เมษายน 20, 2024, 03:27:11 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กุศลพิธี  (อ่าน 11739 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:37:03 PM »

Permalink: กุศลพิธี
                                   หมวดที่ ๑  กุศลพิธี 
        เรื่องกุศลพิธีที่จะกล่าวในหมวด เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วย
การอบรมความดีงามทางพระศาสนา  เฉพาะตัวบุคคล  คือ เรื่องสร้างความดีแก่ตน
ทางเดียวกันจึงให้ชื่อหมวดว่า"หมวดกุศลพิธี"  สำหรับความรู้หมวดนี้ ใน
ศาสนาพิธีเล่มแรกสมควรได้ศึกษาเรื่องกุสลพิธีแต่เพียงบางเรื่องก่อน ฉะนั้น
หมวดกุศลพิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้จะนำกุศลพิธีเฉพาะที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติใน
เบื้องต้น  อย่างสามัญมาชี้แจงเพียง ๓ เรื่อง คือ
        ก.  พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
        ข.  พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
        ค.  พิธีรักษาอุโบสถ
        ทั้ง ๓ เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า  ล้วนเป็นเรื่องสำคัญในเบื้องต้นของพุทธบริษัท
จริง ๆ  แต่ละเรื่องย่อมมีความมุ่งหมายและเหตุผลตลอดถึงระเบียบปฏิบัติ
โดยเฉพาะซึ่งจะได้ชี้แจงรายละเอียดพอสมควรโดยลำดับ.
                         พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
        การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  คือ  การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็น
ผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน  เป็นการแสดงให้ปรากฏว่า ยอมรับ
นับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า-
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ทรงชี้แจงเหตุผลและที่มาของพิธีนี้ไว้โดยละเอียด
ในพระนิพนธ์คำนำหนังพุทธมามกะว่า       
        "การแสดงให้ปรากฏว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ได้ทำกันมาตั้งแต่
ครั้งพุทธกาล เป็นกิจจำเป็น ทำในสมัยนั้นอันเป็นคราวที่พระพุทธสาสนาเกิดึ้นใหม่เพื่อแสดงให้รู้ว่าต
นละลัทธิเดิมรับเองพระพุทธศาสนาไว้เป็นที่นับถือ   วิธีแสดงตนมีต่างกันโดยสมควรแก่บริษัทดังนี้
        ๑. ผู้เป็นบรรพชิตภายนอกมาก่อนแล้ว  กราบทูลของบรรพชาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้  พระศาสดาทรงรับด้วยวาจาว่า "มาเถิดภิกขุ  ธรรมอันเรา
กล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"   หรือ
เพียงว่า "มาเถิดภิกขุ  จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"   ภิกขุที่ทรงรับใหม่นั้น
ถือเพศตาม  เป็นเสร็จ  คฤหัสถ์ผู้ปรารถนาจะเป็นภิกขุแสดงตนและทรงรับเหมือน
อย่างนั้น
        ๒.   ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระสาวก รับถือเพศตามก่อนแล้วลั่นวาจา
ถึงพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ คือ ที่ระลึกนับถือ  ๓ หนเป็นเสร็จ
        ๓.  ภายหลังใช้วิธีที่ ๒  รับเป็นสามเณร  สงฆ์ประกาศรับเป็นภิกขุ
        ๔.  คฤหัสถ์ผู้ไม่ปรารถนาจะบวช  ลั่นวาจาถึง  พระพุทธ  พระธรรม
พระสงฆ์  เป็นสรณะปฏิญาณตน  ชาย เป็นอุบาสก หญิง เป็นอุบาสิกา  ลั่นวาจา
อย่างอื่นอันมีใจความอย่างเดียวกัน  เช่น ขอถวายตัวของรับเอาเป็นที่พำนักขอ
เข้าเป็นศิษย์  หรือไม่ได้ลั่นวาจาแต่สำแดงความนับถืออย่างสูงให้ปรากฏ  เช่น
ในบัดนี้กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ท่านว่า ใช้ได้  ดูเหมือนเพียงได้ความรับรอง
ว่า เป็นผู้นับถือ"
        "การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือศาสนา  ไม่จำต้องทำเฉพาะคราวเดียว ทำซ้ำๆ
ตามกำลังแห่งศรัทธาและเลื่อมใสก็ได้  เช่น พระสาวกบางรูป  ภายหลังแต่ได้รับ
อุปสมบทลั่นวาจาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ๆ
เป็นสาวก"  ดังนี้ก็มี อุบาสกประกาศตนหนึ่งแล้ว  ประกาศซ้ำอีกก็มี"
        "เมื่อการถือพระศาสนาไม่เป็นเพียงเฉพาะตัว  ถือกันทั่วทั้งสกุลและ
สืบชั้นลงมา  มารดาบิดายอมนำบุตรธิดาของตนให้เข้าถึงพระศาสนาที่ตนนับถือ
ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอ่อนไม่รู้จักเดียงสา  มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาว่า  นิมนต์พระสำหรับ
สกุลไปแล้ว  ขอให้ขนานชื่อและให้สิกขาบทแก่เด็ก  ขอให้ขนานชื่อเคอะ  ขอให้
สิกขาบทเคอะอยู่ หรือให้พอเป็นพิธีเท่านั้น  ธรรมเนียมเมืองเราเจ้านายประสูติใหม่
นำเข้าเมื่อสมโภชเดือน  เชิญเสด็จออกมาหาพระสงฆ์  ถ้าเป็นพระกุมาร 
พระสังฆเถระผูกพระหัตถ์ด้วยด้ายสายสิญจน์ ถ้าเป็นพระกุมารีพาสายสิญจน์ไว้
 มุมเบาะข้างบท แล้วพระสงฆ์สวดอำนวยพระพรด้วยบาลีว่า  โส  อตฺถลทฺโธ...
หรือว่า  สา อตฺถลทฺธา...โดยควรแก่ภาวะ  บุตรธิดา  ของสกุลที่ไม่ได้ทำขวัญเดือน
ดูเหมือนนำมาขอให้พระผูกมือให้เท่านั้น  ความรู้สึกก็ไม่เป็นไปทางเข้าพระศาสนา
เป็นไปเพียงทางรับมงคลเนื่องด้วยพระศาสนา."
        "นำเข้าพระศาสนาแต่ยังเล็ก  เด็กไม่รู้สึกด้วยตนเอง  เมื่อโตขึ้นที่เป็นชาย
จึงนำเข้าบรรพชาเป็นสามเณร  และอุปสมบทเป็นภิกขุที่เจ้าตัวได้ปฏิญาณและ
ได้ความรู้สึก  การนำและสำแดงซ้ำ  อย่างนี้เป็นทัฬหีกรรม  คือ  ทำให้มั่น  เช่นเดียว
กันอุปสมบทซ้ำ"
        "เมื่อความนิยมในการบวชเณรจืดจางลง  พร้อมกันเข้ากับการส่งเด็ก
ออกไปเรียนในยุโรปก่อนแต่มีอายุสมควรบวชเณร  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชปริวิตกว่า เด็กๆ จักหาได้ความรู้สึกในทางพระศาสนาไม่
จึงโปรดให้พระราชโอรสผู้มิได้เคยทรงผนวชเป็นสามเณรทรงปฏิญาณพระองค์
เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ก่อนเสด็จออกไปศึกษาในยุโรป ครั้งนั้นใช้คำสำแดง
เป็นอุบาสกตามแบบบาลี  พระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เป็น
พระองค์แรกปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่ขึ้น  และใช้เป็น
ราชประเพณีต่อมา  ได้ทราบว่าผู้อื่นจากพระราชวงศ์เห็นชอบตามพระราชดำริ
ทำตามบ้างก็มี "
        "ธรรมเนียมนี้แม้ได้ใช้นามแล้วยังไม่ได้เรียบเรียงไว้เป็นแบบแผน
คราวนี้สมเด็จพระบรมพิตรพระราชสมภารเจ้า (รัชกาลที่ ๖)  ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ จะส่งพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์จุมพฏพงศ์บริพัตร พระโอรส
สมเด็จพระเจ้าน้อยยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตกับหม่อนเจ้าอื่น ๆ
ออกไปศึกษาในยุโรป  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตร  มีพระ-
ประสงค์ได้ปฏิญาณพระองค์ในพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียมที่พระองค์ได้เคย
ทรงมา พระบิดาและพระญาติของหม่อนเจ้าอื่นก็ทรงดำริร่วมกัน  เป็นอันว่า
ธรรมเนียมนี้ยังจักใช้อยู่ต่อไป  ข้าพเจ้าจึงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้ทีเดียว  สำหรับ
ใช้ทั่วไปไม่เฉพาะเจ้านาย  ได้แก่บท "อุบาสก"  เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใส
ด้วยตนเองเป็น "พุทธมามกะ"ที่แปลว่า ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน"
   โดยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบ  ต่อกันมา
แต่ในปัจจุบันความนิยมของพุทธในประเทศไทยมีสรุปได้ว่า
        ๑.  เมื่อมีบุตรหลานของตนมีอายุพ้นเขตเป็นทารก  คือรู้เดียวสาแล้ว
เจริญวัยอยู่ในระหว่างอายุ  ๑๒ ถึง ๑๕  ปี ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตน
เป็นพุทธมามกะ  เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลวงศ์ต่อไป หรือ       
        ๒.  เมื่อจะส่งบุตรหลานของตนซึ่งเป็นชาวพุทธอยู่แล้ว  ให้ไปอยู้แล้ว
ที่ไม่ใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา  เพื่อการศึกษาหรือประโยชน์ใด ๆ  ก้ตาม
เป็นการที่ต้องจากถิ่นไปนามแรมปี  ก็นิยมประกอบพิธีให้บุตรหลานของตนที่จะ
จากไปนั้นแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กได้รำลึกอยู่เสมอว่าตนเป็น
พุทธศาสนิกชน หรือ
        ๓.  เมื่อจะปลูกฝังนิสัยเยาวชนให้มั่งคงในพระพุทธศาสนา ส่วนมาก
ทางโรงเรียนที่สองวิชาทั้งสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษาแก่เด็ก ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่ม
ชาวพุทธนิยมประกอบพิธีให้นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่ในรอบปี  ได้แสดงตนเป็น
พุทธมามกะหมู่ คือ  แสดงรวมกันเป็นหมู่  ทำปีละครั้งในวันที่สะดวกที่สุดแล้ว
แต่ทางโรงเรียนเห็นว่าเหมาะเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการที่ตนเป็น
ชาวพุทธร่วมอยู่กับชาวพุทธทั้งหลาย และ
        ๔.  เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต้องการจะ
ประกาศตนเป็นชาวพุทธก็ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเพื่อประกาศว่า
นับแต่นี้ไปตามยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว
        การแสดงตนเป็นพุทธมามกะตามธรรมเนียมในปัจจุบัน  มีระเบียบ
ปฏิบัติที่นิยมกันดังต่อไปนี้
                                         ระเบียบพิธี
        ๑. มอบตัว ผู้ประสงค์จะประกอบพิธี  ต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์
ที่ตนเคารพนับถือ และมุ่งหมายจะให้เป็นประธานสงฆ์ในพิธีด้วยก่อน  ถ้าเป็นเด็ก
ต้องมีผู้ปกครองนำไปแต่ถ้าเป็นพิธีแสดงหมู่  เช่น  นักเรียน  ให้ครูใหญ่หรือผู้แทน
โรงเรียนเป็นผู้นำแต่เพียงบัญชีรายชื่อของนักเรียนที่จะเข้าพิธีไปเท่านั้นก็พอไม่ต้องนำนักเรียนทั้งหมดไม่ได้ 
การมอบตัวควรมีดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไป  ถวายพระอาจารย์ตามธรรมเนียมโบราณด้วย  พึงปฏิบัติดังนี้
        ก.  เข้าไปหาพระอาจารย์ทำความเคารพพร้อมกับผู้นำ (ถ้ามีผู้นำ)
        ข.  แจ้งความประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ  เมื่อพระอาจารย์รับแล้วจึง
              มอบตัว
        ค.  การมอบตัว  ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะถือพานดอกไม้ธูปเทียน
              ที่เตรียมไปนั้นเข้าไปใกล้ ๆ  พระอาจารย์คุกเข่ากับพื้น  กะว่าเข่า
              ของตนห่างจากตัวพระอาจารย์ประมาณศอกเศษ  แล้วยกพานนั้น
              น้อมตัวประเคน  เมื่อพระอาจารย์รับพานแล้วเขยิบกายถอยหลังทั้ง ๆ
              อยู่ในท่าคุกเข่านั้น  ห่างออกมาเล็กน้อย  แล้วประนมมือก้มลงกราบ
              ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตรงหน้าพระอาจารย์ ๓ ครั้ง  ถ้าเป็นตัวแทน
              มอบตัวหมู่  ให้ผู้แทนปฏิบัติเช่นเดียวกัน  พร้อมกับถวายบัญชีรายชื่อ
              ผู้ที่จะประกอบพิธี
        ฆ.  กราบเสร็จแล้วนั่งราบในท่าพับเพียบลงตรงนั้นเพื่อฟังข้อแนะนำ
              และนัดหมายของพระอาจารย์จนเป็นที่เข้าใจเรียบร้อย
        ง.   เมื่อตกลงกำหนดการกันเรียบร้อยแล้ว  ขอเผดียงสงฆ์ต่อพระอาจารย์
              ตามจำนวนที่ต้องการ ไม่น้อยกว่า๓  รูปรวมเป็น ๔ ทั้งพระอาจารย์
        เมื่อเสร็จธุระนี้แล้ว  ให้กราบละพระอาจารย์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์อีก
๓ ครั้ง
        ๒.  เตรียมการ ในการประกอบพิธีนี้ต้องมีเตรียมการให้พร้อมทั้งฝ่ายสงฆ์
และฝ่ายผู้แสดงตน  คือ
        ก.  ฝ่ายสงฆ์  พระอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ที่ได้รับมอบตัวผู้จะแสดงตน
              เป็นพุทธมามกะแล้ว  ต้องเป็นผู้จัดเตรียมบริเวณพิธีภายในวัดไว้ให้
              พร้อมก่อนกำหนดนัด  เพราะพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนี้ประกอบ
               ขึ้นในวัดเป็นเหมาะที่สุด  ถ้าไม่จำเป็นแล้วไม่ควรทำในที่อื่นบริเวณ
               พิธีในวัดควรจัดในพระอุโบสถได้เป็นดี เพราะเป็นสถานที่สำคัญ
               อันเป็นหลักของวัด  แต่ถ้าในพระอุโบสถไม่สะดวกด้วยประการใด ๆ
               ควรจัดในวิหารหรือศาลาการเปรียญ  หอประชุมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้
ไม่ควรจัดให้มีในที่กลางแจ้ง  ควรตั้งโต๊ะบูชามีพระพุทธรูปเป็นประธาน         
 ในบริเวณพิธีนั้น ๆ จัดให้สะอาดเรียบร้อยตามธรรมเนียม  และให้เด่น
        อยู่กึ่งกลาง ถัดหน้าโต๊ะบูชาออกมาตรงหน้าพระประธานตั้งหรือ
        ปูอาสน์สงฆ์หันหน้าออกตามพระประธานนั้น อาสนะพระอาจารย์
        อยู่ข้างเดี่ยวเฉพาะองค์เดียว  อาสนะพระสงฆ์อยู่ข้างหลังพระอาจารย์
        เรียงแถวหน้ากระดาน  ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ควรเตรียมที่ปักธูปเทียน
        และที่วางดอกไม้บูชาพระสำหรับผู้แสดงตนไว้ข้างหน้าให้พร้อม  ถ้า
        สถานที่ไม่อำนายให้จัดเช่นนี้ได้ก็จัดอาสนะพระอาจารย์และพระสงฆ์
        ให้อยู่ทางซีกขวาของพระประธานด้านข้าง  ให้หันหน้าไปทางซีกซ้าย
        ของพระประธาน  วิธีจัดก็ให้อาสนะพระอาจารย์อยู่หน้าอาสนะสงฆ์
        เรียงแถวอยู่หลังพระอาจารย์  เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว  ที่จัดดังนี้ก็
        เพื่อให้ผู้แสดงตน เข้าแสดงตนต่อสงฆ์โดยหันหน้าตรงพระอาจารย์
        แล้วได้หันมือขวาเข้าหาพระประธานนับเป็นการแสดงความเคารพ
        อีกประการหนึ่งด้วย
     ข. ฝ่ายผู้แสดงตน  ต้องตระเตรียมผ้าขาวสำหรับนุ่งผืนหนึ่ง  ชายควร
        นุ่งโจงกระเบนหญิงควรนุ่งจีบแบบผ้าถุงหรือจะตัดเย็บเป็นกระโปรง
        ก็ได้แล้วแต่เหมาะสม  และต้องมีผ้าขาวสำหรับห่มสไบเฉียงอีก
        หนึ่งผืน  คือ  ผ้าหน้าแคบขนาดผ้าแถบสมัยก่อนหรือขนาดผ้าอังสะ
        ที่พระสงฆ์ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยาวพอให้ชายข้างหนึ่งพาดที่บ่าซ้าย
        ปล่อยให้ชายห้อยลงมาข้างหน้าอกพอสมควร จับชายอีกข้างหนึ่ง
        เฉวียงลอดใต้รักแร้ขวาผ่านอกไปพาดบ่าซ้ายปล่อยให้ห้อยลงไป
        ข้างหลัง  ผ้าอย่างนี้เรียกกว่าผ้าห่มสไบเฉียง ใช้เหมือนกันทั้งชาย
        และหญิง  นอกจากนี้มีเสื้อขาวแบบสภาพสวมก่อนสไบเฉียงทั้ง
        ชายและหญิง  รองเท้าและถุงเท้าไม่ต้องใช้ในพิธี ถ้าเป็นการแสดง
        ตนหมู่  เช่น  นักเรียน  หรือข้าราชการเป็นต้น   จะไม่นุ่งขาวห่มขาว
        ตามแบบ ก็ให้แต่เครื่องแบบของตนให้เรียบร้อยทุกประการ  เว้น
        แต่รองเท้าต้องถอดในเวลาเข้าพิธี  อีกประการหนึ่ง  ต้องเตรียมเครื่อง
        สักการะสำหรับถวายพระอาจารย์ในพิธีเฉพาะตน ๆ  ด้วย คือ  ดอกไม้     
ธูปเทียนใส่พาน  ๑ ที่ กับดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับจุดบูชาพระในพิธี                 
๑ ที่  นอกนั้นจะมีไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีด้วยก็แล้วแต่ศรัทธา
        ๓.    พิธีการ  เมื่อเตรียมการพร้อมทุกฝ่ายดังกล่าวแล้ว ถึงวันนัดประกอบ
พิธี คือ
        ก.     ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  นุ่งขาว  ห่มขาว  หรือแต่งเครื่องแบบ
                ของตน  เรียบร้อยแล้วแต่กรณีดังกล่าวแล้วไปยังบริเวณพิธีก่อน
                กำหนดนั่งรอเวลาในที่ที่ทางวัดจัดไว้
        ข.     ถึงเวลากำหนด  พระอาจารย์และพระสงฆ์เข้าสู่บริเวณพิธี  กราบ
                พระพุทธรูปประธานแล้ว เข้านั่งประจำอาสนะ
        ค.     ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะบูชา   จุดธูปเทียนและวางดอกไม้
                บูชาพระ  ส่งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย  เปล่งวาจาว่า
                        อินินา  สกฺกาเรน, พุทฺธํ  ปูเชมิ.
                ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า  ด้วยเครื่องสักการะนี้
                (กราบ)
                        อิมินา  สกฺกาเรน,  ธมฺมํ  ปูเชมิ.
                ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้
                (กราบ)
                        อิมินา  สกฺกาเรน,  สงฺฆํ  ปูเชมิ.
                ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์  ด้วยเครื่องสักการะนี้
                (กราบ)
                ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่  ให้หัวหน้าเข้าไปจุดเทียนบูชาคนเดียว
                นอกนั้นวางดอกไม้ธูปเทียนยังที่ที่จัดไว้ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ
                หัวหน้านำกล่าวคำบูชาให้ว่าพร้อม ๆ กัน การกราบต้องก้มกราบ
                กับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทุกครั้ง
        ฆ.     เข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์  ถวายพานเครื่องสักการะ
                แก่พระอาจารย์แล้วกราบพระสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์นั้น ด้วย
                เบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง  ถ้าแสดงตนหมู่  ทุกคนนั่งคุกเข่าประนมมือ
                อยู่กับที่หัวหน้าหมู่คนเดียวนำสักการะที่เดียวเข้าถวายแทนทั้งหมู่
                แล้วกราบพร้อมกับหัวหน้า
     ง.     กราบเสร็จแล้ว  คงคุกเข่าประนมมือ  เปล่งคำปฏิญาณตนให้ฉะฉาน                 
ต่อหน้าสงฆ์ทั้งคำบาลีและคำแปล เป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่องปฏิญาณ
                ดังนี้
                                              คำนมัสการ
                        นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
                        นโม  ตสฺส  ภควโต   อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
                        นโม  ตสฺส  ภควโต   อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
                                                    คำแปล
        ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
        ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
        ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
                                                    คำปฏิญาณ
                เอสาหํ  ภนฺเต,  สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ,  ตํ ภควนฺตํ  สรณํ
                คจฺฉามิ,  ธมฺมญฺจ  สงฺฆญฺจ  พุทฺธมามโกติ  มํ สงโฆ   ธาเรตุ.
                                                     คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้
ปรินิพพานไปนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  ขอ
พระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า  เป็นพุทธมามกะ  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน
คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า
หมายเหตุ :-     ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิง  คำปฏิญาณ
                        ให้เปลี่ยนเฉพาะที่ขีดเส้นใต้ไว้ ดังนี้
เอสาหํ   เป็น    ชายว่า เอเต  มยํ
                        หญิงว่า เอตา มยํ
คจฺฉามิ   เป็น    คจฺฉาม                                   
(ทั้งชายและหญิง)  พุทฺธมานโกติ    เป็น  พุทฺธมามกาติ                  (ทั้งชายและหญิง)
มํ                       เป็น  โน                                   (ทั้งชายและหญิง)
        คำแปลก็เปลี่ยนเฉพาะคำ "ข้าพเจ้า" เป็น  "ข้าพเจ้าทั้งหลาย"  เท่านั้น
นอกนั้นเหมือนกัน  สำหรับหญิงผู้ปฏิญาณคนเดียวว่า   เอสาหํ  ฯลฯ ถึง
พุทฺธมามโกติ  เปลี่ยนเป็นว่า พุทฺธมามิกาติ ต่อไปไม่เปลี่ยนตลอดทั้งคำแปล
ด้วย ถ้าหญิงกับชายปฏิญาณคู่กัน  เฉพาะคู่เดียวให้ว่าแบบปฏิญาณคนเดียวคือ
ขึ้น  เอสาหํ ฯลฯ  ถึง พุทฺธมามโกติ  ชายว่า  หญิงเปลี่ยนว่าพุทฺธมามิกาติ  เท่านั้น
นอกนั้นคงรูปตลอดทั้งคำแปล
        เมื่อผู้ปฏิบัติกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว  พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ
"สาธุ"  พร้อมกัน  ต่อนั้น  ให้ผู้ปฏิญาณลดลงนั่งราบแบบพับเพียบกับพื้นแล้ว
ประนมมือฟังโอวาทต่อไป
        จ.     ในลำดับนี้  พระอาจารย์พึงให้โอวาทเพื่อให้รู้หัวข้อแห่งพระพุทธศาสนา
                พอสมควรโดยใจความว่า
                                   ตัวอย่างโอวาทโดยย่อ
                        ท่านเกิดศรัทธาเสื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า
                พระธรรม  พระสงฆ์  ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  คือ  รับว่าพระพุทธเจ้า
                เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุดของตน  ในที่พร้อมหน้าแห่งคณะสงฆ์
                ซึ่งประชุมพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้  ข้อนี้  จัดเป็นลาภอันประเสริฐของท่าน
                ท่านได้ดีแล้ว คือ ได้สัมมาทิฐิความเห็นชอบตามหลักแห่งพระ-
                พุทธศาสนา
                        แท้จริง  พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์  ได้นามว่า  รัตนะ
                เพราะยังความยินดีให้เกิดแก่ผู้เคารพบรรจบเป็น ๓ รวมเรียกว่า
                พระรัตนตรัย  แก้ว  ๓  ประการ  เป็นหลักอันสำคัญยิ่งนักในพระ-
                พุทธศาสนา
                        ส่วนข้อปฏิบัติซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพึงยึดถือไว้เป็นบรรทัด
                แห่งความประพฤติย่นย่อกล่าวตามพระพุทธโอวาท  สรุปลงได้ ๓
                ประการ คือ
    ๑.  ไม่พึงทำบาปทั้งปวง ได้แก่  ไม่ประพฤติชั่วด้วยกาย  วาจา ใจ                       
  ๒.  บำเพ็ญกุศลให้เกิดมี  ได้แก่  ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา ใจ
                        ๓.  ทำจิตของตนให้ผ่องใส  คือ  ไม่ให้ขุ่นมัวด้วยโลภ โกรธ  หลง
                        ขอท่านจงตั้งศรัทธาความเชื่อให้มั่นคง  ตรงต่อพระรัตนตรัย
                และจงตั้งใจสมาทานเบญจศีล  ซึ่งจะได้ให้สมาทาน  ณ กาลบัดนี้
                        (แนวโอวาทนี้  แล้วแต่ความสามารถของพระอาจารย์จะอธิบาย
                ขยายความได้มากน้อยเพียงใดเพื่อปลูกศรัทธาของพุทธมามกะ
                ผู้ปฏิญาณตนนั้น ๆ )
        ฉ.     เมื่อจบโอวาทแล้ว  ให้ผู้ปฏิญาณรับคำว่า "สาธุ"  แล้วนั่งคุกเข่า
                ประนมมือน้อมตัวลงเล็กน้อย  กล่าวคำอาราธนาเบญจศีลและ
                สมาทานศีลตามคำที่พระอาจารย์ให้ทั้งคำบาลี  และคำแปลดังนี้
                                        คำอาราธนาเบญจศีล
                                              (ผู้ปฏิญาณว่า )
                อหํ  ภนฺเต,  วิสุงํ    วิสุงํ  รกฺขณตฺถาย, ติสรเณน  สห,  ปญฺจ  สีลานิ  ยาจามิ.
                ทุติยมฺปิ  อหํ  ภนฺเต, วิสุงํ  วิสุงํ  รกฺขณตฺถาย,  ติสรเณน  สห,  ปญฺจ  สีลานิ
                ยาจามิ.
                ตติยมฺปิ   อหํ  ภนฺเต,  วิสุงํ  วิสุงํ  รกฺขณตฺถาย,  ติสรเณร สห,  ปญฺจ  สีลานิ
                ยาจามิ.
                        (ว่าเหมือนกันทั้งชายและหญิง)  แต้ถ้าสมาทานพร้อมกันหลายคน
ให้เปลี่ยนคำ (อหํ เป็น มยํ  ยาจามิ เป็น  ยาจาม)
                             คำสมาทานเบญจศีล  พร้อมทั้งคำแปล
                         (พระอาจารย์เป็นผู้บอก  ผู้ปฏิญาณว่าตาม)
                        นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
                        นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
                        นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทธสฺส.
  ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น         
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
        ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
                           (พระอาจารย์ว่า"ยมหํ วทามิ  ตํ วเทหิ"
                                 ผู้ปฏิญาณรับว่า  "อาม ภนฺเต")
                      (พระอาจารย์บอก  ผู้ปฏิญาณว่าตาม  ต่อ)
พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ
ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ
สงฺฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ
ทุติยมฺปิ พุทธํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ  ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระธรรม  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๒
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๒
ตติยมฺปิ  พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ สงฺฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๓
ตติยมฺปิ   สงฺฆํ  สรณํ คจฺฉามิ.
ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  แม้ครั้งที่ ๓
(พระอาจารย์) ว่า  "ติสรณคมนํ  นิฏฺ€ิตํ"   ผู้ปฏิญาณรับว่า " อาม ภนฺเต")
                    (พระอาจารย์บอกต่อ  ผู้ปฏิญาณว่าตาม)
(๑)  ปาณาติปาตา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
         ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากผลาญชีวิตสัตว์
(๒)  อทินฺนทานา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.         
 ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท เว้นจากถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้
(๓)  กาเมสุ  มิจฺฉาจารา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
(๔)  มุสาวาทา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  เว้นจากพูดเท็จ
(๕)  สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺ€านา เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมทิยามิ.
        ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรับ  อันเป็น
        ฐานแห่งความประมาท
อิมานิ ปญฺจ  สิกฺขาปทานิ  สมาทิยามิ.
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท ๕ เหล่านี้
(พระอาจารย์บอกบทนี้จบเดียว  ผู้ปฏิญาณพึงว่าซ้ำ ๓ จบ)
                          สุดท้ายพระอาจารย์บอกอานิสงส์ศีลต่อไปว่า
                สีเลน  สุคตึ  ยนฺติ          สีเลน  โภคสมฺปทา,
                สีเลน  นิพฺพุตึ  ยนฺตึ       ตสฺมา  สีลํ  วิโสธเย.
                                        (ผู้ปฏิญาณไม่ต้องว่าตาม)
                ช.    เมื่อพระอาจารย์บอกอานิสงส์ศีลจบแล้ว  ผู้ปฏิญาณพึงกราบอีก
                         ๓  ครั้ง  ถ้ามีเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์  พึงนำมาประเคนในลำดับนี้
                        เสร็จแล้วนั่งราบตรงหน้าพระอาจารย์ เตรียมนำกรวดเมื่อพระสงฆ์
                        อนุโมทนา
                ซ.     พระสงฆ์อนุโมทนาด้วยบท ดังนี้
                        (๑)  ยถา....
                        (๒)  สพฺพีติโย...
                        (๓)  โส  อตฺถลทฺโธ... หรือ
                                สา  อตฺถลทฺธา...แล้วแต่กรณี
                                เต  อตฺถลทฺธา... แล้วแต่กรณี
                        (๔)  ภวตุ สพฺพมงฺคลํ...
        ฌ.  ขณะพระอาจารย์ว่า ยถา...ผู้ปฏิญาณพึงกรวดน้ำตามแบบ  กะให้เสร็จ                 
พร้อมกับจบยถา  พอพระสงฆ์ว่า  สพฺพีติโย...พึงนั่งประนมมือรับพร
                เมื่อจบแล้ว พึงนั่งคุกเข้ากราบพระสงฆ์  ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี.

แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ - หน้าที่ 3-16




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 24, 2024, 05:49:45 AM