เมษายน 20, 2024, 07:25:40 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดคาถา พระไตร ปิฏกแล้วขนพอง  (อ่าน 7048 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุนัน
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 43
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 3050


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 10:21:54 AM »

Permalink: สวดคาถา พระไตร ปิฏกแล้วขนพอง
เป็นเพราะอะไร  ผมสวดหลายวันผ่านมาไม่มีอะไร   แต่พอตั้งไจออกเสียงอย่างจริงจัง  รู้ศึกขนพอง  เหมือนมีไครมาอยู่ข้างๆ  ผมสวดผิดหรือเปล่าครับ  ก่อนสวดผมต้องทำอย่างไร   สวดเสร็จผมต้องท่องบทไหนปิดท้าย  หรือว่าแผ่เมตตาอย่างไรครับ




บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2016, 10:32:07 PM »

Permalink: สวดคาถา พระไตร ปิฏกแล้วขนพอง
เปลี่ยนมาสวด ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ได้บุญกว่าครับ
บันทึกการเข้า

เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2016, 09:25:12 AM »

Permalink: สวดคาถา พระไตร ปิฏกแล้วขนพอง
เขาเรียกติดสมมติ หลงไปในสิ่งไม่จริง
นอกจาก ศีล และ ทาน ที่เป็นบาทฐานให้ภาวนาแล้ว การสวดมนต์ก็เป็นบาทฐานให้แก่การภาวนาเช่นกัน ยิ่งสวดมนต์ด้วยรู้คำแปลยิ่งทำให้จิตเราสะสมเหตุการภาวนาทั้ง สมถะและวิปัสสนาได้ไว

     สวดมนต์ท่านให้มีสติรู้ว่าสวดมนต์ถึงตรงไหน วรรคไหน รู้ตัวว่าสวดมนต์ สวดเป็นทำนอง พร้อมเพียง จิตรู้แนบอารมณ์เนื้อความบทสวดมนต์นั้น ทำจิตให้จดจ่ออยู่ในบทสวดโดยส่วนเดียวได้นาน ไม่ส่งจิตออกนอกไปติดสมมตินั่น โน่น นี่ ทำได้ก็เป็นภาวนา ทำไม่ได้เป็นเพียงท่องบ่น
     หากทำเป็นจิตเดียวได้ จะเกิดวูบหนึ่งเหมือนมีกำลังอัดทุกอนูรูขุมขน ไม่วอกแวก สงบ เป็นที่สบาย ปากมันก็ท่องบ่นไป เมื่อจิตแนบอารมณ์กับเนื้อความเรื่องราวที่สวด(คนรู้ความหมายบทสวด) จิตมันเป็นอารมณ์เดียวหน่วงนึกนิ่งแช่อยู่ในกิริยาอาการที่มีต่อบทสวดมนต์อยู่นั้นไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแทรง ปากที่ขมุบขมิบเสียงสวดมนต์หรือความตรึกถึงบทสวดแยกจากจิตที่ตั้งมั่นมีกำลังอัดแน่น มีกำลังมากจนเหมือนกายนี้เล็กเกินไม่พอแก่กำลังของจิตนั้น ทำให้เหมือนจิตตั้งตรงกลางกายเราเหวี่ยงเอนไปด้วยกำนั้นบ้าง หรือเหมือนกายเราขยายใหญ่ขึ้นบ้าง หรือเหมือนจิตเราไม่อยู่ในกายแต่ลอยตั้งอยู่ด้านบนเหนือกาย เพ่งเอากิริยาอาการที่แผ่เอาความหน่วงนึกตามบทสวด หรือเพ่งดูอาการของกายและความรู้สึกที่เกิดขึ้นบ้างโดยไม่ตรึกนึกคิดตามอาการที่เกิดขึ้น แต่จิตมีความผ่องใสโล่งสบายบ้างเหมือนมีกำลังโอบอุ้มกายใจเราไว้อยู่ไม่ให้กวัดแกว่งหวั่นไหวตั้งอยู่แม้มีอาการนั้นๆเกิดขึ้น จิตจะเดินเคลื่อนเข้าปฐมฌาณ โดยมีธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นเป็นอารมณ์ เรียก ธัมมานุสสติ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า ปัจจัตตัง สิ่งที่ผู้รู้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้..

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2016, 11:00:46 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 29, 2024, 03:40:59 AM