เมษายน 19, 2024, 08:10:02 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยมกปกรณ์  (อ่าน 7772 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
๑ บาท
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 57
สมาชิก ID: 2008


« เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2017, 10:06:32 PM »

Permalink: ยมกปกรณ์
ยมก หรือยมกปกรณ์ เป็นหนึ่งในคัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎก คำว่า ยมก แปลว่า "คู่"
โดยการนำธรรมมาคู่หนึ่งๆ ตั้งเป็นคำถาม(ปุจฉา)  แล้วตอบ(วิสัชนา) ทั้ง อนุโลม(ถามหน้าไปหลัง)
และ ปฏิโลม(ถามกลับหลังมาหน้า)

ในคัมภีร์ยมกมีทั้งสิ้น 10 หลักธรรม อันได้แก่
 มูล ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย จิตตยมก ธรรมยมก  อินทรียยมก
 
----------------
ในจิตตยมก ข้อ ๔๘

ปุจฉา... ยสฺส  จิตฺตํ  นิรุชฺฌติ  ตสฺส  จิตฺตํ นิรุชฺฌิตฺถาติ:

วิสัชนา... อามนฺตา ฯ

คำแปล..

ถาม...จิตของบุคคลใดกำลังดับ  จิตของบุคคลนั้นเคยดับแล้วใช่ไหม

ตอบ...ใช่

-------------
ในจิตตยมก ข้อ ๔๙

ปุจฉา... ยสฺส   จิตฺตํ   อุปฺปชฺชติ   ตสฺส   จิตฺตํ   นิรุชฺฌิตฺถาติ:

วิสัชนา...อามนฺตา  ฯ

คำแปล...

ถาม... จิตของบุคคลใดกำลังเกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นเคยดับแล้วใช่ไหม
            
ตอบ... ใช่

-------------
จากในพระไตรปิฏกปกรณ์นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า จิตของบุคคลใดก็ตามต่างเคยดับมาแล้วทั้งสิ้น
เป็นการยืนยันว่า จิตมีการเกิดดับตลอดเวลา มิได้เป็นอมตะถาวรดังที่บางคนเข้าใจ

-----------
ใน อัสสุตวาสูตร ความว่า

 ภิกษุทั้งหลาย .   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ    พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔  นี้    โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า    ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตาไม่ประเสริฐเลย

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้  เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒  ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง  ๔ ปีบ้าง ๕  ปีบ้าง
๑๐ ปีบ้าง  ๒๐ ปีบ้าง  ๓๐ ปีบ้าง  ๔๐ ปีบ้าง  ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐  ปีบ้าง  หรือเกินกว่าบ้าง    ก็ยังปรากฏ

       ส่วนสิ่งที่ ตถาคตเรียกว่า ‘จิตบ้าง    มโนบ้าง    วิญญาณบ้าง’    จิตเป็นต้นนั้น  ดวงหนึ่งเกิดขึ้น    ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน    เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็กและป่าใหญ่จับกิ่งไม้    ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว    ย่อมจับกิ่งอื่น    ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไป   

 ฉะนั้น    ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า    ‘จิตบ้าง    มโนบ้าง    วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น    ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2017, 10:29:42 PM โดย ๑ บาท » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2017, 05:47:43 AM »

Permalink: ยมกปกรณ์
สาธุ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 12, 2024, 02:27:13 PM