เมษายน 20, 2024, 03:50:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407838 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #15 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2014, 12:14:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สาธุขอขอบคุณท่าน dekinw ที่ให้เกียรติแก่บันทึกของผมครับ นึ่เป็นเพียงบันทึกเท่านั้นเอาไว้ทบทวนการปฏิบัติของผม ซึ่งยังอ่อนๆอยู่ชี้ทางใครไม่ได้ แต่ถ้าท่านเห็นประโยชน์ผมก็ยินดีด้วยอย่างยิ่ง แต่ต้องกรองเอาผิดถูกนะครับ เพื่อการไม่ทำให้เดินผิดทางหรือลุ่มหลง เพราะผมเองยังแค่ปุถุชน ธรรมปฏิบัติอันใดของพระตถาคตได้ทรงตรัสไว้ดีแล้วที่ผมนำมาเจริญปฏิบัติ ผมก็เข้าถึงและสัมผัสได้อย่างปุถุชนเท่านั้นครับ




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #16 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2014, 12:19:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานหลังจากที่ได้เจริญครบหมดในข้อ ๑-๓ แล้ว

เวลาที่เราเกิดราคะเมถุนจิตใจจะหวิวสั่นเครือ มีความรู้สึกจิตวิ่งลงจากเบื้องบนตั้งแต่หน้าอกลงมาหยั่งที่อวัยวะเพศ เหมือนอวัยวะเพศจะพองขึ้นมีน้ำไหลจากท่อปัสสาวะ แต่เรายังติดคิดอยู่ พอเมื่อรู้แล้วเข้าใจว่าราคะเมถุนเกิด ยิ่งทำให้จิตใคร่ทะยานไปใหญ่ ได้แต่คิดระลึกว่าทำไฉนหนอถึงจะละมันได้ ดับมันได้ ไม่กำเริบ ไม่หลงมัน ไม่สืบต่อได้ สมาธิก็ไม่ถึงไม่จดจ่อพอ ฌาณก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ปฏิบัติดังนี้
๑. ตัังอานาปานสติไว้ภายในเป็นเอกเป็นเบื้องต้น ดั่งที่พระตถาคตตรัสสอนใน "อสุภะ สูตรที่ ๖"
๒.หวนระลึกถึงดั่งเราปวดท้องขับถ่ายอุจจาระ เราจะรู้สึกจุกเสียดดั่งมีลมอัดลูกโป่งเคลื่อนดันมาที่ไส้น้อยไส้ใหญ่ บางครั้งก็ดูว่าอาการปวดนี้ยังมีไม่มากจะทำกิจธุระก่อนก็ได้ บางครั้งปวดมากท้องรีบเข้าห้องน้ำ เราจึงคิดว่าเหตุไฉนหนอ เราถึงรู้ว่าตอนนี้ควรเข้าห้องน้ำ ตอนนี้ยังเบาอยู่ ตอนนี้ยังทรงได้อยู่ แล้วพอเห็นว่าอ่อนๆพอทรงได้ก็ทำงานต่อ ก็ลืมอาการปวดไปด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่า เพราะหากตัดควมคิดว่า เราปวดขี้ เราต้องขับถ่ายออกแล้ว สิ่งที่เรารู้ก่อนคิดคือสภาวะธรรมของกายที่ส่งให้ใจรู้ ว่าเกิดอาการอย่างนี้ๆ พอใจรู้ ธรรมชาติของจิตนั้นคือคิดกอปรกับสัญญา มันก็คิดว่าปวดขี้ นี่น่ะทั้งๆที่เราเจอสภาวะจริงอยู่ทุกวันแต่กลับไม่รู้เอง มัวแต่คิดหาทางจนใช้ความคิดปิดกั้นความจริงไป เรานี่โง่จริงๆ สมองมีไว้คิด แต่วิญญาณธาตุมีไว้รู้เท่านั้น
๓. ดังนี้แล้วจึงเห็นและหวนระลึกถึงคำสอนของพระตถาคตที่ตรัสในสติปัฏฐานว่า สักแต่มีไว้ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ ทีนี้เวลาอาการไรๆเกิดขึ้นแก่เราแม้จะมีความคิดหรือไม่ก็ตาม เราจะตั้ง อานาปานสติ หรือจะเป็นพุทธโธไว้เบื้องต้นที่ภายในก่อน พอให้จิตตัดความคิดในบางขณะ แล้วก็ตั้งจิตที่ว่างแช่อยู่รู้แต่อาการของกายและใจที่เกิด แม้แต่คิดก็ดึงจิตแยกรู้แค่ว่ามันคิด คือ คิดก็รู้ว่าคิด คิดเป็นส่วนวิตก วิจาร คิดมันเป็นแค่การทำงานของสมอง คิดเป็นเรื่องของความปรุงแต่งในสังขารอันกอปรกับสัญญา เกิดอาการไรๆก็รู้ว่าอาการอย่างนี้ๆเกิดมีแก่เราเท่านั้น เจริญอยู่เหมือนดั่งที่เราเข้าไปรู้ว่าเราปวดขี้ มันรู้เพราะอาการนี้ๆเกิด ไม่ได้ไปจดจ้องเจตนาจะรู้ รู้อาการว่ามันเป็นอย่างไร เสียดมากหรือน้อย ทรงไหวไหม แต่พยายามรู้โดยไม่เจตนา รู้โดยไม่อิงสัญญา นั่นก็อาศัยมรรค ๘ นี้แล อาศัยให้กุศลมีเกิดขึ้น มีสติสัมปะชัญญะสังขารอยู่
- เหมือนตอนเรานั่งสมาธิได้ยินเสียงเขาทุบประตูที่ห้องข้างๆดังมาก แต่ในขณะนั้นเราแทบไม่ได้ยิน และไม่รู้ว่ามันคือเสียง รู้แค่สภาวะธรรมหนึ่งสภาวะธรรมนั้นมีอึกทึกเกิดขึ้นให้รู้ผัสสะนั้น จนเมื่อสำเหนียกกำหนดรู้ในอารมณ์นั้นก็เห็นรู้แค่ความอึกทึกแรงบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง อึกทึกอึมครึมกึกก้องปกคลุมอยู่นั้นนานพอควรสักระยะ พอจิตคลายจากทำสมาธิก็จึงรู้ว่านั่นคือเสียง แต่ยังไม่ดังมาก พอหลุดมารู้สึกตัวปกติจึงรู้ว่านั่นคือเสียงที่มีคนใช้ค้อนทุบเหล็กซึ่งดังมาก จากนั้นจึงเกิดความรำคาญหงุดหงิดไม่พอใจ เพราะตอนนั้นมันตีสองแล้ว เมื่อหวนระลึกอย่างนี้เราจึงเห็นว่านี่แสดงให้เห็นว่าหากแค่รู้สภาวะธรรมไม่มีความคิดต่อก็ไม่รู้อะไรไม่เกิดความอยาก ความขัดใจ ความใคร่ไรๆทั้งนั้น
๔. ด้วยเห็นข้างต้นจากข้อ ๑-๓ ไม่ว่าอาการไรๆเกิดขึ้นทางกายอย่างไร จิตก็มีเช่นนั้นเหมือนกัน เวลาจะมีอาการใดๆเกิดเราก็ตั้งกำหนดรู้ลมไว้ภายในเป็นที่ตั้งเบื้องต้น ดูอาการมันไป มันจะใคร่ใจหวิววูบวาบก็รู้ จะรู้สึกว่าตรงอวัยวะเพศเกิดสภาวะธรรมไรๆขึ้นจะรู้สึกพองตัวมีความเคลื่อนตัวไปขอสภาวะที่เอิบอาบซึมซาบไหลไปตามท่อปัสสาวะก็แค่รู้ ดูว่ามันมาก มันน้อย อาการยังไง ดูภายในตนว่ามันเกิดความอ่อนแข็งไหม ร้อนเร่าไหม อุ่นไหม เย็นไหม เคลื่อนตัวไหม เอิบอาบซึมซาบเกาะกุมไหม ว่างโล่งไงในขณะใดไหม เข้าไปรู้ไรๆไหม รู้อย่างไร สืบอย่างไร ไม่ให้ความหมายจากความรุ้สึกนั้นด้วยเดชแห่งพุทธเป็นต้นทำให้สลัดความคิดออก ด้วยเห็นว่าลมหายใจนี้บริสุทธิ์ไม่เร่าร้อน ไม่ประกอบด้วยความคิด ความฟุ้งซ่านบ้าง เป๊็นที่เบาโล่งของกายใจบ้าง เป็นที่สงบบ้าง ไม่ว่าอาการไรๆเกิดขึ้นก็แค่มีสภาวะธรรมนั้นๆเกิดเท่านั้นเอง

- แต่การกระทำทั้งหมดนี้ยังด้วยเจตนาตั้งจิตไว้ทำมันอยู่ ยังคิดตามอยู่ ยังทำไว้ในใจคือสำเหนียกรู้ได้ในบางช่วงเท่านั้น จึงทำให้ยังผลแค่ข่มไว้เป็นสมถะอยู่ เพราะยังรู้อาการนั้นมีชื่ออย่างนั้นอย่างนี้อยู่ ยังเห็นเป็นธาตุดิน ไฟ ชม น้ำ อากาศ วิญญาณอย่างนั้นๆนีีๆเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ถึงปัญญา คือ สัมมาทิฐิ ให้เห็นชอบ เพราะยังคิดอนุมานเอาอยู่
- แต่เราก็ไม่ใส่ใจไม่ฝักใฝ่ในผล ไม่ตั้งความปารถนา มันจะเกิดอย่างไรก็ช่างมัน รู้เห็นอย่างนี้แหละไปเรื่อยๆ มันจะได้มันได้เอง ถ้าไม่ได้ให้แสวงไขว่คว้าจนตายก็ไม่ได้ ถ้าเจตนาจะทำยังทำไม่ได้..แล้วมันจะถึงความเกิดขึ้นและทรงอยู่โดยไม่เจตนาได้อย่างไร
- ที่ทำอยู่นี่ก็คือสัมมัปธาน๔ แล้ว โดยมีศีลเป็นฐาน ถวายเป็นพุทธบูชา ดัวยเดชแห่งการกระทำในพุทธบูชานี้ เราคงถึงที่สุดแห่งกองทุกข์สักวัน สะสมบารมีการปฏิบัติไว้ดั่งรินน้ำใส่แก้วทีละหยดสองหยดสักวันมันก็จะเต็มไปเองอย่างแน่นอน ถ้าเราตั้งใจมั่นเจริญปฏิบัติดังนี้คือ
๑. มี ฉันทะอิทธิบาท ๔ คือ ความยินดี อันมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ไม่สัดส่ายใคร่ทำอยู่ในกุศลธรรมทั้งปวง ให้เป็นไปในความเพียรพยายาม คือ วิริยะอิทธิบาท ๔ เกิดสืบใน จิตตะอิทธิบาท ๔ คือ ความสนใจเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น คือ มีเจตนาตั้งจิตมั่นในกุศลทางกาย วาจา ใจนั้นๆ และ วิมังสาอิทธิบาท๔ คือ  (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
๒. มี ศีล เป็นบาทฐาน(มีอินทรีย์สังวร สำรวมระวังในอินทรีย์ ๖ รูปเพียงปัจจุบันทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่สืบปรุงแต่งเอานิมิตต่อ คือ ศีล มีศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น เกิดเป็นฐานของสมาธิ ฌาณ ปัญญา เหตุนั้นเพราะ..เมื่อมีความสังวรอยู่ สำรวมระวังในกายและวาจานั้น สติย่อมตั้งระลึกรู้ให้เกิดขึ้นอยู่เนื่องๆเป็นอันมาก เมื่อเกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันว่ากำลังทำกิจใดๆอยู่บ้าง มีสัมปะชัญญะมีอยู่ ตามรู้กายรู้ใจอันควรเหมาะดีแล้ว สมาธิย่อมเกิดในที่นั้นเพราะจดจ่อสภาวะนั้นๆอยู่ในที่นั้น ซึ่งเริ่มเกิดจากสติสัมปะชัญญะที่อาศัยรู้สิ่งที่เสพย์ดำเนินไปอยู่บ้าง เกิดความหวนระลึกรู้ตรึกนึกคิดอันเกิดแต่สัญญาบ้าง เมื่อกุศลอันเกิดมีใน สติ สมาธินั้นมากพอแล้ว ความแช่มชื่นก็เกิดมี ปิติ สุข สงบ จิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เกิดความรู้เห็นตามจริงโดยความคิดอันเกิดจากความทำไว้ในใจโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ คิดสืบค้นใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยความสำเหนียกจะกำหนดรู้ในสภาวะธรรมนั้นๆตามเหตุปัจจัย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป ความเป็นปฏิฆะต่อกันบ้าง ความเกิดฉันทะให้สืบต่อบ้าง ทั้งในกุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งปวงบ้าง เป็น สัมมาสังกัปโป)  จนเมื่อเกิดปัญญารู้เห็นตามจริงปราศจากการคิดอนุมานก็ทำให้สัมมาทิฐิเกิดขึ้นเป็นประธานแห่งมรรค
๓. มี พรหมวิหาร ๔  ความมีจิตเอ็นดูปรานีปารถนาดี ไม่เป็นศัตรูภัยพาลต่อกัน มีจิตสงเคราะห์เผื่อแผ่แบ่งปันต่อกัน มีความยินดีในความสุขสำเร็จหรือการคงไว้ซึ่งสุขสำเร็จซึ่งกันและกันอันดีปราศจากความริษยา มีความวางใจไว้กลางๆโดยแยบคายด้วยเห็นในเจตนาและผลของการกระทำโดยเจตนานั้นๆ โดยไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว เพราะไม่รู้จริง
๔. มี ทาน ความสืบจากจิตอันเอ็นดูปรานี-เผื่อแผ่-ยินดีในสุขสำเร็จของผู้อื่น เกิดเป็นการสละให้ เมื่อสละให้แล้วไม่มาติดใจข้องแวะในภายหลัง
๕. ตั้งมั่นในพละ ๕ พละ คือ กำลัง เป็นการเติมเสริมสร้างกำลังให้กายและใจ
    ก. ศรัทธา(มีใจเดียวแน่วแน่เชื่อโดยไม่คลางแคลงสงสัย เกิดเจตนาอันดี ทำให้จิตตั้งมั่น ศรัทธา ๔ คือ
      
       ก/๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง
          (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

       ก/๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง
          (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

       ก/๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง
          (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

       ก/๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า
          (เกิดความมีจิตตั้งมั่น สละคืนกิเลส รู้คุณของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนโดยไม่คลางแคลงใจ มีกำลังใจดี)

    ข. วิริยะพละ(เกิดกำลังความเพียรเจริญปฏิบัติอยู่ไม่ลดละ ท้อหรือถดถอย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้มีอิทธิบาท๔ ให้มาก จึงจะเกิดความเพียรได้ ความเพียรนั้นจะก็เป็นกำลังความเพียรในสัมมัปปธาน ๔)
    ค. สมาธิ(จิตตั้งมั่นจดจ่อแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ควรแก่งาน สัมมาสมาธิ)
    ง. สติ(ความระลึกรู้ ถ้าระลึกรู้โดยความหวนระลึกรู้โดยสัญญาบ้าง ความระลึกรู้โดยความคิดบ้าง ถือเป็นสติแบบบ้านๆทั่วไป แต่หากรู้ ตามรู้ เห็นในสภาวะธรรมตามจริงอันตัดจากความตรึกนึกคิดและเจตนา คือ สัมมาสติ)
    จ. ปัญญา(ความรู้อันเกิดจากความเห็นตามจริงไม่ตรึกนึกคิดอนุมานเอา มี วิตกวิจารแห่งองค์ฌาณเป็นต้นให้โยสิโสทำไว้ในใจโดยแยบคายพิจารณาตามจริง เกิดเป็นสัมมาทิฐิ เป็น มรรค)

- เมื่อยังจิตอย่างนี้ ก็เกิดสติสัมปะชัญญะมากขึ้น เกิดความไม่ลูบคลำเจตนาขึ้น อยู่ๆก็มีวูบหนึ่งขนลุกบ้าง ตรึงๆกายบ้าง วูบวาบบ้าง แล้วก็มีความอบอุ่นแต่โล่งจิตโล่งสมองปรอดโปร่งปกคลุมกายใจเกิดความน้่งแช่อยู่รู้แค่อารมณ์นั้นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2014, 03:46:02 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #17 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2014, 10:09:10 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]

            [๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิด
ขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำ
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
             ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
             ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ
ประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด
นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึง
แล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิ
ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]
             [๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร
             วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต  ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
*สังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ
การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง
ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  บรรทัดที่ ๖๘๑๗ - ๖๘๘๖.  หน้าที่  ๒๙๔ - ๒๙๗.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=6817&Z=6886&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=505
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2014, 10:26:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #18 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 03:33:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

   ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ)

- ปกติแล้วคนเราจะเกิดกามราคะขึ้นมานั้น ก็ด้วยเห็นในรูปใดๆทางตาเป็นใหญ่ นั้นคือ เห็นบุคคลเพศตรงข้ามทางตาแล้วเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นก็ตรึกนึกคิดปรุงแต่งไปพร้อมกับสัญญาสำคัญใจมองเขาให้เป็นไปในราคะ คือ สนองในความอยากเสพย์เมถุน จนเกิดเป็นความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์แห่งเมถุน จนเกิดความร้อนรุ่ม เร่าร้อนกลุ้มรุมทั้งกายและใจ ยังให้เกิดความถวิลหาทะยานอยากใคร่ได้ปารถนาที่จะเสพย์

- สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด
สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่


๑. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
๒. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา กรุณาซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
๓. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลายด้วยความไม่รู้ เพราะคึกคะนอง ทำโดยไม่มีความโลภหรือความโกรธมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม ปัญญาคือเข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้ชัดในกฎแห่งกรรม หรือมีสามัญสำนึกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเอง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ

- กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน


- เมื่อเกิดรับรู้ทางสฬายตนะใดๆแล้วเกิดกิเลสทุกข์ คือ กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ให้เจริญจิตขึ้นในกุศลวิตกดังนี้ครับ

๒.๑.๑ ก. เมื่อเกิดกามราคะขึ้นแก่จิตเมื่อเราได้รับรู้ทางตา
- ให้พึงรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว โดยความพอใจยินดีในสิ่งที่มีที่เป็นของบุคคลนั้นๆที่เราเห็น จนเกิดปารถนาใคร่ยินดีได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ใดๆที่รับรู้อยู่ เกิดความกำหนัดใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุนแล้ว พึงระลึกว่าทั้งๆที่บุคคลที่เราเห็นเขาก็เป็นอยู่ของเขาอย่างนั้น เรานั้นแหละที่ไปติดใจตรึกนึกปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จา
กความคิดอันเป็นไปในกามราคะจนทำให้เรารุ่มร้อนเร่าร้อนกายใจ
- ให้เปลี่ยนความคิดที่มองเขาใหม่ดังนี้
  ก. คิดใหม่มองใหม่ดั่งท่านพระบิณโฑลภารทวาชะเถระท่านตอบคำถามแก่พระเจ้าอุเทนว่า

         พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      - เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่า เป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา
       - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว
       - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา

         ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท
         เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย
         ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


  ข. คิดใหม่มองให้โดยดูว่าบุคคลนั้นๆที่เราเห็นอยู่เขาทำบุญมาอย่างไรหนอจึงมีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณอันหมดจดงดงาม ฉลาด เป็นที่น่ารักน่าชื่นชมปารถนาแก่เราแลบุคคลทั้งหลาย มีความอยู่ดีกินดีเป็นสุขกายสบายใจอย่างนี้

    ข.๑ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ทาน" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

    ข.๒ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ศีล" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

    ข.๓ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "สมาธิ" และ "วิปัสสนา" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ
    ข.๔ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "พรหมวิหาร ๔" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

(พรหมวิหาร ๔ เป็นอาหารเสริมที่ใช้บำรุงรากฐานอย่างดี ให้เจริญใน ศีล ทาน สมาธิ สำเร็จบริบูรณ์ได้ด้วยดี เพราะมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

       ๑. เมื่อเราปารถนาอยากจะมีคนรักที่งดงามดีพร้อมทุกอย่าง หรือ ปารถนาที่จะได้ครอบครอง ครองคู่กับที่คนเราชอบเราปลื้มใจอยู่ ดั่งเช่นคนที่เรามองเห็นและเสพย์ความกำหนัดใคร่ปารถนาอยู่นี้ เราก็ควรที่จะทำในบุญกุศลให้มากให้มีเสมอกันกับเขา นั่นคือเราต้องเพียร ขยัน อดทน เจริญปฏิบัติให้เรามีพรหมวิหาร๔ ศีล ทาน สมาธิ ปัญญาให้มีบารมีเต็มหรือมากพอกับเขาหรือสูงกว่าเพื่อให้มีบารมีคู่กัน ดั่งเราเห็นว่ามีคู่ครองบางคู่นั้นแม้ชายหน้าตาไม่งดงามแต่ผู้หญิงหน้าตางดงามครองคู่รักใคร่กันก็มี ผู้ชายจนผู้หญิงรวยสวยงดงามครองคู่กันก็มี หรือ คนหน้าตางดงามสมกันมีฐานะที่สมกันครองคู่กันก็มี นั่นเพราะเขาสร้ามบุญบารมีทั้ง ๕ ข้อดังกล่าวนี้เสมอกันมา ดังนั้นเมื่อเราปารถนาจะมีคู่ครองงดงาม มีนิสัย วาจา การกระทำ ที่สมกันกับเรา หรือ อยากให้บุคคลที่เราปารถนาอยู่นั้นเป็นคู่ครองเรา เราก็ต้องเพียรขยันอดทนอย่างไม่ลดละเพื่อที่จะสร้างบารมีทั้ง ๔ นี้ให้มากเสมอเขาหรือมากกว่าเขา ด้วยประการฉะนี้
       ๒. สำหรับเมื่อเราถือเนกขัมมะ(เป็นฆราวาสแต่ถือบวชใจมีศีล ๕ หรือ ศีล ๘ เป็นเบื้องต้น) แม้จะเจอบุคคลที่เราพอใจยินดีเป็นที่งดงามหมดจดดั่งตนใคร่ได้ปารถนาดีแล้ว แต่เรามิอาจที่จะได้ยลหรือครองคู่ใดๆร่วมกับเขา ก็ให้พึงระลึกว่า เขาไม่ได้ถูกสร้างหรือลิขิตมาเพื่อเป็นคนของเรา ดังนั้นถึงแม้เราจะพึงปารถนาในเขาไป หรือ ตะเกียกตะกายไขว่คว้าเพื่อที่จะได้เขามามากเท่าไหร่จนแม้แลกด้วยกับชีวิตที่มีอยู่นี้ก็ไม่มีทางที่จะสมปารถนาไปได้ เพราะเขาไม่ได้ถูกสร้างเพื่อเกิดมาเป็นคนของเราดังนี้ แต่หากเป็นคนที่เขาถูกสร้างมาเพื่อกันและกันแล้วถึงแม้ไม่ต้องต้องพูด-ไม่ต้องไขว่คว้าปารถนา-ไม่ต้องไปทุ่มเทอะไรมากมายเขาก็จะถูกชักจูงให้ได้อยู่ครองคู่รักกันร่วมเคียงข้างกันอยุ่ดีไม่แคล้วคลาดกันไปดังนี้ ดังนั้นด้วยเพราะเขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเรานั่นคงเป็นเพราะชาตินี้เราเกิดมาเพื่อสร้างในบารมีทั้ง ๔ ข้อนั้นให้เพียงพอแก่ตนเองเพื่อถึงความหลุดพ้นจากทุกข์อันร้อนรุ่มกายใจ เร่าร้อนกายใจ เจ็บปวดกายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ ทรมานกายใจดั่งที่เราเผชิญอยู่เหล่านี้ให้สิ้นไปไม่มีอีก เราก็ควรที่จะเพียรขยัน อดทนเจริญปฏิบัติในทั้ง ๔ ข้อนี้ให้มากอย่างไม่ย่อท้อเพื่อในภายภาคหน้า หรือ ชาติหน้าเราจักมีนางแก้วเป็นคู่บารมีครองคู่กันและไปถึงซึ่งพระนิพพานด้วยกันดังนี้

(เป็นการใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนันทะเถระซึ่งเป็นผู้มีราคะมากให้เปลี่ยนความคิดความกระทำใหม่โดยพาไปดูนางอัปสรบาสวรรค์ทั้งหลายพร้อมตรัสสอนเห็นเกิดความเห็นและความคิดอันเป็นอุบายในการปฏิบัติจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์)



  ค. บุคคลนั้นๆที่เราเห็นเขาก็อยู่ตามปกติของเขาอยู่อย่างนั้น เราเองที่ไปมองเอาส่วนเล็กส่วนน้อย ส่วนเว้าส่วนโค้ง จุดนั้นจุดนี้ของเขาแล้วเอามาคิดปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จนเกิดความกำหนัดขึ้นมา เพราะว่าเรามองเขาอย่างนี้จึงทำให้เกิดราคะกลุ้มรุม ดังนั้นเราควรเปลี่ยนความคิดที่จะมองเขาเสียใหม่โดยมองในจุดที่เป็นจุดรวมๆ เพื่อให้กายใจเราสลัดจากความเร่าร้อนร้อมรุ่มที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมเราอยู่ดังนี้

เหตุที่กล่าวว่ามองเอาส่วนเล็กส่วนน้อยนั้นเป็นไฉน ที่ผมพอจะรู้เห็นได้คือ

(ธรรมฃาติเมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางตา) -> (สภาวะแรกก็สักแต่เห็นไม่มีบัญญัติ เห็นเป็นสีๆมีเคล้าโครงรูปร่างต่างๆเท่านั้น) ->

(เข้าไปรู้สภาพที่เห็นอยู่+สัญญา = รู้บัญญัติเป็นตัวตนบุคล สัตว์ สิ่งของ) ->

(เวทนา) -> (ฉันทะ พอใจยินดี/ปฏิฆะ ไม่พอใจยินดี) -> (เจตนา จงใจตั้งใจมองดูส่วนเล็กส่วนน้อย) ->

(อกุศลวิตก+ความหวนระลึกถึงสัญญาความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจใดๆ) ->

(มองดูส่วนเล็กส่วนน้อยที่ใจเราให้สำคัญหมายรู้) ->

(ความปรุงแต่งจิตอันเป็นไปใน "ฉันทะ" + "ปฏิฆะ") -> (ความปรุงแต่งจิตสมมติสร้างเรื่่องราว) ->

โลภะ(เพลิดเพลิน) -> นันทิ(ติดใจเพลิดเพลิน) ->

กาม(น่าใคร่น่าปารถนาในอารมณ์ไรๆที่ทำให้เราเพลิดเพลินอยู่นั้น) ->

ราคะ(ฝักใฝ่หมายมั่นใคร่ปารถนาในอารมณ์นั้นๆ) ->

ฉันทะราคะ" คือ ความกำหนัดมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงติดใคร่พอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ ->
(ฉันทะราคะ มีสภาวะที่จิตเรานั้น..มีความผูกใฝ่หมายมั่นจดจ่อแนบแน่นใคร่ปารถนาในอารมณ์ไรๆที่ตนมีความติดใคร่พอใจยินดีอยู่)

(ร้อนรุ่ม รุ่มร้อน เร่าร้อน เดือดเนื้อร้อนใจกลุ้มรุม) -> (ทะยานอยาก ๓) -> (ทุกข์)


    ค.๑ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ บุคลนั้นอยู่ในอิริยาบถใด เช่น ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน ไม่ไปสัดส่ายมองดูจ้องดูในอวัยะส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาจนเกิดความปรุงแต่งนึกคิดอันเป็นไปในกามราคะ ทำให้เราเห็นเป็นเพียงแค่คน ไม่ว่าจะเพศไรๆที่อยู่ในอริยาบถต่างๆเท่านั้น
(เป็นการดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นรู้เพียงสิ่งที่เห็นในปัจจุบันขณะอันไม่เอาความตรึกนึกคิดจากการสำคัญใจที่จะมองในราคะ)

    ค.๒ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ สีเสื้อ ดูว่าที่เราเห็นเขานุ่งห่มอยู่นั้นเป็นสีอะไร มีสีอะไรบ้าง รูปทรงของสีเหล่านั้นเป็นไฉน เพ่งจุดเพียงสีเท่านั้น เมื่อมองเช่นนี้แม้เราจะรู้เพศ รู้สีผิว สีเสื้อผ้า ความสูงต่ำ แต่ไม่ได้ใส่ใจที่หน้าตาและส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาแล้ว
(เรียกว่าใส่ใจมองในจุดใหญ่ๆที่มองเห็นได้ คือ ดูสีจากเสื้อผ้าเป็นอารมณ์ โดยไม่ได้เจาะเข้าไปดูส่วนเอว ส่วนนม ตรงอวัยะเพศเป็นยังไง ซึ่งความคิดที่จะมองดูและเพ่งเล็งอย่างนี้จะทำให้เกิดการตรึกนึกต่อเสพย์อารมณ์ของกิเลสสืบมา)

    ค.๓ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ เขาก็มีร่างกายอวัยวะต่างๆเหมือนเพศตรงข้ามคนอื่นๆทั่วไปที่เราพบเจอ มี 2 ขา 2 แขน มีผม มีคิ้ว มีหู มีเนื้อ มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราเคยพบเจอไม่ได้ต่างกันเลย ซึ่งคนที่เราเคยพบเจอเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะมองด้วนราคะทุกคน ทั้งๆที่มีอวัยวะทั้งหมดเหมือนกันทุกอย่าง สิ่งที่ต่างก็เพียงแค่สี และ เคล้าโคลงรูปร่าง รูปพรรณสันฐานเท่านั้น เขาก็เป็นเพียงเพศตรงข้ามเหมือนคนอื่นที่เราได้เคยพบเจอทั่วไปเท่านั้น
(เป็นการมองโดยมีความคิดที่ลงมองในรูปขันธ์ตามอาการต่างๆที่เหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราไม่ได้สำคัญใจมองด้วยราคะที่เราเคยพบเจอ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 03:10:55 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #19 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 03:35:10 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

    ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (ในปัญญาขั้นสมถะไปถึงสัมมาสังกัปปะที่แท้จริง)

   ง. ที่เราเกิดกามราคะกลุ้มรุมนั้น ก็เพราะเราสำคัญใจที่จะมองและตรึกนึกคิดต่อบุคคลที่เราเห็นนั้นด้วยราคะ(ราคะสังกัปปะ) เราก็ละทิ้งความคิดอันเป็นไปในกามนั้นเสีย แล้วเปลี่ยนความคิดใหม่โดยดึงเอาสิ่งที่รู้เห็นอยู่นี้มาวิเคราะห์ลงในธรรมให้เห็นตามจริง(ธัมมะวิจยะ) จนเกิดความเบื่อหน่ายแล้วสลัดทิ้งในกามราคะที่กลุ้มรุมกายใจเราเหล่านั้นให้คงอยู่สืบไปตามสติกำลัง เรียกว่า นิพพิทาในปัญญาของสมถะ ดังนี้ครับ

     ง.๑ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเปลี่ยนและละในการให้ความสำคัญของใจจากสิ่งที่มองอยู่ มารู้ตัวอยู่กับปัจจุบันขณะ
           โดยให้หายใจออกจนสุดลมแล้วกลั้นหายใจไว้จนทนไม่ได้ แล้วค่อยหายใจเข้า แล้วตรึกนึกคิดใหม่ว่าการที่เราไปเพ่งเล็งเขาด้วยราคะอยู่นั้นมันสร้างความเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจจนเกิดความกำหนัดใครถวิลหา และ แม้เราเห็นเขาอยู่นั้นเราก็ไม่ได้สัมผัสกายใจไรๆของเขาเลย ซึ่งเขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นแต่เรานี้เองที่เข้าไปเสพย์อารมณ์ตรึกนึกคิดปรุงแต่งจนเสวยโทมนัสเวทนารุ่มร้อนกายใจ ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาตรงนั้นและเราอยู่ของเราที่ตรงนี้ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือสัมผัสไรๆในเขาเลย "แม้เราไม่ได้สัมผัสไรๆในตัวเขา ไม่ได้ร่วมเสพย์ในเมถุนกับเขา ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่ตายหนอ แต่การที่เราหายใจออกไป แล้วไม่หายใจเข้านี่สิจักทำให้เราทุรนทุรายจักตายเสียตรงนี้ให้ได้ กามราคะนั้นหนอไม่ได้สำคัญและเทียบไม่ได้เท่าลมหายใจที่หล่อเลี้ยงให้กายนี้ยังชีวิตเราให้อยู่ได้ ดังนั้นการจดจ่อเพ่งเล็งที่ลมหายใจเขาออกย่อมมีคุณประโยชน์มากกว่าที่เราจะไปเจาะจงเพ่งเล็งที่เรือนร่างอวัยวะส่วนเล็กส่วนน้อยของคนเพศตรงข้ามที่เราเห็นนั้นเสียอีก กามราคะนั้นหาประโยชน์ไรๆไม่ได้แก่เราเลยนอกจากทุกข์ดังนี้
(เป็นการดึงเอาสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะและสติความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ขึ้นมา คิดตรึกนึกวิเคราะห์ลงในธรรมอันเรียกว่าธัมมะวิจยะ เพื่อให้เห็นไปด้วยความไม่มีคุณประโยชน์จากกิเลสที่เกิดขึ้นทางสฬายตนะ(แม้ยังซึ่งบัญญัติอยู่แต่ก็เป็นไปด้วยการพิจารณาในการรับรู้ซึ่งสภาพที่เกิดขึ้นจริง) เมื่อยังในอารมณ์พิจารณาอย่างนี้อยู่เนื่องๆก็จะพิจารณาเห็นธรรมตามจริงอันมีความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่น เมื่อเห็นเพศตรงข้ามที่พอใจราคะก็เกิด เมื่อหายใจออกจนสุดไม่หายใจเข้าราคะก็ดับไปแต่เกิดความต้องการที่จะหายใจเข้าแทน พอหายใจเข้าและออกจนเป็นปกติได้แล้ว จิตที่จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจก็ดับไป จนพิจารณาเห็นตามจริงถึงความไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ มีความเกิดดับๆอยู่ตลอดเป็นธรรมดาไม่คงอยู่นาน ความเข้าไปเสพย์หลงไหล ลุ่มหลงไป ใคร่ตามกับสิ่งไม่เที่ยง คือจิตสังขารหล่านี้มันเป็นทุกข์ จนถึงแม้กายเรานี้ก็ไม่คงอยู่ ไม่หายใจก็จักต้องตาย-ที่ยังชีพอยู่ก็ด้วยมีลมหายใจหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่กินก็ตายเพราะไม่มีอาหารเครื่องประโยชน์ให้ร่างกายซึมซับดำรงชีพอยู่-มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะกิน ไม่ขับถ่ายร่างกายก็แปรปรวนเสื่อมโทรมในอวัยวะต่างๆจนถึงความเสื่อมทุพลภาพของกายทั้งหมดนี้แล้วก็ตาย ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงบ้าง เห็นความตายอยู่ทุกขณะบ้าง ย่อมเข้าถึงยถาภูญาณทัสสนะ ไม่ว่าจะบัญญัติ หรือ ปรมัตถธรรมอันเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใดก็ตามและถึงแม้จะไม่เห็นทั้งหมดหรือตลอดเวลาก็จัดว่าเป็นปัญญาในขั้นต้นด้วย แม้อาจจะยังเกิดความเบื่อหน่ายบ้างไม่เบื่อบ้าง เข้าถึงแล้วบ้างไม่ถึงบ้างอันนี้ผมก็เรียกว่า นิพพิทาในขั้นสมถะปัญญา เกิดความเห็นตามจริงมีแลหาแนวทางเจริญปฏิบัติแสวงหาเพื่อถึงทางออกจากทุกข์ จนเมื่อเกิดความรู้เห็นตามจริงด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นตามจริงอันไม่เสื่อมไป เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเกิดนิพพิทาญาณในขั้นวิปัสสนาญาณอันแท้จริง)

     ง.๒ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเจริญจิตขึ้นพิจาณาให้เห็นตามจึงถึงความไม่มีตัว ความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในจากสิ่งที่เรามองเห็นอยู่
           โดยมองว่า บุคคลที่เราเห็นนั้นหนอแม้จะงดงาม สวยหยาดเยิ้ม หรือ หล่อเหลา น่าชื่นชมขนาดไหนก็ตาม แต่เขาก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แม้นหากเขานั้นเป็นของเราจริงแล้ว เราก็ย่อมที่จะสามารถบังคับสั่งให้เขาเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ว่า เออนะขอเธอจงมารักเราเถิด เออนะขอเธอจงเข้ามาหาเราเถิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราเกิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราด้วยใจรักอันปราศจากอามิสเครื่องล่อใจเถิด เออนะขอเธอจงมาร่วมใช้ชีวิตคู่กับเราเถิด แต่ทว่าถึงแม้เราจะปารถนาอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นตามใจปารถนาแต่มันก็หาเป็นไปสมดั่งใจเราหวังไม่ เพราะเราไม่อาจจะไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง สั่งให้เขากระทำทั้งกายและใจอย่างนั้นอย่างนี้ได้ดั่งใจเราหวังไม่ นั่นก็ด้วยเพราะเขาไม่ใช่เรา เขาไม่ใช่ของเรา สักแต่เป็นบุคคลที่เราเห็นแล้วก็จักเลยผ่านไป ไม่มีตัวตนอันที่เราจะเข้าไปตั้งความหวังปารถนาไรๆจากเขาได้ เพราะเขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราดังนี้ ยิ่งปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไป มันก็ยิ่งเป็นทุกข์อันถูกกลุ้มรุมด้วยความร้อนรุ่ม ร้อนรน เร่าร้อนกายใจ หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้เลยดังนี้
(เป็นการพิจารณาจนเห็นความไม่มีตัวตน เห็นความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในสิ่งทั้งปวงนี่ก็จัดเป็นยถาภูญาณทัสสนะอย่างหนึ่ง คือ ความรู้เห็นในทุกขอริยะสัจ และ เห็นความเป็นไปตามจริงด้วยปัญญาขั้นต้น(ในส่วนผมยกมานี้ผมหมายกล่าวถึงความเห็นตามจริงอันเป็นบัญญัติอยู่ เพราะยังคงเป็นบัญญัติอยู่บ้างหรืออาจจะเห็นรูปนามอยู่บ้างเล็กน้อย) แต่ก็เป็นทางเข้าสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆแล้ว จนเกิดความเบื่อหน่ายอันเป็นนิพพิทาเช่นกัน แต่เป็นนิพพิทาในแบบสมถะอันยังมีบัญญัติความคิดอนุมานเป็นใหญ่อยู่ โดยมีความหน่ายแบบเป็นๆหายๆถ้าไม่ทรงอารมณ์ไว้ด้วยเพราะยังคงเป็นบัญญัติเป็นปัญญาจากความคิดอนุมานเอา ยังไม่เห็นตามจริงโดยปราศจากความคิดอยู่ มีความติดใจอยู่ซึ่งยังถอนออกไม่หมด เพียงแต่คลายความยึดมั่นแล้วเห็นทางที่ควรเจริญแล้วบ้าง เป็นปัญญาโดยสมถะ ปัญญาจากความนึปกคิดอนุมาน ยังไม่ใช่สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะตามจริง
   จนเมื่อเกิดปัญญาเห็นแจ้งตามจริงในความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใด ไปจนเข้าถึงแลเห็นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรม โดยปราศจากความตรึกนึกคิดอนุมาน คือ เห็นในสภาวะนั้นจริงๆโดยไม่ใช้ความคิด ปราศจากเจตนาความจงใจหมายทำ นี่เป็นปัญญาในวิปัสสนา จนเกิดความเบื่อหน่ายด้วยปัญญาโดยไม่ถ่ายถอน เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเข้าถึงนิพพิทาญาณในขั้นวิปัสสนาญาณอันแท้จริง)

* ปัญญา คือ ความรู้เห็นตามจริง , ญาณ คือ ความรู้แจ้งแทงตลอด (นี่คือความเข้าใจในขณะนั้น)

                นิพพิทาสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑  (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)
มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑  (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)
มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑  (เช่น โลกธรรม ๘)
พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑  (เช่น พระไตรลักษณ์)
ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑  (เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

                จบสูตรที่ ๙






๒.๑.๑.ข การเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเกิดราคะจากการรู้อารมณ์ทางทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

- การเจริญจิตขึ้นเปลี่ยนแปลงความคิดเพื่อละในกามราคะเมื่อได้รับรู้ผัสสะทาง "หู" คือ "เสียง" ก็ให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงความคิดไม่ต่างกันขอยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้

ก. เมื่อได้ยินเสียงไรๆก็ตามแล้วเอาไปคิดปรุงแต่งไปเองจนทำให้เราเกิดราคะ ที่เราได้ยินเสียงไรๆแล้วเกิดราคะนั่นเพราะเราได้ยินแล้วตรึกนึกคิดให้เป็นไปในราคะทั้งที่เป็นความจริงบ้างและไม่จริงบ้าง แต่ก็คิดเดาเอาว่าเป็นเสียงในการเสพย์เมถุนอยู่เช่นนั้นโดยที่ไม่รู้ว่าจริงไหมจนเกิดความกำหนัดแก่ตนให้ความร้อนรุ่มและเร่าร้อนกลุ้มรุมกายและใจตนเอง
    ก.๑ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่จากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงที่เกิดเพราะอาการอย่างอื่นไหม เช่น เขาเกิดอุบัติเหตุไหม เขามีความเจ็บป่วยในร่างกายไหม เขาร้องเรียกออกมาเพราะความทรมานไหม เขากรีดร้องออกมาเพราะถูกทำร้ายไหม
    ก.๒ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงของสภาพแวดล้อมอื่นๆไหม เช่น เสียงพัดลม เสียงเปิดปิดประตู เสียงหนูวิ่ง แมงวิ่ง หมาวิ่ง เสียงแอร์ เสียงนกร้อง เสียงแมวร้อง เสียงหนูร้อง เสียงหมาร้อง เสียงผมพัดสิ่งของไรๆไหม ทั้งๆที่มันเป็นเพียงแค่เสียง และเราก็ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นตามจริงว่าเป็นเสียงอะไรมีความจริงเป็นไฉนกลับไปตรึกนึกคิดเอาเป็นเอาตายในราคะอย่างนั้น
ข. เมื่อได้ยินได้ฟังเสียงของเพศตรงข้ามที่พูดคุยสนทนากันอยู่แล้วเกิดราคะ นั้นก็เพราะด้วยเสียงนั้นทำให้เราเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นเราก็เอามาปรุงแต่งนึกคิดเสพย์อารมณ์ให้เกิดความใคร่ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในเมถุน ก็พึงลองเปลี่ยนความคิดใหม่ดูดังนี้ว่า
    ข.๑ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ เพราะเป็นเสียงที่ชอบที่พอใจเพลิดเพลินยินดีว่าไพเราะบ้าง แล้วก็ปรุงแต่งคิดไปว่าเหมือนเสียงที่เสพย์เมถุนอยู่บ้างหรือหากเมื่อเสพย์เมถุนแล้วจักเป็นสภาพแบบใดบ้าง หรือ เสียงเซ็กซี่บ้าง เสียงน่ารักเพลิดเพลินใจบ้าง ทั้งๆที่ปัจจุบันเขาก็อยู่ในส่วนในที่ของเขาและเราก็อยู่ของเราที่ตรงนี้ ไม่ได้เข้าใกล้ไม่ได้สัมผัสข้องเกี่ยวกันเลย แต่เรานั้นเองที่ได้ยินเสียงอันเป็นท่วงทำนองที่เสนาะใจแล้วเอามาคิดให้เป็นไปในราคะเอง (ดังนี้คือการเรียกสติสัมปชัญญะให้ตื่นขึ้นรู้ความจริงในปัจจุบันและสลัดจากการถูกความคิดอันเป็นไปในราคะกลุ้มรุม)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2014, 10:13:38 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #20 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 03:40:04 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

   ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (ในปัญญาขั้นสมถะไปถึงสัมมาสังกัปปะที่แท้จริง)

   ข.๒ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ ทั้งๆที่มันก็เป็นเพียงเสียงอันเป็นธรรมชาติที่หูเราจักพึงได้ยิน(นี่ถ้าไม่ได้ยินก็แสดงว่าหูหนวกแล้ว) ทั้งที่ตัวเขาก็ไม่ได้อยู่กับเรา ทั้งๆที่จริงแล้วหูของเรานั้นก็แค่ได้ยินเสียงอันมี น้ำหนัก ทำนอง และ ถ้อยคำต่างๆเท่านั้น ไม่ต่างจากที่เราได้รับฟังหรือได้ยินจากคนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นที่อยู่ในที่นี้ๆ หรือ ที่อยู่ในที่อื่นๆเลย แต่เราเองต่างหากที่ฟังแล้วไปคิดปรุงแต่งให้ความสำคัญมั่นหมายของเสียงนั้นในความรู้สึกเช่นนั้นจนเกิดราคะอันเร่าร้อนรุ่มร้อนกลุ้มรุมกายใจเอง นี่เรียกว่าเราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเพราะความคิด เป็นผู้หลงอยู่ในความคิดอันเรียกว่า ราคะสังกัปปะ
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่คำพูด หรือ ความหมายของคำพูดแต่ละคำเท่านั้น
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่สภาพของน้ำเสียงนั้นๆว่ากล่าวออกมาด้วยวาจาอย่างไร เช่น เขาพูดกระแทก พูดพร้ำเพ้อ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดยุแยงตะแครงรั่ว พูดเหยียหยาม เมื่อรู้ดังนี้ก็ไม่ต้องไปคิดโต้ตอบกับเสียงที่ได้ยินเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "มิจฉาวาจา" ไม่ควรเอาอย่าง ไม่ควรเสพย์ ไม่ควรจะกล่าวออกจากปากเราเพราะมันไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขไรๆนอกจากทุกข์ เป็นวาจาอันเมื่อกล่าวแล้วก็จักมีภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น หรือ เขาพูดด้วยวาจาอันดีไพเราะ มีเหตุมีผลหรือสามารถทบทวนวิเคราะห์เห็นในเหตุและผลได้ ไม่พูดพร่ำเพ้อ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดจาส่อเสียดยุแยง ไม่พูดเหยียดหยัน มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ก็ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "สัมมาวาจา" ควรที่จะเอาอย่าง ควรที่จะเสพย์ ควรที่จะกล่าว ควรที่จะเจริญให้มาก ควรที่จะออกจากปากของเรา ให้เรารู้แค่เพียงเท่านั้นก็พอ

   - แนวทางเบื้องต้นก็มีด้วยประการฉะนี้ ไม่ว่าจะเป็น "กลิ่น" หรือ "รส" หรือ "โผฐัพพะ" ก็เจริญอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับปัญญาและจริตนิสัยของแต่ละคนว่าจะเห็นในทุกข์ของมันเห็นอุบายวิธีการละของมันอย่างไร เห็นอุบายเจริญได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ จริตนิสัยและปัญญาของผู้ปฏิบัติเองทั้งนั้นครับ อุบายของผมอาจจะไม่ถูกกับหลายๆท่านและอุบายของท่านอาจจะใช้ไม่ได้กับผมดังนั้นท่านทั้งหลายเพียงดูอุบายของผมพอเป็นแนวทางแล้วก็วิเคราะห์พิจารณาให้เห็นถึงอุบายอันถูกจริตของท่านแต่ละคนจะเป็นประโยชน์ที่สุดครับ






    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 04:34:38 PM »
๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๑)

   ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

   ๒.๒.๑.ก เจริญจิตขึ้นระลึกในพุทธานุสสติเป็นฐานแห่งจิตและความระลึกรู้ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ก. เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะแล้วเกิดกามราคะ ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติตั้งอยู่ระลึกรู้ว่าราคะเกิด จากนั้นให้เจริญอานาปานนสติ+พุทธานุสสติทำดังนี้

๑. หายใจเข้ายาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจเข้ายาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "พุทธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้รู้-ผู้ตื่นจากโมหะ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 84000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้ายาวจนสุดลมแล้ว เราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)

๒. หายใจออกยาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจออกยาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "โธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้รู้-ผู้ตื่นจากโมหะ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 84000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้าออกจนสุดลมแล้วเราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)
- พึงเจริญอนุสสติด้วยอานาปานนสติและพุทธานุสสติเแล้วระลึกอย่างนี้สัก 3-5 ครั้ง คือ หายใจเข้า(พุทธ)+หายใจออก(โธ) นับเป็น 1 ครั้ง เพื่อดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นมารู้กายรู้ใจในปัจจุบันทำให้จิตสงบและผละออกจากกามราคะ

ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่าบุคคลใดก็ตาแม้จะระลึกถึงหรือเห็นพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวคำว่า อระหังๆๆๆ อยู่อย่างนี้ แม้จะสงบรำงับจากกิเลสได้แต่ก็ยังขจัดทิ้งซึ่งกิเลสไม่ได้ หากเอาแต่ระลึกบริกรรมแต่ไม่ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุดังนี้แล้วเราจะเจริญพุทธานุสสติอย่างไรให้หลุดพ้นซึ่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

๑. การยังความสำรวม กาย วาจา ใจ มีศีลสังวรด้วยพุทธานุสสติ(ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอันว่าด้วย วิชชาจรณะสัมปันโณ และ ปุริสทัมสารถิ)

ให้พึงกำหนดนิมิตเจริญปฏิบัติดังนี้คือ "พึงตรึกนึก รำลึกคำนึงถึงว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงพระเมตตาและมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงมาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราผู้เป็นสาวกแล้ว"
เมื่อพระตถาคตมาอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว และ พระตถาคตนั้นทรงมีความสำรวมกาย-วาจา-ใจอยู่ มี "ศีลสังวร" มี "วิชชาและจรณะ" อันบริบูรณ์พร้อมแล้ว ได้กระทำให้เราเห็นอยู่เบื้องหน้าดังนี้แล้ว เพื่อให้เราผู้เป็นสาวกเจริญปฏิบัติตาม เรายังจะเสพย์ในกามราคะอันร้อนรุ่มอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรต่อหน้าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เราผู้เป็นสาวกผู้ประพฤติตามอยู่นี้ควรสำรวมกาย-วาจา-ใจ ดั่งพระตถาคตที่ทำเป็นแบบอย่างนั้นแก่เรา พระตถาคตจะตรัสสอนเสมอว่าให้เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลง แล้วอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเลื่อมลง แล้วกุศลธรรมอันผ่องใสเบิกบาน มีความสงบร่มเย็น เป็นสุขอันปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ปราศจากความเบียดเบียนเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นควรเสพย์ ทรงสอนให้สาวกดำรงศีลไว้เป็นฐานที่ตั้งแห่งทานและภาวนา มีพรหมวิหาร ๔ คลุมไว้เป็นเครื่องป้องกันและเสริมให้บริบูรณ์ เพื่อความขัดเกลากิเลส
(การสำรวมกาย วาจา ใจ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ ดูเพิ่มเติมที่ "สัลเลขะสูตร" ตาม Link นี้ http://www.nkgen.com/386.htm)

๒. ด้วยเหตุดังนี้แล้ว ให้พึงหวนพิจารณารำลึกว่า พระตถาคตก็อยู่เบื้องหน้าเรานี้แล้ว และ แสดงธรรมแห่งกุศลอันควรเจริญปฏิบัติแก่เราแล้วอยู่ทุกขณะดังนี้
  ก. แม้เรายืนอยู่-พระตถาคตก็ทรงพระวรกายยืนในเบื้องหน้าเรา ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ข. แม้เราเดินอยู่-พระตถาคตก็ทรงเสด็จนำหน้าเราไปอยู่นี้เสมอ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ค. แม้เรานั่งอยู่-พระตถาคตก็ทรงประทับนั่งอยู่เบื้องหน้าเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ง. แม้เรานอนอยู่-พระตถาคตก็ทรงบรรทมอยู่เบื้องหน้าเรา หากมีหิ้งพระอยู่ที่บ้านก็ให้พึงรำลึกว่าพระตถาคตประทับบรรทมอยู่ที่นั่น หรือ ทรงพระญาณแลดูเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์แม้ในยามนอนให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
๓. ด้วยพระเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงดูแลเป็นห่วงเราอยู่แลปฏิบัติให้เห็นอย่างนี้ แล้วเราผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคตก็ควรประพฤติตาม คือ ต้องสำรวมในกาย วาจา ใจ มีสีลสังวร แล้วละเสียซึ่งกิเลสกามราคะอันเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจที่กำลังกลุ้มรุมเราอยู่นี้เสีย ด้วยพึงเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพย์ เพราะมันหาประโยชน์สุขอันสงบร่มเย็นกายใจไม่ได้นอกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้แล (การพิจารณาให้เห็นถึงคุณและโทษตามจริงในกิเลสทำให้เกิดธรรมที่มีเสมอกันคือทั้ง ฉันทะและปฏิฆะเท่ากัน เกิดเป็นอุเบกขาขึ้นแก่จิต นี่ก็เป็นทางเข้าสู่อุเบกขาจิตประการหนึ่งที่ว่าด้วยการมีธรรมเสมอกัน)

๔. เพียรเจริญปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ จิตที่น้อมไปหากามราคะจะเบาบางและสงบรำงับลง การสำรวมในกาย-วาจา-ใจก็บริบูรณ์ขึ้น เกิดเป็นศีลสังวรณ์ จนบังเกิดศีลที่บริสุทธิ์(สีลวิสุทธิ) เมื่อหวนระลึกถึงศีลที่สำเร็จบริบูรณฺ์นี้แล้ว ความร้อนรุ่มกายใจย่อมไม่มี จิตย่อมมีความผ่องใสปราโมทย์เบิกบาน มีปิติอิ่มเอม เป็นสุข จนเข้าถึงสัมมาสมาธิได้ด้วยประการฉะนี้ดังนี้
(การระลึกถึงคุณและปฏิปทาของพระพุทธเจ้าในพุทธานนุสสตินี้ ทำให้เราได้ทั้ง ศีล จาคะ สมาธิในสมถะ ได้ทั้งการอบรมกายและจิต)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2014, 10:21:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #21 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2014, 04:05:06 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

กรรมฐานอันยอดเยี่ยม กับอานิสงส์อันยอดยิ่ง
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง


            [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรม
อย่างหนึ่งคืออะไร คือพุทธานุสสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ฯ

            [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรม
อย่างหนึ่งคืออะไร คือธัมมานุสสติ... สังฆานุสสติ... สีลานุสสติ... จาคานุสสติ...
เทวตานุสสติ...  อานาปานสติ...  มรณสติ...  กายคตาสติ...  อุปสมานุสสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

จบวรรคที่ ๑
            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๘๖๗ - ๘๘๓.  หน้าที่  ๓๙.อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง
วรรคที่ ๑

              อรรถกถาเอกธัมมาทิบาลี               
              อรรถกถาวรรคที่ ๑#-               
____________________________


พุทธานุสสติ ๒

คาถาบทนี้เป็นของพระสุภูติเถระ พระสุภูติเป็นน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เป็นพระอรหันต์ ที่เป็นเอตทัคคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศ
อันประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส
พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
(ทักขิไณย ผู้ควรแก่ทักขิณา, ผู้ควรรับของทำบุญที่ทายกถวาย)

ครั้งหนึ่งพระสุภูติได้กล่าวถึง อดีตชาติของตน ในสมัยพระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ
 (พระพุทธปทุมุตระ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๓ จากพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์)
ครั้งนั้นพระสุภูติมีนามว่า นันทดาบส(หรือโกลิยะ) มีศิษย์ ๔,๔๐๐๐ คน

เมื่อพระปทุมุตระมาโปรดนันทดาบสและศิษย์
พระศาสดาเสด็จมาทางอากาศ และเดินจงกรมบนอากาศให้นันทดาบสดู
ได้สร้างศรัทธาอันยิ่งแก่นันทดาบส  นันทดาบสได้นิมนต์ให้อยู่ ๗ วัน
โดยจัดอาสนะเป็นดอกไม้นานาพรรณ พร้อมไทยธรรมเป็นผลไม้
พระศาสดาได้เข้านิโรธสมาบัติ ตลอด ๗ วัน
ตลอด ๗ วันนั้น นันทดาบสได้เฝ้าพระศาสดาด้วยความปิติ
พร้อมถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นไว้เหนือพระเศียรของศาสดา โดยไม่แตะต้องอาหารเลย

หลังออกจากนิโรธสมาบัติพระศาสดา ได้ให้ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอนุโมทนาแก่ดาบสทั้งหลาย
จากนั้นพระองค์ได้เทศนาแก่ดาบส จบเทศนาดาบสทั้ง ๔๔,๐๐๐ คนได้สำเร็จอรหันตผล
เว้นแต่นันทดาบสคนเดียวที่ไม่ได้คุณวิเศษเลย เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน เฝ้าแต่ครุ่นคิดว่า
ทำอย่างไรเราถึงจะเป็นดั่ง ภิกษุรูปที่พระศาสดาใช้ให้กล่าวอนุโมทนาได้

นันทดาบสได้ทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นใคร
พระศาสดาตรัสตอบว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าถึงแล้วซึ่งตำแหน่งเอตทัคคะ
ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส
และในองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล

นันทดาบสได้กล่าวความปรารถนาของตนต่อพระศาสดาว่า
ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจพระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด.
              
พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปราถนาของดาบสนี้จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความปรารถนาของดาบสจะสำเร็จโลยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนดาบส ความปรารถนาของท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาลผ่านแสนกัปไปแล้ว. พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น ความปรารถนาของท่านจักสำเร็จ ในสำนักของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมนั้น
จากนั้นทรงพระดำรัสต่อไปว่า
                      
ท่านจงเจริญพุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย
ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้วจักยังใจให้เต็มเปี่ยมได้
            
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้น ๑๐๐๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)พุทธานุสสติ

                    
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก
จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)พุทธานุสสติ
                          
ในแสนกัลป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ท่านจักทิ้ง
ทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคดมศากยบุตรผู้
ประเสริฐให้ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ

พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรง
ตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน ๒ ตำแหน่ง คือ
ในคณะพระทักขิไณยบุคคล ๑
ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑
พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุดเป็นนักปราชญ์

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดังพญาหงส์ในอัมพร

เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต มีจิต
เบิกบาน เจริญพระพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำดี
แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐๐ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติเป็นอันมาก เรา
ไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่ง
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้
แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

อ้างอิง   : พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑  สุภูติเถราปทาน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  บรรทัดที่ ๑๕๐๒ - ๑๕๙๐.  หน้าที่  ๖๗ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=1502&Z=1590&pagebreak=0
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค ๑. สุภูติเถราปทาน (๒๑)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=23

raponsan:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2014, 10:53:37 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #22 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 08:47:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 04:34:38 PM »
๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๑)


   ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

*อสุภะ ทวัตติงสาปาฐโฐ ธาตุกรรมฐาน ทวนอ่านที่นี่ http://www.thammaonline.com/15430.msg17844#msg17844


    ๒.๒.๑.ง ระลึกเจริญพิจารณาเอาความตายมีอยู่เบื้องหน้าเป็นอารมณ์ คือ เจริญใน มรณะสติ

    - ให้พึงระลึกถึงความตายตลอดเวลา โดยให้พึงระลึกว่าเราจะต้องตายก่อน เช่น อาจจะนอนแล้วไหลตาย อาจจะนั่งแล้วช๊อคตาย อาจจะยืนแล้วหน้ามืดล้มหัวใจวายตาย อาจจะเดินแล้วล้มถูกหอนหรือของแหลมคมทิ่มตายตาย อาจจะกินแล้วติดคอตาย อาจจะกำลังขี้เยี่ยวอยู่แล้วตาย กำลังกินข้าวอยู่แล้วตาย หายใจเข้าอยู่ก็จักตาย หายใจออกอยู่ก็จักตาย ดังนั้นแล้วให้พึงเจริญระลึกอยู่ทุกขณะในเบื้องต้นอย่างนี้ว่า

๑. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง หรือ ตลอดวันหนึ่งวันหนึ่ง
๒. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่ ยืน เดิน นั่ง นอน
๓. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่กินข้าวเสร็จ หรือ กลืนข้าว 4 คำ บ้าง หรือ ชั่วคำหนึ่ง
๔. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วหายใจเข้าออก หรือ ชั่วขณะหายใจเข้า หรือ ชั่วขณะหายใจออก

    - ดังนั้นแล้ว เมื่อเกิด กามราคะ ขึ้นมาในใจให้พึงเจริญปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

   ก. เมื่อเรากำลัง ยืน เดิน ยั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆเหล่าอยู่ แล้วไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าเมื่อเรา ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในอิริยาบถใดๆนี้เราก็จักตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาจิตไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้อิริยาบถตนในปัจจุบันขณะ ยืนก็รู้ว่ายืน เดินก็รู้ว่าเดิน นั่งก็รู้ว่านั่ง นอนก็รู้ว่านอน มีสติรู้ว่ากำลังจะไปไหน จะไปทำอะไร กำลังตรึกนึกคิดอะไร แล้วพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีความสำรวมกายวาจาใจ แต่งกายให้เรียบร้อย แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ข. เมื่อเรากำลังกินข้าวอยู่ แล้วเราไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อขณะเรากลืนคำข้าวคำนี้แล้วเราก็จักต้องตายไป ไม่ก็ขณะเคี้ยวข้าวเราก็จักตายไป ไม่ก็ขณะตักข้าวเข้าปากเราก็จะต้องตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราตายด้วยเอากามราคะอันร้อนรุ่มกลืนกินลงไปกับคำข้าว ก็จักตายด้วยความร้อนรุ่มแล้วลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ กินข้าวก็รู้ว่ากำลังกินข้าวอยู่ พิจารณาดูคำข้าวที่เราเคี้ยวกลืนว่ามีสิ่งใดอยู่ กินเพื่ออะไร มีสติรู้ความปรุงแต่งจิตตนใจปัจจุบันขณะราคะมีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ ราคะดับไปแล้วก็รู้ว่าราคะดับไป คำข้าวที่กินเคี้ยวกลืนอันปราศจากความกำหนัดราคะแล้วนี้ แม้เมื่อกินเคี้ยวกลืนไปแล้วต้องตายไป ก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ค. เมื่อกำลังหายใจเข้าและออกอยู่นี้เราก็จะต้องตาย เมื่อไปเห็นเพศตรงข้ามแล้วเกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อเรากำลังหายใจเข้าอยู่นี้เราก็จักตาย แม้เมื่อเรากำลังหายใจออกอยู่นี้เราก็จักตาย เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาลมหายใจเข้าออกนี้ไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อเราตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วพึงระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกอันสลัดจากราคะทิ้งเสีย มีพระพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้งทุกลมหายใจเข้าออกดีกว่าเป็นไหนๆ แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์หรือไปพบพระตถาคตที่แดนนิพพานพราะมีกรรมฐานพุทธานุสติทุกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

- เมื่อพึงเจริญอยู่เนืองๆก็จะเข้าสู่ อุเบกขา และ ฌาณ ได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2014, 10:41:33 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #23 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 10:40:58 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒


[๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้าง
ด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
          ก็มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

          เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตาย เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ
          ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังไม่ได้ละ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ(ความพยายาม อดทนบากบั่น ไม่ย่อท้อ) ความเพียร(วิริยะ ) ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
          เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

          เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตาย เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป อกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ
          ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่าธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ



จบสูตรที่ ๑๐
จบสาราณิยาทิวรรคที่ ๒


-----------------------------------------------------


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. สาราณิยสูตรที่ ๑ ๒. สาราณิยสูตรที่ ๒ ๓. เมตตสูตร
๔. ภัททกสูตร ๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลสูตร ๗. กุสลสูตร
๘. มัจฉสูตร ๙. มรณัสสติสูตรที่ ๑ ๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๗๒๕๕ - ๗๓๐๖.  หน้าที่  ๓๑๘ - ๓๒๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=7255&Z=7306&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=291
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_22
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #24 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 12:58:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วันนี้ตั้งใจจะไปทำสมาธิ ก็ได้สนทนาธรรมกับนาคเพื่อนที่จะบวชตลอดชีวิตก่อน เนื่องจากพระผู้เป็นพ่อของเขาได้บรรลุอรหันต์ทางเขาจึงมีจิตน้อมที่จะบวชตามเพราะหลวงพ่อปารภให้บวช และ มัีพระอรหันต์หลายองค์ที่เขาได้รู้จักและไปบวชด้วย เมื่อคุยกันพอให้หายคิดถึงกันแล้ว จึงเข้าไปทำสมาธิที่โบสถ์ ก่อนทำก็คิดไว้ว่าอย่างเราๆนี้จะทำให้ตายก็คงไม่ถึงสมาธิ มีความปลงใจไว้แล้ว แล้วตั้งใจไว้จักทำสมาธิสัก 1 ชม.

- พอทำสมาธิก็ตั้งอยู่ที่ลม พุทโธ ไปเรื่อยๆ สักพักจิตมันเกิดความขี้เกียจบริกรรมจึงคิดว่าสำเหนียกเอาดีกว่า จึงจับเอาที่ลมที่ปลายจมูกเคลื่อนผ่านหน้าอกเข้ามาลงไปสู่ท้องน้อยบ้าง จากท้องน้อยออกไปผ่านหน้าออกไปปลายจมูกบ้าง แต่ก็มีความคิดอยู่ แต่ก็ดึงจิตให้สำเหนียกมากที่สุด จนเมื่อสำเหนียกก็ไม่ได้ เลยปล่อยตามเลยมันจะคิดจะสำเหนียกก็ช่างมัน เลยหวนรำลึกถึงว่าเมื่อครั้งที่เราเคยมีจิตเป็นสมาธิจดจ่อได้นานเราก็บริกรรมแต่พุทโธแล้วมันเป็นไปของมันเอง เมื่อรู้ว่าจะไม่สามารถถึงสภาวะนั้นได้อีก ก็ปล่อยตามเลยเสียไม่ต้องไปจดจ้องสภาวะธรรมไม่ต้องไปเกร็งเพ่งมันปล่อยมันไปของมัน เพราะยิ่งเกร็งยิ่งเพ่ง ยิ่งจดจ้องสภาวะยิ่งปวงหัวยิ่งระส่ำไม่เป็นความสงบ
- พอรู้ลมหายใจไปเรื่อยๆจิตนี้มันสุดยอดเดี๋ยวไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ เดี๋ยวไปหาคนนั้นคนนี้ไม่หยุด พยายามอยู่ที่ลมก็แล้วมันก็ส่งออกนอกไปทั่ว จนปลงปล่อยมันคิดไปตามความอยากมันซะ แค่รู้ว่ามันคิดก็พอ จิตมันก็ส่งออกนอกไปเรื่อยเสพย์ตามเรื่องราวมันบ้างรู้ตัวว่าคิดบ้าง พอมารู้ตัวหน่อยก็ดึงสัมปะชัญญะขึ้นรู้ว่าทำสมาธิอยู่แล้วก็กลับมาอยู่ที่ลมพอมันคิดก็รู้ว่ามันคิดก็ปล่อยมันไป
- จากนั้นพอมันคิดจนจบมันแล้วอยู่ๆก็เกิดความรู้สึกนึกคิดว่าเหนื่อยที่จะคิด คิดไปก็มีแต่ทุกข์ เสพย์ความคิดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทุกข์ จิตมันก็เลยคิดว่าผละออกจากจิตส่งออกนอกนั้นเสีย เอาจิตส่งเข้าในมันเป็นสุขกว่ามันสงบไม่อึดอัดเหมือนส่งจิตออกนอก
- ต่อมาจิตมันก็ไปจับที่ลมแล้วไปจับระลึกเอาความสงบที่เคยสัมผัสจากสมาธิได้บ้างมันก็รู้สึกดี มันก็ไปจับเอาสุขที่เคยสัมผัสที่ปะทุอัดตั้งแต่ท้อง-มาลิ้นปี่ มาหน้าอก-ปะทุขึ้นไปกระหม่อมบ้าง พอมันไประลึกถึงสุขที่เคยสัมผัสได้จิตมันก็เกิดนิมิตที่เคยสัมผัสได้เมื่อกาลก่อนว่า มันว่างอย่างนี้ มันสุขอย่างนี้ มันสว่างอย่างนี้ แล้วก็เหมือนจิตมันมองเลื้อยเหมือนส่องกล้องเข้าไปภายในกาย โดยเลื่อนเข้าไปในโพรงจมูกเข้าไปหกลอดลมไปที่หน้าอกเลื่อนมาประมาณท้องที่เคยได้รับสุขที่พลั่งพลูนั้น ซึ่งในช่องว่างสว่างนวลตาเหมือนเวลาหลับตานั่งสมาธิแล้วลืมตาออกมามองโลกภายนอกใหม่ๆ มันก็มองที่นั้น แล้วจิตกนึ่งก็คิดขึ้นว่าอย่าไปติดนิมิตนี้เลยมันก็คิดปรุงแต่งไปทั่วตามความพอใจของเรา
- จากนั้นก็มาดูที่ลมหายใจโดยมันจะบริกรรมหรือไม่บริกรรมก็ช่างมัน ลมมันเป็นเรื่องของกาย ลมเป็นกายสังขาร กายเท่านั้นที่ต้องก่ารลม เรานั้นเป็นแต่เพียงผู้รู้ว่ามีลมหายใจอยู่ รูปขันธ์นี้ยังดำเนินไปได้อยู่เท่านั้นไม่ได้ไปมีหน้าที่อื่นเกินกว่านี้ ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจเข้าหรือออกเท่านั้นพอ
- ทีนี้พอดูลมหายใจไปได้สักพักจากลมหายใจที่แรงพอจะรู้ผัสสะตรงปลายจมูกได้บ้างได้ยินเสียงลมหายใจทางหูบ้าง ก็เริ่มเบาลงๆๆ แต่มันก็ยังหายใจเข้าออกยาวเหมือนเดิม บางครั้งก็เหมือนจะลมหายใจหายไปไม่มีลมเข้า-ออกจมูกเหมือนสูดเอาความว่างเปล่าเข้าออกเท่านั้น พอเมื่อคิดอย่างนี้จิตมันก็ให้ไปรู้สึกว่าจะหายใจไม่ทั่วท้องหรือเหมือนตนเองไม่หายใจ แต่ก็ตั้งจิตให้เพิกออกจากอาการนั้นแล้วดูอาการของกายนั้นแหละมันไปเรื่อยๆอีก ก็กลับมารู้สึกแค่กายเลค่ือนตัวยกพองขึ้นแล้วเคลื่อนตัวยุบลงเหมือนกายมันกำลังหายใจปกติแต่เพียงไม่รู้สึกถึงลทหายใจเข้าออกนอกจากความว่างเปล่าจากการกระเพื่อมเคลื่อนตัวของกายนั้น แต่มันก็รู้สึกสบายๆดีอยู่ เลยดึงสัมปะชัญญะไปรู้กายว่าเรานั่งสมาธิอยู่อย่างนี้ สภาวะกายนั่งขัดสมาธิอยู่อย่างนี้ กำลังรู้ลมอยู่อย่างนี้ กายเรานี้ก็กำลังดึงลมหายใจอยู่ สักพักจิตมันก็ไม่รู้ลมหายใจรู้แค่กายนั้นเคลื่อนตัวเลื่อนขึ้นพองขึ้นแล้วก็เคลื่อนตัวหดยุบลงจากการพองตัวนั้น เหมือนดั่งร่างกายเรานั้นกำลังหายใจอยู่ปกติแต่ทั้งๆที่ไม่มีลมหายใจเข้าเลยแต่กายมันก็ยังทำหน้าที่ของมันไปอย่างนั้น จึงคิดว่าอย่างนี้แม้เราไม่มีลมหายใจก็ยังไม่ตาย
- แล้วสักพักเมื่อพิจารณาอาการของกายดังนี้ได้สักพัก มันก็เกิดนิมิตเหมือนก้องส่องเข้าไปภายในกายเห็นอวัยวะน้อยใหญ่ภายในกายของเราเองซึ่งเป็นรูปร่างกายเราแต่เห็นเพียงอวัยวะอาการทั้ง ๓๒ เท่านั้น เช่น เห็นเส้นเลือด เส้นเอ็น ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร กระดูกเชิงกรานกระบังลม อันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ จากนั้นก็นิ่งดูอยู่สักพักจึงติดว่านิมิตนี้หนอก็คงมาจากรูปอสุภะที่เราเคยเพ่งมองนั้นแหละแล้วเกิดสัญญาสร้างสังขารรอบให้เห็นเป็นนิมิตอีกครั้งเท่านั้น ก็เลยกลับมาที่ลมใหม่นิมิตก็จับจ่ออยู่ที่ความสว่างโร่ที่ไม่สว่างเกินไปแต่ไม่มืดครึ้มที่อยู่ในช่องคาดว่าเป็นในส่วนท้องหรือท้องน้อยที่เคยมีสภาวะธรรมอันเป้นสุขที่เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยมีไม่เคยเจอพลั่งพลูออกมา นิ่งแช่ดูอยู่นั้นแล้วสักพักก็ออกจากสมาธิ นั้นเพราะปวดขาเพราะมีอาการกำเริบขึ้นของข้อกระดูกอักเสบ แต่ก็ยังตั้งเจตนาหายใจเข้าออกยาวให้ได้พุทโธ 108 ครั้ง(หายใจเข้าบริกรรมพุทธ-หายใจออกบริกรรมโธ ครบรอบพุทโธนับเป็น ๑) ทำจนทนไว้ไหวสั่นระระวแต่ก็ไม่ให้ความสำคัญมันคิดแค่ว่าถวายเป็นพุทธบูชาโดย บริกรรมพุทโธไปพร้อมระลึกเอาความเป็น
 ผู้รู้เห็นซึ่งโมหะคือความลุ่มหลง
 ผู้ตื่นจากโมหะแล้วได้ทำเพื่อออกจากทุกข์นั้นคือเดินในทางมรรคและผลโดยชอบเพื่อออกจากโมหะ
 ผู้เบิกบานหลุดพ้นจากโมหะเหล่านั้นแล้วโดยสิ้นเชิงคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกสิ้นเชิงแล้ว

เสียงนาฬิกาไขลานวัดดังบอกชั่วโมง นั่งได้เพียง 45 นาที ทั้งที่ตั้งใจไว้สัก 1 ชม. จึงหวนรำลึกว่าถึงแม้เมื่อก่อนนจะเคยนั่ง 1-2 ชม. ก็ตาม แต่ตอนนั้นมันมีจิตเป็นสมาธิจึงทำได้ และตอนนี้ไม่มีสมาธิแถมยังเป็นโรคเอ็นและข้อเท้าอักเสบ เมื่อจะทำสมาธิก็ได้แต่นอนทำ ตอนนี้เริ่มต้นนั่งได้ขนาดนี้ก็มากโขแล้ว

เมื่อออกจากสมาธิมาอยู่ในท่านั่งพับเพียบ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์สาวก อาการที่ตะคิวกินกับโรคเอ็นและข้อเท้าอักเสบที่เคยปวดมากก็เหมือนจะหายใจ จิตก็สงบด้วยไม่คิดมาก จึงลืมตาแผ่เมตตาไปโดยท่านั้นไปโดยไม่มีประมาณ มีจิตเพียงเป็นมิตรที่ดี ปารถนาดีให้เขาเป็นสุข ขอความสุขกายสบายใจความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่พ่อแม่ญาติพี่น้องตนเอง ทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว บุคคลที่รู้จักและไม่รู้จัก สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งที่มีกายเล็ก สั้น ผอม ใหญ่ กลาง ยาว อ้วนพี ไม่ว่าจะอยู่ในที่กว้าง ที่แคบ พื้นที่ใดๆซอกมุมใดๆก็ตามในโลกนี้ เจ้ากรรม นายเวร พระภูมิเจ้าที่ สัมภเวสีทั้งหลาย เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ อมนุษย์ทั้งหลาย ยักษ์ทั้งหลาย นาคทั้งหลาย คนธรรม์ทั้งหลาย ครุฑ ท่านพระยามัจจุราช ยมมูตทั้งหลาย วิญญาณทั้งหลายในนรกไปจนถึงเปรตทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย

เมื่อเสร็จก็ครบ 1 ชม. พอดี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 01:06:01 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #25 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:21:49 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อัฏฐกวัคคิกะ
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
             [๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้นสัตว์นั้นได้
                          กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
             [๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุ-
*กาม ๑ กิเลสกาม ๑.
             วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด
เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง
บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็น
ปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง
ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า
ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา
ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่
เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้
เรียกว่า วัตถุกาม.
             กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ
ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่
ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม
ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม
ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม.
             สมจริงดังคำว่า
                          ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ
                          เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้.
             กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มีความว่า เมื่อใคร่ อยากได้
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อปรารถนากามอยู่.
             [๓] คำว่า ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์
ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์. คำว่า กามนั้น
ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม. คำว่า ย่อมสำเร็จ
มีความว่า ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดยชอบ ได้ ได้เฉพาะ ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น.
             [๔] คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย
ส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าว
ไม่เป็นสองส่วน เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวไม่รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า
แน่นอนนี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน
ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ
ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕. คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย
บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่
ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ. ใจนี้สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความอิ่มนี้. คำว่า ย่อมเป็น
ผู้อิ่มใจ คือเป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
             [๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า คำว่า ได้ คือ ได้ ได้แล้ว
ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ
ตามปรารถนา ยินดี ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้กามตาม
ปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น  ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้
                          กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
             [๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้น
                          เสื่อมไป สัตว์นั้น ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทง
                          เข้าแล้ว.
             [๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า  คำว่า เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์
ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์. คำว่า
ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ. อีกอย่างหนึ่ง
สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ย่อมไป ออกไป
ลอยไป แล่นไปด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง ยานแพะบ้าง ยานแกะบ้าง ยานอูฐบ้าง
ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่.
             [๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ ได้แก่ ความพอใจในกาม
ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อน
ในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือกาม ความยึดถือ
ในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ความพอใจในกามนั้น เกิดแล้ว เกิดพร้อม เกิดขึ้น
เกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแก่สัตว์นั้น. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต
ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว.
             [๙] คำว่า ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไปบ้าง สัตว์นั้น
เสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง.
             กามเหล่านั้นเสื่อมไปอย่างไร? เมื่อสัตว์นั้น ดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะเหล่านั้น ถูก
พระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่เป็นที่
ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภคทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสียไปบ้าง
คนผลาญสกุล ผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นย่อมเกิดในสกุลบ้าง ความเป็นของ
ไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน
สูญหายไปอย่างนี้.
             สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลายอย่างไร? โภคะเหล่านั้น ยังตั้งอยู่นั้นแหละ สัตว์
นั้นย่อมเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย
กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย
                          อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีรกาย กับทั้งข้าวของ เพราะ
                          ความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง
                          ครั้นให้ทาน และใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้า
                          ถึงสถาน คือ สวรรค์.
             เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไป.
             [๑๐] คำว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว มี
ความว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเหล็กแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยกระดูกแทงเข้าแล้วบ้าง
ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงเข้าแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศร
ที่ทำด้วยไม้แทงเข้าแล้วบ้าง ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ
ฉันใด ความโศกรำพัน เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะวัตถุกามทั้งหลาย
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทงเข้าแล้ว ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว
ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นย่อม
กระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดขึ้น ถ้ากามเหล่านั้น
                          เสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว.
             [๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้น
                          เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2014, 09:24:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #26 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:24:20 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ
             [๑๒] คำว่า ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้
ประกอบอย่างใด ผู้ชนิดอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็น
กษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร์ เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น
มนุษย์. กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑
กิเลสกาม ๑ วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ
กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ย่อมเว้นขาดกาม
คือ ย่อมเว้นขาดกาม โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้อย่าง ๑ โดยการตัดขาดอย่าง ๑.
             ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครง
กระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า
กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดย
การข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา ย่อมเว้น
ขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าเป็น
ของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน
เพราะอรรถว่าเป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลาย
เปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกาม
โดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่าเป็นของให้กิ่ง
หักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและ
มีด เพราะอรรถว่าเป็นของฟัน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบ
ด้วยหอกหลาว เพราะอรรถว่าเป็นของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า
กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อม
เว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญ
ธัมมานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ ...  แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ...
แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ ... แม้ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... แม้ผู้เจริญ
มรณานุสสติ ... แม้ผู้เจริญกายคตาสติ ... แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ... แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... แม้ผู้
เจริญทุติยฌาน ...  แม้ผู้เจริญตติยฌาน ... แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน ... แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตน
สมาบัติ ... แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... แม้ผู้
เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. ย่อมเว้นขาดกามโดย
การข่มไว้อย่างนี้.
             ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างไร? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้น
ขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วน
หยาบโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค  ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดย
การตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง
หมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด. ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม เว้นขาดกามทั้งหลาย.
             [๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า งูเรียกว่าสัปปะ. เพราะ
อรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่าเสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ. เพราะอรรถว่า
ขนดไป งูจึงเรียกว่าภุชคะ.  เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่าอุรคะ. เพราะอรรถว่ามีหัวตก
ไป งูจึงเรียกปันนคะ เพราะอรรถว่านอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่าสิริสปะ. เพราะอรรถว่านอนในรู
งูจึงเรียกว่าวิลาสยะ. เพราะอรรถว่านอนในถ้ำ งูจึงเรียกว่าคุหาสยะ. เพราะอรรถว่ามีเขี้ยวเป็น
อาวุธ งูจึงเรียกว่าทาฒาวุธ. เพราะอรรถว่ามีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่าโฆรวิสะ. เพราะอรรถว่ามี
ลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทุชิวหา. เพราะอรรถว่าลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทิรสัญญู.
บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก เลี้ยว อ้อมหนี
หัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีกเลี่ยง อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.
             [๑๔] คำว่า ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มี
ความว่า คำว่า ผู้นั้น คือ ผู้เว้นขาดกามทั้งหลาย. ตัณหาเรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด
ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่ง
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี
ความยินดีทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความ
ให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความเป็นดังว่าข่าย ความเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไป
ในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็น
เพื่อน ความตั้งมั่น เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท
ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวังในรูป
ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังใน
ลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้สัตว์
ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง
ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ
ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความใคร่
ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ
ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
*ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก
ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนา
วัตถุต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร
แม่น้ำตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า วิสัตติกา.
             คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. [อันซ่านไป
ในอารมณ์ต่างๆ] เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าแผ่ไป ตัณหา
จึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าแล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าครอบงำ ตัณหา
จึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าสะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้
พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่ามีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะ
อรรถว่ามีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. เพราะอรรถว่าเปรียบด้วยเครื่องบริโภคเป็นพิษ
ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา. อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล
คณะ ที่อยู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน แล่นไป ซ่านไป
ในรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
             คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.
             คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนา
สติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย
ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญ
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔
อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
เป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลายที่เป็น
ข้าศึกต่อสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นนิมิตแห่งสติ. เป็น
ผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยสติ ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้สงบ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็น
ผู้ระงับ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ. ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
พุทธานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะธรรมานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสังฆานุสสติ ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะสีลานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะจาคานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
เทวตานุสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอานาปานัสสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะมรณานุสสติ
ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะกายคตาสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอุปสมานุสสติ. ความระลึก ความ
ระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความ
ไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมนี้ เรียก
ว่า สติ. บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบ
ด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ.
             คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า
เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้น
                          เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.
             [๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          นรชนใด ย่อมปรารถนาไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน
                          สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
             [๑๖] คำว่า ไร่นา ที่ดิน เงิน มีความว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวจ้าว ไร่ถั่ว
เขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่
หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไร่นา ที่ดิน เงิน.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #27 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:24:53 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก
             [๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า โคทั้งหลายเรียกว่า โค. ปสุสัตว์
เป็นต้นเรียกว่า ม้า. คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาสที่ซื้อ
มาด้วยทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึงความเป็นทาส ๑.
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวกเป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วย
                          ทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้าเป็นทาสเองบ้าง คนบางพวกเป็นทาส
                          เพราะตกเป็นเชลยบ้าง.
             คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑ กรรมกร ๑ พวกอยู่อาศัย ๑
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน.
             [๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า
สตรี. คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็นญาติ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑
พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้อง
โดยการเรียนศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑. คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก. กามมากเหล่านี้
ได้แก่ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่ชอบใจ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
             [๑๙] คำว่า นรชนใด ย่อมปรารถนา มีความว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบ
อย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมใด คือ เป็น
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์ คำว่า นรชน
คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ย่อม
ปรารถนา คือ ย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกาม
ทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใด ย่อมปรารถนา เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          นรชนใด ย่อมปรารถนา ไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน
                          สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
             [๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยี
                          นรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือน
                          น้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น.
             [๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น มีความว่า คำว่า ไม่
มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือ ทุรพล มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม
ตกต่ำ ลามก มีอัธยาศัยเลว เล็กน้อย กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ
กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำ นรชนนั้น
แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่
ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว
ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก มีอัธยาศัยเลว เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอัน
ไม่มีกำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
             [๒๒] คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒
อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑.
             อันตรายที่ปรากฏเป็นไฉน? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว
หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำ
กรรมชั่ว และโรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทาง
ศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้
เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค-
*ขี้กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก
โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต
อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกิน
กำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ
ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้
เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.
             อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์
พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความ
โกรธ ผูกโกรธไว้ ลบลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว
ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ
เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขาร คือ อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า
อันตรายที่ปกปิด.
             ที่ชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าครอบงำ
จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะว่าอรรถเป็น
ที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร? จึงชื่อว่า
อันตราย อันตรายเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะ
อรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้.
             เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร? จึงชื่อว่าอันตราย อันตรายเหล่านั้น ย่อม
เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร
ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ใน
อันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนืองๆ
ในอันเจริญอิทธิบาท ๔ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนืองๆ
ในอันเจริญพละ ๕ ความประกอบเนืองๆ ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนืองๆ ในอัน
เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่ง
กุศลธรรมเหล่านี้. เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.
             เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างไร? จึงชื่อว่าอันตราย อกุศล
ธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบ
เหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่
อาศัยต้นไม้ ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อม
เป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้ จึง
ชื่อว่าอันตราย.
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่
ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน
ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน
ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สัญโญชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส
ที่ฟุ้งซ่าน อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่
สัญโญชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะ
ลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพพะด้วยกาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศล
ธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง
เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม
ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก
อย่างนี้แล.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #28 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:25:12 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
             เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็น
มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรู
ในภายใน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน
เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน
เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายในโมหะ
เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน
เป็นศัตรูในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตร
ในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า-
                          โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะ ยังจิตให้ให้กำเริบ โลภะ
                          เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชน ย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้ว
                          ย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความโลภ
                          ครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ โทสะ ยังสิ่งที่ไม่
                          เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะ ยังจิตให้กำเริบ โทสะ เป็นภัยเกิดขึ้นใน
                          ภายใน พาลชน ย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้
                          โกรธแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใด ความโกรธครอบงำนรชน เมื่อนั้น
                          นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด
                          โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะ เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชน ย่อมไม่
                          รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม
                          เมื่อใด ความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
             เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่า อันตราย
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการแล เมื่อเกิด
ขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในกายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
แห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ดูกรมหาบพิตร
ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา  ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
                          โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก
                          เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น.
             เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่า อันตราย
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
                          ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล
                          ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว
                          ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น.
             เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างนี้. จึงชื่อว่าอันตราย
             คำว่า เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตรายเหล่านั้น ย่อมครอบงำ
ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่าอันตราย ย่อม
ย่ำยีนรชนนั้น.
             [๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป มีความว่า เพราะ
อันตรายนั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป
ไปตาม ชราทุกข์ ... พยาธิทุกข์ ... มรณทุกข์ ... ทุกข์ คือ ความโศก ร่ำไร ลำบากกาย ทุกข์ใจ
ความแค้นใจ ... ทุกข์ คือ ความเกิดในนรก ... ทุกข์ คือ ความเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ... ทุกข์ คือ
ความเกิดในวิสัยเปรต ... ทุกข์ คือ ความเกิดในมนุษย์ ... ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์
มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ... ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ที่เกิด
แล้ว ... ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว ... ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ...
ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ... ทุกข์เกิดแต่ทุกขเวทนา ... ทุกข์เกิดแต่สังขาร ...
ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ... โรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทาง
กาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ
โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี
โรคขี้กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดหูด โรคละลอก
โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต
อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกิน
กำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวด
อุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์
เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายและ
น้องชายทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวและน้องสาว ทุกข์เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะ
ความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์
เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่ง
ทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์
ย่อมติดตามนรชนนั้นไป.
             [๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น มีความว่า น้ำไหลซึมเข้าสู่เรือ
ที่แตกแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป ไหลเข้าไปแต่ที่นั้นๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป ตาม
เข้าไป ไหลเข้าไป ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้างๆ บ้าง ฉันใด เพราะอันตราย
นั้นๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ
ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อม
                          ย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือน
                          น้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #29 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2014, 09:25:28 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
             [๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม
                          ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล
                          วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
             [๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ มีความว่า คำว่า
เพราะเหตุนั้น คือ เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทาน
นั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น. คำว่า
สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่ สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม
มนุษย์. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอด
กาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็นนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ
ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง ตลอด
กาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในการก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง
ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น.
ตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง. คำว่า มีสติ (๑)- ได้แก่เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อ
เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ก็ชื่อว่าเป็นผู้มี
สติ เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดย
เหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ฯลฯ บุคคลเป็น
ผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคล
นั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ.
             [๒๗] คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า กามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง
โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการ
ข่มไว้อย่าง ๑ โดยการตัดขาดอย่าง ๑. พึงละเว้นขาดกาม โดยการข่มไว้อย่างไร? สัตว์ผู้เกิดมา
เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย พึง
เว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของ
สาธารณ์แก่ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วย
คบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ฯลฯ แม้เจริญเนวสัญญานา-
*สัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้ ฯลฯ พึง
เว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ ๒- เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย.
             [๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่า คำว่า เหล่า
นั้น คือ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ  ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึง
ความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีใน
ภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ
@(๑) ต่อไปนี้จงดูในข้อ ๑๔.
@๒. (ล) จงดูละเอียดในข้อ ๑๒.
ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
             [๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น มีความว่า บุคคลวิด
สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรืออันทำให้หนัก บรรทุกหนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วยเรือที่เบา โดย
เร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา
ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น
ให้ถึงความไม่มีในภายหลังซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจ-
*กุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันนั้น. อมตนิพพาน
เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไป จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ
ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง. คำว่า ถึงฝั่ง คือ ผู้ใด ใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง
ผู้ใดย่อมไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใด ถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง.
             สมเด็จจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบก
ชื่อว่า เป็นพราหมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้น
ถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการ
ทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยการบรรลุ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวง
ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวง ด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
ถึงฝั่งแห่งนิโรธ ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยการบรรลุ พระอรหันต์นั้น
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุติ
พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วนสุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว
ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว
ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่ง
แล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่ตาย
แล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว
ประพฤติจรณะแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์
อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทง-
*ตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอันละแล้ว มีนิโรธ
อันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้
กำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควรละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้
แจ้งอันทำให้แจ้งแล้ว พระอรหันต์นั้น มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว มีกรรมเป็นคูอัน
กำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสัญโญชน์เป็นบานประตู เป็น
ผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยค
กิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ห้าอันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์หก มีสติเป็นธรรมเอกเป็น
เครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่องอาศัยสี่ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว มีการแสวง
หาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว
มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ
ถึงความบรรลุปรมัตถะ พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น
ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่
ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
*ทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วจึงตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว จึง
ตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วจึงตั้งอยู่ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้ว ตั้งอยู่
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้ซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรง
อยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะ
อันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์
ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่
ในสรีระที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด.
             สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า:-
                          พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นทีหลัง มิได้
                          มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.
                          เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
             เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกาม
                          ทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้น พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล
                          วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้.

จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  บรรทัดที่ ๑ - ๔๘๖.  หน้าที่  ๑ - ๒๑.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=0&Z=486&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=1
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_29
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 11, 2024, 05:23:15 AM