เมษายน 20, 2024, 01:09:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407821 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #270 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2017, 03:24:52 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๑๐. ผู้ที่ตายไปแล้วหากกลับมาเกิดอีกจะยังเป็นคนเดิมหรือเป็นคนอื่น
พระยามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ตายไปแล้วกลับมาเกิดอีก เขาจะคงเป็นผู้นั้น หรือว่าเปลี่ยนไปเป็นอีกคน
พระนาคเสนทูลตอบว่า จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนหนึ่งก็ไม่ใช่
พระยามิลินท์ : ขอเธอจงเปรียบเทียบให้ฟัง
พระนาคเสน : อาตมาภาพขอทูลถามว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์บรรทมอยู่ภายในพระอู่ กับเมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่ขึ้นในบัดนี้นั้น จะนับว่าเป็นพระองค์เดียวกันหรือต่างพระองค์กัน
พระยามิลินท์ : ต่างกันเป็นคนละคนทีเดียว
พระนาคเสน : ถ้าเป็นอย่างนั้น บิดามารดาของบุคคลหนึ่งๆ ก็มีหลายคนและมีลูกหลายครั้งน่ะสิ เช่นเมื่อยังเป็นเด็ก บิดามารดามีลูกคนหนึ่งเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็เป็นลูกอีกคนหนึ่ง ถึงปูนแก่เฒ่า ก็เป็นลูกอีกคนหนึ่ง
พระยามิลินท์ : หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่ถ้าเป็นเธอถูกถามเข้าบ้าง เธอจะตอบว่าอย่างไร
พระนาคเสน : อาตมาภาพก็ตอบว่า อาตมาภาพนี่แลเป็นเด็ก อาตมาภาพนี่แลเป็นผู้ใหญ่ อาศัยร่างกายอันนี้แล จึงนับว่าเป็นคนคนเดียวกัน
พระยามิลินท์ : ขอเธอจงเปรียบให้ฟังอีก
พระนาคเสน : การจุดโคมไฟ เขาอาจจะตามไว้ตลอดรุ่งได้มิใช่หรือ
พระยามิลินท์ : ได้สิเธอ
พระนาคเสน : เปลวไฟในยามที่ ๑ กับในยามที่ ๒ เป็นเปลวไฟอันเดียวกันหรือมิใช่
พระยามิลินท์ : ไม่ใช่
พระนาคเสน : และเปลวไฟในยามที่ ๒ กับในยามที่ ๓ ก็เป็นเปลวไฟอันเดียวกันหรือมิใช่
พระยามิลินท์ : ไม่ใช่
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร หรือเปลวไฟในยามทั้งสามนั้น ในยามหนึ่งๆ เป็นเปลวไฟอย่างละชนิด
พระยามิลินท์ : หามิได้
พระนาคเสน : นั่นแลฉันใด ความสืบเนื่องแห่งรูปธรรมนามธรรมก็ฉันนั้น อันหนึ่งดับ อันหนึ่งก็เกิดขึ้นแทน สืบเนื่องกันเรื่อยๆ ไป เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตายแล้วกลับมาเกิดอีก จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนหนึ่งก็ไม่ใช่
พระยามิลินท์ : เธอเปรียบน่าฟัง
ที่มา : หนังสือ รู้ก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิด โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)



- ตอนที่ ๖ -

 มิลินทปัญหา วรรคที่ ๒
 ปัญหาที่ ๑ ถามความสืบต่อแห่งธรรม
   สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอได้ตรัสถามปัญหาต่อไปว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดเกิดก็เป็นผู้นั้นหรือว่ากลายเป็นผู้อื่น? ”
     พระเถระถวายพระพรตอบว่า
     “ ไม่ใช่ผู้นั้น และไม่ใช่ผู้อื่น ”
     “ โยมยังสงสัยขอนิมนต์อุปมาก่อน ”
     “ ขอถวายพระพร มหาบพิตรเข้าพระทัยว่าอย่างไร…คือมหาบพิตรเข้าพระทัยว่า เมื่อมหาบพิตรยังเป็นเด็กอ่อน ยังนอนหงายอยู่ที่พระอู่นั้น บัดนี้ มหาบพิตรเป็นผู้ใหญ่แล้วก็คือเด็กอ่อนนั้น…อย่างนั้นหรือ? ”
     “ ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า คือเด็กอ่อนนั้นเป็นผู้หนึ่งต่างหาก มาบัดนี้โยมซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้วก็เป็นอีกผู้หนึ่งต่างหาก”
     “ มหาราชะ เมื่อเป็นอย่างนั้น มารดาก็จักนับว่าไม่มี บิดาก็จักนับว่าไม่มี อาจารย์ก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีศีลก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีศิลปะก็จักนับว่าไม่มี ผู้มีปัญญาก็จักนับว่าไม่มีทั้งนี้เพราะอะไร…เพราะว่ามารดาของผู้ยังเป็น กลละ อยู่ เป็นผู้หนึ่งต่างหาก มารดาของผู้เป็น อัพพุทะ คือผู้กลายจากกลละ อันได้แก่กลายจากน้ำใส ๆ เล็กๆ มาเป็นน้ำคล้ายกับน้ำล้างเนื้อ ก็ผู้หนึ่งต่างหากเมื่อผู้นั้นกลายเป็นก้อนเนื้อ มารดาก็ผู้หนึ่งต่างหาก เมื่อผู้นั้นกลายเป็นแท่งเนื้อ มารดาก็เป็นอีกผู้หนึ่ง เมื่อผู้นั้นยังเล็กอยู่ มารดาก็เป็นผู้หนึ่งอีกต่างหาก เมื่อผู้นั้นโตขึ้น มารดาก็เป็นอีกผู้หนึ่งต่างหาก อย่างนั้นหรือ…ผู้ศึกษาศิลปะ ก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้สำเร็จการศึกษาแล้วก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้ทำบาปกรรมก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก ผู้มีมือด้วนเท้าด้วน ก็เป็นผู้หนึ่งต่างหาก อย่างนั้นหรือ ? ”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น ผู้เป็นเจ้า ในเมื่อโยมกล่าวอย่างนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้าจะกล่าวว่าอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร เมื่อก่อนอาตมายังเป็นเด็กอ่อนอยู่ บัดนี้ ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อวัยวะทั้งปวงนั้น รวมเข้าเป็นอันเดียวกัน เพราะอาศัยกายอันนี้แหละ ”
     “ ขอได้โปรดอุปมาด้วย ”
     “ มหาราชะ เปรียบเสมือนว่า บุรุษคนหนึ่งจุดประทีปไว้ ประทีปนั้นจะสว่างอยู่ตลอดคือหรือไม่ ? ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ประทีปนั้นต้องสว่างอยู่ตลอดคืน”
     “ มหาราชะ เปลวประทีปในยามต้น ก็คือเปลวประทีปในยามกลางอย่างนั้นหรือ? ”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ เปลวประทีปในยามกลาง ก็คือเปลวประทีปในยามปลายอย่างนั้นหรือ ? ”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ มหาราชะ เปลวประทีปในยามต้น ก็เป็นอย่างหนึ่ง เปลวประทีปในยามกลาง ก็เป็นอย่างหนึ่ง เปลวประทีปในยามปลาย ก็เป็นอย่างหนึ่ง อย่างนั้นหรือ ? ”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น ผู้เป็นเจ้า คือเปลวประทีปนั้นได้สว่างอยู่ตลอดคืน ก็เพราะอาศัยประทีปดวงเดียวกันนั้นแหละ ”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ ธรรมสันตติ ความสืบต่อแห่งธรรม ย่อมสืบต่อกัน เมื่อสิ่งหนึ่งเกิด สิ่งหนึ่งดับ ย่อมติดต่อกันไม่ก่อนไม่หลัง เพราะฉะนั้น จะว่าผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าผู้อื่นก็ไม่ใช่ ย่อมถึงซึ่งการจัดเข้าในวิญญาณดวงหลัง ขอถวายพระพร”
     “ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”
     “ มหาราชะ ในเวลาที่คนทั้งหลายรีดนม นมสดก็กลายเป็นนมส้ม เปลี่ยมจากนมส้มก็กลายเป็นนมข้ม เมื่อเปลี่ยนจากนมข้น ก็กลายเป็นเปรียง ผู้ใดกล่าวว่า นมสดนั้นแหละคือนมส้ม นมส้มนั้นแหละคือนมข้น นมข้นนั้นแหละคือเปรียง จะว่าผู้นั้นกล่าวถูกต้องดีหรืออย่างไร ? ”
     “ ไม่ถูก พระผู้เป็นเจ้า คือเปรียงนั้นก็อาศัยนมสดเดิมนั้นแหละ”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ธรรมสันตติ คือความสืบต่อแห่งธรรม ก็ย่อมสืบต่อกันไป อย่างหนึ่งเกิด อย่างหนึ่งดับ สืบต่อกันไปไม่ก่อนไม่หลัง เพราะฉะนั้น จะว่าผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่า ผู้อื่นก็ไม่ใช่ ว่าได้แต่เพียงว่า ถึงซึ่งการสงเคราะห์เข้าในวิญญาณดวงหลังเท่านั้น ขอถวายพระพร ”
     “ พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขนี้สมควรแล้ว ”
   This download is available to users running genuine Microsoft Windows. Click the icon for more information.   สรุปความ   
      
ปัญหานี้พระเจ้ามิลินท์เข้าใจว่า คนที่เกิดมาแล้วจากเด็กมาเป็นผู้ใหญ่ ท่านเข้าใจว่าเป็นคนละคนกัน
  พระนาคเสนจึงชี้แจงว่า ความจริงก็เป็นคนเดียวกัน แต่ที่ท่านตอบว่า จะเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่จะเป็นผู้อื่นก็ไม่ใช่นั้น ก็เพราะอาศัย สันตติ ความสืบต่อกัน เปรียบเหมือนเปลวไฟและนมสดที่เปลี่ยนไป
  เมื่อเปลี่ยนไปแล้ว จะว่าเป็นของเดิมก็ไม่ได้ จะว่าเป็นของอื่นก็ไม่ใช่ แต่ต้องอาศัยความสืบต่อกันไป เหมือนกับร่างกายที่เกิดมาก็อาศัยอวัยวะเดิมแลัวค่อยเปลี่ยนแปลง เติบโตขึ้นมาจนกว่าจะแก่เฒ่าไป ก็ชื่อว่าเป็นบุคคลเดียวกันนั่นเอง




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #271 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2017, 09:28:24 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
จากมิลินทปัญหา - ตอนที่ ๖ - มิลินทปัญหา วรรคที่ ๒ - ปัญหาที่ ๑ ถามความสืบต่อแห่งธรรม (สันตติธรรม)

       ทำให้เห็นชัดถึงวิญญาณธาตุ หรือ จิตเดิม หรือ มนะ หรือ มโน นี้ได้ชัดเจนขึ้น ดังที่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่บุญกู้ เป็นต้น สอนไว้ว่า ธาตุ ๖ จิตเรานี้ท่องเที่ยวไป เกิดเป็นสัตว์บ้าง เป็นคนบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นเทพบ้าง เป็นคนบ้าง อาศัยเพราะมีทานจึงมีมิตรที่ทรัพย์บริวาร อาศํยมีศีลจึงได้เกิดเป็นคน อาศัยภาวนาจึงมีปัญญาไม่โง่ เป็นวิบากกรรมแห่งกุศลสะสมมาเป็นแดนเกิด เข้ายึดครองขันธ์ ๕ ต่างๆดังกล่าวนี้ ทั้งงาม ประณีต หยาบ ไม่งาม ก็ล้วนแล้วแต่กรรมนำไปเ)็นแดนเกิด เป็นที่พึ่งพาอาศัย
       ก็พอเมื่อมโนเรานี้ ถึงความปฏิสนธิหยั่งลงสู่ครรภ์ของมารดา จิตแรกที่เกิดปฏิสนที่มาอาศัยธาตุ ๕(ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ไม่รวมวิญญาณเพราะกล่าวแยกวิญญาณธาตุ คือ มโน ออกมา) ที่พ่อแม่สร้างมาให้เราอาศัยกำเนิดเป็นคน ก็นับเอาความเป็นบุคคลนั้นๆตั้งแต่นั้นสืบมา พร้อมกับธาตุ ๕ ที่เป็นกายเรานี้ก็เติบโตขึ้นมาพร้อมๆกันนั้นเอง ความแปรเปลี่ยนทางกายธาตุ ๕ มีความเกิดดับของมันเป็นธรรมดาตามกาล อาหาร อุณหภูมิ จากแม่ จนเมื่อโตคลอดออกมาก กาบนี้ก็เป็นทารก ดับความเป็นทารถ ธาตุ ๕ ได้รับการดูแลบำรุงก็เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ความเกิดดับที่สืบต่อกันไม่ก่อน ไม่หลัง ความเป็นสันตติธรรมที่ใจเข้าบึดครองเบื้องต้นอธิบายให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้ ดังนี้แลครูบาอาจารย์ท่านจึงกล่าวว่า จิตนี้ไม่ตาย จิตนี้ท่องเที่ยวไป กล่าวถึงวิญญาณธาตุในธาตุ ๖ คือ ปฏิสนธิจิตดังนี้



       หลวงหน้าสอนเราเมื่อวันที่ 8/6/59 ตอนเข้าไปหาหลวงหน้าแล้วบอกว่าเราทำสมาธิไป แล้วเข้าไปเจอจิตที่มันสว่างไสวเหมือนดวงอาทิตย์สีทองใหญ่มาก มันอิ่มเิบ จนเต็มแล้ว โดยนิมิตที่เห็นนั้นมีเพียงจิตที่ใหญ่มากมองไม่สิ้นสุดเหมือนเราอยู่บนตึกมองเห็นสิ่งรอบตัวไปไม่สิ้นสุด แล้วจิตมันก็สำรอกเอาความรัก ความชัง ความหลงออกมาด้วยความหน่าย เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้น ดับไป หรือพุ่งขึ้นแล้วพังลง จิตมันสลดสังเวช หน่าย พร้อมสำเนียกด้วยตัวมันเองว่าคนเรานี้โง่หนอไปไปทุกข์กับสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน แปรปรวนเป็นไปของมันเป็นธรรมดา เข้าไปจับ รั้งบังคับให้เป็นดังใจก็ไม่ได้แม้กระทั่งภายในกายตนนี้เอง ซึ่งเป็นอาการที่เห็นในฌาณ มีความคิดสลับกับไม่มีความคิด นิ่งมีแต่รู้สำเนียก ความรุ็ แช่เพ่งอยู่ พอมารู้ตัวก็กลับมาคิดได้ไม่เกิน 2-3 คำ ก็ดับลงอีก หลวงน้าก็หัวเราะแล้วพูดในเชิงที่ว่ามันไม่ใช่ อย่าไปอุปาทานมัน ให้รู้ ปรกติ วาง พร้อมสอนว่าจิตนี้เหมือนหลอดไฟนั้นแหละ เมื่อมีสิ่งมากระทบก็เหมือนเปิดสวิซท์มันใช้งาน เมื่อจิตพักก็เหมือนปิดสวิซท์ มันก็ติดๆ ดับๆไปเรื่อย แต่เราเห็นว่าจิตแล้วมันสว่างก็ดีแล้ว แต่อย่าไปยึดมัน อาการของจิตมีอยู่นนับบล้านๆอย่าง มันแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นนับล้านเท่านั้น รู้ ปรกติ วาง
       แต่โดยส่วนตัวเราแล้วหากไม่หลงผิดไปนั้น เพราะได้เห็นในฌาณดังนี้..จึงได้อาโลกะสัญญา อาโลกะกสิน วิญญาณกสินมา ในขั้นฝึกหัดเริ่มต้น (เพราะคนที่เข้าได้กสินแท้ๆแล้วจะเปลี่ยนมืดเป็นสว่าง สว่างเป็นมืดก็ได้ ปิด-เปิดสวิซท์รับรู้จิตได้) เห็นวิญญาณธาตุไม่ใช่ตัวเกิดดับ ตัวที่เกิดดับคือจิต มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์ ที่มันสุมรวมสมมติปรุงแต่งขึ้นมาให้รู้ความหมายในสิ่งนั้นๆแล้วมันก็ดับไป ซึ่งของแต่จริงของวิญญาณขันธ์ มันไม่มีรูปร่าง ไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน แค่เกิดขึ้นมาให้รู้สมมติ แล้วมันก็ดับไป
       หากเราไม่หลงผิดทางนี้ ได้เคยทำอากาศกสินในสมัยก่อนนี้ โดยเพ่งที่ว่างอัดเป็นวงขยาย เหมือนพลังคลื่นเต่า พลังจิต แล้วก็รู้สึกมันอัดแน่น ก็เหมือนจะทำอากาศขึ้นเป็นลมที่พองออกได้ ยุบได้ เพิ่งมารู้ในสมัยปฏิบัติว่า มีอากาศกสิน ที่ว่างไม่มีสิ้นสุดอันธาตุไม่สัมผัสกัน และ ยุบ-พอง ยุบหนอ พองหนอ ท่านเอาคุณของธาตุลมมาพิจารณา คือ ธาตุลม เป็น ลมกสิน
รวมอาโลกะสัญญา วิญญาณกสิน อากาศกสิน ความสงบนิ่ง คุณพระนิพพาน อุปสมานุสสติ ความดับ ความสละคืน จากอุเบกขาหรือความว่างมีมากในใจ ลงกสินเป็น อากาศมีมากในใจ



       เพราะความจริงวิญญาณ คือ ธาตุรู้ นั้นมีมากจำแนกเป็นหลายอย่าง พระอาจารย์(.ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง.) ได้สอนเราไว้ว่า เรานี้ต้องรู้จักว่า วิญญาณครองเป็นไฉน วิญญาณตัวไหนที่เป็นตัวท่องเที่ยวไป เหมือนกับเรารู้กาย มีกายครอง และ จิต มีจิตครอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2017, 04:07:30 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #272 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2017, 10:31:14 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ละวิญญาณขันธ์

การรู้จิต จิตเป็นตัวคิด ธรรมชาติใดคิดธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต ก็จิตที่เป็นตัวคิดนี้แหละกามจึงเกิด นันทิ ราคะ จึงมี การที่เราจะอยู่เหนือความคิดนี้ได้ จิตเราก็ต้องสูงกว่า ราคะ โทสะ โมหะ จิตจะสูงเหนือกว่าสมมติกิเลสเหล่านี้ได้ ก็ต้องอยู่ในที่ๆตะกอนกิเลสเอื้อมขึ้นไม่ถึง ดังนี้แล้ว ก็เปลี่ยน สัญญา สันดาร โดยมากมันมักคิดเกินกว่าที่เห็น ได้ยิน ได้กลิน ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสกาย สัมผัสใจ ก็ต้องดึงจิตออกมาให้อยู่เหนือมัน ใกห้มันเกิดขึ้นแล้วสำรอกมันออกจากจิต เสพย์ ไม่หวั่นไหว ไม่ข้องแวะ ไม่เผลอไผลไหลตาม ทำปัจจุบันให้แจ้ง ปัจจุบันนั้นแหละทำให้จิตเราสูงเหนือความคิดสมมติกิเลส


สะสมเหตุในมรรคให้เป็นสันดาร อบรมกรรมฐานให้อินทรีย์มีกำลัง

- เมื่อเราเกิดรู้สมมติกิเลสมีขึ้นแก่ตน เห็นตัวทุกข์เกิดขึ้น
- พึงรู้ว่าเราใจเรานี้อยู่เสมอหรือต่ำกว่าสมมติกิเลสเหล่านั้น ทำให้มันกลืนกินใจเราใจ เหมือนราหูอมจันทร์ ดังนั้นเราจะต้องไปไกลกว่ามัน 1 ก้าว จนถึง 100 ก้าว หรือใหญ่กว่าที่กิเลสมันจะกลืนกินเราได้
- เราจะทำไฉนให้ห่างออกจากมัน ลองหวนระลึกดูว่าเวลาที่เราไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ เรามีความตรึกนึกคิดในสมมติกิเลสต่อสิ่งนั้นหรือไม่ ก็ไม่มี ก็เฉยๆ เราก็ไม่เร่าร้อน ดังนี้แล้วแน่นอนคือความนั่นเองทำให้สมมติกิเลสปะทุขึ้นให้ใจเร่าร้อน เราก็ควรจะละความคิดนั้นๆไปเสีย
- กรรมฐานมีมากมาย 40 กอง ล้วนแล้วแต่เอาไว้พักจิต พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณัสสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ หรือกองอื่น พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติ เป็นต้น
- ทำความรู้ตั้งมั่นสักแต่ว่ารู้ไว้ในใจ ไม่ให้ความสำคัญไรๆกับมัน มันแค่สมมติ จิตรู้สิ่งใดมีความคิดสิ่งนั้นล้วนรู้ด้วยสมมติทั้งหมด ไม่ยึดจิตก็ไม่ยึดสมมติ ไม่ทุกข์ร้อน ไปจนถึงไม่ยึดจับเอาอะไรเลยนอกจากลมหายใจที่กำลังเข้า กำลังออกนี้แหละของจริง วาโยธาตุในกายเ)็นกายสังขาร
- เมื่อรู้ว่าใจตนนี้กำลังมันน้อย ทานไม่ได้ หรือได้บ้างไม่ได้บ้าง เผลอไผลบ่อยๆบ้าง เราก็ต้องรู้ว่าความเห้นนี้ๆมันเป็นแค่ทางเท่านั้น เรายังไม่ได้เดินตามทางแท้ๆมันเลยได้แค่รู้กับคิดเอาเท่านั้น เราต้องสะสมอบรมจิตให้ไปตามเหตุ เพื่อให้จิตมีกำลังเดินไปในผลได้ตามจริง สิ่งใดที่ทำให้ฉลาดกในกายปล่อยวางมันได้เล่า ความอิ่มเต็ม หน่าย ไม่แสวงหา ความเย็นใจ ไม่เร่าร้อน กิเลสย่อมน้อย ใจผ่องใสย่อมไร้กิเลส มันก็คือ ทาน สีล ภาวนานี้เอง
- การจะยัง ทาน สีล ภาวนาไว้ได้ตลอดนี้ ก็ต้องรู้ปัจจุบันขณะของตน แล้วอะไรทำให้รู้ได้เล่าปัจจุบันนั้น มีสติก็รู้ปัจจุบัน สิ่งที่เกื้อกูลคู่สติก็คือสัมปะชัญญะ เราก็ทำสัมปะชัญญะให้แจ้ง รู้กิจการงานที่ทำในปัจจุบัน รู้อิริยาบถเป็นต้น จัดเป็น สัมปะชัญญกายานุปัสสนาทั้งสิ้น ดังนี้แลทำความรู้ตัว รู้ใจบ่อยๆ คู่กับรู้ลมหายใจ การรู้ลมอยู่ทุกขณะ เป็นกิริยาจิตของพุทโธ เป็นกิริยาจิตของผู้ทรงฌาณ เมื่อทรงฌาณนิวรณ์ย่อมอ่อน ย่อมดับ ย่อมดับ ย่อมตกเป้นเพียงตะกอนเพราะไม่มีเหตุให้สืบต่อ เมื่อทำความรู้นี้ๆเสมอกันไปด้วยใจรู้ว่าเป็นการเอาใจเราก้าวข้ามความคิด อยู่สูงเหนือสมมติความคิดกิเลสทั้งปวง ย่อมมีคุณเป็นอันมาก


สะสมเหตุพละ ๕ ในมรรคให้เป็นสันดาร อบรมกรรมฐานใช้ชีวิตประจำวัน

ราคะ โทสะ โมหะเกิด ให้รู้ตัวว่าธรรมอันเร่าร้อนประกอบไปด้วยทุกข์เกิดมีแก่ใจตน
- เราไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ มีหน้าที่แค่รู้เท่านั้น
- ทำใจให้อยู่เหนือ โลภ โกรธ หลง
- เมื่อจะกระทำไรๆต่อมันให้มองหาประโยชน์จากมัน

เมื่อเกิด ราคะ โทสะ โมหะ ตอนขณะพบประ พูดคุย สนทนา
ก. มองดูความประโยชน์จากมันว่า ใจเรานี้ยังไม่สัอาดผ่องใส กอปรประชุมอยู่ด้วยกิเลสในจิต เอากิเลสมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน นี่ใจเราอยู่สูงเหนืออารมณ์สมมติกิเลสไป 1 ก้าวแล้ว
ข. ให้มองดูสิ่งที่ทำให้มันเกิดมีขึ้นเราจะรู้ว่า เหตุให้มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ติดใจข้องแวะสิ่งไหน เพราะอะไร นี่ใจเราก้าวข้ามอยู่สูงเหนืออารมณ์สมมติกิเลสไป 2 ก้าวแล้ว
ค. ฝ่ายตรงข้าม บุคคลเหล่านั้น สัตว์นั้น สิ่งนั้นๆ ที่ทำให้เราได้รู้เห็น ที่ทำให้เราได้รู้เราได้ยิน ที่ทำให้เราได้รู้เราลิ้มรส ที่ทำให้เราได้รู้สัมผัสกาย ที่ทำให้เราได้รู้สัมผัสใจอย่างนั้นๆเพื่ออะไร ทำกาย วาจา ใจ กระทบเราอย่างนี้ๆด้วยเหตุใด เขามีอะไรที่ร้อนเร่าในใจอยู่จึงแสดงออกมาอย่างนั้น เขาต้องการจะสื่ออะไร มีความต้องการของใจอย่างไร นี่ทำให้เรามองข้ามเหนืออารมณ์สมมติกิเลสขึ้นมาอีกก้าวแล้ว ใจเราก้าวข้ามอยู่สูงเหนือกว่าอารมณ์สมมติกิเลสไป 3 ก้าวแล้ว
ง. เมื่อทำตามข้อ ก. ข. ค. ย่อมเห็นเหตุที่มากระทบ เมื่อรู้แล้วเราก็ทำใจเหมือนเดาใจ ทบทวนแนงทาง เทียบเคียง จากอนุมานคาดคะเนเดาใจ จนเข้าข่ายสถิติตามความจริงในสิ่งต่างๆทางกาย วาจา ใจ ที่เราจะใช้โต้ตอบ เพื่อตอบสนองความต้องการในใจของฝ่ายตรงข้าม นี่แสดงว่าใจเราก้าวข้ามอยู่สูงเหนือกว่าอารมณ์สมมติกิเลสไป 4 ก้าวแล้ว
จ. เมื่อได้ แนวทางการพูด การทำที่ตะตอบโต้ตอบสนองใจเขาแล้ว กา่อนที่เราจะทำต้องกรองด้วยใจผ่องใส ไม่เบียดเบียนทำร้ายใครก่อน โดยการพิจารณาดังนี้
- พิจารณาเห็นคุณในสิ่งที่เรากำลังคิดจะพูด คิดจะทำอยู่นั้น
- พิจารณาเห็นโทษในสิ่งที่เราคิดจะพูด คิดจะทำอยู่นั้น
ฉ. พิจารณาจากสภาพจิตใจ อุปนิสัยของเขา อนุมานคาดคะเนเทียงเคียงความเป็นไปได้เมื่อเขาจะตอบสนองหรือโต้กลับเราในทางต่างๆทั้งดีและร้าย คุณและโทษต่อเขา และเราในภายหน้า ไม่ใช่แค่จบการสนทนา แต่หมายถึงเมื่อเรื่องสืบต่อไปภายหน้า วันหน้า หรือกว้างไกลไปในที่อื่น เมื่อพิจารณาดังนี้ ขณะนั้นใจเราอยู่สูงเหนือกิเลสไปอีก 5 ก้าวแล้ว (แรกๆเหมือนยุ่งยากมากขั้นตอน หากเราอบรมจิตบ่อยๆ ทำบ่อยจนเป็นอุปนิสัยสันดาร พร้อมกับทำสมาธิให้จิตเราได้พักมากๆ บ่อยๆ จิตเราก็จะมีกำลัง ลำดับเส้นทางเดินของมันอย่างเป็นระเบียบโดยสันดาร ความจำได้หมายรู้ของมันเองอัตโนมัติ จิตมันจะไปไวมาก สมดั่งคำว่าจิตไปไวกว่าแสง ดังนี้จิตเราจึงขาดไม่ได้ซึ่ง
- ปัญญาเห็นชอบตามจริงเป็นองค์แรก ที่ 1 ที่ควรระลึกรู้เพื่อให้เกิดแนวทางมากมายในการแก้ไขปัญหา
- สืบต่อในการระลึกรู้ด้วยทาน ศีล ความอิ่มใจพอ ความไม่เบียดเบียน และสัมมัปปธาน ๔ เป็นองค์ที่ 2
- สืบต่อในการระลึกรู้ด้วยสมาธิภาวนาเป็นองค์ที่ 3 อบรมจิตให้เป็นกุศล ฉลาดในการปล่อยวาง ให้จิตได้พัก แช่ นิ่ง ว่าง ไม่ไหวติงกระเพื่อม ไม่รับรู้ นี่คือ.."จิตได้พัก"
- เมื่อครบองค์จิตจะทำงานเป็นระบบขึ้นหมดความคิดฟุ้งซ่าน หมดความคิดฟุ้งเฟ้อที่ไม่จำเป็น คิดน้อยลง เมื่อจะคิดก็คิดเป็นระบบในสิ่งนั้นๆจำเพาะ ได้ไว มีเป้าหมายตั้งต้นที่ชัดเจน และตรงมากกว่าที่เคยเป็น เห็นจริงมากขึ้น ตีออกนอกกรอบความคิดความจำสัญญาที่เป็นอัตตาทั้งปวงที่ทับถมปิดกั้นเราไว้ เพราะมันลำดับ เหตุ ผล คุณ โทษ และการโต้ตอบว่า ถ้าเกิดเราทำอย่างนี้ๆ เขาควรจะเป็นยังไง ถ้าเขาตอบโต้มาอย่างนี้ๆ เราจะตอบโต้ยังไง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2017, 01:35:49 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #273 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2017, 09:26:45 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
    กายคตาสติ หรือ กายานุปัสสนามีอย่างไร สิ่งนั้นล้วนเป็นกายทั้งหมด ตั้งแต่ลมหายใจ สัมปะชัญญะ อิริยาบถ ทวัตติงสาการ ธาตุ อสุภะ ล้วนเป็นการทั้งสิ้น ถ้าทำใจคือตั้งความสงบปักดิ่งลงแน่นิ่งไม่ได้ ให้ดูกายดังข้างต้นนั้นนี้ จนเมื่อเข้าฌาณได้แม้ใน รูปฌาณ ๔ ก็เป็นกายทั้งสิ้น
    จะพ้นกายก็นับแต่ อากาศ, ใจ-มโน, ละอุปาทานทั้งปวงไม่ยึดเอาอะไรทั้งสิ้น, ความปราศนิวรณ์สัญญา-สันดารเดิมแต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความจำ เพราะยังมีความรู้เข้าใจจำได้อยู่, นิโรธสมาบัติดับ

- ความว่างจากกาย ความสละคืนกาย(ธาตุขันธ์) ความไม่มีกาย ไม่ยังกายอยู่อีกนี้ๆเป็นสุข
- จิตตั้งอยู่ภายในจิต จิตจับในจิต ไม่จับเอาสิ่งใด สุขในจิตจึงพรั่งพรู
- ไม่ยึดเอาอะไรทั้งนั้น ทุกสิ่งล้วนสมมติทั้งสิ้น
- นิโรธสมาบัติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2017, 10:26:20 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #274 เมื่อ: กันยายน 28, 2017, 03:57:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทานกับฟังธรรม มันเป็นคนละส่วนกัน
ทาน คือ ให้
ฟังธรรม คือ ภาวนาเพิ่มปัญญาอบรมจิต

ศรัทธาคู่ปัญญา จึงเกิด ทาน ศีล ภาวนา ผมของความทำไว้ในใจโดยอยบคายด้วยปํญญาลงศรัทธา ทำให้เกิดมีความเพียรเป็นอานิสงส์

ความเพียรคู่สติ มีความระลึกรู้เท่าทันอยู่ทุกขณะที่เพียรอยู่ เมื่อมีสติสัมปะชัญญะกำกับรู้ตัวทั่วพร้อมในความเพียรนั้น ทำให้เกิดมีสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียวในสิ่งที่เพียรอยู่นั้นเป็นอานิสงส์

เมื่อมีสัมมาสติคู่สมาธิทำให้จิตได้พัก ไม่แล่นกระเพื่อมมั่วซั่วไปตามอารมณ์ที่มากระทบ ควาหดหู่ฟุ้งซ่านหมดไป ปัญญาความรู้มากมายเกิดมีขึ้น ลำดับร้อยเรียงเรื่ิองราวมากขึ้น จิตทำงานอย่างเป็นระบบหนุนความระลึกรู้และมองกว้างขึ้น จัดระเบียบความคิดในเหตุ ปัจจัย ผล ความน่าจะเป็นที่มีคุผณภาพดีขึ้นสูงขึ้น แต่ยัวเป็นเพียงทางโลกหรือโลกียะ เพราะเป็นระดับความคิด อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ อนุมานคาดคะเน จนเมื่อสติและสมาธิที่สมดับกลายเป็นอารมณ์เดียว ดิ่งลงแช่แนบนิ่งไม่ไหวติง นั่นคือจิตได้พัก จิตอิ่ม เป็นสุข มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องแล่นพล่านไปหาหรือเอาอารมณ์ไรๆที่มาตกกระทบใช้ยึดเหนี่ยวเป็นเครื่องอยูอาศัยของมัน จิตหยุดพล่าน จิตจะทำตัวสักแต่เป็นผู้รู้ เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ อาศัยสัมมาสติกลั่นกรองแยกแยะ ลำดับเหตุ ปัจจัย ผล เห็นความเป็นไปตามจริงเกิดปัญญาเห็นธรรม จิตตื่นจากสมมติแล่นเข้าญาณคือมรรค(มัคสะมังคี) เป็นนิพพิทาญาน จิตแล่นเข้าญาณคือปัญญา แล่นตรงเข้าไปที่จิตเดิมแท้เพื่อชำระกิเลสคือ อวิชชา นิวรณ์ อกุศลมูล ๓ เป็นวิราคะสัมโพชฌงค์เข้าตัดอุปาทานสมมติทั้งปวง (ด้วยเหตุดังนี้สัมโพชฌงค์จึงมีแค่พระอริยะเท่านั้น พระอริยะเอาไว้ใช้ล้างขันธ์ดังนี้ ปุถุชนจะทำได้เพียงเข้าฌาณตามจุดโพชฌงค์ ๗ เท่านั้น) สิ่งที่ได้จากวิราคะคือผล คือวิมุตติ

เราเกิดมาลำบากเพื่อจะได้ศึกษาฝึกปรือเรียนรู้วิชา ใช้ชีวิตฝ่าฝันในหลายรูปแบบเพื่อให้ตนเองแกร่งกล้า ลับเขี้ยวเล็บตนเองให้คม เหมือนพระนเรศวร์มหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่๙ พระเจ้าอาเธอร์ ที่ต้องตกระกำลำบากก่อนเพื่อให้ได้เรียนรู้ฝึกปรือวิชาและความสามารถทั้งปวงในทุกๆด้านให้บริบูรณ์ เพื่อที่จะทวงคืนอิสระภาพ ประเทศชาติ และเพื่อปกครองชนทั้งหลายในภายหลังอย่างทรงธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาพรัอมพัฒนาประเทศด้วยปัญญาอันกว้างไกลไร้ขีดจำกัดนั่นเอง

ความเพียร

ทางโลก เพียรเพื่อความสุขทางกาย ที่ใจอ่อนไหวไปยึดอารมณ์
ทางธรรม เพียรเพื่อความสุขใจที่ใจไม่ยึดอารมณฺ มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง

ทางโลก เพียรแสวงหาความต้องการทางกาย คือมีทรัพย์สินบริวารที่พร้อม
ทางธรรม เพียรแสวงหาเพื่อความต้องการของใจ คือถึงซึ่งความหลุดพ้นทุกข์

ทางโลก เพียรเพื่อสนองความต้องการให้ได้มาซึ่งสิ่งสมมติที่จิตรู้
ทางธรรม เพียรเพื่อสนองความต้องการหลุดพ้นซึ่งสมมติที่จิตรู้

ทางโลก เพียรเพื่อสนองเวทนาจากผัสสะที่มากระทบให้จิตรู้
ทางธรรม เพียรเพื่อละเวทนาจากผัสสะที่มากระทบให้จิตรู้

ทางโลก เพียรเพื่อได้ผัสสะที่รู้ทางสฬายตนะ
ทางธรรม เพียรเพื่อละผัสสะที่รู้ทางสฬายตนะ

ทางโลก เพียรเพื่อได้สิ่งที่จิตรู้
ทางธรรม เพียรเพื่อละสิ่งที่จิตรู้

ทางโลก เพียรยึดตัวรู้
ทางธรรม เพียรดับตัวรู้

ทางโลก เพียรสนองสันดาร (นิวรณ์)
ทางธรรม เพียรดับสันดาร (นิวรณ์)

ทางโลก เพียรสนองสันดร (อวิชชา)
ทางธรรม เพียรดับสันดร (อวิชชา)
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #275 เมื่อ: กันยายน 28, 2017, 04:17:11 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..พระธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้..
..เราสามารถนำมาใช้ในทางโลกได้ง่ายมาก เพราะมีสอนทั้งฆราวาส และ สมณะ..
..ซึ่งไม่ว่าในทางใดล้วนมีทั้ง จิตตวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหาร ดังนี้..

1. เราต้องรู้จักทุกข์ก่อน

 ทำไมจึงต้องกำหนดรู้ ด้วยเหตุดังว่า..ครอบครัว หมู่บ้าน ทีมงาน บริษัท ประชาชน ประเทศ เรามักจะเห็นผู้คนในสถานภาพต่างกัน บางคนมีเงินไม่มีบ้าน บางคนมีบ้านไม่มีเงิน บ่างคนมีที่แต่ทำกินไม่ได้ บางคนไม่มีที่แต่พยายามจะใช้ทำมาหากิน ประยุกต์ใช้ บางคนรวยล้นฟ้ามีทุกอย่าง บางคนขอทานกินไร้บ้าน บางคนมีครบแต่ขาดปัญญา บางคนไม่มีอะไรสักอย่างแต่มีปัญญา ด้วยเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้นทำให้ทุกข์ของแต่ละคนไม่เท่ากัน และ ด้วยส่วยตัวของบุคคลนั้นแต่ละคนจะต่างกัน แม้มีสถานภาพเดียวกันแต่ก็ยังทุกข์ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน นั่นเป็นเพราะจริตอุปนิสัยของตัวบุคคลนั้นต่างกัน ดังนั้นการจะดูแลเรื่องเศรษกิจต่างๆ เราต้องรู้ทั้วงส่วนบุคคล กลุ่มคนว่ามีความคิดต่าง ความเห็นตามตรงไหน ทัศนคติยังไง รวมถึงมองในสิ่งที่มีอยู่ คือ สถานะภาพครอบครัว บุคคล กลุ่มคน สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ สถานการณ์ของสังคม และการตลาดของเขาไปจนถึงระดับชาติ และระดับโลก มันจึงจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องเข้าถึงในคนหลายๆระดับ ทุกข์ของคนหลายๆรูปแบบ เพื่อจะเรียนรู้วิถีชีวิตของเขา หาข้อเด่น ข้อด้อยของเขา ภูมิความรู้ที่เขามี ความต้องการของใจ การตอบสนองความต้องการทางกายและใจเขา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อตัวเขาเองและคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.1 การกำหนดรู้ทุกข์ คือ การรู้จักธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตจำกัดความโดยรวมได้ดังนี้ว่า..

1. แปรปรวน, เปลี่ยนผันอยู่ทุกๆขณะจิต ไม่คงที่ กล่าวคือ..ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงในโลก ย่อมมีความรู้สึก มีความตรึกนึกคิดปรุงแต่ง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงดังนี้
1.1 ความหน่วงนึกในอารมณ์ สุขกาย สุขใจ
1.2 ความหน่วงนึกในอารมณ์ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
1.3 ความสำคัญมั่นหมายของใจ
1.4 ความปรุงแต่งอารมร์ความรู้สึก คือ รัก โลภ โกรธ หลง

สิ่งที่อยู่ภายในใจของสิ่งมีชีวิตทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นธรรมชาติที่แปรปรวนกลับกลอกไปมา ไม่คงที่ ไม่ตั้งอยู่ได้นานแปรเปลี่บน เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปตามเหตุปัจจัยต่างๆนาๆ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตมันย่อมมีความแปรปรวนไปเรื่อย ไปต่างๆนาๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวอยาก เดี๋ยวไม่อยาก เดี๋ยวอิ่ม เดี๋ยวหิว เดี๋ยวเจ็บ เดี๋ยวป่วย เดี๋ยวแข็งแรง กลับคำ กลับใจ เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชัง เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด แปรปรวนกลับไปกลับมาไม่สิ้นสุด ไม่ใช่เห็นเขาเมตตา เกื้อกูลรักใคร่จะทะนงตน มันแปรปรวนเป็นเกลียดชังผูกแค้นกันได้เสมอๆ ดังนั้นสิ่งที่เราควรรู้และปฏิบัติ จากธรรมชาติที่แปรปรวนของสิ่งมีชีวิต คือ..

ก. ในระดับการวางตัววางใจของเรา  ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย มีใจวางไว้กลางๆ ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใด ต่อสิ่งที่เขาแสดง
..เมื่อเขาแปรปรวนใช้อารมณ์ เราต้องใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึกนึกคิดที่มากระทบใจเรา ไม่ว่าจะเป็นความรัก ชอบ ชัง ใคร่ โกรธ เกลียด หลง
- หากเรายินดีหลงไหลความเกื้อกูลเมตตาเขาเกินจริง จะทำให้เราทะนงตน เป็นคนย่ำกับที่หลงตน ไม่กระตือรือร้น
- หากเราเจ็บแค้นกับคำด่าเขา เราจะไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้จากเหตุการณ์นั้น ไม่นำข้อคิดมาปรับปรุงตร ไม่แสวงหาสิ่งที่ดีกว่า ไม่ทำตนให้ดีกว่าที่เป็น ความเกลียดชังจะปิดกั้นปัญญาทันที

** ในทางเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์การปกครอง จิตวิทยาทำให้เห็นความแปรปรวนของคน มีความกลับกลอกเสมอๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเด็นดังนี้

ข. ในระดับคน หรือกลุ่มคน ผลประโยชน์ระหว่างคน หรือ บริษัท
- การพูดคุยส่วนบุคคล..สังเกตุต้องดูอารมณ์ ท่าที การแสดงออกของเขา ใช้ปัญญาความรู้ที่ชัดเจนตอบโจทย์ความต้องการในใจของเขา โดยไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวของตน
- เรื่องการเจรจา..ทำให้เรารู้ว่าเมื่อคนมีความแปรปรวนอยู่ทุกขณะ เราก็ต้องรู้วิธีที่จะเข้าหาเขาในแต่ละอารมณ์ความรู้สึก และความรู้ความสามารถที่เรามีต้องครอบคลุมกว้างไกลมากขึ้น เพื่อจะตอบโจทย์ความต้องการในใจเขาได้ วันนี้เขาดีกับเรา วันหน้าอาจจะฆ่าเราก็ได้ ดังนั้นเราต้องตื่นตัวอยู่เสมอและหาความรู้ที่ครอบคลุมในงานนั้นๆ พร้อมแง่คิด แนวทางต่างๆเพื่อจะตอบความแปรปรวนของเขาในแต่ละระดับ เมื่อต้องคุยสนทนาเจรจาเมื่อเขาแข็งเราต้องดูท่าทีอารมร์ความรู้สึกเขา ดูความต้องการในใจของเขา ถามสิ่งที่เขาต้องการ มีลูกล่อลูกชนรับอารมร์เขา เขาแข็ง เราอ่อนรับฟังแต่มีจุดยืน แล้วใช้จุดยืนและความรู้หรือแนวทางที่เรามีนั้นแหละตอบโจทย์ทางใจของเขา เราต้องฉลาดในอารมณ์ที่รจะรับมือเขาใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึก พร้อมเมื่อทำการตกลงใดๆเพื่อป้องกันความแปรปรวนก็ต้องมีเอกสารข้อมูลและหลักฐานการเจรจาบันทึกรับรองไว้ บันทึกเสียงไว้

ค. ในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด กลุ่มบริษัท ประเทศชาติ ระดับนี้ให้ดูเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ซึ่งเมื่อมองกว้างๆเราจะเห็นว่า..เราไม่อาจจะตอบสนองความต้องการของใจเขาได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่จะตอบโจทย์ความต้องการของใจเขาได้แท้จริงนั้นคือ ให้เขาทำตอบสนองและได้รับผลลัพธ์นั้นด้วยตัวของเขาเอง เราทำได้แค่ยื่นแนวทาง ทรัพยากร และ วิธีการดำเนินการให้เขาได้เท่านั้น ผลลัพธ์เขาต้องเก็บเกี่ยวเอาเอง
- ดั่งในหลวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราย รัชกาลที่ ๙ ของไทย ผู้ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลชนชาวสยาม..ทรงได้ชี้ทางเศรษฐกิจพอเพียงให้ ก็มีทั้งคยนที่สนใจและคนที่ไม่สนใจ ซึ่งห้ามไม่ได้ เพราะเขามองภาพไม่ออก มองไม่เห็นภาพนั่นเอง คิดแต่เฉพาะหน้า ไม่คิดถึงภายหน้าในความยั่งยืนนั่นเอง ดังนั้นคนรวยบางคนจึงไม่เอา คนจนบางคนจึงไม่สน..ก็ว่ามันไม่รวย แต่คนที่ทำเขาเห็นผลได้ด้วยตัวของเขาเอง เขาก็จะเริ่มประมาณตนเอง ประเมินผลตนเอง เริ่มสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง ความแปรปรวนลดลง มีจุดมุ่งหมายมากขึ้น แล้วก็เริ่มเห็นผลลัพธ์จนเป็นที่โจทย์จันไปทั่วโลก แม้ต่างประเทศก็มาขอแนวทาง ต่อมาพอคนที่ไม่สนใจได้เห็นภาพลักษณ์ก็ค่อยมาเร่งทำตาม ทำช้าก็ให้ผลช้าตามไป เหมือนเราสะสมเหตุช้าก็ได้ผลช้า สะสมเหตุไวก็เห็นผลไว

2. ไม่เที่ยง, ไม่มีตัวตน, เป็นทุกข์ กล่าวคือ..ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงในโลก ไม่มีความรู้สึกที่ยั่งยืน ไม่รักกระสันใคร่เสพย์ตลอดไป ไม่ต้องกการในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเสมอไป ไม่โกรธตลอดไป ไม่ลุ่มหลงตลอดไป จนรวมไปถึง ลาภ ยศ เงิน ทอง สรรเสริญ คนรัก ของมีค่า ก็ย่อมไม่รู้กับเขาตลอดไปเช่นกัน ย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด หากสิ่งนั้นๆไม่แปรปรวน หายจาก ผุพัง ตาย ดับสูญ สลายไปก่อน..ก็จะคงอยู่กับเขาได้นานสุดเพียงแค่หมดลมหายใจเขานี้เท่านั้น ดั่งโลกธรรม ๘ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้..
2.1 ความไม่เที่ยง โดยทำความเข้าใจใน..โลกธรรม ๘ หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 8 ประการอันประกอบด้วย
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ

2.2 ความไม่ใช่ตัวตน ซึ่งไม่ว่าจะเป็น สิ่งภายนอก คือ โลกธรรม ๘ และ สิ่งภายใน คือ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ได้แก้ โสมนัส โทมนัส รัก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น สิ่งนั้นๆไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับของใคร ผู้ใดในโลก ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา ไม่เป็นที่บังคับ จับต้องให้เป็นไปได้ดั่งใจปารถนาหมดทุกประการได้ โลกธรรม ๘ เป็นสิ่งโลกบัญญัติขึ้นมาแต่เรานั้นแหละที่เข้าไปยึดเอง แม้แต่กายเราเขาตัดเอา ตับ ไต ปอด ไส้ ไปผ่าทั้งๆที่บอกว่าเป็นตน เป็นของตนเขาตัดออกก็ยังไม่ตาย เมื่อตัดออกเอามากองให้ดู ตับ ไต ปอด นั้นหรือที่เป็นเรา เป็นเขา ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร หาใช่ตัวตนของใครไม่

2.3 เมื่อเข้าใจใน ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โลกธรรม ๘


3. กรรม คือ แรงจูงใจและการกระทำ
4. อิ่มไม่เป็น คือ การแสวงหาดิ้นรน และ ความพอเพียง คือ อิ่ม, หยุด


.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2017, 09:00:38 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #276 เมื่อ: กันยายน 29, 2017, 01:45:30 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1.2 การกำหนดรู้ทุกข์ คือ การรู้สิ่งที่เขาเป็นอยู่ ที่แสดงออกมาอย่างนั้น
ทางพุทธเศรษฐศาสตร์และการปกครอง คือ การรู้วิถีดำรงชีพของเขา..อาชีโว, ด้วยประการดังนี้..

ก.)วิถีความรู้ชัดที่มี ..ทิฏฐิ
    ก๑.)ความรู้จริงโดยพื้นฐานที่เขามีอยู่
    ก๒.)มุมมองความคิดเห็น ทิศทางความเห็น-คิด-อ่านที่เขามี
    ก๓.)จุดยืนแห่งความรู้เห็นของเขา ที่นำไปสู่วิถีความคิดของเขา

ข.)วิธีคิดหรือแนวทางความคิดของเขา ..สังกัปปะ
    ข๑.)หลักการคิด จุดยืนที่เขาเอามาคิด
    ข๒.)ลำดับ ทิศทาง  แนวทางความคิด ความเป็นเหตุเป็นผลของในความคิดของเขา
    ข๓.)การผสมผสานความคิดต่างๆของเขา ที่นำไปสู่การกระทำต่างๆทั้งหลายทั้ง คิด พูด ทำของเขา

ค.)วิธีสื่อสาร จากการพูด การทำ..วาจา-กัมมันโต
    ค๑.)การแสดงออก การวางตัว
    ค๒.)วีธีการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่เขามี เพื่อจะสื่อให้ผู้อื่นรับทราบ
    ค๓.)วีธีการแสดงความคิดเห็นที่เขามี หรือวิธีการตอบโจทย์ความต้องการของใจคนที่เขามี

ง.)การดำรงชีพ..อาชีโว
    ง๑.)การรู้วิถีแนวทางการดำเนินชีวิตของเขา
    ง๒.)สถานภาพความเป็นอยู่
    ง๓.)กิจการงานที่ทำ
    ง๔.)วิธีคิด แนวความคิดของเขาต่อสิ่งต่างๆ

จ.ความมุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ทำ, ความขยัน, ความกระตือรือร้นในงาน..วายาโม

ฉ.ความระลึกได้ ความไตร่ตรองคำนึงถึง รู้ตัว รู้ใจ..สติ
    ฉ๑.)พิจารณาโดยความเป็นธรรมชาติ เข้าใจความเป็นธรรมชาติชอง คน สัตว์ สิ่งของ
    ฉ๒.)เสถียรภาพการรับรู้ ความเข้าใจความเป็นอยู่ ความเป็นไป ความต้องการ ความรู้สึกทั้งเขาและเรา
    ฉ๓.)ความพิจารณาคำนึงถึงที่กว้างกว่าความจมอยู่ ตั้งอยู่แค่ในความต้องการถึงผลลัพธ์ที่เห็นเฉพาะหน้า

ช.)ความสุขุม ใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึกคิดอ่าน..สมาธิ
    ช๑.)ความมีใจเกื้อกูลกัน
    ช๒.)มีใจเว้นจากความมุ่งร้าย ไม่คิดร้ายต่อใคร-สิ่งใด กล่าวคือ ไร้ซึ่งความตระหนี่, ริษยา, อภิชฌา, โทมนัส
    ช๑.)เปิดมุมมองรับรู้สิ่งต่างๆด้วยความไม่ติดขัดข้องใจ ไม่ติดใจข้องแวะ
    ช๒.)ความมีใจสงบผ่องใส เย็นใจไม่ร้อนรุ่มร้อนรนตามความรู้สึกนึกคิด รักชอบ เกลียดชัง กลัว ไม่รู้แจ้งชัดความจริง

ซ.)ความรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งต่างๆ การใฝ่รู้
    ซ๑.)รับความรู้ใหม่ๆ ใฝ่ความรู้ ขยันศึกษาหาความรู้ ซึ่งต้องเพียรด้วยสติ ขณะเดียวกันก็ใช้ปัญญาวิเคราะห์พิจารณาสังเกตุดูเนื้อหา สภาพสถานการณ์ ความเป็นสิ่งนั้นๆ มุมมองที่สื่อออกมาจากสิ่งนั้นๆ จุดที่ใช้คิด หลักในการคิด วิธีคิดที่ทำให้ออกมาเป็นสิ่งนั้นๆ โดยสิ่งนี้เราต้องมีคุณสมบัติของนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ
 สุ(สุตตะ คือ การเรียนรู้ต่างๆ เช่น ความรู้จากการดู การอ่าน การฟัง)
 จิ(จินตะ คือ การคิดทำความเข้าใจ ความวิเคราะห์ตาม สังเกตุ พิจารณาในสิ่งที่รับรู้อยู่นั้น)
 ปุ(ปุจฉา คือ การถาม ไถ่ถามเพื่อความรู้ยิ่งรู้แจ้งใจ เมื่อไม่รู้สิ่งใดให้ถามเพื่อความเข้าใจยิ่งๆขึ้น ไม่แน่ใจให้ถาม ไม่รู้สถานการณ์ว่าควรไหมให้ถามก่อน)
 ลิ(ลิขิต คือ เขียน จด เมื่อเรารู้สิ่งใดทำความเข้าใจชัดเจนแล้วให้จดบันทุกไว้ทบทวนกันลืม หรือ สิ่งใดที่รู้แล้วยังไม่แน่ใจให้จดบันทึกไว้เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ทำความเข้าใจ หรือสอบถามผู้รู้ต่อไป)
          - ดู/ฟัง/อ่าน
          - สังเกตุ คิดวิเคราะห์พิจารณาตาม
          - ถามเมื่อไม่เข้าใจเพื่อความรู้ชัด
          - จด บันทึกไว้ทบทวนความจำกันลืม
          - ลงมือทำ ให้คุ้นชิน ทำให้เป็นให้ได้ เพื่อรู้วิธีและแนวทางการทำ และรู้ชัดตามจริง
    ซ๒.)ความคิดสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้งาน คือ นำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ท้องถื่น ความต้องการของคน
    ซ๓.)การชักจูง การจุดประกายสร้างแรงบรรดาลใจต่อผู้อิื่น
    ซ๔.)ความฉะฉาน คิดไว ลำดับไว ตรองไว พิจารณาไว มองกว้างไกลไว สามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง เฉียบพลันและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าด้วยความเข้าใจจริงเป็นเหตุเป็นผลได้
** ซึ่งข้อนี้หากเราไม่มีพรสวรรค์ไม่ฉลาดจริง..เราต้องอาศัย
          - การเรียนรู้ ใช้ความรู้ที่แจ้งชัดแทงตลอดที่ครอบคลุมเป็นอันมาก
          - ทั้งต้องอาศัยประสบการณ์ การเจอสถานการณ์ที่กลื่นไม่เข้าคายไม่ออก ในรูปแบบต่างๆ คือ..เราคิดตอบโต้ไม่ทันในตอนนั้น แล้วมาคิดภายหลังว่าเจอแบบนี้เราควรตอบโจทย์ปัญหานั้นยังไงในหลายๆรูปแบบ หลายๆครั้ง
          - แสวงหาประโยชน์จากความผิดพลาดหรือความเสียหายนั้น ว่าเป็นครูเป็นกำไรชีวิต โดยไม่ใช่เอามาเจ็บใจเจ็บแค้นภายหลัง แต่เอามาใช้ประโยชน์จากมัน
          .. เช่นว่า.. หากเจอแบบนี้อีกเราจะทำแบบไหน ยังไงจึงจะตอบโจทย์แก้ปัญหาได้ แล้วทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆจนมันลงใจ มันจะกลายเป็นอุปนิสัย จริตสันดาน ของเราในภายหน้าต่อไป
          .. เพราะหากคนที่พอพูดอะไรก็มีคนเออออตามตลอดไม่ว่าจะผิดหรือถูกใช่หรือไม่ใช่ ไม่มีใครกล้าเถียง เขาจะไม่สามารถได้รับปัญญาข้อนี้ได้เลย
          .. ดังนั้นที่เราถูกขัด ถูกแย้ง ถูกถอนหงอก ถูกย้อนศรกลับ ถูกตำหนิ ถูกด่าจนเถียงไม่ได้ ตอบโต้ไม่ออกนั้นก็เพื่อให้เราสะสมเหตุปัญญาในข้อนี้ เพราะมันจะทำให้เราขยันศึกษาหาความรู้ที่แจ้งชัดแทงตลอด เปิดกว้าง ไม่จำกัดยึดถือเฉพาะส่วนมากขึ้น

             _อุปมาเหมือนคนเล่นหมากรุก เล่นโกะ เล่นโอเทลโล่ หรือเกมส์ต่างๆ เมื่อแรกเริ่มเล่นนี้จะรู้กฏกติกาและวิธีเล่นเพียงเล็กน้อย จนเมื่อมีความสนใจจริงก็จะเรียนรู้กฏกติกาและวิธีเล่นของเกมส์มากขึ้น จนเมื่อเจอกับคนเก่งๆที่ตนสู้ไม่ได้ เห็นวิธีการเขาเดิน วิเคราะห์วิธีเล่นเขาโดยดูในมุมมองความคิด แนวทางการคิดวิเคราะห์ จุดยืนที่เขาจับ ภาพรวมทิศทางที่เป็นไป ทางแก้หมากแก้ปัญหา เมื่อดูแล้วเรานำมาวิเคราะห์พิจารณา ลงมือทำ ตีออกนอกกรอบเดิมๆที่ตนยึดถือหรือทำอยู่ มองให้กว้างในหลายๆทิศทาง ทั้งการอนุมานคาดคะเนที่จะเป็นไปได้ว่าเมื่อเราเดินหมากตรงจุดนี้ๆ เขาจะมีที่เดินใดๆมุมใดได้บ้าง เมื่อเดินมุมนี้เกมส์จะเปลี่ยนไปในทิศทางใด
_เมื่อฝึกทำสะสมบ่อยๆเล่ยบ่อยๆเป็นประจำๆจนชำนาญ จากเราใช้เวลานานมากในการคิดการเดิน จิตที่มีสติเป็นสมาธิคือมีความตั้งมั่นในสิ่งนั้นไม่สอดแทรกความฟุ้งซ่านเลอะเทอะให้รกสมอง มันจะเริ่มลำดับจัดระเบียบแบบแผนแนวคิด วิธีคิด จุดยืนต่างๆเป็นลำดับ เป็นระเบียบ จนเมื่อกลายเป็นความจำได้หมายรู้ที่ติดเป็นจริตอุปนิิสัยตน เมื่อเจอเหตุการณ์แบบเดิม สถานการณ์แบบเดิมมันจะหวนระลึกคำนึงถึงได้ทันท่วงที รวดเร็ว ว่องไวไม่ใช้เวลานาน..นี่เรียกว่าสะสมเหตุ ซึ่งจะต้องเริ่มจากความรู้ทิศทางที่ครอบคลุมที่ถูกต้อง จุดยืนความคิด การสังเกตุ การวิเคราะห์ ความคิดวิเคราะหฺตีออกนอกกรอบกว้างไกล ความเป็นไปได้ การลงมือทำ ความชำนาญการ ความคิดสร้างสรรค์ และการปรับปรุงประยุกต์ใช้ ดังนี้

_อุปไมยเปรียบเสมือน..เกมส์โอเทลโล่ หมากรุก โกะ เกมส์ต่างๆ คือ กิจการงานที่เราทำ ต้องทำ
_อุปไมยเปรียบเสมือน..คู่ต่อสู้ที่เก่งที่ทำให้เราจนตรอก คือ ผู้ที่จะขัดแย้งในงาน ต่อต้าน ไม่สนับสนุนคอยตำหนิว่ากล่าวในงานของเรา หรือผู้ที่มีไวยาวุฒิสูงกว่าเรา หรือผู้ที่จะทดสอบปัญญาความคิดแก้ปัญหาของเรานั่นเอง ซึ่งสิ่งมีชีวิตนี้จะเปลี่ยนทิศทางความคิดความรู้สึกวิธีการณ์ใหม่ๆได้เสมอๆนับล้านๆแบบตามอาการของจิต
_อุปไมยเปรียบเสมือน..รูปแบบของเกมส์ทิศทางของหมากต่างๆ คือ ภัยเศรษกิจ หรือ ผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆที่มีความแปรปรวนอยู่เสมอๆทุกๆขณะ ที่เราจะต้องแก้ปัญหาให้ผ่่านพ้นไปได้
(เหมือนแรกเริ่มเล่นเกมส์โอเทลโล่ เราใช้เวลา 5 นาที เมื่อรู้ครอบคลุมชำนาญการคล่องแคล่วคิดไวขึ้น จำกัดเวลาขึ้นเราจะใช้เวลาเกมส์เพียง 1 นาที)

             _ด้วยเหตุเพราะ..ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้นมันมีความแปรปรวนอยู่เสมอๆ ตลอดเวลา ทุกขณะจิต..เมื่อรู้แล้วก็ทำความเข้าใจมากขึ้น เมื่อครอบคลุมก็แก้ไขสถานการณ์ได้ นี่เป็นคุณสมบัติของปฏิสัมภิทาญาณไม่ใช่ได้มาง่ายๆ เราต้องทำสะสมเหตุมันอย่างมาก
             _ส่วนคนที่เขาทำได้ มีพรสวรรค์ ชาติก่อน หรือกาลก่อนเขาก็เคยเจอแบบนี้แล้วสะสมเหตุแบบนี้มาก่อนเรามานาน หลายชาติ หลายกัปป์ หลายอสงไขยจนกลายเป็นจริตสันดารเขา พอเขาเกิดมาชาตินี้ก็จึงได้พรสวรรค์อุปนิสัยนั้นๆติดตามมานั่นเอง

สมดั่งคำของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ได้ทรงตรัสสอนไว้ว่า.. เรามีกรรมและวิบากกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมนั้นแหละเป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัยแก่เรา เราจะทำกรรมใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาทคือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไปทุกภพทุกชาติ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงสอนปัญญา ทาน ศีล ภาวนา ดังนี้ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นมีเหตุมีผลของมันเสมอๆ**


1.3 การกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อการปกครอง

การปกครองคน กลุ่มงาน ทีม ครอบครัว
1. ศรัทธา สร้างความเชื่อมั่นต่อเขา ซึ่งความเชื่อจะเกิดขึ้นได้นั้นก็ต่อเมื่อเราทำความเชื่อใจ เราทำเชื่อมั่นให้คน กลุ่มคน ทีมงาน ลูกเมีย บริวาร เชื่อใจได้ว่า
ก. เราจะไม่ทำร้ายเขา
ข. เราจะช่วยเหลือเขา
ค. ซื่อสัตย์
ง. ไม่ทิ้งเขา เอื้อเฟื้อประโยชน์สุขโดยชอบธรรมแก่เขา
 ทำให้เขาเชื่อว่าเมื่อเขาร่วมมือหรือเชื่อมั่นในเราแล้วจะไม่มีผิดหวัง มีความจริงใจ สัตย์จริง ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือของเรามองให้แก่เขา
- เมื่อความเชื่อมั่นเกิดขึ้นโดยชอบความยินดี ความร่วมมือ ความเกื้อกูล ความสัตย์ ของคน บึคคล กลุ่มคน ตครอบครัว บริวารย่อมเกิดมีแก่เราโดยไม่มีทางที่จะแปรเปลี่ยนได
- หากศรัทธาที่ยังไม่เกิดหรือพังลงไปแล้วเราก็ต้องเพียรสร้างศรัทธานั้นขึ้นมาใหม่โดยชอบ ให้เขาเชื่อใจมั่นใจในเรา ทั้งความสามารถที่จะแก้ปัญหา การพัฒนา ความจริงใจ ความตรง ความสัตย์ ดัวนั้นเราจึงต้องใฝ่รู้อยู่เสมอ
2. ปัญญา ปลูกฝังปัญญาโดยชอบให้เราและเขา โดยแบ่งปันวิชาความรู้ทั้งปวงเพื่อให้เขาดูแลกิจการงานที่ทำ และดูแลตนเองได้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ฝึกให้เขาใฝ่รู้
3. วิริยะ ปลูกฝังความเพียรให้เราและเขา
4. สติ ฝึกให้เราและเขาเป็นผู้มีสติ ระลึกได้ แยกแยะได้
5. จิตที่ผ่องใสตั้งมั่น

* วนครบรอบจนแทงตลอดได้ฐานกำลัง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันควบคู่ไปพร้อมกับ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการดำรงชีพ สร้างปัญญาในการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง มีทุกข์เป็นต้น*

2.
3.
4.
5.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2017, 09:34:59 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #277 เมื่อ: กันยายน 29, 2017, 09:01:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1.3 การกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อการปกครอง

การปกครองคน กลุ่มงาน ทีม ครอบครัว
1. ศรัทธา สร้างความเชื่อมั่นต่อเขา ซึ่งความเชื่อจะเกิดขึ้นได้นั้นก็ต่อเมื่อเราทำความเชื่อใจ เราทำเชื่อมั่นให้คน กลุ่มคน ทีมงาน ลูกเมีย บริวาร เชื่อใจได้ว่า
ก. เราจะไม่ทำร้ายเขา
ข. เราจะช่วยเหลือเขา
ค. ซื่อสัตย์
ง. ไม่ทิ้งเขา เอื้อเฟื้อประโยชน์สุขโดยชอบธรรมแก่เขา
 ทำให้เขาเชื่อว่าเมื่อเขาร่วมมือหรือเชื่อมั่นในเราแล้วจะไม่มีผิดหวัง มีความจริงใจ สัตย์จริง ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือของเรามองให้แก่เขา
- เมื่อความเชื่อมั่นเกิดขึ้นโดยชอบความยินดี ความร่วมมือ ความเกื้อกูล ความสัตย์ ของคน บึคคล กลุ่มคน ตครอบครัว บริวารย่อมเกิดมีแก่เราโดยไม่มีทางที่จะแปรเปลี่ยนได
- หากศรัทธาที่ยังไม่เกิดหรือพังลงไปแล้วเราก็ต้องเพียรสร้างศรัทธานั้นขึ้นมาใหม่โดยชอบ ให้เขาเชื่อใจมั่นใจในเรา ทั้งความสามารถที่จะแก้ปัญหา การพัฒนา ความจริงใจ ความตรง ความสัตย์ ดัวนั้นเราจึงต้องใฝ่รู้อยู่เสมอ
2. ปัญญา ปลูกฝังปัญญาโดยชอบให้เราและเขา โดยแบ่งปันวิชาความรู้ทั้งปวงเพื่อให้เขาดูแลกิจการงานที่ทำ และดูแลตนเองได้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ฝึกให้เขาใฝ่รู้
3. วิริยะ ปลูกฝังความเพียรให้เราและเขา
4. สติ ฝึกให้เราและเขาเป็นผู้มีสติ ระลึกได้ แยกแยะได้
5. จิตที่ผ่องใสตั้งมั่น

* วนครบรอบจนแทงตลอดได้ฐานกำลัง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันควบคู่ไปพร้อมกับ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการดำรงชีพ สร้างปัญญาในการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง มีทุกข์เป็นต้น*

2.
3.
4.
5.
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #278 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2017, 01:30:13 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง

      การก้าวข้ามขีดจำกัดของตน คือ การแข่งกับตนเอง ไม่ได้แข่งกับใคร สู้กับตนเองเพื่อเอาชนะตนเอง ไม่ใช่เอาชนะใคร..ด้วยเหตุดังพระศาสดาตรัสสอนดังความว่า..เมื่อเราเอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น ผลที่ได้คือทุกข์เท่านั้น เพราะย่อมหาความเบาสบายใจ สงบใจ เย็นใจไม่ได้ นอกจากความร้อนรุ่ม เร่าร้อนไปด้วยความใคร่ ความโลภ ความอยาก ความรัก ความชัง ความหลง ความริษยา 
การก้าวข้ามขีดจำกัดตนนั้นเมื่อรู้ว่าสิ่งไหนดี แบบไหนอย่างไรที่ยอดเยี่ยม ที่มีคุณค่าและประโยชน์สุขต่อตนเองและผู้อื่น ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกอย่างจบลงด้วยดีไม่สร้างความเสียหายสูญเสีย หรือสูญเสียน้อยที่สุด มากกว่าความรู้สึกรัก ชัง โลภ อยากในสิ่งที่ปรนเปรอตน ความเคียดแค้น ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันเป็นฝ่ายเร่าร้อน สร้างความเสียหายอย่ามหันต์จนถึงความฉิบหายจากการกระทำนั้น ย่อมตั้งมั่นที่จะกระทำ ..เมื่อทำแล้วคิดว่าตนทำไม่ได้ ทำได้แค่นี้ แค่นิดหน่อย หรือมีปัญญาแค่นี้ ให้เกิดความท้อถอย ..เราก็จะต้องยังสติสัมปะชัญญะ ความตั้งใจมั่น ทำความเพียรให้เกิดขึ้น ตั้งใจมั่นที่จะทำ ..ด้วยแลเห็นประโยชน์ที่ใช้ดำรงชีพของตนและคนรอบข้างว่า ขนาดทำได้เล็กน้อยเท่านี้..ก็ยังต่อลมหายใจให้เราก้าวต่อไปได้ด้วยดีจนถึงขณะนี้ตอนนี้ได้ หากทำสำเร็จมันจะเอื้อฟื้อประโยชน์สุขให้เกื้อกูลต่อเราและคนทั้งหลายได้มากยิ่งกว่านี้อีกขนาดไหน แม้จะไม่เห็นผลสำเร็จก็ยังดีที่ได้ทำ ที่มันไม่จบลงด้วยดีดั่งเราปารถนาไว้นั้นเพราะทุกอย่างมันยังไม่จบ มันแค่เพิ่งเริ่ม หรือแค่เห็นแสงสว่างกลางทางเท่านั้นเรื่องราวมันยังไม่จบ ยังไม่สำเร็จจบบริบูรณ์ด้วยดี เรายังจำเป็นต้องสานเรื่องราวกระทำมันต่ออีกจนกว่ามันจะจบบริบูรณ์ ดังนี้แล้วสิ่งที่เราก้าวข้ามขีดจำกัดนี้มีทั้งในทางโลกและทางธรรม เช่น..

ก. ทางโลก คือ การเรียนศึกษา วิชาความรู้ กิจการงานที่ทำ การปฏิบัติต่างๆ คอยพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ท้อถอย เพราะรู้ด้วยใจว่านี่เป็นสิ่งดีมีคุณประโยชน์ ใช้ดำรงชีพหรือเพื่อสอนลูกหลานในภายภาคหน้าได้ แม้สิ่งที่เราเพียรทำอยู่นั้นมองไม่เห็นผลสำเร็จเลย แต่เราก็รับรู้ได้เสมอๆว่า เพราะความตั้งใจมั่น เพียรทำด้วยสตินั้นแหละที่ต่อลมหายใจของเรามาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเวลานี้ๆได้ ผู้ไม่ตั้งมั่นทำความเพียรด้วยสติสุดท้ายย่อมจมอยู่กลางมหาสมุทร แต่ผู้เพียรอยู่แม้มองไม่เห็นฝั่งก็ยังสามารถต่อลมหายใจเขามาได้จนเวลานี้
  - วิธีเจริญความเพียร ให้ตั้งเป้าหมาย จุดหมายไว้ เอาสติปัญญาตั้งใจไว้มั่นอยู่คู่ความเพียร พึงระลึกว่าเราทำได้มากกว่า เราไปได้ไกลกว่านี้ เราจะก้าวข้ามกำแพงที่ปิดกั้นความสามารถของเราอยู่นี้ จะพังกำแพงนั้นลงเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของตนออกไป เพื่อไปอยู่ในจุดที่สุงกว่าอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีขีดจำกัดความสามารถของตนเอง คนอื่นทำได้ก้าวข้ามได้มีมาก เราก็ต้องข้ามได้ เข้าถึงได้ด้วยความชอบ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีพระบรมศาสดา, พระเจ้าอโศกมหาราชพระมหาจักพรรษดิ์, พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ ของไทย พระองค์ก็ล้วนก้าวข้ามขีดจำกัดของตนทั้งสิ้น..ด้วย
๑. ปัญญา(สัมมาทิฏฐิ, ความมีความคิดเห็นก้าวข้ามสมมติกิเลสและความเห็นที่ปิดกั้นใจไม่ให้แจ้งโลกหรือกั้นความรู้ยิ่ง, การก้าวข้ามความคิดความเชื่อที่สุดแค่ที่ท่องจำหรือเชื่อตามๆกันมา)
๒. สัจจะ(พระอริยะสัจ ๔, ทาน ศีล ภาวนา)
๓. หัวใจนักปราชญ์ ดู/ฟัง/อ่านศึกษา คิดวิเคราะห์หัดสังเกตุทำความเข้าใจตาม ถามเมื่อไม่เข้าใจเพื่อความแจ้งกระจ่างในสิ่งนั้นๆ จดบันทึกไว้ทบทวนกันลืม ลงมือทำปฏิบัติ
๓. วิริยะ(ตั้งใจมั่น ความเพียรไม่ท้อถอย ขยันเรียนรู้ฝึกปรือทบทวนตน)
๔. ทมะ(ความคิดชอบ)
๕. ขันติ(ความอดใจไว้ได้)
๖. โสรรัจจะ(ประพฤติชอบ)
๗. จาคะ(ทานสละแล้ว การกระทำที่มีใจสละให้แล้วไม่หวงแหนในสิ่งที่ปรนเปรอตน)
๘. อุปสมะ(ความว่าง ความไม่มีความพ้นสมมติกิเลส)

ข. ทางธรรม คือ เอาชนะและขจัด สันดาร จริต อุปนิสัย(นิวรณ์) เจตนาแห่งอกุศล(มโนกรรม) และ สันดร อนุสัย (อวิชชา)ความเป็นสัตว์ที่ฝั่งลึกเป็นตะกอนทับถมเรามานานนับอสงไขย..เพื่อเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ (สัตว์ ในทางธรรมคือผู้ที่ยึดครองขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีจิตผ่องใส(อบรมจิตภาวนา ดับอกุศลธรรมอันลามกจัญไร) มีใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลแบ่งปัน(ปัญญาเกิดในจาคะ) เว้นจากความเบียดเบียน(ปัญญาเกิดในเจตนาเป็นศีล) ไม่อคติลำเอียง(ดับโมหะ คือ ความโง่ ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลง) กล่าวคือ..มีใจประกอบด้วยความอารีย์ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล สงเคราะห์ สละ แบ่งปัน ความผ่องใสยินดีในความสุขสำเร็จโดยชอบของผู้อื่น การไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก ไม่เอาความสุขสำเร็จชองตนไปผูกขึ้นไว้กับใครหรือสิ่งไรๆในโลก ความละเว้นการกระทำทางกายวาจาใจอันเป็นการเบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่น ก้าวข้ามความรัก โลภ โกรธ หลง มีใจสูงเหลือตะกอนสมมติกิเลสอันนอนเนื่องที่ฟุ้งขึ้นแก่ใจเรานี้ อุปมาเหมือนดวงแก้วมณีอันอับแสงที่เกือกจมอยู่ในมหาสมุทรแห่งกิเลส ได้ลอยขึ้นไปในอากาศอันกว้างว่างแผ่ขยายแสงอันสว่างไาวผ่องใสกว้างไกลไม่สิ้นสุด ด้วยพ้นจากห้วงน้ำแห่งมหาสมุทรที่แปดเปื้อนไปด้วยกองกิเลสฉันนั้น
- วิธีเจริญความเพียร ฝึกให้ใช้ปัญญาเสมอๆ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ไม่คล้อยตามเอนเอียงความคิดความอ่านความเห็นอันเร่าร้อนด้วยความรัก ด้วยความชัง ด้วยความกลัว ด้วยความไม่รู้ความจริง สำเนียกในใจไว้เสมอๆว่าเราจะก้าวข้ามความโสมมแห่งกิเลสที่เร่าร้อน ร้อนรุ่มเผาผลาญกายใจเราให้ฉิบหายเมื่อหลงเสพย์หรือคล้อยตามมันไป จิตเราจักพ้นจากความเร่าร้อนอันยังความฉิบหายมาสู่ตนได้ เราไปได้ไกลกว่านี้ จิตเราสูงกว่านี้ได้อีก การเกือกในกองทุกข์แห่งสมมติกิเลสเป็นเรื่องของผู้มีสันดารปุถุชน ผู้มีสันดานแห่งพระสัตตะบุรุษหรือสันดานแห่งพระอริยะย่อมก้าวข้ามขีดจำกัดในสันดาร-สันดรของสัตว์ไปได้เสมอๆแน่นอน แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีพระบรมศาสดา, พระเจ้าอโศกมหาราชพระมหาจักพรรษดิ์, พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ ของไทย พระองค์ก็ล้วนก้าวข้ามขีดจำกัดของตนทั้งสิ้น..ด้วย
๑. ความเห็นชอบ
๒. ศรัทธา
๓. หิริ โอตตัปปะ
๔. ทาน ศีล ภาวนา
๕. อริยะสัจจ์ ๔
๖. อิทธิบาท ๔
๗. สัมมัปปธาน ๔
๘. พละ ๕
๙. สุจริต ๓
๑๐. มหาสติปัฏฐาน ๔
๑๑. สัมโพชฌงค์ ๗
๑๒. วิมุตติญาณ ๙. ญาณ ๑๖

หมายเหตุ อิทธิบาท ๔ และ พละ ๕ นี้ ธรรมคู่อันงาม คือธรรมที่ต้องเจริญคู่กันเอื้อประโยชน์ต่อกันเพื่อให้ได้ผลสูงสุด กับ ธรรมที่เกื้อกูลกันเป็นเหตุแก่กันสืบต่อกัน ..เป็นคนละอย่างกัน เช่น

ตัวอย่างธรรมคู่
ความจริง กรรม วิบากกรรม คู่ ไตรลักษณ์ นี้เป็นธรรมคู่ที่เอื้อประโยชน์กัน ความจริงอันเป็นเหตุเป็นผลโดยชอบธรรมนี้เป็นเหตุให้เกิดความรู้ยิ่งตามจริง คือ ปัญญา และ หิริ โอตตัปปะ
ปัญญา คู่ ความเชื่อ ๔ นี้เป็นธรรมคู่ที่เอื้อประโยชน์กัน ความไม่ปิดกั้น ไม่หลงตน ไม่ถือตัว ไม่ยึดหลง ไม่หลงอยู่ รู้แจ้งเห็นจริง ความจริง ความเป็นเหตุเป็นผลตรวจสอบพิจารณาเห็นชัดได้ ไม่เชื่อเพราะหลงงมงายขาดสติระลึกไม่ได้หรือเชื่อตามๆกันมาแบบไม่มีเหตุไม่มีผลไม่เป็นจริง ความละอายต่อบาปกรรม เกรงกลัวต่อบาปกรรม ต้องใช้คู่กับความเชื่อทั้งหมด นี่คือศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือ สัทธาพละ, สัทถินทรีย์
สัทธา คู่ ฉันทะ นี้เป็นธรรมคู่ที่เอื้อประโยชน์กัน ความเชื่อด้วยความรู้เห็นตามจริงไม่ปิดกั้นด้วยสมมติกิเลสของปลอม ทำให้เกิดความตั้งใจที่จะทำ มีจุดหมาย เป้าหมายที่จะทำด้วยความยินดี นี้คือฉันทะอิทธิบาท ๔
สติ คู่ ปัญญา นี้เป็นธรรมคู่ที่เอื้อประโยชน์กัน ความระลึกได้ หวนระลึกคำนึกถึงความรู้ต่างๆด้วยพิจารณาตามจริง ทำให้ไม่ใช้ความรู้สึกมากกว่าความรู้เห็นตามจริง นี่เรียกหัวใจนักปราชญ์
สติ คู่ ความเพียร นี้เป็นธรรมคู่ที่เอื้อประโยชน์กัน ความระลึกได้ ระลึกรู้ คำนึงถึง หวนระลึกตรึกตรองพิจารณาร่วมกับสภาวะ สภาพอาการ ผล วิเคราะห์เปรียบเทียบในสิ่งที่ตนทำความเพียร ทำให้ไม่ตึงหรือย่อนไป ไม่กระสันในผล เป็นที่สบายกายใจ ทำให้ทำสะสมเหตุได้ด้วยดี รู้ปัจจุบัน จะเห็นชัดว่านี่คือตึงไปฟุ้งซ่านไปควรลด-ควรละ ดังนั้นให้ทำเป็นที่สบายกายใจ แต่เป็นประจำไม่ขาด ยินดีในผลแต่ไม่หวังกระสันเอาผลจนเกินไปว่าจะต้องเอาต้องได้เดี๋ยวนั้นตอนนั้น เหตุยังไม่ทำจะไปเอาผลได้ยังไง จะเห็นชัดว่าสิ่งนี้หย่อนไปเหลาะแหละไม่เป็นแก่นสารใช้สะสมเหตุไม่ได้ดังนั้นควรทำให้มาก บ่อยๆ เนืองๆ ประจำๆในสิ่งนี้ๆ ระลึกได้แยกแยะดีชั่วในสิ่งที่เกิดที่ทำ สิ่งใดควรละ ไม่ควรเสพย์ สิ่งใดคสรเสพย์ ควรทำให้เกิดมีในกายใจตน สติคู่ความเพียรชื่อว่า สังวรปธาน มีทั้งในอิทธิบาท ๔, พละ ๕, มรรค ๘, สุจริต ๓, สัมโพชฌงค์ ๗

ตัวอย่างธรรมสืบต่อ
สัทธาด้วยปัญญา เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด ฉันทะ ..เพราะมีความเชื่อในกรรม วิบากกรรม เชื่อในพระพุทธเจ้า ด้วยรู้เห็นตามจริง(สัทธา+ปัญญา) จึงเกิดความยินดีที่จะทำในสิ่งนั้นๆ(ฉันทะ)
สัทธาด้วยฉันทะ เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตั้งใจมั่นที่จะทำ ..เพราะมีสัทธา+ปัญญา+ความชอบใจยินดีในสิ่งนั้น จึงเกิดมีความตั้งใจที่จะทำระลึกได้
สัทธาด้วยฉันทะ เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด ความเพียร ..เพราะมีสัทธา+ปัญญา+ความชอบใจยินดี หมายมั่นสำคัญใจที่จะทำในสิ่งนั้น จึงเกิดมีความตั้งใจทำ ขยัน ขมักขเม้นทำในสิ่งนั้น
ความเพียร เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด สติ ..เพราะมีความตั้วใจทำ มีความเพียรขยันทำ ทำให้สติที่มีความระลึกได้สังขารขึ้นสุดรอบบ่อยขี้นมากขึ้น 
ความเพียรด้วยสติ เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด อินทรีย์สังวร ..เพราะคอยระลึกถึง คำนึงถึงตั้งใจทำอยู่ทุกขณะ ทำให้เกิดมีจิตสำรวมระวังเพียรประคองไว้อยู่ เป็นอินทรีย์สังวร
ความเพียรด้วยสติ เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด สมาธิ ..เพราะมีความเพียรประครองคำนึงถึง สำรวมระวังในใจอยู่ จิตไม่สัดส่ายไปทั่ว จิตส่งเข้าในโดยส่วนเดียวคือสังวร ทำให้จิตตั้งมั่นตามด้วยความเพียรแห่งสตินั้น
สติ คู่ สมาธิ เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด  ..เพราะสติตั้งมั่นจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนี่งได้นาน จิตจึงตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม
สมาธิ คู่ ปัญญา เกิ้อกูลสืบต่อให้เกิด ..เพราะจิตตั้งมั่นเป็นอารมร์เดียวพ้นจากสมมติกิเลสฟุ้งซ่าน จิตจึงได้พัก เมื่อจิตได้พักก็มีกำลังโยนิโสพิจารณา จึงเกิดความรู้แจ้งแทงตลอด


ปัญญาทั้งหมดชื่อว่า ความรู้จริง แทงตลอด
ฉันทะทั้งหมดนี้เรียก ฉันทะอิทธิบาท ๔
ความเพียรทั้งหมดชื่อว่า สัมมัปปธาน ๔
สติทั้งหมดนี้เรียก สัมมาสติ
สมาธิทั้งหมดชื่อว่า สัมมาสมาธิ

ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรมย่อมมีอะไรที่เหมือนกัน คือ สติ สัมปะชัญญะ ปัญญา จุดหมาย ความตั้งใจมั่น ความเพียร สมาธิ กล่าวโดยย่อ คือ อิทธิบาท ๔ สะสมพละ ๕


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #279 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2017, 05:04:46 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. รูปกายภายนอกเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะรู้เห็น ทุกข์มองด้วยความยินดี มองด้วยความยินร้าย มองด้วยฉันทะ มองด้วยปฏิฆะ ชอบ ชัง มองด้วยกาม มองด้วยนันทิ มองด้วยราคะ มองด้วยความเกลียด มองด้วยความกลัว มองด้วยความรัก มองด้วยความโลภ มองด้วยความโกรธ มองด้วยความหลง มองด้วยความกระสัน มองด้วยความหมายมั่นฝักใฝ่ใคร่เสพย์ นี่ทุกข์เพราะรูปภายนอกย่อมยังความร้อนรุ่ม เร่าร้อน ให้กายใจเรา

2. รูปกายภายในเป็นทุกข์ รูปขันธ์ ขันธ์ ๕ ที่ตนยึดตนครองประกอบไปด้วยโรค มีความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความเสื่อมเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นความเสื่อมไปไม่ได้ มีความเกิด มีความแก่ มีความเจ็บ มีความตาย
ก. ต่อให้เป็นอมตะ ก็ล่วงพ้นความเจ็บ ปวด ป่วย ไข้ หรือโรคร้ายไปไม่ได้
ข. ต่อให้เป็นอมตะ ไม่มีโรค ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ที่สุดก็ต้องเสื่อมสภาพ เสื่อมถอยไปแปรผันไปตามกาลเวลา คือ มีการเจริญเติบโต จากเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ไปแก่ พยุงกายไว้ด้วยความลำบากยากเข็ญ
ค. ต่อให้เป็นอมตะ ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่ป่วย ไม่ไข้ ไม่แก่ ไม่ตาย ก็ต้องพบกับความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่เจริญใจทั้งสิ้นไป ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความไม่สมหวังปารถนาดังใจหวังต้องการ ความผิดพลาด พลาดพลั้ง สุข เศร้า เหงา รัก
ง. ต่อให้เป็นอมตะ ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่ป่วย ไม่ไข้ ไม่แก่ ไม่ตาย เสกทุกอย่างเองได้ดังใจปารถนา สิ่งของ บริวาร คนรัก ก็ยังไม่ล่วงพ้นการเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น,สิ่งอื่น คนมันทุกข์เพราะเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น,สิ่งอื่นนี้แหละ (ดังที่กล่าวไว้ในข้อที่ 1 นั้นเอง)  สุดท้ายก็ไม่พ้นเวทนา คือ ความสุข ความทุกข์ เพราะยังซึ่งเวทนาเหล่านี้ยึดเวทนาเหล่านี้ความติดใจข้องแวะสิ่งทั้งปวงในสามโลกไปทั่วย่อมยังทุกข์มาให้ ย่อมแสวงหาความต้องการที่จะสมใจตนที่ตนเรียกว่าสุขไม่สิ้นสุด หยุดไม่ได้ พอไม่เป็น ไม่รู้จักอิ่ม ยิ่งได้ง่ายเสกขึ้นมาได้มากเท่าไหร่ยิ่งติดใจข้องแวะไปเรื่อยสะสมทับถมเข้าอย่างหนัก
- หากต้องเป็นอมตะด้วยความไม่ล่วงพ้นทุกข์จากรูปขันธ์ ๕ อันนี้ มันย่อมประกอบไปด้วยทุกข์ หาสุขไรๆไม่ได้ แม้จะเป็นอมตะด้วยอาการอย่างนี้ มันจะมีคุณค่าสิ่งใด จะตายก็ตายให้พ้นมันไปก็ไม่ได้ จะอยู่ก็ยากลำบาก ต้องยังซึ่งความหิว ความปวด ความเจ็บ ความป่วยไม่สิ้นสุด แต่ด้วยธรรมชาติของขันธ์ ๕ นี้ ที่สุดคือความดับสูญหรือตายเสมอทั่วกันหมด ไม่ว่าจะยาก ดี มี จน จึงชื่อว่าเป็นที่ประชุมโรคและความเสื่อม อิ่มไม่เป็น แสวงหาไม่หยุด อยู่ไม่ได้ด้วยตัเองต้องเอนไหลไปตามผู้อื่นสิ่งอื่นทุกๆขณะ
 เป็นตัวทุกข์ดังนี้


3. ก็ด้วยเหตุอย่างนี้ๆสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เมื่อยังทรงพระชนน์อยู่ย่อมตรัสสอนอย่างนี้ๆว่า

อะนิจจา วะตะสังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไประงับได้แห่งสังขารเหล่านี้ ย่อมเป็นสุข


สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ มะริงสุจะ มะริสสะเร
ตะเถวาหัง มะริสสามิ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย

สัตว์ทั้งหลายมีความตายรออยู่ ล้วนต้องตาย อย่างแน่นอน
แม้นตัวเราเองก็จักต้องตายเหมือนกัน อย่าได้กังขาเลย


อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโน นิรัตถังวะ กะลิงคะลัง

ร่างกายนี้ไม่นานหนอ จักต้องนอนทับถมแผ่นดิน
อย่างปราศจากวิญญาณความรู้สึก ราวกับท่อนไม้
ไร้ซึ่งประโยชน์


4. เมื่อจิตถึงซึ่งในข้อที่ 1-3 ดังนี้แล้ว เรียกว่าจิตเราเป็นพุทธะ จิตเป็นพุทโธ พุทโธนี้กลายเป็นกิริยาจิตในตน คือ สภาวะอาการที่จิตเป็นผู้รู้ รู้อะไร..ก็รู้เห็นทุกข์นั่นเอง รู้ของจริง จึงกล่าวว่าพุทโธเป็นกรรมฐานใหญ่ เป็นมูลกรรมฐานในกรรมทั้งปวง ประกอบไปด้วยปัญญาแจ้งชัดจริงดังนี้ คนโง่จะทำพุทธานุสสติด้วยพุทโธไม่ได้ เพราะเขาทำได้แค่บ่นจำว่าพุทโธ จึงไม่รู้คุณ ไม่ถึงคุณของพุทธานุสสติอันว่าด้วยพุทโธนั่นเอง ส่วนผู้มีปัญหาจะทำคุณด้วยพุทโธว่าความเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอด รู้ปัจจุบัน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติของปลอม..ดังนี้

4.1 เมื่อเห็นว่าที่ประชุมทุกข์ คือ กาย ลงใจได้แล้ว ใจย่อมมีความหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ ทั้ง ๕ ไม่ยึดสิ่งที่สัมผัสกาย เนื่องด้วยกาย ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก มันเฉย นิ่งว่าง มันไม่เห็นคุณประโยชน์ที่จะไปข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เพราะแม้แต่ที่ประชุมธาตุกาย มีกายครองยังไม่ใช่ตน ไม่เป็นที่ยึดได้แก่ตน สักแต่มีไว้เพื่อทำกิจการงานอันควรตามหน้าที่ฐานะของตน เอาไว้อาศัยสะสมบารมีธรรมให้เต็มเท่านั้น แล้วจะไปเอาอะไรกับสิ่งอื่น ของอื่น นี่เรียกเห็นกายลงที่ใจ กล่าวคือ
   ก. มีจิตสงบมากขึ้น ตัดจากความคิดมากขึ้น ไม่ติดสมมติกิเลสความคิดไรๆ ว่างมากขึ้น มีจิตที่ผ่องใสเบาใจ
   ข. ระลึกได้ดีขึ้น คือ ยับยั้งชังใจ หยุดตรองก่อนทำได้ดีขึ้นโดยไม่ระส่ำ กรีดอัด กลัดมันในใจ
   ค. ไม่มีความจงใจหรือทำไว้ในใจอันตริตรึกในถึงความใคร่-ความติดตรึงหน่วงใจ-ความหมายมั่นฝักใฝ่กระสันใคร่เสพย์ในอารมณ์เหล่าใด
   ง. ไม่มีเจตจำนงค์ที่ตรึกนึกคิดถึงบุคคลหรือสิ่งของอันมีค่าของผู้อื่น ไม่มีใจหมายมั่นผูกใฝ่อยากได้ของผู้อื่น ความฉุดคร่าหมายพรากของผู้อื่นไม่มี ไม่อยากเอา ไม่แสวงหา ไม่ทะยานอยาก ไม่มีใจคิดติดข้องแวะใครหรือสิ่งใดทั้งรักทั้งชัง
   จ. ไม่มีความหวงแหน ตระหนี่ คับข้องใจไม่ว่าเรื่องราวดีๆหรือสิ่งของที่มีค่าที่ตนได้ให้แก่ใคร หรือสิ่งที่ใครได้ให้แก่เรา ตอบสนองกลับเราในทางไม่ดี ไม่มีม่ความโกรธ ไม่มีความเกลียด ไม่มีความชัง ไม่มี เวร ไม่มีภัยต่อใครแม้เพียงเสี้ยววินาทีที่คิดก็ไม่มี

- กล่าวคือ..เมื่อละกายได้แม้ชั่วขณะหนึ่งจักมีเกิดขึ้นก็แต่เพียงอารมณ์ธรรม คือ
   ก. ใจที่มันเอื้อเฟื้อเกื้อกูล น้อมไปในการสละให้ ที่แผ่ขยายความแบ่งปันไปให้ซึ่งกันและกัน
   ข. ละความเบียดเบียนได้มากขึ้น ไม่มีใจคิดเบียดเบียนผู้อื่น(ไม่ผูกโกรธ ไม่ผูกแค้น ไม่อาฆาตหมายทำร้าย ใจคิดร้ายหมายให้ใครฉิบหาย หรือ ตายไปให้พ้นๆ ไม่มีเจตนาหมายทำให้ใครเดือดร้อน สูญเสีย เสียหาย) และ ตนเอง(กายใจตนเป็นที่เย็นเบาสบายไม่เร่าร้อน เป็นที่สบายเบาใจไม่ร้อนรุ่มแม้มีสิ่งใดเกิด สิ่งใดดับ อะไรที่มากระทบไม่ทำให้ใจฟุ้งซ่านหวั่นไหว)
   ค. แล้วจะเกิดมีอาการหนึ่งประดุจความสุขก็ไม่ใช่ เพราะยังไม่ถึงสุข แต่ก็สุข แต่มันเป็นที่สบายกายใจมาก มีอารมณ์ชื่นบาน จิตผ่องใสเบาซายซ่าน จับที่ลมได้มากขึ้น ฉลาดในการปล่อยวาไม่ว่าจะมีอะไรที่มากระทบก็ไม่ทำให้ใจฟุ้งซ่านหวั่นไหว ความฟุ้งซ่านติดคิดลดลงหรือหายไปเลย

     ..นี้เรียกเจตนา..เป็นศีล ศีลลงใจ..สร้างความปราโมทย์ คือ ความซาบซ่านผ่องใส เพราะจิตทำงานน้อยลงจากการละความพล่านตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมทั้งหลายที่มาตกกระทบได้ดีขึ้นและมากขึ้น..ดัังนี้



ข้อมูลยังไม่เรียบเรียง
4.2 เมื่อความผ่องใสเกิดจะรู้สึกว่ากายใจตนเบาสบายบ้าง ไม่สัดส่ายติดใจข้องแวะกับสิ่งที่มากระทบ หรืออบอุ่นๆปกลุมแต่ไม่ร้อนกายใจ มีอาการที่อุ่นสบายใจไม่ร้อยรุ่มไหลตามอารมณ์ภายนอก หรือมีเพียงใจที่ไม่สัดส่ายส่งออกนอกทำให้เกิดเหมือนมีอาการที่กดหรือขยายอัดมีกำลังไม่โรยรายเหนื่อยอ่อนเหมือนก่อน

     ..นี้เรียกจิตปราโมทย์..สร้างความปิติ คือ ความอิ่มใจ อิ่มเองด้วยปราโมทย์นั้น..ดัังนี้

นีจึงชื่อว่า..ปิติ สงบ สร้างสุข (ความสงบ(ปัสสัทธิ) คือ จิตมันสงบละเสียจากโลกจากสิ่งทั้งปวง ไม่กระเพื่อม ไม่ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึก ความคิด กล่าวคือ จิตสงบจากสมมติ)

แรกเริ่มนี้แค่ขณิกปิติเท่านั้น จิตยังไม่ตั้งมั่น มันแค่สงบใจลงได้แต่ยังมีความฟุ้งของกิเลราบล้อมอยู่เพียงแค่ใจมีเจตนาไม่เสพบ์ ไม่จับ ไม่คว้า ไม่เอนไหวตาม

- เมื่อจะทำสมาธิจิตก็เพิกใจออก ถอนความยึดจากกายหรือสิ่งทั้งปวง มีสติตั้งรู้ลมหายใจไว้เฉพาะหน้า ไม่หน่ายหนี

- เมื่อละกายแม้เพียงความระอา ความรังเกียจดังนี้ ผลักใสไม่ติดข้องในกายนี้อีก จิตมันจะไม่ยึดเอาสิ่งใดที่เป็นกาย สภาวะนี้สำคัญมากๆที่เราต้องมีเครื่องให้จิตยึดรู้ว่าของจริงคืออะไร นั่นคือลมหายใจเข้า หายใจออกนี้เอง เพราะจิตที่ยังไม่ได้อบรม หรืออบรมสะสมเหตุมาไม่พอมันยังต้องการเครื่องยึดเหนี่ยว ลมนี้แหละของจริงอาการพัดเข้า พัดออก พัดขึ้น พัดลงเหล่าใด ความไหวไปในภายในให้พองตึง หย่อนแฟบ ลมในกระเพาะอาหาร ลมในลำไส้มันมีอยู่ในกายนี้เกิดประกอบกับกาย มีกายครองเป็นกายสังขาร เนื่องด้วยกายประชุมเข้าเป็นกาย ไม่มีลมหายใจเราก็ตายธาตุลมดับ แปรปรวนนี้เราตาย ลมนี้คือของจริงเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ แม้ในภายนอกลมที่พัดยอดหญ้า ใบไม้ ต้นไม้ ลมในถ้ำ ลมในทุ่งกว้าง มีโดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น เป็นธาตุที่มีอยู่แล้วในโลก
- เมื่อรู้ลมเข้า ลมออกไม่สัดส่าย หรือจิตเพ่งเข้าภายในเช่น เหนือท้องน้อย หน้าออก หรือปลายจมูกก็ตาม เราจะเริ่มเกิดเกิดอาการวูบวาบๆ วูบหนึ่งขนลุกซู่ชูชัน บ้างตัวหนักอึ้ง บ้างเบาโหวง นี้เรียกขณิกสมาธิ

- เมื่อสติมีอารมณ์เดียวไม่สัดส่าย จิตเริ่มจดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวได้นานตาม บ้างแช่รู้อยู่ที่ลม บ้างเกิดนิมิตจิตจับแนบนิมิตเรื่องราวต่างๆเหมือนฝันแต่รู้ตัวอยู่จนเพ่งนิ่งได้นาน

- จนบ้างซาบซ่านจนน้ำตาไหล บ้างมีอาการเหมือนตัวเองเอนเอียงเซซ้ายเซขวาเหมือนจะล้มหลับ จะล้มลงด้านข้าง เมื่อทรงจิตไว้อยู่มันเต็มไม่หลุดจากสมาธิที่เป็นอยู่นั้น จิตจะเริ่มเบาเหมือนตัวเราเบาบ้างมีกำลังในภายในอัดปะทุหมุนเป็นวงเหวี่ยงจนกายเราหมุนตามไปเหมือนพายุหมุนเหวี่ยงแต่มีศูนย์กลางอยู่ตรงกลางทำให้เราไม่ล้มไป
(จุดนี้หาคนตื่นอาการมีจิตพล่านไปพยุงไม่ให้ตนล้มจิตจะหลุดจากสมาธิทันที ต้องให้มันเป็นไปของมันมีจิตส่งเข้าภายในที่จะตั้งจิตไว้อยู่กลางความเอนเอียง วางเฉยไม่ข้องแวะเป็นเพียงผู้แลดูรู้อยู่เท่านั้นจึงจะผ่านได้)



- ละกายได้จึงเห็นเวทนาเพราะไม่เอาจิตเข้ายึดครองกาย กายไม่มีใจครอง จึงเหลือแต่ใจโดดๆที่เห็นจำเพราะความรู้สึกซึ่งตัดขาดจากสัมผัสอันเนื่องด้วยกาย เห็นแจ้งชัดใน..ความหน่วงนึก ๑๘
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2017, 05:12:18 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #280 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2017, 05:06:45 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
- จนเมื่อเห็นรู้ลมหรือมีนิมิตเกิดเห็นตัวลมหายใจเป็นเหมือนสีแสงเป็นเส้นว๊าบในโพรงถ้ำเคลื่อนพุ่งเข้ามมาก็ดี หรือเคลื่อนออกก็ดี มีจิตจับนิมิตนั้น เคลื่อนไหลไป เหมือนใจผลักหนีออกจากอารมณ์ความรู้สึก สภาวะอาการ สถานะที่เป็นอยู่ตรงหน้านั้น จิตเคลื่อนออกทั้งๆที่เพ่งตามนิมิตอยู่ จะเกิดขึ้น 2 สิ่ง 2 อาการดังนี้ คือ..

๑. เมื่อเกิดความรู้สึกวูบหนึ่งจากการที่จิตผลักออกจากสภาวะที่เป็นอยู่เฉพาะหน้านั้นได้ จิตมันจะวูบนิ่งแช่ลงว่าง แนบนิ่งอยู่เฉยๆ ตัดจากสิ่งทั้งหมด ซึ่งจากนี้สำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญหรือยังไม่ได้วสีหรือเพิ่งเข้าได้ หรือเมื่อฌาณเสื่อมแล้วกลับมาทำสมาธิใหม่..มันจะเกิดมีชั่วขณะหนึ่งขณะที่จิตเราดิ่งวูบนั้นมันจะกลับมามีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น..
- โดยขณะที่เราเข้าไปรู้ตัวรู้มันอยู่นั้น..หากมันกำลังจะเหมือนเรากำลังวูบสติกำลังจะหายไป หรือเหมือนกำลังจะหลับลึกวูบนิ่งว่างแช่ไปไม่รู้สึกรับรู้อะไร ก็ให้เราปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ไม่ต้องไปดึงจิตที่กำลังจะวูบลงหรือแช่แน่นิ่งอยู่นั้นกลับมารู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องดึงจิตกลับมากำหนดใจให้เพ่งนิมิตอะไร  ไม่ต้องไหวกลับมามีสติที่จะไปตามรู้สิ่งอะไรหรือพิจารณาอะไรทั้งสิ้น ให้ปล่อยมันเป็นไปของมัน นั่นเพราะจิตของเรามันยังไม่มีกำลัง มันกำลังเข้าไปพักผ่อนให้ตนมีกำลังเท่านั้นเอง
- สภาวะนี้..หากเราพยายามไปตั้งหน้า ตั้งตา ตั้งสติ ตั้งรู้ ดึงกลับบังคับให้มันเปลี่ยนไปอารมณ์อื่นหรืออารมณ์ใดใด ปรุงไปสิ่งใด มันจะหลุดจากสมาธิทันที จะพลาดโอกาสเข้าถึงฌาณ หรืออัปนาสมาธิโดยทันที
- เมื่อใจมันได้พักมีกำลังแล้ว มนะ จะมีกำลังมาก ทำให้สติบริสุทธิ์ขึ้น สะอาดขึ้น จิตมีกำลังมากทั้งสติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาครบพร้อมของมันเอง ใจมันจะเริ่มบังคับในสมาธิได้โดยไม่หลุดจากสมาธิที่เป็นอยู่ สติจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นานมากขึ้น จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานตาม มันจะจำได้ของมันเองทุกขบวนการขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่เราไม่ต้องไปพยายามจะมีสติรู้หรือไปจำจดจ้องจดจำเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น

๒.  เมื่อเกิดความรู้สึกวูบหนึ่งจากการที่จิตผลักออกจากสภาวะที่เป็นอยู่เฉพาะหน้านั้นได้ จิตมันจะวูบนิ่งแช่ แนบนิ่งไปกับนิมิตเบื้องหน้าอยู่เฉยๆ มันไม่รับรู้สิ่งไรๆนอกจากนิมิตเบื้องหน้า ซึ่งจากนี้สำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญหรือยังไม่ได้วสีหรือเพิ่งเข้าได้ หรือเมื่อฌาณเสื่อมแล้วกลับมาทำสมาธิใหม่..มันจะเกิดมีชั่วขณะหนึ่งขณะที่จิตเราดิ่งวูบนั้นมันจะกลับมามีความรู้สึกตัวเกิดขึ้น..
- โดยขณะที่เราเข้าไปรู้ตัวรู้มันอยู่นั้น..หากมันกำลังเพ่งแช่นิมิตอยู่แต่มีมนสิกาความทำไว้ในใจแนบแน่นในอารมณ์ตรงกับนิมิตนั้นอยู่ หรือเกิดความรำลึกถึงสิ่งไรๆ เกิดห้วงคำนึงหน่วงนึกคิด เกิดความตรึกสำเนียกรู้ต่อนิมิตนั้นอยู่ว่าคืออะไรยังไง สำเนียกในใจไว้ต่อนิมิตนั้นๆอยู่โดยจิตนั้นวูบแช่นิ่งจับนิมิตนั้นไม่เคลื่อนหนีจากนิมิตนั้นเลย หรือ จิตมันสำเนียกในใจเกิดความตรึกต่อนิมิตนั้น พูดอะไรของมันไปเองตามธรรมชา่ติของวิตกเจตสิก ทั้งที่เรารู้เรื่องชอบอยู่ก็ดีที่ไม่รู้เรื่องก็ช่าง ธรรมชาติใดคิดธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต ซึ่งจิตมันเป็นไปของมันเองอยู่ ต่อให้นิมิตที่เบื้องหน้านั้นดูไม่รู้เรื่อง ไม่มีอะไร ว่าง หรือมีแค่สีกับแสงทั่วๆไป แต่ใจมันกลับรู้เรื่องของมันได้ เข้าใจโดยอารมณ์ความรู้สึกต่อนิมิตนั้นๆของมันได้ แล้วสักพักพูวูบนิ่งแช่อยู่ อาการนี้จิตมันกำลังเป็นไปของมัน จิตมันพูดไปเองอยู่นั้นของมันได้ แต่ใจเรานี้มีความเข้าใจจิตที่มันเป็นไปของมันอยู่ ..ซึ่งอาการนี้เป็นอาการเริ่มแรกที่ใจแยกออกจากจิต มันจะเกิดความตรึกสลับกับแช่นิ่ง สลับกับมนสิการ สลับกลับมารู้ตัว สลับดิ่งวูบลงแช่แน่นิ่ง อาการนี้จิตมันกำลังเปลี่ยนอารมณ์ แล้วเมื่อมันเหมือนกำลังจะวูบหมดสติ ก็ให้เราปล่อยไปให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ใจมันกำลังเข้าไปพัก
-สภาวะนี้..ให้เราไม่ต้องไปพยายามจะรู้ว่ามันคิดมันพูด มันพร่ำว่าอะไร ทำไว้ในใจยังไง ไม่ต้องไปพยายามตั้งหน้า ตั้งตา ตั้งสติเพื่อจะรู้จำจด จำจ้อง ไม่ต้องไปพยายามที่จะมีสติระลึกรู้อาการของมัน หรือ พยายามอยากที่จะจดจำสิ่งที่มันเป็นอยู่นั้นให้ได้ ให้ปล่อยมันไปตามธรรมชาติของมันจิตมันกำลังเป็นอารมณ์เดียวแล้วเข้าไปพัก ไม่อย่างนั้นจิตจะหลุดจากสมาธิทันที

- เมื่อจิตมันได้พักมีกำลังแล้ว มนะ จะมีกำลังมาก ทำให้สติบริสุทธิ์ขึ้น สะอาดขึ้น จิตมีกำลังมากทั้งสติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาครบพร้อมของมันเอง มันจะจำได้ของมันเองทุกขบวนการขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่เราไม่ต้องไปพยายามจะมีสติรู้หรือไปจำจดจ้องจดจำเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น

- เมื่อใจมันได้พักมีกำลังแล้ว มนะ จะมีกำลังมาก ทำให้สติบริสุทธิ์ขึ้น สะอาดขึ้น จิตมีกำลังมากทั้งสติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาครบพร้อมของมันเอง ใจมันจะเริ่มบังคับในสมาธิได้โดยไม่หลุดจากสมาธิที่เป็นอยู่ สติจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นานมากขึ้น จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นานตาม มันจะจำได้ของมันเองทุกขบวนการขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่เราไม่ต้องไปพยายามจะมีสติรู้หรือไปจำจดจ้องจดจำเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น
- โดยที่ใจ คือ ผู้รู้ ได้ทำหน้าที่เดิมแท้ของมัน คือ เป็นสักแต่เพียงตัวรู้ คือ ผู้รู้ ผู้แล ผู้เห็นอยู่เม่านั้น ไม่ใช่ผู้ร่วม ไม่ใช่ผู้เสพย์
- โดยที่จิต คือ เจตสิก เป็นตัวรู้สมมติบัญญัติอารมณ์ ตัวรู้ปรุงแต่ง ตัวรู้แต่ความเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้ใจหลง
(หากเอาลงธรรมจะเห็นชัดว่าธรรมชาติของโลกนี้ไม่มีอะไรแต่อาศับความปรุงแต่งความยึดข้องสะสมต่อความจำได้หมายรู้อารมณ์ทั้งหลายนี้แหละที่สร้างเรื่องราวตัวตนขึ้นมาจนเอาเกิดทุกข์ และหลงโลกอยู่นั่นเอง นี่ไม่ใช่คิดในขณะทำสมาธิแต่ปล่อยให้จิตมันเห็นของมันไปเมื่อออกจากสมาธิจะเหลือสัญญาจดจำต่อสิ่งนั้นๆอยู่แล้วเราเอามาวิเคราะห์อนุมานคาดคะเนลงธรรมไม่ให้ตนหลงกับนิมิตไปได้ดังนี้)

- เราฝึกสมถะ ๔๐ กรรมฐานนี้เพื่อให้จิตเรามันได้พัก เมื่อจิตมันได้พักก็จะมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง มันสุขด้วยตัวเองไม่อิงอามิส ไม่ผูกขึ้นไว้กับอารมณ์ความรู้สึกไรๆในโลกทั้งสิ้น ทำให้เกิดพละ ๕ สะสม มีอินทรีย์ ๕ ที่แก่กล้าขึ้น
- จนเมื่อจิตมันพักผ่อนจนอิ่ม รู้ตัวอีกทีความคิดหายไป

 จิตเคลื่อนเข้าปฐมฌาณ ขาวโพลนว่างไม่สิ้นสุดไม่ว่าจะเพิกไปทางใด



- ละกายได้จึงเห็นเวทนาเพราะไม่เอาจิตเข้ายึดครองกาย กายไม่มีใจครอง จึงเหลือแต่ใจโดดๆที่เห็นจำเพราะความรู้สึกซึ่งตัดขาดจากสัมผัสภายนอก
- ละเวทนาได้จึงเห็นจิตเพราะดับความรู้สึกยินดี ยินร้ายได้ จึงเห็นสมมติของปลอมปราศจากความคิดได้ ใจจึงคลายกำหนัดแล้วทำสักแต่ว่ารู้ ทำแค่แลดูอยู่เท่านั้น
- ละจิตได้จึงเห็นธรรมเพราะจิตไม่ข้องแวะซึ่งกาย เวทนา  จิตอันเป็นสมมติกิเลสความคิด ความไหลไปตามสมมติปรุงแต่ง จึงเห็นสภาพธรรมการทำงานตามจริงของขันธ์ เข้าถึงสัจจะ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #281 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2017, 12:05:54 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทีฆชาณุสูตร
            [๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกฬิยะ
ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชื่อทีฆชาณุ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์
ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอก-
*ไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉน
คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยง
ชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับ
ราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายใน
การงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีโภค-
*ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว
ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล
ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงบริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่
พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป ดูกร
พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัย
ในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคม
นั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจาร
บริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึง
พร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้
ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูกรพยัคฆปัชชะ
นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญ
ทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่าย
ของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่ง
หรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่ม
เข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่ง
โภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วย
คิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือ
รายได้ ดูกรพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่โถง
จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น ก็ถ้า
กุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้
จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้
ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูกร
พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม
๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการ- ๑
มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑ ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่
มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทาง
ไหลออกของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่
นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิด
โดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็น
นักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการ- ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว
เพื่อนชั่ว ๑ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเจริญ
๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลง
การ- ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือน
สระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้า
ปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้
สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิด
โดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็น
นักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการ- ๑ มีมิตรดี
สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัทธา-
*สัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธา
คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรพยัคฆปัชชะ
นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสีลสัมปทา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีจิต
ปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรพยัคฆปัชชะ
นี้เรียกว่าจาคสัมปทา ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มี
ปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก
กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา
ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข
ในภายหน้าแก่กุลบุตร ฯ
                          คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม
                          เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา
                          ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระ
                          ทางสัมปรายิกประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้
                          ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนาม
                          อันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง คือ ประโยชน์
                          ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้
                          ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้ ฯ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #282 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2017, 09:41:40 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

คำที่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาตรัสกะผู้บวชเป็นภิกษุว่า
เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นโดยชอบเถิด

ข้อว่า.. ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ความหมาย คือ สัจจะ คือ พระอริยะสัจ ๔ ที่ทรงประกาศ รวมทั้งธรรมทั้งปวงที่ทรงแสดง 84000 ทาน ศีล ภาวนา เหล่าใด อันเป็นไปเพื่ออบรมอินทรีย์ ๕ มีพละ ๕ มรรค สุจริต ๓ โพชฌงค์ ผล วิมุตติ เป็นต้น
ข้อว่า.. ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ ความหมาย คือ ประพฤติ ปฏิบัติด้วย ศรัทธา ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ข้อว่า.. เพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นโดยชอบเถิด ความหมาย คือ คำว่าที่สุดแห่งกองทุกข์ คือ ทุกข์นั้นสิ้นสุดแล้ว, ทุกข์นั้นสุดแล้ว, หมดแล้ว สิ้นแล้ว, พ้นแล้ว, ไม่มีอีกแล้ว ดังนั้นความว่าเพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ คือ ทำให้ตนหลุดพ้นจากกองทุกข์, "ทำให้กองทุกข์เหล่านั้นมันสิ้นสุดลง" ไม่มีอีกแล้ว นั่นเอง


ก. สัจธรรมคู่ ๒ คือ ทุกข์ กับ สมุทัย เป็นเรื่องของโลก
- เข้าถึงก็เข้าใจแจ่มแจ้งในความเป็นโลก ความเป็นธรรมชาติของโลก สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เข้าถึงก็รู้แจ้งชัดความเป็นโลก เห็นความเป็นโลกุตระ จำแนกแยกแยะรู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ
- เเป็นเครื่องเข้าถึงจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น

ข. สัจธรรมคู่ ๒ คือ นิโรธ กับ มรรค เป็นเรื่องของโลกุตระ เข้าถึงก็แจ้งธรรม
- เข้าถึงก็ตื่นจากโลก ตื่นจากสมมติ เดินสู่ทางโลกุตระ
- เข้าถึงก็เลิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลาของปลอม
- เป็นเครื่องเข้าถึงจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ค. สัจธรรม คือ พรหมจรรย์(ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔)
- เป็นเครื่องปฏิบัติเพื่อประครองกายใจเราไว้อยู่ด้วยความไม่อิงอามิส เข้าถึงสมาธิ

ง. สัจธรรม คือ สมาธิ
- เป็นเครื่องปฏิบัติเพื่อดำรงรักษาจิตไว้อยู่ด้วยความไม่อิงอามิส เข้าถึงปัญญา

จ. สัจธรรม คือ ปัญญา
- เป็นเครื่องเข้าถึงความเบิกบาน พ้นแล้วซึ่งความหลงโลก หลงสมมติ


**เมื่อแจ้งชัดโลก แทงตลอดความเป็นสังขารโลก จนเห็นโลกเป็นของว่าง ก็จึงเข้าถึงโลกุตระได้**

เพราะถึงทุกข์ ถึงโลกียะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 10, 2017, 01:39:54 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #283 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2017, 11:26:56 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทุกข์ คือ ธรรมชาติของโลก(โลกียะ)               ควรกำหนดรู้
สมุทัย คือ สิ่งที่เป็นโลก(โลกียะ)                   ควรละ
นิโรธ คือ โลกุตระ, ธรรมชาติของโลกุตระ          ควรทำให้แจ้ง
มรรค คือ ทางเข้าโลกุตระ, สิ่งที่เป็นโลกุตระ       ควรเจริญให้มาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2017, 07:49:13 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #284 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2017, 10:32:18 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เข้านิพพิทา วิราคะในกาย

1. เข้าฌาณ ปล่อยให้จิตมันเป็นไปจนจิตอิ่มมีกำลัง สัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดในปัจจุบัน.. จะเกิดขึ้นอีกครั้งด้วยมหาสติปัฏฐาน ทำให้เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลานี้เราจะอธิษฐานนิมิตได้ -> ม้างกายออกมา เป็นกองๆตามคุณลักษณะอาการ -> ก็จะเจอกลุ่มกองธาตุที่เกิดร่วมเคียงอาศัยกันอยู่เป็นก้อนเป็นกอง -> ถอนใจออกจากกองธาตุเสปะสปะเหล่านั้นไม่เอาใจเข้ายึดครองกองธาตุเหล่านั้นอีก ก็จะเหลือแต่ใจอยู่โดดๆ -> แล้วดูกองธาตุแห่งอาการทั้ง ๓๒ ประการ นั้นมันแสดงของจริงให้ดู -> เมื่อไม่มีใจเข้ายึดครอง ธาตุก็ไม่คงอยู่ร่วมกันต้องแยกขาดจากกันไปตามแต่ธาตุนั้นๆให้เห็นเอง -> กายนี้มีความเสื่อม สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เนื่องด้วยกาย -> ความบริสุทธิ์ไม่ติดข้องแวะก็ด้วยไม่มีพันธะแห่งกาย ความปราศไปพ้นไปแห่งกายนี้เป็นสุข

2. เข้าฌาณ ปล่อยให้จิตมันเป็นไปจนจิตอิ่มมีกำลัง สัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดในปัจจุบัน.. จะเกิดขึ้นอีกครั้งด้วยมหาสติปัฏฐาน ทำให้เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลานี้เราจะอธิษฐานนิมิตได้ -> ม้างกายออกมา ทีละอาการ ด้วยพิจารณาดูแต่ละอาการนั้นว่า เป็นเรา เป็นของเรา มีเราในนั้นไหม ในนั้นมีเราไหม -> ก็จะเจอกลุ่มกองรูปขันธ์อันเป็นกายในกายที่เกิดร่วมกันอาศัยกันอยู่เป็นก้อนเป็นกอง แต่ไม่มีเราอยู่ในนั้น ถึงอนัตตลักษณะ -> ถอนใจออกจากกองอาการทั้ง ๓๒ ประการที่เสปะสปะเหล่านั้นไม่เอาใจเข้ายึดครองกองรูปขันธ์เหล่านั้นอีก ก็จะเหลือแต่ใจอยู่โดดๆแยกจากกองรูป แล้วดูกองรูปนั้นว่ามีสิ่งเหล่านั้นที่กองอยู่ตรงหน้านี้ๆในเราไหม สิ่งนี้มีในเราไหม ถึงอนัตลักษณะ -> จากนั้นก็ทำแค่แลดูกองรูปขันธ์ คือ อาการทั้ง ๓๒ ประการ นั้นมันแสดงของจริงให้ดู -> เมื่อไม่มีใจเข้ายึดครอง ธาตุก็ไม่คงอยู่เป็นรูปร่วมกันได้ จักต้องแยกขาดจากกันไปตามแต่ธาตุนั้นๆให้เห็นเอง -> กายนี้มีความเสื่อม สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เนื่องด้วยกาย -> ความบริสุทธิ์ไม่ติดข้องแวะก็ด้วยไม่มีพันธะแห่งกาย ความปราศไปพ้นไปแห่งกายนี้เป็นสุข

3. สายสมาธิ ปล่อยให้มันเป้นไปของมันจะเป็นอะไรก็ช่างมันไม่ต้องแวะดูแวะชมอะไรทั้งสิ้น ทำเหมือนขับรถเดินทางไกล ที่ต้องขับไปเป้นระยะทางยาวๆไม่แวะข้างทาง ขันธ์ มันจะแสดงชองจริงทุกอย่างของมันออกมาเองจนหมดทุกอย่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2017, 09:53:32 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 15, 2024, 09:05:05 AM