เมษายน 19, 2024, 08:38:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407804 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #195 เมื่อ: มกราคม 10, 2016, 06:03:03 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
             [๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้ง
นั้นแล ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ฯ
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้
คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ
สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน
ย่อมโกรธเคืองเขา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ ดูกร
ผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน
ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ
ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุม
พร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็น
อันหวังได้สุขดังนี้ ฯ




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #196 เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 09:00:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โธวนสูตร
             [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทักษิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้าง
กระดูกแห่งญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง
ของขบเคี้ยวบ้าง ของบริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนบ้าง
เพลงขับบ้าง การประโคมบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเนียมการล้างนั้นมีอยู่
เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการล้างนั้นแลเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงการ
ล้างอันเป็นของพระอริยะ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดย
ส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจาก
ความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็น
ธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความ
โทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร
ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การล้างที่เป็นของพระอริยะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว
ย่อมพ้นจากความเกิด ... จากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส
และความคับแค้นใจได้นั้น เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ
ย่อมล้างความเห็นผิด ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิด
เป็นปัจจัย และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
เห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมล้างความดำริผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมล้างวาจาผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมล้างการงานผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมล้างการเลี้ยงชีพ
ผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมล้างความ
พยายามผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมล้างความระลึก
ผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมล้างความตั้งใจผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมล้างความรู้ผิด ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมล้างความหลุดพ้นผิด
ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็น
ปัจจัย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การล้างที่เป็นของพระอริยะนี้นั้นแล ย่อมเป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด
เป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจาก
ความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความ
ร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจาก
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #197 เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 09:02:46 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
นิทธมสูตร
             [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงปัดเป่ามี ๑๐
ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิด อันบุคคลผู้
มีความเห็นชอบปัดเป่าแล้ว และธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็น
ผิดเป็นปัจจัย อันเขาปัดเป่าแล้ว ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิด อันบุคคลผู้มีความดำริชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิด อันบุคคลผู้มีการเจรจาชอบปัดเป่า
แล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิด อันบุคคลผู้มีการงานชอบปัดเป่า
แล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิด อันบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ
ปัดเป่าแล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิด อันบุคคลผู้มีความพยายามชอบ
ปัดเป่าแล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิด อันบุคคลผู้มีความระลึกชอบปัดเป่า
แล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิด อันบุคคลผู้มีความตั้งใจชอบปัดเป่า
แล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิด อันบุคคลผู้มีความรู้ชอบปัดเป่าแล้ว ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิด อันบุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ
ปัดเป่าแล้ว และอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิด
เป็นปัจจัย อันเขาปัดเป่าแล้ว ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึง
ปัดเป่ามี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐





อเสขสูตร
             [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อเสขะๆ ดังนี้ ภิกษุเป็น
อเสขะด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความ
ดำริชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบ
ด้วยการงานชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการเลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วยความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยการระลึกชอบอันเป็น
อเสขะ ประกอบด้วยความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ ประกอบด้วยความรู้ชอบอัน
เป็นอเสขะ ประกอบด้วยความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ ดูกรภิกษุ ภิกษุย่อม
เป็นอเสขะ ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๑





อเสขธรรมสูตร
             [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะมี ๑๐ ประการนี้
๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความดำริชอบอันเป็น
อเสขะ ๑ การเจรจาชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การงานชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การ
เลี้ยงชีพชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความพยายามชอบอันเป็นอเสขะ ๑ การระลึก
ชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความตั้งใจชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ความรู้ชอบอันเป็นอเสขะ ๑
ความหลุดพ้นชอบอันเป็นอเสขะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ
มี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบสมณสัญญาวรรคที่ ๑
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2016, 09:04:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #198 เมื่อ: มกราคม 14, 2016, 09:45:38 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ กสิน

กสิน แปลว่า เพ่ง เป็นการเพ่งเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน กสิน ๑๐ ให้เป็นสติจดจ่อทำจิตให้ระลึกถึงมีนิมิตในอารมณ์นั้นโดยส่วนเดียว ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่นในอารมณ์

วิธีการการเพ่งกสิน คือ จับเอาคุณลักษณะและคุณสมบัติของอารมณ์ที่เพ่งอยู่นั้นเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ ให้จิตระลึกถึงแห่งคุณลักษณะและคุณสมบัติของอารมณ์เป็นนิมิตอารมณ์ของจิต เมื่อสามารถประครองจิตให้เข้าถึงคุณลักษณะและคุณสมบัติในอารมณ์ใดก็ตามในกสิน ๑๐ ทำให้จิตตั้งมั่นได้ กสินกองอื่นก็ได้เช่นกัน สมดั่งที่หลวงปู่ฤๅษีฯ หรือ พระราชพรหมญาณ ท่านสอนไว้

ยกตัวอย่างเช่น

"อาโลกะกสิน"
ให้ดูคุณลักษณะและคุณสมบัติของแสง นั่นคือ อาการที่สว่างไสว อาการที่เป็นประกาย ส่องสว่าง สุกสว่าง อาการที่สว่างโร่แจ้งทำให้มองเห็นได้ชัด เหมือนเวลากลางวันที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัด

- เวลาเพ่ง "อาโลกะกสิน" ให้กำหนดเพ่งเอาประกายแสงที่ทอออกมอ ระลึกถึงอารมณ์ที่สว่างไสว อาการที่สว่างโร่แจ้งประดุจกลางวัน ที่มองเห็นได้ชัดไม่ว่าสิ่งไรๆ อันไหน จะอยู่ที่ไหนก็มองเห็นได้ชัด จะบริกรรม อาโลกังกสิัง แสงๆ ร่ำไปก็ได้ หรือ ทำไว้ในใจให้รู้ว่าเป็นแสงโดยไม่บริกรรมก็ได้
  แม้ยามเวลากลางวัน ที่เราดำเนินชีวิตไปอยู่แลเห็นความสว่างโร่แจ้งที่มองเห็นได้ชัดก็กำหนดรู้ว่าคือคุณลักษณะและคุณสมมติของแสง พอว่างๆก็นั่งหลับตาทำสมาธิกำหนดนิมิตเพ่งกสินเป็นเดวงแสงมองดูที่ประกายแสงจากความจำได้หมายรู้อารมร์ที่เห็นมานั้นเป็นอารมณ์มีสติรู้ว่าคุณลักษณะสมบัตินี้ๆคือแสง เป็นอาโลกกสินได้ตลอดเวลาทั้งกลางวัน
  แม้กลางคืน เมื่อเจอแสงไรๆ หลอดไฟ ดวงจันทร์ ก็กำหนดคุณลักษณะที่สว่างไสว เป็นประกายให้มองเห็นได้แม้เวลากลางคืนที่มืดมิดนั้นเป็นอาโลกกสินได้เช่นกัน

  กำหนดกสินแสงทั้งกลางวันกลางคืนอย่างนี้

- ส่วนกสินดิน ก็ดูลักษณะสีของดิน ท่านให้เลือกเป็นดินสีอรุณ คือมีคุณสมมติของดินเป็นสีออกน้ำตาลส้มแดงเหมือนดินที่สกลนคร และ ดูลักษณะที่แค่นแข็งหรืออ่อน
- ส่วนกสินไฟ ก็ดูลักษณะที่ร้อน ที่แผดเผา ที่อบอุ่น คุณสมบัติที่เผาไหม้ทุกสิ่ง ให้ความสว่างได้ดุจดวงประทีป คบเพลิง
- ส่วนกสินลม ก็ดูลักษณะที่ตรึก หย่อน กระทบ มีคุณสมบัติการเคลื่องตัว ไหวไป ดูลมพี่พัดกระทบตัวเรา กระทบยอดไหม กำหนดดูลมหายใจเข้า-ออกยาว ที่ต้นลมที่กระทบ การเคลื่อนตัวของลม ปลายลมที่สุด ที่รู้สัมผัสได้จากลมหายใจ ลมหายใจอันเป็นภายในกายเราเป็นอย่างไร ลมภายนอกก็เป็นอย่างนั้น
- ส่วนกลินสีแดง ก็ดูคุณสมบัติของสีคือแดง อาการที่แดงเข้มมีลักษณะเหมือนเลือดเรานี้แหละ


ยกตัวอย่างทำกสินโดยย่ออย่างนี้ๆ



- เวลาเจริญ "อาโลกะสัญญา ในอริยะสัจ ๔ กรรมฐาน" ให้กำหนดจิตเป็นดวงแก้วหรือดวงแสงที่สุกสกาวสว่างไสวเป็นอารมณ์ เมื่อเกิดกิเลสนิวรณ์ขึ้นให้พึงระลึกรู้ตามพระธรรมที่องค์พรัะบรมศาสดาตรัสสอนว่า "จิตเดิมแท้นั้นมีปกติที่สว่างไสว แต่อาศัยกิเลสที่จรมาทำให้เศร้าหมอง" แล้วกำหนดนิมิตขึ้นว่าจิตเรานี้มีปกติที่สว่างไสวดจดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ อาศัยกิเลสนิวรณ์เหล่านี้แลเป็นประดุจเมฆหมอกที่เคบื่อนมาบดบังความสว่างไสวนั้นทำให้ใจเศร้าหมอง แล้วตั้งจิตมั่นขัดล้างจิตโดยความไม่ติดใจข้องแวะในอารมณ์กิเลสนิวรณ์ไรๆที่จรมาให้จิตรู้ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ด้วยเหตุเพราะจิตที่ไม่เคยอบรมมานั้นมีกำลังน้อยไม่พอต่อกรกับกิเลสดังนั้นเราจึงตั้องตั้งจิตมั่นปักหลักตอกเสาเข็มยึดจิตไว้ให้มั่น ประครองดวงจิตไว้ไม่ให้เอนเอียงน้อมหาอารมณ์ไรๆที่สมมติกิเสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงเสพย์และเข้ายึดครองสมมติของปลอมทั้งปวง ทำจนจิตตั้งมั่นเห็นนิมิตเป็นดวงกสินแสงที่สว่างโร่แจ้ง งดงาม ไม่เศร้าหมอง

- ส่วนอาการที่สลัว สว่างไม่มาก ก็เหมือนจิตที่มีกิเลสจรมาบดบังจิตให้จิตนั้นถูกปิดกั้นความสว่างผ่องใสลง ทำให้จิตมัวหมอง เศร้าหมอง เหมือนคราบริ้วรอยฝุ่นละอองบนโต๊ะที่ไม่ค่อยได้เช็ดถูทำความสะอาด

- ส่วนอาการที่อับแสง คือ มืดมิด มองไม่เห็น เหมือนเราอยู่ในที่มืด ก็เหมือนจิตที่ถูกกิเลสบดบีังจนมิด จิตลุ่มหลงเสพย์ติด ยึดมั่น ถือคลองในกิเลสนิวรณ์ สมมติของปลอมจนเป้นหนึ่งเดียว เหมือนคราบริ้วรอยฝุ่นละอองบนโต๊ะที่ฝั่งแน่น เนื่องจากไม่เคยได้เช็ดถูทำความสะอาดเลย





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2016, 11:01:55 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #199 เมื่อ: มกราคม 16, 2016, 07:11:56 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

เหตุและผลที่ต้องทำเหตุให้ดี ทำเหตุให้มาก และ ความปลงใจเห็นทุกข์ในโลก

พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าโดยมากในยุคปัจจุบันนี้ ย่อมเทศนาชี้แนะดังนี้ว่า

จริงๆแล้วคนเราอาศัยของเก่ามา เป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ทำในอดีตนั้นมาสู่ปัจจุบัน
- หากของเก่าทำทานมาดีจึงมีฐานะบ้าง รวยบ้าง มีเงินใช้จ่ายมากมาย มีบริวารมาก
- หากทำในศีลก็มีรูปร่างหน้าตาที่หมดจรดงดงาม ผิวพรรณดี อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
- หากทำจิตภาวนามาดี ก็มีสติปัญญามาก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
- แต่จะมีสิ่งใดมากน้อยก็ตามแต่ของเก่าที่สะสมมา


หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนผมดังนี้ว่า เราเกิดมาชาตินี้ เพื่อทำของเก่าให้มันดี หากไม่เสริมของเก่าให้ดีก็มีแต่วันหมดไป ซึ่งคนเราที่เกิดมาย่อมจำแนกได้ดังนี้ว่า

- มาสว่าง ไปสว่าง
- มาสว่าง ไปมืด
- มามืด ไปสว่าง
- มามืด ไปมืด

- มาสว่าง
ก็คือ เกิดมามีของเก่าสะสมมาดีก็เจริญด้วย โภคทรัพย์สมบัติ ร่ำรวยอยู่สบาย มีบริวารดี มีหน้าตาดีงดงาม ฉลาดหลักแหลม ทำอะไรก็มีโอกาสดีประสบโชคลาภดีงาม
- มามืด
ก็คือ เกิดมายากจนข้นแค้น นีหน้าขี้เหร่ หรือ พิการ โง่ไม่มีปัญญาไหวพริบ ทำอะไรก็ติดขัดลำบากไม่มีโชค ไม่มีลาภ มีแต่ความสะดุด ผิดที่ ผิดกาล ไม่เจริญ

1. คนมาสว่างไปมืด
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี แต่ไม่สร้างไม่สั่งสมต่อให้มันดียิ่งๆขึ้น ก็พอใช้บุญเก่าจดหมด ชีวิตก็เริ่มย่ำแย่ เกิดไปชาติหน้าก็มืดมน หรือแม้ปัจจุบันจะทำทั้งบุญและบาปคละเคล้ากันไปแค่บุญบาปที่ทำเสมอกันก็ไม่ส่งผล ก็มีแต่ระรอวันให้บุญเก่านี้ค่อยหมดไปเรื่อยๆ สุขบายแค่ในตอนนี้ แต่ลำบากในภายภาคหน้า ชาติหน้า ภพหน้า
2. คนมาสว่างไปสว่าง
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี มาชาตินี้ก็ทำของเก่าให้มันดียิ่งขึ้นเป็นกำไรชีวิต ยังสั่งสมให้ของเก่ามันดีจนเต็ม ก็เป็นบารมี มีทั้งโภคทรัพย์สมบัติภายนอกและโภคทรัพย์สมบัติในภายใน จะชาตินี้ชาติหน้าก็ดี ภพนี้ภพหน้าก็ดี รอแต่วันที่อิ่มแล้วไปถึงพระนิพพาน
3. คนมามืดไปสว่าง
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แต่เพียรละอกุศลธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นในกุศลธรรมทั้งปวง มีศีล ทาน ภาวนา ตั้งมั่นความดีไม่ย่อท้อ แม้เจอเรื่องร้ายๆหรือทำแล้วติดขัดติดปัญหา ไม่ร่ำรวย งดงาม ไม่มีปัญญาเหมือนเขา ไม่มีโอกาสดีๆในทุกๆเรื่อง ประสบแต่สิ่งร้ายๆ แต่ก็มีจิตตั้งมั่นไม่เสื่อมศรัทธาในกุศล ตั้งมั่นสะสมใน ศรัทธา ศีล ทาน วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ท่านเรียกว่าทำของเก่าให้มันดี แม้ปัจจุบันจะลำบากแค้น แต่ไปภายหน้าจะสุขสบายไม่มีทุกข์ ถึงแม้ชาตินี้ทั้งชาติจะลำบาก แต่ก็เป้นผู้อยู่โดยไม่มีทุกข์ เป็นผู้ที่ทุกข์หยั่งไม่ถึง แม้ไม่มีโภคทรัพย์สมบัติภายนอก แต่อัดเต็มไว้ด้วยโภคทรัพย์สมบัติในภายใน ไปชาติหน้า ภพหน้าก็สุขสบาย ร่ำรวยมีบริวารมาก มีหน้าตางดงามผิวพรรณดี มีสติปัญญาดี
4. คนมามืดไปมืด
ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แล้วยังทำชั่วทำบาปสร้างเวรกรรมสืบไป ทำแต่ความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีแต่ความประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น มีความตระหนี่ขี้เหนียว เพ่งเล็งแต่สิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น ไม่ใช่ปัญญาแก่ไขปัญหา ใช้แต่อารมณ์ ใช้กำลัง ไม่สร้างบุญกุศลเพิ่ม มีแต่อกุศลบารมีสะสมทับถมไม่สิ้นสุด แม้ชาตินี้ในปัจจุบนหรือภายหน้า หรือชาติหน้า หรือภพหน้าก็มีแตต่ความลำบากฉิบหาย เกิดมายากจนค้นแค้น พิการ ไม่มีดีทั้งในปัจจุบันและกาลในภายหน้า

ท่านจึงสอนอยู่เสมอดังนี้ว่า
- สุขทางโลก มันอาศัยยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน สุขชั่วคราวก็หมดไป อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจ ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ...ส่วนสุขทางธรรม คือ ความฉลาดในการปล่อยวาง ทำบุญกุศล สิ่งนี้มันจะติดตามเราไปตลอดทุกชาติทุกที่ทุกหนทุกแห่ง
- สุขทางโลก นี้มันสุขจริง แต่สุขแล้วก็ค่อยๆทุกข์ไปหน้า ทุกข์จากความแสวงหาเสพย์ในสิ่งไม่เที่ยงบ้าง แม้เมื่อได้เสพย์สมดั่งใจแต่พอสุขนั้นดับไปก็ดิ้นรนทุรนทุรายแสวงมามันมาเสพย์ให้ได้อีกบ้าง ทุกข์เพราะไม่สมปารถนาบ้าง ทุกข์เพราะประสบในสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง ทุกข์เพราะความพรัดพรากบ้าง ...ส่วนสุขทางธรรม นี่มันอมตะสุข มันยากลำบากในตอนแรกที่เจริญ ต้องใช้กำลังศรัทธาที่แน่วแน่ ตั้งในกุศล ศีล ทาน ภาวนา มีกำลังความเพียรอย่างมากไม่ย่อท้อ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสติ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสมาธิ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังปัญญา จะลำบายากเย็นเท่าไหร่ก็ไม่ท้อถอย มีแต่ต้องสู้และแน่วแน่เท่านั้น แต่เมื่อทำเหตุนี้ๆให้ดีมีกำลังแล้ว มันก็อิ่มเต็มกำลังใจ มันสุขด้วยตัวของมันเอง สุขจากความปล่อยวาง จะไปที่ใดก็เป็นสุขอิ่มเอม สงบร่มเย็น ไม่มีทุกข์ ไม่หวาดระแวง ไม่หวาดกลัว ไม่เร่าร้อน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกโลภะ ราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม ไม่เกรงกลัวความตาย..เพราะแม้จะตายจากโลกนี้ไป ก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติภูมิเป็นเทพบุตร เทพธิดา ไปชั้นจาตุมมหาราชิกา ชั้นดุสิต ชั้นพรหมเป็นต้น เกิดชาติหน้าก็มีครบพร้อมซึ่งรูปร่างหน้าตา โภคทรัพย์สมบัติบริวาร และ สติปัญญา เมื่อเสร็จกิจสิ้นสังโยชน์ก็ไม่ต้องมาทนทุกข์ิอีกชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วก้ไปเสวยสุขบนแดนนิพพาน



ฐานะ เงินทอง หน้าที่การงาน ยศ ทั้งหลาย อยู่ในนานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรา เมื่อตายไปแล้วก็เอาสิ่งใดติดตามไปไม่ได้

        แม้กายเรานี้ คือ ขันธ์ ๕ ก็ต้องเป็นอนัตตาต่อเรา คือ ตายไปก็ไม่มีตัวตนต่อเราอีก แม้เราเองก็ไม่มีตัวตนต่อขันธ์ ๕ เมื่อตายไปก็ไม่มีเราอยู่ในขันธ์ ๕ แล้ว เราก็เป็นอนัตตาแก่ขันธ์ ๕ ขนาด ขันธ์ ๕ ที่เราเอามโน คือ ใจเข้ายึดครองอยู่นี้มันยังไม่มีตัวตนต่อเรา ขนาดเราที่ยึดครองอาศัยขันธ์ ๕ อยู่นี้ก็ไม่อาจจะอยู่ยั่งยืนนานกับมันได้ เมื่อตายแล้วจิตที่เข้ายึดครองขันธ์ ๕ เหล่านี้ก็ไม่มีอีก ไม่มีตัวตนของเราในขันธ์ ๕ แล้วจะนับปะสาอะไรกับสิ่งภายนอกที่เราแสวงหาอยู่นั้นๆว่าเป็นตัวตนต่อเราหรือใครได้ แม้ได้ยึดครองมาก๋็อยู่ไม่ยั่งยืนนาน สุดท้ายก็ต้องสูญไป ไม่คงอยู่อีก ไม่มีตัวตนต่อกันอีก "ไม่มีขันธ์ในเรา เราไม่มีในขันธ์ ไม่มีตัวตนต่อกันและกัน"

       ทุกวันนี้เราแสวงหาอยู่กับที่ไม่เที่ยง เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไปว้กับสิ่งไม่เที่ยงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ล้วนไม่เที่ยงทั้งนั้น แต่เราเอาความสุขสำเร็จของเราเข้าไปยึดครองสิ่งไม่เที่ยงเหล่านั้นว่าเป็นความสุขตน เป็นความสำเร็จตน สุดท้ายก็ต้องพรัดพราก ไม่ด้วยกาลเวลา ก็สภาพแวดล้อม ไม่ด้วยการดูแลรักษา ก็สภาวะความปรุงแต่งแปรปรวนในภายใน และความตายในที่สุด บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ฉุดรั้งจับต้องให้เป็นดั่งใจไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน

      เมื่อตายไปแล้วก็มีแต่บุญกับบาปที่ติดตามเราไป หากทำกุศลมาเยอะก็เป็นกำไรชีวิตสืบต่อไปในภพหน้าชาติหน้า หากทำอกุศลกรรมมาเยอะกรรมนั้นก็ติดตามให้ขาดทุนสูญเสีย ล่มสลายในเหตุบารมีในภายหน้า ชาติหน้า ภพหน้า คนเราอายุมากสุดก็แค่ 100 ปี จะต้องรอให้ถึง 100 ปีก่อนจึงจะค่อยมาสะสมเสบียงไว้เลี้ยงตนในภายหน้าอย่างนั้นหรือ ถ้าทำเช่นนั้นเวลาคงไม่พอที่จะทำอะไรได้ ดังนั้นเวลาที่มีอยู่นี้เราควรที่จะค่อยๆทำไปสะสมกุศล เจริญใน ศีล ทาน ภาวนาไปเรื่อย มีทานก็ได้กำไรเหนือความโลภ มีศีลก็ได้กำไรเหนือโทสะ มีภาวนาก็ได้กำไรเหนือความโง่ ความลุ่มหลง ทำชาตินี้หากมีกำลังมากก็ได้ชาตินี้ด้วย ตายไปแล้วก็ติดตามไปในภพหน้าด้วย ท่านเรียกว่า นี่คือกำไรชีวิต ทำกำไรชีวิตให้กับตนเอง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #200 เมื่อ: มกราคม 20, 2016, 09:14:40 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สุขทางโลกมันมาจากกามราคะ มันสุขโดยอาศัยยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน มันสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราววูบวาบเดี๋ยวเดียวก็ดับไป ไม่ยั่งยืนคงทนอยู่ตลอดไป อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เอง เมื่อเสพย์แล้ว ก็ต้องการเสพย์มันใหม่อีกไม่รู้จบ สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น

สุขทางโลกมันอยู่ด้วยความใคร่ปารถนาจะเสพย์นั่นเสพย์นี่ อยากมีอยากได้นั่น อยากมีอยากได้นี่ พอสมปารถนาก็เป็นสุข วูบวาบชั่วคราวแล้วก็ดับ แล้วก็ติดใจปารถนาต่อไม่รู้จบ ไม่รู้อิ่ม แล้วก็ทุกข์ที่ต้องแสวงหาโหยหามันมาเสพย์ให้ได้อีก

พอไม่สมปารถนา หรือ พบเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ หรือ ความพรัดพราก ก็จะเป็นจะตาย คับแค้นกายใจ ร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่เอาอย่างนั้น ไม่พอใจอย่างนี้ ไม่ต้องการอย่างนี้ ทนอยู่ไม่ได้ จะขาดใจตายเสียให้ได้

แม้จะเป็นอย่างนั้น ยิ่งไม่สมปารถนา ยิ่งเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ยิ่งปารถนาที่จะได้จะมีจะพบเจอสิ่งที่ตนเองยึดว่าดีที่เป็นที่รักที่พอใจมากขึ้นไปอีก แล้วก็เฝ้าถวิลหาปารถนา ตะเกียกตะกายให้ได้มาครอบครองซึ่งสิ่งนั้น หยุดไม่ได้ อิ่มไม่เป็น

สุขทางโลกมันยึดเอาความเป็นตัวตน หลงไปว่าเที่ยงแท้ยั่งยืนนาน ทั้งๆที่มันอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเราเท่านั้น พอเราตายมันก็ไม่ได้ติดตามเราไปด้วย

ยิ่งยึดตัวตนมากก็ยิ่งปารถนามาก ยิ่งปารถนามากก็ยิ่งทำเหตุในมันมาก ยิ่งฝักใฝ่สุขทางโลกมากมันยิ่งหิวโหยไม่หยุด ไม่พอ ไม่อิ่มเป็น

สุขทางธรรมมันคือความฉลาดในการปล่อยวาง สุขทางธรรมคือสุขจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น สุขทางธรรมคือสุขจากความไม่ปารถนา สุขทางธรรมคือวิราคะ สงัดจากกามราคะทั้งปวง สุขทางธรรมคือความที่จิตมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง สุขได้ด้วยตัวมันเอง ไม่อาศัยเครื่องยึด ไม่จับของปลอม ไม่ยึดสมมติ..ดังนี้

สุขทางโลกียะ สุขมันสุขจริง แต่มันสุขเพราะอาศัยผัสสะจากความรู้โดยสมมติจากสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สุขทางโลกมันอิ่มไม่เป็น มันไม่รู้จักอิ่ม มันไม่รู้จกพอ มันพอไม่เป็น ยิ่งหวนระลึกถึง ยิ่งคำนึงถึง ยิ่งต้องการ ยิ่งแสวงหาทะยานอยาก กระสัน หมายใจฝักใฝ่ ต้องการใคร่ได้ที่จะเสพย์ไม่มีหยุด ไม่มีอิ่ม ไม่มีพอ

สุขทางโลกตระ มันคือ อมตะสุข สุขในการไม่ยึด สุขที่ได้จากการปล่อยวาง สุขโดยความไม่มีใจเข้ายึดครองในสิ่งใด ไม่มีความหมายใจแสวงหาต้องการสิ่งไรๆ ยิ่งหวนระลึกถึง ยิ่งคำนึงถึง ยิ่งอิ่มใจ อิ่มเอม มีความสงบกายสงบใจ ร่มเย็นเป็นสุข ปล่อยวาง ไม่มีใจหมายเข้ายึดครองสิ่งไรๆให้กระสัน เงี่ยน แสวงหาทะยานอยาก เป็นทุกข์
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #201 เมื่อ: มกราคม 27, 2016, 01:22:46 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

โลณกสูตร

             [๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำบาป
ไว้อย่างไรๆ เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ย่อม
ไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วย
อาการใดๆ เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดย
ชอบย่อมปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็ก
น้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรม
เพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแหละ บาปกรรมนั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อย
ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนที่มาก บุคคลเช่นไร ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่
อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพเล็ก
มีปรกติอยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็ก
น้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเช่นไรเล่า ทำ
บาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อย
ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่หาประมาณมิได้ บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้น
เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะ
แต่ส่วนมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในขันใบ
น้อย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในขันเพียงเล็กน้อยนั้น พึง
เค็มดื่มกินไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าใช่
พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
             ภิ. เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย ฉะนั้นน้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะ
ก้อนเกลือนี้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แม่น้ำคงคาพึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้น
หรือไม่ ฯ
             ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
             ภิ. เพราะในแม่น้ำคงคานั้น มีห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น ห้วงน้ำใหญ่นั้นจึง
ไม่เค็ม ดื่มได้ เพราะก้อนเกลือโน้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำ
บาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมเล็กน้อย เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วน
น้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ... ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่ง
กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อย
กหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ตั้งร้อย
กหาปณะ ก็บุคคลเช่นไรเล่า ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำ
เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภค-
*ทรัพย์น้อย บุคคลเช่นนี้ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำ
เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง บุคคลเช่น
ไรเล่า ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์เหลือเฟือ มีโภคะมากมาย บุคคลเช่นนี้
ย่อมไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะ ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็
นำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้น
เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะแต่
ส่วนมาก ฯลฯ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคน
สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา
บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่
ตนปรารถนาได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า สามารถ
ที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ เป็นคนขัดสน มีสิ่ง
ของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่
จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือ
จองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
เหลือเฟือ เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคน
ฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือ
ทำตามที่ตนปรารถนา ความจริงเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น อันคนผู้ประนมมือ
ย่อมจะขอเขาได้ว่า ข้าแต่ท่าน ขอท่านจงให้แกะหรือทรัพย์ที่เป็นมูลค่าของแกะ
แก่ฉันเถิด แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาเข้านรก ส่วนบุคคลบางคน
ในโลกนี้ ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นย่อมให้ผล
ทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ฯลฯ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆ
เขาจะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วน
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ทำกรรมที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ เขาจะ
ต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๕๖๖ - ๖๖๔๖.  หน้าที่  ๒๘๐ - ๒๘๓.
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6566&Z=6646&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=540
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[540] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=20&item=540&Roman=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๐
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_20
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #202 เมื่อ: มกราคม 27, 2016, 10:45:43 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

เกสปุตตสูตร
             [๕๐๕] ๖๖. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะชื่อว่า เกสปุตตะ
พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร
ทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับ ก็กิตติศัพท์อัน
งามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม
พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะใน
ท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปาน-
*นั้น ย่อมเป็นความดีแล ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมมือ
ไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณ
พราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ
แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น
พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม
ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของ
ผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวก
ข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่าน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
กาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่าน
ทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำ
สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้าง
ตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย
ความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้
ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้
เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม
เหล่านั้นเสีย ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น
ประโยชน์ พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิต
อันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อม
ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น
ในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ฯ
             กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิต
อันความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม
ชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่ง
ไม่เป็นประโยชน์ ฯ
             กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิต
อันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อม
ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
             กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
             กา. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
             กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
             กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชน
ทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้
ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้
ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์
เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้ว
นั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือ
ว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่า
นี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้
ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อ
ประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
             กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ
มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
             กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ
ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ฯ
             กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ
มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
             กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
             กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
             กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า ฯ
             พ.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
             กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
             ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้
ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือ
โดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดย
ตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า
ผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้
บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่าน
ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เรา
จึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความ
โลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติ
มั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด
โลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน
ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย
อุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่
เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน
ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง
ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ
ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี
ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่
ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อ
บุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์
จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริย
สาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น
ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริย
สาวกนั้นได้แล้ว ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้
มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้ว
อย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ
             กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต
ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้
ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ






สาฬหสูตร
             [๕๐๖] ๖๗. สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะหลาน
ชายของมิคารเศรษฐี กับนายโรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้ชวนกันเข้า
ไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... สมณะนี้เป็นครูของเรา ดูกร
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญ
ความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภมีอยู่หรือ นายสาฬหะและนายโรหนะรับรองว่า
มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อภิชฌาบุคคลผู้โลภ
มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความโกรธมีอยู่หรือ ฯ
             สา. มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความพยาบาท บุคคล
ผู้ดุร้ายมีจิตพยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคล
ผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความหลงมีอยู่หรือ ฯ
             สา. มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา บุคคลผู้
หลงตกอยู่ในอำนาจอวิชชานี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด
เท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาล
นาน บุคคลผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
             สา. เป็นอกุศล ขอรับ ฯ
             น.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
             สา. มีโทษ ขอรับ ฯ
             น.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
             สา. ท่านผู้รู้ติเตียน ขอรับ ฯ
             น.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
             สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและ
โรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง
มา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่าน
ทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรม
เหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
สิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม
เหล่านี้เสีย ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้
ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายึดถือตามถ้อยคำ
ที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้
ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึง
ธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน ความไม่โลภมีอยู่หรือ ฯ
             สา. มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อนภิชฌาบุคคลผู้ไม่
โลภไม่มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน ความไม่โกรธมีอยู่หรือ ฯ
             สา. มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความไม่พยาบาท
บุคคลผู้ไม่โกรธมีจิตใจไม่พยาบาทนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่
พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้
ไม่โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่หลงมีอยู่หรือ ฯ
             สา. มี ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา  บุคคลผู้ไม่
หลงถึงความรู้แจ้งนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใด
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อม
ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
             สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
             สา. เป็นกุศล ขอรับ ฯ
             น.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
             สา. ไม่มีโทษ ขอรับ ฯ
             น.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
             สา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ ฯ
             น.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข หรือไม่เล่า ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
             สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ขอรับ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
             น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและ
โรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง
มา อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เขาว่า
อย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดย
คาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกัน
กับทิฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความ
นับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้
ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น
ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น
ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรสาฬหะและโรหนะ อริยสาวกนั้นปราศจาก
ความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง
มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็
เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความ
เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วย
กรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑
อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบ
ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ นี้มีอยู่ ธรรมชาติ
ชนิดทรามมีอยู่ ธรรมชาติชนิดประณีตมีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดสังขารทุกข์เสียได้
อย่างสูงมีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีโลภะ ข้อนั้นเป็นการ
ไม่ดี บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะเป็นความดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ...
เมื่อก่อนเรามีโมหะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะ
นั้นเป็นความดี เธอย่อมเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ดับสนิท เยือกเย็น เสวย
สุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2016, 11:18:38 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #203 เมื่อ: มกราคม 28, 2016, 01:01:08 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๕. สัมมัปปธานสังยุต
ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

อาศัย..ศีล..เป็นที่ตั้งแห่ง วิริยะอิทธิบาท ๔ หรือ วิริยะพละ หรือ วิริยินทรีย์ หรือ สัมมัปปธาน ๔ หรือ สัมมาวายามะแห่งมรรค

            [๑๐๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคล
ทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึง
ทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก
ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

             [๑๐๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่
เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง
เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรค
ด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้).


จบ วรรคที่ ๓



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 28, 2016, 01:04:17 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #204 เมื่อ: มกราคม 28, 2016, 02:16:22 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
นันทกสูตร

ศรัทธา ต้องประกอบด้วยศีล เจโตสมาธิ ปัญญา


             [๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระ-
*นันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา ฯ
             ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จ
เข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้น
ทรงทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอมและเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตู
ให้พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูกรนันทกะ
ธรรมบรรยายของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืนรอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้ม
ประตูด้านนอกย่อมเมื่อยหลัง ฯ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกเสียใจ สะดุ้ง
กลัว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่ทราบเกล้าเลยว่า พระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้า
ข้าพระองค์พึงทราบเกล้าว่า พระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกแล้ว
แม้คำประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เลย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบว่า ท่านพระนันทกะเสียใจ จึงตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดีแล้วๆ
นันทกะ ข้อที่เธอทั้งหลายพึงสนทนาด้วยธรรมีกถานี้ สมควรแก่เธอทั้งหลาย
ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ดูกรนันทกะ เธอทั้งหลายผู้
ประชุมกันพึงทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถาหรือดุษณีภาพของพระอริยะ ดูกร
นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์
นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้มี
ศรัทธาและมีศีล เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่า
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ยัง
ไม่ได้เจโตสมาธิในภายใน อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึง
บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
และได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้
เจโตสมาธิในภายใน เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรนันทกะ
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกร
นันทกะ เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า แต่เท้าข้างหนึ่งของมันเสีย
พิการไป อย่างนี้มันชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฉันใด ดูกรนันทกะ
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิในภายใน แต่
ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์
ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึง
มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง ดูกรนันทกะ เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิใน
ภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ฯ
             ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระ-
*นันทกะกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงด้วยบท ๔ แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร ด้วยพระดำรัสว่า ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่
ไม่มีศีล อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น
ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อใดแล
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกร
นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิในภายใน ฯลฯ
อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน
และได้การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอ
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฯ
             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนา
ธรรมตามกาล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุ
ทั้งหลายด้วยประการใดๆ เธอย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพระศาสดานั้นๆ
เป็นที่เคารพสรรเสริญ ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ในการ
ฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการใดๆ เธอ
ย่อมซาบซึ้งอรรถ และซาบซึ้งธรรมในธรรมนั้น ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ
เธอย่อมแทงตลอดบทแห่งอรรถอันลึกซึ้งในธรรมนั้น เห็นด้วยปัญญา ด้วย
ประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรมตามกาล ในการ
สนทนาธรรมตามกาล ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญด้วยประการนั้นๆ ยิ่งขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้
บรรลุ แล้วหรือกำลังบรรลุเป็นแน่ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรม
ตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการใดๆ ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุ
อรหัต ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรม
นั้นแล้ว ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต-
*ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว หลุดพ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมประกอบธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาล ในการ
สนทนาธรรมตามกาล ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ใน
การสนทนาธรรมตามกาล ๕ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๔
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #205 เมื่อ: มกราคม 29, 2016, 06:12:22 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค

๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)

             [๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ -
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต
ด้านทิศอุดรแห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระ
นครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ฯ
             ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้บังเกิดความขวนขวาย เพื่อจะเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงพระดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระ-
*ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรง
เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต ด้านทิศอุดร
แห่งพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนครราชคฤห์
ในแคว้นมคธ ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ดูกรท่าน
ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต
ด้านทิศอุดร แห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีนแห่ง
พระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ถ้ากระไร พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลรับท้าวสักกะจอม
เทพแล้ว ฯ
             ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตรมาตรัสว่า
ดูกรพ่อปัญจสิขะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยก-
*บรรพต ด้านทิศอุดรแห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน
แห่งพระนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ พวกเราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอม
เทพแล้ว ถือเอาพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม คอยตามเสด็จท้าวสักกะจอมเทพ
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพแวดล้อมไปด้วยพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีปัญจสิข-
*คันธรรพบุตรนำเสด็จ ได้หายไปในชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏ ณ เวทิยกบรรพต ด้าน
ทิศอุดรแห่งพราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ อันตั้งอยู่ด้านทิศปราจีน แห่งพระนคร
ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่
เหยียดออกเข้า ฉะนั้น ฯ
             ก็สมัยนั้น เวทิยกบรรพตและพราหมณคามชื่ออัมพสัณฑ์สว่างไสวยิ่งนัก
ด้วยเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย และได้ยินว่าพวกมนุษย์ในหมู่บ้านโดยรอบพา
กันกล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ไฟติดเวทิยกบรรพตเข้าแล้ว วันนี้ไฟไหม้เวทิยกบรรพต
วันนี้ เวทิยกบรรพตไฟลุกโพลง เพราะเหตุไรเล่า วันนี้ เวทิยกบรรพตและ
พราหมณคาม ชื่ออัมพสัณฑ์ จึงสว่างไสวยิ่งนัก มนุษย์พวกนั้นพากันตกใจ ขน
พองสยองเกล้า ฯ
             ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกะปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรพ่อ
ปัญจสิขะ พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้เพ่งฌาน ทรงยินดีในฌาน ในระหว่างนั้น
ทรงเร้นอยู่ อันผู้เช่นเรายากที่จะเข้าเฝ้า ถ้ากระไร พ่อควรจะให้พระผู้มีพระภาค
ทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว ภายหลัง พวก
เราจึงควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ
             ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอมเทพแล้ว จึงถือเอาพิณมีสี
เหลืองดังผลมะตูม เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ครั้นแล้วประมาณดูว่า เพียงนี้ พระ
ผู้มีพระภาคจะประทับอยู่ไม่ไกล ไม่ใกล้เรานัก และจักทรงได้ยินเสียงเรา แล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปัญจสิขคันธรรพบุตรยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ถือพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูมบรรเลงขึ้น และได้กล่าวคาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วย
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม ว่า
             [๒๔๘]    ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้ท้าวติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุ
                          ที่เธอเกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน เหมือนลม
                          เป็นที่ปรารถนาของผู้มีเหงื่อ หรือน้ำดื่มเป็นที่ปรารถนาของผู้
                          ระหาย เธอผู้จำรัสโฉม เป็นที่รักของฉัน คล้ายกันกับธรรม
                          เป็นที่รักของเหล่าพระอรหันต์ฉะนั้น ขอเธอช่วยดับความ
                          เร่าร้อน เหมือนช่วยวางยาคนไข้ผู้กระสับกระส่าย หรือให้
                          โภชนะแก่ผู้หิว หรือดับไฟที่ลุกอยู่ด้วยน้ำ ขอให้ฉันซบลงจด
                          ณ ถันและอุทรของเธอ เหมือนช้างผู้ร้อนจัดในหน้าร้อน หยั่งลง
                          สระโบกขรณี มีน้ำเย็นประกอบด้วยละอองแห่งเกสรดอกปทุม
                          ฉะนั้น ฉันมึนเมาแล้ว เพราะช่วงขาอันสมบูรณ์ด้วยลักษณะ
                          ไม่รู้สึกถึงเหตุการณ์ เหมือนช้างเหลือขอ ไม่ยอมรับรู้แหลน
                          และหอกซัด ด้วยถือว่าตนชนะแล้ว ฉะนั้น ฉันมีใจจดจ่อในเธอ
                          ฉันไม่อาจกลับดวงจิตที่แปรปรวนไปแล้ว เหมือนปลาที่กลืนเบ็ด
                          เสียแล้ว ฉะนั้น นางผู้เจริญ ขอเธอเอาขาซ้ายกระหวัดฉันไว้ ขอ
                          เธอผู้มีดวงตาอันอ่อนหวาน จงกระหวัดฉันไว้ ขอเธอผู้งดงามจง
                          สวมกอดฉัน นั่น เป็นข้อที่ฉันปรารถนายิ่งนัก ความใคร่ของ
                          ฉันในเธอผู้มีผมเป็นลูกคลื่น ถึงจะมีน้อยก็เกิดผลมาก เหมือน
                          ทักษิณาที่ถวายในพระอรหันต์ ฉะนั้น บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้
                          แล้วในพระอรหันต์ผู้คงที่ มีอยู่ ดูกรนางผู้งามทั่วสรรพางค์
                          ขอบุญอันนั้นของฉัน จงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วยเธอ
                          บุญอันใดที่ฉันได้ทำไว้ในปฐพีมณฑลนี้ มีอยู่ ดูกรนางผู้งาม
                          พร้อม ขอบุญอันนั้นของฉันจงอำนวยผลแก่ฉัน พร้อมกับด้วย
                          เธอ ดูกรแม่สุริยวัจฉสา ฉันปรารถนาเธอเหมือนพระศากย-
                          *บุตรพุทธเจ้า ทรงเข้าฌานอยู่พระองค์เดียว มีพระปัญญารักษา
                          พระองค์ ทรงมีพระสติ เป็นมุนี ทรงแสวงหาอมตะ พระผู้-
                          *จอมปราชญ์ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว พึงชื่นชม
                          ฉันใด เธอผู้งดงาม ถ้าฉันได้อยู่ร่วมกับเธอ ก็จะพึงชื่นชม
                          ฉันนั้น ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นอิสระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จะ
                          ประทานพรแก่ฉันไซร้ ฉันจะพึงเลือกเอาเธอเป็นแท้ ความ
                          อยากได้ของฉันมั่นคงถึงเพียงนี้ ดูกรแม่ผู้เฉลียวฉลาด ท่าน
                          ผู้ใดมีธิดาเช่นนี้ ฉันขอน้อมไหว้ท่านผู้นั้น ซึ่งเป็นบิดาของเธอ
                          ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์เผล็ดดอกไม่นาน ฉะนั้น ฯ
             [๒๔๙] เมื่อปัญจสิขคันธรรพบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกะปัญจสิขคันธรรพบุตรว่า ดูกรปัญจสิขะ เสียงสายของท่านเทียบได้กับ
เสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับของท่านเทียบได้กับเสียงสาย ก็เสียงสายของ
ท่าน ไม่เกินเสียงเพลงขับ และเสียงเพลงขับ ไม่เกินเสียงสาย ก็คาถาเหล่านี้
อันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์และกาม ท่าน
ประพันธ์ขึ้นเมื่อไร ฯ
             ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประพันธ์
ขึ้นเมื่อสมัยที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธ แทบ
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ก็สมัยนั้น ข้าพระองค์ได้รักใคร่ธิดาของ
ท้าวติมพรุคันธรรพราชผู้มีนามว่า ภัททาสุริยวัจฉสา แต่นางรักใคร่กับผู้อื่นเสีย
คือรักใคร่บุตรของมาตลีสังคาหกเทวบุตร นามว่า สิขัณฑิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้
นางนั้นโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงถือเอาพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม เข้า
ไปยังนิเวศน์ของท้าวติมพรุคันธรรพราช ครั้นแล้วจึงถือพิณมีสีเหลืองดังผลมะตูม
บรรเลงขึ้น และได้กล่าวคาถาเหล่านี้ อันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกามว่า
                          ดูกรแม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอไหว้เท้าติมพรุบิดาเธอ โดยเหตุ
                          ที่เธอเกิดเป็นนางงาม ปลูกความปลื้มให้แก่ฉัน ฯลฯ ดูกรแม่
                          ผู้เฉลียวฉลาด ท่านผู้ใดมีธิดาเช่นนี้ ฉันขอน้อมไหว้ท่านผู้นั้น
                          ซึ่งเป็นบิดาของเธอ ซึ่งเป็นประดุจสาลพฤกษ์เผล็ดดอกไม่นาน
                          ฉะนั้น ฯ
             [๒๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นาง
ภัททาสุริยวัจฉสา ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ฉันมิได้เห็น
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นในที่เฉพาะพระพักตร์เลย เป็นแต่ฉันเคยได้ยินเมื่อ
เข้าไปฟ้อนในสุธรรมาสภาของเทวดาชั้นดาวดึงส์เท่านั้น เมื่อท่านแสดงพระผู้มี-
*พระภาคพระองค์นั้นได้แล้ว วันนี้จงมาร่วมสมาคมกับพวกเราเถิด ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ได้ร่วมสมาคมกับนางนั้น หลังจากนั้น ข้าพระองค์มิได้พูด ฯ
             ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงพระดำริว่า ปัญจสิขคันธรรพบุตร
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคก็ทรงปราศรัยกับปัญจสิขคัน-
*ธรรพบุตร ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพบุตรมาตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อ
จงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ
จอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ปัญจสิขคันธรรพบุตรทูลรับท้าวสักกะจอมเทพแล้วถวายบังคม
พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ
พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วย
อำมาตย์และบริษัท จงมีความสุขอย่างนั้นเถิด เพราะว่าพวกเทวดา มนุษย์ อสูร
นาค คนธรรพ์ และชนเป็นอันมากเหล่าอื่นใด ซึ่งปรารถนาสุขมีอยู่ ฯ
             [๒๕๑] ก็พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสประทานพรเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่
เห็นปานนั้นอย่างนี้แล ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคตรัสประทานพร
แล้ว เสด็จเข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ของพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็เข้าไปยัง
ถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ถึงปัญจสิขคันธรรพบุตร ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สมัยนั้น ถ้ำอินทสาละ ซึ่งมีพื้นไม่สม่ำเสมอ
ก็สม่ำเสมอ ซึ่งคับแคบ ก็กว้างขวางขึ้น ความมืดในถ้ำหายไป ความสว่างเกิด
ขึ้น ด้วยเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ฯ
             [๒๕๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า นี้
เป็นของน่าอัศจรรย์ของท่านท้าวโกสีย์ นี้เป็นเหตุไม่เคยมีของท่านท้าวโกสีย์ คือ
การที่พระองค์ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมากเสด็จมาในที่นี้ ฯ
             ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะ
มาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคตั้งแต่นานมาแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจกรณียะบาง
อย่างของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงมิสามารถมาเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สลฬาคาร ในพระนคร
สาวัตถี ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไปยังพระนครสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แต่สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิบางอย่าง นางปริจาริกาของ
ท้าวเวสวัณมหาราช นามว่า ภุชคี เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค นางยืน
ประนมมือนมัสการอยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางภุชคีว่า ดูกรน้องหญิง ขอท่าน
จงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำขอของเราว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วย
อำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อ
ข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางภุชคีได้ตอบข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
มิใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นเสียแล้ว ข้าพระองค์
จึงสั่งไว้ว่า ดูกรน้องหญิง ถ้าอย่างนั้นเมื่อใด พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธิ
แล้ว เมื่อนั้น ท่านจงกราบบังคมพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ท้าวสักกะ
จอมเทพ พร้อมด้วยอำมาตย์และบริษัท ขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้องหญิงนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
ตามคำของข้าพระองค์แลหรือ พระผู้มีพระภาคยังทรงระลึกถึงคำของน้องหญิงนั้น
ได้อยู่หรือ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรจอมเทพ น้องหญิงนั้น ไหว้อาตมภาพ
แล้ว อาตมภาพระลึกได้ถึงคำของน้องหญิงนั้น และอาตมภาพออกจากสมาธิ
เพราะเสียงกงรถของพระองค์ ฯ
             ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดที่เข้าถึง
หมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ก่อนพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมา ได้รับมาต่อหน้า
เทวดาเหล่านั้นว่า เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จ
อุบัติในโลก เมื่อนั้น ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ข้อนี้
ข้าพระองค์ได้เห็นพยานแล้วว่า เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
อุบัติในโลก ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ฯ
             ในเมืองกบิลพัสดุ์ นี้เอง ได้มีศากยธิดานามว่า โคปิกา เป็นคนเลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ นางคลายจิตในความ
เป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ
ข้าพระองค์ พวกเทวดาในดาวดึงส์นั้น รู้จักเธออย่างนี้ว่า โคปกเทวบุตรๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุอื่นสามรูป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึง
หมู่คนธรรพ์อันต่ำ คนธรรพ์พวกนั้นเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ มา
สู่ที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ โคปกเทวบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์พวกนั้นผู้มาสู่ที่
บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เอาหน้าไปไว้ที่ไหน พวกท่าน
รวบรวมพระธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ เราเป็นแต่สตรี เลื่อมใสใน
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ คลายจิตในความเป็น
สตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของท้าวสักกะ
จอมเทพ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตรๆ ส่วนพวกท่าน
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ พวกเราได้เห็น
สหธรรมิกที่เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูแล้ว ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อคนธรรพ์พวกนั้นถูกโคปกเทวบุตรตักเตือนแล้ว เทวดาสององค์กลับ
ได้สติในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนเทวดาองค์หนึ่ง
คงตกอยู่ในกามภพ ฯ
             [๒๕๓]    เราเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ นามของเราได้ปรากฏ
                          ว่า โคปิกา เราเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธเจ้า พระธรรม
                          และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์ เพราะความที่พระธรรมของ
                          พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแหละ เป็นธรรมดี เราได้เป็นบุตร
                          ท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึง
                          ชั้นไตรทิพย์ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตร
                          เราได้มาเห็นพวกภิกษุที่เป็นสาวกของพระโคดม ซึ่งเคยเห็นมา
                          แล้ว ครั้งที่เรายังเป็นมนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ สงเคราะห์
                          ด้วยการล้างเท้าและทาเท้าให้ในเรือนของตน มาเข้าถึงหมู่คน
                          ธรรพ์ อยู่ในหมู่คนธรรพ์ ท่านพวกนี้เอาหน้าไปไว้ไหน จึง
                          ไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตัว
                          อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงดีแล้ว แม้
                          เราก็เข้าไปหาพวกท่าน ได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะทั้งหลาย
                          เราได้เป็นบุตรท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่-
                          *หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์ ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้
                          พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้
                          ยอดเยี่ยม ยังมาเข้าถึงกายอันต่ำ การอุปบัติของพวกท่านไม่
                          สมควร เราได้มาเห็นสหธรรมิกเข้าถึงกายอันต่ำ นับว่าได้เห็น
                          รูปที่ไม่น่าดูแล้ว พวกท่านผู้เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ ต้องมาสู่ที่
                          บำเรอของพวกเทวดา ขอให้ท่านดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่
                          ในเรือนเถิด เราเป็นสตรี วันนี้เป็นเทวบุตร ผู้พร้อมพรั่งไป
                          ด้วยกามอันเป็นทิพย์ คนธรรพ์พวกนั้นมาพบโคปกเทวบุตร
                          อันโคปกเทวบุตร ผู้สาวกพระโคดมตักเตือนแล้ว ถึงความ
                          สลดใจ คิดว่า เอาเถิด พวกเราจะพากเพียรพยายาม พวก
                          เราจะไม่เป็นคนใช้ของผู้อื่น บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คน
                          ธรรพ์ ๒ คน ระลึกถึงคำสอนพระโคดมแล้ว ปรารภความ
                          เพียร คลายจิตในภพนี้ ได้เห็นโทษในกามแล้ว ตัดกาม
                          สังโยชน์ และเครื่องผูก คือกามอันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งยาก
                          ที่จะล่วงไปได้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะ
                          ตัดเสียได้ ซึ่งกามคุณอันมีอยู่ ประดุจช้างตัดบ่วงบาสได้
                          ฉะนั้น เทวดาทั้งหมด พร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งท้าว
                          ปชาบดี เข้าไปนั่งประชุมกันในสภา ชื่อ สุธรรมา ล้วนเป็น
                          ผู้แกล้วกล้า ปราศจากราคะ บำเพ็ญวิรชธรรมอยู่ ก็หาก้าว
                          ล่วงเทวดาพวกนั้นไม่ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่ยิ่งของเทวดา ทรง
                          เห็นเทวดาเหล่านั้นในท่ามกลางหมู่เทวดาแล้ว ได้ทรงสลด
                          พระทัยว่า ก็เทวดาเหล่านี้เข้าถึงกายอันต่ำ บัดนี้ กลับก้าวล่วง
                          พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อท้าวสักกะเกิดสลดพระทัย เพราะ
                          ทรงพิจารณาเทวดาเหล่านั้น โคปกเทวบุตรได้ทูลท้าววาสพว่า
                          พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน มีอยู่ในมนุษยโลก ทรงครอบงำกาม
                          เสียได้ ปรากฏพระนามว่า พระศากยมุนี เทวดาพวกนั้นเป็น
                          บุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เว้นจากสติแล้ว อัน
                          ข้าพระองค์ตักเตือน กลับได้สติ บรรดาท่านทั้ง ๓ นั้น ท่าน
                          ผู้หนึ่ง คงเข้าถึงกายคนธรรพ์อยู่ในภพนี้ อีก ๒ ท่านดำเนิน
                          ตามทางตรัสรู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเย้ยพวกเทวดาก็ได้
                          การประกาศธรรมในพระวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ บรรดาพระสาวก
                          มิได้มีสาวกรูปไรสงสัยอะไรเลย เราทั้งหลายขอนอบน้อม
                          พระชินพุทธเจ้าผู้เป็นจอมชน ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงตัด
                          ความสงสัยได้แล้ว บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คนธรรพ์ ๒ คน
                          นั้น รู้ธรรมอันใดของพระองค์แล้ว ถึงความเป็นผู้วิเศษ เข้า
                          ถึงกายอันเป็นชั้นพรหมปุโรหิต บรรลุคุณวิเศษแล้ว ข้าแต่
                          พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานพระวโรกาส ถึงพวกข้าพระองค์
                          ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น หากพระองค์ทรงกระทำโอกาสแล้ว จะ
                          ขอทูลถามปัญหา ฯ
             [๒๕๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้-
*บริสุทธิ์สิ้นเวลานาน จักตรัสถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งกะเรา ท้าวเธอจักถามปัญหา
นั้นทุกข้อ ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่ถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
อนึ่ง เราอันท้าวเธอตรัสถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความใด ท้าวเธอจักทรงทราบ
ข้อความนั้นได้พลันทีเดียว ฯ
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพด้วยพระคาถาว่า
                          ดูกรท้าววาสพ พระองค์ปรารถนาไว้ในพระทัย เพื่อจะตรัสถาม
                          ปัญหาข้อไร ก็จงตรัสถามปัญหาข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพ
                          จะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่พระองค์ ฯ
จบ ภาณวารที่หนึ่ง
             [๒๕๕] ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระผู้มีพระภาคทรงให้โอกาสแล้ว ได้
ทูลถามปัญหาข้อแรกกะพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก
เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง
ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความ
พยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามี
ความปรารถนาอยู่ดังนี้ ก็ไฉน เขายังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท
ยังจองเวรกันอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ
             พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า
ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยาและ
ความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพันใจไว้ อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็น
ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น
ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค
อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
*ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า
อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
             [๒๕๖] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ในปัญหาพยากรณ์ข้อแรกดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไป
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่ มีอะไรเป็นเหตุ มี
อะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความริษยา
และความตระหนี่จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี ฯ
             ภ. ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่มีอารมณ์เป็นที่รักและ
อารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด อันเป็นแดนเกิด เมื่อ
อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่
จึงมี เมื่ออารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความ
ตระหนี่จึงไม่มี ฯ
             ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็น
ที่รัก มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
เมื่ออะไรมี อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่ออะไรไม่มี
อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ
             ดูกรจอมเทพ อารมณ์อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก มีความพอ
ใจเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อความพอใจมี อารมณ์
อันเป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี อารมณ์อันเป็น
ที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี ฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี เมื่ออะไร
ไม่มี ความพอใจจึงไม่มี ฯ
             ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด
เป็นแดนเกิด เมื่อความตรึกมี ความพอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจ
จึงไม่มี ฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี
ความตรึกจึงไม่มี ฯ
             ดูกรจอมเทพ ความตรึกมีส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
เป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นกำเนิด เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบ
ด้วยปปัญจธรรมมี ความตรึกจึงมี เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม
ไม่มี ความตรึกจึงไม่มี ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2016, 06:33:30 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #206 เมื่อ: มกราคม 29, 2016, 06:17:47 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
            [๒๕๗] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า
ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญา อันประกอบด้วย
ปปัญจธรรม ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควร
เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
เสพก็มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดูกร
จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
เสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น
บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อม โสมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโสมนัสอันใด
ว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โสมนัสเห็น
ปานนั้น ควรเสพ ในโสมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโสมนัสอันใดมีวิตก มีวิจาร อันใด
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่
ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโสมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในโทมนัสทั้ง ๒
นั้น บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อม โทมนัสเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบโทมนัสอันใดว่า
เมื่อเราเสพโทมนัสนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น โทมนัสเห็นปานนั้น
ควรเสพ ในโทมนัสทั้ง ๒ นั้น ถ้าโทมนัสอันใด มีวิตก มีวิจาร อันใด ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า ดูกร-
*จอมเทพ อาตมภาพกล่าวโทมนัส โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
เสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงโทมนัสดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขา
ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรม
เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบอุเบกขา
อันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขา
เห็นปานนี้ ควรเสพ ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตก มีวิจาร
อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจาร ประ-
*ณีตกว่า ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่า ดำเนินปฏิปทาอันสมควรที่จะให้ถึง
ความดับแห่งส่วนสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ฯ
             พระผู้มีพระภาคอันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์
ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             ท้าวสักกะจอมเทพทรงดีพระทัย ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
*ภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่า
อย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
             [๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระ-
*ภาคในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น
ไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ
ความสำรวมในปาติโมกข์ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี วจีสมาจารก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ
ก็มี และการแสวงหาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน
กายสมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมา-
*จารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม
กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ
กล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล
ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจี-
*สมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้
อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม วจีสมาจารเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคล
พึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรม
เจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมา-
*จารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึง
วจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ใน
การแสวงหาทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวง
หานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อม
กุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ ควรเสพ ดูกรจอมเทพ อาตมภาพ
กล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล
ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ ฯ
             [๒๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ
แล้วเพื่อความสำรวมอินทรีย์ ฯ
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาโดยแยกเป็น ๒
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยก
เป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก
โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวธรรม
ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต
ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา
เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา
เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด
อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาเห็นปานนี้
ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
เห็นปานใด ... เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ... เมื่อ
บุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพธรรมที่
จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมที่
จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานนี้ ควรเสพ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบ
เนื้อความแห่งภาษิตที่ตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการ
พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
             [๒๖๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี
พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค
ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียว
กัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็น
อย่างเดียวกัน หรือหนอ ฯ
             ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีล
เป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน
หามิได้ ฯ
             ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน
ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็น
อย่างเดียวกัน ฯ
             โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุ
ต่างกันนั้น สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและ
ความยึดถือ กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์
ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะ
เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ... ฯ
             [๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดมีความสำเร็จ
ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
หรือหนอ ฯ
             ดูกรจอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ
เกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน หามิได้ ฯ
             ก็เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน
ไม่มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
             ภิกษุเหล่าใดน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้น มีความ
สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุด
ล่วงส่วน เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จล่วงส่วน ไม่มี
ความเกษมจากโยคะล่วงส่วน ไม่มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน ไม่มีที่สุดล่วงส่วน ฯ
             [๒๖๒] ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ พระผู้มี
พระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ตัณหาเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ไป
เพื่อบังเกิดในภพนั้นๆ เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ย่อมถึงอาการขึ้นๆ ลงๆ ปัญหา
เหล่าใด ที่ข้าพระองค์ไม่ได้แม้ซึ่งการกระทำโอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นนอก
พระธรรมวินัยนี้ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นกาลไกล โปรด
พยากรณ์แก่ข้าพระองค์แล้ว และลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงของข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคทรงถอนขึ้นแล้ว ฯ
             ดูกรจอมเทพ พระองค์ยังทรงจำได้หรือว่า เคยตรัสถามปัญหาเหล่านี้กะ
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ว่า เคยถามปัญหาเหล่านี้กะ
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ฯ
             ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้าพระองค์ไม่หนักพระทัย
ขอให้ตรัสบอกเถิด ฯ
             ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจ ในสถานที่พระองค์ และท่านที่เป็นอย่าง
พระองค์ประทับนั่งอยู่แล้ว ฯ
             ถ้าเช่นนั้น จงตรัสบอกเถิด ฯ
             ข้าพระองค์เข้าใจสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นสมณพราหมณ์ผู้อยู่ป่า
มีเสนาสนะอันสงัดแล้ว ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหา
เหล่านี้ ท่านเหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาแล้ว ย่อมไม่สบายใจ เมื่อไม่สบาย
ใจ กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร ข้าพระองค์ถูกท่านเหล่านั้นถามแล้ว
จึงตอบว่า ข้าพเจ้าคือท้าวสักกะจอมเทพ ท่านเหล่านั้นยังสอบถามข้าพระองค์
ต่อไปว่า ท่านกระทำกรรมอะไรจึงลุถึงฐานะอันนี้ ข้าพระองค์จึงได้แสดงธรรม
ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา แก่ท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นดีใจด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ว่า พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตอบปัญหาที่พวกเรา
ได้ถามแล้วเป็นของแน่นอน ท่านเหล่านั้นกลับเป็นผู้รับฟังข้าพระองค์ แต่
ข้าพระองค์หาได้เป็นผู้รับฟังท่านเหล่านั้นไม่ ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์
ชั้นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า ฯ
             พระองค์ยังทรงจำได้หรือ ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส
เห็นปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ
             ข้าพระองค์ยังจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น
ปานนี้ ก่อนแต่นี้ ฯ
             พระองค์ยังทรงจำได้ถึงการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็น
ปานนี้ ก่อนแต่นี้ อย่างไรเล่า ฯ
             [๒๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดา
และอสูรได้ประชิดกันแล้ว ก็ในสงครามคราวนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้
เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามนั้นแล้ว ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเทวดาใน
เทวโลกนี้จักบริโภคโอชาทั้งสอง คือ ทิพย์โอชา และอสุรโอชา การได้รับความ
ยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์นั้น ประกอบไปด้วยทางมาแห่งอาชญา
ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาย
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน
ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟัง
ธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ฯ
             ดูกรจอมเทพ ก็พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไรเล่า จึงทรง
ประกาศ การได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้รับ
ความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๔] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หนึ่งอย่างนี้ว่า
                          เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดำรงอยู่ในภพดาวดึงส์นี้ เรากลับ
                          ได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงทรงทราบ
                          อย่างนี้เถิด ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๕] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สองอย่างนี้ว่า
                          เราจุติจากทิพยกายแล้ว ละอายุอันมิใช่ของมนุษย์แล้ว
                          เป็นผู้ไม่หลง จักเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลอันเป็นที่พอใจของเรา
                          ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๖] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สามอย่างนี้ว่า
                          เรานั้น ยินดีแล้ว ในศาสนา ของท่าน ที่มิได้หลง ปัญหา
                          เรามีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง จักอยู่โดยธรรม ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๗] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่สี่อย่างนี้ว่า
                          ถ้าความตรัสรู้จักมีแก่เราในภายหน้า โดยธรรมไซร้
                          เราจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงอยู่ นั่นแหละ จักเป็นที่สุดของเรา ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๘] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ห้าอย่างนี้ว่า
                          หากเราจุติจากกายมนุษย์แล้ว ละอายุอันเป็นของ
                          มนุษย์แล้ว จักกลับเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก
                          ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๖๙] ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ประการที่หกอย่างนี้ว่า
                          พวกเทวดาชั้นอกนิฏฐาเหล่านั้นเป็นผู้ประณีตกว่า มียศ
                          เมื่อภพที่สุดเป็นไปอยู่ นิวาสนั้นจักเป็นของเรา ดังนี้
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ หกประการนี้แล
จึงประกาศการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัส เห็นปานนี้ ฯ
             [๒๗๐] ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด ยังมีความสงสัย
เคลือบแคลง เที่ยวเสาะแสวงหาพระตถาคตอยู่ตลอดกาลนาน
             ข้าพระองค์สำคัญสมณะเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้มีปรกติอยู่เงียบสงัด
เข้าใจว่าเป็นพระสัมพุทธเจ้า ได้เข้าไปหาสมณะเหล่านั้น ท่าน
เหล่านั้นถูกข้าพระองค์ถามว่า ความพอใจเป็นอย่างไร ความ
ไม่พอใจเป็นอย่างไร ก็หาชี้แจงในมรรคและข้อปฏิบัติไม่
ในเวลาที่ท่านเหล่านั้นรู้ข้าพระองค์ว่า เป็นสักกะมาจากเทวโลก
จึงถามข้าพระองค์ทีเดียวว่า ท่านทำอะไรจึงได้ลุถึงฐานะนี้
             ข้าพระองค์จึงแสดงธรรมตามที่ฟังมา แก่ท่านเหล่านั้น ให้ปรากฏ
ในหมู่ชน ท่านเหล่านั้นมีความพอใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
             พวกเราได้เห็นท้าววาสวะแล้ว ในเวลาใด ข้าพระองค์ได้เห็น
พระสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ในเวลานั้น
             ข้าพระองค์เป็นผู้ปราศจากความกลัว วันนี้ ได้เข้ามานั่งใกล้
พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
กำจัดเสียได้ซึ่งลูกศรคือตัณหา ซึ่งหาบุคคลเปรียบมิได้เป็น มหา-
*วีระ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์กับพวกเทวดากระทำความนอบ-
*น้อมอันใดแก่พรหม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถวาย
ความนอบน้อมนั้นแด่พระองค์ ข้าพระองค์ขอทำความนอบน้อม
แด่พระองค์ด้วยตนเอง พระองค์ผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้พระนิพพาน
             พระองค์เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยมในโลกกับทั้งเทวโลก จะหา
บุคคลเปรียบพระองค์มิได้ ฯ
             [๒๗๑] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสเรียกปัญจสิขคันธรรพ-
*บุตรมาแล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ด้วยเหตุที่พ่อ
ให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอพระหฤทัยก่อนแล้ว
ภายหลังพวกเราจึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เราจักตั้งพ่อไว้ในตำแหน่งแทนบิดา พ่อจักเป็นราชาแห่งคนธรรพ์ และเราจะให้
นางภัททาสุริยวัจฉสาแก่พ่อ เพราะว่า นางนั้น พ่อปรารถนายิ่งนัก ฯ
             ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน
๓ ครั้งว่า
                          ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-
                          *องค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
                          *เจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
                          *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
             [๒๗๒] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม
อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิด
ขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น ปัญหาที่เชื้อเชิญให้ถามที่ท้าวสักกะจอมเทพทูล
ถามนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว ด้วยประการดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า
สักกปัญหา จึงเป็นชื่อของไวยากรณ์ภาษิตนี้ ฉะนี้แล ฯ


จบสักกปัญหสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2016, 06:34:05 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #207 เมื่อ: มกราคม 30, 2016, 02:52:25 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อวิชชาสูตรที่ ๑

             [๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึง
ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง
จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ดูกรภิกษุ
เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯ

จบสูตรที่ ๖


อวิชชาสูตรที่ ๒
             [๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง
ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา
ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ
อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละ
อวิชชาได้  วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม
ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น คือ
เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ
เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น
ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชา
จึงเกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2016, 02:55:36 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #208 เมื่อ: มกราคม 30, 2016, 03:00:15 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คิลานวรรคที่ ๓
คิลานสูตรที่ ๑
             [๘๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น มีภิกษุรูปหนึ่ง
เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดู
เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่า
ภิกษุใหม่ และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่าเป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จ
เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว
ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย
ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่ง
บนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามภิกษุนั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลด
น้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก ไม่ลดน้อยไปเลย ความกำเริบปรากฏ
ความทุเลาไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเดือดร้อนไรๆ หรือ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อน
ไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ติเตียนตนเองโดยศีลบ้างหรือ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย
พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมี
ความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิ
ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่แสดงแล้ว
เพื่อคลายจากราคะ ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีความคลาย
จากราคะเป็นความมุ่งหมาย ฯ
             [๘๙] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
             พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชมยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรม
จักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๑

คิลานสูตรที่ ๒
             [๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน-
*โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิด
พระเจ้าข้า ฯ
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด
ว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะ
ที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน
อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ
เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ
ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่
ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะ
มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ
             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทา-
*ปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ
             [๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
             พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า  นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต
ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #209 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 12:11:20 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ "พุทโธ"
พุทโธ พุทธะ พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พุทโธ พุทธะ พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้แจ้งเห็นจริงในตัวสมมติของปลอมและของจริง ผู้ตื่นจากสมมติของปลอม ผู้เบิกบานหลุดพ้นจากสมมติของปลอมทั้งปวง

หลวงปู่บุญกู้เทศนาสั่งสอน วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (รวมโดยย่อว่า)

พุทโธ พุทธะ พระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ เป็นผู้รู้แจ้งโลก ผู้รู้แจ้งสังขารทั้งปวง
    ธรรมชาติของปุถุชนคนเรานี้ก็มีจิตเป็นผู้รู้ แต่มันรู้เพียงสมมติของปลอม มันปรุงไปรู้อดีตบ้าง ปรุงไปรู้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงบ้าง สมมติไปอดีต อนาคต ไม่รู้ตัว ไม่รู้ปัจุุบันขณะ ไม่รู้ของจริงเลย
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก จึงทรงตรัสสอนให้เราได้เป็นผู้รู้จักตัวสมมติของปลอม กับ ของจริง(ยถาภูญาณทัสสะ, สัมมาทิฐิ, อริยะสัจ๔) พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้เราถึงซึ่งความเป็นผู้ตื่นจากสมมติของปลอม เพียรเพื่อดับสิ้นถึงความลุ่มหลงสมมติของปลอมนั้น(อริยะมรรค ๘, โพชฌงค์ ๗, นิพพิทา, วิราคะ) และ เป็นผู้เบิกบานหลุดพ้นแล้วจากความลุ่มหลงสมมติทั้งปวงตามพระองค์(นิโรธ, วิมุตติ)
     พระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดาได้ทรงสอนให้เราอยู่กับปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน เห็นปัจจุบัน แจ่มแจ้งในปัจจุบัน มีศีล ทาน ภาวนาเครื่องกุศล อินทรีย์สังวรณ์ มีสีลสังวรณ์ ภาวนาเป็นปัจจุบัน ไม่หลงไปกับสัญญาอกุศลธรรมอันลามก ไม่หลงไปกับสมมติกิเลสของปลอมที่สร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงเสพย์หลงยึดว่าจริง ไม่ติดความคิดสมมติไปอดีตบ้างหรืออนาคตบ้าง คำสอนและกรรมฐานทั้งปวงของพระพุทธเจ้าจึงเป็นปัจจุบัน มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น

โดยส่วนตัวของเราแล้วจากที่มีบุญมีโอกาสได้หลวงปู่บุญกู้และครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ทั้งหลายสั่งสอนกรรมฐาน ศีล ทาน ภาวนา โดยตรงได้เข้าถึง พุทโธ มาบ้างแล้วแม้เล็กน้อยก็ตาม ตามคำครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เมตตาและกรุณาชี้แนะสั่งสอน เราจึงได้เห็นตรงตามที่หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ผู้เป็นครูของเรานั้น โดยไม่ผิดเพี้ยน เป็นที่ตื้นตันอิ่มใจว่าเราเห็นไม่ผิดทาง ปฏิบัติมาไม่ผิดทาง ด้วยเราเห็นดังนี้ว่า...

ก. พุทโธ คือ ผู้รู้ปัจจุบัน

ข. พุทโธ คือ ปัจจุบัน

ค. การทำพุทโธให้เป็นปัจจุบันโดยกรรมฐาน คือ อานาปานสติ+พุทธานุสสติ ว่าด้วยพุทโธนั่นเอง

- เมื่อหายใจเข้าก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า ระลึกหน่วงนึกตรึกถึงความเป็นผู้รู้แจ้งโลกแจ้งชัดในปัจจุบันไม่หลงตามตัวสมมติของปลอม ตื่นจากสมมติถึงความเบิกบานแล้วหลุดพ้นจากสมมติของปลอมกิเลสเครื่องเศร้าหมองที่เผากายใจเรานี้ บริกรรมว่า "พุท"
(การรู้ว่าตนกำลังหายใจเข้า รู้ว่าหายใจเข้าสั้นหรือยาว คือ ปัจจุบันขณะที่เกิดมีขึ้น มีคำบริกรรมว่า "พุท" อันจิตเราตรึกหน่วงนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าผู้รู็แจ้งโลกอยู่นั้น กำกับอยู่เป็นผู้รู้คู่กับจิต ให้จิตเรารู้แจ้งมีกำลังรู้ปัจจุบันไม่สัดส่ายหลงตามสมมติกิเลสของปลอม)

- เมื่อหายใจออกก็รู้ชัดว่าหายใจเข้า ระลึกหน่วงนึกตรึกถึงความเป็นผู้รู้แจ้งโลกแจ้งชัดในปัจจุบันไม่หลงตามตัวสมมติของปลอม ตื่นจากสมมติถึงความเบิกบานแล้วหลุดพ้นจากสมมติของปลอมกิเลสเครื่องเศร้าหมองที่เผากายใจเรานี้ บริกรรมว่า "โธ"
(การรู้ว่าตนกำลังหายใจออก รู้ว่าหายใจออกสั้นหรือยาว คือ  ปัจจุบันขณะที่เกิดมีขึ้น มีคำบริกรรมว่า "โธ" อันจิตเราตรึกหน่วงนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าผู้รู็แจ้งโลกอยู่นั้น กำกับอยู่เป็นผู้รู้คู่กับจิต ให้จิตเรารู้แจ้งมีกำลังรู้ปัจจุบันไม่สัดส่ายหลงตามสมมติกิเลสของปลอม)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 12, 2024, 07:42:34 PM