เมษายน 20, 2024, 06:57:06 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กสิณ ๑๐  (อ่าน 22301 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 09:51:08 AM »

Permalink: กสิณ ๑๐
กสิณ ๑๐
กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันคือ
๑. ปฐวีกสิณ เพ่งดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งนํ้า
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิณ เพ่งลม
๕. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว
๖. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๗. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
๘. โอทากสิณ เพ่งสีขาว
๙. โอโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาสกสิณ เพ่งอากาศ

ปฐวีกสิณ
กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน"
กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"

อุปกรณ์กสิณ
ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปการณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำ ให้เตียนสะอาด
จากผงธุลี หรือจะทำ เป็นสะดึงยกไปมาได้ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำ เป็นดวงกสิณนั้น
ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำ เป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอา
ดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับได้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหา
ได้จากดินขุยปุย เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปาช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำ สะดึง
ตามขนาดดังนี้ ถ้าทำ เป็นลายติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

ขนาดดวงกสิณ
วงกสิณที่ทำ เป็นวงกลมสำ หรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำ ไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว
อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว ตั่งที่รอ
งวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็น
รอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำ หนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำ แต่สีดิน
ท่านไม่ให้คำ นึงถึงของและริ้วรอยต่างๆ

กิจก่อนการเพ่งกสิณ
เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำ ระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั้งสำ
หลับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการตามนัยที่กล่าวไว้ในอสุภกรรมฐาน ต้องการ
ทรายละเอียดโปรดเปิดไปที่บทว่าด้วยอสุภกรรมฐานจะทรายละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณ
จนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จดจำ ให้ดีจนคิดว่าจำ ได้ ก็กลับตาใหม่
กำ หนดภาพกสิณไว้ในใจภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพกสิณเลือนไปก็
ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำ ได้แล้วก็หลับตาภาวนากำ หนดจดจำ ภาพนั้นต่อไป ทำ อย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อย
หลายพันครั้งท่านได้ ไม่จำ กัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำ ภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดู
หรือไม่ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใน นึกเห็นภาพกสิณได้ขัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็น
ติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต " แปลว่านิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายัง
มีกสิณโทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป้นภาพดินตามที่ทำ ไว้และขอบวงกลมของสะดึงย่อมปรากฏริ้ว
รอยต่างๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่า
จะได้ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำ เป็นวงกลมด้วยดิน
แดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายนํ้าที่กลิ้งอยู่ในใบบัวฉะนั้น รูปนั้น
บางท่านกล่าวว่าคล้ายด้วงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่ายๆ ก็คือ เหมือนแล้วที่สะอาด
นั้นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำ หนดจิตให้เล็กโตสูงตํ่าได้ตามความประสงค์ อย่างนี้ ท่านเรียก
ปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษา
อารมณ์รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าใสใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง
เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจจะทำ อารมณ์สมาธิที่กำ ลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้สลายตัวได้โดยฉับ
พลัน ของท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวังอารมณ์ รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รัก
ที่เกิดในวันนั้น

จิตเข้าสู่ระดับฌาน
เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้นมี
อารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกฌาน ๔ บ้างฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขอ
อธิบายฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้เขาใจเสียก่อน
ฌาน ๔
ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือละวิตก และวิจารณ์เสียได้ คงดำ รงอยู่ในองค์ ๓ คือปีติ สุข เอกัคค
ตา
๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำ รงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่ม
อุเบกขาเข้ามาอีก ๑
ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำ หรับในที่บางแห่ง
ท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดไว้ดังต่อไปนี้
ฌาน ๕
๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรงปีติ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติเสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์เหมือนกันคือ ละวิตกวิจาร ปีติ สุขเสียได้ คงทรง
อยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
เมื่อพิจารณาดูแล้วฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่ฌาน ๒
ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนฌาน ๔ ตามนัยนั่น
เอง อารมณ์ฌานมีอาการเหมือนหันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ทานแยกเรียกเป็นฌาน ๔ หรือ
ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำ ให้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๕ ซึ่งมี
อารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญในกสิณนั้นเอง เมื่อ
ได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำ หนดเวลาเข้า เวลาออกให้ได้ตามกำ หนด จน
เกิดความชำ นาญ เมื่อออกเมื่อไร ได้ตามใจนึก การเช้าฌานต้องคล่อง ไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้แต่
ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละ ก็เช้าได้ทันที ต้องยึดฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือ เอาฌานที่สุดเป็น
สำ คัญ เมื่อเข้า ฌานคล่องแล้ว ต้องฝึก นิรมิต ตามอำ นาจกสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงชื่อว่าได้
กสิณกองนั้นๆ ถ้ายังทำ ไม่ได้ถึงไม่ควรย้าย ไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น การทำ อย่างนั้นแทนที่จะได้
ผลเร็วกลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำ ใหม่ เก่าก็หาย ใหม่ก็ไม่ปรากฏผล ถ้าชำ นาญชํ่าชองคล่อง
แคล่วในการนิรมิต อธิษฐาน แล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำ ไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึก
เหมือนกัน ต่างกันแต่สีเท่านั้น จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไปไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็น
อย่างสูงจะนิรมิตอธิษฐานได้สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะ
ได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป

องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง
ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำ หนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิตนั้น
เป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้ายแว่น
แก้วที่มีคนชำ ระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจารธุลีต่างๆ มี
ประเภท ๕ คือ
๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและนํ้าตาไหล
๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่านก็นั่ง
โยกไปโยกมา อย่างนี้เรียกโอกกันติกาปีติ
๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่สูงขึ้นกว่าปกติ
สุขมีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติไม่สอดส่าย

อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต
ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลก แต่กสิณมี
อารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือปัญจม

ฌาน
ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำ หนด การกำ หนดพิจารณารูป
กสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดขื่นด้วยอำ นาจปีติอารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวย
งามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์จิตแนบสนิทเป็นสมาธิมากกว่า
ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ คือ
มีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที ภาพ
นิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องในเกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนใน
กับอาการทางกายเลย

จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและ
ความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉย ต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลงคล้าย
ใครเอาประทีปที่สว่างมาก หลายๆ ดวงตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่เสียง ลมหายใจสงัด รูป
กสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔เป็นฌานสำ คัญชั้นยอด ควรกำ หนดรู้แบบง่ายๆ ไว้ว่า
เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำ หนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
ท่านทำ ได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบกสิณต้องถึงฌาน ๔และ
นิมิตอะไรต่ออะไรตามอำ นาจกสิณ ถ้าทำ ไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำ นาจกสิณ ก็เป็นเสมือนท่านยังไม่
ได้กสิณเลย

อาโปกสิณ
อาโปกสิณ อาโป แปลว่านํ้า กสิณ แปลว่าเพ่ง อาโปแปลว่าเพ่งนํ้า กสิณนํ้ามีวิธีปฏิบัติดังต่อ
ไปนี้ ท่านให้เอานํ้าที่สะอาด ถ้าได้นํ้าฝนยิ่งดี ถ้าหานํ้าฝนไม่ได้ท่านให้เอานํ้าที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้
อย่าเอานํ้าขุ่น หรือสีต่างๆ มา ท่านให้ใ่ส่นํ้าในภาชนะ เท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง
การนั่ง หรือเพ่งมีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณ
นี้ปรากฏเหมือนนํ้าไหวกระเพื่อม สำ หรับปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมี
ประกายระยิบระยับ เมือถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า
อาโปกสิณัง

เตโชกสิณ
เตโชกสิณแปลว่าไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำ ดังต่อไปนี้ ท่านให้จุดไฟให้
ไฟลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำ เป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไวข้าง
หน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ การเพ่ง
อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ หลายๆ ร้อยพันครั้งจนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคห
นิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำ หรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับ
พัดใบตาลที่ทำ ด้วยทองหรือเสาทองคำ ที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำ
ให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

วาโยกสิณ
วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือ
จะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
การกำ หนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็น
อารมณ์เพ่งพิจารณา
การถือด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอา
ลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทนลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้
ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณังๆ
อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มีไอ
ปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอนํ้าที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง
มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
สำ หรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอนํ้าที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้าย
กับก้อนเมฆบางที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ

นิลกสิณ
นิลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำ สะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขียว
ทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำ เช่นเดียวกับปฐวีกสิณ
อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณังๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง
ปีตกสิณ
ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง
ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนา ภาวนาว่าเป็นปีตกสิณังๆ
โลหิตกสิณ
โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่าโลหิตกสิณังๆ นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่ง
ดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดงปฏิภาคนิมิตเหมือนนีล
กสิณ
โอทากสิณ
โอทากสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณังๆ สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น
จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำ เป็นสะดึงก็ได้นิมิตทั้งอุคคหะและ
ปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง
อาโลกสิณ
อาโลกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่องหลังคา
หรือเจาะเสื่อลำ แพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ แล้วภาวนาว่า
อาโลกสิณังๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏอุคคหนิมิตของอาโลกสิณเป้นเสงสว่างที่เหือนรูปเดิมที่
เพ่งอยู่ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นเสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั่น
แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายามทำ ให้เข้าถึงจคคุถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็
เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ
อากาสกสิณ
อากาสกสิณแปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณังๆ ท่านให้ทำ เหมือนใน
อาโลกกสิณคือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนังหรือ มองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา
หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อหรือผืนหนัง โดยกำ หนดว่า อากาศๆ จนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็น
ช่องตามรูปที่กำ หนด ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้
ใหญ่เล็ก สูงตํ่าได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่น

อานุภาพกสิณ ๑๐
กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อ
บำ เพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำ เร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำ นาจที่กสิณกองนั้นมี
อยู่ให้ชำ นาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัด
ว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ อำ นาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้
ปฐวีกสิณมีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำ
นํ้าและอากาศให้แข็งได้
อาโปกสิณสามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่
กันดารนํ้าให้เกิดบ่อนํ้า อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้วให้เกิดฝนอย่างนี้
เป็นต้น
เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำ แสงสว่างให้เกิดแก่
จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่างๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำ ให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้
วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้
สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
นีลกสิณ สามารถทำ ให้เกิดสีเขียว หรือทำ สถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
โอทากสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำ ให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่
อำ นวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
อาโลกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำ ที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้าง
ทิพยจักษุญาณโดยตรง
อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ใ่นที่แจ้ง
สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบรูณ์เพียงพอแก่ความ
ต้องการได้
วิธีอธิษฐานฤทธิ์
วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำ ดังต่อไปนี้ ท่านให้เขาฌาน ๔
ก่อนแล้วออกจาฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้นแล้วกลับเขาฌาน ๔
อีก ออกจาฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา





บันทึกการเข้า
Arkwright
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 32
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 3220


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 02, 2019, 05:16:44 PM »

Permalink: กสิณ ๑๐
เป็น 10 ข้อที่ได้ประโยชน์สำหรับความรู้ด้านนี้
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 25, 2019, 10:08:23 AM »

Permalink: กสิณ ๑๐
สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 03:12:45 PM