เมษายน 20, 2024, 11:47:09 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407883 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #120 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 04:42:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มหานามสูตรที่ ๒
             [๒๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้
พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
ทรงหายจากประชวร คือหายจากภาวะที่ประชวรไม่นาน ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็น
อันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวร
สำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่า
มหานามะได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค
ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
ได้ทราบข่าวมาดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค
ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน
ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่
ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้า
มาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่อง
อยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็น
กุลบุตร ดูกรมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อม
ไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็น
ผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อม
เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรง
ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรมหาบพิตร
ในธรรม ๖ ประการนี้ พึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรมหาบพิตร
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริย-
*สาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะ
ปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์
อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริย-
*สาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข
จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญ
ก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึง
ทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยพระโอรส
และพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสสตินี้แล ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรม...
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์...
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตน...
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตน...
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลาย
ว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ ... เทวดาผู้สูงขึ้นไปกว่า
นั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิด
ในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล ...
สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ
แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้
ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มี
ความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มี
กายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร
มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญ
ก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอน
อันเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งเทวตานุสสตินี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #121 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2015, 04:57:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
นันทิยสูตร
             [๒๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้
พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ แม้เราก็พึงเข้าจำพรรษา ณ
พระนครสาวัตถี เราจักประกอบการงาน และจักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอัน
สมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ฯ
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะ
พระนามว่านันทิยะ ก็เข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ได้ทรงประกอบการงาน
และได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ก็สมัยนั้นแล
ภิกษุเป็นอันมากย่อมกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี
พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนาม
ว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค
ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่า ภิกษุเป็นอันมาก
กระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จ
แล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่
ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ บพิตร การที่บพิตรเสด็จมาหาตถาคต
แล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ
พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่บพิตรผู้เป็นกุลบุตรแล
ดูกรบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ทุศีลย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็น
ผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มี
สติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสมาธิย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีสมาธิย่อมไม่
เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ดูกรบพิตร บพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้แล้ว พึงเข้าไปตั้งสติไว้ภายใน
ในธรรม ๕ ประการ ดูกรบพิตร ในธรรม ๕ ประการนี้ บพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้ด้วยเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ...
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ใน
ภายใน ปรารภพระตถาคต ด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้ง
สติไว้ในภายใน ปรารภพระธรรมด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า เป็นลาภ
ของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู ผู้ใคร่ประโยชน์
ผู้กล่าวสอน ผู้พร่ำสอน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภ
กัลยาณมิตรด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเรา
หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มีจาคะ
อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก
ทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทินคือความตระหนี่ กลุ้มรุมแล้ว
ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภจาคะด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่าเทวดาเหล่านั้น
ได้ก้าวล่วงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้ว เข้าถึงกายอันสำเร็จ
ด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน
หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ดูกรบพิตร ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตย่อมไม่พิจารณา
กิจที่ไม่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว แม้ฉันใด ดูกรบพิตร เทวดา
เหล่าใด ก้าวล่วงซึ่งความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา เข้าถึงกายอัน
สำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของ
ตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรบพิตร บพิตรพึง
เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภเทวดาทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล ฯ
             ดูกรบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละซึ่ง
อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น ดูกรบพิตร หม้อที่คว่ำย่อมไม่กลับ
ถูกต้องสิ่งที่คายแล้ว ไฟที่ไหม้ลามไปจากหญ้า ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้ ย่อมไม่
กลับมาไหม้สิ่งที่ไหม้แล้ว แม้ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้
ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น (อกุศลธรรมอันชั่วช้า
เหล่านั้น) ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #122 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2015, 04:45:30 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต
             [๑๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์
สักกชนบท. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเรื่องหนึ่งแล้ว
เวลาเช้า ทรงผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์
ครั้นแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต เสด็จไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักใน
กลางวัน ครั้นเสด็จถึงป่ามหาวันแล้ว ได้ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม ครั้งนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดพระปริวิตกขึ้นว่า เราแลได้ขับไล่
ภิกษุสงฆ์ให้ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเรา พึงเป็นผู้มีความกินแหนง มีใจแปรปรวน เหมือนลูกโค
น้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ พึงมีความกินแหนง มีใจแปรปรวน ฉะนั้น เหมือนกับพืชที่ยังอ่อนๆ
ไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรไป มีความเปลี่ยนแปรไป ฉะนั้น ถ้ากระไรเราพึงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์
ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้อนุเคราะห์มาแล้วในก่อนๆ ฉะนั้นเถิด.
             [๑๖๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ได้ทราบพระปริวิตกของพระผู้มีพระภาค ด้วย
ใจของตนแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนกับ
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ทำ
ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมมือ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่
ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุที่ยังใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
มีอยู่ เมื่อภิกษุสงฆ์เหล่านั้นไม่เห็นพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้มีความกินแหนง มีใจแปรปรวน
เหมือนกับลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ พึงมีความกินแหนง มีใจแปรปรวน ฉะนั้น เหมือน
กับพืชที่ยังอ่อนๆ เมื่อไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรไป มีความเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น พระเจ้าข้า
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพร่ำสอนภิกษุสงฆ์
จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้ทรงอนุเคราะห์มาแล้วแต่ก่อนๆ ฉะนั้นเถิด.
พระผู้มีพระภาค ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ. ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว อันตร-
*ธานไปจากสำนักของพระผู้มีพระภาคนั่นแล.
             [๑๖๗] ลำดับนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก จากที่พักผ่อนแล้ว
เสด็จไปยังนิโครธาราม แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงบันดาล
ด้วยอิทธาภิสังขาร ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ทีละรูป
บ้าง สองรูปบ้าง ครั้นแล้วต่างก็ถวายบังคมแล้ว นั่งลง ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้น
ภิกษุเหล่านั้น นั่งลงเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะว่า ดูกรภิกษุทั้ง-
*หลาย ข้อเลวทรามของการเลี้ยงชีพทั้งหลาย ก็คือการแสวงหาบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลาย ย่อม
ได้รับคำแช่งด่าในโลกว่า เป็นผู้มีมือถือบาตรเที่ยวแสวงหาบิณฑบาต. ดูกรภิกษุทั้งหลายก็กุลบุตร
ทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ จึงเข้าถึงความเป็นผู้แสวงหา
บิณฑบาตนี้แล ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช ไม่ใช่เป็น
คนมีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนมีภัย ไม่ใช่เป็นคนมีอาชีพแร้นแค้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อีกอย่าง
หนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ประจำ
แล้ว ไฉนหนอ ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. แต่ว่ากุลบุตรนั้น เป็นผู้
มากด้วยอภิชฌา มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ อันโทสะประทุษ
ร้ายแล้ว มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลผู้เสื่อมแล้ว จากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย ไม่ทำประโยชน์ คือ
ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วยว่า มีอุปมาเหมือนกับดุ้นฟืนในที่เผาศพ ซึ่งไฟติดทั้งสองข้าง
ตรงกลางก็เปื้อนคูถจะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ ฉะนั้น.
             [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ อย่างนี้ คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑
วิหิงสาวิตก ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ หรือเจริญอนิมิตต-
*สมาธิ อกุศลวิตก ๓ อย่างนี้แล ย่อมดับโดยไม่เหลือ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิมิตตสมาธิควร
แท้ ที่จะเจริญจนกว่าจะละอกุศลวิตกนี้ได้. อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
             [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น ดังนี้ว่า เรายึดถือ
สิ่งใด ในโลกอยู่ จะพึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่บ้างไหม? เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เรา
เรายึดถือสิ่งใดในโลกอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีเลย. เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ ก็เราเมื่อ
ยึดถือ พึงยึดถือรูปนั้นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือเวทนานั้นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือสัญญา
นั่นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือสังขารนั่นเอง เมื่อยึดถือ พึงยึดถือวิญญาณนั้นเอง ภพพึงมีแก่
เรา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ พึงมีได้
ด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน รูป ฯลฯ
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวของตัวเรา?
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
             พ. เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๘.

อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=165
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #123 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 09:34:54 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า (พระอาจารย์สนทยา ธัมมวังโส)

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของเหล่าเทวดา และมนุษย์ ทรงชนะมาด้วย ผลแห่งทาน ทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นบารมี สำคัญ ทุกภพทุกชาต ของความเป็นมนุษย์ และ เทวดา บารมีที่ปรากฏแล้ว ทุกชาติ ย่อมปรากฏ ทานบารมี เป็นหลัก อันว่าผลแห่งทาน คือ ปีติ และ สุข นั่นเอง...

อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16
(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี — mental defilements)
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภ กล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร — greed and covetousness; covetousness and unrighteous greed)
2. พยาบาท (คิดร้ายเขา — malevolence; illwill)
3. โกธะ (ความโกรธ — anger)
4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ — grudge; spite)
5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น — detraction; depreciation; denigration)
6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน — domineering; rivalry; envious rivalry)
7. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness)
9. มายา (มารยา — deceit)
10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด — hypocrisy)
11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง — obstinacy; rigidity)
12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน — presumption; competing contention; contentiousness; contentious rivalry; vying; strife)
13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน — conceit)
14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา — excessive conceit; contempt)
15. มทะ (ความมัวเมา — vanity)
16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ — heedlessness; negligence; indolence)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

 อุปสรรค การภาวนา ถ้ามีตัวใด อยู่ อุปสรรค ที่ภาวนาไม่ได้ก็สูง นี่แหละคือตัวปัญหา จริง ๆ ที่ผู้ภาวนา ๆ เท่าใด ก็ไม่สำเร็จสักที
ดังนั้น วันนี้นำ ทั้ง 16 ตัว มาให้ท่านทั้งหลาย เช็คตัวเอง ก่อนตั้งคำถามกับมาที่ฉัน ว่า ตัวเอง มีอะไรอยู่ ใน 16 ตัว บางทีอาจจะไม่ต้องถามฉันก็ได้ ว่า เพราะอะไร จึงภาวนาไม่สำเร็จ

ก่อนอื่น ต้องยก คำก่อนว่า บารมี หมายความว่าอะไร ?
 
   คำว่า บารมี มาจากคำบาลีว่า ปารมี
   แปลเอาใจความว่า  คุณสมบัติที่เต็ม หรือ ความเต็มรอบ ความไม่ขาด ความสมบูรณ์ด้วยคุณ

  บารมี ในพระพุทธศาสนา มี 10 ประการ
  ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ ถือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา
 
  บารมี มี 3 ระดับ
   สามัญญบารมี คือ เติมอย่างทั่วไป  เป้าหมาย คือ ทำอย่างธรรมดา
   อุปบารมี คือ เติมด้วยอย่างพิเศษ   เป้าหมาย คือ ทำอย่างพิเศษ
   ปรมัตถบารมี คือ เติมด้วยอย่างที่สุด  เป้าหมาย คือ ทำอย่างเหนือโลก

  ยกตัวอย่าง
   การให้ทาน
    ทานบารมี ( ปกติไม่เติมคำว่า สามัญ ) ก็ให้ทาน อย่างทั่วไป เช่นการให้ทรัพย์ สิ่งของ วัตถุ ปัจจัย 4 เงิน ทอง ของตน ให้แก่ทั้งผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนที่มีอยู่ มีความสุขแล้วก็ตาม อย่างนี้เรียกว่า ให้อย่างทั่วไป คือ ใครเขาก็ให้กันได้ ไม่ลำบากในการให้ เช่นพบขอทาน ก็ให้ไป 1 2 3 4 5 10 50 100 1000 เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าให้โดยไม่ลำบาก ไม่เกินวิสัยของคนที่จะให้

    อุปบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ หมายมั่นเป็นการให้ อวัยวะ ของตนเพื่อผู้อื่น เช่น สละดวงตา แขน ขา เพื่อรักษาชีวิต ของบุคคลอื่น ๆ ( ไม่ใช่ของตน )นี่เรียกว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะให้ใคร ง่าย ๆ เช่น สละไต 1 ข้าง ให้กับญาต สนิท สหาย สละดวงตา ให้กับผู้ที่เป็นที่รัก หรือ ไม่เป็นที่รัก อย่างนี้เป็นต้น

    ปรมัตถบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ กล่าวว่า ให้ทานโดย ทิ้งชีวิต คือ สละชีวิตของตน เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าผู้ที่สละชีวิตให้ จะดี หรือ ชั่วก็ตาม ไม่มีเหตุผลใด ๆ แต่ต้องการ สละชีวิต ตนเอง เพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น ในขณะนั้น ต้องกล่าวว่าเพียงรักษา เพราะจะสละ หรือ ไม่สละ บั้นปลายของทุกคนก็คือความตาย ดังนั้นในที่นี้ หมายถึงการสละชีวิตของตนเป็น เพื่อรักษาชีวิตของผู้อื่น ในขณะนั้น
    สำหรับปรมัตถบารมีนั้น ไม่ใช่เรื่อง ทำได้ง่าย ๆ เพราะการสละชีวิตของตนเอง นับว่า ต้องใช้คุณธรรมสูง จึงจะสละชีวิตได้

    ที่นี้ เรื่องของ บารมี นั้น ต้องเป็นการทำเพื่อพระนิพพาน เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สามัญญะ อุปบารมี หรือ ปรมัตถบารมี ก็ต้องทำเพื่อเป้าหมายในการทำ พระนิพพานให้แจ้ง ดังนั้น การสร้างบารมี จึงมีสองแนวทาง คือ

     การสร้างบารมี เพื่อ เป็น อนุพุทธสาวก คือ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
     การสร้างบารมี เพื่อ เป็น พระพุทธเจ้า แบบใดแบบหนึ่ง ตั้งแต่ พระปัจเจกพุทธเจ้า จนถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง

     การสร้างบารมี เป็น ข่ม อุปกิเลส ในตัว
     
     อุปกิเลส มี 16 ตัว โดยย่อในทางกรรมฐาน
     อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถขนะ เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา ที่เรียกว่า สามัญ
     อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถชน เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา และ แบบพิเศษ
     อุปกิเลส บางตัวจะสามารถสยบ ลงได้ โดยการทำแบบปรมัตถ์ เท่านั้น

     ดังนั้นผู้ภาวนาต้องศึกษา และ เข้าใจ ในอุปกิเลส ทั้ง 16 ตัวว่า ยามใด ควรใช้ บารมี แบบไหน เป็นต้น ยกตัวอย่าง
      มานะ อติมานะ อุปกิเลสสองตัวนี้ไม่สามารถดับได้ แม้กระทั่งจิตเป็นฌาน แต่จะสามารถดับได้ โดยการเป็น พระอรหันต์ เท่านั้น ดังนั้น อุปกิเลสตัวนี้ สามัญ และ อุปบารมี ใช้ไม่ได้ ต้องเป็น ระดับ ปรมัตถ์ เท่านั้น ด้วยการ ตั้ง บารมีทั้ง 10 เพื่อพระนิพพาน

      มทะ ปมาทะ อุปกิเลสสองตัวนี้ สามารถดับได้ชั่วคราว โดย สามัญญะบารมี ด้วยการ อธิษฐาน และ ตั้งสัจจะ เป็นต้น

      อภิชฌาวิสมโลโภ พยาปาทะ อุปนาหะ เป็นต้นนี้ สามารถระงับได้ได้ชั่วคราว ใน ฌานจิตวิถี ด้วย อุปบารมี เป็นต้น ฌานจิต จัดเป็น อุปบารมี เพราะคนทั่วไปทำไม่ได้ ต้องมีคุณสมบัติทางจิตเป็นพิเศษขึ้นมา จึงจักทำได้ บารมี โดยตรง ก็คือ วิริยะ และ ปัญญา เป็นต้น

      จะเห็นได้ว่า ชนะมาร ต้อง ชนะ ด้วย บารมี การสร้างบารมี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะ บารมี ต้องใช้เวลาไม่ใช่ จะเติมเต็มได้ทันที พระพุทธเจ้า ใช้เวลา 500000 อสงไขยชาติ จึงเต็ม ดังนั้นพวกเรา ที่ยังมีชีวิตตอนนี้ อาจจะเกิน 500000 อสงไขยแล้ว ก็ได้ แต่ที่แน่นอน ถ้าหัวใจของท่าน จิตของท่าน วิญญาณของท่าน ยังมีการสร้างบารมีมาอยู่ ก็จะมีคุณสมบัติ ในใจ คือ ความหน่าย ต่อ สังสารวัฏฏ์ อยู่เป็นปกติ นี่เรียกว่า พระโยคาวจร เวลาภาวนาธรรม ถ้าจิตของ พระโยคาวจร ตื่นขึ้นมา การดำเนินตามวิถีธรรม ก็จักเป็นไปโดยธรรมชาติแห่ง ผู้บำเพ็ญบารมี ดังนั้น เป้าหมายธรรมเบื้องต้น ก็คือ การตื่น

       การตื่น จะมีได้ ก็ต้องตั้งมั่น ใน ศีล สมาธิ และ ปํญญา
     
       การตื่น มี สามอย่าง ที่เรียกว่า ตื่น
         ตื่น ด้วย ศีล
         ตื่น ด้วย สมาธิ
         ตื่น ด้วย ปัญญา
     
      ตื่น ด้วย ศีล คือ อย่างไร ?
        เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้ตั้งมั่น และมั่นคง ในศีล 5 ถึงแม้ไม่หมดจด แต่ก็คิดทำลายศีล การตื่น หมายถึง ธรรมสองอย่าง นั่นก็คือ หิริ และ โอตตัปปะ  นั่นเอง
   
      ตื่น ด้วย สมาธิ คือ อย่างไร ?
       เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปด้วยความแน่วแน่ แห่งสมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน จนถึงอัปปนาฌาน ญาณที่เคยสั่งสมย่อมเกิดขึ้นตามวาสนาที่ได้สั่งสมมา เช่น ระลึกชาติได้ เป็นต้น การตื่นในสมาธิ หมายถึง ธรรมสองอย่าง คือ สติ สัมปชัญญะ นั่นเอง

      ตื่น ด้วย ปัญญา คือ อย่างไร ?
       เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปพิจารณา ธรรม คือ ความทุกข์ เหตุแห่งความทุกข์ การก้าวล่วงความทุกข์ และหนทางแห่งการก้าวล่วงแห่งความทุกข์ การพิจารณาธรรม สำหรับ อนุพุทธะ ก็คือ อริยะสัจจะ 4 ประการ สำหรับ พระโพธิสัตว์ ที่จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป จะพิจารณา ทุกข์ และ สาเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น ส่วนการการก้าวล่วง และ หนทางแห่งการก้าวล่วง ไม่สามารถเห็นได้ เพราะต้องไปตรัสรู้เอาเอง ในฐานะ พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญธรรมเพื่อเป็น พระพุทธเจ้า จะมีเพียง อนุพุทธะเท่านั้น ที่สามารถน้อมธรรม คือ อริยะสัจจะทั้ง 4 ( ในพระพุทธเจ้าพระองค์ นี้ ) เพราะว่าธรรมที่สำคัญในการพิจารณา ด้วยปัญญาต่างกัน ด้วยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
       ดังนั้นการตื่น ด้วย ปัญญา ของพระอนุพุทธะ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง

    เจริญธรรม / เจริญพร

อุปสรรค ใหญ่ ของการสร้าง บารมี ก็คือ เวลา
และ เวลา แต่ละคน นั้น เพื่อทำ บารมี ให้เต็ม ไม่เท่ากัน
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลามาก
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนาน
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนานมาก ๆ

   ดังนั้น การก้าวล่วงเวลา เป็นสิ่งที่พระโยคาวจร ที่ฉลาด มักจะใช้กันในการเข้าถึงธรรม
  การก้าวล่วงเวลา ( เหนือกาลเวลา ) มีได้ในสภาวะเดียวก คือ สภาวะ อัปปนาจิต

  ดังนั้น ตั้งแต่อดีต แม้พระพุทธเจ้าเอง พระองค์ ก็จะอาศัยสมาธิ เป็นหลักในการเข้าถึงธรรม แม้เสวยวิมุตติ ก็อาศัยสมาธิ แม้ขณะแห่งการตรัสรู้ ก็อาศัย สมาธิ

  ดังนั้น ความสำคัญ ของ การบรรลุธรรม จริง ๆ อยู่ที่ การบำเพ็ญ สมาธิ
  ดังนั้นเวลาเราไปปฏิบัติธรรม การใช้ปัญญา การรักษาศีลนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหนัก สำหรับผู้ภาวนา แต่ การใช้สมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ เป็นเรื่องที่ผู้ภาวนาฝ่าด่านนี้ได้ยาก จากอดีต ถึงปัจจุบัน ก็ไม่เปลี่ยนแปลง

    ดังนั้น รูปแบบของการทำสมาธิ จึงมีแตกแขนงออกไปตามครูอาจารย์ กันมาก ในที่นี้จะไม่ขอกล่าว จะกล่าวเฉพาะที่พระพุทธเจ้า ทรงรับรองว่า เป็นการทำสมาธิ อย่างเลิศ นั่นก็คือ

      1.กายคตาสติ เป็นกรรมฐานแรก ที่ถูกส่งมอบให้แก่ ผู้บรรพชา ตั้งแต่เป็นสามเณร บทแรกก็คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ว่า ด้วย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มีพระอรหันต์ อายน้อย ๆ ที่สำเร็จกรรมฐาน ส่วนนี้มากมาย เช่น สามเณรสังกิจจะ สามเณรทัพพะมัลละบุตร เป็นต้น
   
       2.พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานองค์ที่ 2 ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธรรมอันเอก อันให้ถึงพระนิพพาน การเข้าถึง พระพุทธานุสสติ นั้นจัดว่าเป็นกรรมฐาน สำคัญ ประเทศไทย เรายุคนี้ ตามวัดต่าง ก็ใช้กรรมฐานนี้เป็นหลัก และดูเหมือนจะเป็นกรรมฐาน ที่ พื้นฐานอย่างมาก

      3.อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้อย่างเสมอ ๆ ว่าที่สุด แม้พระองค์เองก็ทรงอยู่ ดำรงค์อยู่ ด้วย อานาปานสติ แม้ดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ด้วยอานาปานสติ นั่นเอง
 
      4.โพชฌงค์ 7 อันสหรคต ด้วย กรรมฐานกองอื่น ๆ อันนี้อาจจะไปนิดสำหรับ พระโยคาวจร แต่จะไม่ยากเลย ถ้าเป็นพระโสดาบัน ไปแล้ว เพราะโพชฌงค์ อาศัย ผลสมาบัติ ในการเจริญภาวนา

      5.มหาสติปัฏฐาน 4 กรรมฐานส่วนนี้ เกื้อกูลสำหรับ ปัญญาวิมุตติ เป็นหลัก เป็นกรรมฐานที่ไม่ลำบากในการเจริญ แบบปัญญาวิมุตติ  ถึงแม้ บรรพะต่าง ๆ นั้นจะมีหลายหมวด แต่ส่วนใหญ่ ผู้ภาวนาจะหนักข้างทาง วิปัสสนา คือ ไปสายปัญญาวิมุตติ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นแต่ มหาสติปัฏฐาน 4 เองนั้น เป็นธรรรม ที่เกื้อกูลทั้งสองสาย คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
     ( แต่ปัจจุบัน จากที่ไปสังเกตการณ์ หลายสำนักแม้ สำนักใหญสายนี้ หนักข้างปัญญาวิมุตติ ยังไม่มีใครให้คำตอบ ทาง ด้าน ฌาน อัปปนาจิต หรือ วิธีการเข้า วิปัสสนา ผ่านอัปปนาจิต ให้ กับอาจารย์ได้ถูกต้องสักรูป ส่วนใหญ่จะแคลนออกไปว่า สู้สติ ไม่ได้ ประมาณนี้ นั่นก็หมายความว่า พัฒนา สติ เป็น สมาธิ พื้นฐาน แล้วกระทำการพิจารณาธรรม ตาม หมวดธรรม ตามหมวด ตามหมวดเวทนา แต่ แต่คนที่สอนก็ไม่สามารถเข้า ฌานจิตได้ ทดสอบมาหลายรูปแล้ว ส่วนใหญ่ เป็นนักคิด นักพูด เท่านั้น ข้อเสีย ในปัจจุบัน ที่ไปฟังและ คลุกคลีในสายนี้มา เป็น ปัญญาปรมัตถ์เทียม สละกิเลสได้ชั่วคราว ไม่สามารถสละได้ถาวร ส่วนตัวจึงไม่แนะนำในสายนี้ กับลูกศิษย์ เพราะถ้าไม่เอาดี ทางสมาธิ ซึ่งเป็นองค์สำคัญ ในระดับอุปจาระสมาธิ แล้ว ก็ยังผิดพลาดได้ ถึงแม้บางทีแสดงความเห็นว่า ขณิกะสมาธิ ก็สามารถหยั่งวิปัสสนา ได้ แต่นั่นหมายถึง อุคติตัญญ และ วิปจิตัญญู บุคคล นะ ที่จะสำเร็จธรรมได้ในขณะนั้น โอกาสมีน้อยมาก ที่จะได้บุคคลเหล่านี้ในปัจจุบัน )

เจริญพร


ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18155.0
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #124 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2015, 10:07:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 17/6/58 เวลา 10.00 น. โดยประมาณ

วันนี้จะเดินทางกลับจากบ้านมากรุงเทพฯ ได้ทำสมาธิและปลงจากปัญญาครอบครัวที่มีอยู่มากจนไม่รู้จะแบกรับอย่างไร ใจนคึงก็โมโหโกรธเคืองผู้อื่น ใจนึงก็เจ็บใจตนเอง ใจนึงก็เศร้าโศกร่ำไรรำพันเสียใจ ใจนึงถึงหวังปารถนาอยากให้เป็นดั่งใจระคนกันทั่วจนสมองจะระเบิด จึงได้ตั้งทำไว้ในใจถึงความสงบ สันติ ความดับ ความสละคืนกิเลส ความไม่ยึดสมมติ ไม่เสพย์สมมติกิเลส เมื่อจิตสงบแล้ว พึงเห็นว่าเพราะมีความกำหนัดยินดี ใคร่ยินดี กระสันที่จะอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้คนนั้นคนนี้เป็นไปอย่างที่เราปารถนาพอใจ เมื่อไม่เป็นไปตามหวังก็เป็นทุกข์ แม้แค่เพียงเมื่อจิตแค่เริ่มเสพย์จิตยึดมั่นตั้งในความอยาก ยังไม่สืบต่อ ยังไม่รู้ผลว่าจะสมหวังหรือผิดหวังก็เป็นทุกข์แล้ว มองย้อนไปว่าที่เรามีความโกรธนี้ต่อครอบครัวเพราะเราเป็นคนใจแคบ ไม่มองความผิดตนที่มีต่อผู้อื่น ตั้งความปารถนาอยากให้คนอื่นเป้นอย่างนั้นอย่างนี้ ขนาดแม้แต่ตนยังบังคับไม่ได้ แล้วกับคนที่เราไม่ได้ตั้งความหวังปารถนาไรๆไว้เขาจะเป้นอย่างเราแต่เรากลับไม่ทุกข์และยังให้คำแนะนำดีๆด้วยซ้ำ แล้วเราทำถูกกับคนที่เรารักและรักเราอแล้วหรือที่ตั้งความไม่พอใจยินดีต่อเขาอย่างนี้ เมื่อทบทวนดีแล้วก็รู้ว่าเมตตาเรายังไม่พอ ทำให้หวนระลึกถึงตอนที่นั่งสมาธิแล้วเห็นพระพุทธเจ้าเป็นแก้วเสรด็จมาเป็นอันมากมาพาให้เมตตา จึงรู้ว่าชาตินี้เราคงมีเมตตาน้อยจึงเกิดเรื่องเครียดและปัญหาครอบครัวเยอะ เราจักทำเมตตาให้ถึงเจโตวิมุตติ ในปุถุชนก็คือเมตตาไปโดยไม่มีกิเลสในขณะนั้นจนเป้นนิสัยนั้นเอง เมื่อทำสมาธิต่อก็เจออุบายดังนี้ว่า

อุบายทรงอารมณ์ในพรหมวิหาร ๔ จนถึงการแผ่ความไม่เบียนเบียนและทาน ไปแบบพรหมวิหาร ๔

๑. เมตตา คือ มโนกรรม จิตที่ปารถนาดี เอ็นดู ปรานี ต่อผู้อื่นเสมอตน เห็นเป็นประดุจบุพการี พ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง ลูกหลาน บุคคลอันเป็นทึ่รัก มิตรที่ดีต่อกันไม่ขุ่นเคืองใจกัน น้อมไปในการสละให้ / ความมีใจ หรือ ทำใจไว้ ตั้งจิตในความเอ็นดูปรานี น้อมใจวาจากายไปในความสงบสุขยินดีต่อเขา คิดดี พูดดี ทำดีต่อเขาด้วยปารถนาให้เขาได้รับสุข ไม่คิดพูดทำในสิ่งใดอันเป็นไปในความเบียดเบียนทำร้ายให้เขาเดือดร้อน หวาดกลัว มีโทษ ผูกโทษต่อเขา / ไม่เพ่งโทษ ไม่ถือโทษ ไม่ผูกโกรธ ไม่ผูกกลัว ไม่ผูกพยาบาทต่อเขา ด้วยความรักใคร่ที่ไม่เป็นไปด้วยความหลง ความกำหนัด ผูกใฝ่ใคร่ปารถนาทั้งปวงต่อเขา แต่อยู่โดยความเว้นโทษไม่ผูกโทษใจน้อมเอื้อเฟื้อสิ่งดีๆให้เขาด้วยกาย วาจา ใจ หวังให้เขาเป็นสุข ไม่เร่าร้อน ไม่หวาดกลัว ไม่ระแวง ไม่รู้สึกผิด ไม่อยากแสวงหาให้ร้อนรุ่ม
- อุบายว่า หากเราไม่รู้จักปารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่รู้จักอภัยต่อผู้อื่น แล้วจะมีใครไหนเลยจะหวังดีกับเราไม่มาคิดร้ายเบียดเบียนเรา
- มีจิตปารถนาดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ เสมอตน เสมอกัน ประดุจคนในครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก ญาติ มิตร ทั้งที่ยังกายอยู่ เห็นเป็นขันธ์ ๕ เสมอกันบ้าง ,อาการทั้ง ๓๒ เสมอกันบ้าง ,ธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง
- อีกประการหนึ่ง คือ ทำไว้ในใจ..จับเอาความปารถนาดี ที่มีต่อสิ่งทั้งปวง ประดุจดั่งตน สิ่งตนรัก ตนชอบ ยินดีในกุศลประโยชน์สุขสมหวังอย่างไร ประดุจดั่งคนในครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก ญาติ มิตรที่ปารถนาดีต่อกัน ไปทั่วทุกอนูทั่วเอกภพไม่ว่าสิ่งนั้นๆจะประกอบหรือตั้งอยู่ด้วย เฉพาะธาตุดินก็ดี เฉพาะธาตุน้ำก็ดี เฉพาะธาตุลมก็ดี เฉพาะธาตุไฟก็ดี เฉพาะอากาศธาตุก็ดี เฉพาะวิญญาณธาตุก็ดี หรือ ธาตุทั้ง ๖ นี้สงเคราะห์รวมกันก็ดี

๒. ทำไว้ในใจถึงความไม่เบียดเบียน ความไม่มีเวร ความไม่ผูกโกรธ ความไม่มีพยาบาท ความไม่ผูกใจเจ็บแค้นหมายให้เขาถึงความฉิบหาย ความไม่เป็นเวรภัยซึ่งกันและกันด้วยความมีจิตปารถนาดีซึ่งกันและกัน แผ่ไปทั่วไม่มีสิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไปทั่วทุกอนูเอกภพ

๓. กรุณา ความสงสาร คือ มโนกรรม มีจิตสงเคราะห์ น้อมที่จะกระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเขา ให้เขาได้มีโอกาสที่ดีในชีวิตหรือได้รับสิ่งที่ดีงามที่เอื้อประโยชน์สุขแก่เขา
- อุบายว่า หากเราไม่มีจิตช่วยเหลืออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น อยู่โดยความเห็นแก่ตัว แล้วจะมีใครที่ไหนเขาจะอยากมาช่วยเหลือสงเคราะห์แบ่งปันเรา
- มีความสงสารเสมอกันทั่วทุกสรรพสิ่ง มีจิตแผ่ไปประดุจเหมือนอากาศธาตุอันเป็นที่ว่างที่แทรกอยู่ในทุกๆอนูธาตุนั้นเป็นอารมณ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะหรือจับยึดอยู่ที่ในกาย หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในขันธ์ ๕ หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในอาการทั้ง ๓๒ ประการ หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในธาตุ ๖ แต่แผ่ไปทั่วประดุจดั่งอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีที่สิ้นสุดไปทั่วทุกเอกภพนั้น
- อีกประการหนึ่ง คือ ทำไว้ในใจ..ว่าความสงเคราะห์เอื้อเฟื้อมีจักมีแก่สิ่งทั้งปวง ความตั้งกายอยู่ย่อมถึงความสงเคราะห์มีน้อย กายเรานี้ยังคงเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมสูญ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ไว้อยู่ เราจักละกายนี้อันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เป็นที่ประชุมโรคนี้ไปเสีย จักไม่ยังกายนี้อีก จักทำตัวประดุจเหมือนอากาศอันเป็นที่ว่างอันไม่มีประมาณประดุจดั่งเอกภพที่ว่างกว้างไปไม่มีที่สิ้นสุด ยกจิตขึ้นออกจากกายตั้งอยู่ในที่ว่างอันกว้างไกลไม่มีประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุดประดุจอากาศ อวกาศ ดั่งเอกภพนั้น แผ่เอาความมีจิตสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือแบ่งปันให้แก่สรรพสิ่งทั้งปวงนั้นพ้นจากทุกข์ที่เกิดมีแต่รูปขันธ์นั้นให้ได้ประสบสุขนี้ไปไม่มีประมาณเหมือนเอกภพนั้น

๔. ทาน คือ ผลอันเกิดจาก เมตตาและกรุณาที่น้อมไปในการสละให้ จนเกิดการกระทำทางกายและวาจาอันเป็นไปเพื่อความสละให้ ด้วยปารถนาให้ผู้รับเป็นสุขจากการให้นั้นของตน
- อุบายว่า หากเราไม่รู้จักสละให้ผู้อื่น แล้วใครที่ไหนเลยเขาจะอยากสละให้เรา
- ระลึกถึงผลทานอันใดที่เราสละให้มาดีแล้วนั้น ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นอันมาก ระลึกถึงความสุขที่เขานั้นได้รับจากการสละให้ของเรา เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต หรือ ระลึกว่าการสละให้ที่เราได้ทำมาแล้วนี้มีผลมาก เอาชนะหรือดับอุปกิเลสความโลภในตนได้ เป็นการปหานอกุศลธรรมอันหยายช้าได้ ทั้งได้ทำทานนี้ต่อพระรัตนตรัย พ่อ-แม่-บุพการี พระพุทธศาสนา พระอริยะสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง ทานที่ทำมานี้มีผลมีอาสิงส์มาก เราได้ทำสำเร็จบรรลุบทตามที่พระอริยะทั้งหลายได้กระทำมาแล้ว ประกอบไปด้วยคุณจักส่งผลให้ตนได้รับผลทานอันนั้นแม้กาลปัจจุบัน อนาคตภายหน้า เมื่อละโลกนี้ไปแล้วและในชาติหน้า ให้เราไม่ต้องลำบาก มีอยู่มีกินมีใช้ มีคนเมตตาอนุเคราะห์แก่เราไม่ขาด จิตจะยังความอิ่มใจจนเต็มกำลังใจในทาน
- อีกประการหนึ่ง คือ มีจิตน้อมถึงความสละให้ที่เราได้ทำมาดีแล้วด้วยกายวาจาใจ ต่อสรรพสิ่งทั้งปวง ด้วยจิตอันยินดีที่เราได้สละให้ และ ยินดีที่ได้ทำในสิ่งที่เอื้อประโยชน์สุข ช่วยเหลือ ดูแล ทำนุบำรุง รักษาในสรรพสิ่งทั้งปวง แผ่ไปทั่วให้สรรพสิ่งทั้งปวงประดุจความเติมเต็มสุขอันดีงามไปทั่วทุกอณูธาตุซึ่งเป็นที่ว่างกล้างไปไม่มีประมาณประดุจความมืดโล่งว่างไม่มีที่สิ้นสุดในจักรวาลที่รอให้เราเอาความอิ่มใจไปเติมให้มันเต็มแบบไม่มีประมาณทั่วทั้งเอกภพ

๕. มุทิตา คือ มโนกรรม มีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขา ที่เขาเป็นสุข ไม่มีทุกข์ คงไว้ซึ่งสิ่งอันมีค่าและสำคัญในของเขา ได้พบโอกาสที่ดีในชีวิตและสิ่งที่ดีงามที่เอื้อประโยชน์สุขแก่เขา ไม่ริษยา
- อุบายว่า หากเราไม่รู้จักยินดีเป็นสุขต่อผู้อื่น เมื่อเราได้ดีมีสุขคงไว้ซึ่งสิ่งอันมีค่าอันเป็นที่รักหรือได้ทำในกุศลดีงาม..แล้วใครจะมาอนุโมทนายินดีด้วยใจเป็นสุขไปกับเรา, เมื่อเราคอยแต่ตะเกียกตะกายแก่งแย่งชิงดีให้ตนเหนือกว่าเขา อิสสาริษยาเขาแล้ว..เราก็ไม่ใช่แค่คิดเบียดเบียนคนอื่น แต่กลับเบียดเบียนตนเองให้มีแต่ความทุกข์เร่าร้อนเกายใจอยู่ไม่เป็นสุข
- แผ่เอาความจับเอาที่จิตอันเป็นสุขยินดีเสมอกันประดุจญาติมิตรบ้าง หรือ เป็นขันธ์ ๕ เสมอกันบ้าง, อาการทั้ง ๓๒ ประการ เสมอกันบ้าง, ธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง ที่เขาคงไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนได้รับสิ่งที่เป็นสุขยินดี ความยินดีมีอยู่ที่จิตนี้ไปถึงทั่วทุกอนูทั่วทุกเอกภพ
- อีกประการหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจ..จับเอาจิตอันเกษมยินดีแช่มชื่นรื่นรมย์อันเกิดมีแต่จิตนั้น ตั้งอยู่ที่จิตนั้น

๖. อุเบากขา คือ มโนกรรม ความวางใจไว้กลางๆ ความไม่ลำเอียง อันสืบต่อจาก เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ลำเอียงเพราะกลัวหรือไม่รู้ตามจริง ไม่ตั้งความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีต่อสิ่งใด มีความเสมอกันหมดต่อสรรพสิ่ง ย่อมที่เห็นว่าคนเรามีกรรมเป็นของของตน มีกรมเป็นผู้ให้ผลติดตามและอาศัยบ้าง อยู่ที่กรรมที่เขาได้ทำในกาลก่อนและปัจจุบันบ้าง เป็นไปตามธรรมชาติของผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในครองขันธ์ ๕ อยู่บ้าง
- อุบายว่า สิ่งเหล่าใดที่ควรและไม่ควรเราได้ไตร่ตรองพิจารณาได้ทำด้วยความปารถนาดีน้อมไปในการสละช่วยเหลือต่อเขามาดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอบ่างย่อมเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้ไม่ว่าเราหรือเขาก็หลีกหนีไม่ได้ หากเรายังยินดียินร้ายไปกับเขา หรือ ติดข้องใจไปก็ไม่มีประโยชน์อันใดนอกจากทุกข์ ติดข้องใจสิ่งใดไปย่อมนำทุกข์และความฉิบหายมาให้
- แผ่เอาความว่างไม่มีความยินดี-ยินร้ายต่อสิ่งเหล่าใดไปแบบไม่มีประมาณ
- อีกประการหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจ..ไม่ยึดยินดีในกาย ไม่ยึดยินดีในใจ หรือ ไม่ยึดยินดีในเอาขันธ์ ๕ หรือ ไม่ยึดยินดีในอาการทั้ง ๓๒ หรือ ไม่ยึดยินดีในธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง ไม่ยึดเอาสิ่งใดสักอย่าง ไม่ยึดเอาสิ่งทั้งปวง ด้วยเป็นว่าเพราะเป็นที่ประชุมแห่งทุกข์ แม้แต่กายและใจของตนก็ตาม ทุกข์นี้เกิดอยู่ที่กายที่ใจตนนี้แหละ กายที่เสื่อมโทรมเป็นที่ประชุมโรค ใจที่รู้แต่สมมติกิเลส ไม่รู้ของจริง ยึดเอาเพียงสมมติปรุงแต่งแต่สิ่งไรๆที่นำความทุกข์มาให้ ยังไฟให้แผดเผาตนให้เร่าร้อน ละทิ้งกายใจเหล่านั้นไปเสีย เพราะเป็นที่ประชุมทุกข์ดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2015, 12:59:51 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #125 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2015, 01:27:45 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อันว่ากายนี้ ก็อย่างนี้แหละ พึงเห็นเป็นธรรมดา เสีย ไม่ต้องปลง เห็นเป็นธรรมดา พอ.....จากพระอาจารย์ ธัมมวังโส

สำหรับร่างกาย ตอนนี้ มันก็เป็นปกติ ของเขา คือ ทรง กับ ทรุด เท่านั้น ทรงก็คือ มีแรง ทำงานต่อไป ทรุด ก็คือป่วย ต้องนอนเยียวยา สุดท้าย มันก็ต้อง มรณา มันเป็นธรรมดา ของมันอย่างนั้น ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย สภาวะของการมีชีวิตก็อย่างนี้นั่นแหละ เช้านี้ ขอให้ท่าน ภาวนา อภิณหปัจจเวกขณ กันบ้างนะ

เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย
เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้
เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม
เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น
เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.


เจริญพร
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #126 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2015, 08:50:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะ วันที่ 13/7/58

     วันนี้เข้ากะดึกออกกะเช้าเวลา 8.00 น. เมื่อถึงบ้านก็ดูหนังดูเวบข่าวก็ไปเห็นที่เขาโพสท์ภาพนู๊ด ทำให้เกิดความกำหนัดมาก แต่ก็ข่มใจไว้อยู่ และนอนตอนประมาณ 13.00 น. ได้ทำไว้ในใจก่อนนอนว่า

- จักไม่จับสละคืนกิเลสหายใจออกจนสุด จะสละคืนกิเลสหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆผ่อนไป ทำให้เห็นของ วสีอุปจาระฌาณ(อุปจารสมาธิอย่างหยาบ จนถึงขั้นกลาง แต่ยังไม่ใช่อุปนาสมาธิหรือปฐมฌาณ) ว่า การกำหนดเข้าอุปจาระฌาณนี้ต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกยาว โดยตัดความคิดตามสมมติกิเลสทิ้งไปเสีย โดยค่อยๆหายใจเข้า-ออกยาวเบาๆ สติไม่หลุดจากลมหายใจ แม้จะบริกรรมพุทโธหรือไม่ก็ตาม คือ ให้มีวิจารตามรู้ลมหายใจเข้า-ออกแนบชิดอยู่อย่างนั้น (วิตก คือ พุทโธ , วิจาร คือ ลมหายใจ) จะเกิดความไม่เร่าร้อนมีความผ่องใสปราโทย์ ถึงปิติให้ความอิ่มจากไม่คิดฟุ้งซ่าน ให้ขนลุกซู่ เบาโหวงเหมือนลอยได้บางครั้งจิตมันเบาจนเหมือนจะลอยออกจากกายทำให้รู้สึกว่ากายนี้หนัก จะเพิกทิ้งกายนี้ไปเสียให้ได้ มีพลังอันอิ่มเอมอัดขึ้นให้ตรึงกายใจอยู่ ถึงความสงบใจได้โดยง่าย (บางครั้งเราทำก็ถึงความปราศจากกิเลสนิวรณ์ได้สืบต่อให้รู้สึกเป็นสุขอ่อนๆจากความสงบนั้นเข้าสู่สภาวะที่สติทำให้จิตจดจ่อมากขึ้นจนรู้แยกจากความตรึกนึกนิมิตใดๆ หรือ ทำให้แนบแน่นในนิมิตที่กำหนดขึ้นมาเพ่ง , บางครั้งก็แค่สงบแต่ยังมีกิเลสอ่อนๆที่คอยจะพุ่งแทรกจิตที่กำลังจะสงบจดจ่ออยู่)
- เมื่อวิตกเป็นไปในพุทโธ ด้วยจิตน้อมเอาความสละคืนกิเลส และ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพุทธคุณของพระตถาคตเจ้านั้น ด้วยอุบายว่า ไม่มีวิตกอันใดที่ไม่เร่าร้อน แต่ประกอบด้วยคุณเท่า อรหัง หรือ พุทโธ นี้แล้ว และ ไม่มีความเข้าไปรู้อารมณ์ใดที่จะสงบสุขไม่ฟุ้งซ่านไม่เร่าร้อนเท่าลมหายใจนี้แล้ว รู้ลมหายใจมันไม่เร่าร้อน มันไม่ฟุ้งซ่าน มันไม่ทุกข์ รู้ลมหายใจทำให้สละคืนกิเลสไม่เร่าร้อน มีแต่ความสุขสงบเพราะปราศจากความคิดอันฟุ้งซ่านในกิเลสสมมติทั้งปวง


จากนั้นก็หลับไป

แล้วก็ฝันโดยสัญญาจากจิตใต้สำนคึกที่เรานี้มักมากในกามอยู่มากถึงมากที่สุดอัดปะทุแน่นโขขึ้นมา เกิดเป็นฝันว่า เราได้เจอผู้หญิงคนหนึ่งสวยมาก แต่ในฝันยังมีสติรู้ทันจิตในตอนนั้น ทำให้เกิดความข่มใจแล้วพิจารณาจนเกิดเห็น นันทิ ความติดใจในอารมณ์นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อรู้โดยอาการจริงโดยปราศจากคิดในอาการโดยบัญญัติในฝันนั้น ทำให้เห็นอาการจริงๆของนันทิ ที่ปกติเราจะแยกจากกาม ความน่าใครน่าปารถนาในอารมณ์นั้นๆไม่ออกเลย อาการมันจะมีลักษณะติดตามไปในอารมณ์นั้นด้วยความเพลิดเพลิน มีอาการที่รุ่มๆเร่าๆอ่อนๆ มีลักษณะเหมือนเส้นปะที่ต่อกันไปเรื่อยๆ โดยช่องว่างหรือช่องไฟของเส้นปะนั้นจะแคบหรือกว้างก็ขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกที่น่าใคร่น่าปารถนาและความผูกใจใฝ่ยินดีในอารมณ์นั้น(ฉันทะราคะ) มีมากน้อยแค่ไหน นันทิอยู่ระหว่างกลางของสองอารมณ์นี้


»  -  ·  »  -  ·  »  -  ·  »  -  ·  »  -  ·

» - · » - · » - · » - · » - · » - · » - · » - ·

»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·

-----------------------------------------------------

สักพักก็ตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำแล้วก็หลับต่อ

จากนั้นก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งน่าตาดีมีใจให้เรา แต่ตอนนั้นเห็นว่าเขามีสามีแล้ว เพราะสามีเจ้าชู้มีเมียใหม่ แต่ต่อมาว่าเธอเลิกกับสามีแล้ว เพียงแต่ทำงานช่วยเหลืออยู่ เราจึงคิดพาเธอหนีไปอยู่ด้วยกัน เพราะความใคร่ ความกำหนัดโดยแท้ จนลืมไตร่ตรองก่อนว่าเขาเลิกกันแล้วจริงหรือไม่
- คติข้อแรกนี้ทำให้เห็นว่า ความกำหนัดในเมถุนนี้มันร้ายมากถึงขนาดเพ่งภัณฑะ และช่วงชิงเอาของคนอื่นได้โดยไม่แยแสเลย

จากนั้นก็ได้พาเธอออกมาอยู่ด้วย แต่ก็อยู่ด้วย แต่ก็อยู่ด้วยความกำหนัดเมถุน จะเอา จะอึ๊บเขาอย่างเดียวเลย จนในฝัน ฝันว่าน้ำสุกกะพุ่งกระจายเต็มหน้าเธอ เต็มตัวเขาและเราไปหมด ประหนึ่งเหมือนลงแช่น้ำสุกกะอย่างนั้น แม้จะดูเลอะเทอะน่าเกลียดกลิ้นคาวคลุ้งไปทั่ว แต่ในฝันนั้นก็เปรมปรีย์ยินดีเหลือเกิน
- คติข้อนี้ทำให้เห็นว่า การเสพย์เมถุนนี้เป็นของสกปรกน่าขยะแขยง แต่เพราะความกำหนัดในมันนี้แล แม้รู้ว่าสกปรก แม้รู้ว่าเป็นกองทุกข์ ก็ยังจะเสพย์มัน

จากนั้นจึงพากันไปล้างตัวทั้งๆที่แก้ผ้ากันเดินไปทั้งสองคน พยายามหาน้ำสะอาดเพื่อล้างน้ำสุกกะของเราสองคนออกไม่ให้ใครมาเห็นสภาพนี้ แต่บังเอิญน้ำที่มีให้เห็นใกล้ที่สุดเป็นน้ำในอ่าง มีจอกแหนสาหร่ายและฝุ่นสิ่งปฏิกุลเยอะ หากจะหาน้ำปะปาสะอาดก็ต้องเดินไปอีก และก็ต้องเปลือยกายไป แม้จะรู้ว่าน้ำนั้นมันสกปรกมากแต่ก็ยังพยายามตักกรองเอาน้ำในอ่างมาล้าง ซึ่งสิ่งที่ติดขึ้นมากับน้ำมีทั้งเศษใบไหม่ ฝุ่น สาหร่าย แหน เต็มหมดทั้งๆที่กรองแล้ว จากนั้นก็เอาน้ำนั้นลาดล้างน้ำสุกกะออก จริงอยู่ว่าน้ำสุกกะนั้นบางส่วนหลุดออกไปแต่ตัวเราและเธอแต่ร่างกายก็เต็มไปด้วยใบไม้ ฝุ่น สาหร่าย จอก แหน มาติดตัวแทนเช่นกัน
- คติข้อนี้ทำให้เห็นว่า การที่เราคลุกตัวอยู่กับความน่าใครน่าปารถนา ความติดใจ ความผูกใคร่ยินดีในการเสพย์เมถุนนี้ๆ ทำให้กายใจ ก็เหมือนนำกายใจตนเองให้เร่าร้อนคอยวิ่งหาสิ่งที่ปารถนา แสวงหาทางเพื่อจะปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ว่าตนทำสิ่งใดที่น่ารังเกลียดแค่ไหน แต่ถึงจะพยายามปิดบัง กดข่มไว้ มันก็ปกปิดไว้ไม่หมดเหมือนที่ไม่อาจจะล้างน้ำสุกกะให้สะอาดได้ ซ้ำยังเปลี่ยนเป็นรอยที่สกปรกน่ารังเกียจอันใหม่เพิ่มเติม ทั้งๆที่ตนเองรู้ดีแก่ใจว่าสิ่งที่ตนทำให้คนอื่นเห็นนั้นมันของปลอมไม่จริงความจริงคือตนนั้นสกปรกไปด้วยน้ำสุกกะจากการเสพย์เมถุนแต่ก็ยังทำ เหมือนรู้ว่าน้ำนั้นสกปรกแต่ก็ยังตักมาล้างตัว ล้างยังไงก็สกปรกเหมือนเดิมไม่สะอาดไปได้ ถึงคนจะไม่เห็นแต่แก้ผ้ากลางแจ้งนั้นฟ้าดินก็เห็นอยู่ดี

- แต่หากเรายอมรับว่าเรานี้สกปรกอย่างนี้ ทำสิ่งที่น่าอายอย่างนี้ ยอมรับคำติเตียนต่อผู้อื่นแล้วตั้งสมั่นในทางที่ถูกต้อง คือ ยอมเปลือยกายเดินไปหาน้ำปะปาที่สะอาดกว่าที่เห็นในเบื้องหน้า หรือ เพียรหาน้ำสะอาดที่ปราศจากสิ่งปฏิกูลโดยอาจจะค่อยเดินแอบๆไปหาน้ำก็ได้ จากนั้นชำระล้างร่างกายของตนให้สะอาด เราก็ไม่มีกายใจเป็นที่น่ารังเกลียดอีก ซึ่งความตั้งใจเพียรหาน้ำสะอาดที่จะชำระกายใจให้สะอาดดั่งการหาน้ำสะอาดมาชำระล้างกายนั้น ก็เป็นเหมือนเจริญในสัมมัปปธาน ๔ อันมีสติสัมปะชัญญะเป็นเบื้องหน้า เป็นความเพียรตั้งใจมั่นคอยสอดส่องด้วยสติคอยเสาะแสวงหาอุบายที่จะฆ่าราคะ เพื่อทำให้กานสะอาดคือเป็นกุศลนั้นเอง เมื่อเห็นอุบายก็เหมือนเจอน้ำสะอาด แล้วนำน้ำสะอาดนั้นมาชำระล้างร่างกายให้สะอาด มีสมาธิประดุจสบู่ที่ทาบนตัว มีปัญญาประดุจมือที่คอยขัดล้างน้ำสุกกะนั้นออกจากกายใจให้สะอาดดังนี้


สรุปการพิจารณาด้วยกุศลวิตก ความคิดออกจากทุกข์ มีเกิดในฝันอันเต็ใไปด้วยราคะเมถุนดังนี้ และ เรายังปฏิบัติไม่มากพอทำให้ยังฝันได้ขนาดนี้ ต้องทำให้มากกว่านี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2015, 07:57:10 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #127 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2015, 11:58:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอน 37 (เสาร์ 11 ก.ค.) ช่วง 1-2

คณะสงฆ์ จะบิณฑบาตร แต่ประชาชนในเมืองขับไล่ไม่ยอมให้ทาน พระสงฆ์ทั้งหลายจึงหลีกเร้นมา มาเจอพระศาสดา

พระศาสดาจึงตรัสถามว่า : ไม่มีใครให้ทานพวกเธอ หรือ !
ภิกษุทั้งหลายตอบรับว่า : ใช่พระเจ้าข้า ! แล้วทูลต่ออีกว่า ขอเราไปจากที่นี่กันเถอะ ผู้คนที่นี่ไม่ต้อนรับเรา ผู้คนที่นี่ไม่ชอบเรา เขาด่าทอ เหยียดหยาม ดูถูก ขัยไล่เรา
พระศาสดาจึงตรัสตอบว่า : เราจะไปจากที่นี่ก็ได้. แต่สิ่งที่ทำให้พวกเธอกระสับกระส่ายเร่าร้อนอยู่ที่นี่นั้น มันจะตามไปทำให้เธอกระสับกระส่ายเร่าร้อนอยู่ที่อื่นด้วยเช่นกัน
ภิกษุทั้งหลายตอบรับว่า : ไม่หรอกพระเจ้าข้า ! คนที่นี่ดูถูกเรา หัวเราะเยาะ ล้อเลียนเรา
พระศาสดาจึงตรัสตอบว่า : เธอก็เลยโกรธอย่างนั้นหรือ.. เธอคงจะพอใจถ้าพวกเขาต้อนรับเธอด้วยดอกไม้ใช่ไหม.. นั่นแปลว่า เธอทั้งหลสายมอบความสงบสุขไปให้เขาหมดแล้ว สิ่งภายนอกทำให้เธอทั้งหลายพอใจได้ และ ทำให้เธอทั้งหลายสั่นคลอนได้ด้วย
ภิกษุทั้งหลายตอบรับว่า : ขออภัยพระเจ้าข้า หากความทุกข์และความโกรธอยู่ในใจเรา เพราะสิ่งเร้าภายนอก นั่นเป้นเพราะเราไม่ได้รับสาร์นท่านด้วยใจ
พระศาสดาจึงตรัสตอบว่า : จงจำเอาไว้ว่าไม่มีใครยอมรับสิ่งใหม่ได้ง่ายๆหรอก พวกเธอพยายามทำลายความเชื่อของเขาที่มีมานาน ในตอนแรกพวกเขาจะล้อเลียนเธอ พวกเขาจะใช้ความรุ่นแรง ไม่ต้อนรับ ขับไล่ ด่าทอ ทำร้าย หลีกเลี่ยงพวกเธอ
แล้วภายหลังเขาจะต้อนรับพวกเธอ ดังนั้นพวกเธอจงอย่าทิ้งความอดกลั้น และ อดทน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2015, 12:27:09 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #128 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 12:21:45 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอน 37 (เสาร์ 11 ก.ค.) ช่วง 3

ประวัติ พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะเลิศทางผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

ลูกยังมีชีวิตอยู่ในหัวใจเข้าเจ้า
เหตุของทุกข์คือยึดติดอยู่กับวัตถุต่างสิ่ง ไม่มว่า คน สัตว์ สิ่งของ
การเกิดและการตาย การอยู่ร่วมกันและพรัดพราก เป็นสิ่งเดีวกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2015, 12:27:39 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #129 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 08:10:41 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ถาม

วิปัสสนา เริ่มปฏิบัติตั้งแต่เมื่อไหร่ ? ในการภาวนา
เราจะเริ่มทำวิปัสสนากันตอนไหน ?
ทำวิปัสสนาอย่างเดียวได้หรือไม่ ?
ฝึกสมาธิ แล้ว จะมีทำวิปัสสนา ได้อย่างไร ?





และคำถามอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กัน ถามโดย
 nirvarnar55 bajang nimit mongkol tcarisa kobyamkala akira akito jojo rainmain sakol fan paisalee staporn samapol kindman หมวยจ้า wiriya fasai catwoman และ อีกหลาย ๆ ท่าน ที่ค้นจดหมายยังไม่เจอ





พระอาจารย์ ธัมมะวังโสภิกขุ ตอบ

เนื่องเพราะว่า ทุกคนไปติดใจในคำว่า วิปัสสนา กันแบบที่ไม่ค่อยจะเข้าใจ และ ติดตามวิธีการฝึกแบบ พระพุทธเจ้า นั่นเองโดยไม่ได้ทบทวนแบบ พุทธสาวก

   การฝึกภาวนา แบบพระพุทธเจ้า ฝึกความตั้งใจ ไปสู่สมาธิ และการตรัสรู้ นี้เป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะพระองค์ต้องค้นหาสัจจธรรม โดยพระองค์เอง คือการตรัสูรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นหนัาที่ของพระพุทธเจ้า

   ที่นี้การฝึกแบบพระพุทธเจ้า ไม่ใช่วิถีการฝึกแบบพุทธสาวก เพราะพุทธสาวก ไม่ต้องตรัสรู้เอง แต่ต้องรู้ตาม ดังนั้นการฝึกของพุทธสาวก จึงต้องเป็นการฝึกแบบ

    ใช้ปัญญา ตามด้วยศรัทธา และ จบด้วยสมาธิ
    ดังนั้นจะเห็นว่า อริยะมรรคมีองค์ 8 นั้น สตาร์ท ที่ สัมมาทิฏฐิ ( คือ ปัญญามองเห็นตวามเป็นจริง ตามอริยะสัจจะ 4 ประการ ) การมองเห็นตามความเป็นจริงจนกระทั่งเข้าไปเปลี่ยนความเห็นให้เป็นความเห็นชอบถูกต้องได้นั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

   ที่นี้การเห็นชอบ ที่เป็น วิปัสนา เปรียบเหมือนทฤษฏี นำทางแต่ไม่รู้ว่าจะถูกทั้งหมดไหม จึงมีธรรมสองส่วนแยกออกมา คือ ธรรมที่เรียกว่า รูป และ นาม
  
   การบริหารเรียนรู้เรื่องรูป ในพระพุทธศาสนา ใช้ข้อกำหนดคือ ศีล ๆ กล่าวได้ว่า เป็นความปกติของมนุษย์ ที่เห็นถูกต้องไม่ผิดต่อตนเอง มโนธรรม ก็ต้องดำรงอยู่ในศีล เพราะศีล เป็นตัวห้ามตัณหา ระดับที่หนึ่ง หากไม่มีศีล ทุกคนอยากได้อะไร อยากเป็นอะไร ก็พยายามทำให้ได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความเดือนร้อนที่จะเกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ดังนั้น ศีลจึงเป็นด่านที่สองต่อจาก วิปัสสนา

  มาถึงด่านสุดท้าย เป็นด่าน จิตใจ ล้วน ๆ การเข้าไปชนะใจ ข่มใจ รวมใจ เห็นแท้อย่างที่สุดนั้น ต้องอาศัยอำนาจสมาธิ เป็นกำลัง แต่อำนาจของสมาธิ จะม่ได้ก็ต้องมาจากความเพียร และสติ

  ดังนั้นคำถามว่า ปฏิบัติวิปัสสนา ตอนไหน ก็คือ ตั้งแต่คุณเริ่มเป็นผู้ถือเอาพระรัตนตรัย แล้วนั่นแหละ คือ คุณปฏิบัติวิปัสสนา แล้ว เพราะ วิปัสสนา แปลว่า การเห็นอย่างวิเศษ การเห็นแจ้ง ดังนั้นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง เป็นตัววิปัสสนาที่นำคุณเข้าไปสู่การเห็นตามความเป็นจริง เบื่อหน่าย ต่อ โลกธรรม และสังสารวัฏฏ์

   ส่วนการทำสมาธิ นั้นเป็นการทำให้ญาณ ข้อพิสูจน์ ให้ปรากฏตามที่เห็น เท่านั้น เมื่อจิตเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตก็จะละจาก กิเลสไปในตัว



เจริญพร สั้น ๆ เท่านี้ก่อน      


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2015, 08:22:15 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #130 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:28:03 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 17 กรกฎาคม 2558




ให้มีความยินดีในสมาธิ แต่ไม่ให้ปารถนาผลจากสมาธิ ไม่ปฏิบัติเพื่อ ฌาณ ญาณ อภิญญาไรๆ


- พึงเห็นด้วยปัญญาว่าจิตตั้งมั่นชอบเป็นสิ่งที่เอื้อต่อปัญญาชอบ และ เอื่อต่อสติสัมปะชัญญะ เป็นสิ่งดี สะสมให้เป็นกำลังใจให้จิตมีกำลังควรแก่งาน เป็นที่ควรทำ เป็นการปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า เป็นหน้าที่ๆควรทำของสมมติสาวกอย่างเรา เป็นความไม่ร้อนเร่า เป็นที่พักสบายของกายและใจ มีสติกำกับอยู่รู้ตามหายใจเข้าออก มันสงบ มันไม่เร่าร้อน มันไม่ฟุ้งซ่าน มีความคิดชอบด้วยพุทธโธ มันไม่เป็นที่ทุกข์แต่มีแต่ความสงบเบากายใจ ทำให้จิตมันเป็นที่สบายตัดขาดความคิดอันฟุ้งซ่าน ปราศจากอกุศลวิตกทั้งปวง เป็นการหาการงานชอบให้จิต
- ไม่ตั้งความพึงพอใจยินดีในญาณ หรือ ญาณ หรือ อภิญญาเหล่าใด เพราะมันไม่ใช่สิ่งปารถนา ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ยังไม่ใช่สิ่งที่ปุถุชนผู้ยังอกุศลธรรมอันลามกจัญไรอย่างเราควรจะมีควรจะได้ มันใม่ใช่เรื่องที่ปุถุชนคนมักมากในกามอย่างเราควรจะมี ควรจะหวังใคร่ปารถนา เพราะอาจจะทำให้หลงผิดหรือเสียสติได้ ไม่ปารถนาเอาผลจากสมาธิ ทำด้วยใจที่ยินดีในความเป็นที่สบายกายใจไม่เร่าร้อน ทำด้วยความยินดีว่าเป็นการปฏิบัติ เป็นพุทธบูชา เป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ทำสมาธิไปโดยไม่หวังปารถนาเอาผลไรๆจากสมาธิ แค่รู้ว่าควรทำให้มาก ขอแค่ให้ได้ทำพอจะมันจะสงบจะตั้งมั่นหรือฟุ้งไม่เป็นสัมมาก็แค่ตามรู้ไม่ต้องไปหวังปารถนาไรๆขอแค่ให้ได้ทำประจำ สะสมไว้ให้เป็นกำลังก็พอ

- หลวงน้าพระครูนกแก้ว ท่านสอนเราว่า ไม่ว่าอะไรมันจะไปคิด ไปเห็น ไปรู้ หรือ เกิดสิ่งใดๆ อาการใดๆขึ้นในขณะที่ทำสมาธิอยู่ก็ตาม มันก็แค่ปกติของจิต แค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆอาการจนนับไม่ถ้วนเท่านั้น รู้แค่นั้นแล้วก็วาง ไม่ต้องไปยึดไปสนใจ ตกใจ จดจ้องจะเอา จดจ้องจะได้ จดจ้องจะรู้ไรๆ ให้เพียงแค่ รู้ ปกติ วาง

- หลวงปู่บุญกู้ และ หลวงพ่อเสถียร ท่านสอนเราว่า..ให้ทำให้มากไว้เพื่อสะสมให้เป็นกำลังเรียกว่า พละ ๕ + ศีล(กุศลกรรมบถ ๑๐) คือเพียรเจริญใน ศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ สติ ปัญญา ทำอินทรีย์ให้แก่กล้า ปฏิบัติมีความยินดีที่จะทำยินดีในการหลุดพ้นจากทุกข์ แต่ไม่ต้องไปหวังผลจากการปฏิบัตินั้นๆ ทำไปเรื่อยๆจะได้หรือไม่ได้ก็ช่างมันอย่าไปใส่ใจให้มากจนเป็นกิเลสตัณหา เพราะสุดท้ายถ้าไม่วันนี้ ก็วันหน้า หรือ ชาติหน้าเราก็คงได้เอง ให้คำนึงถึงว่าหากไม่ได้ชาตินี้ หรือ ได้ผลช้านั่นเพราะเราไม่เคยสะสมมันมาก่อนทำให้อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ และ ยังไม่ถึงเวลาที่จะได้ เพราะจิตใจเรายังมีสันดานปุถุชนเป็นอันมากอยู่ ยังไม่มีหรือยังไม่พอให้สันดานแห่งพระอริยะเจ้านั้นเข้ามาสถิตย์ในกายใจเราได้ พอที่จะให้เราได้ผลในตอนนี้หรือตอนนั้น ดังนั้น..ให้ทำให้มากเข้าไว้ทำให้สม่ำเสมอก็พออย่าไปหวังเอาผลให้มันวุ่นวายเร่าร้อนเพ่งเล็งจนฟุ้งซ่านเร่าๆไปทั้งกายใจมันหาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ หมายใจยินดีแค่นี่พอ







บันทึกกรรมฐาน วันที่ 19 กรกฎาคม 2558

พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนันทะเถระเมื่อก่อนจะบรรลุอรหันต์สมัยที่ยังคงกระสันในกามราคะอยู่นั้นว่า เพราะเธอยอมอ่อนข้อให้กับกิเลส กามราคะ เธอจึงเร่าร้อนกระสันอยู่ อย่าได้ยอมอ่อนข้อให้กิเลสกามราคะ ก็เมื่อพระตถาคตเจ้าพาไปดูนางฟ้ากลับมาแล้วพระเถระทรงเพ่งเพียรเจริญตามธรรมวินัย ธรรมปฏิบัติ สมถะ วิปัสสนา ไม่ยอมอ่อนข้อให้กิเลสทั้งปวง พระองค์ก็บรรลุอรหันตผล สิ่งอาสวะกิเลส เป็นผู้สะอาด เผาผลาญกิเลสสิ้นไม่มีหลงเหลืออยู่อีกเลย ดังนี้แล้ว เมื่อเราเป็นผู้กระสันอยู่เราได้หาวิธีร้อยแปดพันเก้าทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์มาเจริญปฏิบัติแต่เราก็ยอมอ่อนข้อให้เกสเสมอๆ ด้วยเหตุนี้เมื่อรู้จากธรรมอันประเสริฐในการตัดความกระสันทั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนและที่พระนันทะเถระปฏิบัติมาดีแล้วนั้น พร้อมกับอ่านอนุพุทธประวัติของพระนันทะเถระและดูหนังเรื่องพระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ทำให้เราเกิด ศรัทธา ฉันทะ ปิติ สุข เกิด เจตนาแน่วแน่ ตั้งอยู่ในวิริยะขึ้นมาอีกครั้ง จึงได้พบเห็นทางละดังนี้ว่า


  ทำใจไว้ ตั้งใจไว้ว่า เราจักไม่อ่อนข้อให้กิเลสดัวใด

- ทั้งความเพลินเพลิน ยินดีในความเพลิดเพลิน บันเทิงใจ ฟูใจ ตื้นตันระรื่นใจ

- ความน่าใคร่ปารถนา ความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์

- ความติดใคร่ ตรึงตราใจติดตาม ความติดใจข้องแวะ

- ความกำหนัดผูกใจยินดีด้วยความใคร่หมายเสพย์ในอารมณ์นั้น ความกะสัน ความอยาก ความแสวงหา

- ความขุ่นขัดใจ ความข้องใจ ความติดเคืองใจ ความเร่า ความร้อน ความอึดอัด คความอัดอั้น ความปะทุระอุขึ้นในใจ

- ความเศร้าหมองใจ ความปิดกัน ความขุ่นมัวหมองใจ ความหนักตรึงกายใจ ความหมองๆ ความมัวใจ

- ความรุมเร่าอยู่ในอารมณ์ ความไม่มีสติ ความระลึกไม่ได้ ความไม่รู้ตัว ความไม่รู้ปัจจุบัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2015, 04:24:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #131 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2015, 05:17:47 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๑๐. นิทานสูตร


           [๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาว
เมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า น่า-
*อัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง
เพียงไร ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ
แก่ข้าพระองค์ ฯ
             [๒๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้
ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแส
ความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือน
เส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและ
หญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ฯ
             [๒๒๖] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี
อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๒๒๗] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้ง
หมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหาร
อย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อ
ภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
             [๒๒๘] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
             [๒๒๙] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและ
ภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่
เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้น ทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึง
ผ่า ครั้นผ่าแล้ว เจียกเป็นชิ้นๆ ครั้นเจียกให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด
ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า
ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษ
เนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะ
ภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


จบสูตรที่ ๑๐

จบทุกขวรรคที่ ๖



-----------------------------------------------------

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                          ๑. ปริวีมังสนสูตร         ๒. อุปาทานสูตร
                          ๓. สังโยชนสูตรที่ ๑     ๔. สังโยชนสูตรที่ ๒
                          ๕. มหารุกขสูตรที่ ๑     ๖. มหารุกขสูตรที่ ๒
                          ๗. ตรุณรุกขสูตร         ๘. นามรูปสูตร            ๙. วิญญาณสูตร
                          ๑๐. นิทานสูตร ฯ

-----------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2015, 05:31:58 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #132 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2015, 03:15:10 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พุทธานุสสติ ธรรมเพื่อละราคะ (พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค)

            [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควร
             เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
             ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑
             ความเป็นผู้ชอบคุย ๑
             ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
             ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
             ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
             ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

             [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
             คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑
             ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
             ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
             ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล
             เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

             [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายทั้งกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ

             [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ

             [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งในภายในทั้งในภายนอกอยู่ ฯลฯ

             [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
             ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
             ความเป็นผู้ชอบการงาน ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
             เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่
             ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน
              ... ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล
             เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ

             [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯ

            [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
             เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
             ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
             ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ๑
             ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑
             ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑
             อริยศีล ๑
             อริยญาณ ๑
             อริยวิมุติ ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
             เป็นผู้พึงปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ

             [๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตตคฤหบดี
จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี เจ้าศากยะ
พระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี สูรอัมพัฏฐ-
*คฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณกคฤหบดี ปูรณคฤหบดี
อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิตคฤหบดี เมณฑก-
*คฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก ประกอบด้วยธรรม
๖ ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอมต-
*ธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ปลงใจเชื่อใน
พระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ ฯ

             [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
รู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑
ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ

             [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้
ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ พุทธานุสสติ ๑ ธัมมานุสสติ ๑
สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ

             [๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้
ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑
ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ

             [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
กำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อสิ้นไป
แห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เพื่อความคลายกำหนัดราคะ เพื่อดับราคะ
เพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ

             [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป
เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล
อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ ฯ


             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ


จบฉักกนิบาต
-----------------------------------------------------


๑. ราคสูตร, ๒. ทุจริตสูตร, ๓. วิตักกสูตร, ๔. สัญญาสูตร, ๕. ธาตุสูตร
๖. อัสสาทสูตร, ๗. อรติสูตร, ๘. ตุฏฐิสูตร, ๙. อุทธัจจสูตรที่ ๑, ๑๐. อุทธัจจ สูตรที่ ๒ ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2015, 04:43:47 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #133 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2015, 04:46:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 31 กรกรกฏาคม 2558

หลวงปู่บุญกู้ เทศนาวันเข้าพรรษา
ธรรมจากหลวงปู่บุญกู้ แกะเทปมาบางส่วน

- ความสุขทางโลกีย์ มันไปได้แค่หมดลม

- ความสุขทางโลกุตรธรรมนี้ มันไปได้เหนือโลก





หลวงปู่บุญกู้ เทศนาวันเข้าพรรษา
ธรรมจากหลวงปู่บุญกู้ แกะเทปมาบางส่วน

- เรามีกุศลมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะกุศลคือความฉลาดที่จะปล่อยวาง

- เราปล่อยวางได้แค่ไหน จิตใจมันก็สูงขึ้นได้เท่านั้น

- จิตใจเรามีทานได้มากแค่ไหน จิตใจก็สูงเหนือโลภมากเท่านั้น

- จิตใจเรามีศีลและมีเมตตามาก จิตใจเราก็สูงเหนือโกรธมาก

- จิตใจเรามีการศึกษา มีภาวนามากนี้ จิตใจก็สูงส่งมาก
   ความหลงก็น้อยลง ความโกรธความโลภก็น้อยลง
   ทั้งในชาตินี้ก็ดี ตายไปก็ดี แม้ไปถึงชาติหน้าก็ดี
   ก็เป็นผลทำให้เราเข้าไปตั้งต้นที่ดีกว่าชาตินี้
   แล้วก็เมื่อเรามีภาวนาแล้ว ก็ทำให้จิตยินดีในกุศล
   มีศีล มีทาน มีภาวนา ไปในทุกชาติ






ข้อควรจำเมื่อต้องมีการพบปะพูดคุยเจรจาปรับความเข้าใจ

เป็นอุบายธรรมทางแก้ปัญหาที่เราเห็นจากคำสอนของ "หลวงปู่บุญกู้  อนุวัฑฒโน" ซึ่งเราได้นำธรรมคำสอนข้างต้นของหลวงปู่ มาเจริญสมาธิภาวนาและพิจารณาตามให้เห็นโดยแยบคายด้วยปัญญาอันน้อยนิดของเราแล้ว "เราจึงได้นำธรรมเทศนาคำสอนของหลวงปู่มาเป็นอุบายธรรมนี้" เพื่อใช้เตือนสติบอกแก่น้องที่สนิทกันคนหนึ่ง ที่เขามีเรื่องทุกข์ใจกับคนที่เคยเคารพนับถือสนิทใจกัน แล้วเกิดคลายความรู้สึกดีต่อกันนั้น ซึ่งน้องเขาได้ถามเราว่าควรจะพูดคุยยุติ หรือหนี หรือให้ทำแบบไหน อย่างไร จึงจะยุติเรื่องทั้งปวงที่ร้ายๆเหล่านี้ได้ เราจึงนำธรรมของ หลวงพ่อบุญกู้ อนุวัฑฒโน มาแนะนำเตือนสติน้องเขา เป็นบทธรรมนี้จักเป็นประโยชน์ในภายหน้าไม่ว่าต่อเราเองหรือใครที่กำลังเจอเหตุการณ์นี้จึงบันทึกไว้ดังนี้




- สมัยไหน.. เสี้ยววินาทีใด วินาทีใด เวลาใด วันใด เดือนใด ปีใด ที่เธอมีใจตั้งมั่นอยู่ในความเป็นกุศลธรรมทั้งปวงอันทำให้เธอฉลาดในการปล่อยวาง มีความวางใจไว้กลางๆได้  ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน รัก โลภ โกรธ หลง ไม่อคติลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียดชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆทั้งสิ้นด้วยเห็นว่า..มันหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ติดข้องใจไปก็รังแต่เร่าร้อน ร้อนรุ่ม รุมเร้า เดือดเนื้อร้อนรนกายใจ อัดอั้น อึดอัด คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ไปเปล่าๆ
- สมัยนั้น.. ไม่ว่าเธอจะไปเจรจาสิ่งเหล่าใด ย่อมประกอบไปด้วยประโยชน์ ย่อมสำเร็จผลลงด้วยดีทั้งตนเองและผู้อื่น


นั่นเพราะอะไร เราอาศัยอะไรพูด เพราะเมื่อเธอดำรงมั่นอยู่ด้วยกุศลธรรมทั้งปวง มีความฉลาดในการปล่อยวางอยู่ดังนี้แล้ว เธอจักคลายความยึดมั่นถือมั่น มีสติเป็นเบื้องหน้าตั้งอยู่ด้วยสัมมาวายะ มีสังวรปธานเป็นกำลังปหานเสียซึ่งสมมติกิเลสอกุศลธรรมทั้งปวงที่จิตรู้ ทำให้เห็นว่า..ไม่มีสิ่งไรๆเลยหนอที่เป็นเรา เป็นของเรา จะหันไปทางไหนกระทบสัมผัสรับรู้สิ่งไรๆก็ไม่มีสิ่งใดที่จะหมายเอาได้ว่าเป็นเรา เป็นของเราได้ ทุกสิ่งล้วนไม่มีในเรา เราไม่มีในนั้น เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นนี่ นี่ไม่ใช่เรา  เมื่อไม่มีเราความสำคัญตน สำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่อสิ่งไรๆก็ไม่มี ..สักแต่เห็นแค่เพียงว่าไม่มีสิ่งปรนเปรอหรือติดข้องขัดเคืองใจเหล่าใดจะจำเป็นสำคัญต่อเรา เราไม่ได้สำคัญมากมายอะไรกับใคร ตัวตนบุคคลใด สิ่งใดอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนที่คิดที่เคยเป็นมา ไม่มีสิ่งไรๆที่ควรหรือไม่ควรแก่เรา ไม่มีสิ่งไรๆที่ควรเกิดมีขึ้นหรือไม่ควรเกิดมีขึ้นแก่เรา ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ดำรงอยู่ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เฉพาะหน้าที่ตามความจำเป็นที่ต้องมี ไม่มีอะไรเกินนี้..ดังนี้


-------------------------------------------------------------------------------------------------------

- สมัยไหน.. เสี้ยววินาทีใด วินาทีใด เวลาใด วันใด เดือนใด ปีใด ที่เธอมีใจตั้งมั่นอยู่ในความเป็นอกุศลธรรมทั้งปวง มีความยึดมั่นถือมั่นไม่รู้จักปล่อยวาง หาความวางใจไว้กลางๆไม่ได้ ยินดียินร้ายในทุกเรื่องจนติดตรึงอยู่ในอารมณ์ที่รัก ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลง มีอคติลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียดชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง มีความติดใจข้องแวะ ขุ่นข้องขัดเคืองใจในสิ่งไรๆไปทั่ว ติดในสมมติกิเลสอารมณ์ที่เร่าร้อน ร้อนรุ่ม รุมเร้า  เดือดเนื้อร้อนรนกายใจ อัดอั้น อึดอัด คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
- สมัยนั้น.. ไม่ว่าเธอจะไปเจรจาสิ่งเหล่าใด ย่อมไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ยังให้เกิดแต่ความไม่สมปารถนา ความประสบในสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพรัดพราก ตะเกียกตะกายแสวงหาในอารมณ์ที่ชอบที่พอใจผลักไสในอารมณ์ที่เกลียดที่ชัง ย่อมยังความฉิบหาย สูญเสีย ให้เกิดมีขึ้นต่อทั้งตนเองและผู้อื่น


นั่นเพราะอะไร เราอาศัยอะไรพูด เพราะเมื่อเธอดำรงมั่นอยู่ด้วยอกุศลธรรมทั้งปวง มีความปิดกั้นสติ ลุ่มหลงให้เป็นผู้หลงลืม ติดอยู่ในสิ่งสมมติไม่รู้เห็นตามจริงอยู่ดังนี้แล้ว เธอจักคลายความปล่อยวางใจอันประกอบไปด้วยประโยชน์เสียได้ มีความลุ่มหลงเป็นเบื้องหน้าตั้งอยู่ด้วยความหลงตน ยึดเาอสมมติเป้นตัวตนว่ามีอยู่จริง ว่าเที่ยงแท้ยั่งยืน ทำให้เห็นว่า..ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เป็นเรา เป็นของเรา จะหันไปทางไหนกระทบสัมผัสรับรู้สิ่งไรๆก็เห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา สิ่งนี้มีในเรา เรารมีในสิ่งนี้ เราเป็นนั่น เป็นนี่ หลงความสำคัญตน ริษยา อยากเอาชนะผู้อื่น ตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่อสิ่งไรๆเป็นตัวเป็นตนไปหมด..ยึดในสิ่งปรนเปรอหรือติดข้องขัดเคืองใจว่าสำคัญจำเป็นต่อตน ตนมีความสำคัญมากมายต่อคนนั้น คนนี้ สิ่งนั้น สิ่งนี้ สิ่งใดไปหมด ยึดมั่นแสวงหาปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์..ดังนี้





บันทึกกรมมฐาน วันที่ 1 สิงหาคม 2558

คืนนี้นอนกรรมฐาน จากคำที่หลวงปู่เทศนาสอนมา เราได้น้อมมาใส่ใจ เจริญจิตขึ้นทำใจปฏิบัติ วันนี้ก็เลยนอนกรรมฐาน ด้วยความไม่ยึดเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น ธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันก็คิดว่าสัมยนั้น สมัยโน้น สมัยนี้ เราปฏิบัติอย่างไรมาหนอถึงเข้าสู่สมาธิ ถึงสัมมาสมาธิได้ จิตมันไม่มีอะไรจะไปยึดมั่นสิ่งไรๆให้ลำบาก มันก็นึดเอาตอนสมัยที่เกิดความทุกข์รุมเร้าอย่างมหาศาล จนจะฆ่าตัวตาย แล้วนร้องไห้ก้มกราบพระประธานที่หิ้งพระในบ้านร้องขอ บนบาน ศาลกล่าวกับท่านว่า ขอให้ผมเจอทางพ้นทุกข์เห็นอริยะสัจ ถึงใจในพระธรรมอันพ้นทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้าแล้วดับทุกข์ได้ตอนนี้ได้ด้วยเทอญ ผมจะเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่จนตราบสิ้นกาลนาน พอจิตมันนึกคิดถึงตรงนี้ มันก็หวนระลึกถึงตอนที่ทำจิตตอนนั้นว่าทำยังไง ระลึกถึงความว่าง "หายใจเข้าระลึกถึงความว่างจากความคิดกิเลสสมมติทั้งปวง หายใจออกระลึกถึงความว่างความสิ้นไปความไม่มีในกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง" บ้างบริกรรม หายใจเข้า "ว่าง" หายใจออก "หนอ" ขณะนั้นตอนนั้นนั่งสมาธิอยู่อย่างนี้แล้วร้องไห้ไปไม่หยุด จนอยู่ๆจิตสงบ ว่างไม่มีความคิด ไม่มีสิ่งใด ความเสียใจไม่มีอีก นิ่งว่าง เห็นธรรมโดยสัญญาบ้าง สังขารบ้าง ตรึกขึ้นเป็นนิมิตประดุจเห็นพระพุทธเจ้า พระตถาคตองค์บรมศาสดา มาประทับนั่งแสดงธรรมเป็นเบื้องหน้าอยู่ต่อหน้าเรานี้ เห้นในพระอริยะสัจ เมื่อรู้จนถึงใจ จิตก็จับเส้น มี 4 สี ขาว แดง เหลือง เขียว เรายึดจับเอาสีเขียว ก็ได้ยินเสียงอันสงบ อบอุ่น กังวาล มีความกรุณาเป็นอันบาง กล่าวกับเราว่า เธอรู้แล้วหนอๆๆๆ... เมื่อจิตเรามันหวนระลึกตรึกนึกมาถึงตรงนี้ จิตมันก็จับเอาอารมณ์ว่างนั้นแทน เพราะความไม่ยึดสิ่งปรึุงแต่งไรๆ อยู่ๆจิตมันว่าง นิ่งแช่อยู่ในความว่างนั้นนานพอควร ไม่มีความคิดไม่มีสิ่งใด มันสงบอิ่มใจอยู่อย่างนั้น แต่จู่ๆก็เกิดอาการที่ว่ามีสภาวะที่อัดปะทุขึ้น ณ จุดๆหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร อัดปะทุอยู่สักพัก มันก็วูบเข้าไปรู้ว่ามันอัดปะทุอยู่ที่อก สักพักมันก็วูบ ก็รู้ว่าที่มันอัดปะทุนั้นคือลมที่เป็นกายสังขารหรือลมหายใจมันพยายามจะเดินผ่านเข้า-ออก แล้วก็วูบนึกจึงรู้ว่าตนเองกำลังจะตายเพราะไม่หายใจ แต่ในขณะแรกๆที่รู้ว่าไม่หายใจ แต่จิตเรามันก็ปล่อยทิ้งอย่างนั้นแหละ จนอยู่ๆมันวูบขนลุกซุ่มันจึงรีบหายใจอย่างเร็วแบบคนเป็นหอบหืดเลย พอหลุดจากสมาธิ ก็ได้แต่คิดใคร่ครวญว่า สัญญาสูตร มนสิการสูตร ว่าด้วยอนุสสติเป็นจริงอย่างนี้หนอ ความทำใจไว้ สละคืน ความดับกิเลส ก็เป็นสมาธิได้โดยไม่ยึด ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ยึดเอานิมิตเหล่าใดสักหวนระลึกถึงความจดจำสำคัญมั่นหมายถึงความว่างที่ ดับ ที่สละคืน หรือ สักแต่ทำไว้ในใจถึงความดับ ความว่าง ความสละคืน ก็เป็นสมาธิได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดังนี้ โดยความว่างอันนั้นเราเห็นทางเข้าสมาธิอีกทางเพิ่มขึ้นแล้ว ขณะนี้ วันนี้ ยังไม่สงเคราะห์ลงธรรม ปัญญาจึงยังไม่เกิด แล้วก็นอนหลับไปปกติ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2015, 09:42:54 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #134 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2015, 10:29:52 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ขันธ์ 5 ต่างหากจากจิต
พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน)
วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2521


สิ่งภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มีอยู่ทั่วไปตลอดเวลา เมื่อมีสิ่งรับทราบกัน สิ่งเหล่านั้นจะสัมผัสสัมพันธ์ไม่ขาดวรรคขาดตอนกับสิ่งภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความมีสติ มีปัญญาเครื่องพิสูจน์กลั่นกรองกับสิ่งที่มาสัมผัสย่อมได้อุบายขึ้นมาเรื่อยๆ ท่านเรียกว่าฟังเทศน์ เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาสัมผัสสัมพันธ์กับตัวเราย่อมเป็นการปลุกความรู้สึกขึ้นมา เมื่อจิตใจมีความตั้งมั่นต่อเหตุผลหรืออรรถธรรมอยู่แล้ว ก็ทราบได้ทั้งสิ่งดีและชั่วที่มาสัมผัส การพิจารณาตามนั้นเรียกว่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม การเกิดข้อข้องใจขึ้นมาก็เกิดจากสิ่งเหล่านั้น

การพิจารณาแก้ไขข้อข้องใจจนปลิดเปลื้องตนไปได้ ก็อาศัยปัญญาพิจารณาให้ถูกทางตามหลักธรรมที่ท่านสอนไว้ จนผ่านพ้นไปได้เป็นพักๆ เป็นตอนๆ เรื่อยไปเรียกว่า เรียนความจริง ไม่ใช่เรียนให้เป็นความจำ เรียนเป็นความจำก็อย่างเราเรียนเราท่องตำรับตำราต่างๆ เรียกว่า เรียนเพื่อความจำ นี้เรียนเพื่อความจริง คือ เพื่อความรู้จริงเห็นจริงตามหลักธรรมชาติที่เป็นจริงซึ่งมีอยู่ทั้งภายนอกภายใน

เรียนเพื่อความจริงย่อมจะไม่มองข้ามสิ่งดีและชั่วที่มีอยู่กับตัวและสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่เสมอ จะเห็นได้ตอนปัญญาเริ่มไหวตัวนั้นแหละ สมาธิมีความสบายมีความสงบ จิตไม่ค่อยวุ่นวาย เป็นความสะดวกสบายภายในใจ คือจิตไม่รบกวนตัวเองด้วยอารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับจาก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสที่เคยเกี่ยวข้อง แล้วนำอารมณ์อดีตเข้ามาครุ่นคิด มายุแหย่ก่อกวนจิตใจให้ว่าวุ่นขุ่นมัวขึ้นมา


เราจะไปตำหนิว่ารูปไม่ดี เสียงไม่ดี กลิ่นไม่ดี ก็ไม่ได้ ถ้าหากเราพิจารณาให้เป็นธรรมไม่ลำเอียงไปทางฝ่ายกิเลสก็ทราบได้ชัดว่า จิตใจเราไม่ดีเอง เราโง่เอง ใจคะนองไปรักสิ่งนั้น ไปชังสิ่งนี้ ไปเกลียดสิ่งนั้น ไปโกรธสิ่งนี้ ความรักความชังความเกลียดความโกรธ เป็นเรื่องของกิเลส ไม่เรื่องของธรรม เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงต้องใคร่ครวญด้วยดีเพื่อทราบความคิดปรุงต่างๆ กระเพื่อมขึ้นจากตัวเอง โดยอาศัยสิ่งที่มาสัมผัสนั้นเป็นสาเหตุให้กระเพื่อมขึ้นมา เรียนธรรมะจำต้องเรียนอยู่ที่ตรงนี้

จิตเมื่อมีความสงบย่อมมีความสบาย เพราะไม่มีอะไรกวนใจเหมือนจิตที่หาหลักเกณฑ์ไม่ได้ จิตไม่เคยสงบเลย คือจิตไม่มีหลัก ย่อมจะถูกสิ่งก่อกวนราวีอยู่ไม่หยุด และย่อมก่อกวนตนเองอยู่เสมอ เมื่อถูกก่อกวนให้ขุ่นมัวอยู่เสมอ ใจก็หาความสงบสุขไม่ได้ ปลงที่ไหนก็ปลงไม่ลง

ถ้าจิตปลงตัวเองไม่ได้แล้ว ไม่มีที่ไหนเป็นที่ควรปลง จะปลงที่ต้นไม้ ภูเขา ดินฟ้าอากาศ ในน้ำ บนบกก็ปลงไม่ลง ถ้าไม่ปลงที่ต้นเหตุซึ่งมันเกิดขึ้น คือ ใจอันเป็นตัวมหาเหตุ


มันเกิดที่ตรงไหนให้พิจารณาลงที่ตรงนั้น มันว้าวุ่นขุ่นมัวที่ตรงไหนให้สนใจดูและพิจารณาที่ตรงนั้น คำว่าตรงนั้นก็คือใจเรานั่นเอง ต้องหาสารส้มมาแกว่งลงไป คำว่าสารส้มก็หมายถึง การบริกรรมภาวนา ในขั้นริเริ่มเป็นอย่างนั้น เช่นกำหนดอานาปานสติหรือกำหนดพุทโธเป็นต้น ตามแต่อัธยาศัยชอบ นำธรรมบทนั้นมาเป็นคำบริกรรม จิตใจขณะที่บริกรรมอยู่ด้วยความไม่พลั้งเผลอ ย่อมเป็นเหมือนกับกลั่นกรองอารมณ์ให้เข้าสู่จุดเดียวให้แน่วแน่ลงไป เช่นเดียวกับสารส้มที่แกว่งลงไปในน้ำ ตะกอนก็ต้องนอนก้นลงไป น้ำก็ใสสะอาด แน่ะ เบื้องต้นต้องทำอย่างนี้ก่อน

พอใจมีความสงบอารมณ์ก็ไม่กวน ถ้าเป็นตะกอนก็ลงนอนก้นโอ่ง ขั้นเริ่มแรกต้องทำอย่างนั้น เพียงเท่านี้ก็สบาย แต่ยังไม่ค่อยเกิดความฉลาดหรือเกิดความแยบคายในแง่ต่างๆ เพราะจิตเป็นเพียงความสงบ เมื่อได้ความสงบก็เท่ากับเราได้ความสบาย เพราะความสงบเป็นบาทฐานให้เกิดความสุขความสบาย เรียกว่ามีที่พักของจิต มีหลักมีเกณฑ์ พอปลงจิตปลงใจลงได้ นั่งอยู่ก็สบาย นอนอยู่ก็สบาย เพียงขั้นสงบเท่านี้ก็สบาย เห็นผลประจักษ์ใจ

เวลาเจอความสบายจะไม่เจอที่ไหน จะเจอที่จิต เพราะจิตเป็นตัวยุ่งเป็นตัวไม่สบาย เมื่อได้อบรมตนในทางที่ถูกที่ควรตามหลักธรรมแล้ว ก็ปรากฏเป็นจิตสงบเป็นจิตสบายขึ้นมาให้เห็นอย่างเด่นชัดภายในใจ ในอิริยาบถต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวกสบายอยู่ที่ไหนก็พออยู่คนเรา เมื่อจิตมีความสบายเสียอย่างเดียว เรื่องอดเรื่องอิ่ม ขาดตกบกพร่อง มั่งมีศรีสุขอะไรนั้น มันเป็นสิ่งภายนอก ไม่ใช่ของจำเป็นยิ่งกว่าจิตได้หลักยึดได้ธรรมเป็นที่อาศัย ไม่ระเหเร่ร่อนเหมือนแต่ก่อน

สิ่งของปัจจัยเครื่องอาศัยภายนอกก็ไม่เป็นภัย เพราะตัวเองฉลาด มีความรอบคอบต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมาเกี่ยวข้องกับตน ท่านให้ชื่อว่าสมาธิ ความสงบ เป็นผลเกิดขึ้นจากการอบรมด้วยอารมณ์ของสมถะ คือ บทบริกรรมภาวนา

อารมณ์แห่งธรรม คือ ความคิดความปรุงในคำบริกรรมนี้ แม้จะเป็นความปรุงเหมือนกันกับความคิดปรุงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะกิเลสผลักดันให้คิดให้ปรุง แต่ความคิดปรุงประเภทนี้เป็นความคิดปรุงในแง่ธรรมเพื่อความสงบ ผิดกับความคิดปรุงธรรมดาของกิเลสพาให้ปรุงอยู่มาก กิเลสพาให้คิดปรุงนั้น เหมือนเราเอามือหรือเอาไม้ลงกวนนั้นที่มีตะกอนอยู่แล้ว แท่นทีมันจะใสแต่กลับขุ่นมากขึ้นฉะนั้น แต่ถ้าเอาสารส้มลงกวนนั้นผิดกัน น้ำกลับใสขึ้นมา

นี่การนำอารมณ์เข้ามากวนใจ แทนที่ใจจะสงบ แต่กลับไม่สงบและกลับแสดงผลขึ้นมาให้เป็นความทุกข์ร้อนเสียอีก ถ้าเอาพุทโธเป็นต้น เข้าไปบริกรรมหรือแกว่งลงในจิต โดยบริกรรมพุทโธ ๆ แม้จะเป็นความคิดปรุงเหมือนกันก็ตาม แต่คำว่าบริกรรมนี้ซึ่งเปรียบเหมือนสารส้ม จึงทำให้ใจสงบเย็นลงไป

ท่านผู้สั่งสอนท่านมีเหตุมีผล เพราะท่านได้ดำเนินมาก่อนพวกเรา และรู้มาก่อนแล้วจึงได้นำมาสอนพวกเรา จึงไม่ใช่เป็นทางที่ผิด ความคิดปรุงเช่นนี้เรียกว่าเป็นฝ่ายมรรค เป็นฝ่ายระงับดับทุกข์ทั้งหลาย ความคิดปรุงตามธรรมดาของสมัญชนเราซึ่งไม่มีข้ออรรถข้อธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นความคิดปรุงที่เป็นสมุทัย อันเป็นแดนผลิตทุกข์ขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นผลเดือดร้อน

ในขั้นแรกก็ให้ได้ทรงสมาธิสมบัติภายในใจ อย่าให้ใจว่างเปล่าจากสมบัติอันมีค่าตามลำดับ ต่อไปพิจารณาทางด้านปัญญา ฝึกหัดคิดอ่านไตร่ตรอง อะไรเข้ามาสัมผัสก็เทียบเคียงหาเหตุผล หาต้นหาปลายของมัน ไม่ปล่อยให้อารมณ์นั้นๆ มาคว้าเอาของดีไปกินเปล่า ดังที่เคยเป็นอยู่เสมอ อารมณ์นั้นมีอยู่เกิดอยู่เสมอ เดี๋ยวก็มีเรื่องหนึ่งขึ้นมาสะดุดในให้ได้คิดเป็นเงื่อนต่อไปอีก และเข้าใจในเงื่อนนั้นเข้าใจในเงื่อนนี้ แล้วปล่อยไปๆ นี่เป็นวาระที่จะตัดกิเลส ส่วนสมาธิเป็นเพียงควบคุมกิเลสเข้ามาสู่จุดรวมคือใจ ปัญญาเป็นผู้คลี่คลายขุดค้นหากิเลส และตัดฟันหรือทำลายที่ละชิ้นละอันโดยลำดับลำดา

นักปฏิบัติเราไม่สามารถปฏิบัติเพื่อทรงมรรคผลนิพพานได้แล้ว ไม่มีใครจะมีโอกาสสามารถยิ่งกว่าพระที่เป็นเพศอิสระ อยากพูดเต็มปากอย่างนี้ เพราะพวกเราเป็นนักปฏิบัติด้วย เป็นเพศนักบวชด้วย ซึ่งเป็นเพศที่ปลดเปลื้องภาระต่างๆ ออกมาแล้ว โลกเขารับรองชีวิตจิตใจความเป็นอยู่ทุกด้านทุกทาง ปัจจัยสี่ก็เหลือเฟือครอบโลกธาตุแล้ว ความเป็นอยู่ของเราสมบูรณ์แล้ว ถ้าเป็นน้ำก็ท่วมลิ้นท่วมปากท่วมท้องแทบตลอดเวลา เช่น น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำส้ม น้ำหวาน น้ำโกโก้ กาแฟ สารพัดน้ำ

คำว่าปัจจัยสี่ที่ได้มาจากประชาชนทำบุญให้ทาน ด้วยศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในพระศาสนาเรื่อยมามิได้ขาดนั้น คือจีวร เครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ เช่นผ้าสังฆาฏิ สบง จีวร ผ้าอาบน้ำ ตลอดผ้าเพื่อใช้สอยต่างๆ ที่จำเป็นบิณฑบาต คือ อาหารการบริโภคทุกประเภท เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปในการประพฤติพรหมจรรย์เสนาสนะ ที่อยู่ที่อาศัย เช่น กุฏิ กระต๊อบ ร้านเล็กๆ พอได้อาศัยบังแดดกันฝน และนั่งสมาธิภาวนาหรือพักผ่อนนอนหลับคิลานเภสัช ยาแก้โรคชนิดต่างๆ ในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย

สิ่งเหล่านี้มีสมบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง นอกจากผู้รับทานจากศรัทธาทั้งหลายจะบกพร่องในหน้าที่ของตนเสียเอง จนกลายเป็นนอนใจ ไม่คิดอ่านขวนขวายเท่านั้น

เพศนักบวชผู้ปฏิบัตินี้แลเป็นเพศที่เหมาะสม หรือใกล้ชิดติดกับอรรถกับธรรมกับมรรคผลนิพพานอย่างยิ่ง ถ้าทำให้เป็นไปตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นไปตามเจตนาดั้งเดิมที่บวชมาเพื่อมรรคผลนิพพาน งานของพระทุกชิ้นทุกอันจะเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานทั้งนั้น เพราะงานโดยตรงของพระ เป็นงานเพื่อถอดถอนกิเลส เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ตั้งสติมีความรู้สึกตัว ระวังไม่ให้เผลอ ปัญญามีความคิดอ่านไตร่ตรองอยู่เสมอในสิ่งที่ควรละควรถอน สิ่งที่ควรบำเพ็ญ สิ่งที่ควรจะรู้แจ้งเห็นจริง พยายามทำ พยายามพิจารณาด้วยปัญญาอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เว้นแต่หลับเท่านั้น เป็นผู้ทำงานเพื่อรื้อถอนตนออกจากทุกข์ ด้วยอำนาจของความเพียรมีสติปัญญาเป็นเพื่อนสองอยู่โดยสม่ำเสมอ

กิเลสจะมาจากที่ไหน จะยกกองพันกองพลมาจากที่ไหนก็ยกมาเถอะ มันพังทลายทั้งนั้นแหละ แต่กิเลสมีอยู่ที่ใจ เหตุที่กิเลสมีมากจนทำให้เกิดทุกข์เป็นไฟทั้งกองภายในใจก็เพราะความไม่รู้ทันมัน ความไม่เข้าใจวิธีการแก้ การถอดถอนมัน และความเกียจคร้านอ่อนแอ ความสะเพร่ามักง่ายแบบสุกเอาเผากิน อยู่ไปวันๆ ซึ่งมีแต่เรื่องสั่งสมขึ้นมาโดยถ่ายเดียว กิเลสจะหาทางออกทางสิ้นไปช่องไหนได้ เมื่อมีแต่เปิดประตู คือทวารทั้งหกรับมันเข้ามาอยู่ตลอดเวลาดังที่เป็นอยู่นี้ ไม่ยอมปิดและขับไสไล่มันออกไปบ้าง

หลักธรรมท่านสอนไว้ทุกแง่ทุกมุมไม่มีทางต้องติ ฉะนั้น เราควรทำหน้าที่ให้เต็มภูมิ อย่าให้เสียเวล่ำเวลาในความเป็นนักบวชเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม อยู่ที่ไหนให้ถือว่างานเป็นของสำคัญประจำใจ อย่าเห็นงานใดมีความสำคัญยิ่งกว่างานถอดถอนตนให้พ้นจากทุกข์ ผู้นี้แหละผู้ที่ใกล้ชิดต่อมรรคผลนิพพาน ใกล้ต่อความสำเร็จ สุดท้ายก็ผ่านไปได้อย่างหายห่วง

สิ่งที่ปิดบังลี้ลับไม่ให้รู้ให้เห็นก็ไม่ใช่สิ่งใดที่ไหน ได้เคยพูดอยู่เสมอ มีแต่กิเลสทั้งนั้นที่ปิดบังไว้ ไม่ใช่กาล ไม่ใช่สถานที่ ไม่ใช่เวล่ำเวลา ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งใดมาปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน มีกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น จะมีกี่แขนงก็รวมชื่อว่ากิเลส เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหาอะไร มันเป็นเรื่องกิเลสแตกแขนงออกไป

เหมือนกับต้นไม้ที่แตกกิ่งแตกก้านแตกแขนงออกไป ออกจากไม้ต้นเดียวนั้นแหละ กิเลสก็ออกจากใจดวงเดียว รากฐานของกิเลสแท้ท่านเรียกว่า อวิชชา มันตั้งรากตั้งฐานอยู่ภายในใจนั่นแล และครอบงำจิตใจไว้ แล้วก็แตกแขนงออกไปเป็นกิ่งเป็นก้านสาขาดอกใบไม่มีประมาณ ดังธรรมท่านว่า กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดอะไรเหล่านี้ มันเป็นกิ่งก้านสาขาของกิเลสอวิชชานั่นแล

เพราะฉะนั้น การพิจารณาจึงต้องพิจารณาตามกระแสของจิตที่เกี่ยวพันกันกับกิเลส ซึ่งทำให้ลุ่มหลงในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส เครื่องสัมผัสต่างๆ พิจารณาคลี่คลายโดยทางปัญญาจะถอดถอนได้ กิเลสผูกมัดจิตใจ กิเลสทำให้มืด กิเลสทำให้โง่ ตัวกิเลสเองมันไม่ได้โง่ มันฉลาด แต่เวลามันมาครอบครองใจเรา เราก็เป็นคนโง่ ไม่ทันกลมายาของมัน เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กิเลสกลัว นำมาขับไล่ปราบปราม

นับบวชต้องเป็นผู้มีความอดทน ตามหลักของนักบวชเป็นอย่างนั้น มีความขยันหมั่นเพียรก็คือนักบวช ชอบคิดอ่านไตร่ตรองก็คือนักบวช ความไม่ลืมเนื้อลืมตัวก็คือนักบวช ความเอาจริงเอาจังในสิ่งที่ชอบธรรมทั้งหลายก็คือนักบวช นักบวชต้องเอาจริงเอาจังทุกงาน ไม่ว่างานภายนอกภายใน มีสติคอยกำกับรักษาใจเป็นประจำ มีปัญญาคอยพิจารณาไตร่ตรองเลือกเฟ้น สอดส่องดูว่าอันใดผิดอันใดถูก ปัญญาแนบนำอยู่เสมอ

ทุกข์ก็ทน คำว่าทุกข์มันไม่ใช่ทุกข์เพราะความเพียรเท่านั้น มันทุกข์เพราะการฝืนกับกิเลสเป็นสำคัญ ความขี้เกียจก็คือเรื่องของกิเลส ความอ่อนแอคือเรื่องของกิเลส เราฝืนความอ่อนแอ เราฝืนความเกียจคร้านซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความเอาจริงเอาจังจึงเป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่ใช่เป็นทุกข์เพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะความต่อสู้กับกิเลส ถ้าเรายังเห็นว่าความต่อสู้กับกิเลสเป็นเรื่องความทุกข์แล้ว ก็ไม่มีทางต่อสู้กับกิเลสได้ และไม่มีวันชนะกิเลสไปได้เลยแม้ตัวเดียว

เราต้องหาอุบายวิธีแก้ไขไม่นอนใจ ตราบใดที่กิเลสยังมีอยู่ภายในใจ การทำความเพียรต้องทำอย่างเข้มแข็งอยู่ตราบนั้น ถอยไม่ได้ ถ้าไม่อยากให้กิเลสบดขยี้แหลกเหลวน่ะ การนั่งนานเกิดความเจ็บปวด นั่นมันเป็นธรรมดา เดินนานก็เหนื่อยเราเปลี่ยนได้พลิกได้ แต่สำคัญที่ความทุกข์เพราะการต่อสู้กับกิเลสนี้มันไม่มีเวล่ำเวลา ถ้าเราไม่ต่อสู้มัน มันยิ่งเอาเราหนัก การต่อสู้มันก็เพื่อชัยชนะ จึงไม่ถือว่าเป็นความลำบากลำบนเพราะเราต้องการอยู่เหนือกิเลส เราต้องการชนะกิเลส เรากลัวกิเลส เราจะเอาอะไรไปสู้กับมัน

เหมือนนักมวยเขาขึ้นชกกันบนเวที ถ้ากลัวกันอยู่แล้วก็ไม่ได้ต่อยกัน เพราะต่างคนก็ต่างหวังเอาชนะกันนั้นเอง หวังชนะทุกคน มันพลีชีพด้วยกันในขณะนั้น จะไปขี้เกียนอ่อนแอในขณะชกกันอยู่บนเวทีได้หรือ ขาดกำลังใจนิดหนึ่งก็ต้องแพ้ เผลอนิดนิเดียวก็ต้องแพ้ถูกหามลงเปลว่าไง ดีแล้วหรืออย่างนั้นน่ะ

เราเป็นนักรบก็ต้องให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นเหมือนนักมวยขึ้นต่อยกันบนเวที จิตใจอยู่กับความชนะทั้งนั้น กำลังใจเป็นรากฐานแห่งความชนะก็มีประจำใจ การตั้งความชนะกิเลสไว้เป็นรากฐานสำคัญ แล้วก้าวเดินเข้าไป ทุกข์ก็ยอมรับว่าทุกข์เพราะต่อสู้กัน เราเข้าสงครามระหว่างกิเลสกับจิต ในธรรมท่านกล่าวไว้ โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน, เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ, ส เว สงฺคามชุตฺตโม. การชนะสงครามที่คูณด้วยล้าน ก็หาได้เป็นความชนะอันประเสริฐไม่ เพราะการชนะเหล่านั้นเป็นเครื่องก่อเวร ผู้แพ้ก็เป็นทุกข์ ผู้ชนะก็ต้องได้ระมัดระวังตัว และเป็นต้นเหตุแห่งความก่อเวรผูกพันกันไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด

แต่ผู้ชนะกิเลสภายในใจของตนเพียงคนเดียวนั่นแล เป็นผู้ประเสริฐสุดยิ่งกว่าการชนะในสงครามที่คูณด้วยล้านนั้นเป็นไหนๆ ความชนะเหล่านั้นสู้ความชนะกิเลสของตนไม่ได้ นี่เป็นพุทธภาษิต

พวกเราอยู่ๆ ก็จะให้เกิดความชนะขึ้นมาโดยไม่มีการต่อสู้ อย่าหาญคิด กระรอกกระแตที่มันเคยกัดกัน ต่อสู้กันเพื่อเอาชนะกันจะหัวเราะเอา แหละว่า โอ้โฮ พระวัดป่าบ้าตาดนี่โง่ชะมัดเชียว พากันวาดมโนภาพนั่งเอาชนะ นอนเอาชนะ สัปหงกงกงันเอาชนะโดยไม่คิดหาทางต่อสู้บ้างเลย พระเหล่าที่นอนชนะ กินชนะนี่มาจากที่ไหนกันบ้างวะ ดูว่ามาจากหลายจังหวัด หลายภาค หลายประเทศด้วยนี่ เวลาพากันมาอยู่วัดป่าบ้านตาดแล้ว สอบไล่ได้ระดับปริญญาเอกมีนัยน์ตาข้างเดียวกันหมด พวกเรามองไปไหนเห็นแต่พระปริญญาเอกแบบนี้เต็มวัด ถามองค์ไหนก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันอย่างคล่องปากว่า พวกข้า(พระ)มันพวกนอนกิน กิเลสแตกกระเจิงโดยไม่ต้องทำความเพียรหรือต่อสู้ให้ลำบากเหมือนพวกแกหรอก

นี่ถ้าไม่อยากให้กระรอกกระแตแตกหนีจากวัดกันหมดละก้อ ต้องเป็นนักต่อสู้ต้องมีสติปัญญาไม่ฉลาดไม่ได้ มีสักแต่ว่าตนทำความเพียร เดินจงกรมไปเรื่อยๆ เฉยๆ โดยไม่มีสติสตัง ก็ไม่จัดว่าเป็นความเพียรเพราะโลกเขาเดินได้ทั้งนั้น แม้แต่เด็กก็ยังเดินได้ เดินไม่มีสติรักษาตน ไม่มีความรู้สึกตัวในความเพียรของตัว ไม่จัดว่าเป็นความเพียร สติขาดระยะใดก็ชื่อว่าความเพียรได้ขาดระยะนั้น ถ้าลงว่าสติได้ขาดแล้วความเพียรก็ขาดทันที สติเป็นธรรมจำเป็นทุกกาลสถานที่ ปล่อยไม่ได้

สติเป็นของสำคัญ เป็นพื้น เราพูดอย่างเต็มปาก เพราะเคยเห็นคุณค่าของสติ ตอนเริ่มฝึกหัดมาอย่างนั้นด้วย ล้มลุกคลุกคลานเราก็เคยเป็นมาเสียจนพอตัว ไม่กลัวใครจะมาแข่ง จนบางครั้งเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจตนเองว่า ตนมีวาสนาน้อย เกิดมารกศาสนา เพื่อนฝูงทั้งหลายท่านมีความสงบเย็นใจ มีอรรถมีธรรมได้เล่าถวายครูบาอาจารย์ฟัง ให้ท่านได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นขั้นเป็นตอนไป แต่เราไม่เห็นมีอะไร มีแต่ความล้มลุกคลุกคลาน มองดูทีไรมีแต่จิตถูกกิเลสมันเผาอยู่ตลอด เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ บางทีแทบจะร้องไห้ก็มี แต่นี่เป็นเพียงขณะใดขณะหนึ่ง ไม่ตลอดไป

แต่อีกขณะหนึ่งจิตมันก็พลิกกันปั๊บว่า ครูบาอาจารย์แต่ก่อนท่านก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน ท่านก็เป็นคนๆ หนึ่ง ท่านสอนเราเพื่อให้เป็นคนอย่างท่าน เพื่อให้รู้ให้เห็นอย่างท่าน ทำไมเวลานี้เราก็มุ่งหน้าและตั้งหน้าตั้งตามาประพฤติปฏิบัติธรรมกับท่านด้วยความเต็มใจ ทำไมมาตำหนิติเตียนตนไม่เข้าเรื่องเข้าราวอย่างนี้ เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาบ้าง เรามาเพื่อความรู้เห็นอรรถธรรม ตลอดถึงมรรคผลนิพพาน ทำไมทำไม่ได้ รู้ไม่ได้ เมื่อเรามีความเพียรอยู่ เอาซิเป็นอะไรเป็นกัน คิดยุ่งให้เสียเวลาทำไม จิตก็เกิดความห้าวหาญขึ้นมาและตะเกียกตะกายต่อไป

จิตเมื่อได้การอบรม การฝึก การปลุกปลอบด้วยอุบายต่างๆ อันเป็นการช่วยจิตอยู่ตลอดเวลา จิตย่อมมีความเพียร มีกำลังใจและมีความสะดวกราบรื่น สงบเย็นลงได้ นี่แหละหลักการประพฤติปฏิบัติต่อจิตใจที่มีกิเลสครองอำนาจ ย่อมลำบากทรมานพอๆ กันนักปฏิบัติเรา

เราพร้อมทุกอย่างแล้วเวลานี้ ว่างที่สุดไม่มีใครว่างเกินพระสำหรับเมืองไทยเรา ผู้นับถือพุทธศาสนา ถือพระเป็นสิริมงคลต่อจิตใจ เขาเคารพเลื่อมใส การทำบุญให้ทานเท่าไหร่ไม่อัดไม่อั้น ไม่เสียดาย อยากได้บุญกับพระผู้ตั้งใจฆ่ากิเลสตัวมหาโจรตัวมหาพินาศ ทำให้โลกให้พินาศก็คือกิเลสที่เข้าสิงจิตหรือหนุนจิตให้เป็นไป เมื่อท่านผู้ใดเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไปจากใจแล้วธรรมสมบัติเริ่มปรากฏขึ้นมา ตั้งแต่สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ จนกระทั่งวิมุตติสมบัติ ท่านผู้นั้นย่อมเป็นที่พึงใจทั้งตนทั้งผู้สนับสนุน

เพราะฉะนั้น เวลานี้เราไม่มีอะไรบกพร่องอาหารการบริโภคก็ดูเอา อยากได้น้อยเท่าไรก็ยิ่งมีมามาก วันหนึ่งๆ ถ่ายบาตรไม่ทราบกี่ครั้งกี่หน นี่คือน้ำใจของประชาชนที่มีความยินดีต่อผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติกำจัดกิเลส เขาอยากได้บุญด้วย เขาทำอย่างเราไม่ได้เขาก็อยากได้บุญ ให้เท่าไรไม่เสียดาย ให้มากให้น้อยเท่าไรเป็นที่พอใจ มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ตื้นตันใจ พอใจ อิ่มเอิบ ข้าวยังไม่ตกถึงท้องก็ไม่หิว เพราะอิ่มทานการบริจาคด้วยความพอใจ

เราผู้ตั้งหน้ารบก็เอาให้จริงให้จัง เป็นเจตนาคนละอย่าง เขามีเจตนาอย่างนั้นกับเรา เราก็มีเจตนาอย่างนี้กับตน เพื่อถอดถอนกิเลสอาสวะให้หมดไปๆ อย่าคุ้นกับความทุกข์ ไม่ใช่เป็นของน่าคุ้น ไม่ใช่เป็นของน่าชิน เหมือนดอกไฟกระเด็นมาถูกเราเราชินไหม กระเด็นมาถูกน้อยก็เจ็บร้อนน้อยทุกข์น้อย ถูกมากก็ร้อนมาก ทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจากไฟคือกิเลสที่ทำให้เราร้อนก็เหมือนกัน ไม่ว่าประเภทใดเกิดขึ้นมา มันเป็นธรรมชาติที่ร้อนที่ทำให้เกิดความทุกข์ทั้งนั้น แล้วเราจะมีความเคยชินกับมันได้อย่างไร สิ่งที่เคยชินไม่ได้ก็คือทุกข์ แสดงขึ้นเมื่อไรก็ต้องเดือดร้อนเมื่อนั้น เราจึงไม่ควรนอนใจกับมัน ให้เร่งความพากเพียรเข้าไปอย่าท้อถอย การเร่งความเพียรทุกประโยคก็คือการก้าวหนีทุกข์ การวิ่งหนีทุกข์ จะเป็นสิ่งที่ขี้เกียจได้อย่างไร

สติ เป็นของสำคัญ ปัญญา เป็นของสำคัญ นี้เป็นหลักสำคัญมากในการประกอบความเพียร อย่าปล่อย นี่สอนเสมอ สอนหมู่เพื่อนเรื่องสติเรื่องปัญญา เพราะไม่เห็นอันใดที่เด่นมาในการแก้กิเลสอาสวะทุกประเภท จนกระทั่งหมดความสงสัยภายในใจที่นอกเหนือไปจากสติปัญญา โดยมีความเพียรเป็นเครื่องสนับสนุนนี้เลย เราเคยเห็นคุณค่าของสติปัญญามาอย่างนี้ เราจึงพูดเต็มปาก สติไม่มี สติล้มลุกคลุกคลานก็เคยเป็นมาแล้วอย่างที่เล่าให้ฟัง ปัญญาไม่มี ไม่ทราบจะคิดอะไรให้เป็นอรรถเป็นธรรมให้เป็นสติปัญญา ท่านพูดว่าปัญญาๆ ก็ไม่รู้ นี่ก็เคยเป็นมาพอแล้ว เวลาพิจารณาจิตอบรมจิตหลายครั้งหลายหนอย่างเอาจริงเอาจัง ก็ไม่ทนต่อความเอาจริงเอาจังด้วยความมีสติจดจ่อ ใจสงบลงจนได้ เมื่อสงบลงได้แล้วก็ปรากฏเป็นความสุข ความแปลกประหลาดยิ่งกว่านั้นก็เป็นความอัศจรรย์ตามขั้นของจิต

ความเพียรเริ่มละที่นี่ เพราะเห็นผล เมื่อเห็นผลของงานแล้วความเพียรหากเป็นมาเอง เอ้า ทีนี้พิจารณาแยกแยะทางด้านปัญญาอย่างเอาจริงเอาจัง จดจ่อพิจารณาหาอุบายพลิกแพลงตนเอง ไม่คอยแต่ครูบาอาจารย์บอกวิธีนั้นวิธีนี้ นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของตนผลิตขึ้นมาเอง ไม่ดีไม่เหมาะ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากความคิดความเห็นของตัวเอง เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นกินไม่หมด ยิ่งแตกแขนงออกไปเรื่อยๆ คิดเท่าไรพิจารณาเท่าไร ยิ่งแตกแขนงออกไปไม่มีสิ้นสุด จนกระทั่งกระจายไปรอบตัวรอบจักรวาล นั่งอยู่ที่ไหนก็มีแต่สติปัญญาทำหน้าที่คุ้ยเขี่ย ขุดค้น ปราบปรามกิเลส

ถ้ากิเลสเป็นด้านวัตถุ ลงสติปัญญานี้ได้ออกก้าวเดินแล้วด้วยความสง่าผ่าเผย องอาจกล้าหาญ มีความเฉลียวฉลาดรอบตัว เราเดินไปตามทางก็ดี หรือในทางจงกรมก็ดี ก็เหมือนว่าเราฆ่ากิเลส เผากิเลสอยู่ตลอดเวลา ฆ่ากิเลสตายระเนระนาด ทั้งการเดินการนั่งมีแต่การฆ่ากิเลส นั่งก็นั่งฆ่ากิเลส ยืนก็ฆ่ากิเลส ยืนที่ไหนฆ่าแต่กิเลส ด้วยสติปัญญาศรัทธาความเพียรทั้งนั้น หากกิเลสเป็นวัตถุแล้วซากศพของกิเลสเกลื่อนไปหมด แต่ก่อนล้วนกิเลสมันสั่งสมตัวมันไว้กี่กัปกี่กัลป์ ทำลายจิตใจ ทีนี้ถูกสติปัญญาฟาดฟันหั่นแหลกกันลงไป ตายระเนระนาด ไปที่ไหนมีแต่เรื่องกิเลสตาย นี่สติปัญญาขั้นนี้เป็นอย่างนี้

ต้องให้รู้จักการรู้จักงาน รู้จักวิธีรบ วิธีรับ วิธีต่อสู้ วิธีหลบหลีก จึงเรียกว่าปัญญาอันคมกล้า ถ้ามีแต่กิเลสคมกล้า ไอ้เราก็มืดดำกำตาหรือมืดแปดทิศแปดด้าน ถ้าปัญญาได้สว่างจ้าขึ้นมาภายในใจแล้วจะรอบตัว กิเลสมาแง่ไหน คิดขึ้นเรื่องใด อะไรมาสัมผัส สติปัญญาทันทั้งนั้น นอกจากทันกับอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกันแล้ว ยังตามวินิจฉัยกันจนเป็นที่เข้าใจ ปล่อยวางๆ ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นสติปัญญาอัตโนมัติขึ้นมา

ที่นี่เอาละ เรื่องความขี้เกียจเรื่องความกลัวทุกข์นั้นหายหน้าไปหมดเลย ไม่มีคำว่ากลัวทุกข์ ไม่มีคำว่ากลัวตาย มีแต่จะเอาให้รู้ เป็นก็ให้รู้ตายก็ให้รู้ หรือว่าเป็นก็ให้พ้นตายก็ให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากกิเลสไปโดยถ่ายเดียว เป็นสิ่งที่ต้องการ คำว่าแพ้นี้ให้ตายเสียดีกว่า อย่าให้แพ้แบบหมอบราบทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่นี้เลย เป็นไปไม่ได้ ถ้าแพ้ก็ให้แพ้แบบตายเลย เป็นมวยบนเวทีก็ให้ถูกน็อคล้มลงไป ตายเลย อย่างนี้จึงว่าแพ้ อยู่ๆ ก็ไปยกมือไหว้เขา ว่ายอมแพ้ไม่ได้

จิตขั้นนี้สติปัญญาขั้นนี้ เชื่อตัวเองขนาดนั้นแล ให้ท่านทั้งหลายพิจารณาเอาเอง เมื่อถึงขั้นเชื่อตัวเอง เชื่ออย่างนั้น คือ เชื่อกำลังความสามารถของสติปัญญา อยากพบเห็นข้าศึกคือกิเลสเท่านั้น กิเลสตัวไหนที่มาขวางใจ อยู่ตรงไหนบ้าง มันพิจารณาซอกแซก ซิกแซ๊ก คุ้ยเขี่ยขุดค้นหาจนแหลก เพราะเมื่อสติปัญญามีกำลังกล้าขึ้นมาแล้ว ข้าศึกมันหลบตัวมันซ่อนตัว จึงต้องขุดค้นคุ้ยเขี่ย พอเจอกันแล้วก็ฟาดกันละที่นี่ เรียกว่าได้งานหรือเจอข้าศึกแล้ว ฟาดลงไป พอเหตุผลพร้อมแล้วกิเลสขาดสะบั้นลงไปเห็นชัดนี่ตัวนี้ขาดลงไปแล้ว ทีนี้คุ้ยเขี่ยหาอีก หางาน พอเจอเข้าก็ได้งานและต่อสู้ขาดลอยไปอย่างนี้เรื่อยๆ จิตก็เพลินในความเพียร

ใจยิ่งเด่นขึ้นๆ เห็นชัดเจนโดยลำดับลำดา กิเลสมีมากมีน้อยเห็นชัดว่าเป็นภัยต่อจิตอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นจะนอนใจได้อย่างไร เอาดำเนินไปซิ เมื่อความเพียรมีอยู่ไม่หยุดไม่ถอย จะไม่พ้นจากคำที่กล่าวนี้ไปได้เลย เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ในทางคงวามเพียรนี้ ต้องเป็นไปอย่างนี้จริงๆ ไม่สงสัย เอาให้จริง

ทำอะไรอย่าทำแบบจับๆ จดๆ อย่าหัดนิสัยจับๆ จดๆ ให้มีความจดจ่อ ให้มีความจริงใจกับสิ่งนั้นจริงๆ ทำอะไรก็เพื่อผลประโยชน์ อย่าสักแต่ว่าทำผ่านมือๆ ไป เป็นนิสัยจับจดใช้ไม่ได้ เวลาจะทำความพากเพียรถอดถอนกิเลสก็จะทำแบบจับๆ จดๆ ปล่อยๆ วางๆ เป็นคนหลักลอย เลยไม่มีอะไรเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นของตัวได้เลย มีแต่ความเหลาะแหละเต็มตัว นั้นหรือเป็นตัว เป็นตัวไม่ได้ เชื่อตัวเองไม่ได้

เอาให้เชื่อตัวเองได้สิ พระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อตัวเอง จาก อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ คือความหวังพึ่งตนเอง ด้วยสติปัญญาศรัทธาความเพียรของตัวเอง พระองค์มอบไว้แล้วทุกอย่าง เครื่องมือถูกต้องหมดแล้ว เอ้า นำมาประกอบ นำมาฟาดฟันกิเลส กิเลสจะตายด้วยสติปัญญา กิเลสกลัวสติปัญญา กิเลสประเภทใดก็ตามไม่พ้นจากสติปัญญานี้ไปได้ นี่กิเลสกลัวมาก และตายด้วยสติปัญญาศรัทธาความเพียรนี้ด้วย ไม่ได้ตายด้วยอย่างอื่น สิ่งที่พอกพูนกิเลสอย่าสนใจนำมาใช้ สิ่งใดที่กิเลสจะยุบยอบลงไป หรือจะสลายลงไปจากจิต ให้นำสิ่งนั้นมาใช้เสมอ สติปัญญาเอาให้ดี

เราอยากเห็นหมู่เพื่อน เราอยากได้ยินหมู่เพื่อนมีความพากเพียร ว่าได้รู้อย่างนั้น ว่าได้เห็นอย่างนั้นมันมีกำลังใจ โอ้ การเทศน์มานี้ไม่เสียเวล่ำเวลา ไม่เสียอรรถเสียธรรมที่สอนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถอดจากหัวใจออกมาสอนทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วได้ปรากฏผลออกมาเป็นสักขีพยาน เหมือนพระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญติ พระอัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ นั่นแล

เหตุเบื้องต้นก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รู้เห็นธรรม บรรลุอริยธรรมขั้นต้นคือพระโสดาบัน แล้วเปล่งอุทานออกมาต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ด้วยความถึงใจว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วต้องดับทั้งนั้น ด้วยความรู้ซึ้งถึงใจจริงๆ วาระสุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานอนุโมทนาธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะว่า อญญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญติ พระอัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ  อิติหิทํ อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส, อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว นามํ อโหสีติ. อันนี้จึงได้เป็นมิตตกนามของพระอัญญาโกณฑัญญะตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นี่คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้ที่รู้เห็นธรรมคนแรก ที่เป็นสักขีพยานของพระพุทธเจ้า ไม่เสียพระทัย ไม่เสียพระกำลัง ไม่เสียเวลาที่ทรงสั่งสอนเป็นปฐมเทศนาแก่พระเบญจวัคคีย์ทั้งห้าครั้งแรกแห่งความเริ่มเป็นศาสดาของโลก และทรงแสดงอนัตตลักขณะสูตรให้แก่พระเบญจวัคคีย์ทั้งห้าฟัง

รูปํ อนิจฺจํ, เวทนา อนิจฺจา, สญฺญา อนิจฺจา, สงฺขารา อนิจฺจา, วิญฺญาณํ อนิจฺจํ, รูปํ อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา, สญฺญา อนตฺตา, สงฺขารา อนตฺตา, วิญฺญาณํ อนตฺตา.

ฟังซิ เอาฟังให้ซึ้งซิ มันอยู่ในตัวของเรานี้น่ะ ฟัง รูปํ อนิจฺจํ มันแปรตัวอยู่ตลอดเวลา อย่าชินชากับคำว่ามันแปรอยู่ตลอดเวลา ให้ซึ้งด้วยปัญญา จะทราบว่าสิ่งที่เราอาศัยอยู่นี้แปรอยู่ตลอดเวลา เราอยู่ด้วยความแปร ความแปรปรวน อยู่ด้วยความทุกข์ทรมาน อยู่กับของหาหลักเกณฑ์อันแน่นอนไม่ได้ อยู่กับความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

รูปํ อนตฺตา ถือเป็นตัวเป็นตนที่ไหน คือ ธาตุสี่ดินน้ำลมไฟ เราไปถือมาเป็นตัวเป็นตนได้อย่างไร ดินก็เป็นดิน น้ำก็เป็นน้ำ ก็ชัดๆ อยู่แล้ว ลมก็เป็นลม ไฟก็เป็นไฟ ชัดๆ อยู่แล้ว ไปถือว่าเป็นคนได้อย่างไร ไปถือว่าเป็นเราได้อย่างไร ดิน น้ำ ลม ไฟ น่ะ ไม่ละอายเขาบ้างเหรอ ปัญญาให้ซื้งลงไปตามนั้นซิ

สัญญา ความจำได้หมายรู้ จำอะไรก็ลืมๆ ไปหมด เมื่อต้องการจำอีกก็ปรุงขึ้นมาอยู่อย่างนั้น

สังขาร ความปรุง ความคิด ไม่ว่าคิดดีคิดชั่ว คิดเรื่องอดีตอนาคต คิดอะไรดับทั้งนั้น เอาสาระแก่นสารอะไรกับมัน เอาการเหล่านี้มันก็เหมือนพยับแดดนั้นเอง มองดูไกลๆ ก็เหมือนเป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นตนเป็นตัว เวลาเข้าไปใกล้ๆ แล้วก็ไม่เห็นมีอะไร นี่พิจารณาค้นเข้าไปจริงๆ แล้ว

ในที่ว่าอัตภาพร่างกายนี้มันไม่มีอะไร เต็มไปด้วย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ทั้งนั้น มันมีเราอยู่ที่ตรงไหนพอจะถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เราไม่อายความจริงบ้างเหรอ เราไม่อายกิเลสบ้างเหรอ หรือเราก็เป็นกิเลส เป็นตัวเดียวกับกิเลส เป็นตัวหลง ถึงไม่อายกันนั้นก็ยิ่งเพิ่มความโง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 12, 2024, 10:44:23 PM