๔. หาความพอใจยินดีในการปฏิบัติธรรม พอใจยินดีที่จะตั้งมั่นใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา
(ซึ่งความยินดีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีปัญญาเห็นชอบตามจริงก่อน อาศัยการสงเคราะห์ลงในธรรม เปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่เราได้รับได้สัมผัสบ้าง จนเกิดปัญญาเห็นว่าสุขทางโลกียะนี้มันอาศัยสิ่งของภายนอกที่ไม่เที่ยง สุขทางธรรมอาศัยภายในตนอันยั่งยืน จิตเป็นกุศลไม่มีอกุศลมันเป็นสุขอย่างหาประมาณมิได้ทุกข์ไม่มีเลย จนถึงโลกุตระ)

๖. ขยันความเพียร อุตสาหะไม่ท้อถอย เพียรเจริญในกุศลอันสืบต่อจากความพอใจยินดีในสิ่งนั้น ความเพียรที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น เพียงคงกุศลไว้ เพียรรักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม สัมมัปปธานสมาธิก็เกิดขึ้น
๗. เจริญสัมมัปปธาน ๔ โดยอาศัย สติปัฏฐาน ๔ สังขารในความเพียรนั้น คือ รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม
- อย่างเราใช้จิตตานุปัสสนาเป็นหลักโดยดำเนินตามลำกับดังนี้
  ๗.๑ กรรมบถ ๑๐, ทาน, พรหมวิหาร ๔, ภาวนาโดยการทำสมาธิโดยพุทโธไปตามลมหายใจเข้าออก ไม่จับเอาสมมติความคิด ประดุจคนเดินทางไกล(เป็นกายานุปัสสนา)
  ๗.๒ อาศัยสติรู้ทันความตรึกนึกคิดก่อนจะกระทำทางกายและวาจาไป โดยเมื่อรู้ว่าเป็น รัก โลภ โกรธ หลง กุศล หรือ อกุศล มิจฉาทิฏฐิ วิปัสลาส คือ นิจจทิฏฐิวิปัลลาส, นิจจสัญญา มีความเห็นว่าเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน คือ เป็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนยั่งยืนบ้าง ไม่แปรเปลี่ยนไปบ้าง ไม่ดับสูญบ้าง๑ / สักกายทิฏฐิ,มานะทิฐิ,อัตตานุทิฏฐิ,อัตตวาทุปาทาน,อัตตสัญญา : มีความเห็นเป็นตัวตน คือ เห็นว่าเราเป็นนั่นเป็นโน่นเป็นนี่ หรือ อยากเป็นนั่นเป็นโน่นเป็นนี่ อิจสา ๑ / ก็ให้หยุดเจตนาทาง กาย วาจา ใจ นั้นก่อนโดยอาศัยขันติ เพื่อไม่ให้ก้าวล่วงใน กรรมบถ ๑๐ ทาน พรหมวิหาร ๔ แบบไม่มีประมาณ จากนั้นมีพุทโธหรืออานาปานสติตั้งเป็นเบื้องหน้าสมาธิจะเกิดมีขึ้น ณ ที่นั้น
  ๗.๓ เจริญพิจารณาใน สัญญา ๑๐, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, อาการทั้ง ๓๒, ธาตุ ๖, อสุภะ, มรณัสสติ
  ๗.๔ เอาจิตจับที่จิต ให้จิตเห็นจิตในอาการจริงๆที่มีอยู่ของมันว่ามันมีอาการอย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไร หากละความคิดไม่ได้ก็รู้แค่อาการของจิต หากละวิตกวิจารได้มีสมาธินิ่งรู้กายใจอยู่ก็จะมีธรรมเอกผุดขึ้นเห็นเป็นแต่สภาวะธรรม
  ๗.๕ ไม่ยึดเอาสิ่งไรๆที่จิตรู้ เพราะสิ่งที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติทั้งหมด เพราะเมื่อเกิดผัสสะ เจตนาก็จะเกิดอาการที่มีลักษหวนระลึกตรึกถึงด้วยความหมายรู้ในสัญญาจากสิ่งที่รู้ผัสสะนั้นๆ เมื่อรู้สัญญาสังขารก็เกิดด้วยวิตกวิจาร ดังนั้นเจตนาเกิด สมมติก็เกิด อัตตาก็เกิดทันที ไม่ยึดเอาสิ่งที่ใจรู้ ดับที่วิญญาณ ดับที่ผัสสะนั้นจึงไม่ทุกข์

๘. เมื่อเห็นผลตามจริงดังนี้แล้วตามข้อ ๗ ความศรัทธาก็จะเกิดขึ้นพร้อมความยินดีนั้น มีจิตแน่วแน่มีลักษณะตามไปมุ่งไป ด้วยความพอใจยินดีในสิ่งนั้น เกิดเป็นฉันทะสมาธิ แล้วศรัทธา ๔ จักเกิดขึ้นด้วยปัญญาเห็นชอบ ความลังเลสงสัยในพระพุทธเ้า พระธรรม พระสงฆ์ บุญกรรมจะหายไปทันที

๙. เมื่อเกิดปัญญาเห็นชอบแล้วจิตมันจะรู้และยินดีในกุศลในสิ่งที่ควรทำ ก็จะเกิดความสอดส่องดูแลในกุศลนั้นๆอยู่เสมอให้คงอยู่ไม่เสื่อมไป
(ซึ่งจิตยินดีในกุศลนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคนเพราะปกติเราทุกคนนี้จิตไม่ได้ใชั่ว ที่ชั่วนั้นเพราะโดนกิเลสหลอกมาตั้งเท่าไหร่ ชาตินี้มีบุญมากที่ได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนาและได้เห็นธรรม ครูบาแก๊บพระเพื่อท่านสอนเราไว้ว่า..ต่อให้เรายากดีมีจนก็มีบุญเสมอกันหมดไม่ต่างกันหากได้เข้ามาอยู่ในร่มโพธิ์ร่มไทรในพระพุทธศาสนาได้พานพบพระพุทธศาสนานี้ ดูหลวงปู่เหรียญท่านก็เป็นเด็กบ้านนอกแต่ท่านก็ได้รู้ธรรมแล้วบรรลุอรหันต์ ไม่ใช่คนรวยอะไรเลยก็ยังบรรลุอรหันต์ได้ ดูอย่างท่านสุปพุทธะผู้เป็นขอทานเป็นโรคเรื้อนได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วโอปนะยิโก คือ น้อมมาสู่ตนท่านก็บรรลุโสดาบันทันที อย่างพระองคุลีมาลย์เถระท่านเป็นโจรจิตใจหยาบช้าหมายจะฆ่าเพื่อบรรลุเจตนาตนเท่านั้นก็ยังกลับใจได้เมื่อรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นครูบาอาจารย์สอนสิ่งใดท่านจะจงใจเทสนาให้ใครก็ช่างนั่นเป็นเรื่องของท่าน แต่เราต้องน้อมเอาธรรมที่ท่านสอนนั้นมาสู่ตน ก็จะเห็นธรรมได้ทันทีไม่ต่างกัน ดังนั้นไม่ว่าใครจะยากดีมีจน บารมีมากน้อย บุญมากหรือน้อยก็มีจิตยินดีในกุศลเช่นนี้ได้)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 13, 2015, 11:00:43 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #77 เมื่อ: เมษายน 10, 2015, 06:22:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน มี ๓ คือ
       ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก
       ๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา
       ๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้



             [๔๗๓] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๑๐
คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม ความกำหนดหมายในความตาย ความกำหนด
หมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ความ
กำหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ความกำหนดหมายในการละ ความกำหนด
หมายในวิราคธรรม ความกำหนดหมายในความดับ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควร
ให้บังเกิดขึ้น ฯ

สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง (โดยส่วนตัวเราเห็นว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีอยู่ใน สัญญา ๑๐ นี้) คือ
       ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
       ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง
       ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (ปฏิกูลสัญญา อาการทั้ง ๓๒)
       ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่างๆ (โรคร้ายน่าเกลียดต่างๆ โรคฝี โรคหนอง โรคเรื้อน)
       ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม (กุศลวิตก ๓, เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ ไม่ว่าจะเป็น ความพอใจยินดี-ความไม่ยินดี-อุเบกขา, กรรมบถ ๑๐, สัมมัปปธาน ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕,กรรมฐาน ๔๐ สติปัฏฐาน ๔)
       ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต (อินทรีย์สังวร, มรรค ๘, โพชฌงค์ ๗)
       ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต (วิมุตติ, มรรค ๑๐, จิตไม่จับเอาอะไรเลย รู้ก็เหมือนไม่รู้ รู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง แบบ อรูปฌาณ สัญญาเวทยิตนิโรธ **หากอย่างเราๆผู้ไม่ถึง วิมุตติ และ สมาบัติ ๘ ก็ให้พึงเห็นว่า..เมื่อความไม่ทุกข์ ไม่ว่างอยู่โดยความไม่รู้หนังตรึงๆหน่วงจิตมันเป็นอย่างไร, เมื่อจิตไม่มีกิเลสปรุงแต่งมันสุขเพียงไร ความไม่เร่าร้อนมันเป็นไฉน, จิตที่คลายความยึดจากสมมติคลายอุปาทานขันธ์ ๕ มันเป็นสุขขนาดไหน, เมื่อจิตไม่ยึดเอาสมมติไรๆสภาวะธรรมไรๆมันสุขแค่ไหน แม้ความสุข,ความทุกข์,ความไม่สุขไม่ทุกข์ไม่มี..จิตไม่เสพย์ไม่ยึดมันยังความบรมสุขมากแค่ไหน**)
       ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (เห็นไตรลักษณ์ ทุกอย่างเป็นเพียงสมมติ ทุกอย่างเป็นเพียงสภาวะธรมไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆรู้แต่ไม่เสพย์ จนให้มันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น)
       ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาใน สังขารทั้งปวง (ปฏิฆะ ต่อ ขันธ์ ๕, ไม่มีความยินดีในขันธ์ ๕ และ ธาตุ ๖ อีก ด้วยพิจารณาเห็นใน ๘ ข้อสัญญาข้างต้นนั้น)
       ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ, พุทธานุสสติ+อานาปานสติ(พุทโธ หรือ อรหัง), เห็นตามจริงว่าลมหายใจนี้คือธาตุเป็นของจริงที่มีอยู่ในกาย หาความยินดีในการให้จิตรู้ของจริงก็คือลมหายใจเรานี้แหละ เป็นกายสังขาร)

อาพาธสูตร  http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2597&Z=2711
คิริมานนทสูตร



             [๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่นิชชิณวัตถุ ๑๐ คือ
ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่
น้อย ที่บังเกิดเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ความดำริผิดอันบุคคลผู้
ดำริชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความ
ดำริผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย การเจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ อนึ่ง
แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้
ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัย การ
งานผิดอันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่
น้อยที่บังเกิดเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อม
ถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย การเลี้ยงชีพผิดอันบุคคล
ผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะ
การเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ความพยายามผิดอันบุคคลผู้พยายาม
ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพยายาม
ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย ความระลึกผิดอันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้
อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เขา
ก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบ
เป็นปัจจัย ความตั้งใจผิดอันบุคคลผู้ตั้งใจชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรม
อันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วน
กุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย
ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่
บังเกิดเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ความพ้นผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ
ย่อมละได้ อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพ้นผิดเป็น
ปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้น
ชอบเป็นปัจจัย ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ



             [๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อเสขธรรม
๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงาน
ชอบ ... เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งใจชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความ
พ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ
             ธรรมร้อยหนึ่งดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด
ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของ
ท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล ฯ




อ่าน คิริมานนทสูตร กถามุข ได้ที่นี่ http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/book_26.pdf




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2015, 10:32:10 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #78 เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 11:01:31 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๑

๑.อนิจจสัญญา

ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง (ดูเรื่องขันธ์ 5 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ - ธัมมโชติ) ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ

เพราะรู้จักอนิจจสัญญาตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากการที่เรามีนิจจสัญญา จนทำให้รู้ว่า
- บุคคลอันเป็นที่รัก สัตว์ สิ่งของ ขันธ์ ๕ และ สภาวะธรรมไรๆแม้แต่ตัวของเราเองไม่มีสิ่งใดคงอยู่ยืนนาน ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่วันจะดับสูญสลายไปจากเรา ไม่ว่าจะด้วยการดูแลรักษา กาลเวลา สภาวะธรรมภายนอก สภาวะธรรมภายใน และ ความตายผุพังดับสูญ
- ธรรมชาติของสัตว์โลกผู้ดำรงขันธ์ ๕ อยู่ เมื่ออุบัติเกิดขึ้นก็ต้องแก่ชรา มีความเจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา แล้วก็ตายไปในที่สุด แม้จะรูปธาตุไรๆก็เสื่อมสูญสลายผุพังไป ทำให้เห็นว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ เกิดมาแล้วก็ไม่รู้จะเจอวิบากกรรมอะไรบ้าง ความเกิดก็ไม่เที่ยงจากเด็กกลับกลายมาโตขึ้นจิตตอนเด็กกับตอนโตก็แปรสภาพไปไม่ใช่อันเดิมแต่อาศัยปัจจัยที่มีมานั้นให้เกิดขึ้น แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์แก่ตัวมารูปขันธ์นี้ก็แปรสภาพไปไม่เหมือนเดิมเริ่มเสื่อมโทรมไปผุพังไปหมายจะให้รูปขันธ์คงสภาพอันงามอยู่ละเอียดดูอยู่ก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็เป็นเหมือนกันหมด เมื่อรูปขันธ์เริ่มเสื่อมโทรมแปรไปจะหมายจะยังรูปขันธ์ให้ทำกิจการงานไรๆก็ไม่ได้ดั่งปารถนา รูปขันธ์ทั้งปวงนี้ย่อมมีความเสื่อมสลายเจ็บไข้ได้ปวยการสภาวะธรรมธาตุที่เสื่อมโทรมไม่สมดุลย์บ้างธาตุต่างๆเริ่มดับสูญไปบ้างก็เกิดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยนั้น แล้วในที่สุดรูปขันธ์ก็ไม่คงอยู่ยั่งยืนนานแล้วดับสลายไปในที่สุด
- ธรรมมารมณ์ทั้งปวงไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ จะไม่สุขไม่ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ เร่าร้อน สุขอิ่มใจ ความทรงจำ จำได้จำไว้ ความตรึกนึกคิดปรุงแต่ง สิ่งใดๆที่ใจรู้ ไม่มีสิ่งใดคงทนทานเลยสักแต่อาศัยสภาวะธรรมภายนอกภายในปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่อยู่ยืนนาน ความเข้าไปปารถนาเอาธัมมารมณ์ที่ชอบใจพอใจให้อยู่ยืนนานย่อมหาประโยชน์สุขไม่ได้นอกจากทุกข์
- ก็เพราะคนเรานี้หนอยึดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนนาน รอแต่ความดับสูญไปมาเป็นสุขของตน ไขว่คว้าแสวงหาอยู่ให้ได้มาซึ่งสิ่งอันไม่เที่ยงนั้นจนเร่าร้อนไปทั่ว พอไม่ได้ก็ทุกข์ พอได้ก็สุขแต่เมื่อสิ่งนั้นๆสลายไปก็ทุกข์เร่าร้อนแสวงหาต่อไม่รู้จบ ดังนั้นเราจะปารถนาไปเอาอะไรหนอกับสิ่งไม่เที่ยงเหล่านี้

- เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็จะเห็นว่าไม่มีสิ่งไรที่จะยั่งยืนทาน ที่เราเห็นว่าสุขของเราคือมีบ้าน รถ เงิน ทอง สามี-ภรรรยาสวยสดงดงามไรๆ ความหอมหวานซาบซ่านไรๆ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความสุขทางโลก เป็นสุขที่อาศัยสิ่งอันไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนให้เกิดมีขึ้นเท่านั้น ไม่นานความสุขหรือสิ่งอันเป็นที่รักอันนั้นก็ต้องดับสูญสลายไป ตามเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านั้น เมื่อเราเข้าไปปารถนา แสวงหาซึ่งสิ่งอันไม่เที่ยงอยู่นี้ ย่อมยังกายใจของเราให้เร่าร้อนไปทั่วไม่รู้จบ เพราะสิ่งไม่เที่ยงเหล่านั้นไม่ได้ติดตามเราไปด้วยตลอดเวลาทุกขณะเมื่อเมื่อยังชีพอยู่หรือตายไปก็ตามซึ่งมีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่จะติดตามเราไปได้ เราจะยังแสวงหาเอาสิ่งไม่เที่ยง สิ่งที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเพื่อสิ่งใดหนอ แสวงหาไปก็เป็นทุกข์ พอใจไปก็เป็นทุกข์ ยินดีไปก็เป็นทุกข์
- ดังนั้นให้กระทำในทางโลกียะนี้ตามสมควรแก่สิ่งเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ สภาวะธรรมไรๆเหล่านั้น อันเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่นตามกาลอันควรเพื่อยังกุศลให้เกิดขึ้นคงกุศลไว้ไม่เสื่อมไปแก่เรา แต่ไม่ยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงไรๆเหล่านี้มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิตให้เร่าร้อนแสวงหาอยากได้ต้องการเกิดฐานะอันจำเป็นที่จะมี ให้แสวงหาอุปสมะ คือ ทางอันสันติสงบสุขที่ยั่งยืนดีกว่า อันได้แก่ บุญกุศล อมตะธรรมอันเป็นไปเพื่อนิพพานดังนี้




สรูป

ให้พิจารณาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ อายตนะ ๑๒ ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ขันธ์ทั้งปวงไม่เที่ยง เกิด เกิด เจ็บ ตาย ดับสูญสลายไปอยู่ทุกๆขณะ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นสิ่งไม่เที่ยงไรๆให้เกิดกทุกข์เร่าร้อนกายใจ จิตมันรู้แต่สมมติที่กิเลสสร้างล่อหลอกว่าสิ่งนี้ๆยั่งยืนนานไม่ดับสูญไป หรือไม่สูญไปง่าย สิ่งนี้ๆเป็นของเที่ยง ไม่ว่าจะนานแค่ไหนก็ยังจะคงอยู่สืบไป เป็นอย่างนี้ๆสืบไปไม่แปรเปลี่ยน หรือ แม้รู้ว่ามันต้องเสื่อม และ ดับสูญสลายไปก็ตามแต่ก็ถือว่าสิ่งนี้ยังไม่ดับสูญไปในขณะนี้ๆ สิ่งนี้ๆยังคงอยู่อีกนาน สิ่งนี้ๆเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนแก่เราจนวันตาย แล้วจิตมันก็ยึดเอาแต่สมมตินั้นมาจนเห็นเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืนนาน ทั้งที่จริงๆไม่มีสิ่งไรๆจากสภาวะธรรมที่ เที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่นาน ไม่แปรเปลี่ยน ไม่ดับสูญ ทุกอย่างจักต้องดับสูฐสลายไป จะช้าหรือแล้วก็ขึ้นอยู่กับ กาลเวลา สภาพแวดล้อมสภาวะธรรมภายนอก สภาวะธรรมภายใน การดูแลรักษา และ ความตายหรือผุพังสลายไป






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2015, 08:34:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #79 เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 01:03:28 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๒

๒.อนัตตสัญญา

ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา (ดูเรื่องอายตนะ 12 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ - ธัมมโชติ) ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนัตตสัญญา ฯ



คิริมานนทสูตร กถามุข

-รูปสัญญา นามสัญญา-
   
 วิสุทฺธจิตฺเต อานนฺท เท.ว สญฺญา สุตฺวา โส
อาพาโธ ฐานโส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย
ดังนี้ ดูกรอานนท์ เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว
ท่านจงบอกสัญญา ๒ ประการ คือ รูปสัญญา๑ นามสัญญา๑
คือว่า รูปร่าง กายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี คือนามได้แก่จิตเจตสิกทั้งหลายก็ดี
ก็ให้ปลงธุระเสีย อย่าถือว่ารูปร่างกายจิตเจตสิกเป็นตัวตน
 และอย่าเข้าใจว่าเป็นของของตน
ทุกสิ่งทุกอย่างความจริงเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น

ดูกรอานนท์ ถ้าหากว่า รูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้
เมื่อล่วงสู่ความแก่เฒ่าชรา ตาฝ้า หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง
ฟันโยกคลอน เจ็บปวด เหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์
ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์
 เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา
เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราจะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้
 ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพา เอาไปได้ตามความปรารถนา

ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกก็ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน
 หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของของเรา เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์
ว่า จิต ของเราจงเป็นอย่างนี้จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญทุกเมื่อ
อย่าทุกข์อย่าร้อนเลยดังนี้ ก็จะพึงได้ตามปรารถนา นี่หาเป็น เช่นนั้นไม่
 เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตาม เรื่องของเขา
เพราะเหตุร่างกายจิตใจเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย
อย่าเข้าใจถือเอา ว่าเป็นตัวตนและของของตนเถิด.

ดูกรอานนท์ ท่านจงไป บอกซึ่งสัญญาทั้ง ๒ ประการคือรูปและนามนี้
โดยเป็น อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนและไม่ใช่ของของตน
ให้พระคิริมานนท์ แจ้งทุกประการ เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว
การอาพาธ ความเจ็บปวดและทุกขเวทนา
ก็จะหายจากร่างกายของพระคิริมานนท์หมดสิ้น จะหายอาพาธโดยรวดเร็วด้วย

 ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะผู้เป็นประธานในสงฆ์
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ ด้วยประการ ดังนี้แล.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2015, 10:44:36 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #80 เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 03:40:17 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๒

๒.อนัตตสัญญา

เพราะรู้จักอนัตตาสัญญาตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากอัตตสัญญา จนทำให้เรารู้ว่า

- แม้เมื่อเราเกิดรู้ผัสสะในอายตนะ ๑๒ (รู้-รูปทางตา รู้-เสียงทางหู รู้-กลิ่นทางจมูก รู้-รสทางลิ้น รู้-อาการต่างๆทางกาย รู้อารมณ์ด้วยใจ รู้-รูป-เวทนา-สัญญา-ความคิดปรุงแต่ง-ผัสสะใดๆสิ่งใดๆที่ใจรู้) แล้วเกิดมี อัตตาสัญญา ว่า เราเป็นสิ่งนั้น เราเป็นสิ่งนี้ เราเป็นคนนั้น เราเป็นคนนี้ เราควรแก่สิ่งนี้ สิ่งนี้ควรแก่เรา เราไม่ควรแก่สิ่งนี้ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา เราสำคัญอย่างนี้ เราดีอย่างนี้ เราเลิศอย่างนี้ นี่เขา นี่เรา เขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ควรและไม่ควรเหมาะสมกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ นี่บ้าน นี่รถ นี่เงิน นี่ทอง นี่สวยงาม นี่ไม่สวยงาม ตีค่าความสำคัญไปเป็นตัวตนอย่างนั้นอย่างนี้ นี่เสียงเพราะเสียงไม่เพราะ นี่หอม นี่เหม็น นี่อร่อยนี่ไม่อร่อย สัมผัสทางกายอย่างนี้สบาย อย่างนี้ทุกข์ นี่เจ็บ นี่ปวด ความคิดว่านี่เป็นเรา สิ่งที่ใจรู้นี้เป็นเรา เป็นของเรา นี่สบายนี่เมื่อเห็นเป็นอย่างนี้ๆสิ่งนี้ๆแล้วจิตย่อมจับเอาความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนี้ๆว่าเป็นตน เป็นของตน เป็นเขา เป็นของเขา เป็นคน สัตว์ สิ่งของเกิดขึ้น จนเกิดการกระทำไรๆทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี อันเป็นไปในความเร่าร้อนเป็นทุกข์จากผลอันกระทำอย่างนั้น ซึ่งความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเลยที่เป็นเราเป็นของเรา
- เมื่อเราหมายสำคัญตนผิดว่าเป็นเทพบ้าง เป็นพรหมบ้าง เป็นคนเก่งบ้าง คนรวยบ้าง เป็นคนทำงานดีบ้าง เป็นคนที่มีบุญบารมีเยอบ้าง เป็นคนที่ควรแก่สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ควรแก่สิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง เพราะถือว่านั่นคือเรา เราก็จะเกิดการกระทำทางกาย วาจา ใจ อันเป็นไปโดยประมาท ไม่สำรวมในอินทรีย์ ดำเนินกาย วาจา ใจ ไปเพื่อสิ่งอันเร่าร้อน จนเกิดความผิดพลาดแล้วได้รับผลของกรรมนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- เหมือนเมื่อเราสำคัญตนว่า ตนมีบุญบารมีมากแล้ว ก็ไม่หมายจะทำกุศลผลบุญต่อ บุญที่มีอยู่ก็ถูกใช้ไปเรื่อยๆจนหมดไป เมื่อหมดไปแล้วก็ต้องมาตะเกียกตะหายหาหรือเสียใจเสียดายในภายหลังไม่สิ้นสุด
- เหมือนเมื่อเราสำคัญตนว่าตนเป็นพรหม เป็นเทวดามาเกิดตนก็ต้องทำเพื่อกลับไปเสพย์สุขเป็นพรหมเป็นเทวดาดั่งเดิมโดยละเลยการปฏิบัติเพื่อพ้นจากกองทุกข์บ้าง หรือ สำคัญตนว่าตนอยู่สูงกว่าใครทั้งๆที่ยังขันธ์ ๕ ตามอัตภาพไม่ต่างจาก หมู หมา กา ไก่ ควาย สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายอยู่ ยังอาศัยลมเป็นกายสังขารหล่อเลี้ยงขันธ์อยู่ ยังอาหารบริโภคเพื่อดำรงขันธ์อยู่ ยังแสวงหาสิ่งนั้นสิ่งนี้เพื่อยังสุขทางโลกอยู่
- เหมือนเมื่อเราสำคัญตนว่า ตนเป็นคนทำงานเก่ง ไม่มีใครทำได้อย่างตน ตนเป็นผู้สำคัญ ไม่มีใครแทนได้ ตนเป็นคนที่เพรียบพร้อมดีเลิศแล้วไม่มีใครยิ่งกว่าด้วยความยึดในอัตตสัญญานั้น ก็เกิดความหลงตน ทนงตนแล้วก็ คิด พูด ทำไปโดยไม่มีความประมาณตน ไม่สำรวมตน ผมเพราะความสำคัญตนอย่างนี้ก็จะทำให้เกิดอกุศลวิตกว่า สิ่งนี้เหมาะควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่เหมาะควรแก่เรา แล้วก็จะเกิดทั้งสิ่งที่ชอบไม่ชอบเกิดสังขารเวียนอยู่แล้วก็เกิดเป็นการกระทำอันทำให้ถึงความฉิบหายได้จาก วจีกรรม กายกรรม มโนกรรม
- บุคคลอันเป็นที่รัก สัตว์ สิ่งของ สฬายตนะภายนอก และ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ อายตนะ ๑๒ หรือ สภาวะธรรมไรๆไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา-เป็นเขา เป็นของเรา-ของเขา เราไม่สามารถจะไปบังคับสิ่งไรๆให้เป็นไปดั่งใจเราได้แม้แต่ขันธฺ ๕ ของเราเองก็ตาม เพราะหากเป็นเราเป็นของเรา เราย่อมจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจของเราปารถนาได้ แต่ไม่มีเลยสักอย่างที่จะบังคับให้มันเป็นไปตามที่ใจเราปารถนา จับต้องบังคับก็ไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นของเราเลย

+ เมื่อเข้าไปยึดเอาว่า รูปคือกายนี้เป็นเราเป็นของเรา แต่ก็บังคับจำต้องให้มันเป็นไปตามใจเราปารถนาไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ บังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นหรือดับไปดั่งใจปารถนาก็ไม่ได้ ก็รูปขันธ์นี้เมื่อมันจะเกิด จะเป็นไป จะเสื่อม จะดับสูญ มันก็ไม่เคยจะมีเราเลยในนั้นไม่เห็นว่ามันจะบอกจะถามเราเลย มันอยากจะแปรเป็นไปอย่างไรมันก็เป็นไปของมันเองไม่มีเราในนั้นเลย
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่รูป รูปไม่ใช่เรา เราไม่มีในรูป รูปไม่มีในเรา..ดังนี้
+ เมื่อเข้าไปยึดเอาว่า เวทนานี้เป็นเรา แต่ก็บังคับจับต้องให้มันเป็นไปตามใจเราปารถนาไม่ได้ จะบังคับให้มันสุขตลอดไปก็ไม่ได้ จะบังคับให้มันไม่ทุกข์ก็ไม่ได้ จะบังคับให้มันเฉยว่างไม่ยินดียินร้ายก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นหรือดับไปดั่งใจปารถนาก็ไม่ได้ มันจะสุข จะทุกข์ จะเฉยๆมันก็เป็นไปของมันเองตาเหตุปัจจัยแต่ไม่มีเราในนั้นที่ทำให้มันเป็นไปเลย มันไม่เคยสุขเพราะเป็นเรามีเราไม่อิงอามิสหรือสิ่งล่อใจภายนอกเลย ก็เป็นทุกข์ ก็รูปขันธ์นี้เมื่อมันจะเกิด จะเป็นไป จะเสื่อม จะดับสูญ มันก็ไม่เคยจะมีเราเลยในนั้นไม่เห็นว่ามันจะบอกจะถามเราเลย มันอยากจะแปรเป็นไปอย่างไรมันก็เป็นไปของมันเองไม่มีเราในนั้นเลย
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่เวทนา เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่มีในเวทนา เวทนาไม่มีในเรา..ดังนี้
+ เมื่อเข้าไปยึดเอาว่า สัญญา ความสำคัญมั่นหมายของใจ จำได้หมายรู้ของใจนี้ๆเป็นเรา แต่ก็บังคับจับต้องให้มันเป็นไปตามใจเราปารถนาไม่ได้ จะบังคับให้มันจำเรื่องนี้ๆ สิ่งๆที่ตนพอใจยินดีก็ไม่ได้ บังคับให้มันลืมเรื่องนี้ไม่จำเรื่องราวสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นหรือดับไปดั่งใจปารถนาก็ไม่ได้ แม้เมื่อมันจะเกิดจะสำคัญมั่นหมายสิ่งใดๆของใจไว้มันก็ไม่ได้มีความจดจำเรื่องของเราเลย จำเรื่องนั้นเรื่องนี้สิ่งภายนอกไปหมดไม่มีเราเลย จำรูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพพะ ธรรมมารมณ์นั่นโน่นนี่ไปทั่ว แต่ในความจำได้หมายรู้ ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจนี้ๆไม่มีเราในนั้นเลย
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่สัญญา สัญญาไม่ใช่เรา เราไม่มีในสัญญา สัญญาไม่มีในเรา..ดังนี้
+ เมื่อเข้าไปยึดเอาว่า สังขารเป็นเรา แต่ก็บังคับจับต้องให้มันเป็นไปตามใจเราปารถนาไม่ได้ จะบังคับให้มันตรึกนึกปรุงแต่งเรื่องนี้ๆที่ตนพอใจต้องการก็ไม่ได้ ไม่ให้ไปปรุงแต่งตรึกนึกคิดสิ่งอื่นๆที่ตนไม่ต้องการก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นหรือดับไปดั่งใจปารถนาก็ไม่ได้ มันปรุงแต่งตรึกนึกเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปทั่ว แต่ไม่เคยปรุงแต่งตรึกนึกถึงเราเลย ไม่มีเราในนั้นเลย
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่สังขาร สังขารไม่ใช่เรา เราไม่มีในสังขาร สังขารไม่มีในเรา..ดังนี้
+ เมื่อเข้าไปยึดเอาว่า วิญญาณเป็นเรา แต่ก็บังคับจับต้องให้มันเป็นไปตามใจเราปารถนาไม่ได้ จะบังคับให้มันรู้แต่สิ่งที่เราต้องการก้ไม่ได้ ไม่ให้รู้สิ่งที่เราไม่ต้องการก้ไม่ได้ มันเกิดมารู้ของมันเอง เมื่อสิ่งที่ปรุงแต่งไรๆที่เกิดขึ้นให้มันรู้ดับ ความที่มันรู้ในสิ่งนั้นๆก็ดับตามไป ไม่เป็นไปตามที่เราบังคับได้เลย แม้เราหมายจะบังคับให้มันรู้ของจริงสภาวะธรรมจริงเท่านั้นไม่ไปรู้อย่างอื่นแต่เราก็บังคับมันไม่ได้เลย มันกลับรู้ทุกสิ่งที่เป็นสมมติไม่รู้ของจริงเลย สิ่งที่มันรู้คือสมมติทั้งหมดความตรึกนึกคิดอันกิเลสเร่าร้อนปรุงแต่งทั้งหมด ไม่มีเราเลยที่มันรู้
ดังนั้น เราจึงไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณม่ใช่เรา เราไม่มีในวิญญาณ วิญญาณไม่มีในเรา..ดังนี้

- ก็เมื่อรู้ว่า เราไม่ใช่สิ่งนั้นสิ่งนี้ เราไม่ใช่คนนั้นคนนี้ เราไม่สำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่ได้ประเสริฐเลิศเลออย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่ใช่ผู้มีบุญบารมีเหนือผู้อื่นอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่ใช่ผู้ควีตีตนเสมอใครอย่างนั้นอย่าง ไม่มีสิ่งใดที่เห็นว่าควรแก่เราหรือไม่ควรแก่เรา ไม่มีเ้ราในสิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่มีในเรา แม้ขันธ์ ๕ หรือ ธาตุ ๖ อันเรามีใจครองอยู่นี้ ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา แล้วเราจะไปแสวงหาหมายเอาสิ่งใดว่าเป็นเรา ว่าเราควรได้ ว่านี่ควรแก่เราได้เล่า ก็เมื่อความไม่มีตัวตนประจักษ์แจ้งอยู่ดังนี้แล้ว
ดังนั้น ความไปหมายว่าสิ่งนี้ๆเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นมีในเรา เราควรและไม่ควรแก่สิ่งนั้น สิ่งนั้นควรและไม่ควรแก่เรา ย่อมนำความทุกข์และความฉิบหายอันเป็นมหาทุกข์มาให้ เราจึงไม่ควรเอาสิ่งไรๆ เรื่องราวๆมาเป็นที่ตั้งแห่งใจให้ยึดมั่นว่าเป้นตัวตนของเรา ของเขาให้เกิดทุกข์อีก ละความเป็นตัวตนเหล่านั้นเสียจึงจะไม่ทุกข์อีก




สรูป

ให้พิจารณาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ อายตนะ ๑๒ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นไม่มีในเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่มีความสำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ควรและไม่ควรแก่เรา ไม่มีสิ่งนั้นสิ่งที่ควรหรือไม่ควรแก่เขา เราไม่ดีเลิศเกิดกว่าใครกว่าสิ่งใดเพราะต่างยังขันธ์ ๕ อันที่รอแต่วันจะเสื่อมเหมือนกัน บังคับให้เป็นไปดั่งใจไม่ได้เหมือนกัน กล่าวโดย อายตนะ ๑๒ คือ
- ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ อันใดนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้ไม่มีในเรา สิ่งเหล่านี้ไม่อยู่ใต้บังคับบัญญาเรา เราไม่สามารถจะยื้อยึดจับต้องให้มันเป็นไปดังใจได้
- รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ไรๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีความสำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ควรและไม่ควรแก่เรา ไม่มีสิ่งนั้นสิ่งที่ควรหรือไม่ควรแก่เขา เราไม่ดีเลิศเกิดกว่าใครกว่าสิ่งใดเพราะต่างยังขันธ์ ๕ อันที่รอแต่วันจะเสื่อมเหมือนกัน
- ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นสิ่งไม่ที่ไม่มีตัวตนให้เกิดความทุกข์เร่าร้อนกายใจ จิตมันรู้แต่สมมติที่กิเลสสร้างล่อหลอกว่าสิ่งนี้ๆเป็นเรา  เป็นเขา เป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ แล้วจิตมันก็ยึดเอาแต่สมมตินั้นมาจนเห็นเป็นตัวตน ทั้งที่จริงๆไม่มีสิ่งไรๆนอกจากสภาวะธรรม ไม่มีสิ่งไรๆที่เป็นตัวตนเลย




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2015, 11:03:30 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #81 เมื่อ: เมษายน 16, 2015, 10:37:10 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๓

๓.อสุภสัญญา

ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า
ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้
ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ

เพราะรู้จักอนัตตาสัญญาตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากอัตตสัญญา จนทำให้เรารู้ว่า

- อสุภะสัญญานี้ พระพุทธเจ้าให้เห็นจนเกิดปัญญาเป็นวิปัสสนาในตน ไม่ได้ให้ไปมองที่ภายนอก มองเข้ามาเห็นในกายเรานี้แลว่า เป็นสิ่งปฏิกูล มีอาการทั้ง ๓๒ เป็นของที่เน่าเหม็นน่าเกลียดไม่น่าพิศมัยใคร่ยินดี ควรทำให้แจ้งซึ่งความสุขอันพ้นจากปฏิกูลของเน่าเหม็นไม่งามทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งเรานี้จะเข้าถึงส่วนนี้ได้ตามจริงนั้น ต้องอาศัยสมาธิ มีอุปจาระสมาธิ มีปฐมฌาณเป็นต้น แม้มีสมาบัติก็ตามแต่หากยังเข้าไม่ถึงซึ่ง อนิจจสัญา และ อนัตตาสัญญา ก็จะไม่สามารถม่างกายออกมาได้ แม้จะม่างออกมาได้หากไม่มีบุญเก่าก็ไม่สามารถที่จะเกิดความเบื่อหน่ายที่ยังความไม่เสื่อมให้เกิดขึ้นอันเป็นโลกุตระได้เลย จะม่างร้อยครั้งก็ยังมีอนิจัง อนัตตาอยู่ดังเดิม เพราะจิตเรานี้มันสะสมกิเลสตัณหาว่าเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืน ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเราตัวเขามานับไม่รู้กี่อสงไขย กี่แสนมหากัปป์ มันยังไม่เคยได้รู้ของจริงจนมากพอที่จะขนที่เลสอันเป็นก้อนที่มีมากแม้จักรวาลนี้ก็ไม่พอเป็นภาชนะกักเก็บมันออกหมด ดังนั้นการม่างกายนี้จึงเป็นธรรมขั้นสูงเพราะต้องมีสัมมาทิฐิก่อน มีจิตเป็นกุศลดีแล้ว ตั้งมั่นชอบดีแล้ว เป็นเหตุให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามจริง ผู้ที่จะม่างกายนี้จึงมีอยู่น้อย ส่วนมากจะมีแต่สายพระป่าเท่านั้น เพราะพระสายพระป่าท่านตั้งด้วยเจโตวิมุตติ มีศีลเป็นฐานแห่งกุศลทั้งปวง ตั้งสติกำกับอยู่ในอินทรีย์สังวร เพียรเจริญในสมาธิเป็นกำลังให้สังขารด้วยพละ ๕ และ สติปัฏฐาน ๔ จนเกิดสมาธิตั้งมั่นชอบควรแก่งานเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ทำให้รู้อนิจจสัญญาและอนัตตสัญญแจ้งแก้ใจก่อนเป้นหลักแล้วมีชณะจิตนั้นสืบต่อลงม่างกายออกเป็นอาการทั้ง ๓๒ ไม่เกี่ยวข้องรวมกันให้ขาดจากกัน จากนั้นก็จะมาพิจรณาดูว่าแต่ละอาการที่เราม่างมันออกมาจากกายอันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ ไม่ว่าเราหรือใครที่ว่าสวยว่างาม มันมีเราหรือใครในนั้นไหม มีสิ่งใดควรแก่ความใคร่พิศมัยอีกไหม เมื่อแยกม่างออกมาตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นตามลำดับออกมาก็ไม่เห็นจะมีเราในอาการนั้นๆ ในอาการนั้นๆก็ไม่มีเราเลย เมื่ออาการทั้ง ๓๒ นี้ไม่มีในเรา เราไม่มีในอาการทั้ง ๓๒ เหล่านี้ รูปขันธ์ก็พังทลายลง จิตไม่ยินดีในรูปขันธ์อีก ปัญญาก็เกิดขึ้นตัดสักกายทิฐิ แสดงผลให้ถึงซึ่งมรรค ๔ ผล ๔ มีพระโสดาบัน พระสกิทาคามีเป็นเบื้องต้น ดังนี้
- ดังนั้น อสุภสัญญา หรือ อาการทั้ง ๓๒ นี้เมื่อจะเจริญก็ต้องเข้าถึงความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนอันแท้จริงที่ถึงใจออกมาจากใจให้ได้ก่อน แล้วจึงนำเอากรรมฐานนี้มาพิจารณาด้วยความมีจิตที่ตั่งมั่นชอบควรแก่งานตั้งแต่อุปจารสมาธิ หรือ ปฐมฌาณเป็นต้น เมื่อรูปขันธ์พังลมแยกกออกเป็นกองๆแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ ก็พังลงไม่สมบูรณ์ จิตจะเริ่มน้อมพิจารณาในของจริงเห็นเพียงสภาวะธรรมที่ไม่มีตัวตน แยกขันธ์ ๕ ออกให้หมดเป็นกอง จนไม่เหลืออะไรอีก การม่างกายนี้โดยอสุภสัญญาจึงเป็นฐานสำคัญให้แยกซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ ออกเป็นกองดังนี้
- หากเมื่อผู้ไม่มีสมาธิ ยังไม่ถึงซึ่งอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา เมื่อจะเจริญพิจารณาในอสุภสัญญานี้ก็ให้พึงจับเอาอาการใดอาการหนึ่งในอาการทั้ง ๓๒ ประการนี้มาเป็นอารมณ์พิจารณาควบคู่ไปพร้อมกับอานาปานสติเพื่อยังสมาธิให้เกิดขึ้นพร้อมกับสติกับกุศลวิตกที่สังขารอยู่นั้น เมื่อมีสมาธิเห็นตามจริงได้ อนิจจัง อนัตตาก็จะเกิดขึ้นแจ้งแก่ใจ แยกม่างกายออกจนไม่เหลือรูปขันธ์ได้เอง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2015, 01:56:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #82 เมื่อ: เมษายน 16, 2015, 12:13:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๔

๔.อาทีนวสัญญา

ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

เพราะรู้จักอนัตตาสัญญาตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากอัตตสัญญา จนทำให้เรารู้ว่า

- ก็กายเรานี้แลมีความเจ็บป่วยอยู่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นไปไม่ได้เลย ร่างกายที่เจ็บป่วยอยู่นี้ก็ไม่ทนอยู่ได้นานย่อมยังความเสื่อมสูญให้เกิดขึ้น ก็ร่างกายคือรูปขันธ์ หรือ ธาตุ ๕(ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ) เมื่อได้กอปรกันเกิดขึ้นไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึกอะไรเลยทั้งสิ้น แต่อาศัยวิญญาณนี้เข้าไปยึดครอง จึงเกิดมีชีวิตเจริญขึ้นมา
- ก็เมื่อกายเรานี้มีความแปรปรวนของธาตุ ๕ ไป ย่อมเกิดโรคเกิดอาพาธกำเริบขึ้น จะหมายบังคับว่าขอกายของเราจงอย่าเป็นอย่างนี้เลย ขอจงหายเจ็บป่วยไป ขอจงมีกายอันวิจิตรดีงามก็ไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในฐานที่จะบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ เพราะกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน
- ดังนั้น รูปขันธ์ หรือ ธาตุ ๕ คือ กายนี้ เป็นที่ประชุมไปด้วยโรค เป็นของที่เสื่อมสูญสลาย ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับให้เป็นไปดั่งใจก็ไม่ได้ มันก็เกิดจะดับจะแปรสภาพเปลี่ยนไปยังไงมันก็เป็นไปของมันเอง ไม่ใช่เราไปบังคับให้มันเป็นดั่งใจได้
- เมื่อกายนี้ยังความแปรเปลี่ยนไปของธาตุให้เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ขี้ ไม่เยียวก็ไม่ได้ ทนร้อน ทนหนาว ทนเจ็บ ทนปวดก็ไม่ได้ ซ้ำยังเปาะบางเดี๋ยวเป็นโรคนั้นโรคนี้กำเริบขึ้น เมื่อมีโรคอันกำเริบขึ้นกายก็ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ดูเป็นที่น่ารังเกลียดไม่น่าใคร่ปารถนายินดี เป็นที่น่าขยะแขยงต่อผู้พบเห็น
- เมื่อโรคกำเริบขึั้นก็รังแต่จะทำลายให้กายนี้ดับสูญอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะเป็น โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ โรคทั้งหลายเหล่านี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนล้วนเกิดขึ้นที่กายทั้งนั้น เราจะยังความใคร่ในกายอันเป็นที่ประชุมไปด้วยโรคนี้อีกหรือ จะปารถนาไม่หมดจรดยั่งยืนนานก็ไม่ได้ บังคับให้เป้นดั่งใจก็ไม่ได้
- เมื่อกายนี้เป็นรังของโรคภัยไข้เจ็บเป็นรังของเชื้อโรคทั้งหลายเป็นของไม่สะอาด เป็นของไม่ยั่งยืน ไม่มีตัวตนดังนี้แล้ว เราจึงพึงควรจะละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในกายหรือกองธาตุอันเป็นที่ประชุมไปด้วยโรคและของเน่าเหม็นทั้งปวงนี้ไปเสีย ให้พึงตั้งจิตละเสียซึ่งรูปขันธ์ เห็นมันสักแต่เป็นเพียงอาการทั้ง ๓๒ ที่เน่าเหม็นไม่งาม ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนในอาการทั้ง ๓๒ นั้นเมื่อม่างกายออกมา เป็นที่ประชุมของโรคที่น่าขยะแขยง ตุ่มผื่น น้ำดี น้ำหนองกำเริบบ้าง เห็นกายนี้เป็นเพียงแค่ธาตุ เราสักแต่ยืมมันมาใช้เพื่อเจริญในกุศล กรรมฐาน ศีล ทาน ภาวนาเท่านั้น เมื่อถึงคราวก็ต้องสละคืนมันไป เมื่อเราตายมันก็ไม่ได้ตายตามเราไปด้วย จะมีก็เพียงบุญกุศล บาปกรรมอกุศลเท่านั้นที่จะติดตามส่งผลต่อเราไปทุกภพทุกชาติไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเราพึงเพิกถอนจิตของจากรูปขันธ์ ออกจากอาการทั้ง ๓๒ ออกจากที่ประชุมโรค ออกจากธาตุ ๖ เหล่านี้ไปเสีย แล้วพึงตั้งจิตจับเอาแต่กุศลจิต กุศลกรรม กุศลธรรมทั้งปวงไรๆที่เราได้สร้างและทำมาดีแล้ว ตั้งตนอยู่ในมงคล ๓๘ ประการ ทั้งศีล ทาน ภาวนา ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ บุพการีไรๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2015, 02:08:21 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #83 เมื่อ: เมษายน 16, 2015, 01:16:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๕

๕. ปหานสัญญา ๑

ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.

เพราะรู้จักสภาวะธรรมตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากอกุศลวิตก ความตรึกนึกปรุงแต่งสมมติทั้งปวง จนทำให้เรารู้ว่า

- เมื่อรู้เห็นตามจริงว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ อาการทั้ง ๓๒ ธาตุ ๖ ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน มีแต่ความแปรปรวน เสื่อมโทรม ดับสูญไป ไม่จีรังยั่งยืนอยู่ได้
- เมื่อรู้เห็นตามจริงว่า ขันธ์ ๕ อาการทั้ง ๓๒ ธาตุ ๖ อายตนะ ๑๒ ไม่อาจจะบังคับให้เป็นไปดั่งใจเราได้ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเราหรือของใครจริง จะหมายเอาว่าสิ่งนี้ๆเป็นเรา เป็นของเรา สิ่งนี้ๆเป็นเขา เป็นของเขา สิ่งนี้เหมาะควรแก่เรา-สิ่งนี้ไม่เหมาะควรแก่เรา สิ่งนี้เราควรมีควรได้ควรเป็นของเรา-สิ่งนี้เราไม่ควรจะเกิดมีแก่เรา เราเป็นคนสำคัญอย่างนั้นอย่างนี้ๆ สิ่งนี้ไม่เหมาะควรแก่เขา สิ่งนี้ควรเกิดแก่เขาไม่ใช่เราก็ไม่ได้ เมื่อปารถนาไปเช่นนั้นสำคัญมั่นหมายเอาเป็นตัวตนอย่างนั้นๆย่อมยังความทุกข์และความฉิบหายมาให้ เพราะต้องตะเกียกตะกายไขว่คว้าดิ้นรนเร่าร้อนเอากับสภาวะธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนของเราหรือใครหรือสัตว์ใดหรือสิ่งใด แม้จะหมายเอาตัวตนในสิ่งไรๆ บุคคลใด สัตว์ใด สภาวะธรรมไรๆทั้งปวงก็ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นไปดังใจเราปารถนาได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะธรรมไรๆนามรูปใดๆในรูปกายนี้ก็ดี ขันธ์ทั้ง ๕ ก็ดี กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งปวงที่เกิดมีในภายนอก-ภายในก็ดี ไม่มีตัวตนของเราของเขาเลยสักอย่าง
- รูปที่รู้ทางตาที่เรามองเห็นนั้นทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ รักหรือเกลียดกลัว เราจะหมายไปยึดครองรูปนั้นว่าเป็นเรา ให้มาเป็นของเราแล้วกระทำบังคับให้เป็นไปดั่งใจก็ไม่ได้ จะบังคับให้ตารับรู้แต่รูปที่ชอบใจ ให้รูปภายนอกมีแต่รูปที่พอใจเป้นที่ต้องการก็ไม่ได้
- เมื่อมีคนด่าคนพูดเสียงหรือชื่อเรา ชื่อนั้นหรอที่เป็นเรา ไม่มีใครเรียกชื่อนั้นเราก็ไม่ได้ตาย จะมีคนพูดด่านินทาหรือสรรเสริญเรา เราก็ยังคงหายใจอยู่เป็นปกติ ขาไม่ขาดหูไม่หนวกเพราะได้ยินคำนินทาสรรเสริญนั้น แม้หมายจะให้หูนี้ได้ยินแต่เสียงที่พอใจไม่ได้ยินเสียงที่เกลียดชังก็ไม่ได้ จะบังคับให้เสียงที่ไม่พอใจเปี่ยนเป็นเสียที่ยินดีก็ไม่ได้
- จมูกได้กลิ่นหอมหรือเหม็น กลิ่นที่เหม็นเราจะบังคับให้มันหอม หรือ ให้จมูกรู้แต่กลิ่นที่หอมได้มั้ย ก็ไม่ได้
- รสชาติไรๆที่อร่อยกลมกล่อมเป็นที่ชอบใจหรือรสชาติแสบลิ้นไม่เป็นที่พอใจ เมื่อเรารู้รสนั้นแล้วเราตายรึไม่ แม้หมายจะบังคับให้มันเปลี่ยนเป็นรสชาติที่พอใจที่นุ่มลิ้น หรือ ให้ลิ้นนี้รับรู้แต่รสที่ชอบใจเท่านั้นได้หรือไม่ ก็ไม่ได้
- เมื่อเรารู้กระทบทางกายอันเป็นที่สบายหรือเป็นที่เจ็บปวดทุกข์ไม่สลายกายเราจะบังคับว่าให้กายนี้จงไม่รู้สึกแต่ที่สบายและให้สิ่งที่มากระทบนั้นทีแต่อันเป็นที่สบายไม่เจ็บปวดกาย ก็ไม่ได้
- เมื่อรู้กระทบทางใจไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ชอบหรือเกลียด สุขหรือสุข ยินดี-ไม่ยินดี ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ ความคิดปรุงแต่งเรื่องราวไรๆ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจักทำให้เราตายหรือไม่ ก็ไม่ตาย มันก็เกิดมีของมันเป็นปกติตามธรรมชาติของสังขาร จะบังคับให้มันรู้เกิดแต่สุข จดจำแต่สิ่งที่บยินดี คิดแต่สิ่งที่ชอบก็ไม่ได้ จะบังคับให้ใจมันรู้แต่สุข ไม่รับรู้ทุกข์ ให้รู้แต่ความจำที่ใคร่ยินดี ให้รู้แต่ความคิดอารมณ์ตวามรู้สึกที่พอใจก็ไม่ได้
- อายตนะ ๑๒ จึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราก็ไม่ได้

- ที่เราเห็นว่านี่เป็นเรา ตัวตนของเรา นั่นเป็นตัวตนของเขา นั่นเป็นสัตว์ สิ่งของไรๆแล้ว เมื่อพิจารณามีกายนอกก็ดีจะผิวพรรณขาวสวยงาม หล่อเหลา หน้าอกใหญ่ หล่อตุง กลิ่นหอมหวน เสียงไฟเราะ ผิวเนื้อนุ่ม เย้ายวนใจไปต่างๆนาจนเกิดกำหนัดบ้าง กับที่มีผิวทราม ดำสกปรก ไม่งาม อกเล็ก กลิ่นเหม็น เสียงไม่ไพเราะ ผิวเนื้อกระด้างแข็ง น่าเกลียดน่าขยะแขยงนั้น เวลาโดนของมีคมบาดมีน้ำสีแดงๆที่เรียกว่าเลือดไหลออกมาเหมือนกันไหม เวลาเป็นแผลอักเสบมีน้ำหนอง น้ำเหลืองไหลเยิ้มออกมาเหมือนกันไหม เวลาถูกของแข็งกระทบตีจะเขียวฟกช้ำต่อมาก็เป้นรอยคล้ำม่วงแดงเหมือนกันไหม ไม่มีกายภายนอกจะดูละเอียดหรือหยาบอ่างไรแต่มันก็ไม่ต่างกันเลยใช่ไหม ย้อนมาดูที่กายเรานี้มันก็เป็นเหมือนกายนอกที่เราพิจารณาไปไม่ต่างกัน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วลองน้อมดูตัวตนในเราหรือเขาสิว่ามีสิ่งใดหนอที่เป็นเราหรือเขาบ้าง ผมหรือที่เป็นเราหรือเขา ขนหรือที่เป็นเราหรือเขา เล็บหรือที่เป็นเราหรือเขา ฟันหรือที่เป็นเราหรือเขา หนังหรือที่เป็นเราหรือเขา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่ร่วงที่เราตัดออกมาที่เราขัดออกมานี้ มันเป็นเราไหม พอมันหลุดออกไปแล้วเราตายตามมันไปไหม พอมันหลุดออกจากกายเราแล้วจะเอาไฟเผาจนไหม้เกรียมย่อยสลายไปในอากาศแล้วเราเร่าร้อนถูกเผาไหม้เกรียมตายสลายไปในอากาศด้วยไหม ไส้ติ่งบ้าง ตับบ้าง ไตบ้าง ปอดบ้าง เมื่อเราตัดออกมากองอยู่เบื้องหน้าแล้วเราตายไปกับมันไหมพอเอาออกมาข้างนอกแล้วเขาจะเอาไปแช่เย็น กรีดผ่าตรวจสอบ เอาไปขายต่อให้ใคร แล้วเราไปรู้สึกเย็น เจ็บปวด ถูกขาย ตายไปกับมันบ้างไหม ย่อมไม่เป็นเช่นนั้นเลย เมื่อจะหมายสัมผัสในอาการทั้ง ๓๒ นั้นก็ไม่เกินลักษณะที่ อ่อนแข็ง เอิบอาบซึมซาบ เคลื่อนตัวพัดขึ้นลงตรึงไหว ร้อน เย็นเลย มีช่องว่างเลยใช่ไหม ลักษณะอาการทั้งหลายนี่เป้นคุณลักษณะของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ กายเรานี้ อาการทั้ง ๓๒ ประการนี้ก็เป็นแค่ธาตุทั้งปวงดังนี้ เมื่อธาตุ ๕ มีความแปรปรวนดับสูญไปมันก็เกิดการไม่สมดุลย์ทำให้เกิดสภาวะสูญเสียเกิดเป็น ปวดขี้ ปวดเยี่ยว หิวข้าว กระหาย โรคลม โรคน้ำดี น้ำเหลือง โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย เปื่อยเน่าผุพังเป้นที่ประชุมไปด้วยโรค ดังนั้นเราจึงไม่มีในอาการทั้ง ๓๒ อาการทั้ง ๓๒ จึงไม่มีในเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

** เมื่อเห็นว่าขันธฺ ๕ อายตนะ ๑๒ อาการทั้ง ๓๒ ธาตุ ๖ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนจีรัง ไม่คงทนนาน มีความแปรเปลี่ยนเสื่อมสูญ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่องเรา ไม่ใช่ตัวตน  เป็นทุกข์แล้ว ม้างกายออกมาแล้วก็ไๆม่เห้นสิ่งไรๆที่เป็นเราเป็นเขาเป็นใครเป็นสัตว์ใดเป็นสิ่งใด เมื่อตายไปสิ่งเหล่านี้ตายตามแต่ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย สิ่งที่ตามเราไปด้วยได้คือ บุรพกรรม วิบากกรรม กุศลกรรม อกุศลกรรม บาปและบุญเท่านั้นที่จะเป็นแดนเกิด เป็นผู้ติดตาม เป็นที่พึ่งพาอาศัย เราจะทำกรรมได้ไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือว่าจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
..เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราก็ต้องเพียรเจริญให้เกิดขึ้น เพียรสะสม เพียรอบรมรักษาให้คงอยู่ซึ่ง กุศลผลบุญทั้งปวง จะได้ไม่ล่วงลงสู่นรกภูมิหรือสิ่งที่ชั่ว จะได้หลุดพ้นจากความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ จะได้หลุดพ้นจากที่ประชุมโรค จะได้ถึงอมตะธรรมและที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ
**

- เมื่อเราได้เจริญปฏิบัติตามที่หลวงพ่อเสถียร, หลวงปู่แหวน วัดป่าหนองนกกรด, หลวงปู่บุญกู้, หลวงปู่เยื้อน โอภาโส ก็ยังจิตปุถุชนอย่างเราให้ได้เข้าถึงได้มีโอกาสได้เห้นได้สัมผัสตามจริง จนถึงสภาวะความเป็นผู้รู้ตามจริงด้วยปัญญา ที่ไม่ใช่แค่คำบริกรรมและไม่ใช่แค่ความทำไว้ในใจระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็ได้เห็นดังนี้ว่า
..อกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวงเกิดมาแต่วิตกที่กิเลสสร้างขึ้นหลอกให้จิตยึด วิตกวิจารล้วนเกิดขึ้นโดยสมมติ อาศัยเจตนาเข้าไปทำไว้ในใจอันเกิดเป็นลักษณะที่หวนระลึกตรึกถึงสัญญาไรๆบ้าง อาศัยความรู้ในความสำคัญมั่นหมายของใจ ความจำได้หมายรู้ในสิ่งนั้นๆสภาวะธรรมนั้นๆบ้าง ดังนั้นแล้ว เมื่อเจตนาเกิดขึ้น สัญญาเกิดขึ้น สภาวะธรรมจริงที่รู้ผัสสะก็ได้ดับไปแล้ว แต่เรื่องราวอาการไรๆเวทนาไรๆยังคงอยู่ได้เพราะอาศัยจิตเข้าไปยึดเอาสัญญานั้นๆแล้วเกิดความตรึกนึกปรุงแต่งอันเป้นไปในสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นหลอกจิตให้เข้ายึดไปทั่ว ดังนั้นเมื่อวิตกวิจารเกิดขึ้นย่อมยังสมมติอกุศลธรรมอันลามกจัญไรให้เกิดขึ้น วิตกนี้จึงไม่เป็นสิ่งที่ควรยึดเอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตเลย เพราะประกอบไปด้วยอกุศลธรรม พึงทำจิตให้เป็นปฏิฆะต่อวิตก ไม่ยินดีในความตรึกนึกคิดไรๆที่มีเกิดขึ้น พึงตั้งรู้เพียงว่าเราตรึกนึกคิดอยู่ คิดกุศลหรืออกุศล รัก โลภ โกรธ หลง มีอาการของจิตเป็นไฉนเท่านั้น
- เมื่อรู้ว่าเมื่อใดที่วิตกเจตสิกมีเกิดขึ้น เมื่อนั้นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นย่อมตั้งอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว ซึ่งวิตกเจตสิกเป็นธรรมชาติของสังขารขันธ์ที่มีเกิดขึ้น มันจะเกิดมันก็เกิดขึ้นเองของมัน มันจะดับก็ดับไปเองของมัน จะบังคับให้มันไปคิดเรื่องที่ชอบ ละเรื่องที่ไม่ชอบก็ไม่ได้ ดังนั้นทางที่เราจะปหานอกุศลวิตกนี้ให้ลดลงจนสิ้นไปได้นั้นก็ต้องมีความเพียร อันเรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ อาศัยศรัทธาพละให้เกิดขึ้นเป็นฐาน
- อย่างเราๆนี้ผู้ยังเป็นปุถุชนอยู่หมายจะเจริญในปธาน ๔ ได้ก็ต้องมีศรัทธาในพระพุทธเจ้าก่อนแล้วระลึกเอาคุณที่ว่าด้วย "อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ“ คุณที่ว่าด้วยความแห่งความเป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่าของพระพุทธเจ้ามาน้อมปฏิบัติดังนี้คือ

พึงระลึกว่า พระตถาคตเจ้าผู้ประเสริฐสุดในจักรวาลนี้ ได้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกโดยวิโมกข์ ๘ เท่าที่เราพอจะจำได้โดยย่อพระองค์ทรงตร้สสอนว่า ให้เจริญวิโมกข์ ๘ ไปใน ศีล พรหมวิหาร ๔ อันบุคคลเจริญโดย พละ ๕ บ้าง, มรรค ๘ บ้าง, โพชฌงค์ ๗ บ้าง, วิมุตติ บ้าง เป็นต้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละแล้ว สละคืนแล้ว ไม่เสียดายยึดมั่นติดใคร่ในขันธ์ ๕ นี้แล้ว ด้วยรูปว่า แม้ชาติหน้าจะไม่มาเกิดอีกก็ไม่ล่วงสู่นรกภูมิ แม้ชาติหน้าต้องมาเกิดอีกก็ไม่ล่วงเข้าสู่อบายภูมิ เพราะได้เจริญธรรมอันประกอบด้วยกุศลทั้งปวงเหล่านี้ไปแบบไม่มีประมาณยังให้ถึงความหลุดพ้นนั้นแล้ว

โดยตัวเรานี้มีปัญญาน้อยนิด ยังปุถุชนอยู่ที่พอจะเห็นได้เจริญได้นั้น ก็สงเคราะห์ลงในพละ ๕ อันมี ศรัทธาพละเป้นเบื้องต้นเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อบาป บุญ คุณ โทษ มีโอกาสได้สัมผัสรู้เห็นในสมมติทั้งปวงอันกิเลสสร้างขึ้นให้จิตยึดได้บ้าง จึงพอจะเห็นทางดังนี้ว่า

- มี ศีล อันเป็นเครื่องพ้นจากทุกข์อันเร่าร้อน เป็นศีลที่ละเว้นจากความเบียดเบียนผู้อื่นอันที่ตนได้ทำมาดีแล้ว แผ่ไปในทุกทิศที่มองเห็นอยู่เป็นเบื้องหน้า
- มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันน้อมไปในการสละไม่มีอคติต่อใคร แผ่เอาบุญกุศลไรๆที่ตนมีอยู่นี้ที่ได้เจริญมาดีแล้วงดงามแล้วนั้นสละให้ไปสู่ สรรพสัตว์ทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง เทวดาทั้งปวง พรหมทั้งปวง อมนุษย์ทั้งปวง มารทั้งปวง แบบไม่จำกัด ไม่มีประมาณแผ่ไปทั่วแล้ว ให้เขาได้เป็นสุข พ้นจากทุกข์ คงไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหน จนถึงความวางใจไว้กลางๆไม่ยินดียินร้ายด้วยเห็นถึงความเป็นกรรมทายาทของตน
- มี ทาน คือ การสละให้โดยฆ่าความโลภตะหนี่นี้ได้ ความสละสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้ที่พอจะช่วยเขาได้บ้างไม่มากก็น้อยตามแต่กำลังตนให้เขาโดยหวังให้ผู้รับเป็นสุขพ้นจากทุกข์ด้วยสิ่งที่เราสละให้นั้น มีแก่บิดา มารดา บุพการี(นี่เป็นความกตัญญู กตเวที) ญาติ พี่ น้อง มิตรสหาย เป็นต้น แล้วแผ่กระจายไปทั่วทุกทิศตามพรหมวิหาร ๔ นั้น
- มี ภาวนา คือ สมถะ+วิปัสสนา อันเป็นเครื่องอบรมจิตให้ตั้งมั่นชอบเป็นกุศลแล้ว ฆ่าแล้วซึ่งจากกิเลสนิวรณ์ทั้งปวงอันได้ทำมาดีแล้ว อันเป็นไปเพื่อความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ แล้วแผ่เอาผลกุศลจากกรรมฐานและความพ้นทุกข์นั้นไปทั่วทุกทิศ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2015, 02:45:19 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #84 เมื่อ: เมษายน 17, 2015, 09:50:08 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๕

ปหานสัญญา ๒

ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.

เพราะรู้จักสภาวะธรรมตามจริง ได้เรียนรู้ทุกข์จากอกุศลวิตก ความตรึกนึกปรุงแต่งสมมติทั้งปวง จนทำให้เรารู้ว่า

- ทีนี้เมื่อแผ่ไปอย่างนี้แล้วจิตจะยังความผ่องใสดับซึ่งอกุศลวิตกอันลามกจัญไรทั้งปวง
- เมื่อบางครั้งที่เราแม้แผ่ไปอย่างนี้แล้วยังคงมีอาการที่ขัดใจ ขุ่นเคืองใจ ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ บุคคลไรๆ สัตว์ไรๆ อมนุษย์ตนใด เทวดาองค์ใด เทพองค์ใด พรหมองค์ใด มารตนใดอยู่ เราก็จะพึงกำหนดจิตดังนี้
๑. แผ่เมตตาให้แก่ตนเองก่อนเพื่อใ้ตนเองปราศกิเลสอันเร่าร้อนและความทุกข์กายใจทั้งปวง จากนั้นแผ่เมตตาความปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้ แผ่เอากุศลผลบุญทั้งปวงที่เรามีไปสู่เจ้ากรรมนายเวรให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันเมื่อเราถึงธรรมเห็นธรรมก็ขอให้เขาได้รู้ตามธรรมอันดีที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นด้วย แล้วพึงเจริญจิตขึ้นว่าเราเป้นมิตรที่ดีต่อเจ้ากรรมนายเวรแล้วทเขาได้สละเวรพยาบาทต่อเราแล้ว เราเป็นมิตรที่ดีต่อสัตวืทั้งปวง มนุษย์ทั้งหลาย สัมภเวสี  พระภูมิเจ้าที่ เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย
๒. หวนระลึกถึงศีลานุสสติ(ศีลอันงามไรๆที่เราให้ความสำคัญ) จาคานุสสติ(ทานอันใดที่เราได้ทำมาดีแล้ว บริบูรณ์งดงามแล้ว) เทวตานุสสติ(บุญกุศลอันใดที่เทวดาเหล่านั้นได้ทำแล้วขึ้นไปจุติเสพย์สุขอยู่บนสวรรค์ชั้นต่างๆแล้วเราก็เจริญเอาบุญนั้น กล่าวโดยย่อคือ เจริญใน มงคลสูตรทั้ง ๓๘ ประการ) ทุกๆครั้งเราจะเจริญโดยลำดับอย่างนี้คือ

    ก. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออก คือ
- อรหัง ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงแล้วของพระพุทธเจ้า
- พุทโธ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็น
        ๑. ผู้รู้ (ปัญญารู้เห็นตามจริง เห็นอริยะสัจ ๔ สัมมาทิฐิ ยถาภูญาณทัสสนะ รู้สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นให้จิตยึดให้เสพย์ให้ลุ่มหลงกับสภาวะธรรมจริงๆ)
        ๒. ผู้ตื่น (ด้วยเกิดปัญญารู้เห็นสมมติและสภาวะธรรมจริงๆ จึงเป็นผู้ตื่นจากความลุ่มหลงสมมตินั้น ตั้งมั่นเพียรละและดับซื่งอกุศลธรรมทั้งปวง ตั้งอยู่ใน ศีล พรหมวิหาร ๔ ทาน ภาวนา เพื่อให้หลุดพ้นจากสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นให้จิตยึดให้เสพย์ให้ลุ่มหลงทั้งปวงให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้)
        ๓. ผู้เบิกบาน (คือ สัมมาญาณอันใด ความมีปัญญาที่มีลักษณะตัดขาดโดยสิ้นเชิงแล้ว ความสลัด-ความดับ-ความหลุดพ้นจากกองทุกข์กองกิเลสอันเร่าร้อนทั้งปวง ถึงซึ่งสัมมาวิมุตติความหลุดพ้นชอบอันใด)

- เมื่อน้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้ามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งสติความระลึกถึง จิตยังความสงบใจ เป็นสุข มีกุศลธรรมอันใด ความยินดีในการภาวนา ฉันทะสมาธิ และ ปธานสมาธิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกันนั้น

    ข. พึงระลึกถึงศีลอันไม่ขาดไม่ทะลุข้อใด อันที่เราให้ความสำคัญที่สุดแก่ใจ เอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งสติความระลึกถึง ก็จะยังจิตใจเราให้ผ่องใส พร้อมกันนั้นยินดีในการเจริญศีลอันเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อละเว้นจากความเบียดเบียนนั้นสืบไป ยังกุศลธรรมอันใด ฉันทะสมาธิ และ ปธานสมาธิให้เกิดขึ้นพร้อมกันนั้น
(สีลานุสสติ)

    ค. พึงระลึกถึงความกตัญญูรู้คุณของ พ่อ แม่ และ บุพการีทั้งหลาย ให้ระลึกถึงคุณอันประเสริฐที่ท่านมีให้เรา ได้สละให้เรามาดีแล้วนั้น จากนั้นให้พึงระลึกถึงความกตเวทีการที่เราได้กระทำการใดๆเพื่อทดแทนบุญคุณท่านแล้ว นั้นคือ ได้เลี้ยงดู พ่อ แม่บุพการีทั้งหลายอย่างดีแล้วบ้าง ได้ช่วยในกิจการงานต่างๆเพื่อแบ่งเบาภาระท่านแล้วบ้าง ได้ทำในสิ่งที่ดีงามให้แก่ท่านแล้วบ้าง ได้สละให้สิ่งใดๆที่ดีงามเอื้อต่อประโยชน์สุขกายใจให้แก่ท่านแล้วบ้างไม่ว่าจะเป็นอามิสทานหรือธรรมทานไรๆก็ตาม แล้วพึงน้อมระลึกว่าคุณแห่งความกตัญญูกตเวทีนี้เราได้ทำมาดีแล้ว เอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งสติความระลึกถึง ความยินดีเป้นสุขที่กุศลธรรมอันใด ฉันทะสมาธิ และ ปธานสมาธิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกันนั้น
(จาคานุสสติ)

    ง. พึงระลึกถึงเมตตาทานอันใดที่เราได้ทำมาดีแล้ว มีจิตน้อมไปในการสละให้แก่ผู้อื่นมาดีแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของอามิสทาน หรือ กุศลผลบุญไรๆที่มีเรามีที่เราได้สละให้แก่เขา หรือ ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ไรๆที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาดีแล้วได้แบ่งปันไปให้เขาเพื่อให้เขาได้พ้นทุกข์เป็นธรรมทาน โดยเริ่มจาก พ่อ แม่ บุพการี ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง มิตร จนถึงบุคคลใดๆที่ไม่รู้จักก็ดี สัตว์ใดๆ เทวดาใดๆ อมนุษย์ใดๆ พรหมใดๆ บุคคลใดที่เกลียดชังก็ดี มารใดๆ เอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งสติความระลึกถึง กุศลธรรมอันใด ฉันทะสมาธิและปธานสมาธิก็เกิดขึ้นพร้อมกันนั้น
(จาคานุสสติ)

    จ. พึงระลึกถึงว่า เทวดาทั่วหมื่นจักรวาลได้มาประชุมกัน ณ เบื้องหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดมมหามุนีย์ แล้วขอให้พระตถาคตเจ้านั้นได้ทรงแสดงมงคลสูตรอันประกอบด้วยคุณแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายเพื่อใช้ในการเจริญปฏิบัติอันเป็นกำลังแห่งกุศลผลบุญทั้งปวง พระตถาคตเจ้าจึงได้ทรงแสดงมงคลทั้ง ๓๘ ประการนั้นไว้ ซึ่งมงคลสูตรเหล่านี้ บัณฑิตผู้ฉลาดผู้ปารถนาในบุญกุศลและอนมตะสุขพึงเจริญปฏิบัติอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปก็พึงเจริญปฏิบัติอยู่ จนถึงเทวดา เทพเจ้า และ พรหมทั้งหลายทุกชั้นฟ้าทั่วหมื่นโลกจักวาลก็พึงปฏิบัติในมงคลสูตรทั้ง ๓๘ ประการนี้ ดังนั้น ดังนั้นแล้ว ถ้าจะระลึกถึงเทวตานุสสติเป้นอารมณ์ให้ทบทวนตรวจตราดูข้อปฏิบัติทั้งปวงดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ว่าข้อได้เราทำไว้ดีแล้วบริบูรณ์แล้วไว้ที่ควรแก่การคงรักษาไว้ไม่ให้เสื่อม ข้อใดที่เรายังขาดตกอยู่ควรเร่งเพียรให้เกิดขึ้นแล้วรักษาไว้ให้คงอยู่ พึงระลึกว่ายิ่งทำได้มากยิ่งมีบุญกุศลบารมีมาก ยิ่งอยู่สุขสบายบนสวรรค์และเข้าถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้ง่าย โดยพึงระลึก ศรัทธา ศีล จาคะ สุตะ หิริ โอตัปปะ พึงตรวจสอบดูข้อวัตรปฏิบัติดังนี้คือ

มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน

มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ
มงคลที่ ๗ พหูสูต
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา-สามี
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน

มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์

มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก
มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2015, 08:27:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #85 เมื่อ: เมษายน 17, 2015, 03:26:36 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๖

วิราคะสัญญา ๑

ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ - ธัมมโชติ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์  ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

๖.วิราคะสัญญา     
ธรรมที่ทำให้เกิดการสละคืนอุปธิทั้งปวง และธรรมที่ทำให้ตัณหาสิ้นไปโดยอาการเจริญปัญญาให้ใจมุ่งมั่น ต่อการทำลายล้างกิเลสที่เกิดขึ้น


เมื่อเจริญใน สัญญา ๑๐ ทั้ง ๕ ข้อข้างต้น ยังจิตใจให้แจ่มใสเบิกบานแล้ว มีความสงบรำงับจากกิเลส เป็นสุขอันเกิดแต่ความที่เปลื้องจิตจากกิเลสนิวรณ์ทั้งปวงแล้ว อาศัยสัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้เกิดมีสติสังขารอยู่โดยรอบรู้เห็นตามจริงซึ่ง กาย เวทนา จิต ธรรม  ย่อมรู้ตามจริงทันทีว่า จิตอันปราศจากความกำหนัดฝักใฝ่ใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆมันเป็นไฉน มีสุขอย่างไร มันไม่มีความฟุ้งซ่านแบบไหน สมองมันโปร่งมันโล่งไม่ยินดียินร้ายอย่างไร เราจึงได้รู้ความทุกข์อันเกิดแก่ราคะ ฉันทะราคะ กามฉันทะ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งปวงว่ามันเป็นทุกข์ขนาดไหน

- โดยปุถุชนอย่างเราๆนี้แล พึงสัมผัสรับรู้ได้เพียงน้อยนิดเท่าที่จะพอมีปัญญาสัมผัสได้จึงรู้ตามจริงว่า ธรรมชาติขันธ์ ๕ เรานี้แยกกันไม่ได้รวมกันอยู่ มันมีเกิดดับโดยธรรมชาติของมันไปอย่างนั้นแต่ไม่ข้องเกี่ยวกันเลย มันแยกของมันออกเป็นกองๆ ผัสสะจึงไม่มี จิตที่รู้ผัสสะจึงไม่มีเพราะมันแยกกันอยู่ มีความเป็นไปตามธรรมชาติของมัน และจิตเดิมเรานี้มันสงบ แยกกองออกจากขันธ์ ๕ จิตมันทำหน้าที่แค่รู้เท่านั้นไม่มีอื่นอีกเลย แต่อาศัยที่จิตเรานี้มันสั่งสมรับรู้ยึดมั่นเอาแต่สมมติของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมานานไม่รู้กี่อสงไขยมหากัปป์ จึงเข้าไปยึดเอา ผัสสะไรๆโดยเจตนามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต แล้วก็ไปดึงเอาสัญญาบ้างความตรึกนึกปรุงแต่งอารมณ์น้อมเข้ามาหามายึดจึงทำให้ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ข้องเกี่ยวกันสัมพันธ์กันเกิดเป็น ราคะ ตัณหา อุปาทาน สืบมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
- เราได้เห็นตามจริงที่หลวงตามหาบัวสอน(ซึ่งได้รับรู้ตามจริงโดยสมาธิก่อนแล้วได้มาอ่านที่หลวงตาสอนจึงทำให้เข้าใจตามจริง) ว่า จิตมันทำหน้าที่แค่รู้ รู้เท่านั้นไม่มีเกิด ไม่มีดับ ที่เกิดและดับไปมันมันเพียงสังขารเพียงกิเลสไม่ใช่จิต ที่เรารู้ดังนี้เพราะเคยได้เห็นจิตมันก็อยู่สงบนิ่งของมันเห็นกองขันธ์แยกกัน กุศลธรรม อกุศลธรรม มันก็เกิดขึ้นปรุงแต่งของมันไป เกิดดับของมันไป จิตแยกออกมานิ่งอยู่ ไม่มีเจตนา ไม่รู้ผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขารปรุงแต่งตรึกนึกสมมติ จิตมันรู้เห็นแต่เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆอันแยกขาดจากกันของใครของมันเท่านั้น ไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร คือสิ่งไร มันแค่เห็นแค่รู้ไม่ได้เกิดดับไปกับสภาวะธรรมปรุงแต่งเหล่านั้นเลย
- ก็จนเมื่อจิตคลายจากสมาธิอันนิ่งว่างสงบไม่มีวิตกวิจารนั้นแล้วก็จึงรู้กระบวนการอันเป็นไปของมันดังนี้ว่า..๑. เมื่อมีสิ่งไรๆมากระทบทางสฬายตนะ ก็เกิดผัสสะกับอายตนะภายนอก จิตเดิมนี้มันก็นิ่งอยู่ไม่ข้องเกี่ยวกันมันก็จะรู้แค่ว่ามีสภาวะธรรมหนึ่งๆเกิดขึ้นเท่านั้น..๒. แต่อาศัยสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นมารายล้อมอยู่ให้จิตรู้..๓. จิตนี้เมื่อมันหลงอยู่ไม่รู้มันจึงเข้าไปยึดเอาสภาวะนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ตั้ง..๔. ความปรุงแต่งโดยเจตนาเจตสิกที่จะเข้าไปรู้ว่าสภาวะธรรมนั้นๆคืออะไรก็เกิดขึ้น โดยมีลักษณะที่หวนระลึก ตรึกนึกเข้าไปหาสัญญาไรๆที่จำได้หมายรู้ในสิ่งนั้นๆ..๕. เมื่อสัญญาเกิดสมมติบัญญัติก็เกิดขึ้น ณ ที่นั้น ความรู้ว่าอาการต่างๆจึงเกิดขึ้น แล้วความปรุงแต่งสังขารก็เกิดขึ้นเสวยอารมณ์เหล่านั้นเป็นเวทนา..๖. จากนั้นความตรึกนึกคิดอันที่กิเลสสร้างขึ้นก็เกิดขึ้นดำเนินไป..๗. เมื่อจิตไปยึดเอาสัญญาไว้มากแค่ไหนความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ตรึกนึกคิดปรุงแต่งอันเป็นไปกิเลสต่อสิ่งนั้นๆก็อยู่นานเท่านั้น.. 
- จึงทำให้เราเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าดังนี้ว่า "ธรรมชาติของจิตนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่จรมาทำให้ใจเศร้าหมอง" เมื่อเราเห็นความเป็นอยู่จริงๆของขันธ์ ๕ ที่เราลุ่มหลงอยู่นี้ มันเป็นยังไง ดังนี้ นี่เรียกว่า เกิดสัมมาทิฐิ เพราะได้รู้เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามจริง เห็นใน ขันธ์ ๕ และ พระอริยะสัจ ๔ ที่เป็นสภาวะธรรมตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั่นเอง
- ด้วยเหตุดังนี้ ความที่เคยสัมผัสถึงซึ่งสภาวะธรรมจริงดังนี้ทำให้ความกำหนัดยินดีจางลง ความแสวงหาทะยานอยากลดลง อุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งปวงคลาย ญาณอันเป็นไปในมรรคเกิดขึ้นเรียกว่า สัมมาทิฐิ มีสัมมาสติสังขารโดยรอบเป็นสัมมาสังกัปปะ สืบต่อให้เห็นตามจริงถึงกุศลและอกุศล สัมมา และ มิจฉา เป็นเหตุให้เกิดอินทรีย์สังวร หรือ ศีลสังวร เมื่อจิตเป็นสุขด้วยกุศลไม่มีความเร่าร้อนกาย-วาจา-ใจ ฉันทะ..ในอิทธิบาท ๔ ก็บังเกิดขึ้นยินดีในศีลนั้น เป็นเหตุให้กาย วาจา ใจตั้งอยู่ในกุศลปกคลุมศีลนั้นด้วยอาศัยสัมมัปปธาน ๔ เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมตั้งอยู่ด้วยมีสติสังขารให้เป็นไปสัมมัปปธาน ๔ ยังให้กายสุจริต,วาจาสุจริต,ใจสุจริต เมื่อสุจริต ๓ ตั้งอยู่โดยบริบูรณ์ สติก็มีกำลังมากด้วยกุศล สังขารโดยรอบด้วยความเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน ๔ กาย-วาจา-ใจก็ตั้งอยู่ใน จรณะ ๑๕ โดยอัตโนมัติ เกิดเป็นมหาสติสังขารโดยรอบซึ่ง กาย เวทนา จิต ธรรม ให้บริบูรณ์ เข้าถึงปัญญารู้เห็นตามจริงสงเคราะห์ลงในธรรมเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น เมื่อเห็นดังนี้จิตก็ยิ่งจะเพียรปฏิบัติเพื่อตัดขาดพ้นจากสภาวะธรรมกองทุกข์นั้น เมื่อเพียรอยู่เห็นอยู่จิตก็อิ่มเอมใจ สงบใจจากกิเลส เมื่อจิตปราศจากกิเลสก็บังเกิดสุข ผลจากสุขทำให้สมาธิเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิดขึ้นก็จะเกิด ยถาภูญาณทัสสนะ ความรู้เห็นสภาวะตามจริงอันปราศจากโมหะก็บังเกิดขึ้น วิราคะ คือ ปัญญาแห่งมรรคก็จะเกิดขึ้นด้วยกาลนั้น อุเบกขาความไม่ยินดียินร้ายว่างอยู่ด้วยวิราคะก็เกิดขึ้น ดังนี้ เมื่อปัญญานั้นไม่เพียงแค่เห็น แล้ว ญาณอันเป็นไปในปัญญาเกิดขึ้นเรียกว่า วิราคะ อันมีลักษณะตัดจึงเกิดขึ้น เมื่อจิตมันคลายมันตัดจึงไม่มีจิตไปติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเกินกว่าจะเห็นแค่สภาวะธรรมหนึ่งๆอันเกิดมีอยู่ตั้งอยู่และดับไปเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้นไม่มีเกินนี้ เมื่อตัดได้ขาดวิมุตติก็เกิดขึ้นนิโรธความดับทุกข์ก็แจ้งขึ้นเป็นวิชชา

 "แต่แม้กระนั้นเมื่อเรายังโลกียะอยู่ก็มิอาจตัดขาดได้เพราะเคียวคือปัญญาที่ใช้ตัดนั้นทื่อเกินไปด้วยจิตมันชินมันยังหลงของปลอมอยู่ ยังเห็นของจริงไม่เพียงพอมันจึงตัดไม่เข้า จึงเกิดแค่เพียง สัมมาทิฐิ สืบต่อใน สัมมาสังกัปปะ สืบไปครบองค์ ๘ แห่งมรรค มีมหาสติสังขารโดยรอบซึ่ง กาย เวทนา จิต ธรรม ให้บริบูรณ์ เข้าถึงปัญญารู้เห็นตามจริงในสงเคราะห์ในธรรมเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น  แล้วเราจะทำอย่างไรให้จิตรู้ของจริงจนหน่ายคลายอุปาทานแล้วหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์เหล่านี้ได้โดยสิ้นเชิง แม้เพียงแค่ได้สัมผัสเพียงเล็กน้อยก็ยังประโยชน์สุขแก่เราถึงเพียงนี้หากดับได้โดยสิ้นเชิงจะเป็นบรมสุขถึงเพียงไหน พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนว่า.. เราก็ต้องเจริญ มรรค ๘ ให้มาก จึงจะถึง โพชฌงค์ ๗ และ วิมุตติ ได้

  แล้วเราจะทำอย่างไรให้จิตรู้ของจริงจนหน่ายคลายอุปาทานแล้วหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์เหล่านี้ได้โดยสิ้นเชิง แม้เพียงแค่ได้สัมผัสเพียงเล็กน้อยก็ยังประโยชน์สุขแก่เราถึงเพียงนี้หากดับได้โดยสิ้นเชิงจะเป็นบรมสุขถึงเพียงไหน พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนว่า.. เราก็ต้องเจริญ มรรค ๘ ให้มาก จึงจะถึง โพชฌงค์ ๗ และ วิมุตติ ได้
- การเจริญมรรคให้มากนั้นทำไฉน มีอะไรเป็นกำลัง มีอะไรเป็นฐาน ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นเครื่องแห่งกุศลทั้งปวง มีศีลเป็นฐาน "ศีล" นี้แลคือ "อินทรีย์สังวร" ศีลอันเกิดแต่ความรู้เห็นตามจริงแห่งสภาวะธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่มีเราในขันธ์ ๕ - ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา ขันธ์ ๕ เป็นที่ประชุมโรคกายโรคใจ ขันธ์ ๕ แยกเป็นกองๆเป็นไปตามสภาวะธรรมของมันไม่ผัสสะกัน นี่เป็นสัมมาทิฐิ ความคิดชอบ คือ กุศลวิตกบังเกิดขึ้นมีสติสังขารโดยรอบด้วยความเพียรอยู่ที่จะไม่ก้าวล่วงศีลต่อใคร อิทรีย์สังวรณ์เป็นไฉน กล่าวโดยย่อคือ สำรวมกายและใจสำรวมใน อายตนะ ๑๒ สิ่งใดมีเกิดขึ้นก็สักแต่ว่ารู้ รู้ในปัจจุบันโดยไม่ตรึกนึกคิดปรุงแต่งต่อ ตัวเรานี้ได้พิจารณาโดยหวนระลึกถึงเหมือนสมัยเราเด็กๆ(มีช่วงเวลานึงที่เกิดเสมาธิแล้วจดจำเรื่องราวในสมัยเด็กๆได้เยอะมากได้เอาไปถามแม่ แม่ก็ตอบว่าจริงเช่นนั้น) คือ
      ๑. เห็นผู้หญิงแก้ผ้าก็ยังไม่เกิดความกำหนัด นั่นเพราะสมัยนั้นเห็นก็สักแต่ว่าเห็น คือ เห็นเพียงมีสิ่งนั้นๆอยู่เบื้องหน้า ไม่เอาอารมณ์เหล่านั้นมาปรุงแต่งสืบต่อ เขาแก้ผ้าก็แค่แก้ผ้าอยู่เบื้องหน้าเท่านั้นไม่มีอะไรเกินที่เห็นไม่สืบต่อไปในอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง
      ๒. ได้ยินเสียงไรๆก็ไม่กำหนัด เพราะได้ยินก็สักแต่ได้ยินไม่ปรุงต่อแม้ใครจะมาพูดลามกเหล่าใดต่อเรา เราก็สักแต่ว่ารู้ว่าเขาพูด เขาพูดคำนี้ๆออกมาเท่านั้น ไม่สืบปรุงแต่งต่อเกินกว่าที่จิตรู้ว่ามีแค่เสียงอย่างนี้ๆ คำพูดนี้ๆ ออกมาเท่านั้น
      ๓. เมื่อได้รู้กลิ่น ก็รู้แค่ว่ามันมีกลิ่นแบบนี้ๆ มันไม่รู้ว่าคืออะไร รู้แค่ว่ามันมีสภาพอย่างนี้ๆเท่านั้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันหอมหรือเหม็น เพราะมันแค่รู้กลิ่น ก็สักแต่รู้อย่างนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเกินกว่ารู้แล้วก็ผ่านไป
      ๔. เมื่อได้รู้รส มันก้ไม่ได้มีความชอบไม่ชอบไรๆมีรสอะไรก็รู้ว่ามันเป้นอย่างนั้นเท่านั้นไม่เกินกว่านั้นเลยเมื่อกินสิ่งใดลงไปในท้องมันก็รู้แค่ว่า ได้รู้รสแอบบนี้ๆเคี้ยวสิ่งหนึ่งที่อ่อนแข็ง นุ่มเหนี่ยว หรือละเอียดเคี้ยวง่าย แล้วกลืนกินลงไป จากนั้นก็อิ่มท้องไม่ปวดท้องเท่านั้น
      ๕. เมื่อรู้สัมผัสทางกาย มันก็รู้แค่ว่ามีสภาวะนี้ๆ อ่อน แข็ง ร้อน เย็น ตรึงไหวเคลื่อนไป เอิบอาบซาบซ่านชุ่มชื่นในกายภายนอกบาง เป้นอาการที่มีอยู่ภายในกายบ้าง
      ๖. เมื่อเกิดรู้ทางใจสิ่งใดอันใด ตอนเด็กๆเราก็ร๔ู้ว่ามันมีสิ่งนี้ๆแบบนี้ๆเกิด ก็รู้แค่นั้นแหละ ไม่รู้สมมติบัญญัติว่าคืออะไรทั้งสิ้น รู้แค่มีอาการแบบนี้ๆเกิดขึ้น รู้แค่นั้น (แต่บางครั้งไม่รู้ว่าเป็นอะไรก็ร้องไห้ขึ้นมาเพราะรู้อาการนั้น เพราะไม่มีบัญญัติสิ่งคิดใดๆสืบต่อ)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2015, 09:04:19 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #86 เมื่อ: เมษายน 17, 2015, 06:57:39 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๖

วิราคะสัญญา ๒

- การสำรวมกาย วาจา ใจ ก็อาศัยสำรวมในสฬายตนะให้รู้ก็สักแต่ว่ารู้ในปัจจุบัน ไม่สืบต่อ เมื่อจะเกิดความคิดเหล่าใดที่เป็นอกุศลวิตกสืบต่อ เราก็ต้องขจัดความคิดฟุ้งซ่านอันที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอก ด้วยพึงตั้งอานาปานสติ หรือ พุทธานุสสติ มีพุทโธ หรือ อรหัง เป็นเบื้องหน้า ให้กำหนดหายใจเข้า-ออกยาวจนสุดใจเพื่อดึงสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้น แล้วพิจารณาดังนี้

ก. พึงระลึกถึงว่า เราจักไม่คิด-พูด-ทำในสิ่งอันใดที่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนทำร้ายใคร เราจักไม่เพ่งภัณฑะ(ของรักของมีค่า)ของผู้อื่น เราจักรู้จักพอ จักไม่ตริตรองนึกถึงไปในกาม ราคะ เมถุน หรือ สิ่งเหล่าใดเพื่อสนองความอยากเสพย์ อยากได้ อยากมี อยากเป็นของตน เราจักเป็นผู้แสวงหาความสงบวสันติ เราจักไม่หมายที่จะติดใจข้องแวะใครๆ ไม่หมายจะตั้งความขัดเคืองใจต่อใคร จักเป็นผู้มีความรอดใจข่มใจอยู่ อดโทษไม่เพ่งโทษผู้อื่น  จักเป็นไม่ปารถนาให้ใครถึงความทุกข์ยากฉิบหาย เราจักเป็นผู้แสวงหาอุปสมะ คือ ดำรงชีพเลี้ยงชีพอยู่ด้วยใฝ่ยินดีในความสงบสันติ จักเห็นเขาเป็นมิตรที่ดีต่อเรา เป็นดั่งบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวเสมอกัน จักมีความปารถนาดีให้เขาเป็นสุขไม่มีทุกข์ด้วยความมีจิตสงเคราะห์ให้น้อมไปในการสละ เราจักไม่อิจสาริษยาใคร จักเป็นผู้ยินดีต่อเขาทุกเมื่อเสมอด้วยตน เมื่อเขาพ้นทุกข์ประสบสุข คงไว้ซี่งสิ่งอันเป็นที่รักใคร่หวงแหนของเขา จักเป็นผู้มีใจเป็นกลางไม่อคติยินดียินร้ายต่อใครเพราะ เกลียด กลัว รัก หรือ ไม่รู้ตามจริง
...(ศีล+ทาน+พรหมวิหาร [สัมมาวาวาจา+สัมมากัมมันตะ+สัมมาอาชีวะ], กศลวิตก ๓, สัมมัปปธาน ๔[สัมมาวายามะ] ที่สังขารโดยรอบด้วย สัมมาสติ)...

ข. รู้ว่าวิตกคือสมมติ เมื่อไรเจตนาอันมีลักษณะตรึกนึกหวนระลึกทำใจไว้ที่จะเข้าไปรู้ในความจำได้หมายรู้ใดๆเกิด สัญญาเกิด สมมติบัญญัติเกิด เวทนาเกิด สังขารปรุงแต่งอุปาทาน  ดังนั้นเมื่อเจตนาที่ตั้งใจจะเข้าไปรู้หวนระลึกถึงในความจำได้หมายรู้ไรๆสมมติก็เกิดขึ้นทันที เมื่อรู้ว่าเป็นสมมติเราก็ไม่ควรไม่จับเอามันมาเสพย์มาเป็นที่ตั้งแห่งจิต สิ่งเหล่านั้นเหล่าใดที่มันตรึกนึกอยู่มันดับไปแล้วแต่จิตเข้าไปยึดเอาสัญญาไว้อยู่สมมติจึงมีเวทนาจึงมี พึงอยู่กับของจริง คือ กายสังขาร ได้แก่ลมหายใจ คือ ธาตุลมที่มีจริงๆอยู่ในกายนี้จริงๆ มีสภาพพัดขึ้นพัดลงเคลื่อนตัวไปตาม จมูก หน้าผาก ลำคอ หกน้าอก ท้องน้อย เป็นต้น จากนั้นความคิดก็จะเหลือเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น
...(ยถาภูญาณทัสสนะ -> สัมมาทิฐิ+สัมมาสมาธิ)...

ค. ฝึกขัดใจในความคิดนั้นบ้างโดยพึงดึงจิตขึ้นพยายามอดกลั้น พึงตั้งกุศลวิตกไรๆที่เป็นไปเพื่อสลัดทิ้งกิเลสนิวรณ์ข่มใจไว้ ไม่ให้คิดสืบเรื่องราวนั้นๆต่อ เริ่มแรกอาจจะหายใจเข้ายาวๆแล้วกลั้นไว้จนสุดแล้วค่อยหายใจออกยาวแล้วกลั้นไว้จนสุดแล้วตั้งหลักปักไว้ที่ปลายจมูกรู้ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น พึงระลึกว่าวิตกเหล่าใดล้วนเป็นสมมติทั้งหมด พึงตั้งใจมั่นว่าเราจักไม่เสพย์สมมติที่กิเลสสร้างขึ้น ไม่สืบเรื่องราวสมมติต่อ ให้รู้จักขัดใจในความคิดนั้นบ้างเพื่อสร้างกำลังให้ขันติ โดยพึงดึงจิตขึ้นพยายามอดกลั้นข่มใจไว้ไม่ให้คิดสืบเรื่องราวนั้นๆก่อน(อาจจะระลึกในกายคตาสติ เป็นอาการทั้ง ๓๒ บ้าง ธาตุ ๖ บ้าง อสุภะบ้าง) แล้วพึงตั้งจิตดึงสติขึ้นรู้ว่ากำลังรู้สึกตรึกนึกปรุงแต่งไปอย่างไร เป็นไปในรัก โลภ โกรธ หลง อย่างไร ติดใจสิ่งไหน แสวงหาอะไร ทำไว้ในใจอย่างไร แล้วจากนั้นให้พึงเอาจิตจับรู้สภาวะธรรมจริงๆ คือ อาการความรู้สึกจริงๆของจิตที่มันรู้ในอาการนั้นๆเท่านั้น(ปรมัตถธรรม)
...(สติ, ขันติ+โสรัจจะ, สัมมาสังกัปปะ, จิตตานุปัสสนา+สัมมาสมาธิ -> ยถาภูญาณทัสสนะ)...

**  ความทำไว้ในใจโดยแยบคายแล้ว ตั้งจิตมั่นที่จะทำในความคิดดี พูดดี ทำดี ละเว้นการเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นทาง กาย วาจา ใจ คือ กรรมบถ ๑๐, สัลเลขสูตรอันใด คือ ความคิด พูด ทำ อันประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นให้เกิดมีขึ้น ยังสติสังขารโดยรอบให้ความผ่องใส อิ่มเอม สงบ สุข อันปราศจากความเร่าร้อนเศร้าหมองกายใจตนนั้นบังเกิดมีขึ้น คงอยู่ในตนไม่เสื่อมไป สลัดทิ้งความโลภความคิดที่หมายจะได้เสพย์สิ่งอันปรนเปรอตนด้วยความจิตปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้ มีจิตสงเคราะห์ ยินดีเมื่อเขาเป็นสุขและคงไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนโดยปราศจากความริษยา ความไม่อคติลำเอียงไม่ยินดียินร้ายว่างอยู่โดยกุศลจิตเหล่าใด ละความหลงไม่รู้ด้วยภาวนานั้น

- การที่จะเจริญใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ให้บริบูรณ์ได้นั้น ก็ต้องอาศัยภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา ในการอบรมจิตให้เกิดกุศลปราศจากกิเลสนิวรณ์ร่วมด้วย อานิสงส์ที่ได้ คือ สมาธิและปัญญา การอบรมจิตให้ตั้งมั่นคู่กับสติ+สัมปะชัญญะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับผู้หมายจะพ้นทุกข์จากกิเลสเครื่องเร่าร้อนนี้ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจะสอนหลักๆอยู่ 2 อย่างคือ
- รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ทุกขณะจิต อย่าทิ้งลมหายใจ
- ภาวนาพุทโธ จนพุทโธเป็นลมหายใจเข้าออก อย่างทิ้งพุทโธ ลมหายใจนี้คือของจริง คือ ธาตุลมที่มีอยู่ในกาย เป็นของจริง พระพุทธเจ้าตรัสว่าลมหายใจคือกายสังขาร เพราะกายที่ต้องการลม ไม่มีลมกายก็ตาย ให้จิตจดจ่อตั้งไว้ที่ปลายจมูกปักหลักไม่เคลื่อนไหลไปตามลม แล้วภาวนาพุทโธไป เมื่อเข้าถึงสมาธิได้ พุทโธจากแค่คำบริกรรมจะกลายมาเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะความเข้าไปรู้เห็นตามจริงด้วยมรรคญาณ และ ญาณคือปัญญา หากไม่ชินไม่ตรงจริตก็ให้น้อมเอามาทั้ง ๔๐ กรรมฐานซึ่งแยกแยะไว้ตามจริตแล้ว

*   การอบรมจิตให้เป็นสมาธินี้จะเป็นฐานแห่งปัญญา ในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกสติเกิดคู่กับสัมปะชัญญะทำให้สติสัมปชัญญะบริสุทธิ์มีกำลังมาเป็นมหาสติ(สัมมาสติ)
 
** เพราะเมื่อมีเจตนาตั้งจิตมั่นสำรวมระวังในศีล(อินทรีย์สังวร) -> สัมมัปปธานสติเกิดที่ใด สมาธิก็อยู่ที่นั่น แต่สมาธินั้นจะมีกำลังมากพอให้เกิดปัญญาไหมมันก็ต้องฝึกอบรมให้ตั้งมั่นชอบ เมื่อมหาสติเกิดเต็ม กาย เวทนา จิต ธรรม ธัมมวิจะยะที่เป็นญาณ คือ มรรคญาณ ก็จะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นดังนี้แล้วดำรงความเพียรอยู่โดยชอบคือสัมมาวายะจะถึงวิราคะ คือ ปัญญาแห่งมรรคก็ด้วยประการอย่าางนี้

** เมื่อทำอยู่อย่างนี้ เรียกว่ามีอินทรีย์สังวรณ์บริบูรณ์ ยังให้สุจริต ๓ นั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และไม่เสื่อมไป

- เมื่อเจริญตามใน กรรมบถ ๑๐ หรือ สัลเลขสูตรนี้ ย่อมยังสติให้เกิดขึ้นสังขารอยู่โดยรอบซึ่งกุศลจิต จนเกิดเป็นกำลังแห่งปธานสติสังขารโดยรอบร่วมกับกุศลจิต,พรหมวิหาร ๔,อบรมจิตภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา เพื่อสลัดทิ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามกและสลัดทิ้งธัมมารมณ์เหล่าใดอันยังอกุศลนิวรณ์ให้เกิดขึ้นทั้งปวง เพื่อยังให้ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา เหล่าใดอันเป็นเครื่องละเว้นซึ่งความเบียดเบียนเกิดขึ้น ถึงความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเร่าร้อนโดยบริบูรณ์ อานิสงส์ คือ มี สุจริต ๓ บริบูรณ์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2015, 02:13:38 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #87 เมื่อ: เมษายน 17, 2015, 07:07:19 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๖

วิราคะสัญญา ๓




- เมื่อความรู้เห็นชอบเกิด -> ความคิดออกจากทุกข์ก็เกิด -> อินทรีย์สังวรณ์ก็เกิดขึ้น
- เมื่ออินทรีย์สังวรณ์เกิด -> ความแสวงหาอุปสมะก็เกิด -> ความเพียรขจัดกิเลสเครื่องเร่าร้อนก็เกิดขึ้น
- เมื่อสัมมัปธาน ๔ เกิด -> สติก็เกิดขึ้นสังขารโดยรอบ -> สมาธิก็เกิดมีขึ้น
- เมื่อสมาธิอันตั้งมั่นชอบเกิดมีขึ้น -> ความรู้เห็นในสภาวะธรรมตามจริงก็เกิดขึ้น
- เมื่อความรู้เห็นในสภาวะธรรมตามจริงเกิดขึ้น -> นิพพิทาญาณ..ความหน่ายด้วยรู้เห็นตามจริงในสภาวะธรรม และ วิราคะ..ความไม่ยึดจับหรือความสลัดทิ้งซึ่งความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงก็เกิดขึ้น
  (วิราคะนี้เป็นปัญญาญาณ ที่จะดับหรือตัดขาดซึ่งกิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้งปวง)

- ดังนั้น เมื่อศีล+ทาน+พรหมวิหาร ๔+ภาวนา(อินทรีย์ ๕ + พละ ๕ + ปธาน ๔) มีอยู่ ณ ที่ใด สติก็อยู่ที่นั่น(ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวโดยภาวนาว่า จิตรู้ลมที่ไหน สติอยู่ที่นั่น)
- เมื่อสติเกิดระลึกรู้ทันอยู่ที่ใด สมาธิก็ย่อมมีเกิดอยู่ที่นั้นตามเสมอๆไม่ขาดกัน
- แต่สมาธิอันควรแก่งานที่เอื้อต่อสตินั้นก็ต้องมีสัมปะชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมในขณะที่จิตจดจ่ออยู่นั้นเกิดขึ้นด้วย ดังนั้นสติและสัมปะชัญญะจึงเป็นของคู่กันเพื่อให้สมาธินั้นเอื้อต่อปัญญาให้เกิดยถาภูญาณทัสสนะ ผู้ที่ไม่เคยเห็นสภาวะธรรมก็เห็นด้วยการนี้แหละ
- ดังนั้น สมาธิเป็นกำลังของจิต ทำให้จิตมีกำลังมากไม่เอนเอียงอ่อนไหวแล้วแยกออกจากกิเลสทั้งปวง ดังนั้นจิตตั้งมั่นชอบเมื่อไหร่ ปัญญาก็มีในที่นั่น
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสให้ถึงสุจริต ๓ บริบูรณ์




-  ด้วยการที่สติสังขารโดยรอบเหล่านี้ย่อมสังขารเอากุศลธรรม ธรรมมารมณ์ที่เป็นกุศลเหล่าใดให้เกิดขึ้น และคงไว้ รักษาไว้ไม่ให้เสื่อม จนเป็นปกติจิตทำให้ กาย เวทนา จิต ธรรม รับรู้แต่กุศลจนเป็นปกติด้วยกำลังแห่งมหาสตินั้นโดยบริบูรณ์

- เมื่อมหาสติเกิดมันจะรู้ทัน กาย จิต เจตสิก อันเกิดมีขึ้นก่อนที่จะเสพย์ เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เห็นกองขันธ์ ๕ แยกขาดกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อจิตเห็นดังนี้แล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจิตจะสงเคราะห์ลงในธรรมเองอัตโนมัติ จนเกิดเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเท่านั้น แม้จะเข้าไปรู้สภาวะธรรมไรๆโดย ผัสสะ เจตนา สัญญาไรๆ สมมติบัญญัติ แต่จิตก็ไม่ยึด ไม่จับ เพราะไม่เสพย์ ไม่สืบต่อเรื่องราวปรุงแต่งสมมติตามที่กิเลสมันสร้างขึ้น
(นี่เรียกเป็นผู้รู้แล้ว)
**ส่วนการมานั่งตรึกนึกคิดอนุมานลงในธรรมเอาว่า นี่คือทุกข์ มันทำให้เศร้าโศรก เสียใจ ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกายใจ คับแค้นกายใจ ความอนุมานว่าศีลคือกุศลด้วยเชื่อตามๆกันมาบ้าง ความอนุมานว่าสมาธินี้คือการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์เพราะเชื่อตามๆกันมาบ้าง ความอนุมานว่าเจริญสติปัฏฐานนี้ทำให้บรรลุธรรมเพราะเชื่อตามๆกันมาบ้าง ความอนุมานเอาว่าทานทำให้รวยบ้างเพราะเชื่อตามๆกันมา ความอนุมานเอาว่าสมุทัยคือตัณหาเพราะเชื่อตามๆกันมาบ้าง
    กล่าวคือความตรึกนึกคิดอนุมานมีเกิดขึ้นเหล่าใดสิ่งนั้นไม่ใช่ธัมมวิจยะอย่างที่เราเข้าใจตามๆกันมา ไม่ใช่สัมมาทิฐิตามความเข้าใจตามๆกันมา แต่เป็นเพียง การโยนิโสมนสิการ คือ คิดพิจารณาตามในขั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทำไว้ในใจโดยแยบคายแต่อย่างใด เป็นเพียงโอปนยิโก คือ น้อมเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเจริญพิจารณาเท่านั้น สัมมาทิฐิที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้เพราะมียถาภูญาณทัสสนะ ธัมมวิจยะจะเกิดขึ้นได้แท้จริงก็ต้องด้วยเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเพียงสภาวธรรมหนึ่งๆ เห็นขันธ์นั้นแยกจากกัยทำงานในส่วนๆของมันไป หรือ เห็นลำดับเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ตั้งอยู่ แล้วดับไป ในสมาธิตั้งแต่ปฐมฌาณขึ้นไปเท่านั้น ไม่ใช่เห็นโดยตรึกนึกคิดเอา แต่เห็นการทำงานของมันตามจริง แม้เห็นในฌาณอย่างนั้นแล้วจิตไม่มีกำลังบังคับนิมิตนั้นหรือคล้อยตามนิมิตนั้นก็ไม่ใช่ของจริงเช่นกัน

- เมื่อรู้ของจริงก็เกิดความหน่าย(นิพพิทาญาณ) คิดหาทางละ หาทางหลุดพ้น เพียรปหานกิเลสอยู่เพื่อสำกรอกออกแห่ง โลภะ กาม นันทิ ราคะ โทสะ โมหะทั้งปวง(มรรค ๘ - ศีล, ทาน, กุศลวิตก ๓, ภาวนา) ความสงบใจจากกิเลสเกิดจิตตั้งมั่นรู้สมมติและของจริงไม่หวั่นไหวโลดแล่นไปกับกิเลสเกิดสภาวะที่จิตตัดไม่ลุ่มหลงส้องเสพย์อกุศลธรรมสมมติเหล่าใด ไม่ยินดียินร้ายปราศจากความติดใจฝักใฝ่ยินดีในสภาวะธรรมทั้งปวง เรียกอุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายในสภาวะธรรมทั้งปวง (วิราคะ)
(นี่เรียกเป็นผู้ตื่นแล้ว)

- เมื่อเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมอย่างนี้ๆ จิตมันก็เริ่มคลายจากกิเลสเครื่องผูดรัดอันเร่าร้อน จิตก็เพียรสังขารรอบอยู่โดยสติปัฏฐาน ๔ เพื่อขจัดเครื่องผูกมัดอันเร่าร้อนนั้นเพื่อถึงความดับซึ่งสมมติกิเลสอันเร่าร้อนนั้น
(นี่เรียกเป็นผู้ตื่นแล้ว)

- เมื่อดับเพลิงทุกข์ ดับเพลิงกิเลสเครื่องเร่าร้อน ถึงนิโรธความดับธัมมารมณ์อกุศลธรรมอันลามกใดๆสิ้นไปได้ ยังความสงบสุขร่มเย็นกายใจ ปราศจากนิวรณ์ความฟุ้งซ่านใจใดๆ ไม่มีอกุศลธรรมเครื่องเร่าร้อนให้กำเริบอีก สิ้นภพ สิ้นชาติ นี่เรียกว่า ผู้เบิกบาน




เมื่อทบทวนธรรมอันที่เราพอจะรู้เห็นตามจริงได้ดังนี้ๆแล้ว ความสำคัญมั่นหมายของใจในวิราคะสัญญานั้น ปุถุชนอย่างเรานี้พอจะเห็นความระลึกถึงอารมณ์เหล่านั้นได้ว่า คือ พุทโธ คุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี้เอง พึงรำลึกถึงว่า

๑. ความเป็นผู้รู้ คือ รู้สมมติ รู้ว่าหลงอยู่ รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ที่เราเห็นว่าเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สวย ไม่สวย ละเอียด หยาบ ทราม ชอบ ไม่ชอบ สุข ทุกข์ เฉยๆ สี เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ สิ่งที่ใจรู้อกุศลธรรมอันลามกทั้งปวง สักแต่เป็นเพียงแค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกเราให้ลุ่มหลง ให้เห็นเป็นตัวตนเห็นเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่เท่านั้น ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้นไม่มีสิ่งใด ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีสัตว์ใด ไม่มีรูปนาม ไม่มีธาตุใดๆทั้งสิ้น เห็นสภาวะธรรมตามจริง ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นที่ประชุมแห่งทุกข์
(ปัญญา สัมมาทิฐิ)
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงสภาวะจิตที่ไม่หยิบจับเอาสมมติความลุ่มหลงทั้งปวง ไม่จับเอาสิ่งไรๆทั้งปวง ไม่ยินดีพิศมัยกับสิ่งไรๆ พึงรู้แค่ว่านั่นเป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้น ไม่ว่าจะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์ ความเสวยอารมณ์ ความจำได้หมายรู้ ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งไรๆทั้งปวง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตยึดเป็นอุปาทานเท่านั้น เราไม่ควรลุ่มหลง

๒. ความเป็นผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติทั้งปวง เจริญปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ความลุ่มหลงทั้งปวง
(มรรค ๘ คือ สุจริต ๓(ศีล, ทาน, กุศลวิตก ๓), ภาวนา(อินทรีย์ ๕, พละ ๕, สติปัฏฐาน ๔) -> โพชฌงค์ ๗(วิราคะ))
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงว่า มรรค ๘ นี้ คือ ทาง เป็นทางหลุดพ้นที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นทางแห่งกุศล ดังนั้นเราก็ต้องเจริญมรรคให้มาก ให้พึงหวนระลึกถึง การกระทำไรๆทาง กาย วาจา ใจ ของเราที่ได้ทำมาดีแล้วเป็นสิ่งที่เกื้อกูลต่อผู้อื่น, ความละเว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายพรากสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนของผู้อื่น, ความเพียรอยู่ไม่ปล่อยให้ กาย วาจา ใจ ของตนหลงไปตามสมมติตัวตนเหล่าใดที่กิเลสสร้างขึ้น, ความปหานกิเลสเหล่าใดอันที่ตนทำได้แล้วดีแล้ว, เป็นไปเพื่อละ สละทิ้ง สละคืนความลุ่มหลงทั้งปวงไม่ยินดีในขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, นามรูป, สภาวะธรรมไรๆ อีกแล้ว ระลึกถึงคุณประโยชน์และผลที่ตนเองและผู้อื่นนั้นได้รับเมื่อเราได้กระทำทางกายวาจาใจมาดีแล้วนั้น




๓. ความเป็นผู้เบิกบาน คือ พ้นจากกิเลส สงัดจากกิเลส ดับสิ้นกิเลสแล้ว
(นิโรธ, วิมุตติ)
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงสภาวะจิตของเราที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มีความฟุ้งซ่าน ไม่มีสภาวะธรรมไรๆมาให้กายใจเราเศร้าหมอง มันเป็นสุขกายใจอย่างไร มันประกอบด้วยคุณประโยชน์ต่อเราแค่ไหน




สัลเลขสูตร

http://www.thammaonline.com/15198.msg17147#msg17147

กุณฑลิยสูตร
http://www.nkgen.com/765.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2015, 02:21:17 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #88 เมื่อ: เมษายน 18, 2015, 08:20:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๗

นิโรธสัญญา

ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

เมื่อเจริญใน สัญญา ๑๐ ทั้ง ๖ ข้อข้างต้น ยังจิตใจให้แจ่มใสเบิกบานแล้ว มีความสงบรำงับจากกิเลส เป็นสุขอันเกิดแต่ความที่เปลื้องจิตจากกิเลสนิวรณ์ทั้งปวงแล้ว ย่อมรู้ตามจริงทันทีว่า จิตอันปราศจากความกำหนัดฝักใฝ่ใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆมันเป็นไฉน มีสุขอย่างไร มันไม่มีความฟุ้งซ่านแบบไหน สมองมันโปร่งมันโล่งไม่ยินดียินร้ายอย่างไร

- โดยปุถุชนอย่างเราๆนี้แล พึงสัมผัสรับรู้ได้เพียงน้อยนิดเท่าที่จะพอมีปัญญาสัมผัสได้จึงรู้ตามจริงว่า ธรรมชาติขันธ์ ๕ เรานี้แยกกันไม่ได้รวมกันอยู่ มันจีมีเกิดดับขึ้นของมันโดยธรรมชาติของมันไปอย่างนั้นแต่ไม่ข้องเกี่ยวกันเลย มันแยกของมันออกเป็นกองๆ มีความเป็นไปตามธรรมชาติของมัน และจิตเดิมเรานี้มันสงบ แยกกองออกจากขันธ์ ๕ จิตมันทำหน้าที่แค่รู้เท่านั้นไม่มีอื่นอีกเลย แต่อาศัยที่จิตเรานี้มันสั่งสมรับรู้ยึดมั่นเอาแต่สมมติของปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมานานไม่รู้กี่อสงไขยมหากัปป์ จึงเข้าไปยึดเอา ผัสสะไรๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแล้วก็ไปดึงเอาสัญญาบ้างความตรึกนึกปรุงแต่งอารมณ์น้อมเข้ามาหามายึดจึงทำให้ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ข้องเกี่ยวกันสัมพันธ์กันเกิดเป็น ราคะ ตัณหา อุปาทาน สืบมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
- เราได้เห็นตามจริงที่หลวงตามหาบัวสอน(ซึ่งได้รับรู้ตามจริงโดยสมาธิก่อนแล้วได้มาอ่านที่หลวงตาสอนจึงทำให้เข้าใจตามจริง) ว่า จิตมันทำหน้าที่แค่รู้ รู้เท่านั้นไม่มีเกิด ไม่มีดับ ที่เกิดและดับไปมันมันเพียงสังขารเพียงกิเลสไม่ใช่จิต ที่เรารู้ดังนี้เพราะเคยได้เห็นจิตมันก็อยู่สงบนิ่งของมันเห็นกองขันธ์แยกกัน กุศลธรรม อกุศลธรรม มันก็เกิดขึ้นปรุงแต่งของมันไป เกิดดับของมันไป จิตแยกออกมาไม่รู้ผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร จิตมันรู้เห็นแต่เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆอันแยกขาดจากกันเท่านั้น ไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร คือสิ่งไร มันแค่เห็นแค่รู้ไม่ได้เกิดดับไปกับสภาวะธรรมปรุงแต่งเหล่านั้นเลย
- ก็จนเมื่อจิตคลายจากสมาธิอันนิ่งว่างสงบไม่มีวิตกวิจารนั้นแล้วก็จึงรู้กระบวนการอันเป็นไปของมันดังนี้ว่า..๑. เมื่อมีสิ่งไรๆมากระทบทางสฬายตนะ ก็เกิดผัสสะกับอายตนะภายนอก จิตเดิมนี้มันก็นิ่งอยู่ไม่ข้องเกี่ยวกันมันก็จะรู้แค่ว่ามีสภาวะธรรมหนึ่งๆเกิดขึ้นเท่านั้น..๒. แต่อาศัยสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นมารายล้อมอยู่ให้จิตรู้..๓. จิตนี้เมื่อมันหลงอยู่ไม่รู้มันจึงเข้าไปยึดเอาสภาวะนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ตั้ง..๔. ความปรุงแต่งโดยเจตนาที่จะเข้าไปรู้ว่าสภาวะธรรมนั้นๆคืออะไรก็เกิดขึ้น โดยมีลักษณะที่หวนระลึก ตรึกนึกเข้าไปหาสัญญาไรๆที่จำได้หมายรู้ในสิ่งนั้นๆ..๕. เมื่อสัญญาเกิดสมมติบัญญัติก็เกิดขึ้น ณ ที่นั้น ความรู้ว่าอาการต่างๆจึงเกิดขึ้น แล้วความปรุงแต่งสังขารก็เกิดขึ้นเสวยอารมณ์เหล่านั้นเป็นเวทนา..๖. จากนั้นความตรึกนึกคิดอันที่กิเลสสร้างขึ้นก็เกิดขึ้นดำเนินไป..๗. เมื่อจิตไปยึดเอาสัญญาไว้มากแค่ไหนความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ตรึกนึกคิดปรุงแต่งอันเป็นไปกิเลสต่อสิ่งนั้นๆก็อยู่นานเท่านั้น..  
- จึงทำให้เราเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าดังนี้ว่า ธรรมชาติของจิตนั้นผ่องใสสว่าง แต่อาศัยกิเลสที่จรมาทำให้ใจเศร้าหมอง นี่เรียกว่า "นิโรธควรให้แจ้ง" มันเป็นอย่างนี้จึงได้รู้ว่าความดับทุกข์เป็นยังไง ความเป็นอยู่จริงๆของขันธ์ ๕ ที่เราลุ่มหลงอยู่นี้มันเป็นยังไง ดังนี้ นี่เรียกว่า เกิดสัมมาทิฐิ เพราะได้รู้เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามจริง เห็นในพระอริยะสัจ ๔ ที่เป้นสภาวะธรรมตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั่นเอง
- ด้วยเหตุดังนี้ ความที่เคยสัมผัสถึงซึ่งนิโรธแม้จะเป็นเพียงโลกียะในเพียงช่วงขณะเวลาไม่กี่วันก็ตาม จึงเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง ไม่มีจิตไปติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเพีนยงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้นไม่มีเกินนี้ ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองกำเริบขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไรให้จิตรู้ของจริงจนหน่ายคลายอุปาทานแล้วหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์เหล่านี้ได้โดยสิ้นเชิง แม้เพียงแค่ได้สัมผัสเพียงเล็กน้อยก็ยังประโยชน์สุขแก่เราถึงเพียงนี้หากดับได้โดยสิ้นเชิงจะเป็นบรมสุขถึงเพียงไหน พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนว่า.. เราก็ต้องเจริญ มรรค ๘ ให้มาก จึงจะถึง โพชฌงค์ ๗(วิราคะ) และ นิโรธ(วิมุตติ) ได้

การทำนิโรธให้แจ้ง ทำให้เห็นทางและถึงความดับทุกข์โดยชอบ ไม่อิงอาศัยเครื่องล่อใจอันเป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นที่ประชุมแห่งทุกข์ แต่อย่างเราๆนี้เเป็นแค่เพียงปุถุชน จะทำไฉนถึงจะรับรู้ถึงนิโรธนั้นได้ จะถึงความจำได้หมายรู้ในนิโรธสัญญานั้นได้

๑. ให้พึงระลึกถึงความไม่มีทุกข์ ความดับสิ้นทุกข์เหล่าใดก็ตาม ที่เกิดมีมาแล้วแก่ตนบ้าง
๒. ให้พึงระลึกถึงความปราศจากความเศร้าหมองกายใจใดๆทั้งปวง
๓. ให้ระลึกถึงผลอันเกิดแต่วิราคะ คือ ผลอันเกิดจากการปหานกิเลสทั้งปวง ความชนะมารคือกิเลสเหล่าใด ความที่จิตรู้และตื่นจากโมหะแล้วตัดปหานสยบรำงับกิเลสลงได้(แม้จะตัดได้ตามกำลังปัญญาที่พอจะมีอยู่ก็ตาม)




เมื่อทบทวนธรรมอันที่เราพอจะรู้เห็นตามจริงได้ดังนี้ๆแล้ว ความสำคัญมั่นหมายของใจในวิราคะสัญญานั้น ปุถุชนอย่างเรานี้พอจะเห็นความระลึกถึงอารมณ์เหล่านั้นได้ว่า คือ พุทโธ คุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี้เอง พึงรำลึกถึงว่า

๑. ความเป็นผู้รู้ คือ รู้สมมติ รู้ว่าหลงอยู่ รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ที่เราเห็นว่าเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สวย ไม่สวย ละเอียด หยาบ ทราม ชอบ ไม่ชอบ สุข ทุกข์ เฉยๆ สี เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ สิ่งที่ใจรู้อกุศลธรรมอันลามกทั้งปวง สักแต่เป็นเพียงแค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกเราให้ลุ่มหลง ให้เห็นเป็นตัวตนเห็นเป็นของเที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่เท่านั้น ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้นไม่มีสิ่งใด ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีสัตว์ใด ไม่มีรูปนาม ไม่มีธาตุใดๆทั้งสิ้น เห็นสภาวะธรรมตามจริง ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นที่ประชุมแห่งทุกข์
(ปัญญา สัมมาทิฐิ)
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงสภาวะจิตที่ไม่หยิบจับเอาสมมติความลุ่มหลงทั้งปวง ไม่จับเอาสิ่งไรๆทั้งปวง ไม่ยินดีพิศมัยกับสิ่งไรๆ พึงรู้แค่ว่านั่นเป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้น ไม่ว่าจะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์ ความเสวยอารมณ์ ความจำได้หมายรู้ ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งไรๆทั้งปวง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตยึดเป็นอุปาทานเท่านั้น เราไม่ควรลุ่มหลง

๒. ความเป็นผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติทั้งปวง เจริญปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ความลุ่มหลงทั้งปวง
(มรรค ๘ - ศีล, ทาน, กุศลวิตก ๓, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, ภาวนา, โพชฌงค์ ๗(วิราคะ))
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงว่า มรรค ๘ นี้ คือ ทาง เป็นทางหลุดพ้นที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นทางแห่งกุศล ดังนั้นเราก็ต้องเจริญมรรคให้มาก ให้พึงหวนระลึกถึง การกระทำไรๆทาง กาย วาจา ใจ ของเราที่ได้ทำมาดีแล้วเป็นสิ่งที่เกื้อกูลต่อผู้อื่น, ความละเว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายพรากสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนของผู้อื่น, ความเพียรอยู่ไม่ปล่อยให้ กาย วาจา ใจ ของตนหลงไปตามสมมติตัวตนเหล่าใดที่กิเลสสร้างขึ้น, ความปหานกิเลสเหล่าใดอันที่ตนทำได้แล้วดีแล้ว, เป็นไปเพื่อละ สละทิ้ง สละคืนความลุ่มหลงทั้งปวงไม่ยินดีในขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, นามรูป, สภาวะธรรมไรๆ อีกแล้ว ระลึกถึงคุณประโยชน์และผลที่ตนเองและผู้อื่นนั้นได้รับเมื่อเราได้กระทำทางกายวาจาใจมาดีแล้วนั้น



๓. ความเป็นผู้เบิกบาน คือ พ้นจากกิเลส สงัดจากกิเลส ดับสิ้นกิเลสแล้ว
(นิโรธ, วิมุตติ)
- ขั้นระลึก พึงระลึกถึงสภาวะจิตของเราที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มีความฟุ้งซ่าน ไม่มีสภาวะธรรมไรๆมาให้กายใจเราเศร้าหมอง มันเป็นสุขกายใจอย่างไร มันประกอบด้วยคุณประโยชน์ต่อเราแค่ไหน





สัลเลขสูตร

http://www.thammaonline.com/15198.msg17147#msg17147



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2015, 02:26:27 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #89 เมื่อ: เมษายน 27, 2015, 09:37:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๘

สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา

ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบายและอุปาทานในโลก (อุปาทาน = ความยึดมั่นถือมั่น - ธัมมโชติ) อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต (อนุสัย = กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน - ธัมมโชติ) ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (สัพพโลเกอนภิรตสัญญา = การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง - ธัมมโชติ) ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ฯ

เมื่อเจริญใน สัญญา ๑๐ ทั้ง ๗ ข้อข้างต้น ยังจิตใจให้แจ่มใสเบิกบานแล้ว มีความสงบรำงับจากกิเลส เป็นสุขอันเกิดแต่ความที่เปลื้องจิตจากกิเลสนิวรณ์ทั้งปวงแล้ว ย่อมรู้ตามจริงทันทีว่า จิตรู้สิ่งใด..สิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่มีของจริงเลย, กิเลสอาศัยสฬายตนะเป็นเครื่องล่อจิตให้รู้ ให้เสพย์ ให้ลุ่มหลง ให้ยึดมั่นถือมั่นตัวตน, ความเข้าไปรู้และเสพย์สมมติเหล่าใดที่กิเลสสร้างขึ้นย่อมมีแต่ทุกข์, ความเข้าไปปารถนายึดมั่นถือมั่นสมมติสำคัญมั่นหมายใจไว้ว่าเที่ยง ว่าเป็นตัวตน เป็นทุกข์, จิตไม่ยึดไม่จับเอาสมมติไรๆ สักแต่เพียงรู้แต่ไม่เสพย์และความรู้จักธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ความทุกข์ย่อมหยั่งไม่ถึง

- โดยปุถุชนอย่างเราแล้วยังเข้าไม่ถึงซึ่งสันดานแห่งพระอริยะเจ้า เมื่อได้รู้เห็นตามจริงอันเรียกว่าสัมมาทิฐิดังนี้แล้ว ได้เพียรอยู่ ปหานอยู่ซึ่ง อกุศลธรรมอันลามกทั้งปวง จากนั้นเมื่อจิตมันรู้ของจริงมากขึ้น จิตเรามันก็ไม่ยึดเอาอารมณ์ใดๆทั้งปวงมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะรู้ว่าล้วนเป็นสมมติทั้งหมด เพราะของจริงมันไม่มีอะไรนอกเนือเกิดสภาวะธรรมเลย ด้วยเหตุนี้แม้แต่จิตเองเราก็ไม่ยึด เพราะจิตมันกลับกลอกรู้แต่สมมติจะไปบังคับให้มันรู้แต่ของจริงตามใจปารถนาก็ไม่ได้ จะบังคับให้มันเสพย์แต่กุศลก็ไม่ได้ จึงไม่ยึดจับเอาอะไรทั้งสิ้นใน ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ ผลที่ได้คืออุปาทานคลาย
- แต่บางครั้งเมื่ออุปาทานเราคลายจิตมันก็มีกำลังมาก มันจะไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ไม่มีความว่าง(ไม่สุขไม่ทุกข์)  แล้วมันก็แยกขันธ์เองบ้าง บางครั้งก็รู็แต่สภาวะธรรมไม่มีตัวตน ไม่มีชื่อ ไม่มีสิ่งไรๆเลย รู้แค่ว่าเป็นสภาวะสภาวะหนึ่งๆเท่านั้นบ้าง ไม่มีความตรึกนึกคิดว่างโล่งเบาสมอง เบากาย ไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่ม ไม่มีเครื่องรุมเร้าให้เศร้าหมองกายใจ ไม่มีสิ่งใดให้ยึดมั่นถือมั่น แต่บางครั้งมันก็เกิดหลุดมีอาการรู้อยู่ นิ่งว่างอยู่มีสติอยู่ตลอด แต่เหมือนตรึงๆเนือยๆหนักๆหมองๆจิต เมื่อทบทวนดีแล้วก็ให้เห็นตามจริงว่า จิตนี้มันล่องลอยอยู่ไม่มีที่ยึดนั่นเองจึงเกิดอาการนี้ขึ้น ดังนั้นเมื่อจิตมันรู้แต่ของจริง มันก็รู้จักกายสังขารว่าเป็นของจริง กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกนั่นเอง กายสังขารเป็นธาตุลมในกายนี้ ให้เอาจิตยึดที่ลมหายใจไปเรื่อย อาการตรึงๆเนือยหนักๆจิตก็หายไป

- เมื่อยิ่งเพียรอบรมใจใน กรรมบถ ๑๐, ทาน, กุศลวิตก ๓ และ ภาวนา ก็ยิ่งทำให้เราเห็นว่า ความไม่ยึดเอาจิต ไม่ยึดเอาสิ่งที่จิตรู้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ นี้แลเป็นตัวดับวงจรปฏิจสมุปบาท
- เมื่อจิตเห็นจิตดังนี้แล้ว แม้ธรรมมารมณ์เหล่าใดที่เป็นอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงเกิดมีขึ้น มันก็รู้แค่มีสภาวะธรรมหนึ่งๆเกิดมีขึ้นมาผัสสะเท่านั้น(รูป+ตา+วิญญาณ ผัสสะจึงมี) เจตนาก็ไม่มี สัญญาก็ไม่เกิด เวทนาไม่เกิด สังขารก็ไม่ปรุงแต่งสมมมติเรื่องราว เมื่อจิตมันเห็นจิตดังนี้มันก็แค่รู้เพียงสภาวะธรรมนั้นๆ ไม่มีความสำคัญเหล่าใดอยู่ แม้จะมองเห็น แม้รับรู้เสียง แม้รู้กลิ่น แม้รู้สัมผัสด้วยกาย แม้รู้สัมผัสด้วยใจ มันก็ไม่สืบต่อเรื่องราวอีก อาสวะกิเลส(กิเลสอย่างกลาง)ก็ไม่อาจจะกำเริบขึ้นมาได้ การสำรวมอินทรีย์หรืออินทรีย์สังวรของพระอรหันต์ท่านก็ทำฉะนี้เอง จึงทำให้เห็นว่า ความไม่ยึด ความละ ความดับที่จิต หรือวิญญาณธาตุ หรือวิญญาณขันธ์ นี้แลทำให้เจตนาไม่เกิด อาสวะกิเลสไม่กำเริบ (แต่อนุสัยกิเลสก็ยังคงเป็นสภาวะธรรมหนึ่งๆอยู่ แต่ไม่กำเริบขึ้นมาเพราะไม่มีเจตนาไปกระตุ้น) จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เองอัตโนมัติ กรรมบถ ๑๐ กุศลวิตก ๓ ภาวนาเกล่าใดก็เกิดขึ้นมีเอง




 การอบรมจิตเพื่อละอุปาทานดังนี้(หลวงพ่อเสถียร พระอริยะสงฆ์แห่งวัดถ้ำผาแดงผานิมิต ท่านเคยสอนไว้ช่วงวันที่ 2-4 มกราคม 2558 เท่าที่พอจะจำได้ประกอบกับความคิดอนุมานของตน) ทำให้เห็นตามจริงเลยว่า การละอาสวะกิเลส ก็ต้องละที่เจตนา สมจริงดั่งบทประพันธ์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่กล่าวถึง ฝ. กับ ผ. สนทนาธรรมกันว่า จะทำอย่างไรจึงจะละอาสวะกิเลสได้ดังนี้คือ

ผ. ถามว่า การปฏิบัติก็มุ่งต่อความพ้นจากกิเลส แต่ทำไมตั้งใจจะละอาสวะให้หมดไป จึงไม่หมดไปได้อย่างใจ

ฝ. ตอบว่า อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้ การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล

ผ. พูดว่า อ้อ อย่างนี้นี่เล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องละด้วยกุศลที่พ้นจากเจตนา คือ อริยมรรค ส่วนกิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ต้องละด้วยกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งเป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญ

ฝ. พูดว่า ถ้าตั้งใจจะละอาสวะได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างตั้งใจทำกรรมวัฏฝ่ายบุญแล้ว พระอรหันต์ก็คงหาได้ง่าย ๆ ในโลก พระอริยสงฆ์คงไม่น่าอัศจรรย์เท่าไหร่ แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เสขบุคคล ๓ จำพวกนี้ก็ต้องอาศัยอริยมรรค ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นจากเจตนา จึงจะฆ่าสังโยชน์ได้





ดังนั้น เมื่อดับที่วิญญาณธาตุ จิตก็ไม่ยึดจับเอาสิ่งไรๆมาเสพย์มาตั้งในความยึดมั่นถือมั่น เจตนาก็ไม่มี เมื่อละเจตนาได้ กิเลสอย่างกลางก็ดับไป ยิ่งเพียรอบรมจิตอย่างนี้ๆ ไม่ย่อท้อแล้วถอยความเพียรไปส้องเสพย์ตามอกุศลธรรม ยิ่งทำให้แจ้งใจมากเท่าไหร่ จิตเห็นจิตรู้เห็นของจริงมากเท่าไหร่ กิเลสก็ยิ่งเบาบางมากเท่านั้น ยิ่งทำให้แจ้งมากเท่าไหร่ อนุสัยกิเลสก็ยิ่งถูกขจัดไปมากเท่านั้น ดังนี้

โดยตัวเรานี้ยังปุถุชนอยู่ ก็เห็นและได้สัมผัสจากสภาวะจริงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงเห็นทางเจริญในข้อนี้ได้ตามที่เคยสัมผัสจริงประกอบความอนุมานเอาในเรื่องอนุสัยกิเลสเพียงเท่านี้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2015, 05:59:00 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 24, 2024, 02:01:59 AM