เมษายน 20, 2024, 12:25:01 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คาถาบูชาพระพิฆเณศ  (อ่าน 6962 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 11:53:26 AM »

Permalink: คาถาบูชาพระพิฆเณศ
คาถาบูชาพระพิฆเณศ
โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม

ลักษณะทางประติมากรรมของพระพิฆเณศ

พระคเณศนั้นมีหลายปาง และมีให้เลือกสรรการบูชาตามความเหมาะสม แต่ภาพโดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศียรก็ดี สัตว์พาหนะ ตลอดจนถึงเครื่องประดับและอิริยบทต่างก็ดี พอจะแยกได้ดังนี้

เศียร
พระคเณศมีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียว ไปจนถึง 2-5 เศียร
ซึ่งปาง 5 เศียรนี้นิยมใช้ในปางเหรัมภะซึ่งแพร่หลายในอินเดียและเนปาล ส่วนพระคเณศในแบบของคนไทยนั้นจะมีเพียงเศียรเดียวเท่านั้นส่วนใหญ่แล้ว
พระคเณศจะมีเพียงสองตาเท่านั้น ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผาก (บ้างใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน ) นิยมใช้ในลัทธิตันตระที่ชัดเจนมากเห็นจะเป็นพระพิฆเณศวร์ในศิลปะแบบธิเบต
นอกจากนี้บริเวณหน้าผากทั่วไป อาจจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยว
หรือเส้น 3 เส้นตามลักษณะของไศวะนิกาย หรือพระเศียรอาจจะสวมมงกุฎชนิดแบบราบ(กรัณฑมุกุฎ) หรือสวมชฎาทรงสูงก็ได้ ส่วนงานั้น จะมีเพียงงาเดียวข้างขวาเท่านั้นส่วนงาข้างซ้ายนิยมทำหักไว้

งวง
มีลักษณะที่ห้อยตรงแต่ส่ายปลายไปทางซ้ายหรือขวาแต่ที่นิยม
คือหันงวงไปทางซ้าย และหยิบขนม
บตะสะ (โมทกะ)จากถ้วยขนมที่ถืออยู่ในซ้ายมือ
หรือบางทีก็เป็นพวกผลไม้ป่า

กร
มีจำนวนกรตั้งแต่ 2-4 เรื่อยขึ้นไปถึง 10 กว่ากรหรือมากกว่านั้น สัญลักษณ์ที่ถือตามพระกรต่าง ๆเช่น งาหัก,ผลมะนาว, ผลไม้ป่า,มะขวิด,ลูกหว้า,หัวผักกาด,ขนมโมทกะ,
ผลทับทิม,ส่วนอาวุธนั้นมีมากมายอาทิ ขวาน,บ่วงบาศ,ดาบ,ตรีศูล ฯลฯ สิ่งอันเป็นมงคล เช่น สังข์,แก้วจินดามณี,ครอบน้ำ ฯลฯ

ท่าทาง
พระคเณศในยุคแรกนั้นจะเป็นพระคเณศ
ในรูปแบบของการยืนเสียเป็นส่วนใหญ่
จากนั้นจึงได้พัฒนาเป็นการนั่ง ซึ่งมีการนั่งถึง 4 ลักษณะด้วยกันคือ
1. ท่ามหาราชลีลา หรือเข่าข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างหนึ่งงอพับบนอาสนะ (ซึ่งมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12)
2. นั่งขาไขว้กัน
3. นั่งห้อยพระบาทข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างวางพับอยู่บนอาสนะ
4. นั่งโดยขาทั้งสองพับอยู่ทางด้านหน้า ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ชิดกัน (ศิลปชวา,บาหลี)

เครื่องประดับ
ในยุคแรกไม่นิยมการทรงเครื่องประดับต่อมาจึงเริ่มมีเครื่องทรงมากขึ้น เริ่มจากสายยัชโญปวีต (สายศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ บางทีก็เป็นงูธรรมดา ส่วนผ้าที่นุ่งนั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่สร้างรูปเคารพส่วนเครื่องทรง
นั้นมีการเพิ่มเติมมากขึ้นเช่น มงกุฏ ,สร้อยคอ,สร้อยข้อมือ,สร้อยข้อเท้า,สร้อยกระดิ่ง

พาหนะ เท่าที่พบในปัจจุบันมีเพียง หนู นกยูงและสิงโตเท่านั้น




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 27, 2024, 02:38:53 PM