เมษายน 19, 2024, 10:54:39 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407774 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #255 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2016, 05:51:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
36-พระกุณฑธานเถระ
เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง

พระกุณฑธาน เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมือง สาวัตถี มีชื่อว่า “ธานะ” ศึกษาศิลปะ
วิทยาจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ท่านครองชีวิตฆราวาสอยู่จนย่างเข้าสู่วัยชรา
วันหนึ่ง ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส
กราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาทรงประทานการอุปสมบทให้ตาม
ประสงค์

มีหญิงสาวตามทุกย่างก้าว
เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่ว่าท่านจะอยู่ในกุฏิที่พักของตน หรือไปในที่อื่น ๆ
แม้แต่เวลาที่ท่านออกบิณฑบาตตามหมู่บ้านก็ตามที จะมีหญิงสาวรูปร่างสวยงามเดินตามเป็นเงา
ตามตัวท่านอยู่ตลอดเวลา สำหรับท่านเองนั้นมองไม่เห็น แต่คนอื่น ๆ ทั่วไปจะเห็นกันอย่างชัด
เจน เมื่อท่านเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ประชาชนที่ใส่บาตรก็จะพากันพูดว่า “ส่วนนี้เป็นของ
ท่าน อีกส่วนหนึ่งนี้เป็นของหญิงสหายที่ติดตามท่าน” เวลาที่ท่านอยู่ในวัดก็จะถูกเพื่อนสหาย
ธรรมิกพูดจาเสียดสีท่านว่า “คนกุณฑะ” ซึ่งหมายถึงคนชั่วช้า ดังนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า “กุณฑธา
นะ"
พระกุณฑธานะ ตัวท่านเองไม่เห็น และไม่ทราบเลยว่ามีหญิงสาวติดตามท่านอยู่เสมอ
เมื่อท่านได้ฟังประชาชนที่ใส่บาตรพูดกันว่า “ส่วนนี้เป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งนี้เป็นของหญิง
สหายที่ติดตามท่าน” และการที่เพื่อน ๆ สหธรรมิกพูดจาเสียดสีว่าท่านเป็นคนชั่วช้านั้น ทำให้
ท่านเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ ท่านจึงพูดโต้ตอบขึ้นด้วยถ้อยคำรุนแรง จนเป็นเหตุให้ทะเลาะ
กัน


พระบรมศาสดาทรงทราบความรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้าแล้วตรัสเตือนท่านว่า:-

ดูก่อนธานะ กรรมเก่าของเธอยังชดใช้ไม่หมดไฉนเธอจึงสร้างกรรมใหม่อีก

จากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่ากรรมเก่าในอดีตให้ท่านฟัง

กรรมเก่าของท่าน

ในอดีตกาล ครั้งที่พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านธานะเกิดเป็นภุมเทวดา (เทวดา
ที่สิงสถิตตามภาคพื้นดิน) เห็นพระภิกษุ ๒ รูป มีความรักใคร่และสามัคคีกันอย่างมาก ไม่ว่าจะ
ไปที่ไหน ๆ ทั้งสองมักจะไปด้วยกันเสมอ จึงคิดที่จะทดลองใจท่านทั้งสองดูว่า จะชอบพอกัน
มั่นคงเพียงไหน มีอะไรที่จะทำให้ท่านแตกแยกกันได้หรือไม่ เทวดาจึงรอโอกาสอยู่จนถึงวัน
อุโบสถวันหนึ่ง เห็นท่านทั้งสองเดินทางมาเพื่อร่วมทำอุโบสถสังฆกรรม ณ อารามแห่งหนึ่ง ใน
ระหว่างทางพระรูปหนึ่งขอโอกาสเข้าไปถ่ายอุจจาระในป่าข้างทาง ส่วนอีกรูปหนึ่งรอคอยอยู่
ข้างนอก ภุมเทวดาเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อพระรูปที่เข้าไปถ่ายอุจจาระในป่าเดินกลับออกมา จึง
แปลงร่างเป็นหญิงสาวสวยเดินตามหลังท่านออกมาจากป่าด้วย พร้อมกับแสดงกิริยาอาการ
เหมือนกับว่าเพิ่งผ่านการสำเร็จกามกิจกับท่านมา มีการจัดผ้านุ่งและจัดผม เป็นต้น ส่วนตัวพระ
รูปนั้นไม่รู้ไม่เห็นเลย แต่เพื่อพระรูปที่ยืนรอคอยอยู่นั้นมองเห็นชัดเจน
เมื่อท่านออกมาจากป่า จึงถูกพระเพื่อนรูปนั้นต่อว่าและกล่าวโทษตามที่ตนเห็นนั้น จึง
เกิดการโต้เถียงกันรุนแรงขึ้น และเรื่องก็รุกรามไปถึงหมู่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจภิกษุ
รูปนั้น ไม่ยอมร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมด้วย ทำให้ท่านเกิดความทุกข์ร้อนใจเป็นอย่างยิ่ง
ภุมเทวดาผู้เป็นต้นเหตุนั้น เห็นเหตุการณ์รุกรามไปอย่างนั้น รู้สึกสำนึกผิด จึงเข้าไปแจ้งความจริง
แก่ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจึงได้ร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมกันได้ แต่ความรักและความสนิทสนม
ระหว่างเพื่อนภิกษุทั้งสองรูปนั้น ไม่เป็นไปตามเดิม ต่างแยกกันอยู่แยกกันเดินทางแยกกันปฏิบัติ
กิจปฏิบัติธรรมจนสิ้นอายุขัย
ภุมเทวดา จุติจากชาตินั้นแล้วไปเกิดในเวจีมหานรก เสวยผลกรรมนั้น อย่างแสนสาหัส
จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้ จึงพ้นจากนรกนั้นแล้วมาเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ใน
เมืองสาวัตถี มีชื่อว่า ธานะ ด้วยเศษแห่งผลกรรมของท่านนั้น เมื่อท่านบวชแล้วจึงมีรูปหญิงสาว
ติดตามท่านเป็นเงาตามตัวอยู่เสมอ




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #256 เมื่อ: มกราคม 22, 2017, 02:49:44 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


๖. ปัจจยาการวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์


             [๒๕๕]    สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
                          วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
                          นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
                          สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
                          ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
                          เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
                          ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
                          อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
                          ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
                          ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
             ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติ
เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
             [๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
             ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
             [๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร
             ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
             กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร
             อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
             อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
             อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
             กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
             กายสังขาร เป็นไฉน
             กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขาร
             เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
             [๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
             [๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             นาม ๑ รูป ๑
             ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
             เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
             รูป เป็นไฉน
             มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
             นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
             [๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย-
*ตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
             [๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
*สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
             [๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
             [๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
*ตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
             [๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
             [๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
             ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
             ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ
             อุปปัตติภพ เป็นไฉน
             กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
*นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
             กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย
             [๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด
นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
             [๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน
             ชรา ๑ มรณะ ๑
             ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
             ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ-
*ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา
             มรณะ เป็นไฉน
             ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ-
*ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
             ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
             [๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน
             ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อม
อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า
โสกะ
             [๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน
             ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง-
*ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ
กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของ
ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง-
*หนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ
             [๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน
             ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น
ทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย
สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์
             [๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน
             ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
             [๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน
             ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค  ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า  อุปายาส
             [๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น  จึงเรียกว่า
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

สุตตันตภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  บรรทัดที่ ๓๗๓๒ - ๓๘๔๕.  หน้าที่  ๑๖๑ - ๑๖๕.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=3732&Z=3845&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #257 เมื่อ: มกราคม 25, 2017, 09:38:51 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ขันธ์ ๕
รูป = ร่างกาย ธาตุ ๔ ธาตุ ๕
เวทนา = ความเสวยรสความรู้สึกของอารมณ์ที่ผัสสะ
สัญญา = ความจำได้หมายรู้อารมณ์ ความสำคัญมั่นหมายของใจ
สังขาร = ความปรุงแต่งอารมณ์
วิญญาณ = จิต คือ ความคิด ตัวรู้ทางทวาร ๖ จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

มนะ มโน คือ ใจ คือ ดวงจิตเรานี้ที่ท่องเที่ยวไป เป็นผู้รู้จากตัวรู้ คือ มโนวิญญาณ ที่มีธัมมารมณ์มาผัสสะ




ขันธ์ ๕
รูป = ร่างกาย ธาตุ ๔ ธาตุ ๕ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ
เวทนา = ความรู้สึกในอารมณ์
สัญญา = ความสำคัญมั่นหมายของใจ
สังขาร = ความปรุงแต่งจิต กล่าวคือ ตัวปรุงแต่งความคิดนั่นเอง
วิญญาณ = จิต คือ ความคิด ความรู้สึกทางทวาร ตัวรู้ทางทวาร.. ๖ จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

มนะ, มโน คือ ใจ คือ ดวงจิตเรานี้ที่ท่องเที่ยวไป เป็นผู้รู้จากตัวรู้ คือ มโนวิญญาณ ที่มีธัมมารมณ์มาผัสสะ



ขันธ์ ๕
รูป = กาย
เวทนา = ตัวรู้อารมณ์
สัญญา = ตัวต้นสมมติ
สังขาร = ตัวปรุงสมมติ
วิญญาณ = ตัวรู้สมมติ
มนะ, มโน คือ ใจ

วิตก คือ ตรึก นึก ถึงสิ่งที่จดจำสำคัญใจไว้(สัญญา) สิ่งที่ล่วงมาแล้ว สิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงก็ด้วยอาศัยสัญญาปรุงแต่ง
วิจาร คือ ตรอง แนบอารมณ์ในสิ่งที่ตรึก เป็นตัวสร้างเรื่องราวที่ตรึกให้สืบต่อ
เช่น
๑. ตรึกถึงผู้หญิง
๒. สร้างเรื่องราวสมมติ รูปร่าง ใบหน้า ท่าทาง อาการ อิริยาบถของผู้หญิงที่ตรึก
๓. ตรึกถึงเรื่องราคะ
๔. สร้างเรื่องราวสมมติ ลักษณะอาการอวัยวะส่วนเล็กส่วนน้อย อนุพยัญชนะเหล่าใด
๕. ตรึกถึงการมีเสพย์เมถุน
๖. สร้างเรื่องราวสมมติ ว่าผู้หญิงคนนั้นกำลังเสพย์เมถุนกับใคร หรือกับตน สืบเนื่องต่อจนกระสัน เงี่ยน

ว่าโดยขันธ์ ๕ การทำงานโดยลำดับขันธ์อันเกิดสมมติ ตามที่เราพอจะอนุมานเอาได้ประกอบกับความจำเมื่อเกิดสันสติขาดดังนี้ คือ
เวทนา สัญญา สังขาร(เจตนา ผัสสะ มนสิการ โสมนัส โทมนัส ยินดี ยินร้าย วิตก วิจาร) คือ สมมติ ..เมื่อทั้งหมดนี้เกิดขึ้นปรุงครบพร้อมลงสงเคราะห์วิญญาณเข้าไปรู้สมมติ เรียกว่าจิต ตามวิถีจิตในพระอภิธรรมนั้นเอง จิตอันนี้ คือ วิญญาณ เป็นตัวรู้ทางทวาร เป็นธรรมชาติที่คิดอันเรียกว่าจิต คือ รู้สำเร็จเสร็จศัพท์สมมติบัญญัติทั้งปวง มนะ หรือ มโน คือดวงจิตที่ท่องเที่ยวไปเกิดปฏิสนธิจุติไปตามกรรมในสังขารกรรมก็รู้ตัวคิดนี้แหละ คือ รู้แต่สมมติความคิด ไม่รู้ของจริงเลย ดังนี้จึงกล่าวว่า จิต(วิญญาณขันธ์)รู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด

สมดั่งพระศาสดาตรัสไว้ดังนี้ว่า ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2017, 06:55:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #258 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2017, 02:45:00 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ก. อิทธิบาท ๔
- ทำให้เป็นที่สบายกายและใจ เรียบง่ายๆเบาๆสบาย ไม่ตึงไม่หย่อน
- ทำปฏิบัติบูชาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ยินดีที่ได้ทำพอใจที่ได้ทำ รู้เพียงว่าทำแล้วจิตเรามีกำลังแผ่เมตตาให้ท่านเหล่านั้นพร้อมสัตว์ทั้งปวง ขันธ์ ๕ ทั้งปวง จะหยาบหรือละเอียด, เล็กหรือใหญ่, สั้นหรือยาวก็ตาม จะสัตว์ 2 เท้า, 4 เท้า หรือมากเท้า สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ในอาการ ในดิน ในที่ทั้งปวง ทุกผู้ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต คือ มนะ, มโนทั้งปวง ได้สำเร็จประโยชน์สุข สวัสดี ไม่มี้เวรภัยเบียดเบียนทั้งภายในและภายนอกตน
- ยินดีในธรรม แต่ไม่ปารถนากระสันจะเอาผลในตอนนั้น ตอนนี้ เดี๋ยวนั้นเดี๋ยวนี้ ให้ทำเพียงสะสมเหตุ เจาทำสะสมเป็นเดือน เป็นปี เป็น 10 ปี เป็นชาติๆ อสงไขยไม่ใช่แค่เพิ่งทำแล้วได้ ทำความพอใจให้เป็นที่สบายกายใจที่ได้ทำสะสมเหตุ
- มีสติสัมปะชัญญะรู้ใจรู้กายเนืองๆ เราพร่องหย่อนจาดสิ่งใดให้เติมสิ่งนั้น สิ่งใดที่ดีแล้วให้คงไว้ สิ่งใดสุดโต่งหรือมากเกินให้ลดลง
- ทำความปล่อยวางกายใจ เพราะจิต(มโน)เรานี้ท่องเทียวในภพภูมิต่างๆมานานนับอสงไขย อาศัยสังขารกรรม ทรงขันธ์ ๕ไว้ เกิดเป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง สัตว์นรกบ้าง เทวดาบ้าง มารบ้าง มหาเทพบ้าง วนเวียนท่องเที่ยวจรไปมากมายไปสิ้นสุด ถูกอวิชชาเข้าครอบงำสะสมทับถมกิเลสลงใจใจมานานนับอสงไขยให้ยึดว่าเป็นตัวตน จับต้องรับรู้ได้เพียงสมมติ ไม่ยอมรับความพรัดพากไม่เที่ยง สุขที่สมหวังทุกข์เพราะผิดหวังเจอสิ่งไม่สมปารถนา ทุกข์เพราะเจอสิ่งอันไม่เป็นที่จำเริญใจ เมื่อกายนี้ก้อตั้งอยู่ได้ไม่นานบังคับไม่ได้ หาความเป็นเราในอาการทั้ง 32 ประการไม่ได้ เราไม่มีในนั้น เราไม่ใช่สิ่งนั้น นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา สิ่งนั้นไม่มีในเรา
- น้อมใจไปดูว่ากายที่เราเอาใจเข้ายึดครองอยู่นี้ คือ เมื่อมโนคือจิตที่ท่องเที่ยวไปซึ่งเกิดแต่วิบากกรรม(ผลกรรมที่ทำในกาลก่อน) มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตามอาศัย ต้องเป็นไปตามวิบากกรรม เข้าปฏิสนธิในสังขารกรรม สังขารธรรม วิญญาณขันธ์ของกุมารหรือกุมาริกาก็แล่นเข้ายึดธาตุ ๔ มโนก็ยึดเอาวิญญาณขันธ์คือจิตที่รู้แต่สมมติทางมโนทวารที่ส่งธัมมารมณ์อันเป็นสมมติมาให้มโนนั้นรู้อีกรอบ
เมื่อจิตเรานี้จรออกไปเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ เราไม่มีตัวตนต่อกายนี้แล้ว หากจิตเราไม่มีในกายนี้แล้ว กายอันเป็นที่ประชุมธาตุประชุมโรคนี้ก็เหมือนดั่งกองซากเนื้อหนัง ซากศพ บิดหับงอทับถมไม่มีรูปไม่มีร่างเป็นกองอสุภะ เหมือนดั่งซากซพทั่วไปหรือในสนามรบ เป็นกองธาตุเท่านั้นที่เน่าเปื่อยผุพังย่อยสลายไปในที่สุด ดังนั้นไม่ควรยึดเอากายนี้เป็นตัวตน สักแต่เพียงอาศัยไว้บ่มบารมี 10 ทัศน์ของตนเท่านั้น
- ทำใจให้ผ่องใสดุจดวงประทีป น้อมไปภายในตนไม่ส่งจิตออกนอก เห็นใจในภายในผ่องใสดูจดวงประทีป แต่อาศัยสมมติกิเลสที่จรมาทำให้มัวหมอง จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนลมมติทั้งหมด อย่ายึดสิ่งที่จิตรู้  ดังนี้ว่า..
1. ด้วยเห็นโทษ รู้ทุกข์ เกิดมีขึ้นเมื่อเราเสพย์ในสิ่งใด แล้วไม่เสพย์สิ่งใด
2. ด้วยเห็นคุณ จิตชื่นบานผ่องใสเย็นใจ เกิดมีขึ้นเมื่อเราเสพย์ในสิ่งใด แล้วไม่เสพย์สิ่งใด
3. ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกไปย่อมหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์
4. ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกด้วยความไม่เอนเอียงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้เห็นตามจริง จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ

ข. เมื่อทำสมาธิอบรมจิต
ประการที่ 1. ให้ทำจิตไว้ในภายในรู้ลมที่พัดเคลื่อนซ่านเข้ามาให้ใจรู้ รู้ลมที่พัดซ่านเคลื่อนออกไปให้ใจรู้เท่านั้น
ประการที่ 2. ปักหลักปักตอรู้ลมหายใจไม่เอนไหลไปที่อื่นในจุดที่ลมผ่าน เช่น ปลายจมูก หน้าอก ท้องน้อย
ประการที่ 3. ให้หายใจเข้ายาวๆ ออกยาวๆ ตั้งจับเอาที่จุดลมผ่านทั้ง 3 จุดตามข้อ 2
ประการที่ 4. ให้หายใจเบาๆช้าๆเข้าออกยาวๆช้าๆเนิบๆ ตั้งจับเอาที่จุดลมผ่านทั้ง 3 จุดตามข้อ 2
ประการที่ 5. ให้ตามร่ลมไปที่จุดพักลมต่างๆที่ลมผ่าน เช่น ปลายจมูก หว่างคิ้ว กลางกระหม่อม โพรงกะโหลกศีรษะ ท้ายทอย ลำคอ หน้าอก ท้องน้อยเหนือสะดือ พัดออกไล่ลมย้อนตามจุดนั้นๆ
ประการที่ 6. มองดูไปที่เบื้องหน้าในขณะที่หลับตานั้น มองดูความว่างที่มืดๆตอนหลับตานั้นแหละ สำเหนียกรู้ว่านั่นแหละสิ่งที่เห็นที่เป็นไปในปัจจุบันแล้วรู้ลมเข้าลมออกไป

ค. หากตามรู้ลมหายใจไม่ได้ให้ทำความสงบใจพอ
- หากยังไม่ได้ให้ทำแค่สงบนิ่งเหมือนตอนเด็กๆสงบนิ่งหน้าเสาธงพอ หรือ ทำความสงบนิ่งจากสิ่งทั้งปวงรับรู้แค่ความสงบคู่กายที่เสพย์ลมหายใจเข้าลมหายใจออก

ง.. การฝึกตามรู้ สักแต่ว่ารู้แยกกับนิมิตวิตก ด้วยมนสิการทำไว้ในใจ
1. เมื่อรู้สิ่งใดมันคิดสิ่งใดก็ปล่อยมันไปแต่เราทำไว้ในภายในให้รู้ว่าเราคิดสิ่งนี้ เกิดแบบนี้ ต้องการอย่างนี้ มีอารมณ์ความรู้สึกอยากให้เป็นแบบนี้ๆเท่านั้น
2. ห้ามไปขัดมัน  ละมันว่าไม่ได้ๆ แล้วโยกสลับกลับไปนั่นไปนี่ ทำแค่ให้รู้ตามมันไปไม่ว่ามันจะตรึกนึกคิดอะไรแค่ตามรู้มันไปพอ เช่น..
ประการที่ 1. หากเมื่อมันนึกคิดถึงผู้หญิงหน้าตารูปร่างแบบนั้นแบบนี้ ก็ให้ตามรู้สักแต่รู้ว่า..อ๋อ..ใจเราชอบคนรูปร่างหน้าตาแบบนี้ มีกริยาวาจาท่าทางแบบนี้ ทรวดทรงองค์เอวแบบนี้ๆ แล้วแนบจิตตามนิมิตความรู้สึกนึกคิดนั้นไปแบบนี้
ประการที่ 2. หากเมื่อมันนึกคิดลงราคะก็ให้ตามรู้ทำสักแต่ว่ารู็ว่า อ๋อ..นี้เรามีความต้องการเมถุนอยู่ มีความต้องการเสพย์เมถุนกับผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาทรวดทรงอย่างนี้ๆ อ๋อนี่แบบนี้เองใจเรามันชอบแบบนี้นี่เอง เลยยังพอไม่ได้อิ่มไม่เป็น

จ. อาการเมื่อเกิดความรู้สึกที่สำคํญใจในราคะ
- เมื่อเราสำคํญใจในสิ่งใดด้วยราคะ เมื่อได้เฆ็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัส ได้สัมผัสใจ อาการธรรมชาติของจิตมันจะแล่นลงที่ต่ำไปที่อวัยวะเพศของเราในทันที จิตจ้องจับอยู่ที่ตรงนั้นร่วมกับการรู็อารมณ์ทางสฬายตนะ
ประการที่ 1. เมื่อจะแก้ให้ทำสมาธิปักหลักรู้ลมในจุดที่สูง เช่น หน้าอก ปลายจมูก
ประการที่ 2. ทำไว้ในใจในภายในลงจิตหรือดื่มน้ำลงไปแก้วหนึ่งเย็นที่ไหนจับเอาที่นั้นเป็นฐานที่ตั้งแห่งสติตามหลวงปู่เยื้อนสอน ซึ่งจุดนี้ตัวเราได้ทำตามมาสักพักแล้วมีความรู้สึกโดยส่วนตัวว่าจุดตรงนั้นแหละที่ดวงจิตเราอาศัยอยู่ ที่ใกล้มนะ มโนมากที่สุดให้ทำนิมิตไว้ในภายในตรงจุดนั้นอุปมาดั่งแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี แล้วตั้งปักหลักทำจิตโดยความสงบนิ่งหรือรู้ลมพัดซ่านไปในจุดพอ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #259 เมื่อ: มีนาคม 11, 2017, 07:51:08 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อบรมณ์ปัญญา ๑

..หลวงปู่บุญกู้ ท่านมักจะบอกสอนเราเสมอๆว่า ใช้ปัญญาสิๆ ท่อนจะสอนให้เราใช้ปัญญาเสมอๆ ก่อนนั้นเราก้ไม่ค่อยจะเข้าใจในสิ่งใดมากนัก เพราะเราโง่นั่นเอง เข้าใจแต่ว่า ทำสมาธิจึงจะฉลาดมีปัญญา
..เพราะสิ่งที่เราขาดคือปัญญา ความทำให้แจ้ง รู้แจ้งคู่สติให้มีไหวพริบ เฉลียว และ ฉลาด ในการดำรงชีพ ซึ่งเราไม่มีสิ่งนี้เลยเพราะเราเป็นผู้โง่อยู่ไม่มีปัญญา ขาดปัญญาในตอนนี้มากโขจนไม่มีในใจในสมองเลย เรามัวเอาแต่นำปัญญาความรู้ความสามารถที่มีไปใช้ไม่ถูกที่ไม่ถูกทางไม่ถูกกาล เมื่อเราทำการสะสมเหตุอิทธิบาท ๔ อย่างนี้อยู่เสมอมา พร้อมกับได้รับรู้จากคนรอบๆข้างมากขึ้น จึงทำให้เรารู้มากขึ้นว่า ตอนนี้ตนขาดปัญญาอย่างยิ่ง ดังนี้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา เราจักอบรมกระทำปัญญาให้แจ้งชัดดังนี้..

แรกเริ่มให้ฝึกสติให้มีกำลังคู่สมาธิ ให้เจริญ ๔๐ กรรมฐาน
เพราะหากสติมีกำลังตั้งมั่นจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน จิตก็จะเป็นสมาธิมีความตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่นเป็นอารมณ์เดียวตาม

- ปฏิบัติในกรรมฐาน ๔๐ ให้ตนมีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
- มีสติเป็นเบื้องหน้าทำไว้ในภายใน เราจักทำใจให้ถึงพุทโธ ถึงความเป็นผู้รู้ปัจจุบัน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติไม่หลงสมมติอยู่อีก เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอมทั้งปวง
ความรู้ปัจจุบันต่างหากจากสมมติ คือการรู้ว่าปัจจุบันกำลังหายใจเข้า หายใจออก รู้วาโยธาตุอันเป็นธาตุที่มีประชุมอยู่ในกายนี้ บริกรรมพุทโธเป็นชื่อพระพุทธเจ้า เป็นคุณของพระพุทธเจ้าการกำชับจิตให้รู้ว่าเรากำลังทำจิตให้เป็นพุทโธ ถึงพุทโธ คือ รู้ปัจจุบันรู้ของจริงต่างหากสมมติ
- มีสติเป็นเบื้องหน้าทำไว้ในภายใน หน่วงนึกถึงความ ว่าง ความไม่มี ความสงบ สบาย เย็นใจ สงบนิ่งไปเรื่อย

รูปฌาณ เพียร ตามรู้ดูธรรมนั้นไป หากนิมิตกับสภาวะที่จิตมนสิการนิมิตนั้นแยกจากความตรึกสำเหนียกรู้ได้ ให้ทำสติไว้ตามดูให้ตลอด อย่าไปขัดไปขืน ให้จิตมันเป็นไปของมันจนอิ่มเต็ม ภาวะนี้หากไม่หลุดจะยังปัญญาเกิดขึ้นแต่จมปลีักอยู่เฉพาะสมาธิในขั้นนั้นๆ เว้นเสียอแต่จิตดูอิ่มแล้วมีกำลังทำความสำเหนียกจับนิมิตที่เบื้องหน้ามีอาการหายใจเข้าจิตยกขึ้นจากอุปจาระสมาธิเข้าสู่ฌาณ หรือ จากปฐมฌาณเข้าสู่ระดับฌาณที่สูงขึ้น
หากมีอาการที่นิมิตกับสภาวะที่จิตมนสิการนิมิตนั้นแยกจากความสำเหนียกรู้แต่ตรึกไม่ได้ ไม่มีสัญญา แต่รู้อาการเหตุการณ์ความเป็นไปทั้งหมดอยู่ทุกๆขณะ จิตดิ่งมีสภาวะเหมือนวูบแช่นอนนิ่งไม่กระเพื่อมต่อนิมิตนั้น ก็ปล่อยให้มันเป็นไป อย่าไปขัดไปขืน ให้จิตมันเป็นไปของมันจนอิ่มเต็ม สภาวะนี้จิตอิ่มเคลื่อนฌาณ
อรูปฌาณ เพียรตามรู้ดูธรรมนั้นไป
มนสิการอากาสานัญญายตนะ กายเป็นของว่าง ไม่เป็นสิ่งที่น่าใครยึดปารถนา ความพ้นจากกายนี้เป็นสุข ไม่ต้องมาเจ็บ มาทุกข์ มาร้อน มาป่วย มาทรมานกับกายนี้อีก มีใจตั้งอยู่โดยไม่เนื่อด้วยกาย ปฏิฆะต่อกาย มีใจหน่วงนึกถึงความเข้าไปในอากาศที่ว่างเบื้องบนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่สิ้นสุด อาศัยลม กายลมนี้ดันขึ้นไปสู่ความว่างอันพ้นจากกายนี้
มนสิการวิญญานัญญาจตนะ แม้ล่วงพ้นกายไปทุกข์ก็ยังหยั่งลงได้อยู่ ด้วยความสุขอยู่ที่จิต สุขก็สุขอยู่ที่ ความคงไว้ซึ่งจิตที่ผ่องใสสว่างไสวย่อมไม่มีทุกข์ เอาจิตจับที่จิต
มนสิการอากิญจายตนะ ความไม่มีทุกข์คือไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆทั้งปวง ไม่มีเจตนา ไม่มนสิการ ไม่ยึดเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้นทั้งปวง ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยของกรรม ดังว่ามนะย่อมจรท่องเที่ยวไป เกิด ดับ ตรงนี้ เกิดดับที่โน้น มีอาการปรุงแต่งให้เป้นไปล้วนแล้วแต่ด้วยวิบากกรรมที่ทำมาให้เป็นไป(กรรมเก่าแสดงผลให้เกิดขึ้นเป็นไปต่างๆนาๆ เพราะด้วยกรรมสมเด้จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสอนให้ทำใน ทาน ศีล ภาวนา เพราะเป็นเจตนาในกุศล) เมื่อไม่ติดใจข้องแวะต่อกันความเบียดเบียนย่อมไม่บังเกิดมี ทุกข์ย่อมไม่มี เจตนากรรม ละเจตนาในธรรมารมณ์ทั้งปวงย่อมไม่มีทุกข์
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังไม่ถึง
................

ฝึกสัมปะชัญญะ
ทำความรู้ตัวรู้กิจการงานที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันให้มาก ไม่ติดหลงไปตามสมมติความคิด หากเมื่อต้องใช้ความคิดก็รู้ว่าความคิดนั้นเป็นประโยชน์ใช้กับกิจการงานไรๆในปัจจุบัน เรากำลังคิดเรื่องอะไร แบบไหน ยังไงอยู่ในปัจจุบัน มีท่าทีและสภาวะเหตุการณ์สภาพแวดล้อมไรๆอยู่ปัจจุบัน การกำกับรู้ตัวว่า "หนอ" คือสัมปะชัญญะที่ก้าวไปสู่จิตที่ตั้งมั่นรู้ปัจจุบันด้วยปัญญา เช่น ยืนหนอ นั่งหนอ เดินหนอ นอนหนอ ยกหนอ ทำงานหนอ คิดหนอ รักหนอ โลภหนอ เงี่ยนหนอ โกรธหนอ แค้นหนอ ชังหนอ ขี้หนอ เยี่ยวหนอ กินหนอ หลงลืมหนอ การอบรมภาวนาจิตให้รู้ตัวในปัจจุบันกำกับรู้ด้วยคำว่า "หนอ" ขึ้นชื่อว่าเป็นการทำสัมปะชัญญะให้จิตตั้งมั่นลงตัวรู้เป็นปัญญารู้ปัจจุบันไม่หลงอยู่ในสมมติความคิดนั่นเอง ทำให้จิตตั้งมั่นง่าย เอื้อต่อสติ

ฝึกกำลังสติสัมปะชัญญและสมาธิตามกาลแบบง่ายๆ
    ...คิดก็รู้ว่าคิด คิดสิ่งใดอยู่ รัก โลภ โกรธ หลง กุศล อกุศล แต่ไม่ใช่ไปห้ามความคิด มันห้ามไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติของจิตคือวิญญาณขันธ์ที่มีธรรมชาติที่คิด ไม่ต้องไปปรุงสมมติเพิ่ม ไม่ต้องไปสืบต่อ ทำใจตั้งมั่นไว้แค่สักแต่ว่ารู้เท่านั้นพอ
    ...ดังนั้นเมื่อรู้ว่า..คิด กำลังคิด ก็ให้ทำความรู้โดยสักแต่ว่ารู้ความรู้สึกนึกคิดของอารมณ์นั้นว่าเป็นรัก โลภ โกรธ หลง เงี่ยน กระสันอยาก ชัง แค้น ผูกใจเจ็บแค้น(เวร) ผูกใจหมายทำลายให้เขาฉิบหายวอดวาย(พยาบาท) หลงลืม ไม่รู้ตัว รุ้ว่ากำลังตรึกนึกคิดเรื่องราวนั้นๆแบบนั้นด้วยอารมณ์ที่ชอบ ใคร่ ชัง เกลียด ยินดี ยินร้ายในสิ่งแบบนั้นอย่างนั้นๆอยู่ มีความสำเหนียกในใจรู้ว่า ความคิดนี้เป็นคุณหรือเป็นโทษ เมื่อเป็นโทษ ก็รู้ว่าความรู้สึกนึกคิดนี้ๆเป็นโทษ ไม่ควรเสพย์ เช่น..
     - เมื่อเกิดความคิดอยากได้ของผู้อื่น เงี่ยนกระสันอยากเสพย์เมถุน ผูกเวรพยาบาทผู้อื่น หรือกำลังหลงเคลิ้มไปตามควมคิดเหล่านี้ทำมีสติเป็นเบื้องหน้า ทำใจไว้ในภายในสำเหนียกรู้ ระลึกกำกับรู้ว่า..
"ความคิดนี้เป็นทุกข์ ไม่ควรเสพย์ สักแต่ว่ารู้ แล้วเฉยตค่อความคิดนั้นๆ แล้วก็ปล่อยวาง"
     - เมื่อเกิดสติมีขึ้น ณ ที่ใด ต่อสิ่งใด ความรู้สึกนึกคิดใด มีอาการที่รู้ตัวรู้ใจทันก่อนจะทำสิ่งใด มีความยับยั้งช่างใจ ไม่เผลหลงไหลตามความคิดสมมติกิเลสเหล่านั้น ความรู้สึกนึกคิดนี้ความเสพย์ให้มาก แล้วตั้งมั่นวางใจไว้พิจารณาดูสาภแวดล้อม ความคิดนี้มีคุณประโยชน์สุขเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเว้นจากความเบียดเบียน ความคิดนี้ควรเสพย์



ฝึกปัญญาโดยการเปิดทัศนคติและอารมณ์ความรู้สึก

- เปิดโล่งกว้าง รับเอาความรู้เรียนรู้ทุกอย่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ มองในหลายมุมมองที่จะเป็นไปได้ หรือพิจารณาประยุคใช้ในสิ่งที่มีกับความรู้ความเข้าใจที่ตนทีให้เข้ากันได้และได้ผลออกมาในทางที่แปลกใหม่ดีขึ้น กำจัดขยะในสมอง น้อมรับทุกๆสิ่ง ทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
ทำให้แจ้งชัดวิชาความรู้ทั้งหมดทั้งปวงในทั้งทางโลกและทางธรรม
- เปิดน้อมรับเอาความรู้ใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ วิชาความรู้ต่างๆและวิชาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอๆ มิขาด เรียกว่าเป็นการรู้โลก แจ้งในทางโลก ทุกวันมันวิวัฒนาการไปเรื่อยเราก็ต้องเปิดกว้างเรียนรู้ทุกอย่างให้มาก ยิ่งรู้มากก็ยิ่งแจ้งชัดมาก รู้ทางโลกก็แจ้งชัดทางโลก รู้ธรรมก็แจ้งชัดทางธรรม
- รับรู้คบมิตร วางตัวให้เป็น
เช่น การรู้จักคน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน คนรอบข้าง โดยเราจะเข้าถึงคนได้ ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อล้วจะทำอย่างไรให้เอาใจเขามาใส่ใส่ใจเราได้-ก็ต้องเป็นพวกเดียวกับเขาก่อน แล้วจะทำอย่างไรจึงเป็นพวกเดียวกับเขาได้-เราก็ต้องทำความเข้าใจในบุคคลนั้นๆ โดยสัมผัสดูอาการท่าทีเขา ทำความรู้จักใจเขา เปิดใจรับเขา เรียนรู้ยอมรับฟัง ประสานงาน ร่วมงาน ทำความคุ้นเคย เหมือนดั่งเราสนิทชิดชอบกับใครก็ย่อมรู้ได้ว่าเขารัก ชัง เกลียด ชอบ สิ่งใด เป็นคนแบบไหน ยังไง เป็นต้น
- ทำความแจ้งชัดในคุณ และโทษ ของอารมร์ความรู้สึก ธรรมมารมณ์ทั้งปวงที่เกิดมีขึ้นแก่ตนอยู่เสมอๆ แล้วแยกแยะให้แจ้งชัดว่าสิ่งไหนควรเสพย์ ไม่ควรเสพย์
- ทมะ คือ ข่มใจ ไม่ตามอารมณ์ความรู้สึก
ขันติ คือ รู้จักละ วาง อดทนรอกาลอันควร เรียกว่าฉลาดในกาลที่จะพูดจะทำ
โสรัจจะ คือ ประพฤติดีงาม ทำความเย็นใจเว้นจากความเบียดเบียนทั้งตนเองให้เร่าร้อนและหยั่งผุ้อื่นให้ฉิบหาย โดยเลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ รัก โลถ โกรธ หลง มันเบียดเบียนกายใจตนเองอยู่พึงละความติดใจข้องแวะนั้นๆกับมันไปเสีย ข้องใจอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้จากการรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีแต่ทุกข์, สลัดทิ้ง สละคืน ทำไว้ในใจตั้งมั่นไว้ในใจ หรือหทัยวัตถุว่าจักไม่เอนเอียงเอนไหวเคลื้อมตามอารมร์ความรู้สึกนี้ๆ มันเป็นโทษ

อบรมปัญญทั้งทางโลกและทางธรรมโดยใช้โดยพละ ๕, อินทรีย์ ๕

มีสติ ปัญญาให้มาก
- สติ คือ เป็นประธานควบคุมทุกสิ่ง ทั้ง ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา
- ปัญญา คือ ความความรู้ความสามารถที่มี ความเข้าถึงชัดแจ้งโลกและธรรรม ความรู้จริง เห็นชัดตามจริง
- การมีสติปัญญากำกับคู่กัน คือ มีไหวพริบ มีหัวพลิกแพลงประยุคใช้ มีความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ประครองชีวิตได้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม มีความเป็นเหตุและผลที่ดี สามารถนำความรู้คึวามสามารถที่มีทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ดีงาม ด้วยเหตุดังนี้ พระตถาคตเจ้า พระบรมศาสดานั้นจึงสอนสาวกให้มีสติปัญญาเสมอๆ โดยพระบรมศาสดาจะทรงสอนให้เราหัดรู้ทันกายใจตน ว่ากำลังเป็นไปในทิศทางไหนอย่างไร โดยทำสักแต่ว่ารู้ และไม่ร่วมเสพย์ทำตัวรู้ให้แยกจากความรู้สึกนึกคิด ทำปัญญาโดยความเลือกเฟ้นพิจารณาสิ่งที่รัรู้หรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทำความเข้าใจต่อสิ่งนั้นๆให้มาก ฉลาดในการปล่อยวางและฉลาดพลิกแพลง
** หากมีปัญญาโดยขาดสติกำกับรู้ความยั้งคิด ยับยั้งชั่งใจไว้อยู่ คือ มีความรู้ความสามารถแต่ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ถูกกาล ไม่รู้จักวิธิใช้หรือนำมาใช้งานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
** ความไม่มีสติสัมปะชัญญะ คือ การระลึกไม่ได้ ไม่รู้เท่าทันกายใจ มีกิริยาที่ทำให้ยั้งคิดไม่ได้ แยกแยะสิ่งที่ควรไม่ควรทำไม่ได้ ยับยั้งชั่งใจทำใจให้ปล่อยวางไม่ได้ ไม่รู้ทันอารมณ์ความรู้สึกของกายใจในปัจจุบัน
** เมื่อขาดสติปัญญาก็ไม่เกิดผลย่อมเป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกสุ่มปัญญาไปในทางที่ผิด ดังนั้นคงที่เก่งฉลาดเป็นบัณฑิตเป็นศิษย์สาวกของพระอรหันตสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาต้องใช้ปัญญาได้ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยมี สติ สัมปะชัญญ ศรัทธา วิริยะ สมาธิกำกับอยู่เสมอ

- คนที่ยังอาศัยทางโลกแต่มุ่งมั่นไปแบบลืมหูลืมตาไม่มีสติสัมปะชัญญะกำกับอยู่ ไม่อาศัยปัญญาเข้าใจโลก รู้แจ้งโลก เข้าถึงความเป็นโลก เขาเรียกฟุ้งซ่าน เคร่งเเครียดกับงานจนเกินเหตุทางโลกเขาก็ว่าบ้า  หมกมุ่น ออทิสติก แม้เก่งในงานแต่ก็ร่วมงานกับใครเขาไม่ได้ ไม่เป็นที่รักของคนรอบข้าง
    ...การทำหน้าที่ทางโลก เราต้องเข้าใจโลกและสภาพแวดล้อมรอบตัว คนรอบข้าง การจะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ต้องมีสติสัมปะชัญญกำกับรู้ให้ระลึกเท่าทันได้ เปิดรับความรู้ให้มาก การที่บอกว่าตนไม่รู้ ตนโง่ แล้วขอความรู้ความช่วยเหลือจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องผิด เขาเรียกใจเปิดกว้างละมานะทิฐิในตนได้ ไม่ติดใจคำติฉินนินทา ความคิดใดเกิดขึ้นในอกุศลรู้ทันว่าความคิดนี้เป็นทุกข์ไม่ควรเสพย์ แค่รู้สักแต่แต่ไม่เสพย์ ข่มใจได้ ยอมได้แม้ผู้ที่อ่อนกว่าเป็นสมบัติของมหาบุรุษ เป็นมิตรได้กับคนทั้งโลก ไม่เอาความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น ไม่ยุให้เขาแตกกัน ยินดีให้คนสามัคคีกัน แบ่งปันช่วยเหลือกีัน มีปัญญาฉลสาดรู้กาลที่จะพูดกล่าวสิ่งใด คือ ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกพูด เป็นผู้ที่ยอมรับฟังผู้อื่นแล้วก็ดูความเป็นเขาความต้องการของเขาแล้วพิจารณาการที่จะตอบคำพูดและความต้องการของเขาออกไปโดยไม่เอาอารมณ์ของตนเป็นใหญ่ กล่าวในช่วงที่เขาพูดจบช่วง เว้นช่วง ที่เขาพยายามจะสื่อ หรือช่วงเวลาที่เขาใ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2017, 03:54:58 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #260 เมื่อ: เมษายน 10, 2017, 05:26:14 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ดู/ฟัง/อ่าน -> เพื่อรู้แนวทาง หรือสถานการณ์

คิดวิเคราะห์ตาม -> เพื่อทำความเข้าใจ

ถามเมื่อไม่รู้ -> เพื่อความกระจ่างแจ้งชัด เพื่อความเข้าใจถึงสภาวะหรือสถานการณ์ที่เขาเป็นหรือเผชิญอยู่ ไม่งมหลงอนุมานโดยความไม่รู้ตามจริงอยู่

จด -> เพื่อจำ, เขียนบันทึก -> เพื่อทบทวนเมื่อลืม


ดู/ฟัง/อ่าน -> แล้วจำ คือสัญญา
ดู/ฟัง/อ่าน -> ไม่วิเคราะห์พิจารณาตาม คือ โง่ ไม่มีแก่นสาร
ดู/ฟัง/อ่าน -> ไม่รู้ ไม่เข้าใจก็เฉยไม่ถามให้เข้าใจแจ้งชัด คือ เขลา อคติลำเอียง
ดู/ฟัง/อ่าน -> ไม่จดจำ ทำความเข้าใจแล้วบันทึกไว้ คือ ผู้มักลืม ไม่มีแก่นสาร

**โง่ คือ ไม่ฉลาดคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ทำได้แค่จำ ไม่มีทัศนคติ
**เขลา คือ ไม่มีไหวพริบ พลิกแพลงประยุกต์ใช้ไม่ได้ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีทัศนคติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2017, 06:58:31 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #261 เมื่อ: เมษายน 17, 2017, 11:59:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1
2
วิธีการ คิดหาหัวข้อดีๆ มาใช้ในการสนทนา
การได้รู้จักคนอื นๆ เป็นกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันของเรา ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนเข้าสังคมเก่ง แต่ก็ยังมีบางคราวเหมือนกันที คุณอับจนคำพูดและเริ มนึกไม่ออกว่าจะหา
หัวเรื องอะไรมาใช้สนทนาดี โดยการเตรียมตัวจัดทำรายชื อหัวข้อสนทนาเอาไว้ในใจ คุณก็จะไม่มีวันต้องนึกหวั นว่าจะหมดเรื องคุยอีก ทั งหมดที ต้องทำก็แค่ดึงออกมาสัก
หัวข้อหนึ งแล้วปล่อยให้มันไหลลื นไปในการสนทนา
ส่วน 1 ของ 3: เรียนรู้เกี ยวกับการเริ มต้นสนทนาขั นพื นฐาน
คุยเรื องคนอื น. ความลับที ยิ งใหญ่ที สุดของการเป็นนักสนทนาที ดีคือการแค่ปล่อยให้คนอื นเป็นฝ่ายพูดคุยเรื องของพวกเขาเอง [1] เพราะอะไรนะรึ มันเป็น
ประเด็นหัวข้อที พวกเขาคุ้นเคยและอาจจะรู้สึกสะดวกใจที จะคุยด้วยไง ให้ลองเคล็ดลับเหล่านี :
สอบถามความคิดเห็น คุณสามารถเชื อมมันกับสิ งที เป็นไปในห้องขณะนั น สถานการณ์ปัจจุบัน หรืออะไรก็ตามที คุณอาจอยากสนทนาด้วย
เจาะลงไปในประเด็น "เรื องราวในชีวิต" ถามว่าคู่สนทนานั นมีพื นเพมาจากที ไหน เติบโตมายังไง และต่อมาเรื อยๆ
มีประเด็นเปิดการสนทนาที ต่างกันสำหรับคนที คุณมีความสนิทสนมต่างกัน. คำถามที คุณจะยกมาถามใครสักคนขึ นอยู่กับว่าคุณสนิทกับพวกเขาดีแค่ไหน นี เป็น
ตัวอย่างบทเปิดการสนทนาสำหรับบุคคลสองประเภทที คุณต้องสนทนาด้วย:
1 เรียนรู้เกี ยวกับการเริ มต้นสนทนาขั นพื นฐาน 2 ยืดบทสนทนา 3 ขยายขอบเขตออกไป เคล็ดลับ
Page 1 / 10
3
4
ผู้คนที คุณรู้จักดี: ถามเขาว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรน่าสนใจเกิดขึ นในช่วงสัปดาห์ที ผ่านมาหรือเปล่า โปรเจ็คต์งานหรือการเรียนของเขาไปได้ด้วยดีไหม ลูกเป็น
ไงบ้าง และเขาเพิ งได้ดูหนังหรือรายการทีวีดีๆ อะไรบ้างไหม
ผู้คนที คุณรู้จักแต่ไม่ได้เจอกันมาสักพักแล้ว: ถามเขาว่าเกิดอะไรขึ นบ้างนับแต่ครั งล่าสุดที ได้เจอกัน ดูว่าเขายังทำงานที เดิมหรือยังอาศัยอยู่ที เดิมหรือเปล่า ถามถึง
เรื องลูกและว่าเขามีเพิ มไหม (ถ้ามันเกี ยวโยงกัน) บางทีอาจถามว่าเขามีนัดเดทกับใครอยู่หรือเปล่า
เตือนตัวเองไว้ว่าต้องหลีกเลี ยงอะไรบ้าง. คุณย่อมรู้กฎเดิมๆ ดีอยู่แล้ว: อย่าพูดคุยเรื องศาสนา การเมือง เงิน ความสัมพันธ์ ปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาสุขภาพ
หรือเรื องเพศสัมพันธ์กับคนที ไม่ได้สนิทอะไรกันนัก ความเสี ยงของการที จะไปพูดขัดเขานั นมีสูงเกินไป ฉะนั นเลี ยงไว้ก่อนจะดีกว่า พวกเหล่านี มักเป็นประเด็น
ที กระทบจิตใจด้วยเช่น
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #262 เมื่อ: เมษายน 25, 2017, 12:44:45 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เมื่องานติดขัดหรือเกิดปัญหาไม่สามารถจบงานได้ ให้พิจารณาแก้ไข 3 ข้อ ดังนี้

1. สังเกตุ-วิเคราะห์ คิดนอกกรอบความรู้ที่เรายึดถืออยู่ แล้วนำมาคำนวณตรวจสอบในเชิงทฤษฎี เมื่อแก้ไขในทางนี้ๆรูปแบบนี้ๆแล้วจะได้ผลลัพธ์อย่างไร รูปแบบไหน ค่าที่ได้ประมาณเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับผลจริงโดยความน่าจะเป็นในทางปฏิบัติแล้ว จะให้ผลตามจริงอย่างไร แบบไหน เท่าไหร่ เปอร์เซนต์ที่ได้มีค่าความผิดพลาด บวก/ลบ ตามจริงกี่เปอร์เซนต์
..เพราะไม่มีสิ่งใดๆในโลกนี้ที่ได้ตรงตามทฤษฏีเป๊ะๆเลย ทุกอย่างมีค่าสูญเสีย เบี่ยงเบน ขาดตก หรือเกินกว่าอยู่แล้ว เราเรียกสิ่งที่ว่าความผิดพลาด เมื่อทุกอย่างมีค่าความผิดพลาดเราต้องพิจารณาเสริมต่อเพื่อลดทอนความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นนั้นด้วย เรียกว่า การทดแทนความสูญ หรือลดแรงเสียดทาน
2. ผลจากการแก้ไขนั้นจะช่วยให้สิ่งนั้นๆสถานะนั้นๆที่คงค้างหรือกำลังเป็นอยู่ดีขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงไร คิดเป็นเปอร์เซนต์เท่าใด ..ช่วยเพิ่มประสิทธภาพงานได้หรือไม่ ถ้าเพิ่มได้จะประสิทธิภาพนั้นๆจะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซนต์ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือไม่ ดีขึ้นกี่เปอร์เซนต์
3. ผลจากการแก้ไขนั้นจะช่วยเราได้อย่างไร ในทางได้บ้าง คือ ช่วยตัดปัญญาที่เกิดขึ้นในส่วนใดได้บ้าง ทำให้ปัญหาที่เกิดมีอยู่นี้ลดหรือน้อยลงได้หรือไม่ และสามารถสืบต่อนำไปสู่การแก้ไขในส่วนอื่นๆหรือส่วนใดเพิ่มเติมให้ดีขึ้นอีกได่หรือไม่ อย่างไรได้บ้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2017, 12:58:56 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #263 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2017, 01:55:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. คลายใจจากทุกสิ่ง ละอุปาทานจากสมมติในโลกทั้งปวง ไม่ยึดจับสิ่งใดๆทั้งสิ้นทั้งปวงแม้ภายนอกและภายในกายใจนี้
2. มีสติอยู่เฉพาะหน้าตั้งจิตปักหลักไว้ที่ปลายจมูกรู้ลมหายใจเข้า-ออก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2017, 02:01:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #264 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2017, 08:45:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ความโดยย่อบางตอนจากธาตุวิภังคสูตร...ธาตุ ดิน น้ำไฟ  ลม อากาศ พึงเห็นธาตุนั้นๆ ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่
ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายธาตุนั้นๆ และจะให้
จิตคลายกำหนัดจากธาตุนั้นๆได้ ฯ

             [๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล
ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ..
..รู้ชัดว่า.. สุขบ้าง
..รู้ชัดว่า.. ทุกข์บ้าง
..รู้ชัดว่า.. ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง

- ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
- บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่
- เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ

    เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 06, 2017, 09:00:18 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #265 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2017, 08:47:46 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ธาตุวิภังคสูตร ๖ (อรูปฌาณด้วยอุเบกขาบริสุทธิ์ จาก วิญญาณธาตุอันบริสุทธิ์)

             [๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง
ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู
ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย
และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง
ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด
ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม
อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ
เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา
อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ-
*จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา
ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ
เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น
ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ
ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้
อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม
ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น
จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่
หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา
นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน
ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต
เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น
ของสงบ ฯ
             [๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้
จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น
ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ
เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ
รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี
กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก
อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ
หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง
ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่
นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ
ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่
ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน
เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก
ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ
อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล
นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท
ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม
นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว
ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ
อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น
อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม
รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น
ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป
ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ
เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ
ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น-
*สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น
สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ
ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี
ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม
ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง
เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย
จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส
เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ
กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น
เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้
ของเราไว้เถิด ฯ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #266 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2017, 09:53:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หลักธรรมคำสอน พระอาจารย์นพพร  อาทิจฺจวํโส

วิญญาณธาตุ

พิจารณาธรรม วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ 
เวลา ๒๑.๒๓ น.
                ๖. วิญญาณธาตุ  ธาตุรู้มีความรู้สึก เรียกวิญญาณ  วิญญาณความรู้สึกภายใน ๖  วิญญาณความรู้สึกภายนอก ๖  วิญญาณความรู้สึกภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณความรู้สึกภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

                วิญญาณ ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ตา ขณะเห็นรูป ความรู้สึกเกิดขึ้นที่หู ขณะได้ยินเสียง ความรู้สึกเกิดขึ้นที่จมูก ขณะได้กลิ่น ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ลิ้น ขณะได้รู้รส ความรู้สึกเกิดขึ้นที่กาย ขณะได้กระทบโผฏฐัพพะสัมผัส ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ใจ ขณะได้รู้ธรรมารมณ์

                วิญญาณ ความรู้สึกเกิดขึ้นที่จิต ที่มีการกระทบสัมผัสกันแล้ว เป็นธรรมารมณ์ รู้ตามสัญญา รู้ตามอาการ รู้ตามลักษณะ ท่าทาง รู้ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียน รู้ตามจิตจินตนาการ รู้ตามสมมุติบัญญัติทั่วไปมีวิญญาณความรู้สึก ตามที่ได้เห็น ได้ยินได้ทราบได้รู้สึก ได้รู้ตามเห็นตามที่ได้ปฏิบัติตามให้มีให้เป็นขึ้น เรียกว่า ภาวนาก็ได้

                วิญญาณความรู้สึก ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาตลอดใช่ไหม?  ใช่! รู้ตามสัญญาจริงไหม? จริง! วิญญาณมีลักษณะรู้สึก ตามที่ได้รู้ได้เห็นได้สัมผัสกับอารมณ์ รู้ตามสัญญาอารมณ์ รู้สึกแล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์ จะเป็นอตีตารมณ์ อารมณ์อดีต ปัจจุบันนังอารมณ์ อารมณ์ปัจจุบัน และบางคราวอาจรู้สึกได้ในอนาคตอารมณ์ อารมณ์อนาคต อันเป็นความรู้สึกของวิญญาณอย่างสูง อนิจจังไม่เที่ยงใช่ไหม? ใช่!

                 ถ้ามีสติสัมปชัญญะดี ก็มีความรู้สึกได้ตลอด ที่มีการกระทบสัมผัสใช่ไหม? ใช่!รู้สึกได้ตลอดมีไหม? มี!

รู้สึกได้ไม่ตลอดมีไหม? มี! รู้สึกแล้วทำเป็นไม่รู้ได้ไหม? ได้! รู้สึกแล้วก็มีใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกแล้วไม่เอาก็มีใช่ไหม ? ใช่ ! รู้สึกบางทีก็รู้ภายในใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกบางทีก็รู้ภายนอกใช่ไหม? ใช่! รู้สึกบางก็รู้ทั้งภายในภายนอกใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกแล้วอุเบกขาวางเฉยได้ไหม? ได้ !

                 ถ้าประสาทหรือกายะประสาททั้ง ๖ หรือทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งในภายในตายไปเสีย ชำรุดเสีย พิการเสีย จะรู้สึกได้ไหม? ไม่ได้! แล้วตัวรู้ที่อาศัยประสาทสัมผัสหรือกายะประสาทสัมผัสหายไปไหน? หายไปที่จิตไม่รู้สัมผัส! ถ้าประสาทเสียหมด! ตายหมด! มันก็ว่างเปล่าทั้งหมด เพราะไม่มีวิญญาณความรู้สึกใช่ไหม? ใช่! มันว่างไปแล้ว ส่วนนั้นใช่ไหม? ใช่! ไม่มีวิญญาณความรู้สึกได้เลยจริงไหม? จริง! เป็นอนัตตาว่างเปล่าจากตัวตนได้ไหม? ได้!

                จิต มีอุปาทานยึดถือวิญญาณความรู้สึก ในความรู้สึกทั้งภายใน ทั้งภายนอกเป็นทุกข์ไหม? เป็น! จิตในจิตที่ยังอยากรู้สึกเป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ใช่ไหม? ใช่!

                จิตพิจารณาจิต จิตรู้สึกในจิต รู้สึกในความรู้สึก ที่มีขณะจิต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของจิต ของความรู้สึกที่จิตจนถึงความสงบระงับจิต สงบระงับความรู้สึกที่จิต เป็นนิโรธะ ความดับทุกข์ที่จิต ตัณหาความรู้สึกอยากหมดไปเหลือเป็นความเป็นเองของจิต ที่มีความรู้สึกอุเบกขาวางเฉยโดยธรรมชาติ ไม่ยึดถือแต่มีความพอดีของจิต ของความรู้สึก เป็นมรรคจิต ที่จิตถอนออกจากอุปาทาน ที่ยึดมั่นในความรู้สึกทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอก ในขณะจิตเดียวที่พ้นจากความรู้สึกผูกพันของวิญญาณความรู้สึก

                จิตสงบระงับความรู้สึกโดยชอบ ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวกับความรู้สึก ธาตุทั้ง ๖ แม้มีอยู่ก็เหมือนไม่มี  ความรู้สึกในธาตุทั้ง ๖ ที่เคยมีว่าเป็นเรา เป็นของเรา เราเป็นธาตุ ๖ ธาตุ ๖ เป็นเรา  เรามีอยู่ในธาตุ ๖ ธาตุ ๖ มีอยู่ในเรา หมดความสงสัย สักกายทิฏฐิก็พลอยสิ้นไปด้วย ความลังเลสงสัยในธาตุ ๖ ก็ดับ  สีลพตปรามาสก็ไม่มี  กามราคะ ปฏิฆะ  ก็ไม่กระทบก่อกวน รูปราคะ อรูปราคะ ก็เป็นสิ่งธรรมดา อุทธัจจะก็หายฟุ้งซ่าน  มานะอวิชชา ก็อุเบกขาวางเฉยด้วยความรู้ จิตสงบมีญานรู้ในความรู้ พ้นจากความเป็นทาสของอารมณ์ ๖  ของธาตุรู้ ๖ อยู่ด้วย ใจสบาย  สงบ สงัด วิเวกจิต  ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นวัตถุธาตุ  จัดเป็นรูปธรรม อากาศวิญญาณ จัดเป็นนามธรรม เพราะเนื่องกับจิตและสัมพันธ์กับกาย จึงปรากฏเป็นรูปธรรมนามธรรม

                เป็นรูปเป็นนาม เป็นนามรูป รูปนามขันธ์ ๕  ในปัจจยาการ ท่านจัดเอานามไว้หน้า เอารูปไว้หลัง สมมุติเรียก  นามรูปเพราะอะไร? เพราะเอานามจิตความรู้สึกส่วนรู้เป็นสำคัญ ส่วนรูปหรือกาย เอาไว้เป็นบ่าวรับใช้จิตเจ้านาย !

                มีความรู้แต่ไม่ใช้ความรู้จะดีไหม? ไม่ดีค่ะ! ผู้มีความรู้ใช้ความรู้ซะหมดเลยดีไหม? ไม่ดีค่ะ! ความฉลาดพบกับความเฉียบขาด ผลเป็นไง ก็จ๋อยไปนะซิคะ! แฮ่!! ใครมีความรู้ก็วิจารณ์ได้ ใครไม่มีความรอบรู้ก็วิจารณ์บ่ได้ฮิ!! คนที่มีความรู้แล้วไม่วิจารณ์คงมีไม่ใช่เหรอ!! แฮ่!! คนดีด้วย เก่งด้วย มีความรอบรู้ด้วย มีความชำนาญด้วย เป็นยังไง! ก็ดีมากๆ !! คนดีมีศีลธรรมพ้นทุกข์ได้เป็นผู้ประเสริฐ วิญญาณ ความรู้สึกภายในวิญญาณ ความรู้สึกภายนอก เมื่อถึงกาลสมัยก็แปรไปเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้แล

http://artitjawangso.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/83-2013-08-28-07-01-53
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #267 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 07:06:08 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิญญาณธา่ตุ มีในที่ใด เวทนาเกิดขึ้นมีในที่นั้น

วิญญาณธาตุนี้ เป็นตัวรู้เวทนาสัมผัส นั่งสมาธิปวดขา เพราะมีใจเข้ายึดครองในขา เวทนาจึงเกิดมีที่นั่น
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #268 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 02:29:26 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ
             [๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุ
น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การ
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
             [๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรม
สังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?
             พระผู้มีภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสัญญา
โดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑. เขาย่อมไม่ทราบ
ชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็น
อนัตตา. ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็น
จริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง. ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้
สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
             [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ เธอ
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่า
ทุกข์. ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า
เป็นอนัตตา. ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความ
เป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา
แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี. ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็น
ต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แล
ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา
ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
             [๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์
เสียได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็น
ลำดับ.
             พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควร
สะดุ้ง. ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธ-
*ปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้. ดูกรภิกษุ ส่วนอริย-
*สาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้
ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้. ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูป
เป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อ
ตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่อง
เสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป
จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร
ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัด
เสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม
ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี. ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.
จบ สูตรที่ ๓.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #269 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2017, 03:24:13 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มิลินทปัญหา
ทุติยวรรค
ธัมมสันตติปัญหา ที่ ๑

             ราชา  สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทาธิบดี  มีพระราชโองการถามอรรถปริศนาแก่พระ
นาคเสนว่า  ภนฺเต  นาคเสน  ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า  มนุษย์และบุรุษหญิงชายฝูงสัตว์ทั้ง
หลาย ๒ เท้าก็ดี ๔ เท่าก็ดี  หาเท้ามิได้ก็ดี  ครั้นเกิดมาในโลกนี้ถ้าเป็นชายเมื่อยังเป็นทารกอยู่
ครั้นเจริญวัยใหญ่ขึ้นก็กลายเป็นชายอื่นไป  ถ้าว่าเป็นสตรีก็เป็นสตรีอื่นไป ถ้าเป็นสัตว์สองเท้า
ก็กลายเป็นสัตว์สองเท้าอื่นไป ถ้าเป็นสัตว์สี่เท้าก็กลายเป็นสัตว์มีเท้ามากอันอื่นไปถ้าเป็นสัตว์
หาเท้ามิได้ก็กลายเป็นสัตว์หาเท้ามิได้อันอื่นไป ที่มีเท้ามากก็กลายเป็นสัตว์มีเท้ามากอันอื่นไป
อย่างนั้นหรือประการใด
             พระนครเสนวิสัชนาแก้ไขว่า  มหาราช  ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในราช
สมบัติ  อันว่ามนุษย์และสัตว์เดียรัจฉานทั้งปวงเกิดมาแล้ว  จะได้กลายเป็นอื่นไปนั้นหามิได้
ฝ่ายมนุษย์นั้นที่เกิดมาเป็นสตรีผู้นั้นก็เป็นสตรี ที่เกิดมาเป็นบุรุษผู้นั้นก็เป็นบุรุษ  จะว่าด้วยสัตว์
เดียรัจฉานเล่าก็เหมือนกัน  เกิดมาแล้วเป็นนามเป็นรูปสิ่งหนึ่ง  และจะกลายเป็นนามรูปอื่นหามิ
ได้ ขอถวายพระพร
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนคร  มีสุนทรพระราชโอการตรัสว่า  โยมยังสงสัย  นิมนต์
พระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้แจ้งก่อน
             พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช  ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร  เปรียบปาน
ดังบพิตรพระราชสมภารฉะนี้  เมื่อยังเป็นทารกแรกประสูตินั้น  พระกำนัลนางนมเชิญให้
บรรทมหงายอยู่บนพระที่พระยี่ภู่ ณ พระอู่ทอง  แต่เมื่อยังเป็นทารกอยู่นั้น  ครั้นทรงพระจำเริญ
มาคุ้มเท่าบัดนี้นี่  เป็นมหาบพิตรนี้หรือว่าเป็นอื่นไป
             พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสว่า  เมื่อเป็นทารกอยู่นั้นก็เป็นทารกอยู่  ครั้นจำเริญมา
ก็เป็นอื่นไป  จะได้เรียกว่าทารกนั้นคือโยมนี้มิได้ เมื่อเล็กอย่างหนึ่ง  เมื่อโตอย่างหนึ่ง ตกว่า
เกิดมาแล้ว เมื่อเป็นทารกมีนามรูปอย่างหนึ่ง  ครั้นจำเริญใหญ่แล้วก็เป็นอื่นไป  กระนี้แหละ
พระผู้เป็นเจ้า
             พระนาคเสนถวายพระพรว่า  ถ้าบพิตรพระราชสมภารตรัสฉะนี้  มารดาของมนุษย์บุรุษ
สตรีก็ดี  เมื่อแรกเกิดในกลละก็เป็นอื่น  เมื่อกลละข้นเข้าเป็นอัพพุทะ  มารดาก็จะเป็นคนอื่น
เมื่อจะเป็นชิ้นมังสัง  มารดาก็จะกลายเป็นอื่น  เมื่อตั้งฆนะเป็นเนื้อแน่น  ตราบเท่าแตกเป็นปัญจ-
สาขากายาบริบูรณ์นั้น มารดาก็จะกลายเป็นอื่นๆ ไปทุกที  ตราบเท่าออกจากครรภ์มารดายัง
เป็นทารกอยู่  มารดาก็จะกลายเป็นมารดาอื่น  ครั้นจำเริญใหญ่  มารดาก็จะกลายเป็นคนอื่น  นี่
มารดาก็ยืนอยู่ผู้เดียวมิได้กลับไปเป็นอื่น  ถ้าจะถือว่าตัวกลายเป็นผู้อื่นแล้ว  นับถือไว้ว่าเป็น
มารดาทำไม  อนึ่งเล่าเรียนศิลปศาสตร์ไว้แต่น้อย  ครั้นใหญ่โตแก่เฒ่าไป  ศิลปศาสตร์ที่เล่าเรียน
ไว้ก็จะมิพลอยกลายตามกายแก่เฒ่าไปด้วยหรือ ก็เมื่อเปล่าทีเดียว  ไฉนจึงจะทรงพระดำริ
ผิดไปฉะนี้เล่า ขอถวายพระพร
             ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร  จึงตรัสว่าเมื่อเป็นไปอย่างนี้เล่า  พระผู้เป็นเจ้าจะเห็น
เป็นกระไร  จงวิสัชนาไปในกาลบัดนี้
             พระนาคเสนจึงมีวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ยิ่งมิ่งมหาศาล  เปรียบปานเหมือนอาตมาฉะนี้แล เมื่อยังเป็นทารกอยู่ก็ตัวอาตมา  ครั้นว่าจำเริญ
ใหญ่มาก็ตัวของอาตมา  จะได้กลับกลายเป็นอื่นหามิได้  เมื่อบพิตรตรัสว่า  เมื่อน้อยๆ เป็นผู้นี้
เมื่อใหญ่เป็นผู้อื่น  ก็ถ้าเมื่อเล็กนั้นตีนด้วน  หัวด้วน  หูฉีก  ปากแหว่งก็ดี  ถ้าใหญ่ขึ้นกลายเป็น
อื่นได้ก็จะกลับกลายมีกายเป็นปรกติหาตำหนิมิได้ นี้แหละรูปเข้าใจแรกเกิดเป็นสตรีก็เป็นสตรี
เป็นชายก็เป็นชาย  ถึงมาตรว่าอุภโตพยัญชนกะที่ข้างเป็นชาย  ข้างแรมกลายเป็นสตรีนั้นก็ดี
ดวงจิตก็ดวงเดียว รูปก็เดียวนั้น จะได้เป็นอื่นหามิได้  เช่นอาตมาฉะนี้  เมื่อน้อยก็ตัวอาตมา
เมื่อใหญ่จนได้บรรพชานี้ก็ตัวอาตมา  ขอถวายพระพร
             สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงตรัสประภาษว่า  โยมนี้ยังสงสัย  นิมนต์พระผู้เป็น
เจ้าอุปมาอุปไมยให้แจ้งก่อน
             พระนาคเสนถวายพระพรว่า  มหาราช  ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานประดุจ
ประทีปอันเดียวบุคคลตามไว้แต่หัวค่ำจนรุ่ง  จึงใส่ไส้เติมน้ำมันไปกว่าจะรุ่ง ตามไว้เมื่อปฐม-
ยามนั้นจะเป็นประทีปอื่น หรือว่าในมัชฌิมยามมิใช่ประทีปนั้น เป็นประทีปอื่น  หรือว่าในปัจฉิม-
ยามล่วงแล้วมิใช่ประทีปนั้น  จะได้เป็นประทีปอันอื่นหรือประการใด
             พระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนครจึงมีพระบวรราชโองการตรัสว่า จะเป็นประทีปอื่นหามิได้
ประทีปในปฐมยามตามไว้ก็เป็นประทีปอันนั้น เมื่อมัชฌิมยามตามอยู่ก็ประทีปอันนั้น  เมื่อ
ปัจฉิมยามตามไว้ก็ประทีปอันนั้น  จะได้เป็นประทีปอันอื่นหามิได้
             พระนาคเสนเจ้าซักถามว่า  เพราะเหตุอะไรเล่า  มหาบพิตรพระราชสมภาร
             สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการแก้ว่า  เพราะเหตุว่าประทีปอันเดียวตามไว้

   พระนาคเสนถวายพระพรว่า  ประทีปอันเดียวตามไว้มิได้กลายเป็นอื่นไป  ยถา  มีครุวนา
ฉันใดก็ดี ธรรมสันตติสืบสายแห่งรูปธรรมนามธรรมขอสัตว์ที่เกิดมาด้วยจิตปฏิสนธิคือจิตเกิด
มานั้น และสืบสายแห่งรูปธรรมนามธรรมนี้  เดิมเมื่อยังไม่ปฏิสนธิคือยังไม่เกิดมานั้น เมื่อจะ
บังเกิดเมื่อจะดับก็ดี  ธรรมอันอื่นจะเกิดก็ดี  ธรรมอันอื่นจะดับก็ดี  ครั้นปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น
รูปธรรมกับนามธรรมนี้  ก็เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลังกัน  สัตว์ที่เกิดมาด้วยจิตปฏิสนธินั้น
ถึงจะจำเริญใหญ่แก่เฒ่าไปประการใดก็ดี น จ อญฺโญ จะได้เป็นจิตอื่นรูปอื่นหามิได้  คือปัจฉิม-
วิญญาณจิต  จิตแรกปฏิสนธิเกิดมานั้น จะได้เป็นสัตว์อื่นจิตอื่นหามิได้  ก็จิตดวงเดียวเมื่อเกิดนั้น
เหมือนประทีปดวงเดียวตามไว้ตั้งแต่ปฐมยามตราบเท่าปัจฉิมยามนั้น  ขอถวายพระพร
             ขณะนั้นพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร  มีพระบวรราชโองการตรัสว่า  ปัญหานี้โยมยังสงสัย
นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาอุปไมยให้ภิยโยภาวะยิ่งไปกว่านี้
             พระนาคเสนจึงถวายอุปมาสืบไปอีกเล่าว่า  มหาราช  ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้
ประเสริฐยิ่งมิ่งมหาศาล  ขอถวายพระพร  เปรียบปานประดุจน้ำนมโค  ที่บุคคลรีดแล้วใส่
ภาชนะขังไว้นาน  เวลากาลล่วงไปก็กลายเป็นทธิ แล้วนานเข้าก็เป็นนวนีตะเป็นเปรียงไป  ก็คน
ทั้งหลายจะเรียกอย่างไร จะเรียกว่านวนีตะใช่น้ำนม  ทธิใช่น้ำนม  เปรียงใช่น้ำนม  จะเรียกฉะนี้
หรือประการใด
             พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีตรัสว่าหามิได้  เขาไม่เรียกอย่างนั้น  เขาก็เรียกว่าน้ำ
นมนวนีตะ นมทธิ  นมเปรียง  อาศัยน้ำนมเดิมนั้น
             พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี  ธรรมสันตติคือสืบต่อเป็นรูปธรรม  นามธรรม
ตั้งขึ้นเกิดขึ้นเป็นรูปเป็นจิตแล้วจะจำเริญวัยใหญ่โตแก่เฒ่าไปประการใด  ก็ถึงซึ่งคงเรียกว่าจิตแรก
เกิดนั้น จะเป็นจิตอื่นจะเป็นผู้อื่นไปหามิได้  อุปไมยดุจนมโคอันกลายเป็นนวนีตะเป็นเปรียงนั้น
ใช่อื่นคือนมนั่นเอง  ขอบพิตรพระราชสมภารจงทราบพระญาณเถิด  ขอถวายพระพร
             พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรได้ฟังก็ยินดีปรีดา มีพระราชโองการตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้า
อุปมานี้สมควรกับปัญหาในกาลบัดนี้

ธัมมสันตติปัญหา คำรบ ๑ จบเท่านี้

กระทู้ถามตอบเรื่องราวประมาณนี้ https://pantip.com/topic/35598328/comment15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2017, 04:52:57 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 11, 2024, 12:53:13 AM