เมษายน 19, 2024, 09:01:45 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจอริยะสัจ 4  (อ่าน 8251 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 08:14:05 AM »

Permalink: หัวใจอริยะสัจ 4
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความโศรกเศร้าร่ำไรรำพัน ความคับแค้นกายใจ ทั้งหลาย
สิ่งนี้เป็นผล
สมุทัย คือ เหตุแห่งการเกิด มีปัจจัยความดำเนินไป เป็นไป ทั้งกายและใจ ผลที่ได้รับ คือ ทุกข์
นิโรธ คือ คือความความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้ดับทุกข์สิ้นแล้ว เมื่อเริ่มเห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย ใจเราก้อมองมองเห็นทางหลากหลายในการดับทุกข์ หากยังดับทุกข์ไม่ได้ เพิ่งแค่เห็นทาง นิโรธะคามี นี้ ก้อจะยังเป็นแค่ในอุดมคติ ที่คิดว่าเมื่อดับได้เล้วจะเกิดความสุขเช่นนี้ๆขึ้น จวบจนดับได้จริง ถึงจะเข้า นิโรธ ได้อย่างแท้จริง
มรรค คือ ทางแห่งการพ้นทุกข์ เป็นแนวทางการปฏิบัติ ว่าโดยย่อจากพระสูตร ในสติปัฎฐาน อันว่าด้วนเรื่องมรรคนั้น คือ ศ๊ล สมาธิ ปัญญา ทำให้เราเกิดความตั้งใจ ความเพียร มีปัญญาเห็นแก้ จะทำได้ง่าย เมื่อมีสมาธิเกิด 3 สิ่งนี้จะแยกกันไม่ได้ หากแยกกันแล้ว สิ่งใดๆ ก็ไม่เกิดผลเมื่อปฎิบัติ

ว่าโดยย่อ
ทุกข์ทั้งหลาย แม้จริตหลากหลาย เกิดขึ้นได้โดยส่วนเดียว คือ โทสะ โมหะ โลภะ ราคะ เป็นใหญ่ เกิดขึ้นในใจ มีความปารถนา ความประสบสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพรัดพรากทั้งหลายตามเหตุ (สมุทัย) ดังนี้
เหตุแห่งทุกข์(สมุทัย) ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะว่า เรานั้น มีความพอใจยินดี เมื่อพอใจยินดี ก้อเกิดความสำคัญมั่นหมายไว้ ว่าสิ่งนี้เราชอบ เราพอใจ ทำให้เกิดความทะยานอยาก ความอยากมีอยากเป็น ความนึกถึงตลอดเวลา(ภวะตัณหา) เมื่อมีสิ่งที่พอใจ ก้อมีความไม่พอใจตามมา เกิดความไม่ชอบ รังเกลียด กลัว เกิดความไม่อยากได้ ไม่ต้องการ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ตามมา (วิภวะตัณหา)
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ที่ดับสิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง แต่ก่อนนั้น เมื่อเราเห็นเหตุ เราจะเห็นทางดับทุกข์ก่อน ซึ่งมีมากมายหลากหลาย ซึ่งคือมรรค 8 แต่ละอารมณ์ แต่ละจริต อาจใช้วิธีต่างกัน เมื่อกระทำตามทางที่เห็น จนเราดับได้โดยสิ้นเชิงจะเจอนิโรธที่แท้จริง
มรรค คือ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ เมื่อเราเห็นสมุทัย เราจะเห็นทางแห่งการดับทุกข์มากมายเยอะแยะ แต่จะมีแค่ไม่กี่ทางที่จะดับได้จริงตามจริตเรา แต่โดยส่วนมาก ไม่ว่าจริตใดๆ เกิดมาจาก ความสำคัญมั่นหมายไว้ ความทะยานอยาก ความนึกถึงตลอดเวลา เรียกว่า ความตรึกถึง เราต้องละความตรึกถึงให้ได้ และจะละความตรึกถึงได้นั้น ต้องละความพอใจยินดีให้ได้ก่อน หากเราละความพอใจยินดี ที่มั่นสำคัญไว้ ก้อจะไม่เกิดความไม่พอใจ ไม่ยินดี ไม่สุข ไม่ทุกข์ แนวทางนั้น เริ่มจากเรารู้ศีล ปฏิบัติในศีลได้ มีสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงปัญญาการแก้ไขได้ทุกเรื่อง จากนั้นให้เรียนรู้  ทาน และ พรหมวิหาร 4 ดังนี้คือ
เมตตา(ความปารถนา(ความรักก็ว่าได้)โดยที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน)
กรุณา(ความอยากเห็นคนอื่นพ้นทุกข์)
มุทิตา(มีความสุขพอใจยินดีเมื่อเขาพ้นทุกข์ แม้จะเป็นศัตรูก็ตาม)
อุเบกขา (คือความไม่ยินดี ยินร้าย ไม่สุข ไม่ทุกข์ วางเฉย เป็นผลมาจาก ทำได้ตาม ศีล สมาธิ ทาน เมตตา กรุณา มุทิตา แล้ว)
เมื่อรู้ดังนี้ ให้พิจารณาถึง
โสมนัส ๒ คือ ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์ ๑ และ ความพอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์ ๑
โทมนัส ๒ คือ ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์ ๑ และ ความไม่พอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์ ๑
อุเบกขา ๒  คือ ความวางเฉยที่ควรเสพย์ ๑ และ ความวางเฉยที่ไม่ควรเสพย์ ๑

ส่วนการปฎิบัติในข้อนี้นั้น ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณา ถึง ข้อดี ข้อเสีย ผลที่จะตามมา ทุกอย่างจึงมีให้พิจารณษ ๒ อย่าง คือควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์

ลองพิจารณาดูครับ สิ่งนี้เป็นหัวใจหลักสำคัญ ที่พระตถาคตกล่าวตรัสสอน ทุกพระสูตร (พระสูตรทั้งหลายโดยมากใจความหลักคือสิ่งนี้ครับ)

ที่มา www.dhammakid.com




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 01:02:39 PM