เมษายน 20, 2024, 04:29:15 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407846 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #300 เมื่อ: มกราคม 02, 2018, 03:14:31 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 1-1-61 เวลา 23:30 น. ถึง วันที่ 2-1-61 เวลา 2:45 น.
สรุปหัวใจหลักวิธีทำไว้ในใจในการเจริญปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา

หัวใจหลักใน ทาน ศีล ภาวนา ที่ทำที่ใจ ทำเจตนา ละเขจตนา
ให้ลงใจตามพระอริยะสาวก และ พระอรหันสาวก
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาโลก เจริญปฏิบัติกัน

ก. ทาน ..ทำที่ใจ
ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อขจัดความโลภ ความตระหนี่ อภิชฌากลุ้มรุมในกายใจตน
ผลอานิสงส์ ..ถึงความอิ่มใจไม่คิดใคร่ ไม่กระสันอยาก ไม่แสวงหาอีก อิ่มใจไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในในโลก
(น้อมใจไปถึงความอิ่มเอมเป็นสุขใจนั้น)
- เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงใน..กรรม โลกธรรม ๘ ศรัทธา ๔ เข้าถึงความความสุขจากการให้ มีใจน้อมไปในความสละ เจตนาออกจากอภิชฌา
- สะสมเหตุละกิเลส คือ โลภะ ความตระหนี่ ความโลภ อยากได้ หวงแหนสิ่งที่ปรนเปรอบำเรอตน
- เห็นแจ้งชัดใน โลกธรรม ๘ ความไม่เที่ยง โลภะ กาม นันทิ ราคะมันหลอกให้เราเอาใจเข้ายึดครองทุกสิ่งในโลก แสวงหา ต้องการ กระสันอยาก จนมีเท่าไหร่ เสพย์มากแค่ไหนก็อิ่มไม่เป็น ..เมื่อจิตสูงเหนือโลภไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลก จิตก็รู้จักพอแผ่ขยายไปด้วยน้อมไปในการสละจิตจึงอิ่มเป็น ทุกสิ่งทุกอย่าง คน สัตว์ สิ่งของที่รักที่หวงแหนอยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ติดตามไปทุกภพชาติ ให้ผล เป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย เราเป็นทายาทกรรม
- มีใจน้อมไปใน ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอยากให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์สุขจากสิ่งที่ตนสละให้ มีใจอยากให้ผู้อื่นได้รับหรือมีโอกาสดีๆได้รับสิ่งดีๆเป็นประโยชน์สุขเหมือนเขาบ้างเสมอด้วยตน
- มีใจสละขาดจากความเ)้นเจ้าของ ไม่เอาใจเข้ายึดครองไว้กับสิ่งที่ตนให้
- มีอานิสงส์ คือ ความอิ่มใจ อิ่มเต็มอัดแน่นในใจตัดขาดจากความติดใคร่ได้กระสันต้องการ

ข. ศีล ..ทำที่ใจ
ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อขจัดโทสะ ริษยา อภิชฌา โทมนัส ความเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ขัดข้อง ข้องแวะ อัดอั้น คับแค้น โศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพันกลุ้มรุมในกายในใจตน
ผลอานิสงส์ ..ถึงความเย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ มีจิตแจ่ม ใสเบิกบาน สงบสุขเป็นที่สบายดบาใจแผ่ซ่านไป ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก
(น้อมใจไปถึงความเย็นเบาใจ สงบสุขเป็นที่สบายกายใจนั้น)
- เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงใน..กรรม โลกธรรม๘ มีหิริพละ มีโอตัปปะพละ ศรัทธา ๔ ความเห็นเสมอด้วยตน เข้าถึงโทษและทุกข์ในการไม่มีศีล เจตนาออกจากอภิชฌา-โทมนัส
- สะสมเหตุละกิเลศ คือ โทสะ และความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
- เห็นแจ้งชัดใน ความเร่าร้อนร้อนรุ่มกลุ้มรุมกายใจจากการไม่มีศีล กรรม วิบากกรรม รู้แยกแยะดี ชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย เราเป็นทายาทกรรมทุกภพทุกชาติไป
- มีใจน้อมไปใน ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นเสมอด้วยตน ด้วยอาการของจิตที่มีความแจ่มใสเบิกบานปราศจากทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายแผ่ขยายไปนั้น
- มีอานิสงส์ คือ ความเย็นใจ อวิปติสสาร ปราโมทย์ เบิกบานใจ

ค. ภาวนา ..ทำที่ใจ
ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อให้จิตได้พักเท่านั้น ข้อนี้เป็นหัวใจหลักในการภาวนา.. จิตจะได้มีกำลังขจัดโมหะ ความโง่ ลุ่มหลง ติดใจข้องแวะโลก ความหลงไม่รู้เอาใจเข้ายึดครองโลกที่กลุ่มรุมกายใจตน
ผลอานิสงส์ ..ถึงความที่จิตผ่องใส สว่างไสว รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา
(ทำไว้ในใจถึงการภาวนาว่า..เพื่อต้องการให้จิตได้พัก น้อมใจรวมจิตไว้ในภายในที่เดียว เอาจิตจับที่จิต ทำความสงบ นิ่ง ว่าง ไม่คิด ไม่จับเอาสิ่งใด)
- เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ เห็นทุกข์ ตัวทุกข์ เหตุแห้่งทุกข์ ตื่นจากสมมติ ละเหตุแห่งทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ วัฏฏะ ไม่สิ้นสุด เกิดนิพพิทาญาณ เจตยาทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ถึงความเบิกบาน
- สะสมเหตุละกิเลส คือ โมหะ ความโง่ลุ่มหลงไม่รู้ตัว ไม่รู้จริง เพื่อให้จิตฉลาดในธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง ฉลาดในการเลือกเฟ้นธรรม จิตสามารถเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ได้ เสริมปัญญาความฉลาดให้จิต
- มนสิการไปให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวไม่สัดส่าย สงบ นิ่ง ว่าง วูบรวมลงแช่ไว้ในภายในให้จิตได้พัก "ความสงบ นิ่ง ว่าง แช่มีอารมณ์เดียวนี้เป็นอาหารของจิต" เป็นการเสริมเติมกำลังให้จิต ให้จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ไหลพล่านยึดจับเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ไรๆมาตั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตทำสักแต่ว่ารู้ได้
- มูลกรรมฐาน ทำไว้ในใจภึงพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา โดยระลึกบริกรรมในพุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกก็ได้ (พระอรหันตสาวกทุกรูปท่านสอนไว้ว่า..คนที่ระลึกบริกรรมพุทโธไม่ได้..ก็แสดงว่าไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า คนที่ระลึกธัมโมไม่ได้..ก็แสดงว่าไม่มีศรัทธาในพระธรรม คนที่ระลึกสังโฆไม่ได้..ก็ไม่มีศรัทธาในพระสงฆ์) ระลึกถึงความรู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ จิตตั้งอยู่เฉพาะหน้า รู้ปัจจุบัน ตื่นจากสมมติไม่ติดหลงสมมติความคิด สมมติสัจ สมมติบัญญัติ ตื่น หลุดพ้นแล้ว ถึงความว่าง,ความสงบ,ความไม่มี,ความสละคืน มีจิตเบาสบายเบิกบบานใจเป็นสุขหาประมาณมิได้ ไม่มีสิ่งใดในโลกให้ข้องแวะข้องเกี่ยวได้อีก
- มีอานิสงส์ คือ ทำให้เรามีจิตผ่องใส มีใจเบิกบาน เป็นสุข มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ละเจตนาในอกุศล ไม่มีความคิดชั่ว ไม่มีความคิดอกุศล มีเจตนาละเว้นจากความเบียดเบียน จิตฉลาดในการเลือกเฟ้นเสพย์ธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง ไม่เอาใจเข้ายึดครองสังขารทั้งปวง อิ่ม พอ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งของสมาธิจะเกิดปัญญามากมายที่เราไม่เคยรู้เห็นจะพรั่งพรูขึ้นมาให้วิเคราะห์พิจารณาเลือกเฟ้นใช้งานในการดำรงชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมโดยชอบ เมื่อพ้นจุดนี้ไปอีกจึงจะเกิดปัญญาธรรมอันจิตแจ้งชัดของจริงต่างหากจากสมมติ ถึงนิพพิทาถอนใจไม่ยึดครอง เกิดวิราคะตัดสิ้นกิเลสของปลอม ถึงความสละคืน ไม่มีสิ่งใดๆในโลกหน่วงยึดเกียวใจไว้ได้อีก




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:10:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #301 เมื่อ: มกราคม 03, 2018, 06:07:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 1-1-61 เวลา 23:30 น. ถึง วันที่ 2-1-61 เวลา 2:45 น.
สรุปหัวใจหลักวิธีทำไว้ในใจในการเจริญปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา

ก. ทาน ละโลภได้ทาน ละตระหนี่ปรนเปรอตน เผื่อแผ่แบ่งปันสละให้ด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่กัน เราก็ได้ทาน

จิตเป็นทานก็เกิดความอิ่มใจ ใจมีกำลังอยู่เหนือโลภ
- เข้าถึงจาคานุสสติความสละที่พร้อมมูลเกื้อกูลประโยชน์สุขทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลาย เกิดความปิติ อิ่มใจเป็นสุข อิ่มเต็มอัดแน่นในใจไม่ต้องการสิ่งใดอีก
- สุขตั้งอยู่ที่จิต จิตสุขเพราะสละ ถอนจากโลภ เพราะไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลกแม้ขันธ์ ๕ ที่ตนอาศัยอยู่จึงเป็นสุข จิตรู้ด้วยตัวเองว่า..สุขเพราะสละไม่ยึดครอง
- จิตมนสิการมีใจน้อมไปในอารมณ์ถอนขึ้นปิดสวิทซ์ตัดจากความมีใจเข้ายึดครอง คลายอุปาทานขันธ์ ๕ อิ่มในขันธ์ ๕ ไม่ยึด ไม่เอา ไม่ยังขันธ์ ๕ อยู่อีกด้วยประการดังนี้

ข. ศีล ละโกรธได้ศีล ทำที่เดียว คือ เจตนา ทำความละเว้นความเบียดเบียนทำร้ายต่อตนเองและผู้อื่น..ด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุข เย็นกาย สบายใจ ไม่เร่าร้อนต่อเผู้อื่นเสมอด้วยตนเอง คือ
1. ผู้อื่น เจตนาละเว้นจากความข้องแวะ ติดพัน อยากได้ หมายเอา คน สัตว์ สิ่งของ ขีวิต ของผู้อื่นมาครอบครองเป็นของตน ปรนเปรอตน
2. ตนเอง เจตนาละเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตนระลึกไม่ได้ ฉุกคิดยับยั้งแยกแยะ ดี ชั่วไม่ได้  เจตนาละเว้นจากสิ่งที่ทำให้เราไม่รู้ตัว

ศีล ลงใจ เจตนาเป็นศีล เราก็เย็นใจเป็นที่สบายกายใจมีปรกติจิตที่ไม่เร่าร้อน อยู่ที่ได้ก็เบาใจ ไม่หวาดกลัว ระแวง เร่าร้อน หมกมุ่น ฟุ้งซ่าน ร้อนรุ่มกายใจ ใจก็มีกำลังอยู่เหนือโกรธ
- จิตไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก จิตที่ไม่ยึด ละเว้นเจตนาเบียดเบียนขาดสิ้นความเร่าร้อน จิตว่างไม่ลังเลสงสัย เห็นธรรมที่เสมอด้วยตนทั่วกัน จิตวิญญาณที่ครองขันธ์อยู่ล้วนเสมอกัน จิตที่อารมณ์ที่เสมอกัน รู้ด้วยความสงบ ไม่กระเพื่อมกวัดแกว่ง นิ่ง ความปิติ สุข เกิดขึ้นในภายใน ตัดความคิดรู้ปัจจุบันเฉพาะหน้าจิตเบาผ่องใส มีอาการที่แผ่ขยายไป
- มีใจน้อมไปในความเสมอด้วยกัน จิตแผ่เอาความผ่องใสเบิกบาน เย็นใจ ปราศจากกิเลสเครื่องเร่าร้อน
- จิตตั้งมั่นแนบอยู่ในความเย็นใจ แจ่มใส เบิกบานนั้นด้วยมีอาการที่แผ่ขยายไปทั่ว ไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
- จิตตั้งอยู่ที่ความว่างจากทุกข์ ว่างเบากายสบายใจไม่มีเครื่องเร่าร้อน แผ่ขยายความว่างอันปราศจากทุกข์ แผ่เอาความว่างอันผ่องใสไม่มีทุกข์นี้ไปไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
- จิตตั้งอยู่ที่จิตความสว่างไสว รื่นรมย์ สำราญ เบิกบานไม่มีสิ้นสุด จิตจับที่จิต จิตรวมลงอยู่ที่ดวงจิตที่แนบไปด้วย อัดแผ่ขยายออกไปไม่มีประมาณด้วยความสำราญ เบิกบานในสุขอันสว่างไสวนั้นไป ไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
- จิตตั้งอยู่ด้วยความไม่ยึดครองสิ่งใด ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไม่ ไม่ยึดจับอะไรเลย ทุกอย่างมันเป็นไปของมันด้วยกรรมตามสัจจะของมันเอง ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน
- ความมนสิการน้อมใจเข้าไปในภายในความน้อมเข้าดูจิตเดิมแท้ ขัดเกลา ล้างขันธ์


ค. ภาวนาอบรมจิต ละโง่ได้ภาวนา
- ทางโลก ศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ ก็เข้าถึงความรู้ในหลายทาง คิดตอบโจทย์แก้ไม่ทันก็จำไว้สะสมเหตุเป็นปัญญาถึงแนวทางแก้ไขของรูปแบบปัญหานี้ๆในคราวต่อไป เข้าสมาธิให้จิตได้พัก จิตมีกำลัง จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านคิด ไม่ติดคิด ทำให้จดจำง่าย สมองทำงานเป็นระบบมากขึ้นว่องไวเพราะไม่มีความคิดความจำขยะที่ปิดกั้นจำกัดช่องทางการทำงานของสมองและปัญญา จากนั้นความรู้ที่ไม่เคยนึกถึง ไม่เคยคิด ที่ลืมไปแล้ว ที่ไม่เคยคำนึงถึง ที่ไม่เคยรู้จัก ปัญญาที่วิเคราะห์เทียบเคียงพิจารณาโดยแยบคายเสร็จสรรพพร้อมมูลในเหตุ และ ผล ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดมีขึ้น มีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน จะพรั่งพรูขึ้นมามากมายไม่หยุด
- ทางธรรม เข้าสมาธิอบรมจิตทำให้จิตได้พัก ไม่สัดส่ายกระเพื่อมจิตก็มีกำลัง ผ่องใสเบิกบานไม่ไหวเอนไปตามอารมณ์เครื่องล่อใจ มีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ติดคิด ไม่ฟุ้งซ่าน มีกำลังแยกแยะ มีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน เกิดปัญญาญาณรู้เห็นตามจริงโดยสัมมา จิตมีกำลังเต็มที่ทำหน้าที่เดิมได้ คือ จิตทำแค่รู้ แลดูของจริงได้โดยไม่เข้าร่วมปรุงแต่งเสพย์อารมณ์ เห็นสมมติแห่งกาย สมมติแห่งความรู้สึกอารมณ์ สมมติแห่งจิต รากเหง้าแห่งสมมติ สันดาร สันดร แจ้งโลก เห็นธรรม ตัด ถอน สละคืน

ภาวนาเพื่อละโง่ โอปนะยิโกได้ง่าย ทำสมาธิภาวนาเพื่อให้จิตได้พัก อบรมจิตให้ฉลาดเไม่ติดหลงสมมติอยู่อีก ละโง่ก็ได้ปัญญา จิตถึงปัญญาก็เป็นผู้รู้ทั่วพร้อม เกิดความรู้ได้เฉพาะตน ปัจจัตตัง
- จิตเข้าไปดูของจริง เห็นความเป็นไป การทำงานตามจริงของมัน ทำสักแต่ว่ารู้ ไม่ข้องแวะ ไม่ยึดที่เห็น แต่ทำความรู้ตามจริง
- จิตเห็นการทำงานครบพร้อมขันธ์ ๕ เห็นผัสสะกระทบให้จิตกระเพื่อม ความเป้นไปของมันเหมือนดูหนังจอยักษ์ที่เราอยู่ท่ามกลางในเหตุการณ์นั้นๆ
- จิตคลายปิดสวิทซ์ตัดสิ่งที่คล้องหน่วงจิตไว้อยู่ตลอดเวลาเพราะเห็นความไม่มี เหมือนฟ้าแลบแปลบ เหมือนประกายแสงที่กระทบกันแปล๊บหนึ่งซึ่งไวมาก อุปมาเป็นโซ่ที่ถูกปลดมีดตัดตะขอที่คล้องลากหน่วงตรึงเราออก เกิดประกายแสงกระทบกันแวบหนึ่ง ขาดสิ้น
- จิตสำรอกออก สละคืน จิตเบา ไม่หน่วงจิตอีก น้อมเข้ากำลังในทางโดยชอบ แนบแน่นในสัมมา ทาน ศีล ภาวนา สติสัมปะชัญญะ เห็นชอบ คิดชอบ พูดชอบ ทำชอบ ดำรงจิตชอบ ความแนบแน่นประครองในสัมมา ความระลึกได้ประครองตั้งมั่น จิตตั้งมั่นจดจ่อ จิตสักแต่ว่ารู้แยกจากขันธ์สังขารทั้งปวงเหล่าใด จิตดำรงมั่นแลดูอยู่รู้แค่ธรรมไม่สัดส่าย เหตุให้เกิดสืบต่อแห่งจิตสังขารไม่มี วิญญาณสังขารไม่สืบต่อ จิตสังขารดับ ปิติ สุข ว่าง จิตตั้งมั่น ตัด


การอบรมจิตเบื้องต้นง่ายๆแต่ผลนั้นยิ่งใหญ่นัก คือ..

1. สวดมนต์(ทำให้จิตจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ที่กำลังสวดน้อมใจไปตามคววามหมายของบทสวดมนต์นั้นๆ ไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดอย่างอื่น)
2. สงบนิ่ง(ความสงบ ทำแค่ความสงบ จิตว่าง ไม่คิด ไม่ยึด ไม่จับ ไม่มี)
3. รู้ลมเข้า-ออก (ตามรู้ลมปักหลักปักตอไว้ปลายจมูกรู้ลมที่พัดเคลื่อนเข้า พัดเคลื่อนออก)
4. พุทโธ กำหนดบริกรรมตามลมด้วยคุณพระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม ผู้รู้จริงคือรู้ในปัจจุบัน ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้ของจริง คือ ลมหายใจเป็นวาโยธาตุ เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่สงเคราะห์ประกอบขึ้นให้เป็นกาย พยุงยังกายไว้อยู่ สมมิตก็คือความคิด ปรุงแต่ง จิตส่งออกนอกทั้งปวงเมื่อความคิดเกิดมีแสดงว่าสมมติเกิดทันที จิตรู้สิ่งใดด้วยความคิดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ความคิดที่ไม่มีโทษมีคุณคือบริกรรมพุทโธ "ทำไปเรื่อยๆสบายๆจากนั้นจิตมันวูบดิ่งลง หรือ เหมือนวูบหลับลง หรือ วูบลงคล้ายจะกำลังหมดสติ ก็ให้ปล่อยมันไปไม่ต้องประครองมากไป ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน ..อาการนี้แค่จิตมันเข้าไปพัก" เมื่อจิตมันได้พักเสร็จมันจะมีกำลังดำเนินไปของมันเอง ทำแค่นี้เเข้าถึง เข้าเอกัคคตารมณ์ได้ หรือ เข้าภึงฌาณ 4 ได้
5. ส่วนเวลาทำงานดำเนินชีวิตไปตามปรกติ ก็ให้ทำสัมปะชัญญะ ทำความรู้ในปัจจุบันขณะ รู้กิจการงานที่ตนทำอยู่ในปัจจุบัน ยืน เดิน นั่ง นอน ทำงาน เขียนหนังสือ เขียนงาน  ขี้ เยี่ยว ดื่ม กิน  รู้กิจการงานในปัจจุบันที่ตนทำ ไม่ติดหลงสมมติความคิด


- นี่คือ ทาน ศีล ภาวนา สะสมเหตุอิทธิบาท ๔ ใน มรรค ๘ สุจริต ๓
นแนวทางหลักๆ ที่เเป็นหัวใจของการเจริญ ทาน ศีล ภาวนา  และ ผลเลยนะนี่ หนังสือไม่มีสอนนะแบบนี้ ในกูเกิลก็ไม่มี
* เวลาทำให้เป็นที่สบายกายใจ ไม่กระสันในผล แต่ไม่หย่อนยานเหลาะแหละ ให้ทำเป็นประจำๆเนืองๆ ตั้งไว้ว่าวันนี้ๆจเราจะทำจากเวลานี้ ถึงเวลานี้ แล้วค่อยเพิ่มมากขั้นไป ที่แน่นนอนทุกวันพระให้ทำได้ตลอดวัน สะสมเหตุไป รู้ตัวว่าตนทำสะสมเหตุไป อย่ากระสันผล ให้พอใจที่ได้ทำสะสมเหตุเป็นพอ ทำใจให้สบายๆ


ความรู้เห็นทั้งหลายทั้งปวงของข้าพเจ้านี้ ได้มาจากการเจริญปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์สอน ไม่ขัดครู ไม่ลังเลสงสัย ตามคำสอนของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(พระอุปัชฌาย์), หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒโน (พระพุทธสารเถระ)(พระอุปัชฌาย์), พระครูมหานกแก้ว(หลวงน้า)(พระอุปัชฌาย์), หนังสือเทศนาคำสอนของหลวงปู่ฤๅษีฯ(พระราชพรหมญาณ), พระอาจารย์สนทยา ธัมมะวังโส(พระอุปัชฌาย์), หลวงพ่อเสถียร ถิระญาโร(พระอุปัชฌาย์), พระอาจารย์ณัฐพงษ์ และ (พระอุปัชฌาย์)ครูบาอาจารย์สายพระป่าอีกหลายท่านที่ได้สอนข้าพเจ้าโดยตรง หรือจากหนังสือคำสอนของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ พระอาจารย์ใหญ่ ทุกๆท่าน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:10:25 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #302 เมื่อ: มกราคม 04, 2018, 02:47:12 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การเข้าสมาธิง่ายๆ 3 วิธี

วิธีที่ 1 น้อมใจไปรวมจิตลงเพียงเพื่อให้จิตได้พัก (วิธีนี้กล่าวคราวๆแล้วในเบื้องต้น ตามด้านบน)

วิธีที่ 2 เพ่งนิมิต หรือ คำบริกรรมเหล่าใดให้สติจดจ่อในอารีมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน ทำให้จิตจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวตาม (วิธีนี้มีสอนเยอะตามกรรมฐาน 40 เช่น พุทโธ อานาปานสติ กสิน ๑๐ จึงไม่ขอกล่าว)

วิธีที่ 3 มนสืการ สัญญา จิตจับอารมณ์แนบแน่นไม่ขาดกัน แล้วยกจิตขึ้นด้วยลม..
1. มนสิการในอารมณ์เครื่องกุศล อนุสสติ ๖ เป็นต้น หรือ พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติเหล่าใด เป็นมูลฐานให้จิตตั้งมั่น
2. ไม่กำหนดนิมิต แต่กำหนดจิตจับไว้ที่อารมณ์ความรู้สึกเย็นใจเบิกบานที่มีอาการแผ่ไปจากการได้เจริญในธรรมเครื่องกุศลเหล่านั้นแนบแน่นไม่ขาดกัน ไม่กระเพื่อม ไม่คลอนแคลน ไม่สัดส่าย
3. เมื่อจิตนิ่งแนบอารมณ์ได้ หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ไม่ต้องหายใจแรงมาก ให้หายใจปรกติสบายๆ ไม่ให้ลมติดขัด
(จิตจะยกเข้าสมาธิตามกำลังของจิต มีการวูบรวมลงทีจุดเดียวเป็นสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถึงปฐมฌาณ เป็นต้น)
4. หายใจออกผ่อนเบาสบายๆคลาย ดับ สลัดอารมณ์ที่จิตจับแนบก่อนหน้านี้ออกไปเหาะ รับสภาพความรู้สึกอารมณ์ อาการที่เข้ารวมลงอยู่ในปัจจุบัน
(เวลาตายลมหายใจสุดท้ายนี้สำคัญเพราะเป็นตัวจับอารมร์สุดท้าย คนเข้าฌาณ หรือได้วสีจะเข้าใจจุดนี้ที่สุด)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:02:13 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #303 เมื่อ: มกราคม 07, 2018, 04:04:06 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นเพียงบันทึกผลจากการปฏิบัติ เจริญกรรมฐาน วิธีเข้าพิจารณาธรรมของผมจากการน้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ เป็นธรรมที่ควรโอปะนะยิโก คือ น้อมเข้ามาสู่ตน ธรรมนั้นพึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ซึ่งได้มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ พระอรหันตสงฆ์ ที่เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของผม มีหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน (พระพุทธสารเถระ วัดอโสการาม) เป็นต้น ท่านได้กรุณาแนะนำเทศนาสั่งสอนมาโดยตรงแก่ผม ผมได้โอปะนะยิโกน้อมเอาธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นแนวทางปฏิบัติและเข้าถึงจนเห็นผลต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของปุถุชนอย่างผมได้ดังนี้...

หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่า..
..ธรรมนั้นมาจากปุถุชนที่ยังไม่ถึงธรรมจริงอย่างผมเท่านั้น
..ไม่ใช่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยตรง
..ไม่ใช่ธรรมเทศนาจากพระอรหันตสงฆ์สาวกโดยตรง
..เป็นเพียงธรรมที่ปุถุชนผู้ยังสมมติของปลอม ยังไม่ถึงของจริง ยังเห็นสัมผัส และคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดอย่างผมมีโอกาสได้รู้เห็นตามสมมติของจิต แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินี้ๆเท่านั้น

หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์สาวก และ พระอริยสงฆ์สาวก ของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดาได้เผยแพร่สั่งสอนธรรมมาจนถึงผมและท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ ผมขอสาธยายธรรมอันที่ปุถุชนอย่างผมพอจะรู้เห็นเข้าถึง เข้าใจ แจ้งใจได้ ดังต่อไปนี้..



บันทึกกรรมฐานวันที่ 3-1-61 เวลา 22.45 น.

จิตจับอารมณ์โดยไม่กำหนดนิมิต
ตั้งแต่ตอนปรกติที่มีกิเลสนิวรณ์สมมติความคิด(ซึ่งปรกติเราจะทำในอุปจาระสมาธิ)
แล้วยกจิตเข้าสมาธิ อาศัยมนสิการ สัญญา

ระลึกถึงศีลของพระพุทธเจ้า ที่มีอาสิสงส์ผลการเจริญทำให้ เย็นกาย สบายใจ ไม่เร่าร้อน เป็นที่สบาย เบิกบาน ไม่ร้อนรน หวาดกลัว หวาดระแวง ขุ่นข้อมหมองใจ มันเบาเย็นใจปราศจากความติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกทำให้ใจเบิกบานซาบซ่านภายในใจ..

๑. ระลึกถึงศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอน มีอานิสงส์ที่ไม่เร่าร้อน ทำให้เบาเย็นใจสบาย ผ่องใส เบิกบาน ซาบซ่าน ไม่มีเวร ไม่มีภัย ปราศจากความเบีดยเบียน ไม่มีความติดข้องใจสิ่งไรๆทั้งปวง

๒. เราทำไว้ในใจ น้อมใจไปถึงสภาวะปัจจุบันขณะ
กาลปัจจุบันนี้ สมัยนี้เราดำรงชีพอยู่โดยประกอบด้วยศีล เรามีศีลบริบูรณ์พร้อมด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์อิสระสุขแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เว้นจาก..ความเบียดเบียน ติดพัน ข้องแวะ ระลึกไม่ได้ ไม่รู้ตัว ..ดำรงชีพในปัจจุบันอยู่ด้วย อนภิชฌา อโทมนัส ทำให้เราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่หวาดระแวง ไม่ผูกโกรธ ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัด ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เป็นที่สบายกายใจ เย็นซาบซ่านเบาใจ โสมนัส มีความอุ่นใจ ..แล้วเราก็
เอาจิตจับที่ความไม่เร่าร้อน เบาใจ เย็นใจเป็นที่สบายกายใจ มีผ่องใส มีใจเบิกบาน ซาบซ่าน ไม่มีเวร ไม่มีภัย ปราศจากความเบียดเบียน ไม่มีความติดข้องใจสิ่งไรๆทั้งปวง อันเป็นคุณของศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอนนั้น

๓. จิตจับที่จิต คือ ตัวรู้จับที่จิตสังขารที่มีอาการตั้งอยู่ที่ความผ่องใสเบิกบาน ซาบซ่าน เบาใจ มีจิตสงบ เป็นทีสบาย รื่มรมย์เป็นสุข ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความคิดและความคิดใจข้องแวะสิ่งไรๆมาหน่วงตรึงติด

๔. จิตแนบแน่นเป็นอารมณ์เดียวกับความสำราญในศีลนั้นนิ่งอยู่ จิตรับรู้ถึงสุขโดยชอบ

๕. จิตจับอารมณ์นั้นไม่ไหวไปดังนี้..
๕.ก) โดยจิตจับอารมณ์นั้นแนบแน่นไว้ในที่เดิม ปักหลัก ปักตอไว้อยู่ไม่เคลื่อนไป
๕.ข) มีความรู้ตัวหายใจเข้าเบาสบายๆ มีลมหายใจเข้ายาวซ่านไปพร้อมกับมีอาการเหมือนความรู้สึกที่จิตจับอยู่นั้นยังกำลังให้จิตถูกปลดปล่อยจากความหน่วงตรึงจิต พ้นจากโซ่ตรวนของสุขทางโลกที่เนื่องด้วยกายที่อาศํยอามิสเครื่องล่อใจ
๕.ค) จิตดีดลอยตามลมหายใจเข้าออกห่างจากความผ่องใส ซาบซ่านรื่นรมย์นั้น แต่ความรู้สึกนั้นจิตยังจับมันปักหลักปักตอไว้ที่เดิม มีแต่ตัวรู้คือจิตวิญญาณนี้ดีดลอยห่างนิมิตขึ้นตามลมหายใจเข้า ..เมื่ถึงช่วงรอยต่อที่จิตคลายอารมณ์เก่า อารมณ์เก่า อารมณ์เก่าดับ เดินเข้าสู่อารมณ์ใหม่ จิตจะตวัดกระชากลมหายใจเข้าฟืดหนึ่ง ที่เข้าไปลึกสุดขึ้นสูงเฮือกสุดท้าย(เหมือนลมหายใจเข้าเฮือกสุดท้ายก่อนตาย เหมือนที่เราเห็นแม่ตายต่อหน้า 29-5-60 เวลา 7.11 น.) ..จืตเข้าสู่สมาธิ อุปจาระ หยาบ กลาง ละเอียด เอกัคคะตา ฌาณ ตามแต่กำลังของจิต
      ..อุปมาเหมือน.. เหมือนเราเดินออกจากสถานที่ๆหนึ่ง หรือออกจากบ้านเรา ไปอีกสถานที่หนี่ง สถานที่ที่เราออกมา หรือบ้านเรานี้ ก็ยังตั้งมั่นอยู่ที่เดิม ไม่เคลื่อนไปจากที่เดิม มีแต่เราที่เคลื่อนไปที่ใหม่ที่ต้องการจะไปฉะนั้น
๕.ง) หายใจออกมีใจสละ คลาย สลัดผลักออกจากอารมณ์ความรู้สึกก่อนหน้านี้ออกไป จิตเกาะยึดจับอยู่ที่สภาวะอาการความรู้สึกใหม่ที่เข้าไปนั้น
      ..อุปมาเหมือน..
- เราเอายางที่เหนียวพอจะรับน้ำหนักได้ดีเส้นหนึ่ง คล้องไว้ที่กิ่งไม้กิ่งหนึ่งไว้ โดยเรานำยางเส้นนั้นคล้องยึดจับกิ่งไม้ที่มีกำลังความเหนียวไม่อ่อนไม่แข็งไป
- เมื่อยางคล้องยึดจับกิ่งไม้นั้นอย่างมั่นคงพอแล้ว เราดึงยางยืดออกไปคล้องกิ่งไม้ที่สูงขึ้น เป็นกิ่งไม้ที่มีความหนักแน่นแข็งแรงขึ้นไปอีก
- จากนั้นกิ่งไม้ที่ยางคล้องไว้ตอนแรกย่อมโน้ม แอ่น งอมากกว่ากิ่งที่แข็งแรงกว่าด้านบนที่ยางเข้ายึดคล้องไว้
- จากนั้นยางที่คล้องกิ่งที่อ่อนกว่าย่อมหลุดจากกิ่งนั้น ยางคล้องไว้ตรึงอยู่ที่กิ่งที่แข็งแรงขึ้นนั้น

๖. ความอิ่มเอิบ สงบ ว่าง ซาบซ่าน ไม่มีความฟุ้ง แต่รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ มีอาการที่อุ่นสบายใจปกคลุม ไม่มีความหวาดกลัว หวากดระแวง เกลียดชัง อยาก ใคร รัก โลภ โกรธ หลงไม่มีอยู่อีก ให้ระลึกเรื่องอกุศลระลึกเท่าไหร่ก็ระลึกไม่ออก เพราะนิวรณ์อ่อนกิเลสไม่มีเหตุเกิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:03:05 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #304 เมื่อ: มกราคม 08, 2018, 11:34:39 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ 3-1-61 เวลา 22.45 น.

จิตจับอารมณ์โดยไม่กำหนดนิมิต
ตั้งแต่ตอนปรกติที่มีกิเลสนิวรณ์สมมติความคิด(ซึ่งปรกติเราจะทำในอุปจาระสมาธิ)
แล้วยกจิตเข้าสมาธิ อาศัยมนสิการ สัญญา


หลวงน้า (ท่านพระครูนกแก้ว) ท่านเป็นพระอริยะสาวกของพระพุทธเจ้าอีกรูปหนึ่ง ท่านได้สอนเราว่า..

..นิมิตเหล่าใด แสง สี อาการ วิตก วาร ทั้งปวง มันเป็นเพียงธรรมชาติของจิต ซึ่งธรรมชาติของจิตนี้มันมีเป็นร้อยแปดพันเก้าอาการ ไปจนถึงเป็นล้านๆอาการ พระพุทธเจ้าจึงมีกรรมฐานทั้ง ๔๐ ตามแต่จิตประเภทนั้นๆไว้ให้ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอาการไรๆ นิมิตไรๆ ความรู้สึกไรๆขึ้น มันก็แค่อาการหนึ่งๆของจิตเท่านั้นไม่มีเกินนี้
..ทีนี้ไม่ว่าจะเกิดอาการใดมีเกิดขึ้น จะเกิดนิมิตไรๆ จะเกิดอาการความรู้สึกอย่างไร จะเป็นจะตายก็ช่างมัน ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น รู้ว่ามันเป็นเพียงปกติอาการของจิตที่มีอยู่มากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าปกติมันเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องไปยึด ไปถือ ไปเสพย์ตามมัน มีความระลึกรู้ด้วยวางใจไว้เพียงแค่รู้แค่แลดูมันอยู่ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เพียงเท่านั้นแค่นั้น นี่คือ รู้ ปกติ วาง เป็นความไม่ยึด ไม่ขัด ไม่เสพย์ ไม่หลงตาม สมาธิก็จะแน่วแน่ขึ้นเอง



ก. ดั่งสมเด็จพระพุทธศาสดาตรัสสอนว่า...อริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ไม่ว่าจะไปทิศใดย่อมประกอบด้วยศีล แผ่ศีลไปด้วยเจโตวิมุตติ ด้วยประการดังนี้..เราจึงน้อมนำทำตามสิ่งที่พระอริยะสาวกในพระธารรมวิยนี้บรรลุบทอันกระทำแล้ว โดยน้อมใจไปดังนี้..

- การแผ่ศีลด้วยพรหมวิหาร ๔ ทั่วไป เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แบบทั่วไป สวดแล้วน้อมจิตแผ่ไป หรือจะทำด้วยความเป็นรูปก็ได้ เย็นใจ ผ่องใส เบิกบาน สุข ไม่ติดใจข้องแวะ แผ่ ปิติ ความไม่มีทุกข์ สุข จิต แสง

- การแผ่ศีลที่ถึงความหลุดพ้นแบบพระพุทธเจ้า เป็นเจโตวิมุติ ไม่ยังอยู้หรือข้องแค่เพียงรูป อาศับ สุภะวิโมกข์ สุภะกสิน อาโลกะสัญญา อากาศ อากาศกสิน วิญญาณ วิญญาณกสิน มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่ล่วงเจตนา เนวะสัญญานาสัญญายตนะ อาโลกะกสิน สุญญตา

- เราทำไว้ในใจ น้อมใจไปถึงสภาวะปัจจุบันขณะ กาลปัจจุบันนี้ สมัยนี้เราดำรงชีพอยู่โดยประกอบด้วยศีล เรามีศีลบริบูรณ์พร้อมด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์อิสระสุขแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เว้นจาก..ความเบียดเบียน ติดพัน ข้องแวะ ระลึกไม่ได้ ไม่รู้ตัว ..ดำรงชีพในปัจจุบันอยู่ด้วย อนภิชฌา อโทมนัส ทำให้เราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่หวาดระแวง ไม่ผูกโกรธ ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัด ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เป็นที่สบายกายใจ เย็นซาบซ่านเบาใจ โสมนัส มีความอุ่นใจ ๔ ประการ..

- จิตเราจับความรู้สึกแนบแน่นรวมไว้ในภายใน จนสงบ จิตมีกำลังมากอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ผ่องใส เบิกบานเต็มกำลัง มีอาการที่แผ่ขยายไปกว้างไป

- อาการที่จิตเคลื่อนเข้าไปตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวได้ จากความสงบใจขณิกสมาธิที่เราเจอกับตัวเองนี้ มีด้วยกัน ๒ ทาง คือ
๑. จิตมนสิการจับความรู้สึกนั้นแน่น แล้วอาศัยอาการของลมหายใจเข้า คือ จิตเพ่งจับเอาอารมณ์ความรู้สึกซึ่งไม่มีนิมิตนั้นอย่างแนบแน่นมั่นคงปักหลักปักตอความรู้สึกนั้นไว้ จิตอาศัยลมหายใจเข้าจับอาการที่เคลื่อนไหวของลมไปยกจิตขึ้นออกจากอารมณ์ความรู้สึกที่จับอยู่ก่อนหน้านี้ ปลายลมหายใจเข้าที่ซ่านกระชากลึกเป็นตัวเคลื่อนจิตเข้าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
๒. เกิดนิมิตภาพเรื่องราวความคิด, สี, แสง จิตเพ่งจับที่นิมิตนั้น แล้วอาศัยลมหายใจเข้า คือ ขณะที่จิตได้ความสงบ เกิดอาการที่วูบวาบๆซาบซ่านเป็นขณิกสมาธิจิตรวมได้นิดหน่อย มันมักจะเกิดนิมิตจากความตรึกนึกคิด (เหมือนฝันแต่มีความรู้ตัวพอจะเพ่งจับนิมิตจากความตรึกนึกคิดปรุงแต่งที่สร้างขึ้นมานั้นได้บ้าง) จิตเพ่งจับภาพนิมิตความคิดที่เป้นเรื่องราวนั้น หรือ สี หรือ แสง จนแนบแน่นปักหลักปักต่อนิมิตนั้นไว้กับที่(เหมือนเรานั่งดูทีวีที่จอภาพเรื่องราวจะไม่เคลื่อที่ไปไหน มีแต่เราที่เคลื่อนไป) แล้วอาศัยลมหายใจเข้าจับอาการที่เคลื่อนไหวของลมไปยกจิตขึ้นออกจากนิมิตที่จับอยู่ก่อนหน้านี้ ปลายลมหายใจเข้าที่ซ่านกระชากลึกเป็นตัวเคลื่อนจิตเข้าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
๓. ในฌาณนี้จิตจะมนสิการในอารมณ์ได้ ส่วนที่แช่แน่นิ่งเหมือนจะรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้อะไรก็ไม่ใช่ ไม่มีการกระทำไรในอารมณ์ได้นอกจากนิ่งสิ่งนี้เป็นสมาธิ เป็นอาการที่จิตได้พักแยกจากความปรุงแต่ง อาการนี้ที่เกิดวิปัสนาได้ไวเพราะมันปล่อยให้สังขารเป็นไปตามจริงไม่กำหนดบังคับนิมิต(พระอรหันต์สุกขวิปัสสะโกท่านเข้าไปทางนี้ ท่านเข้าฌาณได้แต่ไม่แวะเล่นฌาณ) ..แต่ในฌาณนี้จิตมันมนสิการได้ อธิษฐานกำหนดจิตนิมิตได้ แต่อาศัยปัญญาที่มีเต็มกำลังแล้วเป็นเครื่องรู้ให้เกิด นิพพิทา วิราคะ วิมุตติในฌาณนั้นๆได้

- แผ่เอาความสุขซาบซ่านเย็นใจ อิ่มเอม เบาใจซาบซ่านปราศจากความติดใจข้องแวะสิ่งไรในโลก เอื้อเฟื้อเกื้อกูลเว้นจากความเบียดเบียนเสมอด้วยตนไปไม่มีประมาณในทิศนั้น (ความปารถนาดีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเอ็นดูปรานีเสมอด้วยตน เห็นงามเสมอกันไม่มีแบ่งแยก ขันธ์ ๕ เสมอกัน อาการ ๓๒ ดวงจิตทุกดวงทียังเข้ายึดครองรูปขันธ์ ธาตุ ๖ เสมอกัน ดวงจิตยึดครองสังขารทั้งปวงเสมอด้วยกันหมด แม้ในภพนั้น ภูมินี้ ก็มีอยู่ด้วยประการดังนี้)

- แผ่เอาความอิ่มเอมซาบซ่าน สงบ ว่าง เป็นสุข เหตุเพราะความว่างความไม่มีกิเลส ความไม่ถูกทุกข์สัมผัสความว่างจากทุกข์ สุขอันเนื่องด้วยกายย่อมถูกทุกข์หยั่งเอาด้วยความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกายยังเป็นที่ประชุมไปด้วยโรค ด้วยของสกปรก ความพ้นจากสังขารทั้งปวงเหล่านี้เป็นสุข สุขอันไม่เนื่องด้วยกาย ไม่ยังกายอยู่อีกแผ่ไปไม่มีประมาณมีแก่ดวงจิตทุกดวงทุกภพทุกภูมิในทิศนั้น
(สุขทางโลกมันเนื่องด้วยกาย สัมผัสกายมันอิ่มไม่เป็น ..สุขทางธรรมโลกุตระมันสุขที่ใจจากความอิ่ม เต็ม พอ ความไม่มี ความสละคืน ทุกข์ไม่อาจสัมผัสหยั่งลงได้อีก ..สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็เสื่อมไป เจบป่วย แก่ชรา แล้วก็ตาย ดับสูญไป ความไม่ยังกายนี้อยู่อีกความพ้นไปจากสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นสุข อ้างอิง..บังสกุลเป็น บังสกุลตาย ธาตุ ๖ ใน ธาตุวิภังคสูตร ซึ่งก่อนหน้านี้ก็คิดว่าตนเองทำมาผิดทางพอดีไปเจอพระสูตรเหล่านี้จึงรู้ว่าทำมาถูกแล้วดีแล้วตรงตามพระบรมพุทธศาสดาของเราตรัสสอนไม่บิดเบือน)

(ทางเข้าอากาสานัญขายตนะมี 2 ทางที่เราเข้าถึงรับรู้ได้ คือ
๑. อาศัยนิมิต เพ่งนิมิตรูป, สี, แสง นิมิตทางลมอานาปานสติเป็นกสิน แล้วทำจิตเป็นปฏิฆะต่อกาย เพราะกายมันเป็นที่ประชุมทุกข์ รูป นิมิต ก็ทุกข์ ผลักจิตออกพ้นรูปทั้งปวง เช่น เพ่งที่ความืดว่างไปไม่มีประมาณ จับความมืดว่างนั้นแน่นิ่ง ด้วยหมายพ้นกาย เห็นความพ้นกายในที่นั้น แล้วเมื่อเข้าถึงยกจิตความมืดว่างนั้นแหละดูดจิตเราออกพ้นกาย
๒. จิตมนสิการความรู้สึก จับอารณ์เพ่งความรู้สึกเป็นกสินโดยไม่อาศัยนิมิต แล้วเอาจิตจับแนบแน่นอารมณ์ความรู้สึกนี้ไว้ไม่สัดส่าย จิตจะเพ่งความรู้สึกแทนนิมิต เมื่อจิตเลื่อนจิตจะทำคามแนบแน่นเพ่งความรู้สึกอารมณ์นี้เป็นกสินแทน)
- แผ่เอาสุขอันบริบูณ์พร้อมทุกสิ่ง สมบูรณ์พร้อมไป โดยเอาจิตจับที่จิต คือ สุขที่ไม่เนื่องด้วยกาย ไม่มีกาย พ้นกายแล้ว ไม่มีสัมผัสที่ต้องด้วยกาย ย่อมถึงความสงบอันบริสุทธิ์เหลือแต่จิตโดดๆ โสมนัสเกิดอยู่ที่จิต ความว่างไม่ใช่ตัวสุขแต่จิตเป็นตัวสุข ความคงทุกอย่างไว้อยู่ ด้วยความสงบอันบริสุทธิ์ไม่สัดส่ายตามสัมผัสอันเนื่องด้วยกายนี้ทำให้คงทุกอย่างไว้ภายในจิต จิตคงทุกอย่างรวมไว้อยู่ภายในจึงเป็นสุข เอาจิตจับที่จิต เมื่อจิตจับที่จิตตั้งที่จิต สุขที่มีอาการแผ่ไปเกิดขึ้น(เปรียบเหมือนอาการที่จิตรวมไว้ในภายในจิตไม่ส่งออกนอก จิตย่อมประกอบไปด้วยกำลังป็นสุขไม่สัดส่าย สุขอัดอยู่ที่จิตมีกำลังแผ่ไป เหมือนฌาณ ๓ ต่างกันแค่ ฌาณ ๓ มันซ่านอัดปะทุสุขขึ้นแค่ภายในรูปที่ใจเราเข้ายึดครองอยู่นี้เท่านั้น(มีมีอาการที่จิตไม่ยึดกายแล้วแต่มันรู้สึกได้เพียงแค่ขอบเขตในภายในจากก้นบึ้งปะทุขึ้นให้ตจิตรู้แต่ขอบเขตสุขนั้นมันไม่เกินที่อยู่ที่จิตเราเข้าอาศัยยึดครองเลย) วิญญานัญจายตนะมันซ่านแผ่ขยายไปไม่มีประมาณไม่ติดข้องขัดด้วยรูป ด้วยมีแค่จิต)
(เอาจิตจับที่จิต เป็นวิญญาณกสิน เอาจิตจับที่จิตแผ่สุขนี้ไปไม่มีประมาณในทิศนั้น)

- แผ่เอาความไม่ติดใจข้องแวะ ไม่ยึดเกาะเอาอะไรทั้งสิ้นไป ละเจตนาต่อสิ่งทั้งปวง ด้วยทุกสิ่งล้วนมีวิถีความเป็นไปของมันตามแต่กรรมกำหนดให้เป็นไป ความเข้าไปยึดความแปรปรวนด้วยหมายจะบังคับให้เป็นไปตามใจปารถนาในสัจจะอันเกิดแต่กรรมย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะพึงมีได้ เพราะมีกรรม คือ การกระทำอยู่ในใจมีเจตนาเป็นนี้อยู่ฉันใด..วิบากกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องย่อมผูกต่อให้ได้รับผลของกรรมนั้น..ใจนี้เย่อมถูกทุกข์หยังเอาอยู่ ความไม่ยึดข้องแวะ ไม่ติดข้องใจสิ่งไรๆนี้อีก ไม่กระทำกรรมเกาะเกี่ยวยึดเอาสิ่งไรๆ..ไม่มีเจตนากระทำใจไว้ต่อสิ่งไรๆ ย่อมถึงความว่างพ้นไปจากวิบากกรรมและสังขารกรรมทั้งปวงอันประกอบไปด้วยทุกข์..จึงเป็นสุข แผ่เอาความไม่มี ไม่ยึด ไม่เอา สละคืนสังขารกรรม ไม่ทำเจตนายึดข้องสิ่งใดทั้งปวงไปในทิศนั้นๆ(เป็นอารมณ์เดียวกับฌาณ ๔ ต่างแค่อาการที่ยังรูปข้องอยู่ที่รูป กับไม่ยังรูปไม่ข้องด้วยรูปจิตไม่ไหวติงด้วยอาการที่แผ่ขยายไปไม่มีประมาณ)

- ศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอนนั้นแผ่ไปด้วยปรการฉะนี้ ผู้แผ่ย่อมเย็นใจ เบาใจ ผ่องใส อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ชื่นบาน เป็นสุข ผู้รับก็เป็นสุข ยังความอิ่มใจ ๔ ประการให้เกิดขึ้น เพราะจะไม่มีทางล่วงลงสู่ที่ชั่ว ได้ทำดีเว้นจากชั่วโดยชอบแล้ว

- จิตสะอาดสว่างไสวในภายในนี้ ไม่ใข่ วิญญานัญจายตนะ แต่เป็นสัญญาเวทิทนิโรธ (อารมณ์นี้เข้าไม่เข้า ไม่กล้าอนุมาน เป็นของพระอรหันต์ พระอริยะสงส์เท่านั้น ส่วนข้างต้นที่แผ่ไปใน ๔ ประการเป็นสิ่งที่ปุถุชนอย่างเราเข้าถึงได้ปฏิบัติได้ คนที่ไม่ได้อรูปแท้ๆจริงจะไม่เข้าใจเจโจตวิมุติดังนี้

ข. ความอิ่มเอิบ สงบ ว่าง ซาบซ่าน ไม่มีความฟุ้ง แต่รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ มีอาการที่อุ่นสบายใจปกคลุม ไม่มีความหวาดกลัว หวากดระแวง เกลียดชัง อยาก ใคร รัก โลภ โกรธ หลงไม่มีอยู่อีก

- ให้ระลึกเรื่องอกุศลระลึกเท่าไหร่ก็ระลึกไม่ออก เพราะนิวรณ์อ่อนกิเลสไม่มีเหตุเกิด ตรงนี้ปล่อยปล่อยให้จิตมันเป็นไปของมันเอง เดินไปเอง ไม่ต้องไปบังคับ ไม่เล่น ไม่เพ่ง ไปจับ ไปประครองอะไรทั้งสิ้นไม่ทำให้จิตมันตื่นตัว แล้วจิตมันจะเริ่มวูบรวมดิ่งลง มีอาการเหมือนคนจะวูบลงหมดสติ เหมือนจะไม่รับรู้อะไร เหมือนจะวูบหลับ แล้วก็แช่ แน่นิ่ง เหมือนจิตเรานี้จะจะรู้อยู่ก็ไม่ใช่-ไม่รู้อะไรก็ไม่ใช่ แช่แน่นิ่งเป็นอารมณ์เดียวอยู่อย่างนั้น อาการนี้จิตมันเข้าไปพัก

- เมื่อจิตได้พัก จิตจึงจะมีกำลังไม่สัดส่ายอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่กระเพื่อไหลตามอารมณ์ ไม่พร่านไหลไปทั่วเพื่อยึดเอาอารมณ์สมมิเหล่าใดมาเป็นเครื่องอยู่อาศํยของมัน จิตมีกำลังมาก จิตจึงทำหน้าที่แค่รู้ได้ เป็นตัวรู้ได้ ทำหน้าที่เดิมคือแค่รู้ได้ แล้วจะเห็นของจริงเองในตอนนั้น

- แต่หากมันว่าไม่มีอะไรก็ให้ปล่อยมันไปมันจะเป็นไปของมันเองแค่จิตมันยังมีกำลังไม่พอเห็นต้องให้มันเป็นไปเอง เมื่อเห็นจริงแค่ครั้งสองครั้งมันไม่บรรลุหอกเราถูกกิเลสทับถมมานับอสงไขยต้องใช้เวลาให้มันเห็นของจริงบ่อยๆ แล้วจะค่อยๆคลายอุปาทานเอง จิตจะไม่ยึดเอาอะไรทั้งสิ้น นอกจากลมหายใจ

- จิตคลายอุปาทานมีอาการที่จิตไม่ยึดไม่จับเอาอะไรทั้งสิ้นเพราะหน่าย คลายอุปาทาน คือ มันโหวงๆ ลอยๆ โคลงเคลง ครูบาอาจารย์ท่านสอนเราไว้ว่าอย่างทิ้งลมหายใจ หลวงพ่อเสถียรสอนไว้ เราเอาจิตจับที่ลมรู้ว่าลมหายใจนี้เ็นกายสังขาร เป้นธาตุ ๔ วาโยธาตุ เป็นของจริง จิตมันจะไม่ห่างจากลมหายใจเลยเมื่อทรงฌาณอยู่ได้)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:04:18 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #305 เมื่อ: มกราคม 09, 2018, 05:50:42 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
  [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัด
ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามา
ฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสัก
ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.

ทุกขอริยสัจ
             [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ
กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้
แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด
เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อันนี้เรียกว่า ชาติ ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่า ชรา ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความ
หายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้
ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า มรณะ
ก็โสกะเป็นไฉน? ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน
ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า โสกะ ก็ปริเทวะเป็นไฉน? ความคร่ำครวญ
ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ
บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์
อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ความลำบากทางกาย
ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่า
ทุกข์ ก็โทมนัสเป็นไฉน? ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี
ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า  โทมนัส ก็อุปายาสเป็นไฉน? ความแค้น
ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ
พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาส
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม
ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก
ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความไม่ประสบ ความไม่
พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความ
ผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง
น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความปรารถนา ย่อมบังเกิด
แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความ
เกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด
ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึง
มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.
สมุทัยอริยสัจ
             [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด อันให้เกิดใน
ภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน? ที่ใด
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
อยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก? ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ  กายวิญญาณ มโน-
*วิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ-
*เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
อยู่ที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิตก
สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
นิโรธอริยสัจ
             [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน? ความดับด้วยสามารถความ
สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น
ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน? ที่ใดเป็น
ที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อม
ดับได้ที่นั้น ก็อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก
ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้
ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา-
*เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ-
*เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ
ย่อมดับที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร
คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อ
บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธอริยสัจ.
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
             [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน? อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้
เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่
พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาเป็นไฉน?
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต
งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา-
*กัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการ
เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้
เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้
เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
             [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า
ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #306 เมื่อ: มกราคม 09, 2018, 07:15:01 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
นิวรณ์ในสมาธิหลักๆที่เราเจอมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ คือ

- เกิดรู้ตัวลังเลสงสัยธรรมที่ดำรงอยู่ เมื่อเกิดอาการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง หรือกำลังดำรรงอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งจิตแยกรู้อาการ แล้วเกิดวคามลังเลสงสัย เฮ้ยนี่อะไร มันคืออะไร เฮ้ยถึงนี่แล้ว ทำให้จิตตื่นตัวเกินพอดีกระทำเจตนาไหลตามหรือพยายามจะต้านอารมณ์เพื่อจะได้รับรู้อารมณ์ที่เป็นอยู่นั้น
- เกิดความหน่วงจิตให้เคลื้มหลับ ซึงจะต่างจากอาการที่จิตรวมลง มีอาการที่จิตรวมลงมันวูบลงไปแน่นิ่งเหมือนจะรู้ตัวทั่มพร้อมก็ไม่ใช่เหมือนไม่รู้ก็ไม่ใช่ แช่นิ่งอยู่อารมร์เดียว ส่วนอาการที่ง่วงมันหน่วงตรึงจิตรู้สึกหดหู่ อาการที่หน่วงดึงจืต มันไม่ผ่องใสมีอาการหมองๆหนักจิต อาการที่ซึมเซา
- ความที่มีจิตซ่านไปในอารมณ์โน้น สิ่งนั้น สิ่งนี้ อยากได้แบบนั้นแบบนี้ กลัวจะเข้าถึงแบบนั้น กลัวจะสำเร็จได้แบบนี้ กลัวห่วงหน้าพวงหลัง ดึงจิตให้เกิดพะวง พลุกพล่านซ่านไป ซึ่งสืบต่อไป ปลิโพธ
- เกิดความสัดส่ายน้อมใจไปในราคะสัญญา บางครั้งเราเข้าสมาธิได้แล้วแต่อยากจะรู้ว่าเป็นสัมมาสมาธิไหม เพราะสัมมาสมาธิจะระลึกอกุศลไม่ออก จะไม่มีสัญญาในอกุศลเลย มันจะระลึกไม่ออก ซึ่งเมื่อรู้ดีังนี้แล้วแทนที่จะปล่อยจิตให้เป็นไปในปัจจุบันจนมีกำลังจึงลองดู แต่กลับไปลองของระลึกทันทีมันก็วูบหลุดออกมา แต่ถ้าทรงอารมร์เป็นมนสิการเป็น ใช้สัญญาในการทรงอารมณ์ไม่ให้หลุดก็เข้าสมาธิต่อได้ หากทำไม่ได้ก็อดไป อีกประการคือการที่อยากรู้อยากเห็น ด้วยมีความตราตรึงยินดีในอารมณ์ ความรู้สึก ภพ ภูมิ ต่างๆ รูปต่างๆที่เจริญใจเป็นต้น เช่นอยากเห้นนรกสวรรค์ อยากเห็นนางฟ้า เทพบุตร เทพธิดา หรือ พอเข้าไปเห็นแล้วเกิดความกำหนัด ยินดี หมายใจใคร่เสพย์ ก็จะหลุดออกมาทันที
- ความหลงสังขารที่แสดงอยู่เบื้องหน้า ความปรุงแต่ง แปรปรวน นิมิตเหล่าใดทัั้งปวง แปล้วเข้าไปยึดหลง โดยไม่รู้ว่าแค่สังขาร ความยินดีในสังขารทั้งปวงที่ตนรู้แล้วกำหนัดยึดเกี่ยวไว้ สิ่งนี้เป็นข้าศึกต่อ ฌาณ และ ปัญญาญาณลงมรรคญาณ หรือ ผล ละสังฌโยชน์ หรือทำให้มรรคที่มีอยู่นี้ยิ่งๆขึ้นไป


ทางแก้นิวรณ์ทั้งหมด มีทางเดียว คือ เจตนาให้จิตได้พัก รู้ ปรกติ วาง

- จิตได้พักมันจะได้พักผ่อนมีกำลัง เพราะถูกใช้งานตลอดเวลาไม่มีหยุด จะหลับก็หลับไปเลย หากหลับแล้วนิ่งไม่ฝันไม่รับรู้ แม่หลับเพียง ชั่วโมงเดียวตลอดกลางวันกลางคืน ก็แสดงว่าจิตเราได้พักแล้ว มนสิการน้อมรวมลงไว้ที่จิต เดินตามลมจากปลายจมูกรวมลงไว้ในภายในที่ท้องน้อยหรือจุดเหนือสะดือ 2 นิ้ว ทำไว้ในใจเพียงต้องการให้จิตได้พักเป็นพอ ไม่จะจะรู้อะไรเห็นอะไร นิมิตอะไรเกิด นิมิตอะไรดับ ความรู้สึกอะไรเกิด ความรู้สึกอะไรดับ สภาวะสังขารเหล่าใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน ดับไป เราก็จะไม่น้อมใจตามไปจะทำเพียงแค่ตามรู้ ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน ไม่ทำเจตนาบังคับจิตไปในทิศทางใดที่ต้องการทั้งสิ้น ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยมันเป็นไปของมันก็พอ
- หากพะวงจะเอานั่นเอาโน่นเอานี่ เห็นนั่น โน่น นี่โดยที่จิตไม่มีกำลังจะทำได้ ให้ทำใจไว้ว่ากาลก่อนนี้เราสะสมมาดีแล้ว แม้กาลปัจจุบันนี้เราก็ได้สะสมมาดีแล้วสะสมเหตุเต็มเพียงพอที่จะล่วงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
- เมื่อห่วง พ่อ แม่ ลูกเมีย ก็ให้พึงรู้ว่าการที่เราจะทำแทคคุณพ่อแม่ได้เราต้องถึงที่สุดแห่งกองทุกข บิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตรที่เกิดมาเพื่อเป็นพระอริยะนี้มีบุญมาก แต่ท่านยังชีพอยู่หรือละโลกนี้ไปแล้ว เราก็สามารถที่จะไปทดแทนคุณท่านได้เพื่อให้เห็นธรรมความหลุดพ้นทุกข์นั่นเอง รวมถึงลูกเมียของพระอริยะก็มีบุญมากได้มาร่วมอยู่ได้รู้ธรรมออกจากทุกข์ตาม ได้มาช่วยเหลือจุนเจือกันเพื่อให้เราได้ปฏิบัติเพื่อถึงมรรค ผล นิพพาน เมื่อเราถึงธรรมแล้วพ่อ แม่ ลูก เมีย ทำบุญบารมีกับเราสะสมเหตุเขาได้ง่ายและมีค่ามาก
- หากติดพุทธภูมิ พอเข้าสภาวะแล้วจิตผลักออกกลัวบรรลุ ให้พึงสำเนียกว่า พระพุทธเจ้าและพระอนุสาวก หรือ พระอรหันตสาวกทุกท่านล้วนแล้วแต่ทำสะสมบุญมานานหลายอสงไขย เห็นของจริงมาตั้งเท่าไหร่ ทำจนบารมีเต็ม บารมี 10 ทัศน์แสดงออกมาตลอดเวลา เราถึงเพียงนิดหน่อย ทาน ศีล ภาวนาเล็กน้อย เห็นจริงแค่ครั้งสองครั้งหรือเห็นประจำเพียงแค่ชาตินีัมันจะไปเทียบได้อย่างไรกับท่านเหล่านั้น มันไม่บรรลุง่ายๆหรอก ให้จิตมันเห็นไปของมันนั้นแหละสะสมเหตุอบรมจิตไว้ดีแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:05:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #307 เมื่อ: มกราคม 10, 2018, 12:30:23 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ความประมาทตามสมมติความคิดกิเลสเครื่องล่อใจ ทำให้เราต้องทผิดซ้ำๆ ต้องคอยขอโทษผู้อื่นจนตลอดชีวิต สู้เราเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองให้ดีงามมันเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่ามากโขประมาณมิได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:10:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #308 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:12:03 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖

อาหารสูตร

อาหารของนิวรณ์

             [๕๒๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งที่มิใช่อาหาร
ของนิวรณ์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
             [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง
อโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการใน
สิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การ
กระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
วิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่
ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
อาหารของโพชฌงค์

             [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้สติสัม-
*โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและ
อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การกระทำ
ให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิด
ขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม
ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิริย-
*สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติ-
*สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติ-
*สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบนี้ นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่
ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (นิมิต
แห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็น
อาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา-
*สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
มิใช่อาหารของนิวรณ์

             [๕๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งโยนิโสมนสิการในอศุภนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิด
แล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจโตวิมุติมีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งโยนิโสมนสิการในเจโตวิมุตินั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความ
บากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะ
ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจมีอยู่ การ
กระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบใจนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
             [๕๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล
ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิด
แล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
มิใช่อาหารของโพชฌงค์

             [๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติ
สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สติ
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
และอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การ
ไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม
ความบากบั่น มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัม-
*โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติ-
*สัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปีติ-
*สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบ
จิต มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในความสงบนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่
การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิด
ขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
             [๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็น
อาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๑

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:05:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #309 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:12:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ปริยายสูตร

ปริยายนิวรณ์ ๕

             [๕๔๗] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตใน
พระนครสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เถิด ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญ-
*เดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณ-
*โคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕
อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเรา
ก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อัน
เป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความ
ต่างกัน ระหว่างธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของ
พวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
             [๕๔๘] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
พวกนั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาค.
             [๕๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัต
กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้า
วันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้า
กระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้
พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง
ปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอน
กำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรา
นี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณ-
*โคดมหรือของพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือ
อนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
             [๕๕๐] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความ
ของคำพูดนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค.
             [๕๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มี
วาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์
๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ? พวกอัญญ-
*เดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็น
บุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของ
ตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
             [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน?
             [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะใน
ภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันท-
*นิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก
ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้น
ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธ-
*นิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้น ก็เป็น
๒ อย่าง.
             [๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้
วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่างนี้.
             [๕๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?
             [๕๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติสัมโพชฌงค์
แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมา
สู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๑] แม้ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณา
ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลายในภายนอกที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความ
เพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มี
วิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้ความ
สงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดย
ปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิ
ที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้
โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
             [๕๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็นอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็น
๒ อย่าง.
             [๕๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.
จบ สูตรที่ ๒

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:05:47 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #310 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:13:25 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อัคคิสูตร

เจริญโพชฌงค์ตามกาล

             [๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม
อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า
ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
โพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะ
ยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
ตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
             [๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
*วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
             ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
             [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
             ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
             พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
จบ สูตรที่ ๓

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:06:05 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #311 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:14:38 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เมตตสูตร

พรหมวิหาร ๔

             [๕๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ หลิททว-
*สันนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปด้วยกัน เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคม ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไป
บิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคมก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญ-
*เดียรถีย์ปริพาชกเถิด.
             [๕๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า
             [๕๗๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้ว
จงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุก
หมู่เหล่า อยู่เถิด.
             [๕๗๖] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยกรุณา
อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ใน
ที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
             [๕๗๗] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา
อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ใน
ที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
             [๕๗๘] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา
อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่
ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
             [๕๗๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มา
เถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา
แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
กัน ฯลฯ
             [๕๘๐] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา
อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่
ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่าอยู่เถิด.
             [๕๘๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้ อะไรเป็นความแปลก
กัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความแตกต่างกัน ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือ
ว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับ
อนุศาสนีของพระสมณโคดม.
             [๕๘๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูด
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
             [๕๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสันนนิคม เวลา
ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             [๕๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคม ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความ
ดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยังหลิททวสันนนิคมก่อน ก็ยังเช้าอยู่ ถ้ากระไรเราพึง
เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.
             [๕๘๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า.
             [๕๘๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้ว
จงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า
อยู่เถิด.
             [๕๘๗] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา ...
             [๕๘๘] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
             [๕๘๙] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒
ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบ
ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป
ทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
             [๕๙๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มา
เถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้ว
จงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ เหมือนกัน
ฯลฯ
             [๕๙๑] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา ...
             [๕๙๒] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
             [๕๙๓] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา
อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่
ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
             [๕๙๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้ อะไรเป็นความแปลก
กัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า
ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนี.
ของพระสมณโคดม.
             [๕๙๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความ
แห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
เมตตาเจโตวิมุติ มีอะไรเป็นคติ

             [๕๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะ
อย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
กรุณาเจโตวิมุตติ ... มุทิตาเจโตวิมุตติ ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเป็นปัญหา ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ที่จะยัง
จิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต
หรือจากสาวกของตถาคต.
             [๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันสหรคตด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวัง
อยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญ
ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่ง
ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมี
ความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล
และในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว
วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง
เธอย่อมเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุติว่า มีสุภวิโมกข์เป็น
อย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็น
โลกีย์.
             [๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลใน
สิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึง
แยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย
มีสติสัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง
เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด
ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุติ ว่ามีอากาสานัญ-
*จายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอ
จึงยังเป็นโลกีย์.
             [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตา
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญ
ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวัง
อยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ก็ย่อมวางเฉยมีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ
เสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้น
ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.
             [๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไร
เป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญ
ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า
เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้า
หวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ
เสียโดยประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุติว่า มีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้น
ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงเป็นโลกีย์.
จบ สูตรที่ ๔
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:06:32 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #312 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:15:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สคารวสูตร

นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง

             [๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า.
             [๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่บุคคล
กระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็น
เวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
             [๖๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ สมัยใดแล บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน
ด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไปและไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่
บังเกิดแล้ว ตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์
แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
             [๖๐๔] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง
สีเขียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม
ความ เป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะ
เหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ
เป็นจริง ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์
บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการ
สาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
             [๖๐๕] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๐๖] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งร้อนเพราะไฟเดือดพล่าน มี
ไอพลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง
ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๐๗] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๐๘] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม
ไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อม
ไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๐๙] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ-
*กุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๑๐] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว
กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น
ตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ
อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ...
             [๖๑๑] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง
ประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่
กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
             [๖๑๒] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็นเปือกตม อันบุคคล
วางไว้ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ
เป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉา
เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ
เป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์
บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์ที่กระทำการ
สาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
             [๖๑๓] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้
นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.
             [๖๑๔] ดูกรพราหมณ์ ส่วนสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกาม-
*ราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง
ประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่
มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
             [๖๑๕] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันไม่ระคนด้วยสีครั่ง สีเหลือง
สีเขียว หรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตาม
ความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูก
กามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๑๖] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท
ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๑๗] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน
ไม่เกิดไอ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้
ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้ง
ไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็น
จริง ฯลฯ
             [๖๑๘] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ
ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิด
ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๑๙] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่ายและจอกแหนไม่ปก-
*คลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป
และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๒๐] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ-
*กุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความจริง ฯลฯ
             [๖๒๑] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมไม่พัดต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว
ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็น
ตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ-
*กุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๒๒] ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้น
แล้ว ตามความเป็นจริง ฯลฯ
             [๖๒๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว อัน
บุคคลวางไว้ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความ
เป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา ไม่ถูก
วิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง
ประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่
มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
             [๖๒๔] ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยาย
เป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.
             [๖๒๕] ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้ มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม
ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง
ผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูกรพราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และ
วิมุติ.
             [๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มี-
*พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ สูตรที่ ๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:06:53 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #313 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:16:30 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อภยสูตร

ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย

             [๖๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น
อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             [๖๒๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี
เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี
ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้ ใน
เรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร?
             [๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความไม่รู้
เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย.
             [๖๓๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความไม่รู้
เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย อย่างไร?
             [๖๓๑] พ. ดูกรราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะ
เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความ
ไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้ด้วยประการฉะนี้.
             [๖๓๒] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ...
             [๖๓๓] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ...
             [๖๓๔] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ-
*กุกกุจจะ ...
             [๖๓๕] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความ
ไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
             [๖๓๖] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร?
             พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์.
             อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างเดียว ครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ
เป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเล่า.
             [๖๓๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร?
             [๖๓๘] พ. ดูกรราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความ
เห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
             [๖๓๙] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการนี้.
             [๖๔๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร?
             พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์.
             อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็นอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างเดียว พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็น
จริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการที่ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ เล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้า
พระองค์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ แม้ความเหน็ดเหนื่อยกาย ความเหน็ดเหนื่อยใจ ของข้าพระองค์ ก็
สงบระงับแล้ว และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว.
จบ สูตรที่ ๖

-----------------------------------------------------

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

             ๑. อาหารสูตร       ๒. ปริยายสูตร        ๓. อัคคิสูตร
             ๔. เมตตสูตร         ๕. สคารวสูตร         ๖. อภยสูตร
จบ หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ โพชฌงค์แห่งสังยุต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:07:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #314 เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 11:40:38 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
(รอทำให้แจ้งขึ้นอีก)

นิวรณ์ ๕ คือสิ่งใด มันเป็นมโนสังขาร หรือจิตสัขาร หรือวิญญาณสังขาร หรือเจตนา ..เราติดค้างใจนี้มาก ก่อนนี้ได้เห็นว่ามันเป็นตะกอนของจิต มันอยู่ในจิต อีกประการ ก็เห็นว่ามันเ็นความคุ้นชินของจิต ความหมายรู้อารมณ์ของจิต ซึ่งอะนไหนเราไม่แน่ชัด วันนี้จึงได้มีโอกาสถามหลวงปู่บุญกู้ แต่ด้วยมีญาติโยมเยอะจึงมีโอกาสไม่ถึงนาทีถามตอบหลวงปู่ เท่าที่พอจะจำได้มีใจความที่หลวงปู่ตอบประมาณดังนี้

- เราได้เล่าอาการที่เราเห็นนิวรณ์ให้หลวงปู่ฟัง ถามหลวงปู่บุญกู้ว่าเจตนาเป็นนิวรณ์ไหมครับ เพราะมีช่วงปีก่อนนี้ประมาณวันที่ 6/1/60 ผมได้เห็นนิวรณ์ตอนนั่งสมาธิกรรมฐานกับหลวงปู่บุญกู้ คือ พอเมื่อผมนั่งสมาธิไปรวมจิตไว้ในภายในปล่อยให้จิตได้พัก เมื่อจิตสงบ จิตได้สมาธิ นิ่ง ว่าง แช่ มันเกิดนิมิตเหมือนเมฆหมอกจางๆพน้อมกับอาการหนึ่งความรู้สึกอะไรก็ไม่รู้เคลื่อนตัวรายล้อมแทรกซึมจิตตัวรู้อยู่ แต่จิตตัวรู้มันนิ่งเฉย แล้วทำแค่รู้ ไม่ทำอะไรกับมัน ไม่เสพย์ ไม่ผลัก ไม่เข้าร่วม ไม่ใก้ความสำคัญเกินกว่าทำแค่รู้สิ่งนั้น แล้วก็วูบแช่ แล้วรู้ตัวอีกทีมีอาการอยู่ดังเดิม จึงมีเจตนาขึ้นหมายรู้อารมณ์ว่ามันคืออะไร สักพักเข้าไปรู้ว่า มันหมองๆ เนือยๆ หน่วงๆ ตรึงๆ รายล้อมจิต พยายามเข้ามาเกาะ แทรกซึมจิต ปรกคลุม ห่อหุ้มรัดจิต บีบกดตัวรู้ให้ร่วงจมลง แต่ยังไม่รู้ว่าคืออะไรแค่รู้ชัดทั่วพร้อมอาการ พอเมื่อเกิดความจำได้หมายรู้ จึงเห็นชัดว่ามันคือนิวรณ์มันรายล้อมจิต พยายามแซกซึมเข้ามาอยู่ในจิต คือ อาการที่หดหู่ ห่อเหี่ยว จึงรู้ว่าแต่เริ่มเดิมทีเป็นเพียงอาการที่จิตเสวยอารมณ์ความรู้สึก แต่อาศัย ความหมายรู้อารมณ์ มีมโนสัญเจตนาเข้าไปรู้ในอาการน้นว่าคืออะไร หมายรู้อารมณ์ นิวรณ์ เกิดจากสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญา จิตสังขารเหล่าใด แต่จนแล้วจนรอดผ่านมา 1 ปี ผมก็ไม่ชัดแจ้งตัวตนของนิวรณ์ว่ามันคิออะไร อาการของจิต สัญญา เจตนา เป็นธัมมารมณ์อะไร

- หลวงปู่บุญกู้ท่านจึงสอนเราว่า..นิวรณ์ มันเป็นส่วนหนึ่งของจิต กามให้เห็นอสุภะ พยาบาทให้ใช้เมตตา (หลวงปู่พูดถึงนิวรณ์หดหู่ ฟุ้งซ่าน หลง แต่เราไม่ได้ยินเพราะหลวงปู่พูดเบามากได้ยินแค่กาม พยาบาท)



เมื่อกลับถึงบ้านเราให้หวนคำนึงถึุงเมื่อตอนกรรมฐานในทุกๆวัน ที่ข้ามพ้นมันได้ หนทางวิธีที่ใช้ เอามาประกอบกับคำสอนหลวงปู่แล้วลองเริ่มนั่งสมาธิใหม่ โดยหมายใจเข้าไปรู้นิวรณ์ ทำซ้ำๆบ่อยๆ พร้อมนึงถึงคำสอนหลวงปู่ ก็เกิดความแูกคิดถึงคำบางคำขึ้น ซึ่งคาดว่าเป็นคำที่หลวงปู่่สอนเรา แต่ยังไม่แน่ชัดเพราะไม่รู้ความคิดของคำนี้เกิดจากตนเองปรุงแต่งตามจริตตน หรือว่าจำได้ว่าหลวงปู่พูดจริงๆ (ส่วนนี้ไม่แน่ชัดไม่ได้ยินหลวงปู่พูด แต่เราตีความเองจากบางคำที่ได้ยินประกอบกับที่ตนเองเจอซึ่งไม่ใช่คำสอนหลวงปู่แบบตรงๆชัดเจนได้ดังนี้
..เราคาดคะเนจากความหน่วงนึกคิดที่เลิกลางจับต้นชนปลายไม่ถูกเพราะจะระลึกได้ว่าได้ยินคำใดจากหลวงปู่บ้าง เราจึงนึกคิดอนุมานเอาเองว่าหลวงปู่พูดถึงเรื่อง..นิวรณ์ ความหดหู่ ง่วงซึม ฟุ้งซ่าน หลง ได้ดังนี้ว่า
..ง่วง ห่อเหี่ยว หดหู่ ซึมเศร้า ใช้สติสัมปะชัญญะรู้ตัวตั้งใจมั่นไม่สัดส่าย ตามรู้เห็นตัวหดหู่ เห็นตัวซึ่มง่วงนี้
..ฟุ้งซ่าน ให้ตั้งสติสัมปะชัญญะรู้ตัวรู้กิจการงานที่ตนกำลังทำให้ปัจจุบัน ทำจิตให้ตั้งมั่นไม่ตามความคิด บริกรรมพุทโธ รู้ลมหายใจ รวมจิตลงสงบลงไว้ภายในจิต ไม่ติดสมมติความคิด (เหมือนเราตั้งสติไว้เฉพาะหน้าไมยึดสิ่งที่จิตรู้ เพราะล้วนเป็นสมมติทั้งหมด มีสมมติความคิดเป็นต้น รู้ด้วยคิดเมื่อไหร่ก็สมมติเมื่อนั้น แล้วรวมจิตลงไว้ในภายในให้จิตได้พัก) (เพราะวันนี้ 12/1/61 เรานั่งกรรมฐานกับหลวงปู่ เพราะฉี่บ่อยและเป็นหวัดไม่สบายกายใจ ทำให้เราฟุ้งซ่านมาก จึงฟังกรรมฐานแล้วตั้งสติไว้เฉพาะหน้ารวมจิตลงเกิดความคิดฟุ้งเราก็ระลึกในใจว่า..ละสมมติความคิดนั้นไปเสีย ปล่อยความคิดฟุ้งซ่านนั้นๆไปเสีย ช่างมันให้มันเป็นไปของมัน เราไม่สนมัน ความคิดไม่ใช่ใจ มาทำให้ใจเราฟุ้งซ่านวุ่นวายทำงานหนักให้เหนื่อยเปล่า เฉยกับความคิด ช่างความคิดมันปล่อย-ละ-วาง-เฉยกับความคิดเหล่านี้มันไปเสีย..ให้จิตเราได้พักเสียบ้าง แล้วระลึกรวมจิตลงหมายเพียงให้มันได้พัก จิตมันก็สงบ เราจึงอนุมานแบบนี้ นิวรณ์มันไม่ใช่จิตแต่เป็นส่วนหนึ่งของจิต)

คิดเอาเองไม่เห็นจริงว่า..เราคิดว่าละเจตนา ก็ละกรรม คือ ความคิด สัญญา นิวรณ์ได้ ละกิเลส หยาบ กลางได้

คิดเอาเองไม่เห็นจริงว่า.. เราคิดว่านิวรณ์เป็นสังโยชน์ 10 ละนิวรณ์ก็เท่ากับตัดสังโยชน์

อวิชชา เป็น สัญญาตัวรู้สมมติอุปาทานของจิต จิตยึดสัญญา รูปสัญญา โสตะสัญญา ฆานะสัญญา โผฐัพพะสัญญา ธัมมะสัญญา อาศัยผัสสะเกิดมีขึ้น อวิชชากาลก่อนจึงไม่มี แต่นี้ไปจึงมี



มหาสติปัฏฐาน ๔ และ โพชฌงต์ ๗ ใช้ฆ่านิวรณ์ ๕

1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ, ฌาณ) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

..สติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์

** ใช้ฆ่า หดหู่ เซื่องซึม ห่อเหี่ยว เบื่อหน่าย ง่วงนอน **



2. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ,,ฌาณ) เเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(สงบใจจากกิเลส) สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

** ใช้ฆ่า ฟุ้งซ่าน ซ่านไปในอดีตบ้าน อนาคตบ้าง ตามที่ยินดีบ้าง ตามที่ยินร้ายบ้าง ลงในกามราคะบ้าง ลงในความคับแค้น ผูกโกรธพยาบาทบ้าง **



3. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(กายคตาสติ, ธาตุ ๔, อสุภะ, นวสีวถิกาป่าช้า ๙, ฌาณ)เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

** ใช้ฆ่า กาม เหมือนฆ่าฟุ้งซ่านด้วยกามเกิดแต่ความดำริถึง ความหมายรู้อารมณ์สำคัญมั่นหมายของใจด้วยราคะ **



4. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ,,ฌาณ จาคะ ศีล เจตนาละเว้นด้วยเพรหมวิหาร ๔) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

** ใช้ฆ่า พยาบาท เหมือนฆ่าฟุ้งซ่านด้วยปฏิฆะ ปฏิฆะเกิดแต่ความขัดข้องแวะไม่ยินดีไม่เจริญใจทั้งหลาย ความหมายรู้อารมณ์สำคัญมั่นหมายของใจ **



5. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ปัญญาเห็นแจ้งในพระอริยะสัจ ๔

.. สติสมาธิสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ วิราคะสัมโพชฌงค์

** ใช้ฆ่า อวิชชา ความรู้แต่สมมติของปลอม เห็นแต่สมมติของปลอม ติดข้องหลงอยู่ ไม่รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ไม่เป้นตัวตนสมมติ ไม่ตื่นจากสมมติ หลงมัวเมาหมกมุ่นลุ่มหลงสมมติสุขแค่เนื่องด้วยกายแค่ติดข้องเวียนว่ายไม่มีสิ้นสุด **




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:08:06 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 12, 2024, 02:45:46 AM