เมษายน 20, 2024, 08:07:00 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิบัติตนหนีนรก  (อ่าน 6322 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พิชญ์สินี
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 55
กระทู้: 13
สมาชิก ID: 2879


« เมื่อ: ธันวาคม 27, 2014, 12:52:13 PM »

Permalink: ปฏิบัติตนหนีนรก
ตอนที่ 1
            ปฎิบัติตนหนีนรกนี้ ยึดสังโยชน์ 3 ประการเป็นพื้นฐาน สังโยชน์ 3 ประการเป็นพื้นฐาน สังโยชน์ 3 ประการ คือ
             1.สังกายทิฎฐิ
             2.วิจิกิจฉา
             3.สีลัพพตปรามาส

             สังโยชน์ 3 ประการนี้ สำหรับข้อที่ 1 คือ สักกายทิฎฐิ ตามแบบท่านอธิบายไว้ในหลักสูตรนักธรรมชั้นโท เป็นคำอธิบายถึงอารมณ์พระอรหันต์ ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับคือ ใช้อารมณ์ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุด
             อารมณ์ขั้นต้นนั้น ให้ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือ มีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลในโลกนี้จะทรงชีวิตได้ตลอดกาลไปคู่กับฟ้าดิน ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด แต่ท่านให้ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือ มีความรู้สึกไว้เสมอว่า ความตายไม่ใช่จะมาถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้คิดว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิตจะได้รีบรวบรวดปฏิบัติความดีไว้ การทำความดีหมายถึง พูดดี ทำดี คิดดี รวม 3 ดีนี้ถ้ามีเป็นปกติประจำวัน เมื่อยังไม่ตาย ยังอยู่เป็นคนก็เป็นคนดี ถ้าตายเมื่อไหร่ ตายแล้วท่านเรียกว่า เป็นผี ก็เป็น ผีดี คือทิ้งความดีไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังยังบูชา
             อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด ร่างกายคนและสัตว์ มีสิ่งที่น่ารังเกียจฝังอยู่ก็คือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่มีใครบอกว่าเป็นของสะอาด แต่ก็มีประจำร่างกายทุกคน วัตถุต่าง ๆ ที่เราเห็นว่าเป็นของดีมีค่า ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ถ้าไม่ค่อยทำความสะอาด เช็ด ล้าง มันก็เกิดอาการสกปรก มีแต่ความมัวหมอง เป็นของที่ไม่พึงปรารถนา เมื่อมีความรู้สึกตามนี้ ก็พยายามทำอารมณ์ให้ทรงตัวจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด ไม่ยึดถือว่าร่างกายใดเป็นที่น่ารักน่าปรารถนา
             อารมณ์ขั้นสูงสุด มีความรู้สึกตามนี้ คือมีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภทเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
             ที่กล่าวมานี้ เพื่อบอกให้รู้ถึงลักษณะของสักกายทิฎฐิเท่านั้น ความมุ่งหมายคือต้องการความรู้สึกเพียงแค่อารมณ์ขั้นต้นเท่านั้น เพราะมีอารมณ์เพียงขั้นต้นทุกคนก็พ้นอบายภูมิแล้ว คือถ้าจะมีการเกิดอีก อย่างช้าก็เป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ อารมณ์เข้มแข็งอย่างกลางเกิดเป็นมนุษย์อีก 3 ชาติ ถ้าอารมณ์เข้มแข็งมากเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ต่างก็ไปนิพพานหมด จะมีการเกิดได้เพียงมนุษย์สลับกับเทวดา หรือพรหมเท่านั้น ไม่มีการลงอบายภูมิ 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน 4 ภูมินี้ไม่ลงไปอีก แม้บาปเก่าจะสั่งสมไว้เท่าไรก็ตามทีบาปไม่มีโอกาสจะดึงลงอบายภูมิได้ เพราะบุญคือความดี มีกำลังเข้มแข็งกว่า แต่ต้องปฏ่ิบัติให้ครบถ้วนทั้ง 3 ข้อของสังโยชน์ ความจริงก็ไม่มีอะไรหนัก ถ้าตั้งใจทำจริงและคอยระวังไม่ได้พลั้งพลาด ใหม่ๆ อารมณ์เก่ายังเกาะใจ ก็อาจจะมีการพลั้งพลาดบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าระวังไว้เป็นปกติ ไม่เกิน 3 เดือน อารมณ์ก็ทรงตัว ต่อไปนี้ก็ยิ้มเยาะอบายภูมิได้เลย บาปหมดหวังวที่จะทวงหนี้ เอาไปชดใช้หนี้สินในอบายภูมิอีกต่อไป มีทางเดียวคือ เดินทางไปนิพพาน

ปฏิบัติสังโยชน์ 3
[/b]ประการ

              สังโยชน์ 3 ประการนี้มีการปฏิบัติอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับอ่อน กับ ระดับเข้มข้น จะพูดถึงการปฏิบัติระดับอ่อนก่อน ระดับอ่อนนี้พ้นอำนาจบาปแล้วไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะไปนรก เป็นต้น ให้ปฏิบัติกันดังนี้
              1.ตื่นขึ้นเช้ามืด มีความรู้สึกประจำอารมณ์ว่า เราอาจจะตายวันนี้ก็ได้ เราต้องรวบรัดปฏิบัติเฉพาะความดี ทำตนหนีความชั่ว คือ
              2.พิจารณาความดีของ พระพุทธเจ้า พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยปัญญา พิจารณาดูว่าท่านดีพอที่เราจะยอมรับนับถือไหม ถ้ามีปัญญาพิจารณาแล้วว่าดีพอที่จะยอมรับนับถือได้ ก็ตัดสินใจยอมรับนับถือ ด้วยความจริงใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน สิ่งใดที่ท่านให้เราละ เราไม่ทำ สิ่งใดที่ท่านแนะนำให้ทำ เราทำตามด้วยความเต็มใจ
              3.สังโยชน์ข้อที่ 3 พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นหลักปฏิบัติ

สรุปอารมณ์หนีนรก

               สรุปแล้ว อารมณ์ หรือการปฏิบัติตนหนีนรก จนนรกตามไม่ทันต่อไปทุกชาตินั้น มีอารมณ์โดยย่อดังนี้
               1.มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตายแน่
               2.ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
               3.ฆราวาสมีศีล 5 ทรงอารมณ์เป็นปกติ
               เพียงเท่านี้ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เราผ่านได้ไม่ต้องไปอยู่หรือเกิดในเขตนี้อีกต่อไป ถ้าจะถามว่า บาปกรรมที่ทำแล้วไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องตอบว่ายังอยู่ครบ แต่เอื้อมมือมาฉุดกระชากลากลงไม่ถึง เพราะกำลังบุญ มีกำลังสูงกว่าบาป บาปหมดโอกาสที่จะลงโทษต่อไป สาธ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กันยายน 13, 2022, 09:46:26 PM