เมษายน 19, 2024, 04:26:03 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม  (อ่าน 10364 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2014, 10:43:24 AM »

Permalink: บันทึกธรรม
ข้อความที่นำมานี้ มาจากการจดบันทึกธรรมที่ได้เล่าเรียนกับอาจารย์ในห้องเรียน ซึ่งเป็นข้อคิดข้อสังเกตที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจด้วยตัวเอง ตามวิสัยปุถุชนที่ยังไม่เข้าถึงความเป็นอริยะ แต่ก็มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เป็นแนวทางแก่ผู้มีปัญญาความสามารถได้นำไปต่อยอดความคิดความเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบความจริงอันถูกต้องเที่ยงแท้ในกาลต่อไป

***

บทบาลีอันว่าด้วยหลักสำคัญที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์กล่าวเป็นแบบเดียวกัน คือ


สพฺพปาปสฺส อกรณํ    กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํ        เอตํ พุทฺธานสาสนํ



     แปลว่า "การไม่ทำบาปทั้งปวง    การทำกุศลให้สมบูรณ์เพรียบพร้อม
               การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

******************

   เมื่อพระพุทธเจ้าท่านทรงวางหลักให้เราอย่างนี้ หน้าที่แรกสุดของเราจึงต้องทำการเรียนรู้ว่า อะไรคือ บาป ,อะไรคือ กุศล และอะไรคือ วิธีทำให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใส.

 
 เมื่อเข้าไปค้นดูในบทมาติกา บทแรกเลย ท่านกล่าวไว้ว่า กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา อพฺยากตาธมฺมา
ซึ่งจะเห็นได้ว่า มาติกาบทแรก เนื้อหาตรงกันกับหลักการของศาสนาพอดีเหมือนจับวางเอาไว้  

 ฤา..ว่า คำตอบของ สพฺพปาปสฺส อกรณํ    กุสลสฺสูปสมฺปทา ก็คือ  กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา












บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2014, 10:06:37 PM »

Permalink: บันทึกธรรม
กุสลาธมฺมา คือ ธรรมที่เป็นกุศล ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ คือ

มหากุศลจิต ๘
รูปาวจรกุศลจิต ๕
อรูปาวจรกุศลจิต ๔
มัคคจิต ๔

อธิบาย .
มัคคจิต ๔ ได้แก่ โสดาปัตติมัคคจิต  สกทาคามิมัคคจิต  อนาคามิมัคคจิต อรหัตตมัคคจิต

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ได้แก่ อรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต  วิญญาณัญจายตนฌานจิต  อากิญจัญญายตนฌานจิต เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต

รูปาวจรกุศลจิต ๕ ได้แก่ รูปฌาน ๕ คือ รูปปฐมฌานจิต  รูปทุติยฌานจิต  รูปตติยฌานจิต  รูปจตุถฌานจิต  รูปปัญจมฌานจิต

มหากุศลจิต ๘ ได้แก่ จิตที่เป็นกุศลในการทำ ทาน ศีล ภาวนา มี บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ,สุจริต ๑๐ ,บารมี ๑๐ ดังนี้

 บุญกิริยาวัตถุ
        ๑.   ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
        ๒.   สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
        ๓.   ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
        ๔.   อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
        ๕.   ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
        ๖.   ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
        ๗.   ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
        ๘.   ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
        ๙.   ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
        ๑๐.   ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง


สุจริต หรือ กุศลกรรมบถ  10  หรือ ทางแห่งการทำความดี  10  ประการ   ได้แก่

1)  กายสุจริต 3  คือการทำความดีทางกาย  3  อย่าง ได้แก่
     1.1  ไม่ฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต แต่รักใคร่ เอ็นดู (เมตตา-กรุณา)
     1.2   ไม่ลักขโมย แต่ประกอบอาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ)
     1.3  ไม่ประพฤติผิดในกาม แต่รักเดียวใจเดียว  (สทารสันโดษ)

2)  วจีสุจริต 4  คือ การทำความดีทางวาจา 4  ประการ ได้แก่
     2.1  ไม่พูดโกหก แต่พูดคำสัตย์ คำจริง (สัจจะ)
     2.2  ไม่พูดส่อเสียดให้แตกแยก แต่พูดให้เกิดความสามัคคี (อปิสุณวาจา)
     2.3  ไม่พูดคำหยาบ แต่พูดคำสุภาพ ไพเราะ  (อผรุสวาจา)
     2.4  ไม่พูดเพ้อเจ้อ  ไร้สาระ แต่พูดสิ่งที่มีประโยชน์ (อสัมผัปปลาปะ)
 
3)  มโนสุจริต  3  คือ ความคิดดี ที่เกิดขึ้นในใจ  3  ประการ ได้แก่
     3.1  ไม่คิดโลภ อยากได้ของผู้อื่น (อนภิชฌา)
     3.2  ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น  (อพยาบาท)
     3.3   มีความคิดเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (สัมมาทิฏฐิ)


บารมี 10 หรือ ทศบารมี
1. ทาน (การให้ การเสียสละ )
2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย )
3. เนกขัมมะ (ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม,การออกบวช )
4. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง )
5. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ )
6. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความ
       ประพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส )
7. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ )
8. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่ )
9. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ )
10. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบชัง )

ทั้ง ๓๐ มีการปฏิบัติ เป็น ๓ ระดับ คือ ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นปราณีตสูงสุด จึงกลายเป็น ๓๐ คูณ ๓ เป็น ๙๐
เรียกว่า อุปนิธภัณฑ์ ๙๐  นั่นเอง (ทรัพย์ที่ฝากไว้ในขันธสันดานแห่งตนเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน)


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2014, 11:33:26 AM »

Permalink: บันทึกธรรม
ว่าด้ว รูปนาม ขันธ์๕ วิญญาณนำเกิด

รูปขันธ์ ได้แก่ รูป๒๘ มี มหาภูตรูป๔ อุปทายรูป ๒๔

นามขันธ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก
สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก
สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิกที่เหลือทั้งหมด ๕๐
วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด ๘๙

ในจิต ๘๙ แบ่งได้เป็น  อกุศลจิต ๑๒ , กุศลจิต ๒๑ , วิบากจิต ๓๖ , กิริยาจิต ๒๐

ในวิบากจิต ๓๖ เป็น จิตที่นำเกิดได้มี ๑๙ ดวง คือ มหาวิบากจิต ๘ , รูปวิบากจิต ๕ , อรูปวิบากจิต ๔ , และ สันตีรณวิบากจิต ๒
โดยนำเกิดในภูมิต่างๆดังนี้

สันตีรณวิบากจิต ๒ ดวง ดวงหนึ่งเป็น อกุศลวิบาก นำเกิดใน อบายภูมิ ๔ , อีกดวงเป็น กุศลวิบาก นำเกิดใน มนุษย์ที่พิการ หรือ เทวดาชั้น จาตุมฯที่ไม่มีอานุภาพ

มหาวิบากจิต ๘ นำเกิดในสุคติภูมิ๗ คือ มนุษย์ และ เทวดา๖ชั้น

รูปวิบากจิต ๕ นำเกิดใน รูปพรหม ๑๕ ชั้น ตามลำดับของ ฌานจิต ที่ได้

อรูปวิบากจิต ๔ นำเกิดใน อรูปพรหม ๔ ชั้น ตามลำดับของ อรูปฌานจิต ที่ได้

************

อกุศลจิต ๑๒ สร้างผลเป็น  อกุศลสันตีรณวิบากจิต

มหากุศลจิต ๘ อย่างอ่อน สร้างผลเป็น กุศลสันตีรณวิบากจิต

มหากุศลจิต ๘ อย่างเข้มแข็ง สร้างผลเป็น มหาวิบากจิต ๘

รูปาวจรกุศลจิต ๕ สร้างผลเป็น รูปาวจาวิบากจิต ๕ (ตามฌานที่ได้)

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ สร้างผลเป็น อรูปาวจาวิบากจิต ๔ (ตามฌานที่ได้)

มัคคกุศลจิต ๔ สร้างผลเป็น ผลจิต ๔ (ตามมัคค์ที่ได้) ให้ผลทันทีโดยไม่ต้องรอนำเกิด

***********

จิตที่สร้างผลวิบากในการนำเกิด จึงมี อกุศลจิต ๑๒ , มหากุศลจิต ๘ , รูปาวจรกุศลจิต ๕ , อรูปาวจรกุศลจิต ๔
รวมกันเป็น ๒๙ ดวง


   









บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 02, 2015, 10:23:29 PM »

Permalink: บันทึกธรรม
ว่าด้วย อวิขขา สังขาร วิญญาณ

อวิชชา ย่อมเกิดกับบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์ทุกคน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทุกคนมีอวิชชา(เว้นพระอรหันต์)

เมื่อมี อวิชชา แล้วการกระทำใดๆ ทาง กาย วาจา ใจ ย่อมอยู่ใน เจตนากรรม ๒๙ ซึ่งเป็นสังขาร แล้วทำให้เกิดวิบากคือ วิบากวิญญาณจิต ๑๙ ที่นำไปเกิดในภพภูมิต่างๆ

เขียนให้เข้าใจง่ายๆคือ อวิชชา จึงเกิด สังขาร ๓ ทำให้เกิด วิญญาณ ๑๙


สังขาร มี ๓ คือ
ปุญญาภิสังขาร คือ เจตนาในกุศลจิต ๑๓ คือ มหากุศลจิต ๘ , รูปาวจรกุศลจิต ๕

อปุญญาภิสังขาร คือเจตนาในอกุศลจิต ๑๒

อเนชาภิสังขาร คือ เจตนาในอรูปาวจรกุศลจิต ๔

เกิด วิบากวิญญาญจิต ๑๙ ดังนี้

อกุศลจิต ๑๒ สร้างผลเป็น  วิบากวิญญาณจิต ๑ ดวง นำเกิดใน อบายภูมิ ๔

มหากุศลจิต ๘  สร้างผลเป็น วิบากวิญญาณจิต ๙ ดวง นำเกิดใน มนุส และ เทวภูมิ ๖

รูปาวจรกุศลจิต ๕ สร้างผลเป็น วิบากวิญญาณจิต ๕ ดวง นำเกิดใน รูปภูมิ ๑๖ (ตามฌานที่ได้)

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ สร้างผลเป็น วิบากวิญญาณจิต ๔ ดวง นำเกิดใน อรูปภูมิ ๔ (ตามฌานที่ได้)

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 09:57:35 AM