เมษายน 19, 2024, 05:02:21 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407790 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #285 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2017, 10:27:53 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ 17/11/60 เวลา 03:00 น. - 06:00 น.

ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ การสงบนิ่ง
จิตจับที่จิต อากาศกสิน วิญญาณกสิน อรูปฌาณ

   บันทึกกรรมฐานทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ ล้วนแต่เป็นความรู้อย่างปุถุชนอย่างข้าพเจ้าจะเข้าไปรู้ัเห็น อนุมาน คาดคะเน ตรึกนึกพิจารณาหลังจากการปฏิบัติได้สภาวะนั้นๆตามที่บันทึึกไว้นี้แล้ว ซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่ตรงตามจริง ยังสักแต่เป้นเพียงธรรมสมมติ ยังไม่แจ้งแทงตลอดก ยังทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ยังไม่ถึงวสี แต่เคยเข้าถึงได้เนืองๆพอที่จะรู้อาการที่จิตนี้มนสิการธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามที่สมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาตรัสสอน อันมีพระอรันตสงฆ์ พระอริยะสงห์นำพระธรรมเหล่านี้มาเผยแพร่สั่งสอนให้ข้าพเจ้าได้รับรู้แล้วมาฝึดกกสืบต่อในแบบที่ตนพอจะมีปัญญาอย่างปุถุชนเดข้าใจได้เท่านั้น ด้วยเหตุดังนี้ หากแนวทางใดผิดเพี้ยนไม่ตรงตามจริง ท่านที่แวะเข้าชมบันทึกนี้ทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า เป็นเพียงธรรมที่ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้วพิจารณายได้อย่างปุถุชนเท่านั้น ยังไม่แจ้งแทงตลอดถูกต้องและตรงตามจริงตามที่พระพุทธศาสดาทรงตรัสสอน
    หากธรรมนี้เป็นจริงมีประโยชน์เหล่าใดทั้งปวงแก่ท่านที่แวะเยี่ยมชม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า พระธรรมคำสอนทั้งปวงของสมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ได้ทรงตรัสสอนมานี้ประกอบไปด้วยคุณ หาประมาณมิได้ ใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกจริตนิสัย สามารถพลิกแพลงให้เข้ากับจริตตนแล้วนำมาใช้งานได้อย่างง่ายแต่มีคุณประโยชน์สูง เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล ดังนี้

ยังไม่เรียบเรียง

ธรรมสูงที่พระพุทธศาสดาสอนแก่พระสารีบุตร มีเป็นอันมาก แต่ธรรมทั้งปวงมีต้นตออยู่ที่ ธัมมารมณ์
ธัมารมณ์ที่ควเสพย์ และไม่ควรเสพย์
ธัมมารมณ์ที่เป็นความโสมนัส โทมนัส เอเปกขา ที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์
ถ้าเข้าฌาณไม่ได้ เอบกขาที่บริสุทธิ์ หรือจิตแยกกายเข้าเอกัคคตารมณ์ได้แล้ว
จัะไม่รู้จักความบริสุทธิ์ และ ไม่รู้จัก จิตสังขาร วิญญาณสังขาร
ยากที่จะแยกแยะธัมมารมณ์ได้ พระพุทธศาสดาจึงตรัสสอนว่า สมาธิ ก่อเกิดปัญญา ดังนี้
สมาธินี้ ปัญญานี้ใพระธรรมวินัยนี้ ไม่ใช้ความคิด
แต่ใช้ความเข้าไปรู้เห็นสัมผัสเอาได้ตามจริงโดยปราศจากคิด
เพื่อเข้าไปรู้เห็นสัมผัสตามจริงอันเป็นเดิมแท้ๆปราศจากความปรุงแต่งสมมตินั่นเอง
ส่วนปัญญาที่ใช้ความคิดเป็นทางโลกที่อาศัยสมมติอนุมานคาดคะเน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
เมื่อรู้ตามนี้แล้ว กุลบุตรผู้ฉลาดในธรรม ย่อมรู้จักการเลือกเสพย์ธัมมารมร์ที่ควรเสพย์
และ ละจากธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์
ธัมมารมณ์ใดที่เสพย์แล้วยังกุศลให้เกิดขึุ้น ทำอกุศลให้เสื่อมลง ธัมมารมณ์นั้นควรเสพย์
ธัมมารมณ์เหล่าใดที่เสพย์แล้วยังอกุศลให้เกิดมีขึ้น ทำกุศลให้เสื่อมลง ธัมมารมณ์นั้นไม่ควรเสพย์
ธัมมารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เวทนา สัญญา สังขาร ความคิด คือ จิตสังขาร และ มโนวิญญาณ คือ วิญญาณสังขาร
อย่างปุถุชนเราๆนี้จะละธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ได้ก็ด้วย ละสมมติ
สมมติความคิดปรุงแต่งที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลง จิตรู้ ..ธรรมชาติของจิตเรานี้ คือ ความคิด จึงรู้สิ่งใดด้วยสมมติความคิดทั้งสิ้น สิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ..ดังนี้แล้ว จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด เรามองรู้เห็นสิ่งใดด้วยราคะ เพราะสำคัญหมายรู้อารมณ์นั้นด้วยราคะ เมื่อหมายรู้อารมณ์ใดด้วยสิ่งใด ก็ย่อมดำริงถึงสิ่งนั้นด้วยธรรมนั้น

ก็เมื่อรู้อย่างนี้กุลบุตรผู้ฉลาดเมื่อจะเว้นจากกาม นันทิ ราคะ ย่อมละสมมติความคิดของไปเสียได้

ละก็ละจิต เพราะธรรมชาติของจิตคือความคิดรู้ แล้วคิด ย้ำไปมากับสัมผัสที่รู้ทางสฬายตนะ

ย่อมอาศัยความเข้าไปสงบรำงับโดยความไม่ยึด ไม่ข้อง ไม่จับ ไม่เอา ว่าง ไม่มี
ความสงบนิ่ง ความที่มีอุเบกขาบริสุทธิ์ผุดผ่องนี้ ย่อมไม่มีสิ่งเจอปนข้องแวะสิ่งไร
มีความรู้ในปัจจุบันที่ว่าง สงบ จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหวไหลตามสมมติความคิดเหล่าใด
ทำแต่เพียงรู้ ตั้งมั่นนิ่งอยู่
รู้แต่ปัจจุบันเฉพาะหน้าที่ว่าง จิตมีกำลังตั้งจิตไว้เป็นกำลังที่ไม่อ่อนแอปลิวไหวตามกระแสสมมติ
ไม่ยึด ไม่จับเอาสิ่งใด นอกจากความนิ่งอยู่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวของจิต

สงบนิ่งนี้เป็นธรรมสูง ที่เด็กยืนสงบนิ่ง 1 นาทีหน้าเสาธง
ท่านให้ทำปัจจุบันที่หลับตาเบื้องหน้าไม่มีสิ่งไร ก็รู็แต่สัมผัสภายในคือจิตอันเป็นธรรมชาติที่คิด
ก็แม้เบื้องหน้าก็มีแต่ว่าง มืด ผัสสะรอบกายสงบนิ่งไม่มีไรๆ สิ่งที่เกิดขึ้นแก่ใจล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้น
ควรหรือหนอที่ใจเราจะเข้าไปยึด ไม่จับ ไปข้อง ไปแวะเสพย์เอาสมมติของปลอมเหล่านั้น ก็ย่อมไม่ควร ย่อมไม่ใช่สุข ย่อมไม่ใช่ประโยชน์ ดังนี้แล้วจิตก็ว่างนิ่งเข้าที่ว่างเท่านั้น
เรียกอุปสมานุสสติ มีจิตว่างบริสุทธิ์ ปราศจากปรุงแต่งด้วยตัวของใจมันเอง

สงบนิ่งอย่างเด็กๆ ในทางโลก โลกียะนี้..เวลาว่างโล่ง สมองมันโล่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดคิด ไม่ย้ำคิดย้ำทำ

จิตก็จะเห็นสิ่งต่างๆได้มากขึ้น ลำดับความคิด ความจำ การแสดงเป็นระบบ ว่องไว ฉับไหว
เพราะไม่มีขยะ ความคิดฟุ้งซ๋านส่วนอื่นมาสะเปะสปะรกรุงรัง ทำให้พิจารณาได้ง่ายและเร็ว เพราะสมองมันโล่งทำงานง่าย

อุปมาเหมือนคลองน้ำ ที่มีสิ่งของตะกอน เศษขยะ ทั้งกิ่งไม้ใบไม้มากมายในคูคลองนั้น
เมื่อน้ำจะไหลย่อมกระทบ ย่อมขัด ย่อมลำบาก ย่อมไม่ไหลไปได้โดยสะดวก

ก็เมื่อตักเอาสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นออกจากคลองได้แล้ว น้ำก็ย่อมไหลไปได้สะดวกฉันนั้น  เปรียบเกมือนใจเราเป็นคลอง จิตที่คิดเป็นน้ำ ขยะปฏิกูลเป็นสมมติสัญญาสะสม ดังนี้ นี่คือสิ่งที่ตอบโจทย์ว่าทำไมทางโลกบอกว่า นั่งสมาธิแล้วฉลาด ด้วยวิถีการทำงานของจิตที่พระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ดีแล้วดังนี้เป็นต้น
นี่คือทำไมทางโลกบอกว่า นั่งสมาธิแล้วฉลาดว่องไว ทำไมผู้ใหญ่จึงอยากให้เด็กนอนเยอะๆ แล้วจะตื่นมาฉลาด ก็ด้วยเหตุให้ได้พักสมองดังนี้ ส่วนในทางธรรมนี้ กรรมฐานทั้ง 40 กอง ทำให้จิตได้เข้าไปพัก เมื่อจิตได้เข้าไปพัก จะนิ่งสนิท ไม่ทำงาน กายก็ได้พักตาม สมองปรอดโปร่งแจ่มใส ไม่มีอะไรตกค้างในสมอง เพราะไม่มีสิ่งตกค้างในจิต จิตไม่สร้องเสพย์สมมติความคิด มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ทำให้จิตควรแก่งานเลือกเฟ้นการเสพย์และไม่เสพย์ธัมมารมณ์ทั้งปวงได้ดี ไม่ติดกรอบสัญญา นิวรณ์ ลำดับเป็นระบบว่องไว นี่คือทำไมทางโลกบอกว่า นั่งสมาธิแล้วฉลาด หรือ นอนพักสมองแล้วจะฉลาด มีเหตุด้วยประการต่างๆ ดังนี้..




ส่วนทางธรรมโลกุตระ ปัญญาในทางธรรมนี้ คือ จิตทำสักแต่เพียงรู้ คือ เป็นจิตดั้งเดิม ที่มีเพียงรู้ไม่ได้ปรุงแต่งเสพย์เติม ตั้งมั่นนิ่งอยู่เท่านั้น ไม่ซ่านกระเซ็นไหลตามสัมผัสที่มากระทบ มีรู้ รู้ไม่มีสิ้นสิด รู้ด้วยความนิ่งแลดูความเป็นไปต่างๆอยู่เท่านั้น จิตจดจ่อตั้งมั่นไม่ไหวเอนอยู่แต่เพียงความว่างสงบบริสุทธิ์ปราศจากความปรุงแต่ง เห็นการทำงานจริงๆของขันธ์ต่างๆ เห็นความจริงอันปราศจากความตรึกนึกคิด ไม่มีความคิด นอกจากของจริงเดิมแท้ไม่มีสมมติ

การสะสมเหตุ คือ การสร้างรากฐาน เคล้าโครง ขึ้นร่างของอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา ๔, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา นั้นเอง เพื่อเกิดสติปัญญเข้าสู้สุจริต ๓ คือ มรรค ๘ อันทำให้เกิดมหาสติปัฏฐาน ๔ และ สัมโพชฌงค์ ๗ สืบไป

อากาสานัญจายตนะ
เมื่อสงบนิ่งจิตบริสุทธิ์ว่าง จิตจดจ่อตั้งมั่นไม่ไหวเอนอยู่แต่เพียงความว่างสงบบริสุทธิ์ปราศจากความปรุงแต่ง เมื่อจิตตั้งอยู่ในที่ว่างไปไม่มีประมาณ ไม่ปรุง ไม่แต่ง จะมีสภาวะที่เหมือนความว่างมืดนิ่งนั้นดูดจิตเราออกไป เหมือนหลุมดำในอวกาศ ในจักรวาล เหมือนแบ๊คโฮลด์ในเอกภพที่ดูดเอาดวงดาวทั้งหลายเข้าหายไปฉันนั้น ซึ่งภายในหลุดดำหรือเบื้องหลังอีกมิติของหลุมดำนั้นก็จะเป็นอีกสถานที่หนึ่งๆที่ไม่ใช่จากที่เป็นอยู่ เป็นโลกใหม่ มิติใหม่ ดังนี้ให้ทำความสงบบริสุทธิ์สืบไปมันจะดูดจิตออกจากร่างก็ให้มันเป็นไป จิตเราเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ

วิญญาณกสิน
มนสิการที่ ๑. วิญญาณกสิน คือ การเอาจิตจับที่จิต คือ การสงบนิ่ง ทำไว้ในใจทตั้งมั่นที่ใจ ไม่ให้สัดส่าย ไหวไปตามสมมติความคิด หรือสิ่งไรๆ ทำใจให้ว่างปราศจากสิ่งใดปรุงแต่งจิต ปัจจุบันอยู่ที่ความว่าง ไม่มีอะไรทั้งนั้น ไม่คิด ไม่ตริ ไม่ตรึก ไม่ยึด ไม่จับ ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น ทำแต่จิตให้มั่นคงไม่เอนไหวตั้งอยู่ปัจจุบันเฉพาะหน้า จับจิตให้มั่นคงไม่เอนเอียงไปที่ใด ไม่ไหลตามสมมติความคิด
มนสิการที่ ๒. วิญญาณกสิน เอาจิตตั้งมั่นด้วยพุทโธ พุทโธ ผู้รู้ปัจจุบันของจริง รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ไม่เสพย์ข้องแวะสมมติ มีจิตที่สงบบริสุทธิ์ ตื่นจากสมมติของปลอมคือไม่หยิบจับความคิด เบิกบ้านพ้นจากสมมติ คือไม่ข้องแวะสิ่งใดมีเพียงจิตโดดๆ จิตจับที่จิต ไม่เอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2017, 10:34:55 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #286 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2017, 01:04:37 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

เรื่อง ทำเหตุใน "ศีล"

ศีล เหล่าใดเป็นศีลเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

เหตุแห่งทางที่จะละอภิชฌา-โทมนัส มี 3 ข้อดังนี้คือ

๑. หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว

หิริ (อ่านว่า [หิ-หฺริ]) แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน เช่นบิดามารดามีความละอายใจที่จะไม่ดูแลบุตรของตน เช่นนี้เรียกว่ามีหิริ
หิริ เกิดขึ้นได้ด้วยการคิดถึงการศึกษา ฐานะ ยศศักดิ์ ชาติตระกูลของตน คิดถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมกับความแกล้วกล้าของจิตใจที่จะไม่ทำชั่วเช่นนั้น

ดั่งพระเดชพระคุณ พระพุทธิสารเถระ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ครูของเราผู้เเป็นพระอรหันตสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ท่านได้แสดงสัทธรรมเทศนาสอนเอาไว้ ซึ่งการนี้ผมจักขออนุญาตกล่าวตามในภาษาแบบที่ผมเข้าถึงได้ เข้าใจได้ ดังนี้ว่า..

เรื่องกรรม
การกระทำทั้งปวงของเราคือกรรม ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต การทำเหล่าใดคือกรรมทั้งสิ้น ดังนี้เราทำในปัจจุบันนี้ให้ดีเพื่อสืบต่อให้ดีไปในภายหน้า จริงๆแล้วคนเราอาศัยของเก่ามา เป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ทำในอดีตนั้นมาสู่ปัจจุบัน
- หากของเก่าทำทานมาดีจึงมีฐานะบ้าง รวยบ้าง มีเงินใช้จ่ายมากมาย มีบริวารมาก
- หากทำในศีลก็มีรูปร่างหน้าตาที่หมดจรดงดงาม ผิวพรรณดี อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
- หากทำจิตภาวนามาดี ก็มีสติปัญญามาก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
- แต่จะมีสิ่งใดมากน้อยก็ตามแต่ของเก่าที่สะสมมา

(ดูเทสนาหลวงปุ่บุญกู้ว่า.. ทำไมเราถึงต้องทำสะสมเหตุ )
ไตรลักษณ์ หรือโลกธรรม ๘
ลาภ ยศ สรรเสริญ มันไม่เที่ยงอยู่ได้นานสึุดแค่หมดลมหายใจเรานี้ แต่สิ่งที่ติดตามเราไปก็ คือ กรรม คือบุญกับบาปเท่านั้น
- ละโลภได้ทาน มีทาน..ใจเราก็อยู่เหนือโลภ
- ละโทสะ ความโกรธแค้น ความพยาบาทเบียดเบียนได้ศีล มีศีล..ใจเราก็อยู่เหนือโทสะ
- ละหลงได้ภาวนา มีภาวนาอบรมจิตใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา รู้จักพอ ฉลาดในการปล่อยวาง ..ใจเราก็อยู่เหนือโมหะ ความหลงติดข้องอยู่กับสมมติของปลอมในโลก ใจก็อยู่เหนือโลก(โลกียะผู้ข้องด้วยกิเลสตัณหาทะยานอยาก)
อานิสงส์
การได้เกิดมาเป็นคนนี้มันยาก ต้องมีศีลจึงจะได้ไปเป็นคน เกิดมาเจอพระพุทธศาสนานี้ยากกว่า การได้พบเจอพระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนธรรมนี้ยากมาก ดังนั้น..ก่อนตายเราได้หาได้ทำกำไรชีวิตไว้แล้วหรือ สิ่งที่เป็นกำไรชีวิตของเราสะสมให้เราได้รับผลสืบไปนั้นคือ ทาน ศีล ภาวนา กุศลผลบุญทั้งปวงเหล่านี้เราได้ทำแล้วหรือยัง..
- อานิสงส์จากการให้ทาน สละให้ และชอบช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น ในภายหน้าก็จะสบายมีทรัพย์สิน ฐานะ บริวารดี มีมิตรกัลยาณมิตรมาก
- อานิสงส์จากการเจริญศีล ก็ทำให้ได้เกิดมาเป็นคนอีก มีรูปพรรณสันฐานอันงาม ครบ ๓๒ ประการ ไม่พิกลพิการ ไม่มีคนมุ่งร้าย ศัตรูภัยพาลแพ้ภัยตนเอง
- อานิสงส์จากการภาวนาอบรมจิต ก็ทำให้เป็นฉลาด มีไหวพริบไม่โง่ลุ่มหลงง่าย มีสติแยกแยะพิจารณาว่องไหว

(ดูเทสนาหลวงปุ่บุญกู้ว่า.. ทำไมเราถึงต้องทำสะสมเหตุ )

.. แต่หากเรายังไม่ได้ทำกำไรชีวิตสะสมเหตุเหล่านี้ก็เสียชาติเกิด ที่มีโอกาสได้เกิดเป็นคน ได้มาพบเจอพระพุทธศาสนา
.. เพราะบางคนบางพวกลำบากยากแค้นไม่มีมิตรขาดคนช่วยเหลือดูแล บางคนจิตใจสกปรกชั่วร้าย บางคนโง่ไม่ฉลาดไม่ทันโลก ไม่มีสติ หลงง่าย เพราะเขาไม่มีโอกาสได้เจอพระพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมแท้จริงนำทางชีวิตให้พ้นจา่กสิ่งที่ชั่ว จึงไม่รู้จักการสะสมเหตุ ทาน ศีล ภาวนา ทำผิดศีลธรรมอันงามอยู่มากมาย ก็ทาน ศีล ภาวนานี้แหละที่จะเป็นบุญบารมีติดตามเราไปทุกภพชาติตราบจนถึงพระนิพพานตามพระพุทธศาสดา
(สิ่งที่ชั่ว โดยนัยยะที่เราเข้าใจ คือ สิ่งที่เป็นความเสื่อมเสีย เมื่อทำแล้วยังความเสื่อมเสียแห่งสติปัญญามาให้ ทำให้ใจเศร้าหมอง มัวหมองเร่าร้อนกาย วาจา ใจ ทำให้ดำรงชีพอยู่ด้วยความเย็นใจปราศจากเวรภัยต่อตนเองและผู้อื่นไม่ได้ นำเอาความฟุ้งซ่านไม่สงบกายใจ สัดส่ายเหลาะแหละ อ่อนไหวลุ่มหลงง่ายมาให้ มีชีวิตอยู่บนความเบียดเบียนทำร้ายตนองและผู้อื่นให้เดือนร้อนเสียหายอยู่เสมอ)
ระลึกถึงฐานันดร โครต ตระกูล ทรัพย์สมบัติ สิ่งที่ทำ เฝ้าเพียรสร้างทำสะสมมา อริยะทรพย์ที่ตนสะสมมา เช่น ทาน สีล ภาวนาเป็นต้น
ดังนี้แล้วเมื่อเรามีการศึกษาดี มีความรู้ มีหน้าที่การงาน มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีฐานะดี มีอยู่มีกินดี มีสถานภาพการครองชีพของตนดีอยู่แล้ว สูงแล้ว เราจะไปเบียดเบียนทำร้ายกลั่นแกล้งคนอื่นหรือคนที่ต่ำกว่าเราไปทำไม เพื่อสิ่งใด ก็ทั้งๆที่ตนเองอยู่สูงกว่าเขามีฐานันดรที่ดีกว่าเขา ยศศักดินาดีอยู่แล้ว ยังจะไปเบียดเบียนเขาให้ได้อะไร ยิ่งเรามีดีกว่าเขาแล้วแต่เขาต่ำกว่าเราด้อยกว่าเรา เราจะยังไปเบียดเบียนทำร้ายเขาอีกทำไม อย่างนี้ก็เท่ากับว่าเราต่ำกว่าเขาเสียอีก..
ก. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ ยศฐาบรรดา ศักดิ์ โครตเหง้า เหล่าตระกูลของของเราเป็นชนชั้นที่ดีแล้ว สูงแล้ว ท่านต่างทำสะสมมาดีแล้วเพื่อตัวเรา ดังนี้แล้วอย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบ หรือสุขเพียงชั่วคราวของเรา ทำให้สิ่งที่บรรพบุรุษเราทำสะสมมาดีแล้วต้องพินาศสิ้นไป
ข. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ อย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบ หรือ สุขเพียงเล็กน้อยวูบวาบชั่วคราวเหล่านั้นของเรา มาทำให้สิ่งที่เราได้เพียรประครองสร้างสะสมเหตุมาดีแล้วนั้นต้องสูญเปล่า ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และ อริยะทรัพย์ที่ได้ทำมาดีงามแล้วทั้งหมดเหล่านี้ต้องสูญสิ้นวินาสพังลงไป..ด้วยการเสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึกชั่ววูบ หรือสุขเพียงเล็กน้อยที่เนื่องด้วยกายเพียงชั่วคราวเหล่านั้น..
ค. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ ขัดเขลาใจด้วยความเห็นเสมอด้วยตน
- เราไม่ชอบใจอย่างไร..ก็อย่าไปทำกับคนอื่นอย่างนั้น
- สิ่งใดที่เราถูกกระทำแล้วรู้สึกอัดอั้นคับแค้นกายใจ เราก็อย่าไปทำกับคนอื่นอย่างนั้น
- สิ่งใดที่เราทำ หรือถูกกระทำแล้วยังความเสื่อมฉิบหายให้เกิดมีแก่เรา เราก็อย่าไปทำกับคนอื่นเขาอย่างนั้น

 ..เช่น เราเป็นหัวหน้างาน มีตำแหน่งหน้าที่การงานฐานะดีใหญ่โตอยู่แล้ว ยังไปแกล้งลูกน้องที่ต่ำกว่าตน ไปเลียดเลียนเขา คอยหาทางกลั่นแกล้งทำร้ายเขา ทั้งๆที่ตนอยู่สูงกว่า ทำเหมือนอิจสา ริษยาเขา เทียบเขาไๆม่ได้ทั้งๆที่เขาต่ำกว่าตนแท้ ทำให้ให้ตนเศร้าหมองเร่าร้อนที่ต้องคอบหาทางเบียดเบียนทำร้ายเขา เป็นเหตุให้ตนอยู่แบบธรรมดาดีๆสบายๆเย็นใจไม่ได้ แถมยังเป็นบาปเป็นกรรมสะสมพกติดตัวไปด้วยอีกต่างหาก มิหนำซ้ำยังทำให้ตนเองและครอบครัวเสื่อมเสียเปล่าๆ หากมีใครมาคอยตั้งแง่ อคติ ๔ คือ ลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง กับเรา คอยทำแบบที่เราทำเขานี้ทั้งๆที่เราไม่เคยคิดร้ายไม่เคยทำความเดือร้อนเบียบดเบียนให้เขา ดังนี้แล้วเราเป็นสุขหรือสำราญใจมากใช่หรือไม่ ก็คงไม่ใช่ใช่ไหม  สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวงอันเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่แสวงหา ต้องการ อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น แล้วยังจะไปเบียดเบียนเขาอีก โกงกินชาติ ทำร้ายผู้อื่น หรือคนที่ต่ำกว่า หรือโกงกินทำร้ายประเทศชาติ มันก็สะสมกรรมชั่ว บารมีชั่วไว้เสวยทั้งที่ตอนยังมีชีวิตอยู่ บ้ั้นปลายชีวิต ภพ ภูมิ ชาติหน้าสืบไป
คนเราเกิดแต่กรรมสุดท้ายก็มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ติดตามเราไปปได้ สิ่งของ เงินทอง ชื่อเสียง มันอยู่ไม่นาน แต่ที่ยั่งยืนนานติดตามเราไปทุกๆขณะเวลา ทุกวัน ทุกปี ทุกภพ ทุกภูมิ ทุกชาติ คือ กรรม วิบากกรรมเท่านั้น ยศฐา ทรัพย์สิ่น สิ่งของหรือบุคลอันเป็นที่รักไม่ได้ตายติดตามเราไปด้วย รู้อย่างนี้กระนั้นยังจะสะสมบาปกรรมไปเพื่ออะไร ที่ตนมีอยู่มันก็ดีอยู่แล้ว ควรทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ทำทาน ศีล ภาวนาอบรมจิต ไม่เหลาะแหละอ่อนแอหวั่้นไหวไปกับสิ่งที่ชั่ว สะสมเหตุในกุศลกรรมทั้งปวงเหล่านี้ มันจะสะสมเหตุดีบารมีกุศลติดตามเราไปให้ได้เสวยสุขรำราญในภายภาคหน้าทุกชาติภพ ตราบจนถึงพระนิพพานนั้นแล

๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว

โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้
โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น
ง. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดาใน ศรัทธา ๔ ที่ว่า
_สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา
_กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา
..สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของของตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล,
..มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นผู้ติดตาม,มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศ้ย
_ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกัง วา,
_ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ
..จักทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป,
..จักต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้นๆ สืบไป
- ความเสมอด้วยความรู้สึกนึกคิด คือ สิ่งมีชีวิตในโลกล้วนมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกที่เสมอด้วยกัน ดังนี้จึงมีรัก มีโลภ มีโกรธ มีชอบ มีชัง มีลุ่มหลง เสมอด้วยกันทั้งสิ้นไม่ต่างกัน เมื่อเสมอด้วยกันแล้วจะอคติลำเอียงด้วยเลิกเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้จริงกันเพื่อสิ่งใด ดังนี้ควรมีใจเป็นกลางเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์และความสุขด้วยกัน เมื่อต่างคนต่างมีแต่สุขสำเร็จดีงามเสมอด้วยกันแม้จะในรูปแบบที่ต่างๆกันไปตามแต่ฐานะ สัตว์ย่อมไม่มีความปองร้ายเบียดเบียนกันให้รุ่มร้อน ร้อนรน ยังความฉิบหายให้กัน ไม่ทำร้ายกันสืบไป (ผู้ใดละเว้นความเบียดเบียนได้มากย่อมมีใจสูงกว่าและทุกข์น้อยกว่าคนที่เบียดเบียนเขามาก)
- ความเสมอด้วยกรรม ก็เมื่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะงาม ทราม หยาบ ละเอียด ใหญ่ ยาว ขาว ดำหรือไรๆ ต่างมีกรรมเป็นแดนเกิด พึ่งพา อาศัย ติดตาม เป็นทายาทได้รับผลของกรรมนั้นสืบไปเสมอด้วยกัน จึงต้องมายึดครองขันธ์ ๔ เสมอกัน มาพบเจอกัน เพราะติดค้างกัน หรือทำร่วมกันมาแต่กาลก่อนไม่ว่า จะเป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมก็ตาม จึงทำให้มี ฐานะ รูปร่าง สันฐานที่ต่างกัน ได้รับโอกาสดีๆต่างกัน มาเจอกันบางฝ่ายเกื้อกูลกัน บางฝ่ายทำร้ายกัน ดังนี้แล้วเมื่อต่างก็เกิดแต่กรรม มันก็ไม่ต่างกัน แล้วจะแบ่งแยกกันเลือกที่รักที่ชังไปเพื่ออะไร เขาเป็นอย่างนั้นก็เพราะกรรมเก่าและใหม่ที่เขาได้ทำสะสมมาให้เป็นไป เราเป็นอย่างนี้ก็เพราะกรรมเก่าและใหม่ได้ทำสะสมมาให้เป็นไป เมื่อเสัตว์ต่างก็มีกรรมเป็นแดนเกิด พึ่งพา อาศัย ลิขิต สืบสานติดตามเสมอกัน จะทำการกระทำใดๆอันเบียดเบียนกันเพื่อสิ่งใด
- กายในกายที่เสมอกัน ไม่ว่าคนหรือสัตว์ ก็แค่อาการ ๓๒ ธาตุ ๖ ที่ประกอบเข้ากันเสมอกันทั้งสิ้น ดังนี้แล้วจะไปจงเกลียด จงชัง ลุ่มหลง รังแก กันเพื่อประโยชน์เหล่าใด มีหูซ้ายข้างเดียวเสมอกัน มีปอด 2 ข้างเสมอกัน มีเส้นเลือดเหมือนกัน มีเนื้อหนังเหมือนกัน จะกลั่นแกล้งกันก็เหมือนเราแกล้งตนเอง เพราะมีไม่ต่างกัน ดังนี้แล้วจะเลือกที่รัก มักที่ชัง เบียดเบียนทำร้ายกันเพื่อสิ่งใด ให้เป็นเวรเป็นกรรมอันเร่าร้อนกายใจซึ่งกันและกันเปล่าๆ กลั่นแกล้ว หรือผูกพยาบาทหวังทำร้ายฆ่ากันให้ฉิบหายไปข้างข้ามภพขชาติเหมือนพระองคุลีมาลย์ ที่ต่างเจ็บปวดเสมอกันทั้งผู้รับและผู้กระทำข้ามภพชาติกัน ไม่มีความสุขความเจริญเหล่าใดเกิดขึ้น มีแต่ความฉิบหายเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นตั้งอยู่แก่กันและสืบไปทุกครั้งที่พบเจอกัน
- แรงกระทำเสมอกันกับแรงสะท้อนกลับ เพราะการกระทำทั้งปวงจะมีพลังสะท้อนกลับสู่เราทั้งสิ้น ทำดี เราก็ได้ดี เหมือนมีคนดีกับเรา..เราก็รักใคร่เคารพเขา ฉันใด เราเว้นจากความเบียดเบียนแก้ใคร..เราก็ได้รับเย็นกายสบายใจกลับคืนมาฉันนั้น เพราะไม่มีความเร่าร้อน ไปอยู่ที่ใดก็เย็นใจผ่องใสเป็นที่สบาย ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องระแวง ใครจะมาดีกว่าตน จะอยู่สูงกว่าตน หรือจะมาทำร้ายตน ไม่ต้องแสวงหาอาทรเอาสิ่งมด หรือความเคารพศรัทธาจากใครเพราะการทำดีมีใจเอื้อเฟื้อเว้นจากความเบียดเบียนของเรามันสร้างสิ่งนี้ให้แก่เราอยู่แล้ว ไม่มีความอิจฉา ริษยาต่อใคร ไม่ตระหนี่หวงแหนวิตกกังวลใจ
 หากคนเรามีกรรมเสมอกันไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมมีความคิดนิสัย การกระทำที่เอื้อเฟื้อกัน หากทุกคนมีกรรมดีทั้งหมดเสมอด้วยกัน ก็ย่อมช่วยเหลือเกื้อกูลให้ซึ่งกันและกันให้ได้ดี ไม่เดบียดเบียนทำร้ายให้กันและกันต้องเป็นทุกข์กายใจ ดังนี้แล้วเราควรแผ่และควรกระทำทาง กาย วาจา ใจ อันดีงามมีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียนของเราให้แก่เขาเสมอกันกับที่เราจำเริญใจ

โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น

๓. กำหนดรู้ทุกข์ แล้วสืบต่อครบไปในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ใน พระอริยะสัจจ ๔

- สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทุกขอริยะสัจ พระอริยะสัจ ๔ พิจารณาดูสภาพความเป็นไปในสิ่งต่างๆเพื่อความแจ้งแทงตลอด ดังนั้นให้เรากำหนดรู้ซึ่งทุกข์เพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมชาติของโลกจากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
- กำหนดรู้ทุกข์โดยธรรมชาติ สภาวะอาการ ความรู้สึก ที่เกิดมีแก่ตนว่า..

1/1. เมื่อเสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
1/2. เมื่อสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เรามีสิ่งนี้ๆแล้ว.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร

2/1. เมื่อไม่เสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
2/2. เมื่อไม่มีสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เราไม่มีสิ่งนี้ๆแล้ว.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร

๑ก. การที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ ไม่มีศีลธรรมข้อละเว้น คือ มีปรกติอยู่ด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ มั่วกามเมถุน พูดปด ส่อเสียด หยาบคาย กินเหล้าเมายา อยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ตระหนี่ ริษยา เป็นผู้มักโกรธ โวยวาย อารมณ์ร้าย มักอคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

๑ข. การที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ มีศีลธรรมข้อละเว้น คือ มีปรกติอยู่ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดมั่วกามเมถุน ไม่พูดปด ไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย ไม่กินเหล้าเมายา ไม่หมายเอาของคนอื่นมาเป็นของตน ไม่หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ไม่ตระหนี่ ไม่ริษยา ไม่เป็นผู้มักโกรธ มีความยุติธรรมเป็นกลางไม่อคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

๒ก. ความสุขในการ ไม่เจริญศีลข้อละเว้น ทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น ..สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย  หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางโลกมันเริ่มจากสุขมากไปหาความทุกข์ยากลำบากเสื่อมสูญในภายหน้า ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ยิ่งเสพย์ยิ่งขาดทุนยิ่งทุกข์ยิ่งเร่าร้อนสูญเสีย ยังผลให้บารมีการขาดทุนเสื่อมสูญติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ)

๒ข. ความสุขในการ เจริญศีลข้อละเว้น ทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น ..สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย  หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางธรรมมันเริ่มจากทุกข์ยากลำบากไปหาอมตะสุขที่ไม่มีเสื่อม เป็นบารมีกำไรชีวิตพอกพูนขึ้นติดตามเราไปในทุกภพทุกชาติ)

ก. พิจารณาดูว่า..จากการก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรล่อใจสิ่งใด
ข. พิจารณาดูว่า..จากการไม่ก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม ดั่งในศีล ๕ เป็นต้น มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรอล่อใจสิ่งใด


- ทำกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในละเว้นซึ่งความเบียดเบียน เมื่อเข้าถึง กรรม ไตรลักษณ์ หิริโอตัปปะ แล้ว เกิดความเห็นชอบ สัมมาทิฐิ จิตย่้อมแล่นลงในศีลอันงาม ศีลที่เป็นปรกติของจิต มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีใจชื่นบานผ่องใส ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะเหลือศีลเพียงข้อเดียว คือ ศีลใจ นั่นคือ มีเจตนาเป็นศีลนั่นเอง
      ..เช่น..หากเราบวชอยู่แล้วบังเอิญคิดถึงผู้หญิงแล้วเกิดน้ำสุกกะหลั่งโดยไม่ได้ไปสัมผัสอวัยวะเพศแต่อย่างใดไม่มีการจับ หนีบ ลูบ แตะ เกร็งทั้งสิ้น ข้อนี้ยังไม่ถึงสังฆาทิเสส แต่อาจลงเป็นอาบัติสะสมคือ ทุกกฏ ดีที่สุดคือถามครูอุปัชฌาย์ แล้วปลงอาบัติ ขออยู่ปริวาสเพื่อล้างอาบัติยิ่งดีใหญ่
ต่อมาด้วยประการดังกล่าวจากความบังเอิญแล้วตนทำใจไว้ว่า ตนแค่คิดถึงผู้หญิงน้ำสุกกะก็หลั่งได้ ให้น้ำสุกกะไหลโดยไม่ได้เอามือจับแตะทำชักว่าว โดยประมาณคาดว่าไม่สำเร็จสังฆาทิเสส ..หลังจากนั้นก็ทำความนึกถึงผู้หญิงลงกามเมถุนด้วยหมายให้น้ำสุกกะหลั่งเองอีก จนสำเร็จผลตามต้องการ ถือเป็นอาบัติสังฆาทิเสส คือ เจตนาแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แม้ไม่ใช้มือ ร่างกายทำ แต่มีเจตนาให้สำเร็จความใคร่น้ำสุกกะหลัง ด้วยรู้ว่าตนเองแค่ทำความนึกถึงในเมถุนด้วยประการอย่างนี้ๆน้ำสุกกะก็หลั่งได้

     ดังนั้นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงมีเจตนาละเว้นสิ่งเหล่าใดทั้งปวงที่ก่อให้เกิดการผิดพระวินัยทั้งปวง มีเจตนาเป็นศีล มีเจตละเว้น มีศีลเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แกุศลอันลามกจัญไรทั้งปวง เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้น ความไม่มีอีก

* การอาบัติในทางพระวินัย ร่วมด้วยเจตนา ๓ คือ
1. กระทำที่ใจ
2. ลงมือกระทำตามวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา ใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอันที่ตนต้องการ สำเร็จผลตามที่ตนต้องการ แต่ผลสำเร็จนั้นเป็นข้อห้าม ข้อละเว้น ข้ออาบัติในพระธรรมวินัย
3. ทำสำเร็จ
* หากครบองค์ ๓ ก็เป็นอาบัติตามพระวินัยทันที หากมีเจตนากระทำ แต่ไม่ได้ทำก็ยังไม่อาบัติในข้อนั้นๆ หากเจตนาทำและได้ทำแล้วแต่ไม่สำเร็จก็เป็นอาบัติอีกอย่าง อุปมาเหมือนทางโลกที่มีแบ่งโทษคดีหนังเบาในการฆ่าคน เป็น ฆ่าโดยเจตนา ฆ่าโดยไม่เจตนา ฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งโทษจะหนักเบาต่างกันไป *

** ด้วยเหตุของการแสดงธรรมแห่ง หิริ-โอตตัปปะ คือ กรรม วิบากกรรม, โลกธรรม ๘, อานิสงส์, ความเสื่อม ความสูญเสียแห่งโภคทรัพย์และอริยะทรพย์ที่ตนสะสมมา ความเห็นเสมอกันไม่แบ่งแยกเขา-เรา ลงสู่การกำหนดรู้ทุกข์ เข้าสู่พระอริยะสัจ ๔ ทั้งหมดนี้แลทำให้ความละอายเกรงกลัวต่อบาปนี้ เกิดมีลงใจแก่ผู้ที่สะสมเหตุบารมีมาดีแล้ว ควรแก่การทำ ทาน ศีล ภาวนา ให้ถึงซึ่ง สุจริต ๓ และ มหาสติปัฏฐาน เพื่อยังโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้น ถึงแก่วิมุติธรรม วิมุติสุข




ศีล ต้องบริสุทธิ์แค่ไหนถึงจะเกิดสมาธิ

ศีลของตนนั้นบริสุทธิ์พอจะเป็นสัมมาสมาธิได้ไหม ให้พิจารณารู้สภาวะจิตของตนดังนี้คือ

ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร เพื่อปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว

ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น เรามีความตื่นตัวรูู้ตัวอยู่เสมอๆหรือไม่ รู้ปัจจุบันขณะที่ตนกำลังดำเนินไปอยู่เสมอๆ ทุกๆขณะที่ทำอะไรหรือไม่ ทำให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว น้อมนำจิตให้จดจ่อตั้งมั่นตาม ทำให้ถึงความสงบใจไม่กวัดแกว่งไปตาม อภิชฌา โทมนัส ทำให้เราไม่เร่าร้อนกายใจ มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร

- ศีลเครื่องละเว้นขัดเกลาจิตจากความเบียดเบียนและเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงอันพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมทำให้เย็นใจไม่เร่าร้อน
- ความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีความผ่องใสชื่นบานเบาสบายไม่ตรึงหน่วงจิตเป็นอานิสงส์
- จิตที่ผ่องใสไม่เศร้าหมอง มีความอิ่มใจเป็นอานิสงส์
- ความอิ่มใจซาบซ่าน มีความสงบเป็นอานิสงส์
- ความสงบอันบริสุทธิ์ปราศจากความเจือปน มีสุขเป็นอานิสงส์
- ความสุขอันแช่มชื่นรมย์อันบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องล่อใจ มีสมาธิเป็นอานิสงส์
- จิตที่ตั้งมั่นแนบแน่นไม่ปรุงแต่งสมมติเหล่าใด มีสติอันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ทำ ไม่บังคับ ไม่ปรุงแต่ง มีปัญญาเป็นอานิสงส์

เมื่อล่วงพ้นเกินกว่าอุปนิสัย แต่เป็นเจตนาเครื่องละเว้นอันแจ้งแทงตลอดลงใจ มันมีแต่ความเย็นกายสบายใจ ไม่เร่าร้อน จิตผ่องใส เย็นใจ ไม่คิดมาก ไม่คิดร่ำไร ไม่เพ้อรำพัน ตั้งมั่นอยู่ด้วยปัจจุบัน ไม่สัดส่ายคำนึงถึงสิ่งอันเป็นเครื่องเร่าร้อนเหล่าใดทั้งปวง

จิตแต่นั้นก็เข้าสมาธิได้ง่ายไม่ลำบาก ไม่ตั้งมั่นผิด



หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน แสดงธรรมเทศนา สอนวิธีทำเหตุให้ และ ผลของวิบากกรรมที่ติดตามเรามา  ดังนี้ว่า

๑. การทำเหตุ การปฏิบัติแรกๆมันยาก การทำดีมันยาก ค่อยๆทำไปทีละนิดสะสมไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ ทำกุศลให้มากในกาย วาจา ใจ เรื่องอกุศลก็ค่อยๆลดลง อดทนอดกลั้นสำรวมระวังต่ออกุศลไว้ให้มันทิ้งระยะห่างให้นานขึ้นจึงเกิดมีเข้าแทรกได้ แล้วเว้นระยะห่างไปเรื่อยๆจนมันเว้นขาดจากกาย,วาจา,ใจของเรา
- เวลามันคิดชั่วเราก็คิดดีแทรกแทรงโดยทำใจให้เอื้อเฟื้อปารถนาดี แบ่งปัน สงเคราะห์ให้

๒. ผลของวิบากกรรมที่ไม่มี ศีล ทาน ภาวนา คนที่ชอบทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นให้ช้ำใจ พรากชีวิตผู้อื่นนั้น ลักขโมยของผู้อื่น ชอบไปผิดลูกเมียเขา พรากคนรักเขา กระทำไม่ดีชอบด่า ชอบว่าให้ร้ายคนอื่น ยุยงให้ผู้อื่นแตกคอกัน ชอบลุ่มหลงมอมเมาขาดสติในกามารมณ์ ในสุรายาเสพย์ติดที่ทำให้ขาดสติ ระลึกไม่ได้ นั่นเพราะมีนิสัยสันดานติดมาจากนรกมันสะสมมานาน และเพราะเขาได้สะสม ศีล ทาน ภาวนามา มากพอก็จะมาเกิดเป็นคนได้ พอมาได้เกิดเป็นคนแต่กรรมอกุศลทั้งปวงที่เขาทำมานั้นมีมากทำให้เขามีหน้าตาดุร้ายบ้าง พิการบ้าง หม่นหมองไม่งดงามบ้าง และสันดานจากนรกที่เคยเป็นสัตว์นรถที่ทำไม่ดีนี้สะสมมามากติดตามเขามาด้วย เขาเลยยังแก้ไม่ได้ ยังทำกาย วาจา ใจ เบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่นอยู่ แล้วเขาไม่ทำเหตุในกุศลเพิ่มมันก็ยิ่งชั่วไปใหญ่

๓. ทำจิตเป็นมิตรสงเคราะห์เขา เมื่อเขามีกรรม มีวิบากกรรมอย่างนั้นเราก็ไม่พึงข้องใจในเขา อย่าไปติดใจในเขา พึงสงเคราะห์เขาเสีย อย่าไปคิด พูด ทำ เพื่อเบียดเบียนเขาเพิ่มเติมซ้ำเติมเขาอีก เขาเป็นอย่างนั้นทั้งกายและใจเขาก็ได้รับทุกข์มามากพอแล้ว ทั้งเร่าร้อน, ร้อนรุ่ม, ถูกไฟกิเลสกรรมไฟนรกแผดเผาต้องกายใจให้หดหู่, วุ่นวาย, ฟุ้งซ่านมามากเต็มที่เขาแล้ว ควรอดโทษไว้แก่เขาสงเคราะห์เขาเสีย

๔. มองพิจารณาในวิบากกรรมย้อนมาสู่ตน หากนิสัยจากนรกที่ติดตามมานี้เป็นตัวเราเอง เมื่อรู้ว่านิสัยในนรกของเรามีมาก วิบากกรรมจากนรกมันติดตามเรามามาก ก็ให้เพียรเจริญในกุศล ศีล ทาน ภาวนา ให้มากสะสมไปเรื่อยๆ เมื่อมันดีมีกำลังเรียกว่า พละ ๕ มันก็จะกลายเป็นอุปนิสัย คิด พูด ทำ ในกุศลโดยชอบไม่เร่าร้อนเป็นทุกข์ ท่านผู้รู้ผู้ภาวนาท่านมองมาดูที่ตนเองอย่างนี้ เมื่อเป็นอุปนิสัยก็จะกลายเป็นจริตสันดาน ตามไปทุกภพชาติ เมื่อมีจริตสันดานในกุศลที่เต็มที่เต็มกำลังใจก็กลายเป็นบารมี อินทรีย์ก็จะแก่กล้า ทีนี้จิตมันจะไม่ปล่อยให้อกุศลเล็ดลอดออกมาได้ ภาวนาก็ให้รู้ลมหายใจมีพุทโธนี้แหละ พิจารณาธาตุ ๖ ตามบทสวดมนต์ธาตุไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2017, 09:27:29 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #287 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2017, 03:13:04 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๓. กำหนดรู้ทุกข์ แล้วสืบต่อครบไปในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ใน พระอริยะสัจจ ๔

- สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทุกขอริยะสัจ พระอริยะสัจ ๔ พิจารณาดูสภาพความเป็นไปในสิ่งต่างๆเพื่อความแจ้งแทงตลอด ดังนั้นให้เรากำหนดรู้ซึ่งทุกข์เพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมชาติของโลกจากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
- กำหนดรู้ทุกข์โดยธรรมชาติ สภาวะอาการ ความรู้สึก ที่เกิดมีแก่ตนว่า..

1/1. เมื่อเสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
1/2. เมื่อสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เรามีสิ่งนี้ๆแล้ว.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร

2/1. เมื่อไม่เสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
2/2. เมื่อไม่มีสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เราไม่มีสิ่งนี้ๆแล้ว.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร

๑ก. การที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ ไม่มีศีลธรรมข้อละเว้น คือ มีปรกติอยู่ด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ มั่วกามเมถุน พูดปด ส่อเสียด หยาบคาย กินเหล้าเมายา อยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ตระหนี่ ริษยา เป็นผู้มักโกรธ โวยวาย อารมณ์ร้าย มักอคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

๑ข. การที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ มีศีลธรรมข้อละเว้น คือ มีปรกติอยู่ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดมั่วกามเมถุน ไม่พูดปด ไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย ไม่กินเหล้าเมายา ไม่หมายเอาของคนอื่นมาเป็นของตน ไม่หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ไม่ตระหนี่ ไม่ริษยา ไม่เป็นผู้มักโกรธ มีความยุติธรรมเป็นกลางไม่อคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

๒ก. ความสุขในการ ไม่เจริญศีลข้อละเว้น ทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น ..สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย  หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางโลกมันเริ่มจากสุขมากไปหาความทุกข์ยากลำบากเสื่อมสูญในภายหน้า ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ยิ่งเสพย์ยิ่งขาดทุนยิ่งทุกข์ยิ่งเร่าร้อนสูญเสีย ยังผลให้บารมีการขาดทุนเสื่อมสูญติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ)

๒ข. ความสุขในการ เจริญศีลข้อละเว้น ทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น ..สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย  หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

(จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางธรรมมันเริ่มจากทุกข์ยากลำบากไปหาอมตะสุขที่ไม่มีเสื่อม เป็นบารมีกำไรชีวิตพอกพูนขึ้นติดตามเราไปในทุกภพทุกชาติ)

ก. พิจารณาดูว่า..จากการก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรล่อใจสิ่งใด
ข. พิจารณาดูว่า..จากการไม่ก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม ดั่งในศีล ๕ เป็นต้น มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรอล่อใจสิ่งใด

- ทำกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในละเว้นซึ่งความเบียดเบียน เมื่อเข้าถึง กรรม ไตรลักษณ์ หิริโอตัปปะ แล้ว เกิดความเห็นชอบ สัมมาทิฐิ จิตย่้อมแล่นลงในศีลอันงาม ศีลที่เป็นปรกติของจิต มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีใจชื่นบานผ่องใส ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะเหลือศีลเพียงข้อเดียว คือ ศีลใจ นั่นคือ มีเจตนาเป็นศีลนั่นเอง
      ..เช่น..หากเราบวชอยู่แล้วบังเอิญคิดถึงผู้หญิงแล้วเกิดน้ำสุกกะหลั่งโดยไม่ได้ไปสัมผัสอวัยวะเพศแต่อย่างใดไม่มีการจับ หนีบ ลูบ แตะ เกร็งทั้งสิ้น ข้อนี้ยังไม่ถึงสังฆาทิเสส แต่อาจลงเป็นอาบัติสะสมคือ ทุกกฏ ดีที่สุดคือถามครูอุปัชฌาย์ แล้วปลงอาบัติ ขออยู่ปริวาสเพื่อล้างอาบัติยิ่งดีใหญ่
ต่อมาด้วยประการดังกล่าวจากความบังเอิญแล้วตนทำใจไว้ว่า ตนแค่คิดถึงผู้หญิงน้ำสุกกะก็หลั่งได้ ให้น้ำสุกกะไหลโดยไม่ได้เอามือจับแตะทำชักว่าว โดยประมาณคาดว่าไม่สำเร็จสังฆาทิเสส ..หลังจากนั้นก็ทำความนึกถึงผู้หญิงลงกามเมถุนด้วยหมายให้น้ำสุกกะหลั่งเองอีก จนสำเร็จผลตามต้องการ ถือเป็นอาบัติสังฆาทิเสส คือ เจตนาแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แม้ไม่ใช้มือ ร่างกายทำ แต่มีเจตนาให้สำเร็จความใคร่น้ำสุกกะหลัง ด้วยรู้ว่าตนเองแค่ทำความนึกถึงในเมถุนด้วยประการอย่างนี้ๆน้ำสุกกะก็หลั่งได้

     ดังนั้นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงมีเจตนาละเว้นสิ่งเหล่าใดทั้งปวงที่ก่อให้เกิดการผิดพระวินัยทั้งปวง มีเจตนาเป็นศีล มีเจตละเว้น มีศีลเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แกุศลอันลามกจัญไรทั้งปวง เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้น ความไม่มีอีก

* การอาบัติในทางพระวินัย ร่วมด้วยเจตนา ๓ คือ
1. กระทำที่ใจ
2. ลงมือกระทำตามวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา ใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอันที่ตนต้องการ สำเร็จผลตามที่ตนต้องการ แต่ผลสำเร็จนั้นเป็นข้อห้าม ข้อละเว้น ข้ออาบัติในพระธรรมวินัย
3. ทำสำเร็จ
* หากครบองค์ ๓ ก็เป็นอาบัติตามพระวินัยทันที หากมีเจตนากระทำ แต่ไม่ได้ทำก็ยังไม่อาบัติในข้อนั้นๆ หากเจตนาทำและได้ทำแล้วแต่ไม่สำเร็จก็เป็นอาบัติอีกอย่าง อุปมาเหมือนทางโลกที่มีแบ่งโทษคดีหนังเบาในการฆ่าคน เป็น ฆ่าโดยเจตนา ฆ่าโดยไม่เจตนา ฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งโทษจะหนักเบาต่างกันไป *

** ด้วยเหตุของการแสดงธรรมแห่ง หิริ-โอตตัปปะ คือ กรรม วิบากกรรม, โลกธรรม ๘, อานิสงส์, ความเสื่อม ความสูญเสียแห่งโภคทรัพย์และอริยะทรพย์ที่ตนสะสมมา ความเห็นเสมอกันไม่แบ่งแยกเขา-เรา ลงสู่การกำหนดรู้ทุกข์ เข้าสู่พระอริยะสัจ ๔ ทั้งหมดนี้แลทำให้ความละอายเกรงกลัวต่อบาปนี้ เกิดมีลงใจแก่ผู้ที่สะสมเหตุบารมีมาดีแล้ว ควรแก่การทำ ทาน ศีล ภาวนา ให้ถึงซึ่ง สุจริต ๓ และ มหาสติปัฏฐาน เพื่อยังโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้น ถึงแก่วิมุติธรรม วิมุติสุข




ศีล ต้องบริสุทธิ์แค่ไหนถึงจะเกิดสมาธิ

ศีลของตนนั้นบริสุทธิ์พอจะเป็นสัมมาสมาธิได้ไหม ให้พิจารณารู้สภาวะจิตของตนดังนี้คือ..

- ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร เพื่อปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว
- ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น เรามีความตื่นตัวรู้ตัวอยู่เสมอๆหรือไม่ รู้ปัจจุบันขณะที่ตนกำลังดำเนินไปอยู่เสมอๆ ทุกๆขณะที่ทำอะไรหรือไม่ ทำให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว น้อมนำจิตให้จดจ่อตั้งมั่นตาม ทำให้ถึงความสงบใจไม่กวัดแกว่งไปตาม อภิชฌา โทมนัส ทำให้เราไม่เร่าร้อนกายใจ มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร

- ศีลเครื่องละเว้นขัดเกลาจิตจากความเบียดเบียนและเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงอันพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมทำให้เย็นใจไม่เร่าร้อน
- ความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีความผ่องใสชื่นบานเบาสบายไม่ตรึงหน่วงจิตเป็นอานิสงส์
- จิตที่ผ่องใสไม่เศร้าหมอง มีความอิ่มใจเป็นอานิสงส์
- ความอิ่มใจซาบซ่าน มีความสงบเป็นอานิสงส์
- ความสงบอันบริสุทธิ์ปราศจากความเจือปน มีสุขเป็นอานิสงส์
- ความสุขอันแช่มชื่นรมย์อันบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องล่อใจ มีสมาธิเป็นอานิสงส์
- จิตที่ตั้งมั่นแนบแน่นไม่ปรุงแต่งสมมติเหล่าใด มีสติอันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ทำ ไม่บังคับ ไม่ปรุงแต่ง มีปัญญาเป็นอานิสงส์

เมื่อล่วงพ้นเกินกว่าอุปนิสัย แต่เป็นเจตนาเครื่องละเว้นอันแจ้งแทงตลอดลงใจ มันมีแต่ความเย็นกายสบายใจ ไม่เร่าร้อน จิตผ่องใส เย็นใจ ไม่คิดมาก ไม่คิดร่ำไร ไม่เพ้อรำพัน ตั้งมั่นอยู่ด้วยปัจจุบัน ไม่สัดส่ายคำนึงถึงสิ่งอันเป็นเครื่องเร่าร้อนเหล่าใดทั้งปวง

จิตแต่นั้นก็เข้าสมาธิได้ง่ายไม่ลำบาก ไม่ตั้งมั่นผิด




หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน แสดงธรรมเทศนา สอนวิธีทำเหตุให้ และ ผลของวิบากกรรมที่ติดตามเรามา  ดังนี้ว่า

๑. การทำเหตุ การปฏิบัติแรกๆมันยาก การทำดีมันยาก ค่อยๆทำไปทีละนิดสะสมไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ ทำกุศลให้มากในกาย วาจา ใจ เรื่องอกุศลก็ค่อยๆลดลง อดทนอดกลั้นสำรวมระวังต่ออกุศลไว้ให้มันทิ้งระยะห่างให้นานขึ้นจึงเกิดมีเข้าแทรกได้ แล้วเว้นระยะห่างไปเรื่อยๆจนมันเว้นขาดจากกาย,วาจา,ใจของเรา
- เวลามันคิดชั่วเราก็คิดดีแทรกแทรงโดยทำใจให้เอื้อเฟื้อปารถนาดี แบ่งปัน สงเคราะห์ให้

๒. ผลของวิบากกรรมที่ไม่มี ศีล ทาน ภาวนา คนที่ชอบทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นให้ช้ำใจ พรากชีวิตผู้อื่นนั้น ลักขโมยของผู้อื่น ชอบไปผิดลูกเมียเขา พรากคนรักเขา กระทำไม่ดีชอบด่า ชอบว่าให้ร้ายคนอื่น ยุยงให้ผู้อื่นแตกคอกัน ชอบลุ่มหลงมอมเมาขาดสติในกามารมณ์ ในสุรายาเสพย์ติดที่ทำให้ขาดสติ ระลึกไม่ได้ นั่นเพราะมีนิสัยสันดานติดมาจากนรกมันสะสมมานาน และเพราะเขาได้สะสม ศีล ทาน ภาวนามา มากพอก็จะมาเกิดเป็นคนได้ พอมาได้เกิดเป็นคนแต่กรรมอกุศลทั้งปวงที่เขาทำมานั้นมีมากทำให้เขามีหน้าตาดุร้ายบ้าง พิการบ้าง หม่นหมองไม่งดงามบ้าง และสันดานจากนรกที่เคยเป็นสัตว์นรถที่ทำไม่ดีนี้สะสมมามากติดตามเขามาด้วย เขาเลยยังแก้ไม่ได้ ยังทำกาย วาจา ใจ เบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่นอยู่ แล้วเขาไม่ทำเหตุในกุศลเพิ่มมันก็ยิ่งชั่วไปใหญ่

๓. ทำจิตเป็นมิตรสงเคราะห์เขา เมื่อเขามีกรรม มีวิบากกรรมอย่างนั้นเราก็ไม่พึงข้องใจในเขา อย่าไปติดใจในเขา พึงสงเคราะห์เขาเสีย อย่าไปคิด พูด ทำ เพื่อเบียดเบียนเขาเพิ่มเติมซ้ำเติมเขาอีก เขาเป็นอย่างนั้นทั้งกายและใจเขาก็ได้รับทุกข์มามากพอแล้ว ทั้งเร่าร้อน, ร้อนรุ่ม, ถูกไฟกิเลสกรรมไฟนรกแผดเผาต้องกายใจให้หดหู่, วุ่นวาย, ฟุ้งซ่านมามากเต็มที่เขาแล้ว ควรอดโทษไว้แก่เขาสงเคราะห์เขาเสีย

๔. มองพิจารณาในวิบากกรรมย้อนมาสู่ตน หากนิสัยจากนรกที่ติดตามมานี้เป็นตัวเราเอง เมื่อรู้ว่านิสัยในนรกของเรามีมาก วิบากกรรมจากนรกมันติดตามเรามามาก ก็ให้เพียรเจริญในกุศล ศีล ทาน ภาวนา ให้มากสะสมไปเรื่อยๆ เมื่อมันดีมีกำลังเรียกว่า พละ ๕ มันก็จะกลายเป็นอุปนิสัย คิด พูด ทำ ในกุศลโดยชอบไม่เร่าร้อนเป็นทุกข์ ท่านผู้รู้ผู้ภาวนาท่านมองมาดูที่ตนเองอย่างนี้ เมื่อเป็นอุปนิสัยก็จะกลายเป็นจริตสันดาน ตามไปทุกภพชาติ เมื่อมีจริตสันดานในกุศลที่เต็มที่เต็มกำลังใจก็กลายเป็นบารมี อินทรีย์ก็จะแก่กล้า ทีนี้จิตมันจะไม่ปล่อยให้อกุศลเล็ดลอดออกมาได้ ภาวนาก็ให้รู้ลมหายใจมีพุทโธนี้แหละ พิจารณาธาตุ ๖ ตามบทสวดมนต์ธาตุไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2017, 09:35:53 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #288 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2017, 03:34:42 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
 [๑๒๐] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ
             ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป
ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก
สังขารนิมิต ฯลฯ จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความ
บังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก
จากความรำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ
ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๑] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์
ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ปัญญา
เครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความ
เกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็น
สังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๒] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความ
คับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ ความ
คับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๓] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ
เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา
ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็น
สังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติ
เป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร
ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม
๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ
             [๑๒๔] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ การ
น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ ฯ
             [๑๒๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย
อาการ ๒ เป็นไฉน ฯ
             ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ การ
น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
เป็นไฉน ฯ
             พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อม
มีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการ ๓ เป็นไฉน ฯ
             ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณาแล้วเข้าผล-
*สมาบัติ ๑ วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ
อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ
             [๑๒๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น
อย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา
มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา
ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย
แห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ
เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๗] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น
สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็น
อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของ
พระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ
อัพยากฤตอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ
วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ
ดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจาก
ราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้
พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจาก
ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกัน
โดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๑] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ
ได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง
ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา
สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง
ได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่าน
ผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ
กิเลสไม่ได้อย่างนี้ ฯ
             [๑๓๒] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้
ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหาร-
*สมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ
แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๓] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา
เท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้
ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์
เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา
เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขา ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วย
อำนาจสมถะ ฯ
             [๑๓๔] สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต
กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อ
ต้องการได้อนาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อนาคามิผล
สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
... เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา
ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก
ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วิปัสสนา ฯ
             [๑๓๕] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต
เท่าไร สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
                          ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-
                          จิต ๘ เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒ เป็นโคจรภูมิของพระ-
                          *เสขะ ๓ เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
                          เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘ เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐
                          สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้
                          พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน
                          สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #289 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2017, 10:00:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฌาณเสื่อม วิธีหาคลองเก่า

ที่จำคลองเก่าไม่ได้เพราะ "จิตไม่มีกำลัง"..
ปรกติจิตมันสัดส่าย อ่อนไหว อ่อนแอ กระเอื่อม ซ่านเซนไปตามอารมร์ความรู้สึกที่รู้สัมผัส ที่จิตเห็น จิตรู้ เมื่อฌาณเราเสื่อม เราทำอย่างไรก็เข้าอีกไม่ได้ ยิ่งกระสันอยากได้คืน ยิ่งเข้าไม่ได้ ด้วยเหตุประการดังนี้คือ

1. อุปาทานมีมาก ด้วยความกระสันนั้น
2. ตัณหามีมาก ด้วยความใคร่เสพย์นั้น
3. กิเลสมีมาก ด้วยความตรึกนั้น
4. นิวรณ์มีมาก ด้วยความสำคัญมั่นหมายของใจ,หมายรู้อารมณ์ ด้วยสภาวะธรรมนั้นๆ


อธิบาย
 ..ปัจจัย 4 ประการ ข้างต้นทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้จิตอ่อนแอ กระเพื่อม อ่อนไหว ซ่านเซน เหนื่อยล้า ไม่มีกำลัง..ดังนี้แล้วเราจึงควรทำให้จิตมีกำลังก่อน
 ..ด้วยธรรมชาติของจิตที่มีกำลัง มีสติบริสุทธิ์ ไม่กกระเพื่อไหวเอนซ่านเซ็นต่อผัสสะ อารมร์ที่มากระทบ สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่อิงอามิสแล่นหาอารมณ์ไรๆมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน มันจึงทำหน้าที่เดิมแท้ที่สักแต่ว่ารู้ นิ่งดูอยู่เฉยๆได้ เมื่อมันนิ่งรู้ดูอยู่เฉยๆเท่านั้นมันจะจดจำสภาวะธรรมทุกขั้นตอนได้เองอย่างไม่ผิดเพี้ยน ทั้งผัสสะ, สภาวะอาการความรู้สึก, นิมิต, มนสิการ ได้ครบหมดทุกขั้นตอน
 ..ดังนั้นเวลาทำสมาธิเข้าฌาณเราจึงไม่ต้องไปพยายามเพ่ง พยายามจดจำ สภาวะ อาการ ไม่ต้องหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาถึงมนสิการ คือ การทำไว้ในใจต่ออารมณ์ของจิตด้วยสัญญาใดๆทั้งสิ้น ปล่อยให้มันเป็นไปของมันเอง
.. ถ้าจิตไม่มีกำลังมันจะจำไม่ได้ แต่ถ้าจิตมีกำลังมันจะจำได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องไปหมายรู้อารมณ์ ผัสสะ สภาวะธรรม หรือวิธีที่จิตทำมนสิการใดๆด้วยสัญญา



วิธีแก้ คือ ทำให้จิตมีกำลัง จิตมันจะทำของเก่าได้เองทุกกระบวนการ

1. สงบนิ่ง ทำจิตสบายๆให้ผ่อนคลาย ไม่หยิบจับเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น หรือ ทำเพียงรู้ลมหายใจเข้าออกโดยไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องกำหนด ตั้มมั่นในใจว่าเราจะทำให้จิตได้พัก ปิดสวิทซ์การทำงานของจิต เพื่อให้จิตมีกำลัง ไม่ต้องสนฌาณ ญาณอะไรทั้งสิ้น รู้แต่เพียงว่าถ้าจิตมีกำลังจิตมันจะทำคลองเก่าได้ทั้งหมดเอง มันจะมนสิการของมันเองแบบสายๆ โดยไม่ต้องไปบังคับเพ่งอะไรทั้งสิ้น เพราะจิตมันฉลาดมันรู้เองว่าสิ่งไหนดีต่อมัน การที่มันได้พักดีต่อมันยังไง การเข้าไปพักต้องมนสิการแบบไหนยังไง
2. สมมติความรู้สึกนึกคิดเหล่าใดผ่านมาให้รู้ก็ทำจิตแค่รู้ว่าสมมติเกิด รู้ว่าคิด แล้วก็ปล่อยไปทำแต่รู้ ทำจิตให้ไม่หวั่นไหวไหลไปตามความคิด สมมติกิเลสที่สร้างขึ้นมาหลอกจิต รู้ว่าธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันรู้แต่สมมติ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ทำเพียงแต่รู้ตามสถานะภาพจิตเดิมแท้เราเท่านั้นพอ
3. ทำไปเรื่อยๆด้วยผ่อนคลาย มันเผลอไหลไปตามคิดก็ช่างมันรู้ว่าคิดก็พอ ตามรู้ความคิดมันไปเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปบังคับหยุดไม่ให้คิดเพราะธรรมชาติของจิตมันคือคิด ปล่อยมันคิดจนสุดแต่เราทำแค่รู้ความคิดเท่านั้น
.. เมื่อมันคิดจนสุดมันจะเกิดสภาวะหนึ่งที่จิตรู้ตัวนิ่งแต่ไม่หลุดจากสภาวะที่น้อมไปในอารมณ์นั้นๆ ตรงนี้จึงค่อยทำช้าๆเบาๆให้จิตมันสิการรู้ลม หรือมองดูไปที่เบื้องหน้ามืดๆ นั้นด้วยทำใจไว้ไม่สัดส่ายเพื่อให้จิตได้พักเท่านั้น สำเนียกว่าการที่จิตได้พักมันจึงจะเข้าฌาณได้ ถ้าจิตไม่ได้พักจะไม่มีกำลังเข้าฌาณได้ จิตมันจะทำสัญญาไว้เอง แล้วเราทำใจผ่อนคลายให้มันได้พักเท่านั้นพอ โดยนึกถึงอาการที่จิตวูบเข้าไปพักหลับสนิทปิดสวิทซ์การรับรู้ทั้งปวง
4. เมื่อเกิดอาการวูบวาบๆ หรืออะไรก็ช่าง วูบแนบนิ่งดิ่งลงก็ตามสำเนียกว่าเรามีหน้าที่แค่รู้ ไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ ไม่ได้มีหน้าที่ปรุงแต่ง จิตเดิมแท้มันมีแต่เพียงรู้เท่านั้น ทำได้แค่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่อื่นใดนอกจากแค่รู้ แต่ไม่ต้องประครองมากเกินไปทำให้เป็นที่สบายๆไม่หน่วงตรึงจิต ไม่บังคับกดข่มจิตเพ่งอารมณ์จนเกินไปเพราะจะทำให้จิตมันตื่นขึ้นมารับรู้อารมณ์มากขึ้นไป ดังนี้แล้วเมื่อเกิดอาการอะไรให้ทำไว้ในใจเพียงแค่รู้ ไม่ต้องฉุกคิดไม่ต้องปรุง ไม่ต้องไปพยายามจำอะไรทั้งสิ้น จิตมีกำลังมันจะจำได้เอง สติมันจะบริสุทธิ์เอง ทำให้ไม่ต้องครองอะไรมากไปจากการทำให้จิตแค่รู้ ถ้าจิตไม่มีกำลังพยายามแค่ไหนก็จำไม่ได้ ตรงนี้วัดกำลังของจิตเราเองได้ดีเลย ทำให้เราได้รู้ว่าจิตเรามันล้ามันเหนื่อยมันอ่อนแอแค่ไหน
5. เมื่อจิตวูบดับแช่ นิ่ง ไม่รับรู้อะไร จนอิ่มมีกำลัง มันจะสุข เมื่อสุขประทุจนดับไป หากจิตมีกำลังพอมันจะเข้าฌาณ มีตริ ตรึก ความสำเนียก มนสิการได้ แต่ไม่มีเสียงคิด จิตมันทำไว้ในใจอย่างไปมันเพิกไปทันที เมื่อจิตมีกำลังมันจะทำให้สติมีกำลังมากในฌาณมันจะทำหน้าที่แยกจิตออกการสังขารทั้งปวง เอกัคคตาจะทำให้จิตได้พักมีอุเบกขาเกิดขึ้นประกอบจิต..ทำจิตให้เพียงแค่รู้ไม่สัดส่ายต่อนิมิตหรือสัมผัสแห่งสังขารเบื้องหน้าหากเข้าฌาณไม่ได้ถอบกลับมามีความรู้ความคิดความตรึก แม้จะแยกขาดจากนิมิตหรือสิ่งที่คิด นั่นมันแค่อุปจาระฌาณเท่านั้น ยังเข้าปฐมฌาณไม่ได้ เหตุนั้นเพราะจิตมีกำลังไม่พอเข้าอัปปะนาสมาธิ แล้วทะลุอัปปะนาสมาธิเข้าฌาณนั่นเอง เราก็แค่ทำจิตให้ได้พักบ่อยๆไม่ต้องไปให้ความสำคัญอะไรมากเกินกว่าการพักจิตแค่นั้นก็พอ

**หมายเหตุกรรมฐาน 40 เป็นอุบายพักจิตโดยทางแห่งสัมมา ซึ่งจะเป็นทั้งฝึกสติให้ตั้งมั่นในอารมร์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม**
**หลับกับสมาธิเหมือนกันตรงทำไว้ในใจเพื่อเข้าไปพักถอนใจออกจากการรับรู้ทั้งปวง เพื่อให้กายและจิตมันพัก**



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2017, 08:02:46 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #290 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2017, 12:58:52 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
             [๕๙] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
เป็นอย่างไร
             คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
สังขารนิมิตภายนอก
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไป
สู่ความดับคือนิพพาน
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสังขารนิมิต
ภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความ
เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็น
เครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความแก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความรำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอก
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากปฏิสนธิแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากคติแล้ว
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

แล่นไปสู่อคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่
บังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความอุบัติแล้วแล่นไปสู่ความไม่อุบัติ ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความแก่แล้วแล่นไปสู่ความไม่แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้แล้ว
แล่นไปสู่ความไม่เจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความตายแล้วแล่นไปสู่ความ
ไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศกแล้วแล่นไปสู่ความไม่เศร้าโศก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความรำพันแล้วแล่นไปสู่ความไม่รำพัน ชื่อว่าโคตรภู
เพราะออกจากความคับแค้นใจแล้วแล่นไปสู่ความไม่คับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออก
จากความเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
             ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับ
คือนิพพาน
             [๖๐] โคตรภูธรรมเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
             คือ โคตรภูธรรม ๘ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐
ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
             โคตรภูธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
             ๑. ญาณที่ครอบงำนิวรณ์ เพื่อได้ปฐมฌาน ชื่อว่าโคตรภู
             ๒. ญาณที่ครอบงำวิตกวิจาร เพื่อได้ทุติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู
             ๓. ญาณที่ครอบงำปีติ เพื่อได้ตติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๖}
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #291 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2017, 12:59:22 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๔. ญาณที่ครอบงำสุขและทุกข์ เพื่อได้จตุตถฌาน ชื่อว่าโคตรภู
             ๕. ญาณที่ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้
                  อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
             ๖. ญาณที่ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อได้วิญญาณัญจายตน-
                  สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
             ๗. ญาณที่ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อได้อากิญจัญญายตน-
                  สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
             ๘. ญาณที่ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อได้เนวสัญญา-
                  นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
             โคตรภูธรรม ๘ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
             โคตรภูธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
             ๑. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
                  ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ
                  ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก
                  ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้
                  โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโคตรภู
             ๒. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
                  ชื่อว่าโคตรภู
             ๓. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
             ๔. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิผลสมาบัติ
                  ชื่อว่าโคตรภู
             ๕. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
             ๖. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิผลสมาบัติ
                  ชื่อว่าโคตรภู
             ๗. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโคตรภู
             ๘. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อ
                  ว่าโคตรภู
             ๙. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สุญญตวิหารสมาบัติ
                  ชื่อว่าโคตรภู
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส


             ๑๐. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
                    ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่
                    ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
                    สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
             โคตรภูธรรม ๑๐ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
             โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร
             คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
                                       โคตรภูธรรม ๘ ประการ คือ
                          (๑) มีอามิส๑- (๒) ไม่มีอามิส
                          (๓) มีที่ตั้ง๒- (๔) ไม่มีที่ตั้ง
                          (๕) เป็นสุญญตะ๓- (๖) เป็นวิสุญญตะ
                          (๗) เป็นวุฏฐิตะ๔- (๘) เป็นอวุฏฐิตะ
                          ๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ
                          ๑๐ ประการเป็นโคจรแห่งญาณ
                          ๑๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
                                       อาการ ๑๘ ประการนี้
                          อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา
                          พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ
                          ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ
             ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ :
๑ อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๒ ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๓ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๔ วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๙๔-๙๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=23
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #292 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2017, 10:01:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 15-12-2560

หลักการทำสมาธิ

๑.) ส่งจิตเข้ารวมไว้ในภายใน ไม่ส่งจิตออกนอก* -> ๒.) ทำให้จิตได้พัก ปิดสวิทซ์การทำงานของจิต* -> ๓.) อานิสงส์จิตได้พัก จะเกิดสุขอัดปะทุพรั่งพรูจากภายในขึ้นมาซาบซ่านเต็มไปหมด -> ๔.) อานิสงส์สุขดับจิตจะมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอิงอาศัยสมมติอารมณ์ความรู้สึกเหล่าใดมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต สติมีกำลังบริสุทธิ์ผุดผ่องเกิดขึ้นประกอบจิตทำให้แยกขาดระหว่างจิต กับ ขันธ์ ๕ -> ๔.) อานิสงส์จิตที่มีกำลังเข้าอัปปนาสมาธิ และ  ฌาณ

1. จิตส่งออกนอกมันไม่มีกำลัง จิตส่งเข้ารวมไว้ในภายในจึงมีกำลัง เมื่อรู้ดังนี้แล้วให้น้อมจิตเข้ามาไว้ภายใน ไม่สัดส่ายตามความรู้สึกนึกคิดที่มากระทบสัมผัสให้จิตรู้
เมื่อจิตส่งเข้าภายใน..มีจิตจับที่จิตไม่ซ่านไหวส่งออกนอกยึดจับเสพย์สัมผัสความรู้สึกสมมตินึกคิดต่ออารมณ์ใดๆที่จิตรู้..จิตจะรวมลงเข้าไว้ที่ภายในจิต
..อุปมานิมิตดั่งจิตตั้งมันเพ่งจับที่ภายในจุดๆหนึ่งที่เป็นการรับรู้ ซึ่งทำหน้าที่แค่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่เสพย์ หรือกระทำปรุงแต่งไรๆต่ออารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ เป็นการเอาจิตจับที่จิตคือตัวรู้ ประครองให้จิตวิญญาณตัวที่ท่องเที่ยวไปของเรานี้ทำหน้าที่เดิมแท้ คือ แค่รู้นั่นเอง

2. เมื่อจิตเพ่งรวมไว้ภายในโดยไม่ประครองมากไป ทำเป็นที่สบายๆให้จิตมันเป็นไปของมันเอง จิตมันจะอิ่มอัดอยู่ในภายในแล้วมันจะวูบเข้าไปปัสสัทธิขั้นต้น..จิตจะนิ่งดับแช่เหมือนจะรู้อยู่ก็ไม่ใช่..ดับนิ่งไม่รับรู้อะไรก็ไม่ใช่..แต่ที่แน่นอนคือนิ่งแช่เฉยอยู่ไม่กระเพื่อมเอนไหวไรๆทั้งสิ้น..อาการนี้แหละทำให้จิตเรานี้ได้พักปิดสวิทซ์การทำงานของจิต..

3. จิตได้พัก..จึงเกิดสุขอันหาประมาณไม่ได้อัดปะทุพรั่งพรูจากภายในขึ้นมาให้จิตรู้..
เมื่อจิตสุขเต็มที่จากการได้พักจนสุขที่อัดปะทุนัันดับลงเหลือแต่ความนิ่งว่างอิ่มเอิบอยู่..จิตตั้งมั่นมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองไม่ติดเครื่องล่อใจ เข้าสู่อัปปะนาสมาธิมีจิตไม่สัดส่ายกระเพื่อมอ่อนไหวไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิตให้เอนไหวอ่อนแอส่งออกนอกทั้งปวง มีสติบริสุทธิ์แยกจิตออกจากขันธ์ ..จิตมีความรู้อยู่ด้วยการไม่เสพย์สัญญาความปรุงแต่งจิต ไม่มีความคิด มีแต่มนสิการ คือ การทำไว้ในใจของจิต..ปัญญาจึงเกิดขึ้น..ญาณทัสนะปรากฏทำให้เกิดความรู้เห็นตามจริง


สรุป การทำสมาธิ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้จิตเข้าไปพักให้ได้ ไม่ต้องไปขัดขวาง ไม่ต้องปรุง ไม่ต้องอยากเห็นนั่นโน่นนี่ ปล่อยให้จิตมันวูบดับเข้าไปพัก เพื่อให้จิตมีแรงกำลัง อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่อาศันเอาอารมณ์ปรุงแต่งสมมติความคิดมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน จิตจึงจะเข้าอัปปนาสมาธิ และ เข้าฌาณได้ ..ทางที่ถูกต้องคือ 40 กรรมฐาน ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งจะเป็นการฝึกสติให้จดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม กองกรรมฐานทั้ง 40 กองนี้มีไว้เพื่อให้จิตรวมเข้าไว้ในภายใน ให้จิตได้เข้าไปพัก จิตเข้าไปพักจิตก็จะมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองไม่สัดส่ายตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตเข้าฌาณได้ ทำให้จิตทำหน้าที่เดิมแท้ของจิตได้ นั่นคือ สักแต่ว่ารู้นั่นเอง มีสติบริสุทธิ์แยกขาดจิตกับขันธ์ ๕

** ข้อสำคัญเริ่มแรกที่ฝึกทำสมาธิ จิตเรามักจะไม่มีกำลัง ให้ทำไว้ในใจว่าทำสมาธิน้อมรวมเข้าไปไว้ภายในจิต ให้จิตเข้าไปพัก(จิตเราเหนื่อยต้องการนอนพักไม่ต้องการรับรู้อะไร ไม่อยากคิดอะไรนอกจากมีใจเพียงต้องการจะนอนพักเท่านั้น ฉันนั้น..) ทำความพอใจที่ให้จิตได้เข้าไปพักเท่านั้นพอ.. จนเมื่อจิตมีกำลังมากแล้วจึงเล่นในฌาณต่อไป

วิธีการทำสมาธิ

ก่อนทำให้จำยุทธศาสตร์หลักของการทำสมาธิไว้ 5 อย่างดังนี้..

ก. จิตส่งออกนอกมันไม่มีกำลัง ยิ่งจิตส่งออกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งใช้กำลังของจิตแล่นตามอารมณ์นั้นๆมาก จิตก็ทำงานหนักขึ้น บั่นทอนกำลังจิตลง กำลังของจิตยิ่งลดทอนลง
ข. จิตส่งเข้าในจึงมีกำลัง จิตรวมเข้าไว้ในภายในไม่สัดส่ายส่งออกนอกจึงจะมีกำลัง ไม่ต้องทำงานหนัก จิตเริ่มผ่อนคลายได้พัก เหมือนเรานอนหลับ
ค. จิตพักแช่แแน่นิ่งได้นานเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากเท่านั้น ยิ่งรวมลงไปลึกมากเท่าไหร่ ก็จะเข้าสมาธิได้ลึกไปมากฉันนั้น
ง. การทำสมาธิไม่ต้องไปประครองจิตมากไป ไม่ต้องไปบังคับจิตให้ทำความรู้ หรือเพ่ง หรือพยายามจำจดจำจ้องมากไป จะทำจิตตื่นตัวฟุ้งต่ออารมณ์ความรู้สึกหลึดจากสมาธิทันที (เพราะหากจิตตื่นตัวในขณะที่ไม่มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองนั้นมันจะทำให้จิตกระทำเจตนาต่ออารมณ์มาก บังคับมาก เพ่งเกินพอดี กดข่มบังคับเกินประครองใจ ซ่านไหลตามความรู้สึกง่าย จนฟุ้งซ่านระส่ำไม่หยุด ทำให้เข้าสมาธิไม่ได้)
จ. ให้ทำกายใจเป็นที่สบายๆสะสมเหตุไป ผ่อนคลาย ไม่ยึด ไม่เพ่ง ไม่หน่วงนึกคำนึงสิ่งใดมากไป ทำให้จิตผ่อนคลายเป็นที่สบายๆค่อยๆรวมลงเป็นอารมณ์เดียว แล้วได้เข้าไปพักก็พอ (ซึ่งทำจิตรวมลงเป็นอารมณ์เดียวไปพร้อมกับลมหายใจนี้ง่ายสุดจิตจะแล่นรวมลงตามลมที่พัดเข้าออกเป็นอารมณ์เดียวไว ง่าย สบายๆ มันจะซ่านไปทางไหนก็ตามรู้มันไปมันจบเสร็จกิจค่อยน้อมมาสิการมาดูลมจิตจะไม่หลุดจากสมาธิ หากดึงจิตบังคับประครองมากไปจิตจะหลุดทันที จิตไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เป็นไปตามสังขารกรรม เราจึงไปบังคับมันไม่ได้ แต่อบรมจิตให้รับรู้มากขึ้นได้จนฉลาดพอจะเลือกเสพย์ธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ หากมันจะวูบดับลงก็ปล่อยมันไปจิตมันเข้าไปพักหรือดิ่งรวมลงในขั้นสมาธิที่สูงขึ้น)


เมื่อทำสมาธิ

1. ระลึกรวมจิตลงเข้าไว้ในภายใน ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เป็นฐานที่ตั้งแห่งความระลึก ในที่นี้เรารวมลงไว้ที่หทัย หรือ เหนือศูนย์นาภี 2 นิ้ว

2. ไม่ส่งจิตออกนอก ทำความรู้ว่าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนันคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ รวมถึงไม่ยึดกาย กายก็สมมติ เจ็บ ปวด คัน คิด เป็นสมมติ (ลองหลับตาปัจุบันแท้แล้วมีเพียงความมืดเท่านั้น จิตมีความตรึกนึกคิด รู้สิ่งใดด้วยความคิด สิ่งนั้นไม่มีอยู่จริงเลยในปัจจุบัน มันเป็นสมมติเท่านั้น กิเลสมันอาศัยความรู้สึกสัมผัสทางสฬายตนะ ปรุงแต่งคลัะเคล้าด้วยสมมติเป็นความตรึกนึกเกิดขึ้นให้จิตรู้ ให้รู้สมมติว่าเป็นความรู้สึกนั่นนี่หลอกให้จิตไหลเคลิ้มไปปรุงแต่งเรื่องราวตามสมมติกิเลสของปลอม ดังนั้นำไม่ควรยึดสิ่งที่จิตรู้)

3. เมื่อไม่เอาจิตยึดสิ่งใด จิตไม่ยึดสมมติความคิดไม่ยึดกาย มีอาการเหมือนจิตนิ่งไม่ไหวตามอารมณ์อยู่ เหมือนจะเสพย์อารมณ์ก็ไม่ใช่ รู้อยู่ไม่เข้าร่วมก็ไม่ใช่ จิตจะมีความรู้สึกวูบวาบๆซ่านมา มีอาการวูบหนึ่งขนลุงซู่ซาบซ่านเข้ามา ด้วยความรู้สึกอิ่มอัดมีกำลังในภายในเหมือนลอยได้หรือหนักอึ้งก็มีเป็นต้น มีอาการอยู่ครู่หนึ่ง

4. จิตมีความหน่ายคลายกำหนัดอุปาทาน จิตจะไม่ยึดเอาความรู้สึก นึก คิด และสิ่งไรๆที่จิตรู้ ไม่ยึดเอากายและความรู้สัมผัสทางกาย จิตจะมีความรู้สึกว่างๆกลางๆแต่เหมือนลอยๆโหวงไม่แต่ต้องสัมผัสเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น..มีอาการเหมือนหลีกเร้นจากการยึดจับทั้งปวง เหมือนความรู้สึกตอนเราง่วงมากแล้วกำลังเข้านอน.. ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่จิตอ่อนควรแก่งานคลายเกิเลสนิวรณ์ ซึ่งสำคัญมาก..
.. ให้ทำไว้ในใจว่าของแท้อื่นใดที่จิตรู้ไม่มี..นอกจากลมหายใจนี้ เอาจิตจับที่ลมหายใจเข้า-ออก มันจะเริ่มจับที่ลมหาายใจเองตลอดเวลา ซึ่งมันจะจับลมยาว เบา ทั้งเข้าและออกของมันเอง ..ตรงนี้ไม่ต้องไปจำจดจำจ้องมัน ไม่ต้องไปตั้งใจมั่นที่จะรู้ลมมากเกินไป ไม่ต้องตั้งใจมั่่นไม่ให้มันสัดส่ายเกินไป
.. หากตั้งใจหรือตั้งมั่น เจตนาจงใจที่จะรู้ลมหายใจหรือสิ่งใดๆมากเกินไปจิตที่ไม่มีกำลังมันจะตื่นตัวเกินจนไม่รวมลงสมาธิ กลับจะทำให้ใจเราเกิดความฟุ้งซ่านแทน
.. ดังนั้นให้ประครองแต่พอดี ไม่ต้องประครองมากไป ..ไม่หย่อนยานไปด้วยการทำความรู้ทั่วพร้อม คือ ตามรู้อาการความรู้สึกนึกคิดทันไป โดยทำสักแต่ว่ารู้ทำนิมิตแยกตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้โดยที่จิตไม่เข้าร่วมเสพย์สิ่งที่รู้ ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน มันจะวูบรวมดิ่งลง หรือ จะเพ่ง หรือ จะมนสิการก็ตาม ทำแค่รู้แล้วปผล่อยให้มันเป้นไป ไม่ต้องไปอยากจดจำสิ่งที่มัน เพราะถ้าสติบริสุทธิ์จิตมันจะจำได้เองทุกอย่างแทงตลอดหมด โดยไม่ต้องไปจดจำหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาไรๆทั้งสิ้น

5. เมื่อจิตไม่ยึดสิ่งใดนอกจากลมหายใจเป็นอารมณ์เดียว จิตอิ่มจิตวูบลงแช่นิ่งเหมือนจะรู้อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ แน่นิ่งอยู่ ไม่มีความคิด ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อาการนี้จิตเข้าไปพัก ซึ่งตามที่เข้าสมาธิได้พอจะตรีกหวนระลึกตามสติกำลังอาการที่รับรู้ได้โดยลำดับดังนี้

๕.๑). จิตวูบรวมลงชั่วขณะหนึ่ง มีอาการเพียงวูบวาบๆ ซาบซ่านขนลุกซู่ จิตสงบลงได้ ได้ขณิกสมาธิ หากประครองจิตให้เพ่งในอารมณ์มากไป..จะทำให้จิตตื่นตัวรับรู้เกินไปในตอนนี้จิตจะหลุดจากสมาธิทันที ..ดังนั้นให้ปล่อนมันไปทำแค่รู้หรือตามรู้พอ มันจะน้อมอะไรก็ช่างเราแต่ตามรู้แล้วค่อยประครองมันมาที่ลมหรือรวมจิตลงไว้ในภายในช้าๆเบาๆ

๕.๒). จิตวูบรวมลงพักนานขึ้น มีอาการวูบแช่นิ่งเหมือนสะลึมสะลือพักพอรู้สภาวะพักหนื่ง มีจิตรู้ในความตรึกหน่วงนึกมนสิการแนบในอารมณ์อยู่ มีความอิ่มเอิบซาบซ่านแล้ววูบออกรู้อาการนั้นแต่ไม่หลุดจากสภาวะนั้นๆ จิตตื่นขึ้นรู้ มีความรู้ตัวตรึกตรองรู้ได้ในสภาวะนั้นสลับกับวูบนิ่งแช่ ได้อุปจาระสมาธิ
**สภาวะนี้..ถ้าปล่อยไปให้จิตมันเป็นไปของมันจิตจะรวมลงเข้าอัปปนาสมาธิ**
**แต่ถ้าพยามยามประครองจดจำกระทำจิตต่ออารมณ์..หมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาที่จะจดจำสภาวะอาการนั้นๆ จิตจะหลุดจากสมาธิทันที**

๕.๓).จิตวูบรวมลงพักแช่ได้นานมากหน่อย  มีอาการวูบรวมลงจุดเดียวดับแช่แน่นิ่งเหมือนจะมีความรู้ทั่วอยู่ก็ไม่ใช่-ไม่รับรู้อะไรเลยก็ไม่ใช่ มันแช่นิ่งอยู่ มีสุขเกิดขึ้นให้รู้ แต่แช่นิ่งรับสุขอยู่ เกิดความรู้ชัด จิตแค่รู้..ไม่กระทำบังคับไรๆ.. แนบนิ่งไปกับอารมณ์ไม่หลุดออก ได้อัปปะนาสมาธิ
(บางครั้งจิตแช่นิ่งรวมลงพักแช่ไวมากแล้วลงไปลึกมากตามที่จิตรวมลงเข้าไปพักลึก เห็นผัสสะเจตสิกว่าเป็นแบบไหนยังไง เพราะอาศัยการกระทบกับจิตจึงรู้สัมผัสเวทนาได้ ..การกระทบสัมผัสจะเห็นเหมือนฟ้าแลบแปลบบ้างก็มี แล้วเกิดการดำเนินไปของสังขารทั้งหลายสืบต่อไปจากธรรมของจริงเป็นปัจจุบันแท้ สืบต่อไปจนเกิดรู็สมมติขึ้น จะทำให้รู้ได้ทันทีว่านอกจากปัจจุบันแห่งผัสสะแล้ว สืบต่อมาเป็นสมมติทั้งหมด จากความจำได้หมายรู้ต่ออารมณ์ ตรึกขึ้นสมมติ, เหมือนความเปลี่ยนใปของสภาวะธรรมก็มี, จิตรับรู้การสะเทือนกระเพื่อมจากการกระทบกันก็มี หรือ เกิดอาการที่ไม่รู้ว่าอะไรแต่รู้สึกว่ามันเป็นอาการที่ระคน ไม่มีความคิด ไม่มีสัญญารู้ต่ออาการ จนเมื่อจิตมันถอนขึ้นมาหน่อยจึงรู้ว่าเป็นอารมณ์ที่อึดอัดกระวนกระวายแต่ก็ยังไม่รู้ว่าอะไร หรือเพราะอะไร จนถอยขึ้นมาอีกจึงรู้ว่าตนเองลืมหายใจ เพราะจิตเข้าไปไวมาก ดังกรรมฐานที่เราบันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2558-2559)

๕.๔). จิตพ้นจากการรวมลงเพ่งแช่เป็นอารณ์เดียว จิตตื่นขึ้นจากการพักจิต มีสติกำลังบริสุทธิ์เป็นมหาสติ ซึ่งทำหน้าที่แยกจิตออกการความยึดร่วมเสพย์ต่อนิมิตหรือความรู้สึกไรๆ ณ เบื้องหน้าในขณะนั้นๆ..จิตมีกำลังมากวูบออกมารู้ตัวทั่วพร้อม จิตตื่นรู้อยู่โดยไม่หลุดจากสภาวะ ..แต่ไม่รับรู้อะไรภายนอกแล้วทั้งสิ้นนอกจากปัจจุบันที่อยู่ตรงหน้า และจิตสำเนียกกระทำมนสิการในอารมณ์ได้ แต่มันไม่ทำ มันทำตามหน้าที่เดิมของมัน คือ ทำแค่รู้เท่านั้น ปล่อยให้สังขารมันเป็นไปของมัน ใหห้มันแสดงให้เห็นเอง มีอาการเหมือนมีความตรึกแต่ไม่มีความคิด หรือ..จิตแยกจากกันกับวิตกตรึกนึก แต่ยังมีวิตกอยู่ เห็นความตรึกคิดบ้างเป็นเสียงคิดที่กระทำในอารมร์อยู่ในส่วนข้างหนึ่ง มีวิจารแนบไปในอารมณ์ต่อนิมิตอยู่ ซึ่งแยกขาดออกเป็นคนละส่วนกับตัวรู้ ทำให้เห็นความเป็นไปของสังขาร แยกจิตกับขันธ์ ๕ หรือสังขาร อุปาทานขันธ์ไม่มีอีก สังขารุเปกขา
(ถึงแม้สิ่งที่จิตมันทำวิตกวิจารณ์แนบแน่นอารมณ์อยู่นั้นมันไมีมีอะไรเลย มันว่างเปล่า ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ไม่มีตังตนบุคคล
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #293 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2017, 10:02:18 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฌาณเสื่อม วิธีหาคลองเก่า

ที่จำคลองเก่าไม่ได้เพราะ "จิตไม่มีกำลัง"..
ปรกติจิตมันสัดส่าย อ่อนไหว อ่อนแอ กระเอื่อม ซ่านเซนไปตามอารมร์ความรู้สึกที่รู้สัมผัส ที่จิตเห็น จิตรู้ เมื่อฌาณเราเสื่อม เราทำอย่างไรก็เข้าอีกไม่ได้ ยิ่งกระสันอยากได้คืน ยิ่งเข้าไม่ได้ ด้วยเหตุประการดังนี้คือ

1. อุปาทานมีมาก ด้วยความกระสันนั้น
2. ตัณหามีมาก ด้วยความใคร่เสพย์นั้น
3. กิเลสมีมาก ด้วยความตรึกนั้น
4. นิวรณ์มีมาก ด้วยความสำคัญมั่นหมายของใจ,หมายรู้อารมณ์ ด้วยสภาวะธรรมนั้นๆ

อธิบาย
 ..ปัจจัย 4 ประการ ข้างต้นทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้จิตอ่อนแอ กระเพื่อม อ่อนไหว ซ่านเซน เหนื่อยล้า ไม่มีกำลัง..ดังนี้แล้วเราจึงควรทำให้จิตมีกำลังก่อน
 ..ด้วยธรรมชาติของจิตที่มีกำลัง มีสติบริสุทธิ์ ไม่กกระเพื่อไหวเอนซ่านเซ็นต่อผัสสะ อารมร์ที่มากระทบ สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่อิงอามิสแล่นหาอารมณ์ไรๆมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน มันจึงทำหน้าที่เดิมแท้ที่สักแต่ว่ารู้ นิ่งดูอยู่เฉยๆได้ เมื่อมันนิ่งรู้ดูอยู่เฉยๆเท่านั้นมันจะจดจำสภาวะธรรมทุกขั้นตอนได้เองอย่างไม่ผิดเพี้ยน ทั้งผัสสะ, สภาวะอาการความรู้สึก, นิมิต, มนสิการ ได้ครบหมดทุกขั้นตอน
 ..ดังนั้นเวลาทำสมาธิเข้าฌาณเราจึงไม่ต้องไปพยายามเพ่ง พยายามจดจำ สภาวะ อาการ ไม่ต้องหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาถึงมนสิการ คือ การทำไว้ในใจต่ออารมณ์ของจิตด้วยสัญญาใดๆทั้งสิ้น ปล่อยให้มันเป็นไปของมันเอง

.. ถ้าจิตไม่มีกำลังมันจะจำไม่ได้ แต่ถ้าจิตมีกำลังมันจะจำได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องไปหมายรู้อารมณ์ ผัสสะ สภาวะธรรม หรือวิธีที่จิตทำมนสิการใดๆด้วยสัญญา


วิธีแก้ คือ ทำให้จิตมีกำลัง จิตมันจะทำของเก่าได้เองทุกกระบวนการ

1. สงบนิ่ง ทำจิตสบายๆให้ผ่อนคลาย ไม่หยิบจับเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น หรือ ทำเพียงรู้ลมหายใจเข้าออกโดยไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องกำหนด ตั้มมั่นในใจว่าเราจะทำให้จิตได้พัก ปิดสวิทซ์การทำงานของจิต เพื่อให้จิตมีกำลัง ไม่ต้องสนฌาณ ญาณอะไรทั้งสิ้น รู้แต่เพียงว่าถ้าจิตมีกำลังจิตมันจะทำคลองเก่าได้ทั้งหมดเอง มันจะมนสิการของมันเองแบบสายๆ โดยไม่ต้องไปบังคับเพ่งอะไรทั้งสิ้น เพราะจิตมันฉลาดมันรู้เองว่าสิ่งไหนดีต่อมัน การที่มันได้พักดีต่อมันยังไง การเข้าไปพักต้องมนสิการแบบไหนยังไง
2. สมมติความรู้สึกนึกคิดเหล่าใดผ่านมาให้รู้ก็ทำจิตแค่รู้ว่าสมมติเกิด รู้ว่าคิด แล้วก็ปล่อยไปทำแต่รู้ ทำจิตให้ไม่หวั่นไหวไหลไปตามความคิด สมมติกิเลสที่สร้างขึ้นมาหลอกจิต รู้ว่าธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันรู้แต่สมมติ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ทำเพียงแต่รู้ตามสถานะภาพจิตเดิมแท้เราเท่านั้นพอ
3. ทำไปเรื่อยๆด้วยผ่อนคลาย มันเผลอไหลไปตามคิดก็ช่างมันรู้ว่าคิดก็พอ ตามรู้ความคิดมันไปเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปบังคับหยุดไม่ให้คิดเพราะธรรมชาติของจิตมันคือคิด ปล่อยมันคิดจนสุดแต่เราทำแค่รู้ความคิดเท่านั้น
.. เมื่อมันคิดจนสุดมันจะเกิดสภาวะหฟนึ่งที่จิตรู้ตัวนิ่งแต่ไม่หลุดจากสภาวะที่น้อมไปในอารมณ์นั้นๆ ตรงนี้จึงค่อยทำช้าๆเบาๆให้จิตมันสิการรู้ลม หรือมองดูไปที่เบื้องหน้ามืดๆ นั้นด้วยทำใจไว้ไม่สัดส่ายเพื่อให้จิตได้พักเท่านั้น สำเนียกว่าการที่จิตได้พักมันจึงจะเข้าฌาณได้ ถ้าจิตไม่ได้พักจะไม่มีกำลังเข้าฌาณได้ ทำใจผ่อนคลายให้มันได้พักเท่านั้นพอ
4. เมื่อเกิดอาการวูบวาบๆ หรืออะไรก็ช่าง วูบแนบนิ่งดิ่งลงก็ตามสำเนียกว่าเรามีหน้าที่แค่รู้ ไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ ไม่ได้มีหน้าที่ปรุงแต่ง จิตเดิมแท้มันมีแต่เพียงรู้เท่านั้น ทำได้แค่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่อื่นใดนอกจากแค่รู้ ดังนี้แล้วเมื่อเกิดอาการอะไรให้ทำไว้ในใจเพียงแค่รู้ ไม่ต้องฉุกคิดไม่ต้องปรุง ไม่ต้องไปพยายามจำอะไรทั้งสิ้น จิตมีกำลังมันจะจำได้เอง สติมันจะบริสุทธิ์เอง ไม่ต้องครองอะไรมากไปจากการทำให้จิตแค่รู้ ถ้าจิตไม่มีกำลังพยายามแค่ไหนก็จำไม่ได้ ตรงนี้วัดกำลังของจิตเราเองได้ดีเลย ทำให้เราได้รู้ว่าจิตเรามันล้ามันเหนื่อยมันอ่อนแอแค่ไหน
5. เมื่อจิตวูบดับแช่ จนอิ่มมีกำลัง มันจะสุข เมื่อสุขประทุจนดับไป หากจิตมีกำลังพอมันจะเข้าฌาณ มีตริ ตรึก ความสำเนียก มนสิการได้ แต่ไม่มีเสียงคิด จิตมันทำไว้ในใจอย่างไปมันเพิกไปทันที หากเข้าฌาณไม่ได้ถอบกลับมามีความรู้ความคิดความตรึก แม้จะแยกขาดจากนิมิตหรือสิ่งที่คิด นั่นมันแค่อุปจาระฌาณเท่านั้น ยังเข้าปฐมฌาณไม่ได้ เหตุนั้นเพราะจิตมีกำลังไม่พอเข้าอัปปะนาสมาธิ แล้วทะลุอัปปะนาสมาธิเข้าฌาณนั่นเอง เราก็แค่ทำจิตให้ได้พักบ่อยๆไม่ต้องไปให้ความสำคัญอะไรมากเกินกว่าการพักจิตแค่นั้นก็พอ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #294 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2017, 11:48:27 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีคิดให้ส่งจิตเข้าใจ ทำสัญญา 10 และ ผล ในแบบปุถุชนที่ย่างเข้ามรรค
(ข้อมูลยังไม่เรียบเรียง ทำได้เป็นครั้งคราว ยังทรงอารมณ์ไม่ได้นาน)
(รอทำให้เข้าได้ประจำบ่อยๆจนแน่ใจจึงจะเรียบเรียงทางปฏิบัติได้ตามจริงอีกครั้ง)

1. น้อมใจเข้ามาภายใน กำหนดนิมิตดวงจิตในท่ามกลางสังขาร จับความนิ่งว่าง ความสงบ ความไม่มี ไม่ข้องเสพย์ ไม่เอา สละคืน รวมลงไว้ในภายในจิต

2. น้อมใจเข้ามาภายในอยู่ใจกลาง เหมือนเรานี้อยุ่ท่ามกลางกองรูปขันธ์ แล้วดูความแปรปรวนเป็นไปของกองรูปขันธ์ หรือ อาการทั้ง ๓๒ ประการ
- อุปมาเหมือนหอคอยสังเกตุการณ์ตรงใจกลางเมือง สามารถตรวจสอบรอบรู้ได้ทั้งความเคลื่อนไหวในภายในรั้วเมือง หรือรอบๆรั้วนั้นได้ โดยไม่ต้องออกไปดูในภายนอกเมื่อ เพียงแค่ปักหลักแลดูอยู่ใจกลางเมื่อแล้วแค่รู้ดูความเคลื่อนไว้แปรปรวนทั้งหลายรอบๆหอคอยสังเกตุการณ์นี้เท่านั้น เปรียบหอคอยเหมือนหลักที่เราตั้งจิตไว้ในใจกลาง, เปรียบบ้านเรื่องกำแพงสิ่งปลูกสร้างภายในเมื่องนี้เป็นกองรูปขันธ์ เปรียบเหมือนความเคลื่อนไว้ในเมืองนี้เป็นความแปรปรวนเป็นไปของกองรูปขันธ์ ในอาการทั้ง ๓๒ ประการ

3. จิตน้อมเข้าอนิจสัญญา เห็นความไท่เที่ยง แปรปรวน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับของผูู้ใด แม้แต่ตัวรู้นี้ก็ตาม รู้สิ่งใดก็ได้ไม่นาน จะบังคับให้รู้ตามปารถนาไม่ได้ ให้คงความรู้นั้นไว้ ไม่จับความรู้นี้ก็ไม่ได้ของขันธ์

4. ม้างกาย เราไม่มีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่มีในเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เราตัวตน ไม่มีตัวตนสิ่งใดที่เป็นเราใน อาการทั้ง ๓๒ ประการ อาศัยเข้าอัปปนาสมาธิแล้วถอยมาอธิษฐานในอุปจาระ บังคับนิมิตได้ มีจิตรู้ตัวแยกนิมิตได้ ไม่หลงไปในนิมิต มีความรู้ว่ากำหนดขึ้นมาพิจารณา อย่างนี้ถือว่ากำลังจิตจึงจะใช้ได้ หากบังคับนิมิตไม่ได้ นิมิตเลือนหายไป หลงอุปาทานนิมิตที่ตนสร้างขึ้น อย่างนี้จิตไม่มีกำลังควรแก่งานให้เลิกทำำถอยจิตออกมาที่ความสงบ รู้ลมแล้วปล่อยให้แช่นิ่งรวมวูบลงจนจิตหลุดขึ้นมาเองค่อยอธิษฐานจิตกำหนดนิมิตใหม่

5. ชีวิตปรกติ มองดูที่สวยที่ง่าม ที่ใคร่ อาศัยปัญญาจากการม้างกาย พิจารณาดูว่า ที่รเาเห็นเขาว่าสวยงามนี้ สิ่งใดที่เป็นเขา เขาหรือที่เป็นสิ่งนั้น หนังหรือ ผมหรือ ขนหรือ เล็บหรือ เสียงหรือ กลิ่นหรือ สัมผัสกายหรือ สีัมผัสใจหรือที่เป็นเขา ก็หาไม่ได้ เมื่อม้างออกหมดก็จักมีเพียงแค่จิตที่จรท่องเที่ยวไป ที่จรมาอาศัยกายที่ำพ่อแม่เขาให้มานี้เท่านั้นที่คงเรียกความรับรู้ว่าเป็นเขาได้ แต่ถึงแม้กระนั้นสิ่งนั้นก็แปรปรวนเป็นไปตามกรรม ไม่เป็นไปในบังคับของผู้ใด มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย ส่งผลให้เขามีความเป็นไปได้รับผลต่างๆเป้นไปตามแต่กรรมลิขิตกำหนดให้พบเจอเป็นไป

6. จิตน้อมเข้าอนัตตสัญญา

ทั้ง 6 ข้อ เป็น สัญญา 10 อนิจสัญญา อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, อสุภสัญญา

7. น้อมใจเข้าดูพิจารณาความเสื่อม เน่าเฟะ ประชุมไปด้วยโรค และ ขี้ กองกาย เห็นสัญญา 10 อาทีนวสัญญา

8. ทำปหานสัญญา, วิราคสัญญา, นิโรธสัญญา, สัพพโลเกอนภิรตสัญญา(ไม่เพลินหลงยึดจับอุปาทานสิ่งใด อุปาทานลดลง ดับลง), สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา(ความระอาในขันธ์ กำหนดรู้ทุกข์เห็นโทษภัยจากมัน แต่ในขณะก็พิจารณาดูคุณของมันเพื่อนำเอามาใช้ประโยชน์ เช่นเอาไว้ใช้สะสมเหตุเท่านั้น หรือ เรื่องใจก็เ)็นการใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา) เข้าไปเห็นจริง จิตเห็นความเสื่อม ไม่ใช่ตัวตน จิตตัดความยึด เป็นอาการที่จิตเหมือนกระชากสำรอกออกตัดอารมณ์ความรู้สึกต่อกายทั้งปวงออก(เทียบเคียงอาการเป็นคำพูดได้แบบนี้เท่านั้น เพราะในขณะที่สำรอกจิตมันดับตัดปิดสวิทซ์การรับรู้ในอาการความรู้สึกนั้นๆทันที หากเราไม่หลงไปเองโดนจิตหลอกก็มีอาการด้วยประการเทียบเคียงแบบนี้ เพราะยังปุถุชนอยู่จึงต้องทำให้แจ้งอีกมากนัก ไม่ควรหลงอาการที่มีอยู่นัลล้านๆแบบของจิต แค่รู้ ปรกติ วาง) ทาน ศีล ภาวนา หรือ สีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นเองลงที่ใจเป็นมโนกรรม คือ กำกับที่เจตนาไว้ทันที เห็นเจตนาเด่นชัดต่ออารมณ์ทั้งปวง เรียกจิตแล่นลงมรรค และไม่กลับกลายเปลี่ยนไปผิดมรรค ทาน ศีล ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนดั่งจิตปุถุชนที่กลับกรอกคงอยู่ไม่นานไม่ตลอดไปอย่างเด็ดขาด

9. จิตเข้า อานาปานสติ รู้ลมหายใจเอง จิตจับีท่ลมหายใจเองอยู่ตลอดเวลา
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #295 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2017, 07:26:15 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ส่งจิตเข้าใน แก้ฟุ้งซ่านคิดมาก

1. พุทธานุสสติ พุทโธ (รู้ปัจจุบัน)
2. อานาปานสติ(ทำปัจจุบัน)
3. เดินจงกรม
4. สัมปะชัญญะ
5. ทวัตติงสาการ กายคตาสติ อาการ 32 ประการ (ม้างกาย)
6. ธาตุ ๖ (อาศัยม้างกายลงธาตุ จิตตั้งอยู่กลางกองรูป ถอดออกหมดทำแค่รู้สัมผัส)
7. จิตจับที่จิต(ทำแค่รู้)
8. เมตตา (แผ่ให้ตนเอง น้อมเข้ามาภายในตนให้ไม่เเร่าร้อนสัดส่าย ไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ภัย พยาบาท อันตรายเบียดเบียน)
9. กสิน (ทำปัจจุบันที่เห็น หลับตารู้นิมิตตอนหลับตา ดูที่ความมืดในปัจจุบัน โดยไม่ตรึกนึก เข้าถึงได้ก็เกิดกสินสี แสง อากาศ แต่ถ้ากสินจริงๆเป็นการหน่วงนึกถึงภาพ คุณลักษณะภาพที่นึกถึง จนภาพนิ่งปรากฏในเบื้องหน้า บังคับได้ตามกำลังจิต)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 29, 2017, 07:42:15 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #296 เมื่อ: มกราคม 01, 2018, 02:47:25 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค  http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=951&Z=1087&pagebreak=0

             [๘๖] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณอย่างไร ฯ
             ศีล ๕ ประเภท คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ๑
อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ๑ ปริปุณณปาริสุทธิศีล
ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ ๑ อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์อัน
ทิฐิไม่จับต้อง ๑ ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ ๑
             ในศีล ๕ ประเภทนี้ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริยันตปาริสุทธินี้
ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด ฯ
             อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอุปสัมบัน
ผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด ฯ
             ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของกัลยาณ
ปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระ
อเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้สละชีวิตแล้ว ฯ
             อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ
๗ จำพวก ฯ
             ปฏิปัสสัทธิปริสุทธิศีลเป็นไฉน ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ของพระ-
*ขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ
             [๘๗] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้นศีลมีที่สุดนั้น
เป็นไฉน ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติ
ก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ
             ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท
ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์
แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล ฯ
             ศีลมีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุ
แห่งยศ ... ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล ฯ
             ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ
เหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล ฯ
             ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ
เหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล ฯ
             ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วง
สิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะ
การณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลขาด เป็นศีล
ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิจับต้อง
แล้ว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
ปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็น
ปริยันตศีล ฯ
             [๘๘] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มี
ที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี
ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ
             ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิด
ก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภ
เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า
ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ ฯ
             ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ
เหตุแห่งยศ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ ฯ
             ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะ
เหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ ฯ
             ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ...
เพราะเหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ ฯ
             ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความ
คิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต
เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า
ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่จับต้อง เป็นไป
เพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็น
ที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่ง
สมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล ฯ
             [๘๙] อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็น
ที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ฯ
             อะไรเป็นศีล คือ เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็น
ศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล ฯ
             ศีลมีเท่าไร คือ ศีล ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล ฯ
             ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล
มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ
             ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร คือ ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร เป็น
ที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนา อันเกิดในความเป็น
อย่างนั้น ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา
พยาบาท มิจฉาทิฐิ ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะ
ด้วยเนกขัมมะ ... ความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ... ถีนมิทธิด้วยอาโลก
สัญญา ... อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ... วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม ...
อวิชชาด้วยญาณ ... อรติด้วยความปราโมทย์ ... นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตก
วิจารด้วยทุติยฌาน ... ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูป
สัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ...
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสัญญา
ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา
สัญญายตนสมาบัติ ... นิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา ... สุขสัญญาด้วย
ทุกขานุปัสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา ... นันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา ...
ราคะด้วยวิราคานุปัสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา ... อาทานะด้วยปฏินิส
สัคคานุปัสนา ... ฆนสัญญาด้วยวยานุปัสนา ... ธุวสัญญาด้วย วิปริณามานุปัสนา
นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา ... ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา ... อภินิเวสด้วย
สุญญตานุปัสนา ... สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ... สัมโมหา-
*ภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา ... อัปปฏิ-
*สังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา ... สังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา ... กิเลสที่
ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค
กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง
กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
             [๙๐] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล เวรมณี การงดเว้นเป็นศีล
เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล การไม่ล่วงเป็นศีล ศีลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เพื่อความปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ
เพื่อโสมนัส เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อ
เป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นบริขาร เพื่อเป็นบริวาร เพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ฯ
             บรรดาศีลเห็นปานนี้ สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม
เป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต พระโยคาวจร
ย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา
             ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม เป็นอธิ
ศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้ง เป็นอธิปัญญา
สิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็น
เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร
ไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควร
เจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง ฯ
             [๙๑] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การ
ละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละ
วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความ
ปราโมทย์ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละ
ปีติด้วยตติยฌาน การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละ
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตน-
*สัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญา
นาสัญญายตนสมาบัติ การละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุข
สัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิ
ด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วย
นิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา การละฆนสัญญาด้วย
ขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละ
อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา
การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีน-
*วานุปัสนา การละอัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วย
วิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละ
กิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค
การละกิเลสทั้งปวงด้วยอหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล ...
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้
เป็นสีลมยญาณ ฯ
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #297 เมื่อ: มกราคม 01, 2018, 02:48:13 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0

             [๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ
อย่างไร สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑
โลกุตรสมาธิ ๑ สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่
วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑ สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑
สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑
สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑ สมาธิ ๖ คือ
สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑
สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ สมาธิ ๗ คือ
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้
ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้
ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความ
เป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑ สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต
มิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑
นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ สมาธิ ๙ คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว
๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑
อัปปณิหิตสมาธิ ๑ สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถอัทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททก
สัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑
โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑  สมาธิเหล่านี้รวมเป็น
๕๐ ฯ
             [๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ
คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑ เพราะอรรถว่า
อินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑ เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์
๑ เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เพราะ
อรรถว่าไม่แส่ไป ๑ เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑
เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑ เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่น
ในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑ เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑ เพราะ
อรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะแสวงหาความ
สงบแล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะ
อรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความ
สงบ ๑ เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึก
แก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่
สงบ ๑ เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว ๑ เพราะ
อรรถว่าเพ่งความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑ เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑ สภาพใน
ความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็น
สมาธิภาวนามยญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๘๘-๑๑๒๙ หน้าที่ ๔๕-๔๖.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=16
             ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :-
[92-93] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=92&items=2
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :-
[92-93] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=92&items=2
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #298 เมื่อ: มกราคม 01, 2018, 02:50:27 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
แสดงสมาธิภาวนามยญาณ

             [๔๓] ปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
             สมาธิ ๑ อย่าง ได้แก่
                          เอกัคคตาจิต
             สมาธิ ๒ อย่าง ได้แก่
                          ๑. โลกิยสมาธิ
                          ๒. โลกุตตรสมาธิ
             สมาธิ ๓ อย่าง ได้แก่
                          ๑. สมาธิที่มีวิตกวิจาร
                          ๒. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
                          ๓. สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
             สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่
                          ๑. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
                          ๒. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
                          ๓. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
                          ๔. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
             สมาธิ ๕ อย่าง ได้แก่
                          ๑. สมาธิที่มีปีติแผ่ไป
                          ๒. สมาธิที่มีสุขแผ่ไป
                          ๓. สมาธิที่มีจิตแผ่ไป
                          ๔. สมาธิที่มีแสงสว่างแผ่ไป
                          ๕. สมาธิที่มีการพิจารณาเป็นนิมิต
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

             สมาธิ ๖ อย่าง ได้แก่
             ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจแห่งพุทธานุสสติ
             ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ
             ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ
             ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสีลานุสสติ
             ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ
             ๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเทวตานุสสติ
             สมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
                          ๑. ความฉลาดในสมาธิ
                          ๒. ความฉลาดในการเข้าสมาธิ
                          ๓. ความฉลาดในการดำรงสมาธิ
                          ๔. ความฉลาดในการออกจากสมาธิ
                          ๕. ความฉลาดในการใช้สมาธิ
                          ๖ ความฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
                          ๗. ความฉลาดในการนำสมาธิให้สูงๆ ขึ้นไป
             สมาธิ ๘ อย่าง ได้แก่
             ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
             ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ
             ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ
             ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวาโยกสิณ
             ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

             ๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ
             ๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ
             ๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ
             สมาธิ ๙ อย่าง ได้แก่
                          ๑. รูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
                          ๒. รูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
                          ๓. รูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
                          ๔. อรูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
                          ๕. อรูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
                          ๖. อรูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
                          ๗. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
                          ๘. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต)
                          ๙. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
             สมาธิ ๑๐ อย่าง ได้แก่
             ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่พองขึ้น)
             ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียว)
             ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิปุพพกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม)
             ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน)
             ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขายิตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสัตว์กัด)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

             ๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่กระจัดกระจาย)
             ๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งหตวิกขิตตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อน)
             ๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีโลหิต)
             ๙. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปุฬุวกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอน)
             ๑๐. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีแต่กระดูก)
             สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ อย่าง
             [๔๔] อีกอย่างหนึ่ง สมาธิมีความหมาย ๒๕ อย่าง คือ
             ๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา
             ๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน
             ๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์
             ๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ามีอารมณ์เดียว
             ๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
             ๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ซ่านไป
             ๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ขุ่นมัว
             ๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่หวั่นไหว
             ๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลส
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจปรากฏชัดในเอกัคคตารมณ์
             ๑๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบ
             ๑๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

             ๑๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบแล้ว
             ๑๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
             ๑๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบ
             ๑๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
             ๑๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบแล้ว
             ๑๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
             ๑๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบ
             ๑๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบ
             ๒๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบแล้ว
             ๒๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบแล้ว
             ๒๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบ
             ๒๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ
             ๒๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบแล้ว
             ๒๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ความ
สงบแล้ว
             สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบเกื้อกูลและเป็นสุข เหล่านี้เป็นความหมายแห่ง
สมาธิ ๒๕ ประการ
             ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทสที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๙}


ขอขอบคุณที่มาจาก http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=16


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #299 เมื่อ: มกราคม 01, 2018, 03:45:44 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ 31/12/60 อานิสงส์จิตว่าง

วันนี้เวลาประมาณ 20.00 น. เราได้ไปทำบุญที่วัด เข้าไปในโบสถ์ กราบพระประธาน นั่งสมาธิ จิตน้องไปในศีล่วา บัดนี้ปัจจุบันนี้ที่เข้ามาอยู่ในโบสถ์นี้ เราไม่ได้ทำบาปกรรมอะไรต่อใคร สิ่งใด เรามีความสะอาดแล้วในศีล ครบพร้อมแล้วที่จะเจริญกรรมฐาน พลัยทให้จิตใจเราแจ่มใสเบิกบาน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดคิด มันว่างเบาสบาย แล้วรำลึกถึงคำสอนของพระศาสดาในเจโตวิมุติ ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ประกอบไปด้วยศีล ไม่ว่าจะไปในทิศใด มีใจปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง แผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปด้วยประการนี้ๆในทิศต่างๆนั้น ..เราได้ยกมือพนมขึ้นไหว้ต่อหน้าพระประธานได้น้อมใจระลึกทำตามว่า..ศิษย์พระตถาคตต้องทำแบบนี้ เราผู้ถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จักประพฤติตาม คือ แผ่พรหมวิหาร ๔ ไปด้วยกำหนดในใจดังนี้..

1. สุภะนิมิต ปิติ สุข ความเสมอกัน เสมอด้วยตน แผ่ไป (ต่อมาเราตั้งแผ่ไปที่ผุ้ยึดครองขันธ์ ๕ อยู่ ไปทุกรูปทุกนาม ไปทุกดวงจิต) ..ด้วยอานิสงส์ที่จิตว่างสงบใจเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว เมื่อทำไว้ในใจน้อมไปแบบนี้จิตมันน้อมไปในอารมณ์นั้นได้ในทันที

2. สุขอันว่างจากทุกข์ ความว่างจากทุกข์ ความไม่มีทุกข์แผ่ไป ..ด้วยอานิสงส์ที่จิตว่างสงบใจเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว เมื่อทำไว้ในใจน้อมไปแบบนี้จิตมันน้อมไปในอารมณ์นั้นได้ในทันที

3. สุขตั้งอยู่ที่จิต สุขด้วยคงไว้ในภายในไม่ส่งออกนอกไม่ขาดสูญ เอาจิตจับที่จิต จนมีกำลังแผ่ความบริบูรณ์จับอยู่ที่จิตแผ่ขยายไป ..ด้วยอานิสงส์ที่จิตว่างสงบใจเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว เมื่อทำไว้ในใจน้อมไปแบบนี้จิตมันน้อมไปในอารมณ์นั้นได้ในทันที

4. กรรม-วิบากกรรม, ตลอดไปจนถึงความคลาย ไม่ยึดจับ ไม่ข้องแวะ ความไม่มี ความสละคืนทุกสิ่งทั้งปวง เป็นที่พ้นจากทุกข์ แผ่ไป ..ด้วยอานิสงส์ที่จิตว่างสงบใจเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว เมื่อทำไว้ในใจน้อมไปแบบนี้จิตมันน้อมไปในอารมณ์นั้นได้ในทันที

5. แสงสว่างแผ่ไป ..ด้วยอานิสงส์ที่จิตว่างสงบใจเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว เมื่อทำไว้ในใจน้อมไปแบบนี้จิตมันน้อมไปในอารมณ์นั้นได้ในทันที


ด้วยประการดังนี้ทำให้เห็นชัดว่า..

1.. ทำจิตให้สงบด้วยนึกถึงเพียงปัจจุบัน ทาน ศีล ที่พร้อมมูลครบบริบูรณ์ในปัจจุบัน ทำให้ความเร่าร้อนร้อนคิดมากฟุ้งซ่านไม่มี ..ยังความสงบผ่องใสเบิกบานปราศจากกิเลสนิวรณ์ให้เกิดมีขึ้นแก่จิตได้ไว ..ทำให้เข้าสมาธิง่าย
(คงเหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระองคุลีมาลเถระให้ระลึกรู้อยู่ในปัจจุบันที่ได้ละเว้นการทำชั่วเบียดเบียนแล้ว และ ทั้งสัจจะที่ให้พระองคุลีมาลไปกล่าวแก่หญิงที่กำลังคลอดบุตร ตามองคุลีมาลปริตร ว่าด้วย..สัจจะในปัจจุบัน คือ นับแต่เราเกิดมาในพระพุทธศาสนานี้ เราไม่เคยเบียดเบียนทำร้ายใคร ดังนั้นการที่เราทำแบบนี้ถือเป็นอธิษฐานในสัจจะไปในตัวด้วย จนเมื่อจิตแล่นลงมรรคเราจึงขจัดสิ้นใจที่กลับกลอกแบบปุถุชนได้ 100 %)

2. หากจิตสงบว่างจากกิเลส ไม่มีความฟุ้งคิด ไม่ฟุ้งซ่าน จิตสงบ ว่าง เบาสบาย ผ่องใส เบิกบานนี้ทำให้ใจเรามนสิการในอารมณ์ได้ไวเหมือนในฌาณ ๒ ที่เมื่อทำไว้ในใจอย่างไรๆจิตมันพุ่งไปในอารมณ์นั้นทันทีโดยไม่มีความคิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:08:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 31, 2024, 01:30:12 AM