เมษายน 24, 2024, 05:08:54 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คติธรรมของหลวงพ่อเรื่องทางชีวิตที่ปลอดภัย  (อ่าน 4892 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 06:38:09 PM »

Permalink: คติธรรมของหลวงพ่อเรื่องทางชีวิตที่ปลอดภัย
คติธรรมของหลวงพ่อเรื่องทางชีวิตที่ปลอดภัย   

   ทางชีวิตที่ปลอดภัย

การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของชีวิต เป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุดเพื่อชีวิต ชีวิตที่ปลอดภัยเป็นชีวิตที่มีคุณประเสริฐสุด เพราะเป็นที่มาแห่งความสุข อันเป็นยอดปราถนา ถึงปลอดภัยเมื่อใดก้เป็นอันถึงจุดหมายที่พึงประสงค์เมื่อนั้น เพราะความปลอดภัยคือความไร้ปัญหา ภัยของชีวิตได้แก่

๑. ความโศกเศร้าเสียใจ

๒. ความร้องไห้บ่นเพ้อรำพัน

๓. ความลำบากกาย

๔. ความลำบากใจ

๕. ความแค้นใจ-ความช้ำใจ

ซึ่งแต่ละอย่างย่อมทำให้ชีวิตเดือนร้อนกระวนกระวาย จึงนับเป็น "มหาภัยของชีวิต" เพราะเป็นที่หวาดกลัวของชีวิตยิ่งนัก ภัยชีวิตทั้ง ๕ ย่อมาจาก

๑. ความต้องการพลัดพรากจากคนรัก จากของรัก และจากสิ่งรัก

๒. ความต้องการคลุกคลีอยู่กับคนที่เกลียด ของที่เกลียด และสิ่งที่เกลียด

๓. ความผิดหวังคือปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

 ถ้าไม่มีความรัก ไม่มีความเกลียด ไม่มีความหวัง ภัยชีวิตทั้ง ๕ ก็ไม่มี ดังนั้น ทางที่ดีก็คือ ป้องกันความรัก ความเกลียด ความหวังไม่ให้เกิดขึ้นในความคิดนึก หรือความรู้สึกก็หมดภัยแน่ โดยศึกษาธรรดาของสัตว์โลกให้เกิดความเข้าใจโดยชัดเจนจนเกิดตัวปัญญาว่า

 ๑. สัตว์โลกถูกตัวชะรานำไปก็ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ไม่คงที่

๒. สัตว์โลกไม่มีความเป็นใหญ่ในตัวเอง ไม่มีใครป้องกันตัวต้องเจ็บ ต้องตายทั้งหมด

๓. สัตว์โลกไม่มีอะไรเป็นของตนเลย ต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด

๔. สัตว์โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหาซึ่งท่านกำหนดว่า เป็นธรรมมุทเทศคือ เป็นเครื่องนำไปสู่ความถูกต้องหรือเป็นเครื่องชี้กำหนดความถูกต้อง ความรู้อย่างนี้เป็นความรู้ถูกต้อง ความเข้าใจอย่างนี้เป็นความเข้าใจถูกต้อง

คำว่า "สัตว์โลก" หมายถึง คนที่มีความเกี่ยวข้องอยู่กับโลก คือยังติดโลก ยังยึดโลก

โลก คือ สิ่งที่มีลักษณะเสื่อมโทรม ติดโลกก็คือ ติดความเสื่อมโทรม

ความเสื่อมโทรม คือ ภาวะที่เปลี่ยนแปลงปรวนแปร อาการของความเปลี่ยนแปลงปรวนแปรก็ปรากฏเป็น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความไม่มีอะไรเหลือในที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้มีแต่สิ่งทั้งปวงในโลกนี้ทั่วถึงกัน เท่าเทียมกัน ไม่ยกเว้นใคร ไม่ยกเว้นสิ่งใด ท่านจึงเรียกว่า สามัญลักษณะ ซึ่งแปลว่า ข้อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ว่า

๑. อนิจจัง ความไม่แน่นอน

๒. ทุกขัง ความไม่คงที่

๓. อนัตตา ความไม่ใช่ของเรา

เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ เรียกว่า เห็นความจริงของโลกด้วยสิ่งประเสริฐ คือ "ปัญญา" และผลที่ตามมาก็คือว่าไม่มีอะไรที่น่ารัก ไม่มีอะไรที่น่าเกลี่ยด ไม่มีอะไรทีน่าหวัง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามสภาพธรรมดา  เมื่อถึงคราวเกิดก็เกิด เมื่อถึงคราวดับก็ดับ  ไม่มีใครทำให้เกิด ไม่มีใครทำให้ดับ ปัจจัยธรรมชาติทำให้เกิดทำให้ดับ ตามวาระของมันเองย่อมไม่มีความรู้สึกว่า จากคนรัก ของรัก สิ่งที่รัก หรือคลุกคลีกับคนที่เกลียด ของที่เกลียด สิ่งที่เกลียด หรือผิดหวังทั้งสิ้น แลวในที่สุด "ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ ไม่ต้องร้องให้บ่นเพ้อรำพัน ไม่ต้องลำบากกาย ลำบากใจ และไม่ต้องแค้นไจ ไม่ต้องช้ำใจ" เข้าถึงสัจธรรมที่ว่า

 ๑. ภัยมีอยู่ตามสภา แต่คนที่ภัยไม่มีเพราะคนไม่มีคนประสบภัย

๒. ความทะยายอยากมีอยู่ตามสภาพ แต่คนทะยานอยากไม่มีเพราะไม่ทราบว่าจะทะยายอยากให้ต้องชอกช้ำ ผิดหวังไปทำไมเหมือนกระแสลมหรือแสงแดด ที่ปรากฏอยู่ตามภาวะ แต่ไม่มีใครมาสัมผัส ก้ไม่มีใครรู้สึกเย็น รู้สึกร้อนนั่นเอง กระแสสมปรากฏความเย็นแก่คนสัมผัส แสงแดดก็ปรากฏความร้อนแก่คนสัมผัส ถ้าไม่มีคนสัมผัส ก็ไม่ปรากฏความเย็นความร้อนได้

   นี่คือทางแห่งความปลอดภัยของชีวิต ถ้าพิจารณาถึงชีวิตในอดีตที่ผ่านมาก็พอจะพบทางดังว่านี้ได้ พวกเรายังเป็นสัตว์โลก เพราะความรู้สึกยังติดโลก ยังยึดโลกอยู่

 บางคราวก็ติดมาก ยึดมาก

 บางคราวก็ติดน้อย ยึดน้อย

 บางคราวดูเหมือนไม่ติดเลย ไม่ยึดเลย

จึงทำให้ชีวิตมีแต่ภาวะต่างกันคือ

  คราวใดติดมาก ยึดมาก คราวนั้นก็มีเรื่องวุ่นวายมาก มีปัญหามาก คือมีภัยมาก

  แต่คราวใดที่ติดน้อย ยึดน้อย คราวนั้นก็มีเรื่องวุ่นวายน้อย มีปัญหาน้อย มีภัยน้อย

  ส่วนในคราวใดที่รู้สึกว่าดูเหมือนจะไม่ติดไม่ยึดอะไร ใครจะไปไหน มาไหน อย่างไร ก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร จะได้อะไร จะเสียอะไร ก็เฉยๆ จะสบายหรือไม่สบายอย่าไรก็เป็นเรื่องธรรม ไม่อยากรักใคร ไม่อยากเกลียดใคร ไม่มุ่งหวังสิ่งใด ไม่มุ่งหมายอะไรจากใคร ก็รู้สึกว่าไม่มีเรื่องที่ต้องวุ่นวาย ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งเป็นสัญญาณแห่งความไม่มีภัย อดีตเป็นฉันใด ปัจจุบันก็เป็นฉันนั้น และอนาคตก็เช่นเดียวกัน

  เพราะฉะนั้น บทเรียนเรื่องชีวิตที่ดีที่สุดก็คือชีวิตของเราเอง เราต้องยอมรับความจริงในตัวเราได้ถูกต้องทุกประการ พระพุทธเจ้าทรางประสพความสำเร็จในการตรัสรู้ก็เพราะทรงรู้ที่พระองค์เอง จะทรงรู้ทุกข์ที่ไหน ถ้าไม่ใช่ทุกข์ในพระองค์เอง จะทรงรู้เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ ลักษณะความดับทุกข์ และทรงให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างไร ถ้ามิได้ทรางรู้ด้วยพระองค์เอง

  เราทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้น ร้เรื่องโลกพระจันทร์ โลกพระอังคาร ได้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ เราก็ไม่ทราบได้ และก็ไม่แน่ใจว่า มีใครทราบหรือไม่

นี่คือสัจธรรมที่หลวงพ่อเขียนไว้เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพระภาวนาวิสุทธิคุณ

ที่มาhttp://tanentemple.org/jaran/book/detail.php?id=128&section=14&category=36
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ ตุลาคม 23, 2022, 01:24:23 PM