เมษายน 23, 2024, 06:30:23 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การทำบุญ แบ่งออกได้ 3 วิธี  (อ่าน 6429 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 12:03:41 AM »

Permalink: การทำบุญ แบ่งออกได้ 3 วิธี
คนส่วนใหญ่รู้แค่ว่าการทำบุญคือการให้ทาน แต่แท้จริงแล้วการทำบุญโดยย่อมี 3 อย่าง
1.ให้ทาน
2.รักษาศีล
3.เจริญภาวนา
เรื่องให้ทานไม่ต้องพูดถึง ใครๆก็รู้ แต่ที่ส่วนมากไม่รู้คือเรื่องจำนวนเงินนั้นไม่สำคัญ สำคัญที่ความตั้งใจ
ถ้าตั้งใจจะได้อานิสงค์เต็มที่
วันนี้จะพูดเรื่องการรักษาศีล
ถ้าเราให้ทานแต่ถ้าไม่รักษาศีลมันก็เหมือนกันเราทำบาปอีกอย่างหนึ่ง ทำให้เราศีลเราขาด เข้าเรื่องดีกว่า
1.งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ฆ่า หมายความถึงการขายสัตว์เพื่อนำไปฆ่าด้วย
2.งดเว้นจากการลักทรัพย์ ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ลัก ถ้าเป็นพระอาบัติถึงปาราชิกเลย
3.งดเว้นจากการประพฤติละเมิดในทางประเวณี
4.งดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5.เว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ถ้าเรารักษาศีลไม่ให้ขาดก็เหมือนกับการที่เราทำบุญนั่นแหละ


ธรรม 4 อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
1.คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
2.คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
3.หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
4.หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


สติ หมายถึง ความระลึกได้ ก่อนจะทำ พูด หรือคิด คืออาการของจิตที่นึกขึ้นได้ว่าจะทำ จะพูดอย่างไรจึงจะถูกต้อง มีหน้าที่กระตุ้นเตือนคนเราให้ทำ พูด หรือคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่หลงลืมตัว โดยใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนจึงปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา

กล่าวคือความไม่ประมาทปล่อยจิตนึกคิดไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา

“สติ” เป็นธรรมควบคุมเหนี่ยวรั้งจิตใจให้คิดดี ทำดี หรือพูดดี เพราะธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา ซึ่งถ้าขาดสติกำกับ เป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ อย่างไร้ทิศทาง แต่ถ้ามีสติกำกับแล้วจะทำให้ไม่ประมาทหรือพลั้งเผลอคิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำชั่ว เพราะสติจะทำหน้าที่คอยควบคุม รักษาสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยการตรวจตราความคิดเลือกรับแต่สิ่งที่ดีงาม กีดกันสิ่งที่ไม่ดีซึ่งตรงกันข้าม ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

ในการเรียนหนังสือ ถ้านักเรียนควบคุมจิตใจให้มีสติมั่นคง สนใจในวิชาที่เรียน ขยันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว ไม่ปล่อยจิตฟุ้งซ่านคิดถึงเรื่องอื่นๆ สำรวมจิตให้จรดนิ่งสงบตั้งมั่นในอารมณ์เดียวไปตามลำดับ ไม่วอกแวก จะช่วยจำบทเรียนได้ดีกว่าคนที่ฟุ้งซ่าน

นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจึงมีพื้นฐานมาจากการฝึกสตินี้เอง

ในหน้าที่การงาน คนที่มีสติสามารถทำงานได้ผลดียิ่ง มีความผิดพลาดน้อย หรืออาจจะไม่มีข้อผิดพลาด หากขาดสติงานต้องผิดพลาดอยู่ร่ำไป ทำให้งานล่าช้า เสร็จไม่ทันตามกำหนด ไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าได้

ในการทำความดี ผู้มีสติสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เว้นจากการทำความชั่วทุกอย่าง กระทำแต่ความดี และทำจิตให้ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวง สติเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก พัฒนาจิตพิจารณารู้เท่าทันสภาพที่แท้จริง ทำให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข เมื่อเจริญสติให้มากยิ่งขึ้นสามารถบรรลุมรรค ผล และนิพพานได้ในที่สุด

ความรู้ตัวในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด หรือกำลังคิดอยู่ เป็นอาการของจิตที่รู้จักแยกแยะสิ่งที่ตนกำลังทำ พูด คิดอยู่นั้นว่าเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ เหมาะกับตนหรือไม่ เป็นความสุขหรือทุกข์ และเป็นความดีหรือชั่วหรือไม่อย่างไร ความรู้ชัด ความรู้ตัว เป็นลักษณะแห่งความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลานี้ เรียกว่า  “สัมปชัญญะ”

“สัมปชัญญะ” เป็นธรรมที่ปฏิบัติคู่กับสติ แยกกันไม่ออก กล่าวคือสติเป็นเครื่องระลึกควบคุมยับยั้งจิตมิให้คิด พูด หรือทำชั่ว ส่วนสัมปชัญญะจะทำหน้าที่กำหนดรู้ในเวลาคิด พูด หรือทำอยู่ ดังนั้น จึงเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

สติ ระลึกได้ทั้งในเรื่องอดีต อนาคต และปัจจุบัน ต้องใช้ในเวลาก่อนคิด พูด และทำ...สัมปชัญญะ รู้ตัวในปัจจุบัน ต้องใช้ในขณะที่กำลังคิด พูด และทำอยู่

สติและสัมปชัญญะนี้จัดเป็นกุศลธรรมที่คู่กันเสมอ จะแยกจากกันมิได้ เมื่อมีสติต้องมีสัมปชัญญะ สติเปรียบเหมือนดวงไฟ ส่วนสัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงสว่างของดวงไฟ

การทำหน้าที่ คนเราจำต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะ คือควรเจริญให้เกิดมีขึ้นในตนตลอดเวลา ทั้งในขณะจะทำ พูด หรือคิด เพราะสติสัมปชัญญะจะคอยคุมรักษาจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ในทางที่ดีมีประโยชน์ ไม่ให้ความชั่วร้ายเข้าครอบงำจิตได้ ดังนั้น สติสัมปชัญญะจึงเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง

“สติสัมปชัญญะ” มีอุปการะมากแก่คนเรา โดยเป็นธรรมควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตไม่ให้พลั้งเผลอทำในสิ่งที่ไม่สมควร ท่านเปรียบเหมือนหางเสือ ที่คอยกำหนดทิศทางไม่ให้เรือแล่นไปเกยตื้น เป็นเครื่องปลุกเร้าให้บุคคลมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรองด้วยปัญญา และสนับสนุนธรรมคือการรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล

พฤติกรรมของผู้มีสติสัมปชัญญะจะแสดงออกมาในลักษณะที่พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว บริโภคอาหาร รู้จักประมาณ รู้จักคุณโทษของอาหารที่จะบริโภค ไม่เผลอสติในการทำงาน มีความรอบคอบ ระมัดระวังในการทำกิจ เป็นต้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมมีความสำนึกรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าตัวเองเป็นใคร มีหน้าที่อย่างไร เมื่อปฏิบัติหน้าที่อยู่ รู้ตัวอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังทำอะไร ดีหรือชั่ว เป็นคุณหรือโทษ เท่ากับว่าควบคุมตัวเองไว้ได้ตลอดเวลา

ด้วยความสำคัญดังกล่าวมานี้ ท่านจึงจัดสติสัมปชัญญะว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก คือเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรา และเป็นธรรมมีอุปการะให้กุศลธรรมอื่นๆ เกิดขึ้นดำรงมั่นคงอยู่ในจิตได้


ตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ธรรมอันทำงาม นั้นมีอยู่ 2 ประการ ดังนี้

         ประการแรก คือ ขันติ ความอดทน หมายถึง ความอดทนอดกลั้นไว้ได้ในเมื่อใจถูกกระทบด้วยอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็ไม่แสดงอาการวิตกทุกข์ร้อน หรือโมโหฉุนเฉียว ไม่มีการทำหรือคำพูดตอบโต้ เรื่องที่ต้องใช้ความอดทนนั้น มีอยู่ 4 ชนิด คือ อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ไม่แสดงอาการย่อท้อ สิ้นหวัง ต่ออุปสรรคของชีวิต ทนต่อทุกเวทนา ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินควรเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ทนต่อความเจ็บใจ ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อไม่พอใจที่ถูกคนอื่นทำ หรือพูดกระทบกระแทกแดกดัน ทนต่ออำนาจกิเลส  ไม่แสดงอาการอยากมีอยากได้จนออกนอกหน้า แม้ได้มาก็ไม่ยินดีเกินเหตุ

         ประการที่ 2 คือ โสรัสจะ ความเสงี่ยม หมาย ถึง การรู้จักปรับสภาพจิตใจให้เยือกเย็นเหมืนเป็นปกติในเมื่อมีเรื่องต้องอดทน แม้จะถูกผู้อื่นทำหรือพูดกระทบกระทั่งจนเกิดเจ็บใจแต่ก็ทนได้ ไม่แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฎ เป็นเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ธรรมข้อนี้ มีหน้าทีข่มใจให้สงบนิ่ง ไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาภายนอก

         ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ เรียกว่า โสภณธรรม  ธรรมอันทำให้งาม  เครืองประดับกายจำพวกเพชรนิลจินดา เป็นแค่เครื่องส่งเสริมความงามภายนอก แต่ขันติและโสรัสจะนี้ เป็นเครืองประดับภายในจิตใจ ทำให้เป็นคนมีสง่าราศรี น่ายกย่องนับถือ

         แค่หัวข้อธรรม 2 ข้อนี้คุณก็เป็นคนงามแล้ว ซึ่งไม่มีใครสามารถมาแย่งชิงเอาได้ ถ้าใครอยากได้ต้องทำให้เกิดขึ้นในใจเอง



"ธรรมคุ้มครองโลก" หมายถึง ธรรมที่ช่วยคุ้มครองทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข โลกร่มเย็น ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน ต่างไว้วางใจกันและกัน ในเรื่องต่างๆ เช่นชีวิต ทรัพย์สิน และของรักของหวง

เป็นคุณธรรมที่สนับสนุนหลักมนุษยธรรมให้เป็นไปด้วยดี โดยชักนำจิตใจของบุคคลให้เกิดความละอายต่อความชั่วและความเกรงกลัวต่อความประพฤติชั่วและผลของความชั่วที่จะติดตามมาทั้งยังป้องกันไม่ให้กระทำความชั่ว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เป็นหลักธรรมสนับสนุนให้บุคคลมีสามัญสำนึกในการละเว้นความชั่วทุจริต เป็นการเบียดเบียนตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนภายหลัง

ธรรมคุ้มครองโลก มี 2 ประการ คือ หิริ และโอตตัปปะ

2.โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว มีลักษณะหวาดสะดุ้งกลัวต่อผลที่จะเกิดจากการทำบาปทุจริต คือ การประพฤติผิดทั้งทางกาย วาจา และใจ โดยพิจารณาเห็นชัดว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ทำกรรมใดไว้ต้องรับผลกรรมของนั้น จึงมีความหวาดกลัวสะดุ้งต่อผลของกรรมชั่ว ไม่กล้าทำแม้ความผิดเล็กน้อย

เหตุที่ทำให้เกิดความกลัวต่อความชั่ว คือ

- เพราะกลัวต้องติเตียนตัวเอง

- เพราะกลัวผู้อื่นจะติเตียน

- เพราะกลัวถูกลงโทษ ถูกลงอาญา

- เพราะกลัวความทุกข์จะส่งผลในภายหน้า

เมื่อคนเรามาพิจารณาคำนึงถึงเหตุนี้ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ความกลัวต่อความชั่วย่อมเกิดขึ้น

ผู้มีความสะดุ้งกลัวต่อผลของบาปทุจริต เปรียบเหมือนคนที่มีนิสัยหวาดกลัวเป็นนิจเห็นอสรพิษแม้ตัวเล็กๆ เกิดสะดุ้งกลัว ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกหนีให้ห่างไกล

ฉะนั้น ความกลัวที่จัดว่าเป็นโอตตัปปะแท้จริงนั้น ต้องเป็นความกลัวต่อผลของความชั่วบาป หรือทุจริตเท่านั้น ในกรณีที่คนเรากำลังเดินอยู่กลางป่า บังเอิญไปพบเสือโคร่งเข้าพอดี ย่อมเกิดความกลัวอันตรายที่จะได้รับ

ความกลัวเช่นนี้ไม่จัดว่าเป็นความกลัวด้วยโอตตัปปะ หากแต่เป็นความกลัวตามสัญชาตญาณของมนุษย์และสัตว์ เพราะไม่ใช้ความกลัวต่อความชั่ว

ลักษณะของผู้มีหิริโอตตัปปะนั้นคือ "อายชั่ว กลัวบาป" บุคคลผู้ฝึกจิตใจให้อายชั่วกลัวบาปได้ดีแล้วเท่านั้น จึงจะไม่ทำความผิดทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังนั้น หิริโอตตัปปะจึงเป็นธรรมคุ้มครองโลก

คือมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินนี้ให้อยู่เย็นเป็นสุข

เครดิต darkknightza




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 20, 2024, 09:23:18 AM